อีกสิ่งที่ยืนยันถึงความรุนแรงของกระแส Kawasaki Ksr ได้เป็นอย่างดี
.
ข้อมูลคร่าวๆ ของ Ksr
.
เมื่อนึกย้อนถึงช่วงกระแสรถมินิไบค์ที่มีทางค่าย Kawasaki เป็นผู้กรุยทางเดินไว้ให้อย่างสวยงามแล้ว ก็ไม่ผิดแปลกอะไรที่ค่ายรถยี่ห้อต่างๆ ก็ริเริ่มมาจับกระแสรถมินิไบค์ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก่อนที่ทาง Honda จะสามารถเป็นผู้ผิชิตเจ้า Ksr ได้อย่างราบคาบแล้ว ณ.ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นได้มีค่ายรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กค่ายหนึ่งที่มีชื่อว่า
จงเซิน ริวก้า (Zongshen Ryuka) ได้พยายามที่จะมาแบ่งส่วนการตลาดรถมินิไบค์ด้วยเช่นกัน
.
จงเซิน ริวก้า พยายามที่จะเข้ามาทำตลาดรถประเภทมินิไบค์หลังจากที่กระแสของ Ksr กำลังเป็นที่โด่งดังอย่างมาก โดยทางค่าย
ริวก้าได้ส่งรถที่มีชื่อรุ่นว่า Zsr 125 เข้าสู่ท้องตลาดประมาณปี 2556
.
ความบังเอิญหรือจงใจ โดยทางค่าย ริวก้า ได้ใช้ชื่อรุ่นรถว่า Zsr ซึ่งถ้านำไปเปรียบเทียบกับชื่อรุ่น Ksr ก็จะสามารถเห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษรที่ใช้สะกดเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น จากเดิมที่เป็น
Ksr >>>
Zsr
.
หากชื่อรุ่นยังมีคล้ายคลึงไม่มากพอแล้วสำหรับ Zsr 125 งานดีไซน์การออกแบบตัวรถก็คงได้รับอธิพลจากรุ่น Ksr มาอย่างหนักหน่วงเป็นแน่แท้ โดยไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะช่วงรถ (กว้าง/ยาว/สูง) รูปทรงรถ หรือแม้แต่ชุดแฟริ่งที่ให้ความรู้สึกคับคล้ายคับคาซะเหลือเกิน นอกจากนี้ยังมีพวกชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความคลายคลึงเจ้า Ksr อีกด้วย
.
Zsr 125
Ksr
หน้าตาเรือนไมล์ Zsr 125
หน้าตาเรือนไมล์ Ksr 110
.
ทั้งนี้ไม่อาจกล่าวหาว่า Zsr 125 จงใจก๊อปปี้ Ksr อย่างใด แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า Zsr 125 ได้รับอิทธิพลจาก Ksr อย่างหนักหน่วงเช่นกัน ซึ่งในเรื่องของงานดีไซน์ ออกแบบ เชื่อว่าทุกๆ คนคงมีคำตอบอยู่ในใจเช่นกัน
.
Zsr 125 ถูกตั้งราคาจัดจำหน่ายไว้ประมาณ 46,000 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบราคา Ksr ที่เป็นรถปีเดียวกันนั้น จะพบว่ามีราคาอยู่ที่ 62,000-64,900 บาท โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับรุ่นรถอีกที
.
ริวก้า จงใจใช้วิธีการเล่นกับความอยากของผู้ที่อยากได้รถประเภทนี้ ทั้งนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผู้ที่อยากได้รถมาครอบครองเกือบทั้งหมด ล้วนมีเป้าหมายที่ Ksr ด้วยกันทั้งสิ้นเนื่องจากกระแสของรถในขณะนั้น การที่ Zsr 125 ได้ตั้งราคาประมาณ 46,000 บาท ทำให้รถทั้งสองรุ่นมีราคาต่างกันถึง 16,000 โดยประมาณ
.
ราคาที่แตกต่างกันราวหลักหมื่นได้กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด โดยการซื้อรถสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ "เงิน" ถึงแม้จะมีรุ่นที่อยากได้ แต่ในเมื่องบประมาณไม่เพียงพอในการซื้อแล้ว การลดสเปคหารุ่นที่ใกล้เคียงหรือรองลงมาก็ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่อยากได้
.
ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ทางค่าย จงเซิน ริวก้า กล้าที่จะส่ง Zsr 125 เข้ามาแบ่งค่าทางการตลาด ซึ่งมันแทบไม่ส่งผลอะไรถึงเจ้า Ksr เลยแม้แต่น้อย ครั้งคิดย้อนไปถึงกระแสช่วงรถคลาสสิกในยุคที่คนนิยมนำ Honda C70 มาปลุกปั้นใหม่ ทางค่าย จงเซิน ริวก้า ก็ไม่ผลาดด้วยเช่นกันที่จะเกาะกระแสรถทรงแม่บ้านแบบ C 70 โดยมีชื่อรุ่นว่า
Ryuka Classic
.
ข้อมูลสเปคเปรียบเทียบระหว่าง Ksr กับ Zsr
.
.
.
ที่มาของรูปภาพ
.
ลิงค์ข้อมูลรุ่นรถที่ได้เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
Honda
-----------
Yamaha
-----------
Kawasaki
Kr 150 SE 2535 // Kr SSE (E1) 2537 /
----------
Suzuki
----------
Cagiva
---------
Gilera
Zongshen Ryuka Zsr 125 (รุ่นรถตอกย้ำถึงกระแสรถ Ksr ในประเทศไทย)
.
จงเซิน ริวก้า พยายามที่จะเข้ามาทำตลาดรถประเภทมินิไบค์หลังจากที่กระแสของ Ksr กำลังเป็นที่โด่งดังอย่างมาก โดยทางค่ายริวก้าได้ส่งรถที่มีชื่อรุ่นว่า Zsr 125 เข้าสู่ท้องตลาดประมาณปี 2556
.
ความบังเอิญหรือจงใจ โดยทางค่าย ริวก้า ได้ใช้ชื่อรุ่นรถว่า Zsr ซึ่งถ้านำไปเปรียบเทียบกับชื่อรุ่น Ksr ก็จะสามารถเห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษรที่ใช้สะกดเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น จากเดิมที่เป็น Ksr >>> Zsr
.
หากชื่อรุ่นยังมีคล้ายคลึงไม่มากพอแล้วสำหรับ Zsr 125 งานดีไซน์การออกแบบตัวรถก็คงได้รับอธิพลจากรุ่น Ksr มาอย่างหนักหน่วงเป็นแน่แท้ โดยไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะช่วงรถ (กว้าง/ยาว/สูง) รูปทรงรถ หรือแม้แต่ชุดแฟริ่งที่ให้ความรู้สึกคับคล้ายคับคาซะเหลือเกิน นอกจากนี้ยังมีพวกชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความคลายคลึงเจ้า Ksr อีกด้วย
.
.
ทั้งนี้ไม่อาจกล่าวหาว่า Zsr 125 จงใจก๊อปปี้ Ksr อย่างใด แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่า Zsr 125 ได้รับอิทธิพลจาก Ksr อย่างหนักหน่วงเช่นกัน ซึ่งในเรื่องของงานดีไซน์ ออกแบบ เชื่อว่าทุกๆ คนคงมีคำตอบอยู่ในใจเช่นกัน
.
Zsr 125 ถูกตั้งราคาจัดจำหน่ายไว้ประมาณ 46,000 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบราคา Ksr ที่เป็นรถปีเดียวกันนั้น จะพบว่ามีราคาอยู่ที่ 62,000-64,900 บาท โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับรุ่นรถอีกที
.
ริวก้า จงใจใช้วิธีการเล่นกับความอยากของผู้ที่อยากได้รถประเภทนี้ ทั้งนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผู้ที่อยากได้รถมาครอบครองเกือบทั้งหมด ล้วนมีเป้าหมายที่ Ksr ด้วยกันทั้งสิ้นเนื่องจากกระแสของรถในขณะนั้น การที่ Zsr 125 ได้ตั้งราคาประมาณ 46,000 บาท ทำให้รถทั้งสองรุ่นมีราคาต่างกันถึง 16,000 โดยประมาณ
.
ราคาที่แตกต่างกันราวหลักหมื่นได้กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด โดยการซื้อรถสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ "เงิน" ถึงแม้จะมีรุ่นที่อยากได้ แต่ในเมื่องบประมาณไม่เพียงพอในการซื้อแล้ว การลดสเปคหารุ่นที่ใกล้เคียงหรือรองลงมาก็ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่อยากได้
.
ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ทางค่าย จงเซิน ริวก้า กล้าที่จะส่ง Zsr 125 เข้ามาแบ่งค่าทางการตลาด ซึ่งมันแทบไม่ส่งผลอะไรถึงเจ้า Ksr เลยแม้แต่น้อย ครั้งคิดย้อนไปถึงกระแสช่วงรถคลาสสิกในยุคที่คนนิยมนำ Honda C70 มาปลุกปั้นใหม่ ทางค่าย จงเซิน ริวก้า ก็ไม่ผลาดด้วยเช่นกันที่จะเกาะกระแสรถทรงแม่บ้านแบบ C 70 โดยมีชื่อรุ่นว่า Ryuka Classic
.