“คาวา…สร้างคุณภาพด้วยเทคโนโลยี”
ประโยคสโลแกนของทางค่ายรถจักรยานยนต์ Kawasaki ที่สอดคล้องกับผลงานการสร้างสรรค์เทคโนโลยี่ต่างๆ รวมไปถึงรถจักรยานยนต์
หากไล่เรียงต้นตระกูลสปอร์ต 2 จังหวะ ขนาด 150cc ของทาง Kawasaki ในประเทศไทย ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่รุ่น Kr150R ในปี 2532 หลังจากนั้นเพียงแค่ 2 ปีทาง Kawasaki ก็ได้ทำการขยายกลุ่มตลาดใหม่ โดยการนำรถรูปทรงคลาสสิกสปอร์ตที่กำลังนิยมอย่างมากในประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นมาทำตลาดในปี 2534 ภายใต้รหัสว่า Victor 150 จวบจนมาถึงในปี 2536 ทางค่าย Kawasaki ก็ได้ขยายกลุ่มตลาดใหม่อีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้มีรหัสว่า Serpico โดยจัดเป็นรถประเภทสปอร์ตทัวร์ริ่ง
ทั้งนี้สังเกตุได้ว่าทาง Kawasaki จะทำการขยายตลาดรถประเภทต่างๆ เข้าสู่ท้องตลาด โดยมีระยะห่างกันประมาณ 2 ปี
Kawasaki เลือกที่จะเปิดตัว Serpico อย่างเป็นทางการในช่วงกลางๆ เดือนมกราคม ปี 2536 โดยสถานที่จัดงานมีความพิเศษกว่าค่ายรถจักรยานยนต์อื่นๆ ตรงที่ทาง Kawasaki เลือก “เธค” ที่ทันสมัยในช่วงเวลานั้นเป็นที่เปิดตัว แทนที่จะเป็นโรงแรมแบบค่ายอื่นๆ ทั้งนี้ Serpico มาพร้อมกับสโลแกนที่ว่า “คาวาซากิเซอร์ปิโก้...ต้นแบบรถสปอร์ต...แห่งอนาคต”
สำหรับ Kawasaki Serpico (2536) มีราคากลางอยู่ที่ 55,000 บาท
นอกจากนี้ทาง Kawasaki เลือกที่จะนำรถรุ่นใหญ่อย่างเจ้า ZZR มาทำเป็นต้นแบบให้กับ Serpico อีกด้วย ทั้งนี้ ZZR ขึ้นชื่อว่าเป็นรถที่ได้รับการออกแบบในด้านแอร์โรไดนามิกที่ดีของค่ายรุ่นหนึ่ง
Serpico มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 148cc มีระยะชักที่ 59.0-54.4 มม และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.9: 1 พร้อมทั้งระบบถ่ายไอเสียพิเศษ KIS (Kawasaki Integated System) ตัดปัญหาการติดขัดของกลไกเสีย (เสื้อตึก)
สเปคข้อมูล
นอกจากนี้ทาง Kawasaki ยังคงใช้เสื้อสูบ Elex อลูมิเนียมอัลลอย เหมือนในตัวสปอร์ต 150cc ทุกรุ่นในค่าย โดยเสื้อสูบ ELEX มีคุณสมบัติไม่สึกหล่อตลอดอายุการใช้งาน เสื้อสูบผ่านวิธีการหลอมละลายด้วยไฟฟ้า โดยทำให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าเสื้อสูบปลอกเหล็กแบบธรรมดาหรือผิวชุบแบบโครเมี่ยม
ตัวถังทรงแปลคู่ (E-Box Frame) ซึ่งถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบาในส่วนอัตราพื้นที่เท่ากัน อีกทั้งยังให้ความแข็งแกร่ง ไม่ใหญ่เทอะทะ รวมถึงส่งผลให้การทรงตัวรถดีเยี่ยม และคุณสมบัติพิเศษของ E- Box Frame คือสามารถแยกส่วนเฟรมออกจากันได้ ระหว่างหน้ากับหลัง ซึ่งสะดวกต่อการในการซ่อมแซมยิ่งขึ้นกว่าเฟรมแบบชิ้นเดียว
โช๊คอัพหน้า Telescopic ที่ให้แกนโช๊คขนาด 33 ม. ซึ่งเป็นขนาดของแกนโช๊คปกติของรถขนาด 150cc ของทาง Kawasaki อยู่แล้ว ในส่วนของโช๊คอัพหลังเป็นแบบโช๊คเดี่ยว โดยสามารถปรับระดับความอ่อนหรือแข็งได้ 5 ระดับ
เรือนไมล์พร้อมวัดรอบไฟฟ้า ลดภาระของเครื่องยนต์เนื่องจากไม่มีสายไมล์และฟันเฟื่องที่เครื่องยนต์ ทำให้ไม่เกิดการกินกำลังของเครื่องยนต์
โคมไฟหน้า 2 ดวงในเลนซ์เดียวกัน เพิ่มความสว่างเป็น 2 เท่า พร้อมทั้งไฟเลี้ยวหน้าที่กลมกลืนไปกับแฟริ่ง ในส่วนของไฟท้ายเป็นแบบ 3 ดวง สว่างชัดเจนจากระยะไกล
ทั้งนี้สำหรับแฟริ่ง Serpico (2536) ยังเป็นฟูลแฟริ่งแบบโชว์เครื่องยนต์
----------------------------
Kawasaki Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
ถัดมาในปี 2537 ทาง Kawasaki ก็ได้ส่ง Serpico SS รุ่น 1 เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากใน Serpico รุ่นแรกอย่างชัดเจน ได้แก่ ล้อแม็ก แฟริ่งที่เป็นแบบฟูลปิดเครื่องยนต์บางส่วน รวมไปถึงสีรถ และสติกเกอร์
ในส่วนของเครื่องยนต์ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดย Serpico (SS) มาพร้อมกับเทคโนโลยี “ซุเปอร์คิปส์” (Super KIPS) ที่ออกแบบให้องศาช่องพอร์ทมีรูปทรงวงรีขนาดใหญ่ ทำให้การคายไอเสียทำได้อย่างดีเยี่ยมในช่วงความเร็วสูง นอกจากนี้ยังมีกลไกการทำความสะอาด KIPS อีกด้วย โดยเป็นระบบที่มีชื่อว่า Auto Cleaning
*ระบบ (Super KIPS) และ Auto Cleaning กลไกการทำความสะอาด KIPS
ข้อมูล
----------------------------
Kawasaki Serpico (SS) รุ่น 2 (2538)
ในปี 2538 ทาง Kawasai ได้ทำการปล่อย Serpico SS รุ่น 2 เข้าสู่ท้องตลาด โดยมีการเปลี่ยนแปลงไมล์จากวัดรอบไฟฟ้ากลับเป็นวัดรอบแบบสายแทน
ในส่วนของเครื่องยนต์เหมือนกับ Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
----------------------------
Kawasaki Serpico (SS) รุ่น 3 (2539)
สำหรับในปี 2539 ทาง Kawasai ก็ได้ทำการปล่อย Serpico SS รุ่น 3 เข้าสู่ท้องตลาดเฉกเช่นเดิม สำหรับ Serpico SS รุ่น 3 มีสีทั้งหมด 3 สี ได้แก่ แดง-ขาว / น้ำเงิน-ขาว และ ดำ-น้ำเงิน
ในส่วนของเครื่องยนต์เหมือนกับ Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
----------------------------
Kawasaki Serpico (SST) รุ่น 4 (2540)
ถัดมาในปี 2540 2539 ทาง Kawasai ก็ได้ทำการปล่อย Serpico SST เข้าสู่ท้องตลาด โดยมีสีทั้งหมด 4 สี ได้แก่ แดง-เทา / น้ำเงิน-เทา / ฟ้า-เทา และ เขียว-เทา
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ ท่อไอเสีย เนื่องจากมีกฏหมายควบคุมมลพิษ ทำให้ทาง Kawasaki ต้องติดตั้ง แคทตาไลติค คอนเวอร์ แบบ 2 ตอน เพื่อช่วยปรับสภาพไอเสียตรงตามค่ามาตาฐานในระดับ 3
ในส่วนของเครื่องยนต์เหมือนกับ Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
----------------------------
Kawasaki Serpico SE (2540-2541)
สิ่งที่พิเศษสำหรับค่าย Kawasaki ในงานมอเตอร์โชว์ ณ. สวนอัมพร ช่วงปลายเดือนเมษายน ปี 2540 คือการเปิดตัวรถรุ่นพิเศษ โดยมีสโลแกนว่า “รหัสร้อนของคนแรง” หรือที่คนทั่วไปคุ้นชินกับการเรียกว่ารุ่น SE โดยรุ่นพิเศษ SE ได้เลือกนำรถในค่าย Kawasaki มาปรับแต่งนอกจากนี้ทาง Kawasaki ได้เปิดตัว Serpico (SST) และ Serpico SE ในปีเดียวกันอีกด้วย
ทั้งนี้ทาง Kawasaki ได้ถูกจำกัดการผลิต Serpico SE ไว้ที่ 1,500 คันเพียงเท่านั้นสำหรับในปี 2540 โดยมีราคาอยู่ที่
73,000 – 78,000 โดยประมาณ (ราคาแพงกว่า Nsr150 SP = 75,500 บาท )
Serpico SE คือรถที่ถูกปรับแต่งเครื่องยนต์มาจากโรงงาน โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดได้ที่ 40 แรงม้า ซึ่งชุดเสื้อสูบที่ถูกโมดิฟายใหม่หมด โดยเฉพาะฝาสูบทองที่เป็นสูตรเฉพาะของทาง PDK นอกจากนี้ยังปรับจานไฟให้แก่ขึ้นเล็กน้อย ผสมผสานกับการใช้ท่อสูตรจากญี่ปุ่น Tsukigi Racing
ข้อมูลสเปค
ในส่วนสวิงอาร์ม Serpico SE ยังคงใช้สวิงอาร์มแบบเดิมอยู่ เพียงเปลี่ยนเป็นสีดำเพียงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนขนาดล้อให้ใหญ่ขึ้นจากเดิมทั้งล้อหน้าและหลัง
-หน้า 1.85*17 เป็น 2.15*17
-หลัง 2.15*18 เป็น 2.50*17
----------------------------
----------------------------
ตระกูล SE ท้าชน Honda
เมื่อยักษ์ใหญ่ของรถ 2 จังหวะในช่วง 2540 มาประชันกำลังกัน โดยมีทาง Kawasaki และ Honda เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ในส่วนของค่าย Suzuki และ Yamaha รถขนาด 150cc ของค่ายทั้ง 2 ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ทำให้กระแสของทั้ง 2 ค่ายนี้เสื่อมถอยลงไป
ทั้งนี้ความคิดส่วนตัวของผู้เขียนยังคงยกให้กับทาง Honda Nsr150 Sp เป็นจุดสูงสุดของรถขนาด 150cc ในประเทศไทย เนื่องจากงานออกแบบ แนวความคิดต่างๆ ที่ใส่ลงไปในการออกแบบและผลิต แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในเรื่องของความเร็วแรงของรถ น้ำเสียงส่วนใหญ่ยังยกทางกับทาง Kawasaki มากกว่า
การเลือกซื้อรถสักคันคงมีองค์ประกอบต่างๆ ที่นอกเหนือจากความเร็วแรง งานออกแบบดีไซค์ มาเป็นส่วนประกอบด้วย รถทุกรุ่นต่างมีข้อดีข้อด้อยของตัวมันเองอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าจะสามารถยอมรับข้อดีหรือข้อด้อยได้หรือไม่
สุดท้ายนี้หากให้ผู้เขียนเลือกรถ 2 จังหวะที่เป็นที่สุดของทาง Kawasaki ตัวของผู้เขียนขอยกให้กับตระกูล SE เนื่องจากเป็นผลงานที่ทาง Kawasaki จงใจสร้างสรรค์เพื่อต่อกรกับคู่แข่งค่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงานออกแบบ รายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงเครื่องยนต์ที่สร้างความเป็นตำนานให้กับทาง Kawasaki
ที่มาของข้อมูล
----------------------------
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
Kawasaki Serpico (คาวาซากิ เซอร์ปิโก้) 2536
ประโยคสโลแกนของทางค่ายรถจักรยานยนต์ Kawasaki ที่สอดคล้องกับผลงานการสร้างสรรค์เทคโนโลยี่ต่างๆ รวมไปถึงรถจักรยานยนต์
หากไล่เรียงต้นตระกูลสปอร์ต 2 จังหวะ ขนาด 150cc ของทาง Kawasaki ในประเทศไทย ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่รุ่น Kr150R ในปี 2532 หลังจากนั้นเพียงแค่ 2 ปีทาง Kawasaki ก็ได้ทำการขยายกลุ่มตลาดใหม่ โดยการนำรถรูปทรงคลาสสิกสปอร์ตที่กำลังนิยมอย่างมากในประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นมาทำตลาดในปี 2534 ภายใต้รหัสว่า Victor 150 จวบจนมาถึงในปี 2536 ทางค่าย Kawasaki ก็ได้ขยายกลุ่มตลาดใหม่อีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้มีรหัสว่า Serpico โดยจัดเป็นรถประเภทสปอร์ตทัวร์ริ่ง
ทั้งนี้สังเกตุได้ว่าทาง Kawasaki จะทำการขยายตลาดรถประเภทต่างๆ เข้าสู่ท้องตลาด โดยมีระยะห่างกันประมาณ 2 ปี
Kawasaki เลือกที่จะเปิดตัว Serpico อย่างเป็นทางการในช่วงกลางๆ เดือนมกราคม ปี 2536 โดยสถานที่จัดงานมีความพิเศษกว่าค่ายรถจักรยานยนต์อื่นๆ ตรงที่ทาง Kawasaki เลือก “เธค” ที่ทันสมัยในช่วงเวลานั้นเป็นที่เปิดตัว แทนที่จะเป็นโรงแรมแบบค่ายอื่นๆ ทั้งนี้ Serpico มาพร้อมกับสโลแกนที่ว่า “คาวาซากิเซอร์ปิโก้...ต้นแบบรถสปอร์ต...แห่งอนาคต”
นอกจากนี้ทาง Kawasaki เลือกที่จะนำรถรุ่นใหญ่อย่างเจ้า ZZR มาทำเป็นต้นแบบให้กับ Serpico อีกด้วย ทั้งนี้ ZZR ขึ้นชื่อว่าเป็นรถที่ได้รับการออกแบบในด้านแอร์โรไดนามิกที่ดีของค่ายรุ่นหนึ่ง
Serpico มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 148cc มีระยะชักที่ 59.0-54.4 มม และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.9: 1 พร้อมทั้งระบบถ่ายไอเสียพิเศษ KIS (Kawasaki Integated System) ตัดปัญหาการติดขัดของกลไกเสีย (เสื้อตึก)
ตัวถังทรงแปลคู่ (E-Box Frame) ซึ่งถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบาในส่วนอัตราพื้นที่เท่ากัน อีกทั้งยังให้ความแข็งแกร่ง ไม่ใหญ่เทอะทะ รวมถึงส่งผลให้การทรงตัวรถดีเยี่ยม และคุณสมบัติพิเศษของ E- Box Frame คือสามารถแยกส่วนเฟรมออกจากันได้ ระหว่างหน้ากับหลัง ซึ่งสะดวกต่อการในการซ่อมแซมยิ่งขึ้นกว่าเฟรมแบบชิ้นเดียว
โช๊คอัพหน้า Telescopic ที่ให้แกนโช๊คขนาด 33 ม. ซึ่งเป็นขนาดของแกนโช๊คปกติของรถขนาด 150cc ของทาง Kawasaki อยู่แล้ว ในส่วนของโช๊คอัพหลังเป็นแบบโช๊คเดี่ยว โดยสามารถปรับระดับความอ่อนหรือแข็งได้ 5 ระดับ
เรือนไมล์พร้อมวัดรอบไฟฟ้า ลดภาระของเครื่องยนต์เนื่องจากไม่มีสายไมล์และฟันเฟื่องที่เครื่องยนต์ ทำให้ไม่เกิดการกินกำลังของเครื่องยนต์
โคมไฟหน้า 2 ดวงในเลนซ์เดียวกัน เพิ่มความสว่างเป็น 2 เท่า พร้อมทั้งไฟเลี้ยวหน้าที่กลมกลืนไปกับแฟริ่ง ในส่วนของไฟท้ายเป็นแบบ 3 ดวง สว่างชัดเจนจากระยะไกล
ในส่วนของเครื่องยนต์ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดย Serpico (SS) มาพร้อมกับเทคโนโลยี “ซุเปอร์คิปส์” (Super KIPS) ที่ออกแบบให้องศาช่องพอร์ทมีรูปทรงวงรีขนาดใหญ่ ทำให้การคายไอเสียทำได้อย่างดีเยี่ยมในช่วงความเร็วสูง นอกจากนี้ยังมีกลไกการทำความสะอาด KIPS อีกด้วย โดยเป็นระบบที่มีชื่อว่า Auto Cleaning
*ระบบ (Super KIPS) และ Auto Cleaning กลไกการทำความสะอาด KIPS
ในส่วนของเครื่องยนต์เหมือนกับ Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
ในส่วนของเครื่องยนต์เหมือนกับ Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
ถัดมาในปี 2540 2539 ทาง Kawasai ก็ได้ทำการปล่อย Serpico SST เข้าสู่ท้องตลาด โดยมีสีทั้งหมด 4 สี ได้แก่ แดง-เทา / น้ำเงิน-เทา / ฟ้า-เทา และ เขียว-เทา
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ ท่อไอเสีย เนื่องจากมีกฏหมายควบคุมมลพิษ ทำให้ทาง Kawasaki ต้องติดตั้ง แคทตาไลติค คอนเวอร์ แบบ 2 ตอน เพื่อช่วยปรับสภาพไอเสียตรงตามค่ามาตาฐานในระดับ 3
ในส่วนของเครื่องยนต์เหมือนกับ Serpico (SS) รุ่น 1 (2537)
สิ่งที่พิเศษสำหรับค่าย Kawasaki ในงานมอเตอร์โชว์ ณ. สวนอัมพร ช่วงปลายเดือนเมษายน ปี 2540 คือการเปิดตัวรถรุ่นพิเศษ โดยมีสโลแกนว่า “รหัสร้อนของคนแรง” หรือที่คนทั่วไปคุ้นชินกับการเรียกว่ารุ่น SE โดยรุ่นพิเศษ SE ได้เลือกนำรถในค่าย Kawasaki มาปรับแต่งนอกจากนี้ทาง Kawasaki ได้เปิดตัว Serpico (SST) และ Serpico SE ในปีเดียวกันอีกด้วย
ทั้งนี้ทาง Kawasaki ได้ถูกจำกัดการผลิต Serpico SE ไว้ที่ 1,500 คันเพียงเท่านั้นสำหรับในปี 2540 โดยมีราคาอยู่ที่ 73,000 – 78,000 โดยประมาณ (ราคาแพงกว่า Nsr150 SP = 75,500 บาท )
Serpico SE คือรถที่ถูกปรับแต่งเครื่องยนต์มาจากโรงงาน โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดได้ที่ 40 แรงม้า ซึ่งชุดเสื้อสูบที่ถูกโมดิฟายใหม่หมด โดยเฉพาะฝาสูบทองที่เป็นสูตรเฉพาะของทาง PDK นอกจากนี้ยังปรับจานไฟให้แก่ขึ้นเล็กน้อย ผสมผสานกับการใช้ท่อสูตรจากญี่ปุ่น Tsukigi Racing
-หน้า 1.85*17 เป็น 2.15*17
-หลัง 2.15*18 เป็น 2.50*17
ทั้งนี้ความคิดส่วนตัวของผู้เขียนยังคงยกให้กับทาง Honda Nsr150 Sp เป็นจุดสูงสุดของรถขนาด 150cc ในประเทศไทย เนื่องจากงานออกแบบ แนวความคิดต่างๆ ที่ใส่ลงไปในการออกแบบและผลิต แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในเรื่องของความเร็วแรงของรถ น้ำเสียงส่วนใหญ่ยังยกทางกับทาง Kawasaki มากกว่า
การเลือกซื้อรถสักคันคงมีองค์ประกอบต่างๆ ที่นอกเหนือจากความเร็วแรง งานออกแบบดีไซค์ มาเป็นส่วนประกอบด้วย รถทุกรุ่นต่างมีข้อดีข้อด้อยของตัวมันเองอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าจะสามารถยอมรับข้อดีหรือข้อด้อยได้หรือไม่
สุดท้ายนี้หากให้ผู้เขียนเลือกรถ 2 จังหวะที่เป็นที่สุดของทาง Kawasaki ตัวของผู้เขียนขอยกให้กับตระกูล SE เนื่องจากเป็นผลงานที่ทาง Kawasaki จงใจสร้างสรรค์เพื่อต่อกรกับคู่แข่งค่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงานออกแบบ รายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงเครื่องยนต์ที่สร้างความเป็นตำนานให้กับทาง Kawasaki