มนุษย์กับความหวังเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมาอยู่เสมอ จึงไม่ใช่ความผิดแปลกอะไร ในทางกลับกันอาจจะพูดได้เสียอีกว่ามนุษย์ล้วนอยู่ได้ด้วยความหวัง แต่ก็ไม่ใช่ทุกเรื่องที่คาดหวังจะสำเร็จได้ดั่งใจหวังอีกนั้นหล่ะ ทั้งนี้ไม่ว่าในเรื่องใดๆ ก็จะมีความหวังเป็นตัวประกอบอยู่เสมอไม่มีข้อยกเว้น สำหรับทางค่าย Yamaha ด้วยเช่นกันที่คาดหวัง TZM 150 จะสามารถแย่งชิงพื้นที่ตลาดของรถสปอร์ต 150cc ที่กำลังดุเดือดอยู่ในตอนนั้น
หากย้อนกลับไปถึงต้นตระกูลสปอร์ตขนาด 150 cc ของทาง Yamaha ในไทยแล้วพบว่าเริ่มทำตลาดในปี 2530 โดยมี VR150 เป็นรุ่นแรก จวบจนถึงในปี 2533 ก็มี TZR150 เป็นรถสปอร์ตลำดับที่ 2 ของทางค่าย และในปี 2537 ก็ได้ทำการเปิดตัวรถสปอร์ตลำดับที่ 3 ของทางค่าย โดยอยู่ภายใต้รหัสว่า TZM 150 หากสังเกตุจะพบว่าโมเดลรถสปอร์ตมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-4 ปีโดยประมาณ
ในปี 2537 ที่ทาง Yamaha ได้เลือกส่ง TZM 150 เข้าสู่ท้องตลาดเพื่อต่อสู้กับทางค่าย Honda ที่มี NSR150RR (ตากลม) ทำตลาดอยู่ ในส่วนของทางค่าย Suzuki ก็มี RG150-I ด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากนี้ก็ยังมีค่าย Kawasaki ที่มีทั้ง Kr Victor และ Serpico ที่ทำตลาดรถขนาด 150cc เหมือนกัน ทั้งนี้ดูเหมือนว่า TZM จะเจอคู่แข่งที่น่ากลัวอยู่พอประมาณ ถ้าหากไม่สามารถหาจุดเด่นของรถได้ ความหวังที่ว่าจะมาแย่งชิงพื้นที่การตลาดคงเลื่อนลางจางหายไปอย่างแน่แท้
เรื่องที่ปกติที่ค่ายรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นจะทำการถอดแบบรถสปอร์ตรุ่นใหญ่ของทางค่าย และมาสร้างเป็นสปอร์ตขนาดเล็ก โดย TZM 150 ก็ได้รับถ่ายทอดความเป็นซุปเปอร์สปอร์ตมาจาก TZM 250 M ซึ่งเป็นรุ่นที่นักบิดชาวญี่ปุ่นสามารถคว้าแชมป์โลกเวิลด์ กรังด์ปรีซ์ 2536 (1993) ในรุ่น GP-2 (250cc)
TZM 150 มาพร้อมกับเครื่องยนต์ในรหัส 4AP ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว (เป็นพลาสติก) ระบายความร้อนด้วยน้ำ ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 147 cc มีระยะชักที่ 59.0 -54.0 มม. และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.0: 1 ควบคุมปริมาณการสูบน้ำมันโดย VCLS อีกทั้งควบคุมพอร์ทไอเสียด้วยระบบ YPVS โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 36.0 แรงม้าที่ 10,500 รอบ/นาที และมีอัตตราแรงบิดอยู่ที่ 2.5 กก.-ม. ที่ 9,500 รอบ/นาที
สเปคข้อมูล
- เสื้อสูบอลูมิเนียมเคลือบด้วยสาร NCC ส่งผลทำให้เสื้อสูบลื่นขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดความร้อนในห้องเผาไหม้ได้ดี อีกทั้งการใช้ลูกสูบแบบหัวเรียบแบบรถแข่ง ผสมผสานกับฝาสูบที่ได้รับการออกแบบใหม่เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ให้ถึงขีดสุด
- คาร์บูเรเตอร์แบบ Power Jet รุ่น VM 30SS ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ โดยระบบ Power Jet จะป้อนเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมระหว่างน้ำมันและอากาศอย่างเหมาะสมอีกด้วย
- ควบคุมการจุดระเบิดด้วยระบบ CDI Digital ที่ถูกควบคุมด้วยระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้องศาการจุดระเบิดมีความแม่นยำเที่ยงตรง
- ยางรองแท่นเครื่องแบบใหม่ 4 จุด ส่งผลทำให้ลดอาการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ รวมไปถึงลดระดับเสียงของเครื่องยนต์อีกด้วย
- ท่อไอเสียขนาดใหญ่สไตล์รถแข่ง (Race-Chamber) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ นอกจากนี้ผนังไอเสียแบบ 2 ชั้น สามารถช่วยลดระดับเสียงจากท่อไอเสียรวมไปถึงปริมาณไอเสีย
- โครงตัวถังแบบเดลต้าบ็อกซ์ (Delta-Box) ถูกพัฒนามาจากรถในสนามแข่ง โดยการออกแบบให้ระยะห่างระหว่างองศาที่คอรถและจุดหมุนของสวิงอาร์มสั้นลง ส่งผลทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว และทนแรงบิดได้สูงกว่าโครงปกติทั่วไปถึง 50%
- โครงตัวถังช่วงล่างแบบถอดได้ด้านเดียว (Down-Tube) มั่นคง แข็งแรง และง่ายต่อการบำรุงรักษา
- สวิงอาร์มหลังแบบกล่องขนาดใหญ่ สามารถทนแรงบิดได้สูงกว่าแบบปกติทั่วไปถึง 50% ซึ่งทำงานรวมกับโช๊คหลังแบบโมโนครอส (Mono-Cross) ที่ได้รับการออกแบบใหม่เพิ่มความทนของสปริง 20% รวมไปถึงช่วงยุบตัวที่เพิ่มขึ้น 16%
- โช๊คอัฟหน้าแบบเทเลสโคปิค (Telescopic) ได้รับการออกแบบให้มีความทนทานของสปริงขึ้น 11% และช่วงยุบตัวที่เพิ่มขึ้น 8%
- ฝาถังน้ำมันแบบเดียวกับที่ใช้กับเครื่องบิน
- เบาะซ้อนท้ายแบบสปอร์ตที่ทันสมัย โดยส่วนท้ายของเบาะถูกยกระดับขึ้น นอกจากนี้เหล็กท้ายจับเบาะทำขึ้นจากอลูมิเนียม
- ล้อแม็กซ์ 3 ก้าน ยี่ห้อ เอ็นไก โดยออกแบบให้สอดคลองกับตัวรถ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักที่เบา เหนือสิ่งอื่นใดถือได้ว่า TZM เป้นรถสปอร์ตขนาด 150cc รุ่นแรกในไทยที่เลือกใช้ยางแบบไม่มียางใน (Tubeless)
- ดิสก์เบรคหน้าแบบ Floating Type / ดิสก์เบรคหลังแบบลูกสูบคู่
- แฟริ่งเต็มตัวแบบสปอร์ตกลมกลืนไปกับหลักอากาศพลศาสตร์ (Aero-Dynamic)
- แฮนด์แบบแยกส่วนพร้อมทั้งติดตั้งลูกยางกันกระแทก มีมุมเลี้ยวที่ 34 องศา ทำให้เกิดความคล่องตัวในสภาวะการจราจรที่ติดขัด นอกจากนี้พักเท้าเป็นแบบแยกส่วน พับเอียงได้ส่งผลทำให้รถสามารถเอียงโค้งได้ถึง 51 องศา
- ไฟหน้าทรงใหม่พร้อมหลอดฮาโลเจน โดยไฟหน้ามีรูปแบบเป็นทรงพระจันทรฺเสี้ยวใช้หลอดฮาโลเจน ส่งผลให้ไฟมีความสว่างมากขึ้น พร้อมทั้งไฟเลี้ยวแบบใหม่สไตล์รถแข่งยึดติดกับชุดแฟริ่ง
-----------
TZM ความหวังที่เลือนลางของทางค่าย Yamaha
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในช่วงเวลาที่ทาง Yamaha ได้ส่ง TZM เข้าสู่ท้องตลาด เป็นช่วงเวลาที่การแข่งขันของตลาดประเภทรถสปอร์ตขนาด 150cc กำลังดุเดือด เนื่องจากแต่ละค่ายล้วนมีประสบการณ์ในการทำตลาดมาแล้วอย่างน้อยๆ ค่ายละ 5 ปีเป็นอย่างต่ำ
Honda มี Nsr 150RR พร้อมทั้งความเป็นเจ้าตลาด ซึ่งเจ้าตลาดในที่นี้หมายถึงมีศูนย์บริการที่ควบคุมพื้นที่ในประเทศไทย ส่งผลทำให้อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถหาซื้อได้อย่างง่ายได้
Suzuki มี RG-150 I อาจไม่เปรี้ยงปรางเท่าไหร่ แต่ในเรื่องความแรงเดิมๆ จากโรงงานไม่เป็นรองรุ่นไหนอย่างแน่นอน
Kawasaki มีทั้ง Kr150 Serpico และ Victor กล่าวอย่างง่ายๆ คือมีทั้ง สปอร์ต คลาสสิกสปอร์ต และทัวร์ริ่ง ให้เลือกสรร
ทั้งนี้รถสปอร์ตค่ายอื่นๆ อาจจะเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่งในการที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อ แต่ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด ซึ่งยังมีเหตุผลหนึ่งในเรื่องการเปรียบเทียบรถสปอร์ตรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ในค่าย
TZR 150 กับ TZM 150
หากนำข้อมูลสเปคเครื่องยนต์ในโบรชัวร์มาเปรียบเทียบกัน โดยทาง TZR มาพร้อมกับเครื่องยนต์รหัส 3RR และในส่วน TZM มาพร้อมกับรหัสเครื่องยนต์ 4AP
สเปคข้อมูลเปรียบเทียบ
TZR
TZM
ในเมื่อเลือกที่จะใช้เครื่องยนต์คนละรหัส ก็ไม่อาจจะคาดหวังอารมณ์การขับขี่แบบเดิมได้อีกแล้ว เนื่องจากเครื่องยนต์แต่ละรุ่นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปเป็นปกติ
ทั้งนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนในเรื่องแรงม้าที่เพิ่มขึ้นสำหรับทาง TZM โดยมีอยู่ 36 แรงม้า ซึ่งมีมากกว่าใน TZR ที่มีแรงม้าอยู่ที่ 34 แรงม้า
แต่ไฉน TZM จึงชักช้าอุ๋ยอายกว่า TZR ?
เมื่อลองมาดูในส่วนของน้ำหนักของตัวรถของ TZM พบว่ามีน้ำหนักอยู่ที่ 119 กิโลกรัม และในส่วน TZR มีน้ำหนักอยู่ที่ 108 กิโลกรัม ซึ่งส่วนต่างของน้ำหนักอยู่ที่ 11 กิโลกรัม โดยส่วนต่าง 11 กิโลกรัมกับแรงม้าที่มากกว่า TZR เพียงแค่ 2 แรงม้า เนี่ยอาจเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ปลายของเจ้า TZM ไม่สามารถไหลเทียบเท่า TZR ได้
อาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เนื่องจากรูปทรงของ TZR มีความเพียวบาง ไม่ได้อวบอ้วนอย่าง TZM อีกทั้งหากนำน้ำหนัก TZM ไปเปรียบเทียบกับสปอร์ตในช่วงเวลาเดียวกันจะพบว่าแต่ละรุ่นก็มีน้ำหนัก 119-122 กิโลกรัมโดยประมาณ แต่ใยในช่วงความเร็วปลายไม่อาจต่อกรกับค่ายอื่นได้
ราคาขายก็เปรียบเหมือนตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยทาง Yamaha ได้วางราคาอยู่ที่ 64,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งหากนำราคาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งค่ายต่างๆ ถือว่ามีราคาที่แพงกว่ารุ่นอื่นอยู่เล็กน้อย
ราคา
-----------
ในร้ายก็ย่อมมีดีปะปน
ถึงแม้ TZM จะมีชื่อเสียงที่ไม่ดีในเรื่องในเรื่องความเร็วปลาย แต่สำหรับในเรื่องการเล่นโค้งก็พอมีชื่อเสียงอยู่พอประมาณ สำหรับการแข่งเซอร์กิสแล้ว TZM ก็เปรียบเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ NSR เลยทีเดียว
Two Stroke 150cc Racing Era. NSR VS TZM ARRC 1998
https://www.facebook.com/fahmi.fahlevi.39/posts/10210740677987309
กาลผ่านเปลี่ยนผันล่วงเลยมา 25 ปีโดยประมาณ แต่ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่ยังคงสร้างชื่อเสียงให้กับเจ้า TZM แม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้วก็ตาม สิ่งนั้นก็คือ “ปะกับเร่ง”
สุดท้ายนี้อาจจะสรุปอย่างคร่าวๆ ได้ว่าทาง Yamaha คงมีปัญหากับการวางทิศทางตลาดของเจ้า TZM ว่าจะรถมีความโดดเด่นในด้านใดกันแน่ ความครุมเครือที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้ TZM กลายเป็นรถที่กลางๆ จะเด่นก็เด่นไม่สุด จะแย่ก็ไม่แย่ที่สุดเหมือนกัน นอกจากนี้ยังถือได้ว่า TZM เป็นสปอร์ตรุ่นสุดท้ายของทาง Yamaha ในช่วงยุคทองของรถ 2 จังหวะอีกด้วย
Yamaha TZM150 (รุ่นใหญ่...ตามใครไม่เป็น)
มนุษย์กับความหวังเป็นสิ่งที่ควบคู่กันมาอยู่เสมอ จึงไม่ใช่ความผิดแปลกอะไร ในทางกลับกันอาจจะพูดได้เสียอีกว่ามนุษย์ล้วนอยู่ได้ด้วยความหวัง แต่ก็ไม่ใช่ทุกเรื่องที่คาดหวังจะสำเร็จได้ดั่งใจหวังอีกนั้นหล่ะ ทั้งนี้ไม่ว่าในเรื่องใดๆ ก็จะมีความหวังเป็นตัวประกอบอยู่เสมอไม่มีข้อยกเว้น สำหรับทางค่าย Yamaha ด้วยเช่นกันที่คาดหวัง TZM 150 จะสามารถแย่งชิงพื้นที่ตลาดของรถสปอร์ต 150cc ที่กำลังดุเดือดอยู่ในตอนนั้น
หากย้อนกลับไปถึงต้นตระกูลสปอร์ตขนาด 150 cc ของทาง Yamaha ในไทยแล้วพบว่าเริ่มทำตลาดในปี 2530 โดยมี VR150 เป็นรุ่นแรก จวบจนถึงในปี 2533 ก็มี TZR150 เป็นรถสปอร์ตลำดับที่ 2 ของทางค่าย และในปี 2537 ก็ได้ทำการเปิดตัวรถสปอร์ตลำดับที่ 3 ของทางค่าย โดยอยู่ภายใต้รหัสว่า TZM 150 หากสังเกตุจะพบว่าโมเดลรถสปอร์ตมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-4 ปีโดยประมาณ
ในปี 2537 ที่ทาง Yamaha ได้เลือกส่ง TZM 150 เข้าสู่ท้องตลาดเพื่อต่อสู้กับทางค่าย Honda ที่มี NSR150RR (ตากลม) ทำตลาดอยู่ ในส่วนของทางค่าย Suzuki ก็มี RG150-I ด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากนี้ก็ยังมีค่าย Kawasaki ที่มีทั้ง Kr Victor และ Serpico ที่ทำตลาดรถขนาด 150cc เหมือนกัน ทั้งนี้ดูเหมือนว่า TZM จะเจอคู่แข่งที่น่ากลัวอยู่พอประมาณ ถ้าหากไม่สามารถหาจุดเด่นของรถได้ ความหวังที่ว่าจะมาแย่งชิงพื้นที่การตลาดคงเลื่อนลางจางหายไปอย่างแน่แท้
เรื่องที่ปกติที่ค่ายรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นจะทำการถอดแบบรถสปอร์ตรุ่นใหญ่ของทางค่าย และมาสร้างเป็นสปอร์ตขนาดเล็ก โดย TZM 150 ก็ได้รับถ่ายทอดความเป็นซุปเปอร์สปอร์ตมาจาก TZM 250 M ซึ่งเป็นรุ่นที่นักบิดชาวญี่ปุ่นสามารถคว้าแชมป์โลกเวิลด์ กรังด์ปรีซ์ 2536 (1993) ในรุ่น GP-2 (250cc)
TZM 150 มาพร้อมกับเครื่องยนต์ในรหัส 4AP ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว (เป็นพลาสติก) ระบายความร้อนด้วยน้ำ ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 147 cc มีระยะชักที่ 59.0 -54.0 มม. และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.0: 1 ควบคุมปริมาณการสูบน้ำมันโดย VCLS อีกทั้งควบคุมพอร์ทไอเสียด้วยระบบ YPVS โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 36.0 แรงม้าที่ 10,500 รอบ/นาที และมีอัตตราแรงบิดอยู่ที่ 2.5 กก.-ม. ที่ 9,500 รอบ/นาที
- เสื้อสูบอลูมิเนียมเคลือบด้วยสาร NCC ส่งผลทำให้เสื้อสูบลื่นขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดความร้อนในห้องเผาไหม้ได้ดี อีกทั้งการใช้ลูกสูบแบบหัวเรียบแบบรถแข่ง ผสมผสานกับฝาสูบที่ได้รับการออกแบบใหม่เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ให้ถึงขีดสุด
- คาร์บูเรเตอร์แบบ Power Jet รุ่น VM 30SS ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์ โดยระบบ Power Jet จะป้อนเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมระหว่างน้ำมันและอากาศอย่างเหมาะสมอีกด้วย
- ควบคุมการจุดระเบิดด้วยระบบ CDI Digital ที่ถูกควบคุมด้วยระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้องศาการจุดระเบิดมีความแม่นยำเที่ยงตรง
- ยางรองแท่นเครื่องแบบใหม่ 4 จุด ส่งผลทำให้ลดอาการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ รวมไปถึงลดระดับเสียงของเครื่องยนต์อีกด้วย
- ท่อไอเสียขนาดใหญ่สไตล์รถแข่ง (Race-Chamber) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ นอกจากนี้ผนังไอเสียแบบ 2 ชั้น สามารถช่วยลดระดับเสียงจากท่อไอเสียรวมไปถึงปริมาณไอเสีย
- โครงตัวถังแบบเดลต้าบ็อกซ์ (Delta-Box) ถูกพัฒนามาจากรถในสนามแข่ง โดยการออกแบบให้ระยะห่างระหว่างองศาที่คอรถและจุดหมุนของสวิงอาร์มสั้นลง ส่งผลทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว และทนแรงบิดได้สูงกว่าโครงปกติทั่วไปถึง 50%
- โครงตัวถังช่วงล่างแบบถอดได้ด้านเดียว (Down-Tube) มั่นคง แข็งแรง และง่ายต่อการบำรุงรักษา
- สวิงอาร์มหลังแบบกล่องขนาดใหญ่ สามารถทนแรงบิดได้สูงกว่าแบบปกติทั่วไปถึง 50% ซึ่งทำงานรวมกับโช๊คหลังแบบโมโนครอส (Mono-Cross) ที่ได้รับการออกแบบใหม่เพิ่มความทนของสปริง 20% รวมไปถึงช่วงยุบตัวที่เพิ่มขึ้น 16%
- โช๊คอัฟหน้าแบบเทเลสโคปิค (Telescopic) ได้รับการออกแบบให้มีความทนทานของสปริงขึ้น 11% และช่วงยุบตัวที่เพิ่มขึ้น 8%
- ฝาถังน้ำมันแบบเดียวกับที่ใช้กับเครื่องบิน
- เบาะซ้อนท้ายแบบสปอร์ตที่ทันสมัย โดยส่วนท้ายของเบาะถูกยกระดับขึ้น นอกจากนี้เหล็กท้ายจับเบาะทำขึ้นจากอลูมิเนียม
- ล้อแม็กซ์ 3 ก้าน ยี่ห้อ เอ็นไก โดยออกแบบให้สอดคลองกับตัวรถ นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักที่เบา เหนือสิ่งอื่นใดถือได้ว่า TZM เป้นรถสปอร์ตขนาด 150cc รุ่นแรกในไทยที่เลือกใช้ยางแบบไม่มียางใน (Tubeless)
- ดิสก์เบรคหน้าแบบ Floating Type / ดิสก์เบรคหลังแบบลูกสูบคู่
- แฟริ่งเต็มตัวแบบสปอร์ตกลมกลืนไปกับหลักอากาศพลศาสตร์ (Aero-Dynamic)
- แฮนด์แบบแยกส่วนพร้อมทั้งติดตั้งลูกยางกันกระแทก มีมุมเลี้ยวที่ 34 องศา ทำให้เกิดความคล่องตัวในสภาวะการจราจรที่ติดขัด นอกจากนี้พักเท้าเป็นแบบแยกส่วน พับเอียงได้ส่งผลทำให้รถสามารถเอียงโค้งได้ถึง 51 องศา
- ไฟหน้าทรงใหม่พร้อมหลอดฮาโลเจน โดยไฟหน้ามีรูปแบบเป็นทรงพระจันทรฺเสี้ยวใช้หลอดฮาโลเจน ส่งผลให้ไฟมีความสว่างมากขึ้น พร้อมทั้งไฟเลี้ยวแบบใหม่สไตล์รถแข่งยึดติดกับชุดแฟริ่ง
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในช่วงเวลาที่ทาง Yamaha ได้ส่ง TZM เข้าสู่ท้องตลาด เป็นช่วงเวลาที่การแข่งขันของตลาดประเภทรถสปอร์ตขนาด 150cc กำลังดุเดือด เนื่องจากแต่ละค่ายล้วนมีประสบการณ์ในการทำตลาดมาแล้วอย่างน้อยๆ ค่ายละ 5 ปีเป็นอย่างต่ำ
Honda มี Nsr 150RR พร้อมทั้งความเป็นเจ้าตลาด ซึ่งเจ้าตลาดในที่นี้หมายถึงมีศูนย์บริการที่ควบคุมพื้นที่ในประเทศไทย ส่งผลทำให้อะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถหาซื้อได้อย่างง่ายได้
Suzuki มี RG-150 I อาจไม่เปรี้ยงปรางเท่าไหร่ แต่ในเรื่องความแรงเดิมๆ จากโรงงานไม่เป็นรองรุ่นไหนอย่างแน่นอน
Kawasaki มีทั้ง Kr150 Serpico และ Victor กล่าวอย่างง่ายๆ คือมีทั้ง สปอร์ต คลาสสิกสปอร์ต และทัวร์ริ่ง ให้เลือกสรร
ทั้งนี้รถสปอร์ตค่ายอื่นๆ อาจจะเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่งในการที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อ แต่ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด ซึ่งยังมีเหตุผลหนึ่งในเรื่องการเปรียบเทียบรถสปอร์ตรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ในค่าย
หากนำข้อมูลสเปคเครื่องยนต์ในโบรชัวร์มาเปรียบเทียบกัน โดยทาง TZR มาพร้อมกับเครื่องยนต์รหัส 3RR และในส่วน TZM มาพร้อมกับรหัสเครื่องยนต์ 4AP
สเปคข้อมูลเปรียบเทียบ
TZR
TZM
ในเมื่อเลือกที่จะใช้เครื่องยนต์คนละรหัส ก็ไม่อาจจะคาดหวังอารมณ์การขับขี่แบบเดิมได้อีกแล้ว เนื่องจากเครื่องยนต์แต่ละรุ่นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปเป็นปกติ
ทั้งนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนในเรื่องแรงม้าที่เพิ่มขึ้นสำหรับทาง TZM โดยมีอยู่ 36 แรงม้า ซึ่งมีมากกว่าใน TZR ที่มีแรงม้าอยู่ที่ 34 แรงม้า
แต่ไฉน TZM จึงชักช้าอุ๋ยอายกว่า TZR ?
เมื่อลองมาดูในส่วนของน้ำหนักของตัวรถของ TZM พบว่ามีน้ำหนักอยู่ที่ 119 กิโลกรัม และในส่วน TZR มีน้ำหนักอยู่ที่ 108 กิโลกรัม ซึ่งส่วนต่างของน้ำหนักอยู่ที่ 11 กิโลกรัม โดยส่วนต่าง 11 กิโลกรัมกับแรงม้าที่มากกว่า TZR เพียงแค่ 2 แรงม้า เนี่ยอาจเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ปลายของเจ้า TZM ไม่สามารถไหลเทียบเท่า TZR ได้
อาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เนื่องจากรูปทรงของ TZR มีความเพียวบาง ไม่ได้อวบอ้วนอย่าง TZM อีกทั้งหากนำน้ำหนัก TZM ไปเปรียบเทียบกับสปอร์ตในช่วงเวลาเดียวกันจะพบว่าแต่ละรุ่นก็มีน้ำหนัก 119-122 กิโลกรัมโดยประมาณ แต่ใยในช่วงความเร็วปลายไม่อาจต่อกรกับค่ายอื่นได้
ราคาขายก็เปรียบเหมือนตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยทาง Yamaha ได้วางราคาอยู่ที่ 64,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งหากนำราคาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งค่ายต่างๆ ถือว่ามีราคาที่แพงกว่ารุ่นอื่นอยู่เล็กน้อย
ราคา
ถึงแม้ TZM จะมีชื่อเสียงที่ไม่ดีในเรื่องในเรื่องความเร็วปลาย แต่สำหรับในเรื่องการเล่นโค้งก็พอมีชื่อเสียงอยู่พอประมาณ สำหรับการแข่งเซอร์กิสแล้ว TZM ก็เปรียบเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ NSR เลยทีเดียว
Two Stroke 150cc Racing Era. NSR VS TZM ARRC 1998
https://www.facebook.com/fahmi.fahlevi.39/posts/10210740677987309
กาลผ่านเปลี่ยนผันล่วงเลยมา 25 ปีโดยประมาณ แต่ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่ยังคงสร้างชื่อเสียงให้กับเจ้า TZM แม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้วก็ตาม สิ่งนั้นก็คือ “ปะกับเร่ง”
สุดท้ายนี้อาจจะสรุปอย่างคร่าวๆ ได้ว่าทาง Yamaha คงมีปัญหากับการวางทิศทางตลาดของเจ้า TZM ว่าจะรถมีความโดดเด่นในด้านใดกันแน่ ความครุมเครือที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้ TZM กลายเป็นรถที่กลางๆ จะเด่นก็เด่นไม่สุด จะแย่ก็ไม่แย่ที่สุดเหมือนกัน นอกจากนี้ยังถือได้ว่า TZM เป็นสปอร์ตรุ่นสุดท้ายของทาง Yamaha ในช่วงยุคทองของรถ 2 จังหวะอีกด้วย
https://www.facebook.com/groups/2tspec/
https://www.facebook.com/groups/960078604050837/
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
http://bit.ly/2PxTZMZ