ห่างหายจากการเขียนรถ Yamaha อยู่นานนม วันนี้ถือว่าฤกษ์งามยามดีที่จะเขียนรถตระกูล TZR ให้จบสิ้นเสียที เนื่องจากในครั้งก่อนๆ ได้เขียนทิ้งไว้ถึงรุ่นในปี 2536 ซึ่งเป็นตัวตูดเป็ด (ลักษณะไฟท้ายเหมือนตูดเป็ด) เพียงเท่านั้น
โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2536 ทางค่ายรถ Yamaha ก็ได้ทำการเปิดตัวแนะนำรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ขึ้นพร้อมทั้งให้สื่อมวลชนได้ทำการทดลองขับขี่ที่สนามพีระเซอร์กิต พัทยา ซึ่งในงานการเปิดตัวครั้งนี้มีรถสปอร์ตขนาด 150cc จำนวน 3 รุ่นได้แก่ VR-R, VR-M และ TZR-R โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุด คือรูปลักษณ์ภายนอกที่ทาง Yamaha ปรับปรุงให้ดูมีความทันสมัยไม่ตกยุคทั้ง 3 รุ่น
สำหรับการเขียนครั้งนี้จะขอกล่าวถึงตระกูล TZR เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากตระกูลของ VR ผู้เขียนได้กล่าวถึงไปหมดแล้ว
Yamaha ยังคงเลือกที่จะใช้ตัวเครื่องรหัส 3RR ซึ่งเป็นรหัสเครื่องเดิมที่ใช้อยู่กับ TZR ในรุ่นก่อน โดยเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 สูบ ปริมาตรกระบอกสูบอยู่ที่ 147cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ บรรจุไอดีแบบแครงค์เคสรีดวาล์ว ควบคุมปริมาณการสูบน้ำมันโดย VCLS และควบคุมพอร์ทไอเสียด้วยระบบ YPVS โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 34 แรงม้าที่ 10,500 รอบ/นาที และมีแรงบิดอยู่ที่ 2.35 กก.-ม. ที่ 10,000 รอบ/นาที
ทั้งนี้มุมมองส่วนตัวของผู้เขียนขอยกให้ย่องให้เครื่องยนต์ของตระกูล 3RR เป็นเครื่องที่ดีรุ่นหนึ่งของรถสปอร์ต 150cc ในประเทศก็ว่าได้
สเปคข้อมูล
--------
การเวลาที่ล่วงเลย นำพาความชัดเจนให้เลื่องลาง ผู้เขียนไม่อาจสามารถระบุถึงความเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกเหนือไปจากสีและรหัสเครื่องยนต์เพียงเท่านั้น โดยนับตั้งแต่ในปี 2537 เป็นต้นมา
ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถที่จะหาเอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้อย่างแน่ชัด ข้อมูลมีเพียงเป็นคำบอกเล่าจากช่างหรือผู้ใช้รถตามเว็ปไซค์ต่างๆ เพียงเท่านั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดความผิดผลาดจึงจำเป็นต้องยึดข้อมูลจากเหล่าเอกสารในช่วงเวลานั้นเพียงเท่านั้น
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนสำหรับเจ้า TZR คือท่อไอเสีย เนื่องจากการถูกกฏหมายมลพิษคอยจัดการควบคุมไอเสียให้ด้ตามค่ามาตาฐาน ซึ่งเหมือนกันกับค่ายอื่น
-------
TZR 1994 (2537)
Yamaha ได้ทำการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ โดยใช้รหัสเครื่องยนต์เป็น 3RR5
--------
TZR 150 RS 1995 (2538)
ใช้เครื่องรหัส 3RR5
--------
TZR 150 RT 1999 (2542)
Yamaha ได้กลับมาใช้เครื่องยนต์ในรหัส 3RR
--------
TZR 150 RV 2000 (2543)
รุ่นสุดท้ายของตระกูล TZR มาพร้อมกับรหัสเครื่องยนต์ 3RR6
--------
ระยะเวลาการทำตลาดของ TZR
TZR เริ่มเข้าสู่ท้องตลาดในปี 2533 จนถึงในปี 2543 โดยมีระยะเวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียวสำหรับรหัสรถรุ่นนี้ ทั้งนี้หากลองสังเกตุช่วงเวลาการปล่อยรถโฉมใหม่ดีๆ จะพบว่า
ตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2538 ระยะของส่ง TZR โฉมใหม่มีความปกติ ไม่ผิดแปลกอะไร ซึ่งเรียกได้ว่าทาง Yamaha ปล่อยรถโฉมใหม่ทุกปียกเว้นแค่ในปี 2535 เพียงเท่านั้น
นับตั้งแต่โฉม TZR ในปี 2538 เป็นต้นมาทาง Yamaha ก็ได้หยุดผลิต TZR รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ท้องตลาดอีกเลย
จนในปี 2542 กว่าที่ทาง Yamaha จะส่ง TZR โฉมใหม่เข้าสู่ท้องตลาดอีกครั้ง ซึ่งใช้ระยะเวลาถึง 4 ปีโดยประมาณเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเลือกกลับไปใช้รหัสเครื่องยนต์ 3RR ซึ่งอยู่ใน TZR ปี 2536 อีกด้วย
ระยะเวลาที่หายไปของ TZR ?
หากลองวิเคราะห์หาเหตุผลว่าทำไมทาง Yamaha ถึงได้หยุดทำตลาด TZR ไปดื้อๆ อาจจะได้เหตุผลที่ว่าในเมื่อ Yamaha ได้ส่งรถสปอร์ตรุ่นใหม่มาทำตลาดแทนในปี 2537 โดยมีรหัส TZM 150 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับที่ Yamaha จะส่ง TZR ในปี 2538 เพื่อส่งท้ายรถรหัสนี้
เมื่อ TZM กลายเป็นรุ่นเรือธงของทางค่าย Yamaha จึงไม่ผิดแปลกอะไรที่ทางค่ายจะทุ่มเท่การตลาดให้กับ TZM ที่ใหม่กว่าสดกว่าและดูสปอร์ตยิ่งกว่าเดิม ทั้งนี้อาจเปรียบได้ดั่งว่า TZM คือความหวังใหม่ของทางค่ายที่จะออกไปต่อสู้กับสปอร์ต 150cc ค่ายอื่นๆ
ใช้ระยะเวลาเพียงไม่นานเท่าไหร่ TZM ก็สามารถแจ้งเกิดได้อย่างเต็มตัว ขนาดมีสโลแกนประจำตัวให้ล้อกันถึงปัจจุบันนี้ว่า “Yamaha TZM รุ่นใหญ่.. ตามใครไม่เป็น หรือ ตามใครไม่ทัน”
โดยในช่วงที่รถสองจังหวะกำลังขึ้นถึงจุดสูงสุด ทุกค่ายล้วนพยายามจะทำรถให้มีความเร็วแรงควบคู่กับรูปทรงที่ดูสปอร์ตทันสมัย แต่ใยทาง Yamaha ถึงได้เดินเกมทางการตลาดผิดผลาดแบบนี้
อีกมุมมองที่น่าสนใจ อาจเป็นเพราะว่า TZR ได้ทำมาตาฐานของรถสปอร์ตในค่ายในเรื่องความเร็วแรงไว้ดีมาก จึงทำให้กลุ่มซื้อ TZM คาดหวังความเร็วแรงที่เหมือนเดิมหรือมากกว่า TZR แต่ท้ายที่สุดไม่เป็นดั่งหวัง กระแสความนิยมจึงเริ่มเสื่อมคลายกลายเงาตามตัว
จากที่กล่าวมาเป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน ถึงการกลับมาทำตลาดของ TZR ค้างโฉมปี 2538 ไว้ถึง 4 ปีกว่าที่ทางค่าย Yamaha จะมาทำโฉมใหม่ในปี 2542
ถึงแม้ความคิดส่วนตัวของผู้เขียนจะหาเหตุผลดีๆ มาสนับสนุนแนวคิดที่ว่าทาง Yamaha แอบซุ่มพัฒนาเจ้า TZR อย่างเงียบๆ ในระยะเวลาหลายปีที่หายไป แต่เมื่อถึงการเปิดตัว TZR ในปี 2542 พบว่าทาง Yamaha กลับไปเอาเครื่องยนต์ 3RR ซึ่งอยู่ใน TZR 2536 มาใช้แทนการพัฒนาหรือสร้างเครื่องยนต์ใหม่
สิ่งนี้อาจบอกเป็นนัยได้ว่าทาง Yamaha ไม่ได้แอบไปทำการพัฒนาอย่างลับๆ ที่ไหนเลย มันเป็นแค่เพียงการแก้เกมทางการตลาดเพียงเท่านั้น หรือเป็นเพียงการระบายอะไหล่ที่ค้างสต๊อกในโรงงานออกให้หมดเท่าที่ทำได้ ก่อนจะสิ้นสุดยุคของสองจังหวะ
นอกจากนี้ช่วงเวลาการกลับมาของ TZR ในปี 2542 และ 2543 มันคือช่วงเวลาที่ตลาดรถสองจังหวะกำลังจะจบสิ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่เข้าสู่ยุค 4 จังหวะอย่างเต็มตัว
--------
Yamaha TZR รถแรง...แม้อนาคตยังตกเป็นผู้ตาม !! (V2)
ห่างหายจากการเขียนรถ Yamaha อยู่นานนม วันนี้ถือว่าฤกษ์งามยามดีที่จะเขียนรถตระกูล TZR ให้จบสิ้นเสียที เนื่องจากในครั้งก่อนๆ ได้เขียนทิ้งไว้ถึงรุ่นในปี 2536 ซึ่งเป็นตัวตูดเป็ด (ลักษณะไฟท้ายเหมือนตูดเป็ด) เพียงเท่านั้น
Tzr150 (ตูดเป็ด) /https://ppantip.com/topic/38255147
โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2536 ทางค่ายรถ Yamaha ก็ได้ทำการเปิดตัวแนะนำรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ขึ้นพร้อมทั้งให้สื่อมวลชนได้ทำการทดลองขับขี่ที่สนามพีระเซอร์กิต พัทยา ซึ่งในงานการเปิดตัวครั้งนี้มีรถสปอร์ตขนาด 150cc จำนวน 3 รุ่นได้แก่ VR-R, VR-M และ TZR-R โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุด คือรูปลักษณ์ภายนอกที่ทาง Yamaha ปรับปรุงให้ดูมีความทันสมัยไม่ตกยุคทั้ง 3 รุ่น
สำหรับการเขียนครั้งนี้จะขอกล่าวถึงตระกูล TZR เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากตระกูลของ VR ผู้เขียนได้กล่าวถึงไปหมดแล้ว
Yamaha ยังคงเลือกที่จะใช้ตัวเครื่องรหัส 3RR ซึ่งเป็นรหัสเครื่องเดิมที่ใช้อยู่กับ TZR ในรุ่นก่อน โดยเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 สูบ ปริมาตรกระบอกสูบอยู่ที่ 147cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ บรรจุไอดีแบบแครงค์เคสรีดวาล์ว ควบคุมปริมาณการสูบน้ำมันโดย VCLS และควบคุมพอร์ทไอเสียด้วยระบบ YPVS โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 34 แรงม้าที่ 10,500 รอบ/นาที และมีแรงบิดอยู่ที่ 2.35 กก.-ม. ที่ 10,000 รอบ/นาที
ทั้งนี้มุมมองส่วนตัวของผู้เขียนขอยกให้ย่องให้เครื่องยนต์ของตระกูล 3RR เป็นเครื่องที่ดีรุ่นหนึ่งของรถสปอร์ต 150cc ในประเทศก็ว่าได้
การเวลาที่ล่วงเลย นำพาความชัดเจนให้เลื่องลาง ผู้เขียนไม่อาจสามารถระบุถึงความเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกเหนือไปจากสีและรหัสเครื่องยนต์เพียงเท่านั้น โดยนับตั้งแต่ในปี 2537 เป็นต้นมา
ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถที่จะหาเอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้อย่างแน่ชัด ข้อมูลมีเพียงเป็นคำบอกเล่าจากช่างหรือผู้ใช้รถตามเว็ปไซค์ต่างๆ เพียงเท่านั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดความผิดผลาดจึงจำเป็นต้องยึดข้อมูลจากเหล่าเอกสารในช่วงเวลานั้นเพียงเท่านั้น
นอกจากนี้ สิ่งที่น่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนสำหรับเจ้า TZR คือท่อไอเสีย เนื่องจากการถูกกฏหมายมลพิษคอยจัดการควบคุมไอเสียให้ด้ตามค่ามาตาฐาน ซึ่งเหมือนกันกับค่ายอื่น
Yamaha ได้ทำการปรับปรุงเครื่องยนต์ใหม่ โดยใช้รหัสเครื่องยนต์เป็น 3RR5
ใช้เครื่องรหัส 3RR5
Yamaha ได้กลับมาใช้เครื่องยนต์ในรหัส 3RR
รุ่นสุดท้ายของตระกูล TZR มาพร้อมกับรหัสเครื่องยนต์ 3RR6
TZR เริ่มเข้าสู่ท้องตลาดในปี 2533 จนถึงในปี 2543 โดยมีระยะเวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียวสำหรับรหัสรถรุ่นนี้ ทั้งนี้หากลองสังเกตุช่วงเวลาการปล่อยรถโฉมใหม่ดีๆ จะพบว่า
ตั้งแต่ปี 2533 จนถึง 2538 ระยะของส่ง TZR โฉมใหม่มีความปกติ ไม่ผิดแปลกอะไร ซึ่งเรียกได้ว่าทาง Yamaha ปล่อยรถโฉมใหม่ทุกปียกเว้นแค่ในปี 2535 เพียงเท่านั้น
นับตั้งแต่โฉม TZR ในปี 2538 เป็นต้นมาทาง Yamaha ก็ได้หยุดผลิต TZR รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ท้องตลาดอีกเลย
จนในปี 2542 กว่าที่ทาง Yamaha จะส่ง TZR โฉมใหม่เข้าสู่ท้องตลาดอีกครั้ง ซึ่งใช้ระยะเวลาถึง 4 ปีโดยประมาณเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเลือกกลับไปใช้รหัสเครื่องยนต์ 3RR ซึ่งอยู่ใน TZR ปี 2536 อีกด้วย
หากลองวิเคราะห์หาเหตุผลว่าทำไมทาง Yamaha ถึงได้หยุดทำตลาด TZR ไปดื้อๆ อาจจะได้เหตุผลที่ว่าในเมื่อ Yamaha ได้ส่งรถสปอร์ตรุ่นใหม่มาทำตลาดแทนในปี 2537 โดยมีรหัส TZM 150 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับที่ Yamaha จะส่ง TZR ในปี 2538 เพื่อส่งท้ายรถรหัสนี้
เมื่อ TZM กลายเป็นรุ่นเรือธงของทางค่าย Yamaha จึงไม่ผิดแปลกอะไรที่ทางค่ายจะทุ่มเท่การตลาดให้กับ TZM ที่ใหม่กว่าสดกว่าและดูสปอร์ตยิ่งกว่าเดิม ทั้งนี้อาจเปรียบได้ดั่งว่า TZM คือความหวังใหม่ของทางค่ายที่จะออกไปต่อสู้กับสปอร์ต 150cc ค่ายอื่นๆ
ใช้ระยะเวลาเพียงไม่นานเท่าไหร่ TZM ก็สามารถแจ้งเกิดได้อย่างเต็มตัว ขนาดมีสโลแกนประจำตัวให้ล้อกันถึงปัจจุบันนี้ว่า “Yamaha TZM รุ่นใหญ่.. ตามใครไม่เป็น หรือ ตามใครไม่ทัน”
โดยในช่วงที่รถสองจังหวะกำลังขึ้นถึงจุดสูงสุด ทุกค่ายล้วนพยายามจะทำรถให้มีความเร็วแรงควบคู่กับรูปทรงที่ดูสปอร์ตทันสมัย แต่ใยทาง Yamaha ถึงได้เดินเกมทางการตลาดผิดผลาดแบบนี้
อีกมุมมองที่น่าสนใจ อาจเป็นเพราะว่า TZR ได้ทำมาตาฐานของรถสปอร์ตในค่ายในเรื่องความเร็วแรงไว้ดีมาก จึงทำให้กลุ่มซื้อ TZM คาดหวังความเร็วแรงที่เหมือนเดิมหรือมากกว่า TZR แต่ท้ายที่สุดไม่เป็นดั่งหวัง กระแสความนิยมจึงเริ่มเสื่อมคลายกลายเงาตามตัว
จากที่กล่าวมาเป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน ถึงการกลับมาทำตลาดของ TZR ค้างโฉมปี 2538 ไว้ถึง 4 ปีกว่าที่ทางค่าย Yamaha จะมาทำโฉมใหม่ในปี 2542
ถึงแม้ความคิดส่วนตัวของผู้เขียนจะหาเหตุผลดีๆ มาสนับสนุนแนวคิดที่ว่าทาง Yamaha แอบซุ่มพัฒนาเจ้า TZR อย่างเงียบๆ ในระยะเวลาหลายปีที่หายไป แต่เมื่อถึงการเปิดตัว TZR ในปี 2542 พบว่าทาง Yamaha กลับไปเอาเครื่องยนต์ 3RR ซึ่งอยู่ใน TZR 2536 มาใช้แทนการพัฒนาหรือสร้างเครื่องยนต์ใหม่
สิ่งนี้อาจบอกเป็นนัยได้ว่าทาง Yamaha ไม่ได้แอบไปทำการพัฒนาอย่างลับๆ ที่ไหนเลย มันเป็นแค่เพียงการแก้เกมทางการตลาดเพียงเท่านั้น หรือเป็นเพียงการระบายอะไหล่ที่ค้างสต๊อกในโรงงานออกให้หมดเท่าที่ทำได้ ก่อนจะสิ้นสุดยุคของสองจังหวะ
นอกจากนี้ช่วงเวลาการกลับมาของ TZR ในปี 2542 และ 2543 มันคือช่วงเวลาที่ตลาดรถสองจังหวะกำลังจะจบสิ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่เข้าสู่ยุค 4 จังหวะอย่างเต็มตัว
https://www.facebook.com/groups/2tspec/
https://www.facebook.com/groups/960078604050837/
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
http://bit.ly/2PxTZMZ