ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ณ.ห้องบางกอกคอนเวนชั่น โรงแรมเซนทรัลพลาซ่า Suzuki ได้ทำการเปิดตัว RG-150 I ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเป็นการแก้เกมทางการตลาดของรถสปอร์ตขนาด 150cc กับค่ายญี่ปุ่นเจ้าอื่นๆ
RG-150 I ใช้ระยะเวลาเพียงไม่นานก็สามารถสร้างชื่อเสียงในเรื่องความเร็วและแรงได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องแลกกับความเร็วแรงก็คืออัตราการบริโภคน้ำมันอันดุเดือดเป็นที่เลื่องลืออย่างมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งปัญหาเรื่องความร้อนที่พบเจอส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ขับขี่อยู่ในเมืองหลวง เนื่องจากมีสภาพการจราจรที่ติดขัด สิ่งเหล่านี้เองได้กลายเป็นข้อด้อยของรถรุ่นนี้ไปโดยบรรยาย หากนำไปเปรียบเทียบกับสปอร์ตค่ายอื่น
ข้อมูล RG-150 I
กาลเวลาล่วงเลยผ่านมาถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ทาง Suzuki ก็ได้ทำการพัฒนาปรับปรุงรถรวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ก้าวทันกับคู่แข่งค่ายต่างๆ ทำให้ได้รถสปอร์ตขนาด 150 cc ภายใต้รหัสว่า RG 150 Gamma II
RG 150 Gamma II มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 148 cc มีระยะชักที่ 61.0-50.6 มม. และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.8: 1 พร้อมทั้งระบบควบคุมการระบายไอเสีย AETC II (Automatic Exhaust Timing Control II) ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดที่ 37 แรงม้า ต่อรอบเครื่อง 10,800 รอบ/นาที และมีแรงบิดที่ 2.55 กก.-ม. ที่ 10,000 รอบ/นาที
ข้อมูลสเปค
เป้าหมายสำคัญอีกอย่างของ RG 150 Gamma II คือการลดอัตราการบริโภคน้ำมันให้มีความใกล้เคียงกับคู่แข่งค่ายอื่นๆ ดังนั้นทาง Suzuki จึงได้ปรับแก้ไขที่ขนาดของคาบูเรเตอร์แบบสลิงช็อตให้เล็กลงจากเดิม โดยจากขนาด 30 มม. ลดเหลือ 28 มม. นอกจากนี้ยังได้มีการปรับแต่งขยายช่องพอร์ทไอดีให้ใหญ่ขึ้นจากรุ่นเดิม โดยจาก 39.5 มม. เพิ่มขึ้นเป็น 40 มม. เพื่อช่วยให้ไอดีไหลเข้ารวดเร็วขึ้น
ในส่วนปัญหาเรื่องระบบความร้อนจากรุ่นเก่า ทาง Suzuki ได้ปรับปรุงช่องทางเดินของน้ำใหม่ให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยระบายความร้อนให้ได้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ในส่วนของกระบอกสูบได้มีการเคลือสารหล่อลื่น Lublite Coating เพื่อช่วยลดแรงเสียดทานภายในกระบอกสูบ และเมื่อผสมผสานกับลูกสูบที่เคลือบสารหล่อลื่น Deflic Coating ที่ช่วยป้องกันการลูกสูบติด รวมถึงการปรับปรุงชุดก้านสูบและสลักข้อเหวี่ยงใหม่ ส่งผลทำให้เครื่องยนต์เดินได้อย่างเรียบและเสียงที่เงียบขึ้นจากเดิม
วาล์วไอเสียได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ จากเดิมเป็นอลูมินัมมาเป็นเหล็กชนิดพิเศษ ซึ่งมีน้ำหนักที่เบาและมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ และรวมไปถึงสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าเดิม
การปรับปรุงเครื่องยนต์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ล้วนเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของเครื่องยนต์ในรุ่น RG-150 I ทั้งสิ้น
Suzuki ไม่เพียงแค่ปรับปรุงในส่วนของเครื่องยนต์เพียงเท่านั้น สำหรับในส่วนประกอบต่างๆ ของรถก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน
บังโคลนหน้าได้ถูกปรับปรุงให้มีความยาวขึ้นจากเดิม เพื่อป้องกันเศษชิ้นส่วนต่างๆ กระเด็นไปโดนรังผึ้งของหม้อน้ำ และยังสามารถดูแลความสะอาดให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
บังโคลนท้ายได้ ปรับปรุงให้มีความยาวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกกระเด็นขึ้นข้างหลัง
แกนโช๊คอัพหน้าได้เพิ่มความยาวขึ้นอีก 35 มม. เพื่อให้โช๊ตทำงานได้นุ่มนวลขึ้นยิ่งกว่าเดิม
ล้อแม็ก (Castwell) แบบ 3 ก้านมีความแข็งแรงทนทานและน้ำหนักที่เบา ส่งผลให้ไม่กินกำลังของเครื่องยนต์ และรวมไปถึงเข้ากับกระแสของรถสปอร์ตในขณะนั้นที่เป็นล้อแม็กกันทั้งหมด
ไฟเลี้ยวหน้า-หลังแบบ Build in Type ติดตั้งเป้นชิ้นเดียวกับชุดแฟริ่งรถ
สีและสติกเกอร์ลวดลายใหม่ เพื่อบ่งบอกความเป็น RG 150 Gamma II
นอกจากนี้ Suzuki ได้แบ่ง RG 150 Gamma II ออกเป็น 2 รุ่น ได้แก่
- RG 150 II ES
- RG 150 II E
โดยความแตกต่างกันระหว่าง 2 รหัสนี้คือเบาะเพียงเท่านั้น โดยเบาะของรุ่น ES มีลักษณะเป็นตอนเดียว และเบาะในรุ่น E มีลักษณะเป็น 2 ตอน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของ RG 150 Gamma II สำหรับในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงไม่ว่าจะเป็น เฟรมเหลี่ยมคู่แบบ S.R.F.B. สวิงอาร์มรูปทรงพระจันทร์เสี้ยว และ ดิสก์เบรกหน้าหลังแบบสูบคู่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หายไปได้เพียงแต่ทาง Suzuki มองว่าชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ล้วนดีพอที่จะไม่ต้องปรับปรุงเพื่อใช้กับ RG 150 Gamma II
------------
อัตราการบริโภคน้ำมันสำหรับ RG 150 Gamma II ที่ทางนิตยสารได้ทำการทดสอบในช่วงเวลานั้น โดยสามารถหารค่าเฉลี่ยไว้ที่ 17.6 กิโลเมตร ต่อ 1 ลิตร ซึ่งใช้ความเร็วในการเดินทางเฉลี่ย 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่รอบเครื่อง 11,000 รอบ/นาที
อัตราการกินน้ำมัน
เมื่อได้เห็นตัวเลขการกินน้ำมันที่ทาง Suzuki ได้บรรยายไว้ว่าปรับปรุงให้มีความประหยัดขึ้นจากในรุ่นก่อน ทำให้เกิดความสงสัยว่าแล้วในรุ่น RG-150 I ที่ใช้คาบูเรเตอร์ขนาด 30 มม. มันกินน้ำมันขนาดไหน ?
------------
หากจะกล่าวถึงภาพลักษณ์ของรถตระกูล RG 150 คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าจุดเด่นที่แท้จริงคือความเร็วแรงที่มีมาจากโรงงาน ทั้งนี้สิ่งที่อยู่เหนือความเร็วแรงของรถ RG 150 คือการตลาดแบบ Suzuki
นับตั้งแต่ปี 2528 ที่ทางค่าย Suzuki ได้เริ่มทำตลาดรถสปอร์ตขนาด 150 cc เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย จวบจนถึงในปี 2538 ที่ทางค่ายได้ส่งรถสปอร์ตรุ่นสุดทำเข้ามาสู่ท้องตลาด มีระยะเวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียว สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือการที่ทางค่ายมีรถสปอร์ตขนาด 150 cc เพียงแค่ 2 รหัสเท่านั้น ซึ่งได้แก่ RGV และ RG
RGV = S
RGV = SS
RGV = Megatone
RG = 150 Gamma I
RG = 150 Gamma II
เมื่อกลับไปมองคู่แข่งค่ายต่างๆ ล้วนมีรถสปอร์ต 150 cc ทำตลาดมากกว่าค่าย Suzuki ซึ่งผลลัพท์ที่ตามมาคือความรองในเรื่องความหลากหลายของรุ่นรถในค่ายที่มีน้อยกว่าคู่แข่ง
นอกจากนี้ยังถือได้ว่า RG 150 Gamma II เป็นรถสปอร์ตรุ่นสุดท้ายที่เป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ สำหรับทางค่าย Suzuki หากไปเปรียบกับค่ายต่างๆ จะพบว่ารถสปอร์ตรุ่นสุดท้ายของค่ายอื่นล้วนเปิดตัวอยู่ในช่วงปี 2540 กันทั้งนั้น ผิดกับทาง Suzuki ที่เลือกจบรถสปอร์ตรุ่นสุดท้ายไว้ที่ปี 2538 เพียงเท่านั้น
การหยุดพัฒนารถสปอร์ตเครื่องยนต์ 2 จังหวะของทางค่าย Suzuki ไม่ใช่เพื่อที่จะไปพัฒนารถสปอร์ตที่เป็น 4 จังหวะเพื่อมาทนแทน ในเมื่อหลังยุครถ 2 จังหวะทางค่ายก็ไม่ได้ทำรถสปอร์ตขนาด 150 cc มาทำตลาดต่อเพียงอย่างใด
ทั้งนี้ทาง Suzuki ได้ใช้ระยะเวลาถึง 22 ปีกว่าที่จะกลับมาทำตลาดรถสปอร์ตขนาด 150 cc อีกครั้งหนึ่ง โดยเปิดตัวภายใต้รหัส GSX 150R ในปี 2560
------------
Suzuki RG 150 Gamma II (รุ่นใหม่ ร้อนแรง เต็มสูบ)
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ณ.ห้องบางกอกคอนเวนชั่น โรงแรมเซนทรัลพลาซ่า Suzuki ได้ทำการเปิดตัว RG-150 I ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเป็นการแก้เกมทางการตลาดของรถสปอร์ตขนาด 150cc กับค่ายญี่ปุ่นเจ้าอื่นๆ
RG-150 I ใช้ระยะเวลาเพียงไม่นานก็สามารถสร้างชื่อเสียงในเรื่องความเร็วและแรงได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องแลกกับความเร็วแรงก็คืออัตราการบริโภคน้ำมันอันดุเดือดเป็นที่เลื่องลืออย่างมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ซึ่งปัญหาเรื่องความร้อนที่พบเจอส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ขับขี่อยู่ในเมืองหลวง เนื่องจากมีสภาพการจราจรที่ติดขัด สิ่งเหล่านี้เองได้กลายเป็นข้อด้อยของรถรุ่นนี้ไปโดยบรรยาย หากนำไปเปรียบเทียบกับสปอร์ตค่ายอื่น
กาลเวลาล่วงเลยผ่านมาถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ทาง Suzuki ก็ได้ทำการพัฒนาปรับปรุงรถรวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ก้าวทันกับคู่แข่งค่ายต่างๆ ทำให้ได้รถสปอร์ตขนาด 150 cc ภายใต้รหัสว่า RG 150 Gamma II
RG 150 Gamma II มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 1 ลูกสูบ ป้อนไอดีแบบแคร้งเคสรีดวาล์ว ระบายความร้อนด้วยน้ำ ความจุกระบอกสูบอยู่ที่ 148 cc มีระยะชักที่ 61.0-50.6 มม. และมีกำลังอัดอยู่ที่ 6.8: 1 พร้อมทั้งระบบควบคุมการระบายไอเสีย AETC II (Automatic Exhaust Timing Control II) ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์โดยสามารถทำแรงม้าสูงสุดที่ 37 แรงม้า ต่อรอบเครื่อง 10,800 รอบ/นาที และมีแรงบิดที่ 2.55 กก.-ม. ที่ 10,000 รอบ/นาที
เป้าหมายสำคัญอีกอย่างของ RG 150 Gamma II คือการลดอัตราการบริโภคน้ำมันให้มีความใกล้เคียงกับคู่แข่งค่ายอื่นๆ ดังนั้นทาง Suzuki จึงได้ปรับแก้ไขที่ขนาดของคาบูเรเตอร์แบบสลิงช็อตให้เล็กลงจากเดิม โดยจากขนาด 30 มม. ลดเหลือ 28 มม. นอกจากนี้ยังได้มีการปรับแต่งขยายช่องพอร์ทไอดีให้ใหญ่ขึ้นจากรุ่นเดิม โดยจาก 39.5 มม. เพิ่มขึ้นเป็น 40 มม. เพื่อช่วยให้ไอดีไหลเข้ารวดเร็วขึ้น
ในส่วนปัญหาเรื่องระบบความร้อนจากรุ่นเก่า ทาง Suzuki ได้ปรับปรุงช่องทางเดินของน้ำใหม่ให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อช่วยระบายความร้อนให้ได้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ในส่วนของกระบอกสูบได้มีการเคลือสารหล่อลื่น Lublite Coating เพื่อช่วยลดแรงเสียดทานภายในกระบอกสูบ และเมื่อผสมผสานกับลูกสูบที่เคลือบสารหล่อลื่น Deflic Coating ที่ช่วยป้องกันการลูกสูบติด รวมถึงการปรับปรุงชุดก้านสูบและสลักข้อเหวี่ยงใหม่ ส่งผลทำให้เครื่องยนต์เดินได้อย่างเรียบและเสียงที่เงียบขึ้นจากเดิม
วาล์วไอเสียได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ จากเดิมเป็นอลูมินัมมาเป็นเหล็กชนิดพิเศษ ซึ่งมีน้ำหนักที่เบาและมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ และรวมไปถึงสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าเดิม
การปรับปรุงเครื่องยนต์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ล้วนเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ของเครื่องยนต์ในรุ่น RG-150 I ทั้งสิ้น
Suzuki ไม่เพียงแค่ปรับปรุงในส่วนของเครื่องยนต์เพียงเท่านั้น สำหรับในส่วนประกอบต่างๆ ของรถก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน
บังโคลนหน้าได้ถูกปรับปรุงให้มีความยาวขึ้นจากเดิม เพื่อป้องกันเศษชิ้นส่วนต่างๆ กระเด็นไปโดนรังผึ้งของหม้อน้ำ และยังสามารถดูแลความสะอาดให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
บังโคลนท้ายได้ ปรับปรุงให้มีความยาวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกกระเด็นขึ้นข้างหลัง
แกนโช๊คอัพหน้าได้เพิ่มความยาวขึ้นอีก 35 มม. เพื่อให้โช๊ตทำงานได้นุ่มนวลขึ้นยิ่งกว่าเดิม
ล้อแม็ก (Castwell) แบบ 3 ก้านมีความแข็งแรงทนทานและน้ำหนักที่เบา ส่งผลให้ไม่กินกำลังของเครื่องยนต์ และรวมไปถึงเข้ากับกระแสของรถสปอร์ตในขณะนั้นที่เป็นล้อแม็กกันทั้งหมด
ไฟเลี้ยวหน้า-หลังแบบ Build in Type ติดตั้งเป้นชิ้นเดียวกับชุดแฟริ่งรถ
สีและสติกเกอร์ลวดลายใหม่ เพื่อบ่งบอกความเป็น RG 150 Gamma II
- RG 150 II ES
- RG 150 II E
โดยความแตกต่างกันระหว่าง 2 รหัสนี้คือเบาะเพียงเท่านั้น โดยเบาะของรุ่น ES มีลักษณะเป็นตอนเดียว และเบาะในรุ่น E มีลักษณะเป็น 2 ตอน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของ RG 150 Gamma II สำหรับในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงไม่ว่าจะเป็น เฟรมเหลี่ยมคู่แบบ S.R.F.B. สวิงอาร์มรูปทรงพระจันทร์เสี้ยว และ ดิสก์เบรกหน้าหลังแบบสูบคู่ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หายไปได้เพียงแต่ทาง Suzuki มองว่าชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้ล้วนดีพอที่จะไม่ต้องปรับปรุงเพื่อใช้กับ RG 150 Gamma II
อัตราการบริโภคน้ำมันสำหรับ RG 150 Gamma II ที่ทางนิตยสารได้ทำการทดสอบในช่วงเวลานั้น โดยสามารถหารค่าเฉลี่ยไว้ที่ 17.6 กิโลเมตร ต่อ 1 ลิตร ซึ่งใช้ความเร็วในการเดินทางเฉลี่ย 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่รอบเครื่อง 11,000 รอบ/นาที
เมื่อได้เห็นตัวเลขการกินน้ำมันที่ทาง Suzuki ได้บรรยายไว้ว่าปรับปรุงให้มีความประหยัดขึ้นจากในรุ่นก่อน ทำให้เกิดความสงสัยว่าแล้วในรุ่น RG-150 I ที่ใช้คาบูเรเตอร์ขนาด 30 มม. มันกินน้ำมันขนาดไหน ?
หากจะกล่าวถึงภาพลักษณ์ของรถตระกูล RG 150 คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าจุดเด่นที่แท้จริงคือความเร็วแรงที่มีมาจากโรงงาน ทั้งนี้สิ่งที่อยู่เหนือความเร็วแรงของรถ RG 150 คือการตลาดแบบ Suzuki
นับตั้งแต่ปี 2528 ที่ทางค่าย Suzuki ได้เริ่มทำตลาดรถสปอร์ตขนาด 150 cc เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย จวบจนถึงในปี 2538 ที่ทางค่ายได้ส่งรถสปอร์ตรุ่นสุดทำเข้ามาสู่ท้องตลาด มีระยะเวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียว สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือการที่ทางค่ายมีรถสปอร์ตขนาด 150 cc เพียงแค่ 2 รหัสเท่านั้น ซึ่งได้แก่ RGV และ RG
RGV = SS
RGV = Megatone
RG = 150 Gamma I
RG = 150 Gamma II
เมื่อกลับไปมองคู่แข่งค่ายต่างๆ ล้วนมีรถสปอร์ต 150 cc ทำตลาดมากกว่าค่าย Suzuki ซึ่งผลลัพท์ที่ตามมาคือความรองในเรื่องความหลากหลายของรุ่นรถในค่ายที่มีน้อยกว่าคู่แข่ง
นอกจากนี้ยังถือได้ว่า RG 150 Gamma II เป็นรถสปอร์ตรุ่นสุดท้ายที่เป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ สำหรับทางค่าย Suzuki หากไปเปรียบกับค่ายต่างๆ จะพบว่ารถสปอร์ตรุ่นสุดท้ายของค่ายอื่นล้วนเปิดตัวอยู่ในช่วงปี 2540 กันทั้งนั้น ผิดกับทาง Suzuki ที่เลือกจบรถสปอร์ตรุ่นสุดท้ายไว้ที่ปี 2538 เพียงเท่านั้น
การหยุดพัฒนารถสปอร์ตเครื่องยนต์ 2 จังหวะของทางค่าย Suzuki ไม่ใช่เพื่อที่จะไปพัฒนารถสปอร์ตที่เป็น 4 จังหวะเพื่อมาทนแทน ในเมื่อหลังยุครถ 2 จังหวะทางค่ายก็ไม่ได้ทำรถสปอร์ตขนาด 150 cc มาทำตลาดต่อเพียงอย่างใด
ทั้งนี้ทาง Suzuki ได้ใช้ระยะเวลาถึง 22 ปีกว่าที่จะกลับมาทำตลาดรถสปอร์ตขนาด 150 cc อีกครั้งหนึ่ง โดยเปิดตัวภายใต้รหัส GSX 150R ในปี 2560
https://www.facebook.com/groups/2tspec/
http://topicstock.ppantip.com/ratchada/topicstock/2009/04/V7708033/V7708033.html?fbclid=IwAR0J7nT0aggNmvP9kCIRGl-fA5gEbblVWIh9yaL0s07z5YUEjSbiSFr9Snk
ลิงค์ข้อมูลสำหรับรุ่นรถที่เขียนไปแล้ว เพื่อง่ายต่อการอ่าน
http://bit.ly/2PxTZMZ