การล่มสลายของตลาดรถจักรยานยนต์ประเภท 2 จังหวะในประเทศไทย นับตั้งแต่ช่วงปี 2540 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงต่อค่ายรถจักรยานยนต์ค่ายต่างๆ ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องหารุ่นรถที่เป็นตัวตายตัวแทนมาทำตลาดต่อ
สำหรับค่าย Kawasaki ก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มๆ เนื่องจากทางค่ายมีส่วนแบ่งทางค่าการตลาดในยุครถ 2 จังหวะที่มีเปอร์เซ็นที่สูงมาก แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ทาง Kawasaki ก็ต้องปรับตัว โดยการหารถรุ่นใหม่ๆ มาทำตลาดทนแทน
นอกเหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งสำหรับทาง Kawasaki คือการไม่ยอมทำตลาดรถสปอร์ตขนาด 150cc อีกเลยหลังจากหมดยุค 2 จังหวะไปแล้ว ทั้งที่คู่แข่งอย่าง Honda ก็ปล่อย CBR150 มาทำตลาดรถประเภทนี้ต่ออยู่นานโขนจวบจนถึงทาง Yamaha ก็ส่งรุ่น R15 และตามด้วย Suzuki Gxs150
ในช่วงเริ่มต้นของยุค 4 จังหวะ ทุกค่ายล้วนที่จะส่งรถแม่บ้าน (บังลม) เข้าทำตลาดอย่างพร้อมหน้า โดยทาง Kawasaki ก็ส่งรถแม่บ้านในชื่อ Kaze ด้วยเช่นกัน แต่มันไม่ประสบความสำเร็จเอาซะเลยสำหรับรถรุ่นนี้
จวบจนในปี 2548 ที่ทาง Kawasaki ได้ทดลองทำตลาดรถจักรยานยนต์ประเภท “มินิไบค์” เปรียบได้ดังการดิ้นร้นเพื่อหาทางอยู่รอดของทางค่าย ถึงแม้ว่าตลาดประเภทมินิไบค์ในไทยเคยมีอยู่ก่อนหน้านี้อย่างพวก Honda chaly เป็นต้น
มินิไบค์ที่ทาง Kawasaki ได้ทำการเปิดตัวมีรหัสว่า Ksr110 เป็นรถประเภทโมตาด โดยมีรถต้นแบบเป็นพวกรถวิบากของทางค่ายอย่างเจ้า KLX และ KX
หากพูดถึงกระแสของเจ้า Ksr110 อาจบอกได้ว่ามันไม่เปรี้ยงปร้างแต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นการค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นไปอย่างเนื่องๆ เปรียบดังต้นไม้ใหญ่ก็มิปาน และในที่สุดก็ได้กลายเป็นที่ฮิตกันอย่างมากในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่า Ksr ได้กลายเป็นรถที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับ Kawasaki ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา Ksr ก็สร้างมูลค่าเม็ดเงินให้กับทาง Kawasaki อย่างเป็นกอบเป็นกำ จวบจนในปี 2557 ที่ทาง Honda เข้ามาร่วมแบ่งการตลาดในรถประเภทนี้ โดยส่งเจ้า Msx125 ลงมาบดบังรัศมีของ Ksr จนเรียกได้ว่าหมดสภาพ
ทั้งนี้ทาง Kawasaki ก็ไม่ได้ฝืนใช้ Ksr ต่อกรกับเจ้า Msx แต่อย่างใด เนื่องด้วยโมเดล Ksr มีอายุจะ 10 ปีแล้ว ดังนั้น Kawasaki จึงได้ส่งรถรหัสใหม่มาต่อกรกับแทน โดยมีชื่อรุ่นว่า Z125 ซึ่งเปรียบได้ดังเป็นการปิดตัวเจ้า Ksr ไปโดยบรรยาย
#Kawasaki #Ksr
Kawasaki Ksr110 (ผู้จุดกระแส "มินิไบค์" ในประเทศไทย)
การล่มสลายของตลาดรถจักรยานยนต์ประเภท 2 จังหวะในประเทศไทย นับตั้งแต่ช่วงปี 2540 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงต่อค่ายรถจักรยานยนต์ค่ายต่างๆ ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องหารุ่นรถที่เป็นตัวตายตัวแทนมาทำตลาดต่อ
สำหรับค่าย Kawasaki ก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มๆ เนื่องจากทางค่ายมีส่วนแบ่งทางค่าการตลาดในยุครถ 2 จังหวะที่มีเปอร์เซ็นที่สูงมาก แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ทาง Kawasaki ก็ต้องปรับตัว โดยการหารถรุ่นใหม่ๆ มาทำตลาดทนแทน
นอกเหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งสำหรับทาง Kawasaki คือการไม่ยอมทำตลาดรถสปอร์ตขนาด 150cc อีกเลยหลังจากหมดยุค 2 จังหวะไปแล้ว ทั้งที่คู่แข่งอย่าง Honda ก็ปล่อย CBR150 มาทำตลาดรถประเภทนี้ต่ออยู่นานโขนจวบจนถึงทาง Yamaha ก็ส่งรุ่น R15 และตามด้วย Suzuki Gxs150
ในช่วงเริ่มต้นของยุค 4 จังหวะ ทุกค่ายล้วนที่จะส่งรถแม่บ้าน (บังลม) เข้าทำตลาดอย่างพร้อมหน้า โดยทาง Kawasaki ก็ส่งรถแม่บ้านในชื่อ Kaze ด้วยเช่นกัน แต่มันไม่ประสบความสำเร็จเอาซะเลยสำหรับรถรุ่นนี้
จวบจนในปี 2548 ที่ทาง Kawasaki ได้ทดลองทำตลาดรถจักรยานยนต์ประเภท “มินิไบค์” เปรียบได้ดังการดิ้นร้นเพื่อหาทางอยู่รอดของทางค่าย ถึงแม้ว่าตลาดประเภทมินิไบค์ในไทยเคยมีอยู่ก่อนหน้านี้อย่างพวก Honda chaly เป็นต้น
มินิไบค์ที่ทาง Kawasaki ได้ทำการเปิดตัวมีรหัสว่า Ksr110 เป็นรถประเภทโมตาด โดยมีรถต้นแบบเป็นพวกรถวิบากของทางค่ายอย่างเจ้า KLX และ KX
หากพูดถึงกระแสของเจ้า Ksr110 อาจบอกได้ว่ามันไม่เปรี้ยงปร้างแต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นการค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นไปอย่างเนื่องๆ เปรียบดังต้นไม้ใหญ่ก็มิปาน และในที่สุดก็ได้กลายเป็นที่ฮิตกันอย่างมากในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่า Ksr ได้กลายเป็นรถที่เป็นหน้าเป็นตาให้กับ Kawasaki ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา Ksr ก็สร้างมูลค่าเม็ดเงินให้กับทาง Kawasaki อย่างเป็นกอบเป็นกำ จวบจนในปี 2557 ที่ทาง Honda เข้ามาร่วมแบ่งการตลาดในรถประเภทนี้ โดยส่งเจ้า Msx125 ลงมาบดบังรัศมีของ Ksr จนเรียกได้ว่าหมดสภาพ
ทั้งนี้ทาง Kawasaki ก็ไม่ได้ฝืนใช้ Ksr ต่อกรกับเจ้า Msx แต่อย่างใด เนื่องด้วยโมเดล Ksr มีอายุจะ 10 ปีแล้ว ดังนั้น Kawasaki จึงได้ส่งรถรหัสใหม่มาต่อกรกับแทน โดยมีชื่อรุ่นว่า Z125 ซึ่งเปรียบได้ดังเป็นการปิดตัวเจ้า Ksr ไปโดยบรรยาย
#Kawasaki #Ksr
http://bit.ly/2PxTZMZ