ตอนที่ 1 - 10 https://ppantip.com/topic/42911183
1 ใจ
2 ที่ตั้งของใจ
3 ทางสายเอก
4 ทางเดียวกัน
5 หยุด
6 ตาย - เกิด
7 บุญใหญ่ - กุศลใหญ่
8 จริงแค่ไหน
9 นิพพาน
10 เหตุแห่งความชั่ว-เหตุแห่งความดี
ตอนที่ 11 - 29 https://ppantip.com/topic/42911188
11 การเข้าถึงรัตนะ
12 ทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
13 หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน
14 ดวงธรรม
15 พระรัตนตรัยคือที่พึ่งอันสูงสุด
16 สำเร็จด้วยการให้
17 ศาสนาพุทธอยู่ได้ด้วยการให้
18 เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา
19 ให้ดวงบุญนั้นช่วย
20 ปิยวาจา
ตอนที่ 21 - 30 https://ppantip.com/topic/42911195
21 ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
22 ความเป็นผู้มีตนเสมอ
23 ทำความดีให้หนักขึ้น
24 จิต 12 ดวง
25 ทางบริสุทธิ์
26 ให้ทิ้งขันธ์ 5
27 อยู่กับธรรม
28 หลอกตัวเอง
29 ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
30 สุขในฌาน
ตอนที่ 31 - 40 https://ppantip.com/topic/42913225
ตอนที่ 41 - 50 https://ppantip.com/topic/42915182
ตอนที่ 51 - 60 https://ppantip.com/topic/42915197
ตอนที่ 61 - 70 https://ppantip.com/topic/42915214
ตอนที่ 71 - 80 https://ppantip.com/topic/42915225
ตอนที่ 81 - 90 https://ppantip.com/topic/42917084
ตอนที่ 91 - 100 https://ppantip.com/topic/42917108
21
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันน่ะเป็นอย่างไร ? มีลูกต้องแก้ไขให้ลูกเป็นปริญญา หญิงก็ให้เป็นปริญญาชั้นหญิง ชายก็ให้เป็นปริญญาชั้นชายทุกๆ คนไป สมมุติว่ามีลูก 10 คน หญิง 5 คน ชาย 5 คน เป็นปริญญาหมดทุกคน มีการงานชั้นสูงทั้งนั้น พ่อแม่สองคนจะได้รับความสุขแค่ไหน ไม่ต้องมากหรอก ลูกกตัญญูคนเดียวเท่านั้นแหละ เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้เป็นสุขเหมือนเทวดาได้
เป็นปริญญาขึ้นแล้วน่ะเลี้ยงได้อย่างดิบอย่างดีทีเดียว เพราะฉะนั้นมีลูกเท่าไรต้องแก้ลูกให้เป็นปริญญาขึ้น นี้ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานก่อน คนใกล้เคียงเข้ามา วงศาคณาญาติ ก็ประพฤติเช่นนั้น ให้เป็นประโยชน์เช่นนั้นให้เลี้ยงตัวของตัวได้ แก้ไขให้เลี้ยงตัวของตัวได้
เหมือนเด็กเล็กเลี้ยงตัวของตัวเองไม่ได้ แก้ไขไห้เลี้ยงตัวของตัวได้ ผู้หญิงก็ให้ผู้หญิงเลี้ยงตัวของตัวได้ ผู้ชายก็ให้เลี้ยงตัวผู้ชายได้ ไม่ต้องพึ่งใครทีเดียว แก้ไขให้ฉลาดออกไปอย่างนั้น ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน หรือให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานของตัว
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน มีวิชาความรู้ ให้ความสุขแก่มนุษย์เพื่อนบ้านด้วยกัน เขาจะเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไรแก้ไขอย่างนั้น ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน ลักษณะที่ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันนี่แหละ เป็นประโยชน์นัก
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496
22
ความเป็นผู้มีตนเสมอ
ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆน่ะ เราจะไปทางไหน เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี เข้าไปในหมู่ไหน พวกไหน ชาติไหน ภาษาไหน ไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยกายของเรา ไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยวาจาของเรา และไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยใจของเรา
เราเข้าไปในหมู่ไหน พวกไหน เป็นหมู่นั้นพวกนั้นไปหมด ปรากฏเป็นแบบเดียวกัน เรามีพวกมากเท่าไรก็เป็นคนเดียวกันไปหมด ไม่แยกแตกจากกัน นี้ความเป็นผู้มีตนเสมอเขา พอเหมาะพอดีกับเขา เข้าใกล้ใครคนนั้นก็บอกว่าเป็นพวกเขา เป็นพี่เป็นน้องเขา เป็นพี่เป็นน้องเขาตามชันษาอายุของตน ประพฤติตนเสมอในธรรมนั้นๆในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องทุกชาติทุกภาษาไป เมื่อประพฤติได้ดังนี้ ได้ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในโลกแท้ๆ
โลกจะได้รับความสุข ก็เพราะอาศัยความประพฤติทั้ง 4 อย่าง คือ ให้ทาน กล่าววาจาไพเราะ ประพฤติให้เป็นประโยชน์ในกันและกัน ความประพฤติตนให้สม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496
23
ทำความดีให้หนักขึ้น
ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ก็ต้องอาศัยปุพเพกตปุญญตา ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน จงอุตส่าห์พยายามทำความดีให้หนักขึ้นไป ให้เป็นบุญนิธิหนักขึ้นไป
เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีให้ทาน ก็ให้ทานหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีรักษาศีล ก็รักษาศีลให้หนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีการเจริญภาวนา ก็เจริญภาวนาให้หนักขึ้นไป จะทำได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ก็จงอุตส่าห์พยายามทำให้สุดความสามารถของตน
สิ่งที่เป็นที่ตั้งกองการบำเพ็ญกุศล พระบรมทศพลได้ทรงตรัสเทศนาไว้เป็นอเนกประการว่า ทาน การให้ก็ได้ชื่อทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ศีลการรักษาได้ชื่อว่า ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ภาวนา การทำให้มีให้เป็น ก็ได้ชื่อว่า ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 6 เรื่อง มงคลกถา
20 กันยายน 2496
24
จิต 12 ดวง
นี้จิต 12 ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เราตกต่ำเลวทรามลงไปด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต 12 ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว
ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตา รู้ขอบเขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้ว มันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วละ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต 12 ดวงนี่แหละ
จาก พระธรรมเทศนาภัณฑ์ที่ 7 เรื่อง พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต
1 ตุลาคม 2496
หมายเหตุ จิต 12 ดวง คือ
จิตโลภ ความอยาก 8 ดวง คือ
จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิดและเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ดวง 1
จตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตโกรธ ๒ ดวง คือ
จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงดวง 1
จิตหลง ๒ ดวง คือ
จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง 1
จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง 1
25
ทางบริสุทธิ์
ทางบริสุทธิ์นะ ก็ต้องเอาใจหยุด นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ เอาใจหยุดนึกที่ไหน ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นภายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดอยู่กลางดวงนั่นแหละ หยุดทีเดียว หยุดที่นั่นแหละ เป็นทางบริสุทธิ์ละ
ถูกละ หยุดนะ หยุดในหยุด พอรู้ว่าใจหยุดกึก ใจหยุดก็กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ หยุดเรื่อยไปนั่นแหละ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำให้หยุดอยู่อย่างนี้แหละ นั่นแหละบริสุทธิ์ละ ราคะไม่มี อภิชฌาความเพ่งเพราะอยากได้ไม่มี พยาบาทปองร้ายไม่มี เห็นผิดไม่มี โลภะความอยากได้ไม่มี โทสะความประทุษร้ายไม่มี โมหะความหลงงมงายไม่มี ราคะความกำหนัดยินดีไม่มี โทสะความขุ่นเคืองไม่มี โมหะความหลงงมงายไม่มี กามราคานุสัยไม่มี ปฏิฆานุสัยไม่มี อวิชชานุสัยไม่มี
หยุดเข้าเถอะ หยุดนั่นแหละตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว นี่แหละเขาเรียกว่าหนทางบริสุทธิ์ละ ให้ไปทางนี้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่อง เบญจขันธ์
21 ธันวาคม 2496
26
ให้ทิ้งขันธ์ 5
ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้ เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวาง ต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้งแก่เข้าๆๆ ถึงเวลาตายจะเอาไปได้หรือขันธ์ 5 น่ะ
คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะเอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือ จะเอาไปบ้างไม่ได้หรือ เอาไปได้
ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
จาก พระธรรมเทศนาทัณฑ์ที่ 9 เรื่อง ชันธ์ 5 เป็นการะอันหนัก
29 ธันวาคม 2496
หมายเหตุ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
27
อยู่กับธรรม
เราอยู่เสียกับธรรมเรื่อยไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรมที่เดียว สภาพที่ไม่ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศล ที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้ เราอยู่กับธรรมเรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียว
เมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็ไม่มีเสีย ใจก็ไม่มีเสีย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 10 เรื่อง คารวาธิกถา
10 มกราคม 2497
28
หลอกตัวเอง
หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ
ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก็ มรรค ผล ไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมือ อยู่ในกำมือทีเดียว
พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกตัวเองโกงคนอื่นเท่านั้น
จาก พระธรรมทศนาทัณฑ์ที่ 10 เรื่อง ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม
12 มกราคม 2497
29
ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
เมื่อรู้จักชัดดังนี้ รู้จักชัดว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ธรรม เมื่อรู้จักจริงเสียเช่นนี้แล้ว เราก็จักตั้งใจแน่แน่วให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ เมื่อเข้าถึงธรรมกายโคตรภูแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียด เข้าถึงธรรมกายโสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด เท่านี้เราก็จะเป็นสุขเกษมสำราญเบิกบานใจ พระพุทธเจ้าไปทางไหน เราก็จะไปทางนั้น
จาก พระธรรมเทศนาทัณฑ์ที่ 12 เรื่อง ธรรมนิยามสูตร
31 มกราคม 2497
30
สุขในฌาน
สุขในฌานอะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั้นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวงเปลี่ยวเปล่า
เรามาคนเดียวไปคนเดียว หมดทั้งสากลโลกคนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้
ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไรไม่ยึดถือทีเดียว เรือกสวนไร่นา ตึกรามบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 13 เรื่อง เขมาเขมสรณาคมน์
3 กุมภาพันธ์ 2497
หนังสือ อมตวาทะ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ (ตอนที่ 3)
1 ใจ
2 ที่ตั้งของใจ
3 ทางสายเอก
4 ทางเดียวกัน
5 หยุด
6 ตาย - เกิด
7 บุญใหญ่ - กุศลใหญ่
8 จริงแค่ไหน
9 นิพพาน
10 เหตุแห่งความชั่ว-เหตุแห่งความดี
ตอนที่ 11 - 29 https://ppantip.com/topic/42911188
11 การเข้าถึงรัตนะ
12 ทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
13 หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน
14 ดวงธรรม
15 พระรัตนตรัยคือที่พึ่งอันสูงสุด
16 สำเร็จด้วยการให้
17 ศาสนาพุทธอยู่ได้ด้วยการให้
18 เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา
19 ให้ดวงบุญนั้นช่วย
20 ปิยวาจา
ตอนที่ 21 - 30 https://ppantip.com/topic/42911195
21 ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
22 ความเป็นผู้มีตนเสมอ
23 ทำความดีให้หนักขึ้น
24 จิต 12 ดวง
25 ทางบริสุทธิ์
26 ให้ทิ้งขันธ์ 5
27 อยู่กับธรรม
28 หลอกตัวเอง
29 ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
30 สุขในฌาน
ตอนที่ 31 - 40 https://ppantip.com/topic/42913225
ตอนที่ 41 - 50 https://ppantip.com/topic/42915182
ตอนที่ 51 - 60 https://ppantip.com/topic/42915197
ตอนที่ 61 - 70 https://ppantip.com/topic/42915214
ตอนที่ 71 - 80 https://ppantip.com/topic/42915225
ตอนที่ 81 - 90 https://ppantip.com/topic/42917084
ตอนที่ 91 - 100 https://ppantip.com/topic/42917108
21
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันน่ะเป็นอย่างไร ? มีลูกต้องแก้ไขให้ลูกเป็นปริญญา หญิงก็ให้เป็นปริญญาชั้นหญิง ชายก็ให้เป็นปริญญาชั้นชายทุกๆ คนไป สมมุติว่ามีลูก 10 คน หญิง 5 คน ชาย 5 คน เป็นปริญญาหมดทุกคน มีการงานชั้นสูงทั้งนั้น พ่อแม่สองคนจะได้รับความสุขแค่ไหน ไม่ต้องมากหรอก ลูกกตัญญูคนเดียวเท่านั้นแหละ เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้เป็นสุขเหมือนเทวดาได้
เป็นปริญญาขึ้นแล้วน่ะเลี้ยงได้อย่างดิบอย่างดีทีเดียว เพราะฉะนั้นมีลูกเท่าไรต้องแก้ลูกให้เป็นปริญญาขึ้น นี้ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานก่อน คนใกล้เคียงเข้ามา วงศาคณาญาติ ก็ประพฤติเช่นนั้น ให้เป็นประโยชน์เช่นนั้นให้เลี้ยงตัวของตัวได้ แก้ไขให้เลี้ยงตัวของตัวได้
เหมือนเด็กเล็กเลี้ยงตัวของตัวเองไม่ได้ แก้ไขไห้เลี้ยงตัวของตัวได้ ผู้หญิงก็ให้ผู้หญิงเลี้ยงตัวของตัวได้ ผู้ชายก็ให้เลี้ยงตัวผู้ชายได้ ไม่ต้องพึ่งใครทีเดียว แก้ไขให้ฉลาดออกไปอย่างนั้น ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน หรือให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานของตัว
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน มีวิชาความรู้ ให้ความสุขแก่มนุษย์เพื่อนบ้านด้วยกัน เขาจะเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไรแก้ไขอย่างนั้น ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน ลักษณะที่ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันนี่แหละ เป็นประโยชน์นัก
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496
22
ความเป็นผู้มีตนเสมอ
ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆน่ะ เราจะไปทางไหน เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี เข้าไปในหมู่ไหน พวกไหน ชาติไหน ภาษาไหน ไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยกายของเรา ไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยวาจาของเรา และไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยใจของเรา
เราเข้าไปในหมู่ไหน พวกไหน เป็นหมู่นั้นพวกนั้นไปหมด ปรากฏเป็นแบบเดียวกัน เรามีพวกมากเท่าไรก็เป็นคนเดียวกันไปหมด ไม่แยกแตกจากกัน นี้ความเป็นผู้มีตนเสมอเขา พอเหมาะพอดีกับเขา เข้าใกล้ใครคนนั้นก็บอกว่าเป็นพวกเขา เป็นพี่เป็นน้องเขา เป็นพี่เป็นน้องเขาตามชันษาอายุของตน ประพฤติตนเสมอในธรรมนั้นๆในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องทุกชาติทุกภาษาไป เมื่อประพฤติได้ดังนี้ ได้ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในโลกแท้ๆ
โลกจะได้รับความสุข ก็เพราะอาศัยความประพฤติทั้ง 4 อย่าง คือ ให้ทาน กล่าววาจาไพเราะ ประพฤติให้เป็นประโยชน์ในกันและกัน ความประพฤติตนให้สม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496
23
ทำความดีให้หนักขึ้น
ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ก็ต้องอาศัยปุพเพกตปุญญตา ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน จงอุตส่าห์พยายามทำความดีให้หนักขึ้นไป ให้เป็นบุญนิธิหนักขึ้นไป
เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีให้ทาน ก็ให้ทานหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีรักษาศีล ก็รักษาศีลให้หนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีการเจริญภาวนา ก็เจริญภาวนาให้หนักขึ้นไป จะทำได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ก็จงอุตส่าห์พยายามทำให้สุดความสามารถของตน
สิ่งที่เป็นที่ตั้งกองการบำเพ็ญกุศล พระบรมทศพลได้ทรงตรัสเทศนาไว้เป็นอเนกประการว่า ทาน การให้ก็ได้ชื่อทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ศีลการรักษาได้ชื่อว่า ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ภาวนา การทำให้มีให้เป็น ก็ได้ชื่อว่า ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 6 เรื่อง มงคลกถา
20 กันยายน 2496
24
จิต 12 ดวง
นี้จิต 12 ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เราตกต่ำเลวทรามลงไปด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต 12 ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว
ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตา รู้ขอบเขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้ว มันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วละ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต 12 ดวงนี่แหละ
จาก พระธรรมเทศนาภัณฑ์ที่ 7 เรื่อง พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต
1 ตุลาคม 2496
หมายเหตุ จิต 12 ดวง คือ จิตโลภ ความอยาก 8 ดวง คือ
จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิดและเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ดวง 1
จตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ดวง 1
จิตโกรธ ๒ ดวง คือ
จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูงดวง 1
จิตหลง ๒ ดวง คือ
จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง 1
จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง 1
25
ทางบริสุทธิ์
ทางบริสุทธิ์นะ ก็ต้องเอาใจหยุด นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ เอาใจหยุดนึกที่ไหน ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นภายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดอยู่กลางดวงนั่นแหละ หยุดทีเดียว หยุดที่นั่นแหละ เป็นทางบริสุทธิ์ละ
ถูกละ หยุดนะ หยุดในหยุด พอรู้ว่าใจหยุดกึก ใจหยุดก็กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ หยุดเรื่อยไปนั่นแหละ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำให้หยุดอยู่อย่างนี้แหละ นั่นแหละบริสุทธิ์ละ ราคะไม่มี อภิชฌาความเพ่งเพราะอยากได้ไม่มี พยาบาทปองร้ายไม่มี เห็นผิดไม่มี โลภะความอยากได้ไม่มี โทสะความประทุษร้ายไม่มี โมหะความหลงงมงายไม่มี ราคะความกำหนัดยินดีไม่มี โทสะความขุ่นเคืองไม่มี โมหะความหลงงมงายไม่มี กามราคานุสัยไม่มี ปฏิฆานุสัยไม่มี อวิชชานุสัยไม่มี หยุดเข้าเถอะ หยุดนั่นแหละตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว นี่แหละเขาเรียกว่าหนทางบริสุทธิ์ละ ให้ไปทางนี้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่อง เบญจขันธ์
21 ธันวาคม 2496
26
ให้ทิ้งขันธ์ 5
ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้ เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวาง ต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้งแก่เข้าๆๆ ถึงเวลาตายจะเอาไปได้หรือขันธ์ 5 น่ะ
คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะเอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือ จะเอาไปบ้างไม่ได้หรือ เอาไปได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
จาก พระธรรมเทศนาทัณฑ์ที่ 9 เรื่อง ชันธ์ 5 เป็นการะอันหนัก
29 ธันวาคม 2496
หมายเหตุ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
27
อยู่กับธรรม
เราอยู่เสียกับธรรมเรื่อยไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรมที่เดียว สภาพที่ไม่ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศล ที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้ เราอยู่กับธรรมเรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียว
เมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็ไม่มีเสีย ใจก็ไม่มีเสีย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 10 เรื่อง คารวาธิกถา
10 มกราคม 2497
28
หลอกตัวเอง
หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ
ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก็ มรรค ผล ไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมือ อยู่ในกำมือทีเดียว
พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกตัวเองโกงคนอื่นเท่านั้น
จาก พระธรรมทศนาทัณฑ์ที่ 10 เรื่อง ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม
12 มกราคม 2497
29
ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
เมื่อรู้จักชัดดังนี้ รู้จักชัดว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ธรรม เมื่อรู้จักจริงเสียเช่นนี้แล้ว เราก็จักตั้งใจแน่แน่วให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ เมื่อเข้าถึงธรรมกายโคตรภูแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียด เข้าถึงธรรมกายโสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด เท่านี้เราก็จะเป็นสุขเกษมสำราญเบิกบานใจ พระพุทธเจ้าไปทางไหน เราก็จะไปทางนั้น
จาก พระธรรมเทศนาทัณฑ์ที่ 12 เรื่อง ธรรมนิยามสูตร
31 มกราคม 2497
30
สุขในฌาน
สุขในฌานอะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั้นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวงเปลี่ยวเปล่า
เรามาคนเดียวไปคนเดียว หมดทั้งสากลโลกคนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้
ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไรไม่ยึดถือทีเดียว เรือกสวนไร่นา ตึกรามบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 13 เรื่อง เขมาเขมสรณาคมน์
3 กุมภาพันธ์ 2497