ตอนที่ 1 - 10 https://ppantip.com/topic/42911183
ตอนที่ 11 - 29 https://ppantip.com/topic/42911188
ตอนที่ 21 - 30 https://ppantip.com/topic/42911195
ตอนที่ 31 - 40 https://ppantip.com/topic/42913225
ตอนที่ 41 - 50 https://ppantip.com/topic/42915182
ตอนที่ 51 - 60 https://ppantip.com/topic/42915197
ตอนที่ 61 - 70 https://ppantip.com/topic/42915214
61 สมณะหยุดแล้ว
62 อธิษฐาน
63 ไม่หยุดไม่ถูกศาสนา
64 ทางไปถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
65 ควรเคารพสัทธรรม
66 สำรวมไม่ได้ร้ายนัก
67 ธรรมกายเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา
68 ธรรมขาว-ธรรมดำ
69 สัตว์เดรัจฉานก็มนุษย์แท้ๆ
70 อายตนะฝ่ายดีดึงดูด
ตอนที่ 71 - 80 https://ppantip.com/topic/42915225
71 อายตนะนิพพานดึงดูด
72 ที่สร้างบารมีเท่านั้น
73 ออกจากภพสามไม่ได้
74 ได้ความสุขเพราะให้ทาน
75 ทาน ส่งให้ถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล
76 รับใช้มาร
77 ฉลาดกว่ากัน
78 จะรวยได้ต้องมีพรหมวิหาร
79 อดทนได้จึงเข้านิพพานได้
80 ตามันบอก
ตอนที่ 81 - 90 https://ppantip.com/topic/42917084
81 ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้
82 ลูกศิษย์พญามาร
83 ต้องเข้าถึงหลักนี้ให้ได้
84 ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
85 การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
86 อัตโนมัติของบุญ
87 ที่รวมลงของความดี
88 อริยทรัพย์
89 ธรรมคืออะไร
90 สามัคคี
ตอนที่ 91 - 100 https://ppantip.com/topic/42917108
91 สำเร็จด้วยการให้
92 วาจากศักดิ์สิทธิ์
93 มัชฌิมาปฏิปทา
94 เคร่งครัดในหน้าที่ของตน
95 โลกร่มเย็นได้เพราะทาน
96 พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ
97 เป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา
98 โกงตัวเอง
99 ขันธ์5
100 ที่พึ่งจริง
31
หนทางหมดจดวิเศษ
หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรค ผล นิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ
หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ ๆ ที่ใจหยุดนั่น
หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ
ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 14 เรื่อง ติลักขณาทิคาถา
11 กุมภาพันธ์ 2497
32
ความไม่ประมาท
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลที่ดีน่ะ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา หมดทั้งพระไตรปิฎกทั้งหลายที่เป็นกุศลนั่น ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลราก นั่นแน่ อัปปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า มีความไม่ประมาทเป็นมูลราก อัปปมาทสโมสรณา ประชุมลงในความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าสัตว์อื่นประชุมลงในรอยเท้าช้าง
ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด ประชุมอยู่ในความไม่ประมาททั้งนั้น นี้หลักพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ให้ประมาท เมื่อไม่ประมาท ความดีมีเท่าไรในพระพุทธศาสนา ในธาตุในธรรม ย่อมประชุมลงในความไม่ประมาท ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว คนมีธรรมควรไหว้ควรเคารพนับถือทีเดียว คนมีธรรมคนตั้งอยู่ในธรรมนี้ แลความไม่ประมาทนี้นักปราชญ์สรรเสริญนัก
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 15 เรื่อง ปัจฉิมวาจา
18 กุมภาพันธ์ 2497
33
สุราเป็นที่ตั้งของความประมาท
ศีลห้าสิกขาบทสุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญที่เดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะ เป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญ เพราะฉะนั้น สุรานี้เป็นตัวประมาททีเดียว ธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎกมากน้อยเท่าใด สรุปลงในความไม่ประมาททั้งนั้น
ถ้าว่าประมาทแล้วออกนอกธรรมทีเดียว ไม่อยู่ในธรรมเสียแล้ว ถ้าประมาทละก็ออกนอกธรรม ไม่อยู่ในธรรมทีเดียว ถ้าว่าไม่ประมาทละก็ อยู่ในธรรมที่เป็นกุศลทีเดียว ถ้าประมาทขึ้นแล้วอยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลทีเดียวตรงกันข้าม
เพราะฉะนั้น
สุรานี่เป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าเลิกสุราเสียได้ ก็เป็นเหตุของความไม่เป็นที่ตั้งของความประมาท
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 16 เรื่อง ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง
26 กุมภาพันธ์ 2497
34
สมาธิ
สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้น ก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้าในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็
ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 17 เรื่อง สมาธิ
28 กุมภาพันธ์ 2497
35
ตัวสำคัญ
ความเห็นหนึ่ง สองความจำ สามความคิด สี่ความรู้ สี่อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้าเรียกว่า ใจ ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำช้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆกันอย่างนี้ สี่อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่า ใจ
ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกายจำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิด นั่นย่อมลงมาเท่าดวงตาดำช้างใน นั่นมีหน้าที่รู้เรียกว่าดวงวิญญาณ
เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นดวงจิต เท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายสื่อย่างเท่านี้ มีดวงเห็นครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ ดวงจำอยู่ข้างนอกดวงคิด ดวงคิดอยู่ข้างนอกดวงรู้ ดวงรู้อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด
เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญละ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 18 เรื่อง โอวาทปาฏิโมกข์
4 มีนาคม 2497
36
ปล้ำใจให้หยุด
ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก็ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว
เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎกคือศีลนั้นเอง ย่อลงในศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลงก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎกย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 19 เรื่อง ศีลทั้ง 3 ประการ
14 มีนาคม 2497
37
เราตถาคตคือธรรมกาย
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปี เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือธรรมกาย เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อธรรมกาย ให้เห็นธรรมกาย ให้เป็นธรรมกาย ถ้าเห็นธรรมกายเป็นธรรมกายแล้ว แก้ไขธรรมกายนั่นให้สะอาดให้ผ่องใสหนักขึ้นอย่าให้ยุ่งอย่าให้มัวหมอง
ถ้าเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง อย่างนั้นยังง่อนแง่นยังใช้ไม่ได้ ถ้าเห็นเสียแจ่มใสบริสุทธิ์ ไม่มีราคีเหมือนกระจกส่องเงาหน้า เจ้าของเห็นเวลาไรแล้วยิ้มจ้าเวลานั้น ไม่ได้ซูบซีดเศร้าหมองเลย ผ่องใสอย่างนี้ เชื่อลงไปขนาดนี้นี่เป็นที่พึ่งของเราจริง สิ่งอื่นไม่มี
ให้แน่นอนลงไปเสียอย่างนี้ เมื่อแน่นอนลงไปเช่นนี้แล้ว ก็เห็นธรรมกายนั่นเองเป็นใหญ่ สิ่งอื่นเป็นใหญ่กว่านี้ไม่มี
หมดทั้งสากลโลก หมดในธาตุในธรรม ที่จะเป็นใหญ่กว่าธรรมกายนี้ไม่มี
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 20 เรื่อง อริยธนคาถา
19 มีนาคม 2497
38
ธรรมอยู่ที่ไหน
ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรมนี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลย ตรงนั้นแหละเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ
ถ้ายังไม่เห็น นานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่น ไปโน่นไปตรงโน้นไปตรงนี้ ไปที่โน่นไปที่นี่ ไปหาธรรมในป่าในดอนในดงกันยกใหญ่ทีเดียว เพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่ ผ้าโพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง
ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัวของตัวนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 21 เรื่อง อุทานคาถา
21 มีนาคม 2497
39
สุขในปัจจุบันทันตาเห็น
พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า ธัมมะสุขะวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ถ้ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ละก็ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น เป็นสุขเดี๋ยวนั้น ท่านยืนยันด้วยว่า อะกาลิโก เมื่อเข้าไปถึงดวงธรรมนั้นแล้วเป็นสุขเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องผลัดกาลเวลา ไม่มีกาลเวลา
จะได้เลื่อนความสุขมาในเวลานั้นในเวลานี้นี่ไม่มี พอถึงก็สุขทีเดียว ไปถึงเดี๋ยวนั้นเป็นสุขเดี๋ยวนั้นทีเดียว จึงเรียกว่าอะกาลิโก
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 21 เรื่อง อุทานคาถา
21 มีนาคม 2497
40
พญามาร
นี่เพิ่งรู้ชัดว่าวันคืนเดือนปีล่วงไปล่วงไป ไม่ใช่ล่วงไปแต่วันคืนเดือนปีเปล่า ชีวิตจิตใจล่วงไปด้วย ความเป็นอยู่ล่วงไปด้วย ล่วงไปอย่างวอดวายเช่นนี้ สภาพความเป็นเอง ปรุงแต่งหรือว่าใครปรุงแต่งอยู่ที่ไหน
เรื่องนี้หมดทั้งประเทศ หมดทั้งชมพูทวีป หมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล หมดทั้งอนันตจักรวาล ตลอดนิพพาน ภพสามโลกันต์ มากน้อยเท่าใดนั้นไม่รู้กันทั้งนั้นว่าเป็นเพราะเหตุอะไร แต่วัดปากน้ำมีคนรู้ขึ้นแล้ว เป็นดังนี้เพราะอะไร?
ที่ตั้งวัยให้แก่ยับเยินไปเช่นนี้ เป็นเองหรือใครทำอยู่ที่ไหน? รู้ทีเดียวว่าใครทำอยู่ที่ไหน? รู้ว่าไม่ใช่ใครจับตัวได้ คือ
พญามารนั่นเอง เป็นคนทำให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย เกิด แก่ เจ็บ ตายอย่างยับเยิน
เกิดก็อย่างยับเยินเดือดร้อน พ่อไม่ตาย บางทีแม่ตาย บางทีลูกก็ตาย แม่ก็ตาย พ่อก็ยังจะตายตามอีก โดดน้ำตายเสียอกเสียใจ นี่
พญามารทำทั้งนั้น สำหรับประหัตประหารฝ่ายพระ
ถ้าว่ามนุษย์ผู้ใดเป็นฝ่ายพระละก็ มารข่มเหงอยู่อย่างนี้แหละ ไม่ขาดสาย ไม่เช่นก็ด้วยวิธีใดด้วยวิธีหนึ่ง บางทีหมั่นไส้นัก ทำเก่งกาจอวดดิบอวดดี ให้ฆ่ากันตายเสีย ให้กินยาตายเสีย ให้โดดน้ำตายเสีย ให้ผูกคอตายเสีย นี่ใครทำ
พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ใคร ไม่มีใครรู้
แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกายมีเท่าไรไม่มีใครรู้ ไม่รู้เรื่องทีเดียวในเรื่องนี้ว่า พญามารเขาคอยบีบคั้นอยู่ ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เกิดก็เกิดอย่างยับเยิน หน้าบิดหน้าเบี้ยว เดือดร้อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไม่ตายคางก็เหลืองเทียว ไม่ตายก็เกือบตาย
นี่พญามารเขาทำ
ตามปรกติแล้วไม่เป็นดังนี้ เกิดก็อย่างไม่ได้เดือดร้อนนัก จะคลอดบุตรก็เหมือนถ่ายอุจจาระเหมือนถ่ายปัสสาวะ ไม่เดือดร้อนเหมือนกับคลอดลูกออกเต้าธรรมดานี้ จะคลอดบุตรก็เหมือนถ่ายอุจจาระเหมือนถ่ายปัสสาวะทีเดียว ไม่เดือดร้อนแต่อย่างหนึ่งอย่างใด
ที่เดือดร้อนยับเยินเช่นนี้ เพราะพญามารเขาส่งฤทธิ์ส่งเดช ส่งอำนาจส่งวิชชาที่ศักดิ์สิทธิ์มาบังคับบัญชา บังคับให้เป็นไป
จาก พระธรรมเทศนาทัณฑ์ที่ 22 เรื่อง ปัพพโตปมคาถา
28 มีนาคม 2497
หนังสือ "อมตวาทะ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ 4/10
ตอนที่ 11 - 29 https://ppantip.com/topic/42911188
ตอนที่ 21 - 30 https://ppantip.com/topic/42911195
ตอนที่ 31 - 40 https://ppantip.com/topic/42913225
ตอนที่ 41 - 50 https://ppantip.com/topic/42915182
ตอนที่ 51 - 60 https://ppantip.com/topic/42915197
ตอนที่ 61 - 70 https://ppantip.com/topic/42915214
61 สมณะหยุดแล้ว
62 อธิษฐาน
63 ไม่หยุดไม่ถูกศาสนา
64 ทางไปถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
65 ควรเคารพสัทธรรม
66 สำรวมไม่ได้ร้ายนัก
67 ธรรมกายเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา
68 ธรรมขาว-ธรรมดำ
69 สัตว์เดรัจฉานก็มนุษย์แท้ๆ
70 อายตนะฝ่ายดีดึงดูด
ตอนที่ 71 - 80 https://ppantip.com/topic/42915225
71 อายตนะนิพพานดึงดูด
72 ที่สร้างบารมีเท่านั้น
73 ออกจากภพสามไม่ได้
74 ได้ความสุขเพราะให้ทาน
75 ทาน ส่งให้ถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล
76 รับใช้มาร
77 ฉลาดกว่ากัน
78 จะรวยได้ต้องมีพรหมวิหาร
79 อดทนได้จึงเข้านิพพานได้
80 ตามันบอก
ตอนที่ 81 - 90 https://ppantip.com/topic/42917084
81 ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้
82 ลูกศิษย์พญามาร
83 ต้องเข้าถึงหลักนี้ให้ได้
84 ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
85 การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
86 อัตโนมัติของบุญ
87 ที่รวมลงของความดี
88 อริยทรัพย์
89 ธรรมคืออะไร
90 สามัคคี
ตอนที่ 91 - 100 https://ppantip.com/topic/42917108
91 สำเร็จด้วยการให้
92 วาจากศักดิ์สิทธิ์
93 มัชฌิมาปฏิปทา
94 เคร่งครัดในหน้าที่ของตน
95 โลกร่มเย็นได้เพราะทาน
96 พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ
97 เป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา
98 โกงตัวเอง
99 ขันธ์5
100 ที่พึ่งจริง
31
หนทางหมดจดวิเศษ
หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรค ผล นิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ
หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลาง ๆ ๆ ๆ ๆ ที่ใจหยุดนั่น
หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 14 เรื่อง ติลักขณาทิคาถา
11 กุมภาพันธ์ 2497
32
ความไม่ประมาท
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลที่ดีน่ะ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา หมดทั้งพระไตรปิฎกทั้งหลายที่เป็นกุศลนั่น ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลราก นั่นแน่ อัปปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า มีความไม่ประมาทเป็นมูลราก อัปปมาทสโมสรณา ประชุมลงในความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าสัตว์อื่นประชุมลงในรอยเท้าช้าง
ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด ประชุมอยู่ในความไม่ประมาททั้งนั้น นี้หลักพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ให้ประมาท เมื่อไม่ประมาท ความดีมีเท่าไรในพระพุทธศาสนา ในธาตุในธรรม ย่อมประชุมลงในความไม่ประมาท ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว คนมีธรรมควรไหว้ควรเคารพนับถือทีเดียว คนมีธรรมคนตั้งอยู่ในธรรมนี้ แลความไม่ประมาทนี้นักปราชญ์สรรเสริญนัก
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 15 เรื่อง ปัจฉิมวาจา
18 กุมภาพันธ์ 2497
33
สุราเป็นที่ตั้งของความประมาท
ศีลห้าสิกขาบทสุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญที่เดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะ เป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญ เพราะฉะนั้น สุรานี้เป็นตัวประมาททีเดียว ธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎกมากน้อยเท่าใด สรุปลงในความไม่ประมาททั้งนั้น
ถ้าว่าประมาทแล้วออกนอกธรรมทีเดียว ไม่อยู่ในธรรมเสียแล้ว ถ้าประมาทละก็ออกนอกธรรม ไม่อยู่ในธรรมทีเดียว ถ้าว่าไม่ประมาทละก็ อยู่ในธรรมที่เป็นกุศลทีเดียว ถ้าประมาทขึ้นแล้วอยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลทีเดียวตรงกันข้าม
เพราะฉะนั้น สุรานี่เป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าเลิกสุราเสียได้ ก็เป็นเหตุของความไม่เป็นที่ตั้งของความประมาท
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 16 เรื่อง ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง
26 กุมภาพันธ์ 2497
34
สมาธิ
สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้น ก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้าในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 17 เรื่อง สมาธิ
28 กุมภาพันธ์ 2497
35
ตัวสำคัญ
ความเห็นหนึ่ง สองความจำ สามความคิด สี่ความรู้ สี่อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้าเรียกว่า ใจ ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำช้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆกันอย่างนี้ สี่อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่า ใจ
ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกายจำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิด นั่นย่อมลงมาเท่าดวงตาดำช้างใน นั่นมีหน้าที่รู้เรียกว่าดวงวิญญาณ
เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นดวงจิต เท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายสื่อย่างเท่านี้ มีดวงเห็นครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ ดวงจำอยู่ข้างนอกดวงคิด ดวงคิดอยู่ข้างนอกดวงรู้ ดวงรู้อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญละ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 18 เรื่อง โอวาทปาฏิโมกข์
4 มีนาคม 2497
36
ปล้ำใจให้หยุด
ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก็ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว
เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎกคือศีลนั้นเอง ย่อลงในศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลงก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎกย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 19 เรื่อง ศีลทั้ง 3 ประการ
14 มีนาคม 2497
37
เราตถาคตคือธรรมกาย
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปี เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือธรรมกาย เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อธรรมกาย ให้เห็นธรรมกาย ให้เป็นธรรมกาย ถ้าเห็นธรรมกายเป็นธรรมกายแล้ว แก้ไขธรรมกายนั่นให้สะอาดให้ผ่องใสหนักขึ้นอย่าให้ยุ่งอย่าให้มัวหมอง
ถ้าเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง อย่างนั้นยังง่อนแง่นยังใช้ไม่ได้ ถ้าเห็นเสียแจ่มใสบริสุทธิ์ ไม่มีราคีเหมือนกระจกส่องเงาหน้า เจ้าของเห็นเวลาไรแล้วยิ้มจ้าเวลานั้น ไม่ได้ซูบซีดเศร้าหมองเลย ผ่องใสอย่างนี้ เชื่อลงไปขนาดนี้นี่เป็นที่พึ่งของเราจริง สิ่งอื่นไม่มี
ให้แน่นอนลงไปเสียอย่างนี้ เมื่อแน่นอนลงไปเช่นนี้แล้ว ก็เห็นธรรมกายนั่นเองเป็นใหญ่ สิ่งอื่นเป็นใหญ่กว่านี้ไม่มี หมดทั้งสากลโลก หมดในธาตุในธรรม ที่จะเป็นใหญ่กว่าธรรมกายนี้ไม่มี
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 20 เรื่อง อริยธนคาถา
19 มีนาคม 2497
38
ธรรมอยู่ที่ไหน
ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรมนี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลย ตรงนั้นแหละเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ
ถ้ายังไม่เห็น นานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่น ไปโน่นไปตรงโน้นไปตรงนี้ ไปที่โน่นไปที่นี่ ไปหาธรรมในป่าในดอนในดงกันยกใหญ่ทีเดียว เพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่ ผ้าโพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัวของตัวนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 21 เรื่อง อุทานคาถา
21 มีนาคม 2497
39
สุขในปัจจุบันทันตาเห็น
พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า ธัมมะสุขะวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ถ้ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ละก็ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น เป็นสุขเดี๋ยวนั้น ท่านยืนยันด้วยว่า อะกาลิโก เมื่อเข้าไปถึงดวงธรรมนั้นแล้วเป็นสุขเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องผลัดกาลเวลา ไม่มีกาลเวลา
จะได้เลื่อนความสุขมาในเวลานั้นในเวลานี้นี่ไม่มี พอถึงก็สุขทีเดียว ไปถึงเดี๋ยวนั้นเป็นสุขเดี๋ยวนั้นทีเดียว จึงเรียกว่าอะกาลิโก
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 21 เรื่อง อุทานคาถา
21 มีนาคม 2497
40
พญามาร
นี่เพิ่งรู้ชัดว่าวันคืนเดือนปีล่วงไปล่วงไป ไม่ใช่ล่วงไปแต่วันคืนเดือนปีเปล่า ชีวิตจิตใจล่วงไปด้วย ความเป็นอยู่ล่วงไปด้วย ล่วงไปอย่างวอดวายเช่นนี้ สภาพความเป็นเอง ปรุงแต่งหรือว่าใครปรุงแต่งอยู่ที่ไหน
เรื่องนี้หมดทั้งประเทศ หมดทั้งชมพูทวีป หมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล หมดทั้งอนันตจักรวาล ตลอดนิพพาน ภพสามโลกันต์ มากน้อยเท่าใดนั้นไม่รู้กันทั้งนั้นว่าเป็นเพราะเหตุอะไร แต่วัดปากน้ำมีคนรู้ขึ้นแล้ว เป็นดังนี้เพราะอะไร?
ที่ตั้งวัยให้แก่ยับเยินไปเช่นนี้ เป็นเองหรือใครทำอยู่ที่ไหน? รู้ทีเดียวว่าใครทำอยู่ที่ไหน? รู้ว่าไม่ใช่ใครจับตัวได้ คือ พญามารนั่นเอง เป็นคนทำให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย เกิด แก่ เจ็บ ตายอย่างยับเยิน
เกิดก็อย่างยับเยินเดือดร้อน พ่อไม่ตาย บางทีแม่ตาย บางทีลูกก็ตาย แม่ก็ตาย พ่อก็ยังจะตายตามอีก โดดน้ำตายเสียอกเสียใจ นี่ พญามารทำทั้งนั้น สำหรับประหัตประหารฝ่ายพระ
ถ้าว่ามนุษย์ผู้ใดเป็นฝ่ายพระละก็ มารข่มเหงอยู่อย่างนี้แหละ ไม่ขาดสาย ไม่เช่นก็ด้วยวิธีใดด้วยวิธีหนึ่ง บางทีหมั่นไส้นัก ทำเก่งกาจอวดดิบอวดดี ให้ฆ่ากันตายเสีย ให้กินยาตายเสีย ให้โดดน้ำตายเสีย ให้ผูกคอตายเสีย นี่ใครทำ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ใคร ไม่มีใครรู้ แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกายมีเท่าไรไม่มีใครรู้ ไม่รู้เรื่องทีเดียวในเรื่องนี้ว่า พญามารเขาคอยบีบคั้นอยู่ ให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เกิดก็เกิดอย่างยับเยิน หน้าบิดหน้าเบี้ยว เดือดร้อนด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไม่ตายคางก็เหลืองเทียว ไม่ตายก็เกือบตาย นี่พญามารเขาทำ
ตามปรกติแล้วไม่เป็นดังนี้ เกิดก็อย่างไม่ได้เดือดร้อนนัก จะคลอดบุตรก็เหมือนถ่ายอุจจาระเหมือนถ่ายปัสสาวะ ไม่เดือดร้อนเหมือนกับคลอดลูกออกเต้าธรรมดานี้ จะคลอดบุตรก็เหมือนถ่ายอุจจาระเหมือนถ่ายปัสสาวะทีเดียว ไม่เดือดร้อนแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ที่เดือดร้อนยับเยินเช่นนี้ เพราะพญามารเขาส่งฤทธิ์ส่งเดช ส่งอำนาจส่งวิชชาที่ศักดิ์สิทธิ์มาบังคับบัญชา บังคับให้เป็นไป
จาก พระธรรมเทศนาทัณฑ์ที่ 22 เรื่อง ปัพพโตปมคาถา
28 มีนาคม 2497