หนังสือ อมตวาทะ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ (ตอนที่ 2)

(หนังสือ "อมตวาทะ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ" นี้ เป็นหนังสือที่ คณะศิษย์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม แจกเป็นธรรมทานในงานทอดกฐินสามัคคีมหากุศล ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554)

ตอนที่    1 - 10 https://ppantip.com/topic/42911183
1 ใจ
2 ที่ตั้งของใจ
3 ทางสายเอก
4 ทางเดียวกัน
5 หยุด
6 ตาย - เกิด
7 บุญใหญ่ - กุศลใหญ่
8 จริงแค่ไหน
9 นิพพาน
10 เหตุแห่งความชั่ว-เหตุแห่งความดี
 
ตอนที่  11 - 29 https://ppantip.com/topic/42911188
ตอนที่  21 - 30 https://ppantip.com/topic/42911195
ตอนที่  31 - 40 https://ppantip.com/topic/42913225
ตอนที่  41 - 50 https://ppantip.com/topic/42915182
ตอนที่  51 - 60 https://ppantip.com/topic/42915197
ตอนที่  61 - 70 https://ppantip.com/topic/42915214
ตอนที่  71 - 80 https://ppantip.com/topic/42915225
ตอนที่  81 - 90 https://ppantip.com/topic/42917084
ตอนที่ 91 - 100 https://ppantip.com/topic/42917108

11
การเข้าถึงรัตนะ
ธรรมกาย มีสีใสเหมือนแก้วจริงๆ จึงได้ชื่อว่าพุทธรัตนะ ธรรมทั้งหลายที่กลั่นออกจากหัวใจ ธรรมกายจึงได้ชื่อว่า ธรรมรัตนะ ธรรมรัตนะ คือหัวใจธรรมกายนั้นเอง

ดวงจิตของธรรมกายนั้นได้ชื่อว่า สังฆรัตนะ นี่แหละที่ว่า พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการนี้เกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวนั้น เกี่ยวกันอย่างนี้ จะพรากจากกันไม่ได้ ผู้ใดเข้าถึงพุทธรัตนะ ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงธรรมรัตนะ สังฆรัตนะด้วย

การเข้าถึงรัตนะ ๓ ดังกล่าวมานี้ จะเข้าถึงได้อย่างไร เพียงแต่เลื่อมใสนับถือ ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะท่องบ่นน้อมใจระลึกถึง ก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะปฏิญาณตนว่ายอมเป็นข้า ก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึงอย่างมากจะเรียกได้ก็เพียง ขอถึง

การที่จะเข้าถึงนั้น จำเป็นจะต้องบำเพ็ญเพียรปฏิบัติเจริญรอยตามปฏิปทา ของพระบรมศาสดา จนบรรลุกายธรรม คือรู้จริงเห็นแจ้งด้วยตัวของตัวเอง จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยโดยแท้
จากพระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๑
เรื่อง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

12
ทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้นแล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออกใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด นอกจากทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ยากนัก

ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด
จากพระธรรมทศนา กัณฑ์ที่ ๒ เรื่อง รตนัตตยคมนปณามคาถา
6 มีนาคม 2492

13
หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน
ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูปบ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักชูบ้าง มันเกิดมาทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง ๖ นั้น ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด

พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์บื่อหน่ายในทางความรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุช้าย กลางกั๊ก ใสเหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว

พอหยุดก็รู้ว่าใจของเราหยุดแล้ว ที่ว่าใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง นิ่งอยู่ที่เดียว กลางของกลาง ๆ ๆ ไม่ถอย แล้วเข้ากลางของกลางหนักเข้าไป พอใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนไม่ไป กลางของกลางหนักขึ้นทุกที่ไม่มีถอยออก กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน
จากพระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 3 เรื่อง อาทิตตปริยายสูตร
25 สิงหาคม 2496

14
ดวงธรรม
คำว่าธรรมนี้อยู่ที่ไหนล่ะ อยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ด้ายกลุ่มสองเส้นขึงให้ตึงตรงกลางเส้นด้ายที่พาดกัน นั้นเรียกว่ากลางกั๊ก นั่นคือ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม ธรรมดวงนั้นดับไป กายมนุษย์ก็ดับ ธรรมดวงนั้นผ่องใสสะอาดสะอ้าน กายมนุษย์ก็รุงโรจน์โชตนาการ ธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์ก็ไม่ผ่องใส ซอมซ่อ ไม่สวยไม่งามน่าเกลียดน่าชังไป เพราะธรรมดวงนั้นสำคัญนัก ธรรมดวงนั้นแหละเป็นชีวิตของมนุษย์ คือความเป็นอยู่ของมนุษย์ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อยู่กลางดวงนั้น
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 4 เรื่อง สิ่งที่เป็นภาะเป็นที่พึ่งของตน
13 กันยายน 2496

15
พระรัตนตรัยคือที่พึ่งอันสูงสุด
พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ สังฆรัตนะ นี้เป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย สิ่งอื่นนอกจากพระรัตนตรัยนี้ไม่มี และสิ่งอื่นที่เราจะพึ่งสูงและดีขึ้นไปกว่านี้ไม่มี

เหตุนี้ในวาระพระบาลี ได้แสดงเป็นตำรับตำราเนติแบบแผนไว้ว่า
นัตถิเม สะระณัง อัญญัง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งของเรา
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งของเรา
ธัมโม เม สะระณัง วะรัง พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งของเรา
สังโฆ เม สะระณัง วะรัง พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา

ดังนั้นก็แน่นอนในใจว่า พระรัตนะทั้ง 3 คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นเนมิตกนามเกิดขึ้น พุทโธ ธัมโม สังโฆ ว่านี่แหละเป็นที่พึ่งของเราจริงแท้แน่นอน โดยไม่ผิดเพี้ยนยักเยื้องแปรผัน
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496

16
สำเร็จด้วยการให้
บุคคลคนหนึ่งคนใดโกรธเคืองด่าว่าเรา เราก็หาอุบายแก้ไข ค่อยๆให้เขาเถอะ คนที่เคยด่าพ่อ ด่าแม่ คนอิจฉาริษยานั่นแหละ ให้เสีย พอเขาเชื่อง พอเขาเลื่อมใส เราจะใช้เขาทำอะไร เขาทำเอาทั้งนั้นแหละ นี่สำเร็จด้วยการให้ นี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก โลกจะจงรักภักดีซึ่งกันและกันก็เพราะอาศัยให้ซึ่งกันและกัน
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 รื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496

17
ศาสนาพุทธอยู่ได้ด้วยการให้
ศาสนาพุทธนี้อยู่ได้ด้วยการให้ ถ้าเลิกให้กันเสียสักเดือนเดียว ข้าวปลาอาหารไม่ให้กันละ หยุดกันหมดทั้งประเทศ ทุกบ้านทุกเรือนไม่ให้กันละ ศาสนาดับพระเณรสึกหมด หายหมดไม่เหลือเลย นี่เพราะอะไร เพราะการให้นี่เอง การให้นี่สำคัญนัก เพราะทุกคนอยู่ได้ด้วยการให้ทั้งนั้น

ท่านจึงได้ยืนยันตามตำรับตำราว่า ให้โกชนาหารอิ่มเดียว ได้ชื่อว่าให้ ฐานะ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ เป็นที่ปรารถนาของมหาชนคนทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์บรรพชิตปรารถนาเหมือนกันหมด

อายุ อายุยืนใครๆ ก็ชอบ วรรณะ ความสดชื่นแห่งร่างกาย ผิวพรรณผ่องผุดเป็นที่ดึงดูดนัยน์ตาของมนุษย์โลกให้มารวมอยู่ที่ตน ใครๆ ก็ชอบทั้งนั้น สุขะ มีความสบายกายสบายใจ ใครก็ชอบทั้งนั้น พละ กำลังกาย กำลังวาจา กำลังใจ เวลาจะใช้กำลังกายได้สมความปรารถนาไม่ติดขัดอะไร เวลาจะใช้กำลังวาจาได้สมความปรารถนาไม่ติดขัดอะไร เวลาจะใช้กำลังความคิดก็ได้สมความปรารถนา ไม่ต้องรอเวลาอย่างหนึ่งอย่างใด กำลังทั้ง 3 นี่แหละสำคัญนัก

กำลังกาย เวลาจะใช้งานการด้วยกาย กำลังวาจา ที่ต้องใช้วาจาโต้ตอบระหว่างประเทศต่อประเทศนั้น หรือเวลาพูดคนต่อคนกัน ก็ใช้วาจา กำลังใจที่จะต้องคิดการงานใหญ่โตกว้างขวางออกไป นี่กำลังใจ กำลังเหล่านี้ใครๆ ก็ชอบ ใครๆ ก็ปรารถนา ปฏิภาณ ความเฉลียวฉลาดในทุกสิ่งทุกอย่าง ในหน้าที่ของตัว หรือในหมู่มนุษย์ ฉลาดในหน้าที่ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ขัดขวางอย่างหนึ่งอย่างใด นี่ใครๆ ก็ชอบ ใครๆ ก็ปรารถนา สิ่งทั้ง 5 นี้แหละ เป็นที่ปรารถนาของมหาชนคนทั้งหลาย
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496

18
เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา
คนที่พากันมาบริจาคทาน เป็นเจ้าภาพหรือเป็นหัวหน้า เป็นที่สองรองลำดับลงไป หรือว่าหมู่พวกนั้นๆบริจาคทาน พระพุทธเจ้าท่านก็คอยดู สอดญาณ ส่องญาณคอยดู ได้รับความสุขแค่ไหน ได้รับความทุกข์แค่ไหน ท่านก็ช่วยเหลือเผื่อแผ่ คอยแก้ไข บำบัดความทุกข์ บำรุงความสุข ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป นี่ก็เพราะอาศัยพระพุทธเจ้าอยู่ลับๆ เรานับได้ ในประเทศไทยมีจริงๆในที่ลับๆ

ประเทศนิดเดียวเท่านี้แหละเป็นเอกราชอยู่ได้ ป็นผาหน้าไม้ทำกับเขาไม่เป็น เรือแพนาวา เรือยนต์กลไฟ ต่อไม่ได้ทั้งนั้น แต่ว่าเป็นเอกราชได้ แปลกเหลือเกินเป็นเอกราชได้ด้วยอะไร

นี่เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา ด้วยพระพุทธเจ้าท่านคอยดูแลแก้ไข รักษาชาติศาสนาของท่านไว้ ให้ศาสนาดำรงอยู่ เพราะหมดทั้งชมพูทวีป ศาสนาเดี๋ยวนี้มาแน่นหนาอยู่ในเมืองไทยเท่านั้น
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496

19
ให้ดวงบุญนั้นช่วย
เมื่อต้องภัยได้ทุกข์อะไร จรดอยู่ดวงบุญนั้นให้ดวงบุญนั้นช่วย อย่าไปนึกถึงสิ่งอื่นนะ นึกถึงบุญกุศลที่ตนกระทำนั่นแหละ เป็นที่พึ่งของตัวจริง ช่วยตัวได้จริงๆ พระพุทธเจ้าเมื่อเข้าที่คับขัน ท่านยังนึกถึงบุญของท่านที่ท่านได้บำเพ็ญบารมีของท่านมา แน่วแน่ทีเดียวมั่นคงทีเดียว

เมื่อมั่นคงเช่นนั้น นางธรณีก็ผุดขึ้นมา บำบัดพญามารให้พ่ายแพ้ ด้วยน้ำที่พระองค์ทรงหลั่งให้ตกลงเหนือพื้นปฐพี นางธรณีรับไว้รูดปราดเดียวเป็นทะเลท่วม พญามารป่นบี้หมด ยับเยิน แพ้พระพุทธเจ้าด้วยน้ำที่พระองค์ทรงกรวดนั่นแหละ

นี่พระองค์ทรงนึกถึงทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ให้เป็นอาวุธผจญพญามารให้อันตรธานพ่ายแพ้พระองค์ไป

เราก็เหมือนกันต้องภัยได้ทุกข์ ก็นึกถึงบุญบารมีที่เราได้สั่งสมอบรมมานี้ นิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ กลางดวงนั่นแหละ ถูกดวงบุญพอดี ทาน การให้สำเร็จเป็นบุญดังนี้ เมื่อสำเร็จเป็นบุญแล้ว ก็เป็นที่ระลึก ดังนี้ นี้เรียกว่า ทานัญจะ
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496

20
ปิยวาจา
เราต้องอาศัยวาจาที่ไพเราะเสนาะโสต เมื่อกล่าววาจาอันใดออกไปแล้ว เป็นที่ดึงดูดใจ เหนี่ยวรั้งใจ เป็นที่สมัครสมานในกันและกัน ไม่เป็นที่กระทบกระเทือนในกันและกัน ต้องใช้วาจาอย่างนั้น เป็นคนชั้นสูง เป็นคนชั้นผู้ใหญ่ เป็นคนชั้นพวกมาก ไม่ใช่พวกน้อย

ถ้ามีวาจาเช่นนั้นเรียกว่าเป็นคนสุภาพ เป็นคนมีมารยาท เป็นคนที่มีถ้อยคำวาจาเป็นหลักเป็นประธาน วาจาไพเราะอ่อนหวาน ไม่กระทบกระเทือนผู้หนึ่งผู้ใด กล่าวออกไปแล้ว ไม่กระเทือนตัวเองด้วย ไม่กระเทือนบุคคลอื่นด้วย ไม่กระเทือนทั้งตนและบุคคลอื่นด้วย

กล่าววาจาใดออกไป แล้วว่าจานั้นไพเราะเสนาะโสตดึงดูด อยากจะฟังแล้วอยากจะฟังอีกอยู่ร่าไป ดังนี้เรียกว่า ปิยวาจา วาจาไพเราะ วาจาอย่างนี้แหละ เป็นของสำคัญนักในหมู่มนุษย์ จำเป็นจะต้องใช้
จาก พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 5 เรื่อง สังคหวัตถุ
20 กันยายน 2496
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่