ดิฉันอ่านพบธรรมนิพนธ์ของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ซึ่งให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความเมตตา ที่น่าสนใจ ดังนี้
“ตามคำสอนของพุทธศาสนา เมตตา เป็นคุณภาพจิตอย่างหนึ่ง อยู่ในหมวดที่ชื่อว่า “พรหมวิหาร” ซึ่งคนไทยรู้จักดี แต่มักลืมไปว่ามีธรรมอีกหมวดที่คู่กัน นั่นคือ “สังคหวัตถุ” พรหมวิหารนั้น เป็นเรื่องของการพัฒนาจิตให้มีคุณภาพ (เรียกง่าย ๆ ว่า “ทำจิต”) ส่วน สังคหวัตถุ เป็นเรื่องของการกระทำเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น (หรือ “ทำกิจ”)
นั่นหมายความว่า เมื่อมีเมตตากรุณาแล้ว ก็ต้องลงมือกระทำด้วย เริ่มจาก การแบ่งปันสิ่งของ (ทาน) การพูดด้วยคำสุภาพเกื้อกูล (ปิยวาจา) การขวนขวายช่วยเหลือ (อัตถจริยา) และการปฏิบัติกับผู้คนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย (สมานัตตตา) หากทำเต็มที่แล้ว ไม่สามารถช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ได้ จึงค่อยทำใจปล่อยวาง เป็นอุเบกขา อันเป็นข้อสุดท้ายของพรหมวิหารธรรม”
เป็นการชี้ให้เห็นว่านอกจาก “ทำจิต” แล้วยังต้อง “ทำกิจ” อีกด้วย เป็นการเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อความใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่ระบุว่า
“พรหมวิหาร 4 เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา 4 เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต
พรหมวิหารมีในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุ เป็นต้น”
จากการค้นคว้า ดิฉันพบข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ใช้เทียบเคียงสภาวธรรมกุศล/อกุศลของตนเอง หรือจะใช้เป็นแนวปฏิบัติก็ได้ จากหัวข้อ อัปปมัญญากัมมัฏฐาน ใน หนังสือ “ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม” รวบรวมโดยขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร) ดังนี้
“1. เมตตากัมมัฏฐาน
มีความเป็นไปแห่งกาย วาจา ใจ ในอันที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
มีการนำประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างใกล้ชิด เป็นกิจ
มีการบำบัดความอาฆาต เป็นผล
มีการพิจารณาแต่ความดีที่น่าพึงพอใจของสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่มีการนึกถึงสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เป็นเหตุใกล้
การสงบความพยาบาทลงได้เป็นเวลานาน เป็นความสมบูรณ์
ก ของเมตตา
การเกิดขึ้นแห่งตัณหาที่เหนียวแน่น เป็นความเสื่อมเสีย
ข แห่งเมตตา
ราคะ เป็นข้าศึก
ค ใกล้ของเมตตา
พยาบาท เป็นข้าศึกไกลของเมตตา
2. กรุณากัมมัฏฐาน
มีความเป็นไปแห่ง กาย วาจา ใจ ในอันที่จะบำบัดทุกข์ของผู้อื่นให้ปราศจากไป เป็นลักษณะ
มีความอดกลั้นนิ่งดูดายอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของผู้อื่นและอยากช่วย เป็นกิจ
มีการไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นผล
การพิจารณาเห็นบุคคลที่ตกอยู่ในความทุกข์ ไร้ที่พึ่ง เป็นเหตุใกล้
ความสงบแห่งโทสจิตตุปปาทะในอันที่จะทำการเบียดเบียนสัตว์ เป็นความสมบูรณ์แห่งกรุณา
การเกิดขึ้นแห่งความโศกเศร้า เป็นความเสื่อมเสียแก่กรุณา
ความเสียใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์ เป็นข้าศึกใกล้
ความเบียดเบียนสัตว์ เป็นข้าศึกไกล
3. มุทิตากัมมัฏฐาน
มีการบรรเทิงใจในคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นลักษณะ
มีการไม่ริษยาในคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นกิจ
ทำลายความริษยา เป็นผล
มีการรู้เห็นความเจริญด้วยคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้
มีการสงบจากความไม่พอใจในสมบัติของผู้อื่น เป็นความสมบูรณ์แห่งมุทิตา
ความสุข รื่นเริง โอ้อวด กำหนัดเกิดขึ้น เป็นความเสื่อมเสียแก่มุทิตา
มีความดีใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์ เป็นข้าศึกใกล้
มีความไม่ยินดี ไม่สบายใจในความเจริญของผู้อื่น เป็นข้าศึกไกล
4. อุเบกขากัมมัฏฐาน
มีอาการเป็นไปอย่างกลางในสัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
มีการมองดูสัตว์ทั้งหลายด้วยความเสมอกัน เป็นกิจ
มีการสงบจากความเกลียดและไม่มีความรักในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผล
ปัญญาที่พิจารณาเห็นการกระทำของตนเป็นของตนเอง เป็นไปอย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีการกระทำของตน เป็นของตนเอง จะมีความสุขหรือพ้นจากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจากโภคสมบัติของตนที่มีอยู่เหล่านี้ ด้วยความประสงค์ของผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยดังนี้’ เป็นเหตุใกล้
การสงบจากความเกลียดและไม่มีความรัก เป็นความสมบูรณ์ของอุเบกขา
การเกิดขึ้นแห่งอญาณุเบกขาโดยอาศัยกามคุณอารมณ์ เป็นความเสื่อมเสียแก่อุเบกขา
การวางเฉยด้วยอำนาจแห่งโมหะ เป็นข้าศึกใกล้
ราคะและโทสะ เป็นข้าศึกไกล”
เห็นด้วยกับดิฉันมั้ยคะว่า บรรพชนท่านเมตตาเกื้อกูลอนุชนรุ่นหลังเพียงใด ในการสืบทอดปัญญาอันยิ่ง จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เราได้มีที่พึ่งอันเกษมในการดำเนินชีวิต
หมายเหตุ
ท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายความว่า
ก สมบัติ คือ ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิ์ผล
ข วิบัติ คือ ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิด พลาด ไม่สําเร็จผล
ค ข้าศึก คือ อกุศลซึ่งเป็นศัตรูคู่ปรับที่จะทําลายหรือทําธรรมนั้นๆ ให้เสียไป
ที่มา
ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม
https://anyflip.com/wbuob/ioqh/basic
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
https://book.watnyanaves.net/dictionary/display/5194
อัปปมัญญากัมมัฏฐาน
ดิฉันอ่านพบธรรมนิพนธ์ของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ซึ่งให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความเมตตา ที่น่าสนใจ ดังนี้
“ตามคำสอนของพุทธศาสนา เมตตา เป็นคุณภาพจิตอย่างหนึ่ง อยู่ในหมวดที่ชื่อว่า “พรหมวิหาร” ซึ่งคนไทยรู้จักดี แต่มักลืมไปว่ามีธรรมอีกหมวดที่คู่กัน นั่นคือ “สังคหวัตถุ” พรหมวิหารนั้น เป็นเรื่องของการพัฒนาจิตให้มีคุณภาพ (เรียกง่าย ๆ ว่า “ทำจิต”) ส่วน สังคหวัตถุ เป็นเรื่องของการกระทำเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น (หรือ “ทำกิจ”)
นั่นหมายความว่า เมื่อมีเมตตากรุณาแล้ว ก็ต้องลงมือกระทำด้วย เริ่มจาก การแบ่งปันสิ่งของ (ทาน) การพูดด้วยคำสุภาพเกื้อกูล (ปิยวาจา) การขวนขวายช่วยเหลือ (อัตถจริยา) และการปฏิบัติกับผู้คนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย (สมานัตตตา) หากทำเต็มที่แล้ว ไม่สามารถช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ได้ จึงค่อยทำใจปล่อยวาง เป็นอุเบกขา อันเป็นข้อสุดท้ายของพรหมวิหารธรรม”
เป็นการชี้ให้เห็นว่านอกจาก “ทำจิต” แล้วยังต้อง “ทำกิจ” อีกด้วย เป็นการเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อความใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่ระบุว่า
“พรหมวิหาร 4 เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา 4 เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต
พรหมวิหารมีในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุ เป็นต้น”
จากการค้นคว้า ดิฉันพบข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ใช้เทียบเคียงสภาวธรรมกุศล/อกุศลของตนเอง หรือจะใช้เป็นแนวปฏิบัติก็ได้ จากหัวข้อ อัปปมัญญากัมมัฏฐาน ใน หนังสือ “ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม” รวบรวมโดยขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร) ดังนี้
“1. เมตตากัมมัฏฐาน
มีความเป็นไปแห่งกาย วาจา ใจ ในอันที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
มีการนำประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างใกล้ชิด เป็นกิจ
มีการบำบัดความอาฆาต เป็นผล
มีการพิจารณาแต่ความดีที่น่าพึงพอใจของสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่มีการนึกถึงสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เป็นเหตุใกล้
การสงบความพยาบาทลงได้เป็นเวลานาน เป็นความสมบูรณ์ก ของเมตตา
การเกิดขึ้นแห่งตัณหาที่เหนียวแน่น เป็นความเสื่อมเสียข แห่งเมตตา
ราคะ เป็นข้าศึกค ใกล้ของเมตตา
พยาบาท เป็นข้าศึกไกลของเมตตา
2. กรุณากัมมัฏฐาน
มีความเป็นไปแห่ง กาย วาจา ใจ ในอันที่จะบำบัดทุกข์ของผู้อื่นให้ปราศจากไป เป็นลักษณะ
มีความอดกลั้นนิ่งดูดายอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของผู้อื่นและอยากช่วย เป็นกิจ
มีการไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นผล
การพิจารณาเห็นบุคคลที่ตกอยู่ในความทุกข์ ไร้ที่พึ่ง เป็นเหตุใกล้
ความสงบแห่งโทสจิตตุปปาทะในอันที่จะทำการเบียดเบียนสัตว์ เป็นความสมบูรณ์แห่งกรุณา
การเกิดขึ้นแห่งความโศกเศร้า เป็นความเสื่อมเสียแก่กรุณา
ความเสียใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์ เป็นข้าศึกใกล้
ความเบียดเบียนสัตว์ เป็นข้าศึกไกล
3. มุทิตากัมมัฏฐาน
มีการบรรเทิงใจในคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นลักษณะ
มีการไม่ริษยาในคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นกิจ
ทำลายความริษยา เป็นผล
มีการรู้เห็นความเจริญด้วยคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้
มีการสงบจากความไม่พอใจในสมบัติของผู้อื่น เป็นความสมบูรณ์แห่งมุทิตา
ความสุข รื่นเริง โอ้อวด กำหนัดเกิดขึ้น เป็นความเสื่อมเสียแก่มุทิตา
มีความดีใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์ เป็นข้าศึกใกล้
มีความไม่ยินดี ไม่สบายใจในความเจริญของผู้อื่น เป็นข้าศึกไกล
4. อุเบกขากัมมัฏฐาน
มีอาการเป็นไปอย่างกลางในสัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
มีการมองดูสัตว์ทั้งหลายด้วยความเสมอกัน เป็นกิจ
มีการสงบจากความเกลียดและไม่มีความรักในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผล
ปัญญาที่พิจารณาเห็นการกระทำของตนเป็นของตนเอง เป็นไปอย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีการกระทำของตน เป็นของตนเอง จะมีความสุขหรือพ้นจากทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจากโภคสมบัติของตนที่มีอยู่เหล่านี้ ด้วยความประสงค์ของผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยดังนี้’ เป็นเหตุใกล้
การสงบจากความเกลียดและไม่มีความรัก เป็นความสมบูรณ์ของอุเบกขา
การเกิดขึ้นแห่งอญาณุเบกขาโดยอาศัยกามคุณอารมณ์ เป็นความเสื่อมเสียแก่อุเบกขา
การวางเฉยด้วยอำนาจแห่งโมหะ เป็นข้าศึกใกล้
ราคะและโทสะ เป็นข้าศึกไกล”
เห็นด้วยกับดิฉันมั้ยคะว่า บรรพชนท่านเมตตาเกื้อกูลอนุชนรุ่นหลังเพียงใด ในการสืบทอดปัญญาอันยิ่ง จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เราได้มีที่พึ่งอันเกษมในการดำเนินชีวิต
หมายเหตุ
ท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายความว่า
ก สมบัติ คือ ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิ์ผล
ข วิบัติ คือ ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิด พลาด ไม่สําเร็จผล
ค ข้าศึก คือ อกุศลซึ่งเป็นศัตรูคู่ปรับที่จะทําลายหรือทําธรรมนั้นๆ ให้เสียไป
ที่มา
ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม
https://anyflip.com/wbuob/ioqh/basic
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
https://book.watnyanaves.net/dictionary/display/5194