อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 16.1
สำหรับโอกาสนี้บรรดาท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งใจสดับปฏิปทาที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพระอนาคามี เมื่อคืนที่แล้วได้พูดมาถึงตอน
ตัดกามฉันทะ ความจริงตอนนี้ถ้าจะกล่าวว่าหนัก มันก็ไม่หนัก สำหรับคนที่มาใหม่ ก็รู้สึกว่าจะหนักสักหน่อย แต่ว่าคนเก่าถ้าใช้อารมณ์จริงๆ มันก็ไม่มีอะไรจะหนัก เพราะว่าความรู้ของพระโสดาบัน สกิทาคามี เราผ่านกันมาแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระที่บวชมาตั้งหลายปี ฟังกันมาทุกวัน และก็ฟังกันวันละหลายครั้ง ถ้าใช้อารมณ์เป็นกุศลจริงๆ หรือว่าตั้งใจจริงๆ ว่าเราบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา เพื่อหวังจะตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ก็ไม่เห็นจะมีอะไรหนัก ถ้าใช้อารมณ์นั้นให้มันเป็นปกติ
สำหรับวันนี้ก็จะพูดถึง
การตัดโทสะ แล้วก็จะสรุปเรื่องอนาคามีเลย เพราะว่าเป็นของไม่ยาก การศึกษามาตามลำดับไม่ใช่ของหนัก ถ้าโดยวิธีปฏิบัติแล้ว ท่านไม่ได้แยกกันออกหลังจากที่ได้สกิทาคามีผลแล้ว วิธีพิจารณาเขาพิจารณารวมกันเลย เพราะว่าของเหล่านี้เราผสมกันมาแล้วตั้งแต่สกิทาคามี เป็นอันว่า อารมณ์สำหรับอนาคามีนี้ อย่าลืมว่าต้องใช้สมาธิหนัก คำว่า
สมาธิหนัก ไม่ใช่นั่งหนัก ไม่ใช่ว่าไปนั่งตะบันกันตั้ง 9 ชั่วโมง 10 ชั่วโมง ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างนั้นเขาเรียกว่า
โง่หนัก ไม่ใช่ฉลาดหนัก คำว่า ใช้สมาธิหนัก ก็หมายความว่าใช้ให้มันเป็นอารมณ์เป็นปกติ
อย่างในด้านอสุภสัญญา ตัดกามฉันทะ เราเห็นคนเห็นสัตว์ เห็นเราเห็นเขา เห็นใครทั้งหมดมันสกปรกไปเสียหมด จับอสุภกรรมฐานให้ซึ้งใจ ให้มันทรงอยู่ในใจ มันไม่คลายไปจากจิต ความรักในเพศ ความปราถนาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส มันจะมาจากไหน เพราะความปราถนาจริงๆ มันมาจากใจ ในเมื่อใจของเรามันตัดเสียแล้ว อะไรมันจะเกิด เนื้อแท้ของอารมณ์มันมีอยู่เท่านี้
ทีนี้มาว่ากันถึง ปฏิฆะ คือความกระทบกระทั่งในจิต คำว่า
ปฏิฆะ นี่หมายความถึงว่า อารมณ์ที่สร้างอาการของจิตให้มันเกิดความไม่พอใจ กระทบนิดไม่ชอบใจ กระทบหน่อยไม่ชอบใจ หรือว่าในเมื่อเราผ่านพระสกิทาคามีมา ตอนนั้นจะรู้สึกว่าอารมณ์ใจของเรามีอภัยทานเป็นปกติ เมื่อมีอภัยทานเป็นปกติ เราให้อภัยกับคนที่มีความผิด
เว้นไว้แต่ว่าผิดระเบียบวินัย ระเบียบวินัย กฎข้อบังคับนี่เว้นไม่ได้ ถ้าเว้นแล้วเราเป็นคนขาดเมตตา เพราะว่าจะปล่อยเขาเลวเกินไปนั้นไม่ได้ ถ้าเรารักเราสั่งสอนไม่ได้ ตักเตือนไม่ได้ ก็ขับไปเสียเลย อย่างพระพุทธเจ้าท่านทำ ไม่ใช่ว่ามีเมตตาจิตแล้วก็เมตตากันเสียเรื่อย จะดีจะชั่วก็เมตตา เขาเมตตาแต่เฉพาะคนดีเท่านั้น และคนที่เอาดีไม่ได้นี่เขาไม่เมตตากัน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่เมตตา จะเห็นได้ว่าอย่าง
พระฉันนะ เป็นคนหัวดื้อหัวด้าน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้พระฉันนะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ อยากดื้ออยากด้านก็ปล่อยส่งเดช สั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์เสีย ไม่คบค้าสมาคมกับพระฉันนะ
ในที่สุด พระฉันนะเกิดความน้อยใจว่า องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา นี่เคยเป็นคู่สหชาติกันมาตั้งแต่เกิด เคยเป็นสหายกันมาตั้งแต่เกิด เล่นกันมาตั้งแต่เด็ก เวลาจะออกมหาภิเนษกรมณ์ ก็ได้นายฉันนะเป็นคนจูงม้ากัณฐกหรือกัณฐะกะ ก็มีเราผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นคู่หูกันมาในกาลก่อน เวลานี้องค์สมเด็จพระชินวรสั่งให้สงฆ์ลงพรหมฑัณฑ์ไม่คบค้าสมาคมด้วย เกิดความน้อยใจ ในที่สุดก็ตัดอาลัยในชีวิต เอามีดโกนมาเชือดคอตาย แต่ทว่าการตายของพระฉันนะไม่ไร้ผล เพราะอาศัยที่ตนตัดอาลัยในชีวิต ไม่คิดว่าจะทำอะไรต่อไป เห็นว่าไม่มีใครเขาคบเราก็ไม่ควรจะอยู่ และการที่อยู่นี่มีความทุกข์นี่ เพราะอาศัยขันธ์ 5 เป็นปัจจัย มีความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 ในที่สุดพระฉันนะก็ตาย เมื่อตายแล้วก็อาศัยจิตที่หมดอาลัยในขันธ์ 5 ท่านก็ไปพระนิพพาน
อันนี้เป็นจริยาเมตตาอันหนึ่งที่เราจะพูดกันว่า พระพุทธเจ้าไม่เมตตาหรือก็ไม่ได้ ที่ว่าไม่เมตตาก็มองอย่างชาวบ้าน ว่าคนที่เป็นสหชาติคบค้าสมาคมกันมา ทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงให้สงฆ์ตัดขาดจากบุคคลนั้น ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ถ้าขืนเอาใจมันจะเลวมากเกินไป จะเอาดีไม่ได้ เลยต้องไม่เอาใจ ปล่อยให้รู้สึกตัวเสีย ว่าไอ้การประพฤติปฏิบัติแบบนั้นมันเลว ไม่คู่ควรกับผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์อาจจะทราบ เพราะว่ามีพระพุทธญาณพิเศษว่า ถ้าองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ลงโทษแบบนั้น พระฉันนะจะมีความรู้สึกตัว แล้วความจริงก็เป็นเช่นนั้น
นี่เป็นอันว่าคำว่าเมตตานี่ไม่ใช่ไปนั่งเอาใจกัน ดี ก็ให้ หมายความว่านักปกครอง มือหนึ่งต้องถือไม้เรียว อีกมือหนึ่งถือขนม ถ้าดีก็ให้รางวัล ถ้าไม่ดีก็ลงโทษ แล้วก็จะมาอ้างเหตุอ้างผลว่าเคยทำความดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ดูดูตัวอย่าง
พระฉันนะ ซึ่งเป็นคู่สหชาติกันมาแท้ๆ เป็นเพื่อนเล่นกันมา ต่อมาก็เป็นนายสารถี เป็นคนสนิท จนกระทั่งองค์สมเด็จพระธรรมสามิสรจะเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ก็ได้นายฉันนะคนนี้แหละเป็นคนจูงม้าออกมา แต่ทำไมสมเด็จพระบรมศาสดาจึงสั่งสงฆ์ลงพรหมฑัณฑ์ ถ้าจะพูดกันอย่างชาวบ้าน ก็เรียกว่าไม่มีความกตัญญูต่อเพื่อน แต่ถ้าหากว่าจะใช้ความเมตตาปรานี เพื่อนก็จะเลวเกินไป จะมีอเวจีเป็นที่ไป
ขอท่านทั้งหลายจำเรื่องนี้ไว้ให้ดี เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา จงอย่าคิดว่าจะต้องมีคนเอาใจเสมอไป พระธรรมและวินัยมีอยู่ ถ้าเรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระบรมครู ปฏิบัติอยู่ในธรรมะและวินัย ไม่มีใครเขาว่าอะไร นอกจากคนเลวเท่านั้นที่เขาจะว่า แต่วาจาของคนเลวเป็นวาจาที่ไร้สมรรถภาพยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เราจะไปสนใจอะไรกับวาจาของคนเลว ถ้าเราเชื่อคนเลวเราก็จะเลวไปด้วย เราไม่ควรจะบูชาวาจาของคนเลว ก่อนที่จะบูชาเขาก็ตูปฏิปทาเขาเสียก่อนว่า เขามีความประพฤติดีหรือมีความประพฤติเลว ถ้าเขามีความประพฤติเลว ยอมรับนับถือเขา คำว่าบูชาแปลว่า ยอมรับนับถือ เราก็เลวไปด้วย
อันนี้เป็นจุดหนึ่งที่จะตัดปฏิฆะ คือความรู้สึกในใจ ที่ไม่พอใจเกิดขึ้นกับเรา การตัดปฏิฆะ ความไม่ชอบใจนั้นมันตัดนิดเดียว ตัดตามพระบาลีว่า
“อัตตนา โจทยัตตานัง” จงกล่าวโทษโจทก์ความผิดอารมณ์ของเราไว้เสมอ อย่าไปกล่าวโทษโจทก์ความผิดของบุคคลอื่น และก็จงทำใจให้แช่มชื่นด้วยอำนาจ เมตตา ความรัก ในพรหมวิหาร
กรุณา ความสงสาร อารมณ์จิตชื่นบานปรารถนาในการเกื้อกูล มีอารมณ์อ่อนโยน หมายความว่าเห็นใครเขาดีพลอยยินดีด้วย แล้วก็น้อมเอาความดีที่เขากระทำแล้วมาประพฤติปฏิบัติ เรียกว่าลอกแบบความดีของเขามาใช้
อุเบกขา สิ่งใดที่มันเกิดกับเราถ้าเป็นเหตุให้ไม่พอใจ ถ้าสิ่งนั้นเป็นกฎธรรมดาของโลก เราก็วางเฉย เท่านี้มันก็หมดเรื่อง
แต่ว่าถ้าหมดเรื่องแค่นี้นะ มันก็หมดเรื่องแค่สมถภาวนา เราต้องต่ออีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องวิปัสสนาภาวนา ในด้านวิปัสสนาภาวนานี่ผมขอยึดอริยสัจเป็นสำคัญ เพราะว่าอริยสัจนี้เป็นธรรมะที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงบรรลุเอง ค้นคว้ามาเอง พระพุทธเจ้าจะเทศน์ที่ไหนก็ตาม ถ้าเทศน์ชาดก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงนำเอาเรื่องของชาดกมายกเป็นตัวอย่างแล้วก็ทรงสรุปด้วยอริยสัจ 4 ผมไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าสรุปด้วยอะไร สรุปด้วยอริยสัจ 4
ฉะนั้นวิปัสสนาญาณ
ผมถืออริยสัจ 4 เป็นหลัก และอริยสัจ 4 ก็คือขันธ์ 5 หรือว่าวิปัสสนาญาณก็มองขันธ์ 5 นั่นเอง แต่ว่าคำอธิบายหรือคำพูดสำนวนแตกต่างกัน ถ้าเราฉลาดจะเห็นว่าอาการทั้ง 3 อย่างนี้ไม่ต่างกัน คือ อริยสัจ 4 ก็ดี การพิจารณาขันธ์ 5 ก็ดี หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณ 9 ก็ดี เหมือนกัน ถ้าฉลาด ถ้าโง่มันก็ไม่เหมือน ถ้าฉลาดใช้ปัญญานิดเดียว ไม่ต้องสอนกันมากมันก็เหมือน ไอ้ประเภทที่บอกว่าไม่รู้เนี่ยเก็บเข้าไว้เสียบ้างเถอะ อะไรก็ไม่รู้ อย่างโน้นก็ไม่รู้ อย่างนี้ก็ไม่รู้ ไอ้คำว่าไม่รู้เนี่ยมันไม่น่าจะมี มันต้องแกล้งไม่รู้ เลวทำไมเราจึงรู้ รู้จักการทำความเลวเรารู้จัก ถ้าเราจะรู้จักการทำความดีเสียบ้างไม่ได้รึ
เป็นอันว่า เราต้องโทษใจของเราไว้เสมอ มองดูความเลวใจไว้เป็นสำคัญ อย่าดูดี แล้วก็มาน้อมใจว่าไอ้ปฏิฆะ ความไม่ชอบใจ ทำให้อารมณ์ใจขุ่นมัวนี่มันดีตรงไหน มันเกิดประโยชน์กับใครบ้าง มีใครคนไหนบ้างที่เป็นคนเจ้าอารมณ์ขึ้โมโหโทโส ไม่ชอบใจคนนั้น ไม่ชอบใจคนนี้ คนประเภทนี้ชาวโลกพวกไหนเขานิยม คนที่จะนิยมพวกนี้ก็คือคนบ้า ก็เพราะอาการอย่างนั้น มันเป็นอาการของคนบ้า คนดีเขาไม่คบ ที่จะชอบใจกันก็เฉพาะคนบ้าก็เท่านั้น นี่เราก็มานั่งนึกว่าไอ้บ้านี่เราชอบไหม คนโมโหโทโสนี่มันไร้สติสัมปชัญญะ อยากจะพูดอยากจะด่า อยากจะอะไรก็ว่าตามอารมณ์ อยากจะทำชั่วทำเลวทราม ก็ทำตามอารมณ์ ไม่ได้มองดูกำลังใจของชาวบ้านชาวเมือง ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ตั้งใจสร้างแต่ความชั่วอย่างเดียว อย่างคนอื่นเขาสร้าง เราก็ทำลายมันเสีย เขาสร้างความดี เราก็สร้างความชั่ว เขาต้องการความสงบ เราก็ส่งเสียงรบกวน อันนี้มันเป็นอาการของความชั่ว ดีไหมล่ะ ไม่ดี ถ้าเขากวนใจเราบ้าง เราก็ไม่ชอบใจ ถ้าเราไปกวนใจเขาเขาจะชอบใจไหม ไม่มีใครเขาบูชาเราหรอก มันเลว แล้วก็นั่งด่าตัวเองไว้ทุกวันอย่าไปชมตัวเอง แล้วก็น้อมมาถึงอริยสัจควบกับพรหมวิหาร 4 หรือว่าควบกับกสิณ 4 ก็ได้
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 16.2 https://ppantip.com/topic/43155650
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 16.1
สำหรับโอกาสนี้บรรดาท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งใจสดับปฏิปทาที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพระอนาคามี เมื่อคืนที่แล้วได้พูดมาถึงตอน ตัดกามฉันทะ ความจริงตอนนี้ถ้าจะกล่าวว่าหนัก มันก็ไม่หนัก สำหรับคนที่มาใหม่ ก็รู้สึกว่าจะหนักสักหน่อย แต่ว่าคนเก่าถ้าใช้อารมณ์จริงๆ มันก็ไม่มีอะไรจะหนัก เพราะว่าความรู้ของพระโสดาบัน สกิทาคามี เราผ่านกันมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระที่บวชมาตั้งหลายปี ฟังกันมาทุกวัน และก็ฟังกันวันละหลายครั้ง ถ้าใช้อารมณ์เป็นกุศลจริงๆ หรือว่าตั้งใจจริงๆ ว่าเราบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา เพื่อหวังจะตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ก็ไม่เห็นจะมีอะไรหนัก ถ้าใช้อารมณ์นั้นให้มันเป็นปกติ
สำหรับวันนี้ก็จะพูดถึง การตัดโทสะ แล้วก็จะสรุปเรื่องอนาคามีเลย เพราะว่าเป็นของไม่ยาก การศึกษามาตามลำดับไม่ใช่ของหนัก ถ้าโดยวิธีปฏิบัติแล้ว ท่านไม่ได้แยกกันออกหลังจากที่ได้สกิทาคามีผลแล้ว วิธีพิจารณาเขาพิจารณารวมกันเลย เพราะว่าของเหล่านี้เราผสมกันมาแล้วตั้งแต่สกิทาคามี เป็นอันว่า อารมณ์สำหรับอนาคามีนี้ อย่าลืมว่าต้องใช้สมาธิหนัก คำว่า สมาธิหนัก ไม่ใช่นั่งหนัก ไม่ใช่ว่าไปนั่งตะบันกันตั้ง 9 ชั่วโมง 10 ชั่วโมง ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างนั้นเขาเรียกว่า โง่หนัก ไม่ใช่ฉลาดหนัก คำว่า ใช้สมาธิหนัก ก็หมายความว่าใช้ให้มันเป็นอารมณ์เป็นปกติ
อย่างในด้านอสุภสัญญา ตัดกามฉันทะ เราเห็นคนเห็นสัตว์ เห็นเราเห็นเขา เห็นใครทั้งหมดมันสกปรกไปเสียหมด จับอสุภกรรมฐานให้ซึ้งใจ ให้มันทรงอยู่ในใจ มันไม่คลายไปจากจิต ความรักในเพศ ความปราถนาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส มันจะมาจากไหน เพราะความปราถนาจริงๆ มันมาจากใจ ในเมื่อใจของเรามันตัดเสียแล้ว อะไรมันจะเกิด เนื้อแท้ของอารมณ์มันมีอยู่เท่านี้
ทีนี้มาว่ากันถึง ปฏิฆะ คือความกระทบกระทั่งในจิต คำว่า ปฏิฆะ นี่หมายความถึงว่า อารมณ์ที่สร้างอาการของจิตให้มันเกิดความไม่พอใจ กระทบนิดไม่ชอบใจ กระทบหน่อยไม่ชอบใจ หรือว่าในเมื่อเราผ่านพระสกิทาคามีมา ตอนนั้นจะรู้สึกว่าอารมณ์ใจของเรามีอภัยทานเป็นปกติ เมื่อมีอภัยทานเป็นปกติ เราให้อภัยกับคนที่มีความผิด
เว้นไว้แต่ว่าผิดระเบียบวินัย ระเบียบวินัย กฎข้อบังคับนี่เว้นไม่ได้ ถ้าเว้นแล้วเราเป็นคนขาดเมตตา เพราะว่าจะปล่อยเขาเลวเกินไปนั้นไม่ได้ ถ้าเรารักเราสั่งสอนไม่ได้ ตักเตือนไม่ได้ ก็ขับไปเสียเลย อย่างพระพุทธเจ้าท่านทำ ไม่ใช่ว่ามีเมตตาจิตแล้วก็เมตตากันเสียเรื่อย จะดีจะชั่วก็เมตตา เขาเมตตาแต่เฉพาะคนดีเท่านั้น และคนที่เอาดีไม่ได้นี่เขาไม่เมตตากัน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่เมตตา จะเห็นได้ว่าอย่าง พระฉันนะ เป็นคนหัวดื้อหัวด้าน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้พระฉันนะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ อยากดื้ออยากด้านก็ปล่อยส่งเดช สั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์เสีย ไม่คบค้าสมาคมกับพระฉันนะ
ในที่สุด พระฉันนะเกิดความน้อยใจว่า องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา นี่เคยเป็นคู่สหชาติกันมาตั้งแต่เกิด เคยเป็นสหายกันมาตั้งแต่เกิด เล่นกันมาตั้งแต่เด็ก เวลาจะออกมหาภิเนษกรมณ์ ก็ได้นายฉันนะเป็นคนจูงม้ากัณฐกหรือกัณฐะกะ ก็มีเราผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นคู่หูกันมาในกาลก่อน เวลานี้องค์สมเด็จพระชินวรสั่งให้สงฆ์ลงพรหมฑัณฑ์ไม่คบค้าสมาคมด้วย เกิดความน้อยใจ ในที่สุดก็ตัดอาลัยในชีวิต เอามีดโกนมาเชือดคอตาย แต่ทว่าการตายของพระฉันนะไม่ไร้ผล เพราะอาศัยที่ตนตัดอาลัยในชีวิต ไม่คิดว่าจะทำอะไรต่อไป เห็นว่าไม่มีใครเขาคบเราก็ไม่ควรจะอยู่ และการที่อยู่นี่มีความทุกข์นี่ เพราะอาศัยขันธ์ 5 เป็นปัจจัย มีความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 ในที่สุดพระฉันนะก็ตาย เมื่อตายแล้วก็อาศัยจิตที่หมดอาลัยในขันธ์ 5 ท่านก็ไปพระนิพพาน
อันนี้เป็นจริยาเมตตาอันหนึ่งที่เราจะพูดกันว่า พระพุทธเจ้าไม่เมตตาหรือก็ไม่ได้ ที่ว่าไม่เมตตาก็มองอย่างชาวบ้าน ว่าคนที่เป็นสหชาติคบค้าสมาคมกันมา ทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงให้สงฆ์ตัดขาดจากบุคคลนั้น ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ถ้าขืนเอาใจมันจะเลวมากเกินไป จะเอาดีไม่ได้ เลยต้องไม่เอาใจ ปล่อยให้รู้สึกตัวเสีย ว่าไอ้การประพฤติปฏิบัติแบบนั้นมันเลว ไม่คู่ควรกับผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์อาจจะทราบ เพราะว่ามีพระพุทธญาณพิเศษว่า ถ้าองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ลงโทษแบบนั้น พระฉันนะจะมีความรู้สึกตัว แล้วความจริงก็เป็นเช่นนั้น
นี่เป็นอันว่าคำว่าเมตตานี่ไม่ใช่ไปนั่งเอาใจกัน ดี ก็ให้ หมายความว่านักปกครอง มือหนึ่งต้องถือไม้เรียว อีกมือหนึ่งถือขนม ถ้าดีก็ให้รางวัล ถ้าไม่ดีก็ลงโทษ แล้วก็จะมาอ้างเหตุอ้างผลว่าเคยทำความดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ดูดูตัวอย่าง พระฉันนะ ซึ่งเป็นคู่สหชาติกันมาแท้ๆ เป็นเพื่อนเล่นกันมา ต่อมาก็เป็นนายสารถี เป็นคนสนิท จนกระทั่งองค์สมเด็จพระธรรมสามิสรจะเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ ก็ได้นายฉันนะคนนี้แหละเป็นคนจูงม้าออกมา แต่ทำไมสมเด็จพระบรมศาสดาจึงสั่งสงฆ์ลงพรหมฑัณฑ์ ถ้าจะพูดกันอย่างชาวบ้าน ก็เรียกว่าไม่มีความกตัญญูต่อเพื่อน แต่ถ้าหากว่าจะใช้ความเมตตาปรานี เพื่อนก็จะเลวเกินไป จะมีอเวจีเป็นที่ไป
ขอท่านทั้งหลายจำเรื่องนี้ไว้ให้ดี เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา จงอย่าคิดว่าจะต้องมีคนเอาใจเสมอไป พระธรรมและวินัยมีอยู่ ถ้าเรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระบรมครู ปฏิบัติอยู่ในธรรมะและวินัย ไม่มีใครเขาว่าอะไร นอกจากคนเลวเท่านั้นที่เขาจะว่า แต่วาจาของคนเลวเป็นวาจาที่ไร้สมรรถภาพยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เราจะไปสนใจอะไรกับวาจาของคนเลว ถ้าเราเชื่อคนเลวเราก็จะเลวไปด้วย เราไม่ควรจะบูชาวาจาของคนเลว ก่อนที่จะบูชาเขาก็ตูปฏิปทาเขาเสียก่อนว่า เขามีความประพฤติดีหรือมีความประพฤติเลว ถ้าเขามีความประพฤติเลว ยอมรับนับถือเขา คำว่าบูชาแปลว่า ยอมรับนับถือ เราก็เลวไปด้วย
อันนี้เป็นจุดหนึ่งที่จะตัดปฏิฆะ คือความรู้สึกในใจ ที่ไม่พอใจเกิดขึ้นกับเรา การตัดปฏิฆะ ความไม่ชอบใจนั้นมันตัดนิดเดียว ตัดตามพระบาลีว่า “อัตตนา โจทยัตตานัง” จงกล่าวโทษโจทก์ความผิดอารมณ์ของเราไว้เสมอ อย่าไปกล่าวโทษโจทก์ความผิดของบุคคลอื่น และก็จงทำใจให้แช่มชื่นด้วยอำนาจ เมตตา ความรัก ในพรหมวิหาร กรุณา ความสงสาร อารมณ์จิตชื่นบานปรารถนาในการเกื้อกูล มีอารมณ์อ่อนโยน หมายความว่าเห็นใครเขาดีพลอยยินดีด้วย แล้วก็น้อมเอาความดีที่เขากระทำแล้วมาประพฤติปฏิบัติ เรียกว่าลอกแบบความดีของเขามาใช้ อุเบกขา สิ่งใดที่มันเกิดกับเราถ้าเป็นเหตุให้ไม่พอใจ ถ้าสิ่งนั้นเป็นกฎธรรมดาของโลก เราก็วางเฉย เท่านี้มันก็หมดเรื่อง
แต่ว่าถ้าหมดเรื่องแค่นี้นะ มันก็หมดเรื่องแค่สมถภาวนา เราต้องต่ออีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องวิปัสสนาภาวนา ในด้านวิปัสสนาภาวนานี่ผมขอยึดอริยสัจเป็นสำคัญ เพราะว่าอริยสัจนี้เป็นธรรมะที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงบรรลุเอง ค้นคว้ามาเอง พระพุทธเจ้าจะเทศน์ที่ไหนก็ตาม ถ้าเทศน์ชาดก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงนำเอาเรื่องของชาดกมายกเป็นตัวอย่างแล้วก็ทรงสรุปด้วยอริยสัจ 4 ผมไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าสรุปด้วยอะไร สรุปด้วยอริยสัจ 4
ฉะนั้นวิปัสสนาญาณ ผมถืออริยสัจ 4 เป็นหลัก และอริยสัจ 4 ก็คือขันธ์ 5 หรือว่าวิปัสสนาญาณก็มองขันธ์ 5 นั่นเอง แต่ว่าคำอธิบายหรือคำพูดสำนวนแตกต่างกัน ถ้าเราฉลาดจะเห็นว่าอาการทั้ง 3 อย่างนี้ไม่ต่างกัน คือ อริยสัจ 4 ก็ดี การพิจารณาขันธ์ 5 ก็ดี หรือพิจารณาวิปัสสนาญาณ 9 ก็ดี เหมือนกัน ถ้าฉลาด ถ้าโง่มันก็ไม่เหมือน ถ้าฉลาดใช้ปัญญานิดเดียว ไม่ต้องสอนกันมากมันก็เหมือน ไอ้ประเภทที่บอกว่าไม่รู้เนี่ยเก็บเข้าไว้เสียบ้างเถอะ อะไรก็ไม่รู้ อย่างโน้นก็ไม่รู้ อย่างนี้ก็ไม่รู้ ไอ้คำว่าไม่รู้เนี่ยมันไม่น่าจะมี มันต้องแกล้งไม่รู้ เลวทำไมเราจึงรู้ รู้จักการทำความเลวเรารู้จัก ถ้าเราจะรู้จักการทำความดีเสียบ้างไม่ได้รึ
เป็นอันว่า เราต้องโทษใจของเราไว้เสมอ มองดูความเลวใจไว้เป็นสำคัญ อย่าดูดี แล้วก็มาน้อมใจว่าไอ้ปฏิฆะ ความไม่ชอบใจ ทำให้อารมณ์ใจขุ่นมัวนี่มันดีตรงไหน มันเกิดประโยชน์กับใครบ้าง มีใครคนไหนบ้างที่เป็นคนเจ้าอารมณ์ขึ้โมโหโทโส ไม่ชอบใจคนนั้น ไม่ชอบใจคนนี้ คนประเภทนี้ชาวโลกพวกไหนเขานิยม คนที่จะนิยมพวกนี้ก็คือคนบ้า ก็เพราะอาการอย่างนั้น มันเป็นอาการของคนบ้า คนดีเขาไม่คบ ที่จะชอบใจกันก็เฉพาะคนบ้าก็เท่านั้น นี่เราก็มานั่งนึกว่าไอ้บ้านี่เราชอบไหม คนโมโหโทโสนี่มันไร้สติสัมปชัญญะ อยากจะพูดอยากจะด่า อยากจะอะไรก็ว่าตามอารมณ์ อยากจะทำชั่วทำเลวทราม ก็ทำตามอารมณ์ ไม่ได้มองดูกำลังใจของชาวบ้านชาวเมือง ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ ตั้งใจสร้างแต่ความชั่วอย่างเดียว อย่างคนอื่นเขาสร้าง เราก็ทำลายมันเสีย เขาสร้างความดี เราก็สร้างความชั่ว เขาต้องการความสงบ เราก็ส่งเสียงรบกวน อันนี้มันเป็นอาการของความชั่ว ดีไหมล่ะ ไม่ดี ถ้าเขากวนใจเราบ้าง เราก็ไม่ชอบใจ ถ้าเราไปกวนใจเขาเขาจะชอบใจไหม ไม่มีใครเขาบูชาเราหรอก มันเลว แล้วก็นั่งด่าตัวเองไว้ทุกวันอย่าไปชมตัวเอง แล้วก็น้อมมาถึงอริยสัจควบกับพรหมวิหาร 4 หรือว่าควบกับกสิณ 4 ก็ได้
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 16.2 https://ppantip.com/topic/43155650