ต่อจาก หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 4.1 https://ppantip.com/topic/43208742
อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 4.2
ทีนี้ในเมื่ออารมณ์เขามันชั่วอย่างนี้แล้ว ทั้งชั่วทั้งโง่ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมไม่เป็นที่ถูกใจของคนดี คือไม่ทำเหตุของความดี ชอบสร้างเหตุของความชั่ว ในเมื่อเราไปกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่มีคนเลว มีความชั่วเป็นสรณะเราก็ยิ้ม ๆ นึกในใจก็ว่า โอหนอ เขาทั้งหลายเหล่านี้เป็นคนที่น่าสงสาร ว่าชาตินี้เขาเกิดมาแล้ว เขาก็มีทุกข์ เขายังจะแสวงหาอารมณ์แห่งความเกิดต่อไป แล้วการทำอะไรที่เป็นที่ขัดใจคน คดโกงเขาก็ดี ประทุษร้ายก็ดี อาการที่ทำอย่างนี้เป็นลักษณะอาการที่สร้างความทุกข์ให้เกิดแก่ตัว เพราะว่าประกาศตนเป็นศัตรูกับชาวบ้านทั้งหมด น่าสลดใจที่เขาไม่แสวงหาความสุข นี่เราคิดว่าในเมื่อเขาเป็นทาส เขาไม่ได้เป็นไท เราจะไปโกรธ อะไรกับทาส เพราะเจ้านายของเขาบังคับ เจ้านายก็คือกิเลสอารมณ์ของความชั่ว ตัณหาอารมณ์ของความชั่วที่อยากไม่มีสิ้นสุด อุปาทานยึดความชั่วว่าเป็นชองดี นี่มันโง่บัดซบ และอกุศลกรรมการที่ทำไม่ดีอย่างนี้ เพราะเจ้านายคือกิเลสบังคับ
เรารู้ว่าเขาเป็นคนโง่อย่างนี้ มีเจ้านายคือความชั่วบังคับเราก็มีอารมณ์ให้อภัยคิดว่าเชิญเถิด เมื่ออยากจะเลวก็เชิญเลวไปตามอัธยาศัย เราจะไม่ยอมเลวด้วย ไม่ช่วยกระพือความเลวของเราให้มันสูงขึ้น เขาจะด่าก็เชิญด่า เขาจะนินทาก็เชิญนินทา ทั้งนี้แพราะอะไร เพราะว่าการด่า การนินทาของเขาไม่ศักดิ์สิทธิ์ คนที่ด่าคนที่นินทาคนเป็นคนเลว ในเมื่อเขาอยากจะเลวก็เชิญเลวไปแต่คนเดียว
ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ พราหมณ์ 3-4 คนที่เรื่ยงลำดับกันมาด่าพระพุทธเจ้าต่อหน้าธารกำนัล คือต่อหน้าพระอริยสาวกนับแสน เมื่อพระพุทธเจ้าถูกด่าชี้หน้าด่า พระองค์ก็ทรงนิ่งมีอารมณ์ปกติ ไม่ใช่อดกลั้นใจ ใจเป็นปกติ เมื่อเขาด่าเสร็จ เหนื่อยเต็มทีแล้ว จึงกล่าวแก่องค์สมเด็จพระชินสีห์ว่า พระสมณโคดมแกแพ้ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าถามว่าแพ้ตรงไหน เขาบอกว่าแพ้ที่ฉันด่าแก แกไม่เถียงฉันนะซิ แกไม่ด่าตอบ พระพุทธเจ้าก็ตรัส ว่า พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ เราคิดว่าใครด่าเรา แล้วถ้าเราด่าคนนั้นตอบ เราคิดว่าเราเลวกว่าคนที่เขาด่าเราแล้ว นี่ถ้อยคำขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วพูดออกไปด้วยอารมณ์ปกติ ไม่มีความโกรธ
ในที่สุดพราหมณ์คนนั้นกลับได้คิดว่า เราเลวไปเสียแล้ว จึงได้ขอขมาโทษแด่องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ขอเป็นพระสาวก พระพุทธเจ้าทรงสอนแนะนำให้ละความโกรธ ชั่วขณะเดียว ท่านก็เป็นอรหัตผล นี่เห็นไหม
นินทา ปสังสา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การจะดีจะชั่วไม่ใช่อยู่ที่ปากชาวบ้าน เราจะดีหรือว่าเราจะเลว มันอยู่ที่การกระทำของเราเป็นสำคัญ
องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ให้อภัยทานได้ฉันใด จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะถือเอาตามแบบพระพุทธเจ้า ถ้าเขาด่า เขานินทาเรา เราก็คิดว่าซากศพมันด่ามันนินทาเรา ถ้าเขาทำอะไรไม่ชอบใจ เราก็คิดว่าศพที่เน่ามันทำ มันเป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา เราปล่อยใจมีอารมณ์สบายไม่ยึดถืออารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสรณะจิตมันก็เป็นสุข แค่นี้เราก็เป็นพระอนาคามีเป็นของไม่ยาก
และหลังจากนั้นไปเราก็มานั่งพิจารณาว่าทุกข์นี้ เพราะอาศัยความเกาะเป็นเหตุ เกาะปัจจัยของความทุกข์ เราก็ไม่เกาะมันอีก ส่วนที่เราจะพึงได้ต่อไปก็คืออรหัตผล หมั่นน้อมจิตถึงองค์สมเด็จพระทศพลว่า การเป็นอรหันต์มีอะไรบ้างเป็นเขต ดูใจความที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงตรัสกับพราหมณ์ พราหมณ์ถามเรียงชื่อของกิเลสหลายสิบอย่าง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่ากิเลสทั้งหมดที่ท่านถามมานี่จะตัดได้เพราะ
1. การเห็นว่าร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เพราะว่าร่างกายนี่มันเป็นธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟเข้ามาประชุมกัน
2. อาการรูป 32 อย่าง ที่เรียกว่าอาการ 32 ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายเป็นโรคนิทธัง มันเป็นรังของโรค คนมีร่างกายก็ต้องมีโรค ปภังคุนัง มันจะต้องเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา คนเราถ้ายังมีร่างกายอยู่ ยังยึดถือร่างกายอยู่ บุคคลประเภทนี้หาความสุขไม่ได้ ถ้าเราวางภาระร่างกายเสียแล้วเมื่อไร เมื่อนั้นแหละเราเป็นสุข ตามที่พระท่านบังสุกุลว่า
อนิจจา วตะ สังขารา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มันไม่เที่ยงตรงไหน ที่มันเคลื่อนไปหาความทุกข์ทุกวัน มันแก่ลงไปทุกวัน มันทรุดโทรมทุกวัน มันมีอารมณ์ภายนอกที่มากระทบกระทั่งให้ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างทุกวัน ในที่สุดมันก็ตาย
อุปปาทวยะธัมมิโน เมื่อมีความเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป นี่หมายความว่า มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว เวลาตายต่อไปข้างหน้า มันก็มีการเสื่อมไปในที่สุด
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปคือ มีความตายก็หมายความว่า มันไม่เที่ยง มันไม่เที่ยงแล้วก็ก้าวไปหาความแก่ มันเสื่อมไปทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดมันก็ดับไป
ข้อสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า
เตสัง วูปสโม สุโข ขึ้นชื่อว่าเข้าไปสงบกายนั่นชื่อว่าเป็นสุข มันเป็นสุขตอนไหน เป็นสุขที่ใจเราสงบกายได้ คือใจเราไม่ติดขันธ์ 5 ใจของเราไม่ติดในกาย ไม่พอใจ คือ ไม่รักในร่างกายของเรา จะยึดถือมันเป็นสรณะต่อไป มีความรู้สึกว่าร่างกายของเรานี่มันทรุดโทรมไปตามลำดับ ในที่สุดมันก็พัง เมื่อมันพังแล้วเราคือจิตใจถ้ายังเลวอยู่ ก็ต้องถือภพถือชาติต่อไป เราไม่ต้องการ ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลว ๆ อย่างนี้เป็นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุใด ๆ ก็ดี อันเป็นสมบัติของโลกนี้ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการความสุขคืออารมณ์ปกติ
อารมณ์ปกติเป็นอย่างไร อารมณ์ที่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา แล้วก็ไม่ยอมรับนับถือกฎธรรมดาที่มันจะมาเป็นเรา เป็นของเราต่อไป กฎธรรมดามีอะไร สมบัติของโลกมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และธรรมดาของมันก็มีการเสื่อม คนหรือว่าสัตว์แก่ลงไปทุกวัน วัตถุธาตุต่าง ๆ ต้นไม้บ้านเรือนโรงมันก็แก่ไปทุกวัน เสื่อมไปทุกวัน ค่อย ๆ ทำลายตัวของมันมองไปทุกวัน ทุกขัง ถ้าเราเอาจิตเข้าไปจับว่ามันจะต้องทรงตัว มันก็เป็นทุกข์ เราก็หลบทุกข์มันเสียว่าธรรมดาของเธอเป็นอย่างนี้ อยากจะเป็นก็เชิญเป็นไปเถอะ เธออยากจะแก่ก็เชิญแก่ เธออยากจะป่วยก็เชิญป่วย เธออยากจะตายก็เชิญตาย เธอกับฉันนี้ขอหย่าขาดกัน มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ขึ้นชื่อว่าร่างกายคือ ขันธ์ 5 อย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก เราไม่มีความปรารถนา
แล้วเราก็ตัดอารมณ์ความรักในระหว่างเพศ ไปรักหอกอะไรอีก เห็นเป็นซากศพยังจะรัก นี่มันก็ซวย
เราก็ตัดอารมณ์ของความโลภ เมื่อรู้ว่าคนทุกคนมีสภาพเหมือนซากศพจะต้องตายในวันหน้า แล้วทำไมจึงจะทะเยอทะยานอยากจะรวย คำว่า รวย ในที่นี้หมายความว่าโลภ โลภทะเยอทะยานคดโกงเขา ถ้าหากินในสัมมาอาชีวะไม่ชื่อว่าโลภ แล้วเราก็ไม่ต้องการความโกรธ จะโกรธอะไร เพราะคนทุกคนเกิดมาเป็นทาส ถ้าโกรธก็ต้องโกรธเจ้านายที่บังคับบัญชา คือกิเลสตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรมเราไม่ยอมคบกับกิเลสคืออารมณ์ของความชั่ว ตัณหาคือความทะยานอยากเกินไป อุปาทานอารมณ์ที่ยึดว่าถือว่าความชั่วเป็นของดี อกุศลกรรม การกระทำความชั่วทุกอย่าง เราไม่ทำ นี่เรียกว่าเราไม่คบ
อารมณ์จิตของท่านมีเท่านี้ก็ชื่อว่า จบกิจพระพุทธศาสนา มีอารมณ์เบา มีใจสบาย ไม่ผูกรัดกับสิ่งใด ๆ มีอารมณ์ใจเป็นสุข มีความรู้สึกอยู่อย่างเดียวว่า ทุกอย่างที่เราประสบมันเป็นของธรรมดา จิตใจโปร่ง มีความสบาย ตอนนี้ท่านเรียกว่า อัพยากฤต คือ อารมณ์ของพระนิพพานคือใจเป็นสุข เห็นอะไรมันเกิดมันก็ไม่ทุกข์ มันก็มีแต่ความสุข สบายใจ สดชื่น หรรษา ไม่เกาะหน้า ไม่เกาะหลังคือจิตไม่ติดอยู่ในอารมณ์ของความรัก ไม่ติดอารมณ์ของความโลภ ความโกรธ และความหลง มีใจโปร่ง มีความสุขที่สุด ใจสบายไม่มีอะไรเข้ามาข้องใจ แม้แต่นิดเดียว อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหัตผล
เอาล่ะบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้ศึกษา เวลานี้การแนะนำกันก็หมดเวลาแล้วก็แนะนำเข้าถึงขั้นอรหันต์พอดี ก็จบลงแค่นี้
สำหรับต่อแต่นี้ไปขอบรรคาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นอยู่ในอิริยาบถที่ท่านปรารถนาจนกว่าจนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร
สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 4.2
อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 4.2
ทีนี้ในเมื่ออารมณ์เขามันชั่วอย่างนี้แล้ว ทั้งชั่วทั้งโง่ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมไม่เป็นที่ถูกใจของคนดี คือไม่ทำเหตุของความดี ชอบสร้างเหตุของความชั่ว ในเมื่อเราไปกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่มีคนเลว มีความชั่วเป็นสรณะเราก็ยิ้ม ๆ นึกในใจก็ว่า โอหนอ เขาทั้งหลายเหล่านี้เป็นคนที่น่าสงสาร ว่าชาตินี้เขาเกิดมาแล้ว เขาก็มีทุกข์ เขายังจะแสวงหาอารมณ์แห่งความเกิดต่อไป แล้วการทำอะไรที่เป็นที่ขัดใจคน คดโกงเขาก็ดี ประทุษร้ายก็ดี อาการที่ทำอย่างนี้เป็นลักษณะอาการที่สร้างความทุกข์ให้เกิดแก่ตัว เพราะว่าประกาศตนเป็นศัตรูกับชาวบ้านทั้งหมด น่าสลดใจที่เขาไม่แสวงหาความสุข นี่เราคิดว่าในเมื่อเขาเป็นทาส เขาไม่ได้เป็นไท เราจะไปโกรธ อะไรกับทาส เพราะเจ้านายของเขาบังคับ เจ้านายก็คือกิเลสอารมณ์ของความชั่ว ตัณหาอารมณ์ของความชั่วที่อยากไม่มีสิ้นสุด อุปาทานยึดความชั่วว่าเป็นชองดี นี่มันโง่บัดซบ และอกุศลกรรมการที่ทำไม่ดีอย่างนี้ เพราะเจ้านายคือกิเลสบังคับ
เรารู้ว่าเขาเป็นคนโง่อย่างนี้ มีเจ้านายคือความชั่วบังคับเราก็มีอารมณ์ให้อภัยคิดว่าเชิญเถิด เมื่ออยากจะเลวก็เชิญเลวไปตามอัธยาศัย เราจะไม่ยอมเลวด้วย ไม่ช่วยกระพือความเลวของเราให้มันสูงขึ้น เขาจะด่าก็เชิญด่า เขาจะนินทาก็เชิญนินทา ทั้งนี้แพราะอะไร เพราะว่าการด่า การนินทาของเขาไม่ศักดิ์สิทธิ์ คนที่ด่าคนที่นินทาคนเป็นคนเลว ในเมื่อเขาอยากจะเลวก็เชิญเลวไปแต่คนเดียว
ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ พราหมณ์ 3-4 คนที่เรื่ยงลำดับกันมาด่าพระพุทธเจ้าต่อหน้าธารกำนัล คือต่อหน้าพระอริยสาวกนับแสน เมื่อพระพุทธเจ้าถูกด่าชี้หน้าด่า พระองค์ก็ทรงนิ่งมีอารมณ์ปกติ ไม่ใช่อดกลั้นใจ ใจเป็นปกติ เมื่อเขาด่าเสร็จ เหนื่อยเต็มทีแล้ว จึงกล่าวแก่องค์สมเด็จพระชินสีห์ว่า พระสมณโคดมแกแพ้ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าถามว่าแพ้ตรงไหน เขาบอกว่าแพ้ที่ฉันด่าแก แกไม่เถียงฉันนะซิ แกไม่ด่าตอบ พระพุทธเจ้าก็ตรัส ว่า พราหมณะ ดูก่อนพราหมณ์ เราคิดว่าใครด่าเรา แล้วถ้าเราด่าคนนั้นตอบ เราคิดว่าเราเลวกว่าคนที่เขาด่าเราแล้ว นี่ถ้อยคำขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วพูดออกไปด้วยอารมณ์ปกติ ไม่มีความโกรธ
ในที่สุดพราหมณ์คนนั้นกลับได้คิดว่า เราเลวไปเสียแล้ว จึงได้ขอขมาโทษแด่องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ขอเป็นพระสาวก พระพุทธเจ้าทรงสอนแนะนำให้ละความโกรธ ชั่วขณะเดียว ท่านก็เป็นอรหัตผล นี่เห็นไหม นินทา ปสังสา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การจะดีจะชั่วไม่ใช่อยู่ที่ปากชาวบ้าน เราจะดีหรือว่าเราจะเลว มันอยู่ที่การกระทำของเราเป็นสำคัญ
องค์สมเด็จพระทรงธรรม์ให้อภัยทานได้ฉันใด จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะถือเอาตามแบบพระพุทธเจ้า ถ้าเขาด่า เขานินทาเรา เราก็คิดว่าซากศพมันด่ามันนินทาเรา ถ้าเขาทำอะไรไม่ชอบใจ เราก็คิดว่าศพที่เน่ามันทำ มันเป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา เราปล่อยใจมีอารมณ์สบายไม่ยึดถืออารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสรณะจิตมันก็เป็นสุข แค่นี้เราก็เป็นพระอนาคามีเป็นของไม่ยาก
และหลังจากนั้นไปเราก็มานั่งพิจารณาว่าทุกข์นี้ เพราะอาศัยความเกาะเป็นเหตุ เกาะปัจจัยของความทุกข์ เราก็ไม่เกาะมันอีก ส่วนที่เราจะพึงได้ต่อไปก็คืออรหัตผล หมั่นน้อมจิตถึงองค์สมเด็จพระทศพลว่า การเป็นอรหันต์มีอะไรบ้างเป็นเขต ดูใจความที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงตรัสกับพราหมณ์ พราหมณ์ถามเรียงชื่อของกิเลสหลายสิบอย่าง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่ากิเลสทั้งหมดที่ท่านถามมานี่จะตัดได้เพราะ
1. การเห็นว่าร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เพราะว่าร่างกายนี่มันเป็นธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟเข้ามาประชุมกัน
2. อาการรูป 32 อย่าง ที่เรียกว่าอาการ 32 ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายเป็นโรคนิทธัง มันเป็นรังของโรค คนมีร่างกายก็ต้องมีโรค ปภังคุนัง มันจะต้องเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา คนเราถ้ายังมีร่างกายอยู่ ยังยึดถือร่างกายอยู่ บุคคลประเภทนี้หาความสุขไม่ได้ ถ้าเราวางภาระร่างกายเสียแล้วเมื่อไร เมื่อนั้นแหละเราเป็นสุข ตามที่พระท่านบังสุกุลว่า
อนิจจา วตะ สังขารา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มันไม่เที่ยงตรงไหน ที่มันเคลื่อนไปหาความทุกข์ทุกวัน มันแก่ลงไปทุกวัน มันทรุดโทรมทุกวัน มันมีอารมณ์ภายนอกที่มากระทบกระทั่งให้ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างทุกวัน ในที่สุดมันก็ตาย
อุปปาทวยะธัมมิโน เมื่อมีความเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป นี่หมายความว่า มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว เวลาตายต่อไปข้างหน้า มันก็มีการเสื่อมไปในที่สุด
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปคือ มีความตายก็หมายความว่า มันไม่เที่ยง มันไม่เที่ยงแล้วก็ก้าวไปหาความแก่ มันเสื่อมไปทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดมันก็ดับไป
ข้อสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า
เตสัง วูปสโม สุโข ขึ้นชื่อว่าเข้าไปสงบกายนั่นชื่อว่าเป็นสุข มันเป็นสุขตอนไหน เป็นสุขที่ใจเราสงบกายได้ คือใจเราไม่ติดขันธ์ 5 ใจของเราไม่ติดในกาย ไม่พอใจ คือ ไม่รักในร่างกายของเรา จะยึดถือมันเป็นสรณะต่อไป มีความรู้สึกว่าร่างกายของเรานี่มันทรุดโทรมไปตามลำดับ ในที่สุดมันก็พัง เมื่อมันพังแล้วเราคือจิตใจถ้ายังเลวอยู่ ก็ต้องถือภพถือชาติต่อไป เราไม่ต้องการ ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลว ๆ อย่างนี้เป็นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุใด ๆ ก็ดี อันเป็นสมบัติของโลกนี้ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการความสุขคืออารมณ์ปกติ
อารมณ์ปกติเป็นอย่างไร อารมณ์ที่ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา แล้วก็ไม่ยอมรับนับถือกฎธรรมดาที่มันจะมาเป็นเรา เป็นของเราต่อไป กฎธรรมดามีอะไร สมบัติของโลกมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และธรรมดาของมันก็มีการเสื่อม คนหรือว่าสัตว์แก่ลงไปทุกวัน วัตถุธาตุต่าง ๆ ต้นไม้บ้านเรือนโรงมันก็แก่ไปทุกวัน เสื่อมไปทุกวัน ค่อย ๆ ทำลายตัวของมันมองไปทุกวัน ทุกขัง ถ้าเราเอาจิตเข้าไปจับว่ามันจะต้องทรงตัว มันก็เป็นทุกข์ เราก็หลบทุกข์มันเสียว่าธรรมดาของเธอเป็นอย่างนี้ อยากจะเป็นก็เชิญเป็นไปเถอะ เธออยากจะแก่ก็เชิญแก่ เธออยากจะป่วยก็เชิญป่วย เธออยากจะตายก็เชิญตาย เธอกับฉันนี้ขอหย่าขาดกัน มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ขึ้นชื่อว่าร่างกายคือ ขันธ์ 5 อย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก เราไม่มีความปรารถนา
แล้วเราก็ตัดอารมณ์ความรักในระหว่างเพศ ไปรักหอกอะไรอีก เห็นเป็นซากศพยังจะรัก นี่มันก็ซวย
เราก็ตัดอารมณ์ของความโลภ เมื่อรู้ว่าคนทุกคนมีสภาพเหมือนซากศพจะต้องตายในวันหน้า แล้วทำไมจึงจะทะเยอทะยานอยากจะรวย คำว่า รวย ในที่นี้หมายความว่าโลภ โลภทะเยอทะยานคดโกงเขา ถ้าหากินในสัมมาอาชีวะไม่ชื่อว่าโลภ แล้วเราก็ไม่ต้องการความโกรธ จะโกรธอะไร เพราะคนทุกคนเกิดมาเป็นทาส ถ้าโกรธก็ต้องโกรธเจ้านายที่บังคับบัญชา คือกิเลสตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรมเราไม่ยอมคบกับกิเลสคืออารมณ์ของความชั่ว ตัณหาคือความทะยานอยากเกินไป อุปาทานอารมณ์ที่ยึดว่าถือว่าความชั่วเป็นของดี อกุศลกรรม การกระทำความชั่วทุกอย่าง เราไม่ทำ นี่เรียกว่าเราไม่คบ
อารมณ์จิตของท่านมีเท่านี้ก็ชื่อว่า จบกิจพระพุทธศาสนา มีอารมณ์เบา มีใจสบาย ไม่ผูกรัดกับสิ่งใด ๆ มีอารมณ์ใจเป็นสุข มีความรู้สึกอยู่อย่างเดียวว่า ทุกอย่างที่เราประสบมันเป็นของธรรมดา จิตใจโปร่ง มีความสบาย ตอนนี้ท่านเรียกว่า อัพยากฤต คือ อารมณ์ของพระนิพพานคือใจเป็นสุข เห็นอะไรมันเกิดมันก็ไม่ทุกข์ มันก็มีแต่ความสุข สบายใจ สดชื่น หรรษา ไม่เกาะหน้า ไม่เกาะหลังคือจิตไม่ติดอยู่ในอารมณ์ของความรัก ไม่ติดอารมณ์ของความโลภ ความโกรธ และความหลง มีใจโปร่ง มีความสุขที่สุด ใจสบายไม่มีอะไรเข้ามาข้องใจ แม้แต่นิดเดียว อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหัตผล
เอาล่ะบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้ศึกษา เวลานี้การแนะนำกันก็หมดเวลาแล้วก็แนะนำเข้าถึงขั้นอรหันต์พอดี ก็จบลงแค่นี้
สำหรับต่อแต่นี้ไปขอบรรคาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นอยู่ในอิริยาบถที่ท่านปรารถนาจนกว่าจนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics