หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 3.1

อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 3.1

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับวันนี้ก็คงจะพูดกันเรื่องอสุภสัญญา หรือเรื่องอสุภกรรมฐานต่อไปอีก แต่ว่าก่อนที่จะพูดเรื่องอสุภกรรมฐาน ก็ขอทวนความทรงจำสักนิดหนึ่ง เพราะว่าปัญหาต่าง ๆ ในการปฏิบัติพระกรรมฐานมันมันเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในวัดของเรา คือมีความลงสัยในเรื่องที่ไม่ควจะสงสัย ไอ้อย่างนี้ผมไม่ตอบให้ใคร แล้วก็ไม่บอกให้ใครทราบ ไอ้เรื่องที่ไม่ควรนี่เพราะว่าการปฏิบัติเรามีหลักมีเกณฑ์ มีกำหนดเป็นเครื่องรู้ การใช้อารมณ์นอกรีตนอกรอยอย่างนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว จะเป็นขั้น ปทปรมะ ที่สอนไม่ได้ ฉะนั้นขอท่านทั้งหลายเมื่อฟังไปจงใช้ปัญญาคิด

แล้วประการที่ 2 มีบางคนมักชอบจะมาถามว่าการปฏิบัติอย่างนี้ จะสำเร็จมรรคผล อย่างนั้น อย่างนี้ไหม เรื่องนี้ แม้แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา คือพระพุทธเจ้าก็ยังไม่เคยบอกใคร เป็นแต่เพียงองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสว่า อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น เมื่อจะได้ดีหรือได้เลวมันก็เป็นเรื่องของผู้รับฟังและผู้ปฏิบัติ

ฉะนั้นต่อนี้ไป จะแนะนำหัวข้อไว้เพื่อการทรงจำ แล้วก็จงจำกันไว้อย่าลืม ความจริงศึกษากันมาน่ะศึกษากันมามาก แต่ไม่ได้ใช้ปัญญาไม่ได้ใช้สติ สัมปชัญญะเป็นเครื่องจดจำ ว่าความมุ่งหมายพระกรรมฐานนี่เขาทำกันเพื่ออะไร นี่ต่อไปจงจำกันไว้ให้ดีว่า การปฏิบัติพระกรรมฐาน เราต้องการพระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตผล นี่ความมุ่งหมายมีเท่านี้ สำหรับอารมณ์แห่งกรรมฐานที่เกิดขึ้นให้สนใจตามนี้ อารมณ์อย่างอื่นจงอย่าสนใจ

จงมีความสนใจว่า ในสังโยชน์ 3 เบื้องต้นคือ
1.สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้มันเป็นเรา เป็นของเรา ว่าเราเป็นของร่างกาย ร่างกายเป็นของเราหรือเปล่า ถ้าเรายังมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันยังเป็นเรา เป็นของเรา หรือเรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา ยังมีความห่วงใยในร่างกาย ถือว่าความตายเป็นเรื่องผิดปกติ เป็นที่น่าเสียดายร่างกายอย่างนี้ชื่อว่าเรายังไม่ได้อะไรเลยในการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าความรู้สึกของเรามีอยู่ว่าความตายมันเป็นของธรรมดา เราเกิดมาอย่างนี้ มันมาเกิดเพื่อตายคือเมื่อความเกิดมีมาแล้ว เราก็มีความแก่เป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องมีความป่วยไข้ไม่สบายเป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะล่วงพ้นความป่วยไข้ไม่สบายไปได้ เราจะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา เราไม่มีโอกาสที่จะยึดถือของรักของชอบใจไว้เป็นเรา เป็นของเราตลอดกาล ตลอดสมัย เรามีกรรมเป็นของตน ทำความดีจะได้ดี ทำความชั่วจะมีผลเป็นทุกข์ คือทำความดีมีผลเป็นสุข ทำความชั่วมีผลเป็นทุกข์แล้วก็มีความรู้สึกอยู่สมยว่า เรานี่เดินทางเข้าไปหาความตายทุกวันในเมื่อความตายมันจะมาถึงเรา เราจะต้องหาที่พึ่ง อย่างน้อยที่สุดเราก็ไม่ต้องการตกอบายภูมิคือเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน

2.การที่เราจะไม่ตกอบายภูมิได้ ก็คือ 1. เรามีความเคารพใน พระพุทธเจ้า 2. มีความเคารพในพระธรรม 3. มีความเคารพในพระอริยสงฆ์ แล้วก็ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ

3.ศีล 5 เราจะมีศีล 5 เป็นปกติ เราจะไม่ยอมละเมิดศีล 5 โดยเจตนา ในการเดินไปไม่เห็นสัตว์ ไม่เห็นมด ไม่เห็นปลวก นี่มันเหยียบตายนี่มันไม่บาป ถ้าเห็นแล้วเราก็ต้องยั้ง ถ้ายั้งไม่ทันมันก็ไม่มีเจตนาจะฆ่ามัน ก็ไม่เป็นไร เป็นอันว่าเราจะมีกำลังใจทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์ และนอกจากนั้น มีอารมณ์จับพระนิพพานเป็นอารมณ์

นี่จุดนี้เป็นจุดแรกในการเจริญพระกรรมฐาน ที่เราต้องการคือ พระโสดาบัน ฉะนั้นอารมณ์อย่างอื่นที่มันเกิดขึ้น จงปล่อยมันไปเอากำลังใจของเราจับไว้ในจุดนี้ อย่าปล่อยจิตให้มันยุ่งชุ่มซ่ามไปอย่างอื่น โดยมากมักจะมาถามกันหลาย ๆ ราย เรียกว่าคนประจำบ้าง คนไม่ประจำบ้าง เข้ามาถามกันอยู่เสมอ ว่าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น อาการอย่างนั้นเกิดขึ้นมันเป็นอะไร อันนี้เบื่อที่จะรับฟังฟังคือ ไม่อยากจะรับฟังแล้ว ไม่อยากจะตอบ ไม่อยากจะพูดด้วย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าสอนกันมาพอแต่ว่ามี นิสัยไม่จำ ถ้าสอนกันอย่างนี้ยังมีนิสัยไม่จำ แล้วเมื่อไหร่มันจะได้ดีกัน

จงจำไว้ว่า การเจริญพระกรรมฐานน่ะ เรามุ่งหมายอย่างเดียวคือความเป็นพระอริยเจ้า ไอ้ภาพต่าง ๆ ที่เห็น อารมณ์ต่าง ๆ ที่ฝัน อาการต่าง ๆ ที่เกิดมา มันจะเป็นอย่างไง ก็ช่างมันเถอะ เรามองจิตของเราไว้ว่า จิตของเราเวลานี้นะ เราลืมความตายหรือเปล่า มีความประมาทในชีวิตไหม มีความเคารพในพระรัตนตรัยแน่นอนหรือเปล่า มีศีล 5 บริสุทธิ์ไหม มีอารมณ์รักพระนิทพานหรือเปล่า เอาจิตจับมันไว้แค่นี้พอ ถ้าเจริญกันจริง ๆ เขาเอาแค่นี้พอ ไอ้เรื่องอารมณ์ต่าง ๆ ที่มันผ่านเข้ามานี่อย่าไปยุ่งมันนัก ถ้าเอาจิตไปยุ่งกับอาการต่าง ๆ ทางร่างกายบ้าง อาการต่างๆ เข้ามาทางด้านจิตใจบ้าง ก็ยังถือว่าเป็นการถือมงคลตื่นข่าว ยังไม่ได้อะไรเลยลักนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา นี่เป็นจุดแรกที่เราต้องการ

และประการที่ 2 เมื่ออารมณ์จิตทรงแบบนี้แล้ว ทำจิตให้เห็นโทษแห่งโลภะคือความโลภ เห็นโทษโทสะคือความโกรธ เห็นโทษของโมหะคือความหลง ได้อธิบายกันมาแล้วเยอะแยะ จนกระทั่งจิตใจของเราบรรเทาความโลภ คือความทะเยอทะยานในการอยากร่ำรวยน้อยลงไป อารมณ์โกรธกระทบกระทั่งไม่ชอบใจน้อยลงไป ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มันก็มีบ้าง การหลงคิดว่าชีวิตของเราจะทรงอยู่ ลูกของเรา หลานของเรา เหลนของเรา ทรัพย์สินต่าง ๆ มันเป็นเราเป็นของเรา เราไม่อยากจะจากมัน อันนี้คลายไป ถือว่าการเกิดการตายเป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะเลี้ยงลูกเลี้ยงเต้า เลี้ยงหลาน เลี้ยงเหลน รักษาทรัพย์สินไว้ได้ตลอดกาลตลอดสมัย เมื่อเวลามีชีวิตเราก็ต้องใช้ เราก็ปกครองหาเลี้ยง เราตายแล้วก็แล้วกันไป เราทำหน้าที่ของเราให้ที่สุด คิดว่าจิตของเรานี้ เราต้องการอย่างเดียวคือ พ้นจากขันธ์ 5 ไอ้ที่เรียกกันว่าร่างกาย ไม่ต้องการจะเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร เรามีพระนิพพานเป็นที่ไป กำลังใจของเรามีอาการให้อภัย ที่เรียกกันว่าอภัยทาน คือให้อภัยแก่คนที่ทำความผิด เว้นไว้แต่ผิดระเบียบวินัย ผิดระเบียบวินัยกฎข้อบังดับอย่างนี้ต้องลงโทษทันที เพราะว่าแม้แต่องค์สมเด็จพระชินสีห์ก็ทำอย่างนั้น ที่ทำอย่างนั้นก็เพราะว่าต้องลงโทษ เพราะว่าต้องการให้คนนั้นป็นคนดี ไม่ใช่คนเลว ในอาการอย่างนี้ เป็นอารมณ์ของพระสกิทาคามี

ถ้าจิตของเราหมดจากความกำหนัดยินดีในระหว่างเพศ เห็นเพศตรงกันข้ามหมดความรู้สึก เห็นหรือไม่เห็นความรู้สึกในระหว่างเพศมันก็ไม่มี อารมณ์ของเราทมตจากปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจคืยความไม่ชอบใจ สะดุดใจให้เกิดความโกรธ ไม่มีสำหรับเรา อาการอย่างนี้ เป็นอาการของพระอนาคามี

แล้วก็จิตของเราไม่หลงใหลใฝ่ฝันในรูปฌาน และอรูปฌาน ไม่มีมานะถือตัวถือตน จิตไม่ฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อื่น มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ปกติ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปี ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ อย่างนี้เราไม่ต้องการความเกิดอีก ความรู้สึกใด ๆ ไม่มีการกระทบกระทั่งจิตไม่มี มีอารมณ์เบา ใครจะมาดี ใครจะมาเลวอย่างไร ก็รู้สึกว่ามันเป็นของธรรมดา ไม่สนใจกับโลกีย์วิสัยทั้งหมดอย่างนี้ชื่อว่า เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

ฉะนั้นขอทุกท่านที่สงสัยก็ดี หรือว่ายังไม่สงสัยก็ดี โปรดจำคำนี้ไว้ แล้วเอาจิตของเราตั้งไว้ เฉพาะอารมณ์ 4 ขั้นนราเท่านั้น อารมณ์อย่างอื่นมันจะมาแบบไหนน่ะช่างมัน จะมัวไปนั่งตอบคำถามคำสงสัยนี่ก็ชักจะเบื่อ ๆ เต็มที สอนกันขนาดนี้แล้ว เรื่องสังโยชน์ 10 นี่ ผ่านกันมาไม่รู้กี่ร้อยครั้ง มันน่าจะจำ น่าจะเอาจิตเข้าไปจับ สอนทีไรก็ตามจะต้องสอนเกี่ยวกับสังโยชน์ทุกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีความจำกัน นี่แสดงว่าเลวเต็มที่ อย่างนี้แคะไม่ไหวแล้วสนิม

 มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 3.2 https://ppantip.com/topic/43207061
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่