อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 1.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปขอท่านทั้งหลายได้โปรดสดับคำแนะนำเจริญ พระกรรมฐาน สำหรับในวันนี้จะขอแนะนำในเรื่อง
อสุภกรรมฐาน คำว่า
อสุภ แปลว่า ไม่งาม คือว่าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความเป็นจริง สำหรับอสุภกรรมฐานนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็น 10 อย่างด้วยกัน แต่ทว่าสำหรับวิธีปฏิบัติไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแยกออกเป็น 10 อย่าง ตามแนวทาง ปฏิบัติที่ปฏิบัติกันมาก็ปฏิบัติรวบกันทีเดียว คือว่าตามหลักวิชาที่ศึกษานั้นออย่างหนึ่ง เวลาปฏิบัติจริง ๆ นั้น เขาทำกันอย่างหนึ่ง สำหรับอสุภกรรมฐานนี้ เป็นกรรบฐานที่มีความสำคัญถ้าหากว่าท่านผู้ใดทรงอารมณ์ใจในด้านอสุภกรมฐานถึงฌาน 4 แล้วก็ใช้วิธีวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป ปัจจัยที่จะพึงได้หรือว่าผลที่จะพึงได้ อย่างเลวที่สุดอารมณ์จิตของท่านผู้นั้นจะเข้าถึงพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ทันที ฉะนั้น กรรมฐานกองนี้จึงจัดว่าเป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญที่สุดหมวดหนึ่ง
แต่ทว่าสำหรับอสุภกรรมฐานนี้ จะเหมาะเฉพาะสำหรับท่านที่มีจิตในราคจริตเท่านั้น นี่ว่ากันถึงเบื้องต้นนะ เพราะว่าการจะเริ่มใช้ในเบื้องต้น เหมาะสำหรับท่านที่มีจิตน้อมไปอยู่ในราคจริต แต่ทว่าจริตของคนเรานี่ ขอบรรตาท่านนักศึกษาทั้งหลายโปรดทราบว่า คนเรานี่มีจริตจริง ๆ ครบ 6 อย่าง แต่ว่าอะไรจะพึงมาหาเราก่อนเท่านั้น หรือว่าอะไรจะนำหน้า ขอให้พิจารณาอารมณ์ของเราว่า
หนึ่งราคจริต อารมณ์ที่มีการรักสวยรักงาม สำหรับราคจริตนี้ จะไปเหมาเขาหาว่าเป็นผู้มักมากในกามคุณไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการมักมากในกามคุณ แต่ว่ามีอารมณ์ชอบสวยชอบงาม ชอบสิ่งที่มีระเบียบเรียบร้อย จะทำอะไรทุกอย่างก็มีระเบียบต้องเรียบต้องร้อย ต้องสะอาดไปหมด แม้แต่สีสันวรรณะก็เลือก สีอย่างนั้นเหมาะ สีอย่างนี้ไม่เหมาะ ลักษณะอย่างนี้เหมาะ ลักษณะอย่างนี้ไม่เหมาะ แม้แต่ของที่จะกินเข้าไป ก็ต้องประดับประดา ทำให้มันสวยสดงดงาม แต่เนื้อแท้จริง ๆ แล้ว ไม่ทำให้งาม ไม่ทำให้สวยก็กินได้ ไอ้ทำให้สวย ไอ้ทำให้งามน่ะ ทำให้เนื้อของของมันเสียไป แต่ทว่าคนพวกนี้เว้นไม่ได้ ต้องให้มันสวยสดงดงามอยู่ตามปกติ
อย่างผลไม้ที่จะกิน ก็ต้องแกะสลักเป็นแบบโน้น แกะสลักเป็นแบบนี้ ถ้าเป็นนักเศรษฐกิจจริง ๆ ละก็ เขาจะหาว่าเสียของเปล่า มันเสียเนื้อของผลที่พึงกินเข้าไป แต่ทว่ากำลังใจของคนที่ตั้งอยู่ในลักษณะราคจริต จะต้องทำ ไม่ทำแล้วมันไม่สบายใจ แม้แต่ของในบ้าน ห้องนอน ห้องที่อยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง จะต้องมีความสวยงามมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นปกติ ลักษณะอย่างนี้เป็นลักษณะของราคจริต จะดูคนก็ต้องดูผิว ดูทรวดทรง แม้แต่ของใช้ไม้สอยก็เช่นเดียวกัน ของดีมีค่าเสมอกัน แต่รูปสวยไม่เท่ากันไม่เอา ต้องเอาของสวย ในลักษะอย่างนี้เป็นลักษณะของราคจริต ผมคิดว่าอารมณ์อย่างนี้ย่อมมีกันในจิตของคนทุกคน
อีกประการหนึ่ง
โทสจริต อารมณ์โกรธ อารมณ์ใกรธสำหรับโทสจริตจริง ๆ ที่เราจะต้องนำก็มีอาการอารมณ์ฉุนเฉียว แต่ทว่าคนใดที่ยังไม่ถึงพระอนาคามี ไม่มีอารมณ์โกรธ ไม่มี เป็นอันว่าโทสจริตก็มีกันในคนทุกคนเหมือนกัน
สำหรับ
โมหจริต และ
วิตกจริต เป็นอารมณ์ซึมที่ตัดสินใจใจได้ไม่แน่นอน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด และมีความโง่ผสม บางทีก็ตัดสินใจรวดเร็ว แต่ทว่าไม่เรียบร้อย ขาดการใคร่ครวญ ขาดการใช้ปัญญา ไอ้เรื่องนี้เรื่องใหญ่มาก การจะเข้าไปหาคน การจะทำงาน ทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใด กาลเวลาเป็นเรื่องสำคัญ การพิจารณาใคร่ครวญเสียก่อนเป็นของสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า
"นิสัมมะ กรณัง เสยโย" ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำดีกว่า ถ้าทำแล้วไม่ใช้สมองคิดพิจารณา ถูกด่า ถูกว่า ถูกลงโทษ แต่ความจริงบางทีเราจะทำดี แต่ไม่ถูกกับกาลเทศะ มันก็เลยดีไปเหมือนกัน ลักษณะอย่างนี้เป็นอาการของโมหจริตกับวิตกจริต แต่อาการอย่างนี้ผมก็ว่า มีแก่คนทุกคนเหมือนกัน แต่มันเลือกเวลา
สำหรับ
ศรัทธาจริต มีอารมณ์เชื่อง่าย ใครเขาพูดอะไรก็เชื่อ เห็นดีไปกับเขาด้วยทุกอย่าง โดยไร้ปัญญาพิจารณา สำหรับคนที่ถูกหลอกถูกลวง ก็โดยมากหนักไปในศรัทธาจริต บางท่านก็หนักใน โลภจริต แต่ว่าอาศัยที่โลภะมันครอบใจมาก เขาพูดถึงเรื่องทรัพย์สินก็เลยเชื่อ จัดเป็นศรัทธาจริต เป็นอันว่าอาการอย่างนี้ก็มีกับเราทุกคนในอาการบางขณะ
แล้วจริตที่ 6 ก็ได้แก่
พุทธจริต เป็นอารมณ์ของคนฉลาด มีความปลอดโปร่ง มีความปราดเรื่อง รู้เท่าทันคนตามสภาวการณ์ รู้เท่าเหตุการณ์ในกรณีต่าง ๆ ที่พึงเกิดขึ้น มีปัญญาเฉลียวฉลาด จำง่ายเข้าใจเร็ว ผมก็ว่าอาการอย่างนี้ก็มีแก่คนทุกคนในบางขณะเหมือนกัน
ฉะนั้นรวมความกันแล้ว จริต 6 ประการ เราก็ต้องศึกษา ในการเจริญพระกรรมฐาน ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำพระกรรมฐานไว้ถึง 40 อย่าง ให้เป็นกรรมฐานเฉพาะกิจ 30 อย่าง เป็นกรรมฐานกลาง 10 อย่าง กรรมฐานเฉพาะกิจก็ได้แก่ ราคจริต ราคจริตนี้ ท่านให้ใช้ อสุภกรรมฐาน 10 อย่างกับ กายคตานุสสติ 1 อย่าง เป็น 11 อย่าง สำหรับ โทสจริต ให้ใช้ พรหมวิหาร 4 กับกสิณ 4 สำหรัยกสิณ 4 ก็ได้แก่ กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว พรหมวิหาร 4 กสิณ 4 รวมเป็น 8 อย่าง สำหรับ โมหจริต กับ วิตกจริต ให้ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน อย่างเดียว สำหรับ ศรัทธาจริต ให้ใช้อนุสสติ 6 คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติจาคานุสสติ แล้วก็เทวตานุสสติ สำหรับพุทธจริต ให้ใช้ อาหารปฏิกูลสัญญา จตุธาตุวัตฐาน 4 มรณานุสสติกรรมฐาน กับอุปสมานุสติกรรมฐาน รวมเป็น 30 อย่าง ให้เลือกใช้เอาตามอัธยาศัย
สำหรับกรรมฐานกลาง จะเป็นจริตอะไรก็ใช้ได้ก็ได้แก่ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกลิณ และ อรูป 4 คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเป็น 10
เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าทรงมีความฉลาดพอ จัดกรรมฐานเฉพาะกิจไว้ ฉะนั้นในการเจริญพระกรรมฐาน หรือศึกษาพระกรรมฐาน ท่านนักปฏิบัติทุกท่านจะต้องรู้อารมณ์ใจของตัวเอง ไม่ใช่ไปถามชาวบ้าน ถ้าขณะใดจิตใจของเรามีความรักสวยรักงาม น้อมไปในราคจริต เราก็ใช้อารมณ์ อสุภสัญญา คือใน อสุภกรรมฐาน หรือว่า กายคตานุสสติ เอามาหักล้างอารมณ์อย่างนั้น หาความจริงให้พบ
ถ้าอารมณ์ของเรามีความโกรธกริ้ว ฉิวฉุน กลายเป็นคนมีอารมณ์โหดร้าย ในขณะบางขณะ เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาก็ใช้พรหมวิหาร 4 หรือว่า กสิณ 4 อย่างใด อย่างหนึ่งเป็นเครื่องหักล้าง
ถ้าอารมณ์ใจมันโง่ ต้องถือว่าอารมณ์โง่ ตัดสินใจไม่ตกลง ขาดปัญญาพิจารณา ขาดการใคร่ครวญ อันนี้ท่านทั้งหลายต้องจำให้ดี การที่คนเราทั้งหลายต้องถูกด่า ถูกว่า ถูกตำหนิ ติเดือน ถูกไล่ออกจากสถานที่ ก็เพราะอาศัยโมหจริตกับ วิตกจริตเพราะความโง่เป็นสำคัญ ขาดการใคร่ครวญ ขาดการพิจารณา ไม่ได้ดูกาลเวลาว่าเวลานั้นมันสมควรจะพูด สมควรจะทำหรือไม่ หรือบางทีจะไปหาใคร ก็ไม่ได้พิจารณาว่าท่านผู้นั้นว่างหรือทำอะไรอยู่ พรวดพราดเข้าไปรายงานกิจการ หรือว่าต้องการผลที่เราจะพึงทำ งานที่เขากำลังทำอยู่มันก็จะเสีย อย่างนี้เป็นเหตุให้เราได้รับความกระทบกระเทือนใจ จากถ้อยคำหรือจริยาที่เราไม่คิดว่าจะพบ แต่ต้องโทษตัวเราเองเป็นสำคัญ ที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าสอนแล้วว่า
"นิสัมมะ กรณัง เสยโย" ใคร่ครวญแล้วจึงทำ เวลาที่เราจะทำเราจะพูดน่ะ หยุดคิดใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อนว่า กาลนี้มันควรหรือไม่ควรนี่เป็นเรื่องใหญ่ อาศัยความโง่อย่างนี้ และอาศัยใจที่มีอารมณ์หยาบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงแนะนำให้จับอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นอารมณ์เพราะว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์ละเอียด การรู้ลมหายโจเข้าออกนี่ ถ้าขาดสติสัมปชัญญะ จริง ๆ มันรู้ไม่ได้ ถ้าหากว่าจิตใจของเรารู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ บุคคลนั้นไม่มีงานที่จะพลาด สำหรับคนที่มีความเชื่อง่าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมดาสดาทรงแนะนำให้ใช้อนุสสติ 6 ประการ คือ
พุทธานุสสติ นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ธัมมานุสสติ นึกถึงความดีของพระธรรมเป็นอารมณ์
สังฆานุสสติ นึกถึงความดีของพระสงฆ์เป็นอารมณ์
สีลานุสสติ นึกถึงความดี ความสุข ในการปฏิบัติศีลเป็นอารมณ์
จาคานุสสติ นึกถึงผลแห่งความสุขในการให้ทานการบริจาคเป็นอารมณ์
เทวตานุสสติ นึกถึงคุณธรรมของเทวดาเป็นอารมณ์
แทนที่เราจะไปเชื่ออย่างอื่น ก็กลับมาเชื่อ อนุสสติ 6 ประการผลใหญ่ก็จะพึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสสติ 6 ประการนี่ ถ้าใครมีครบถ้วน จิตใจเข้าถึงมั่นคงคนนั้นก็เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี รู้สึกว่าเป็นไม่ยาก สำหรับท่านที่มีความฉลาดในพุทธานุสสติ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ให้ใช้มรณานุสสติกรรมฐาน หรือว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตฐาน 4 หรือ อุปสมานุสสติกรรมฐาน สุดแล้วแต่อารมณ์
นี่เป็นอันว่าเราจะต้องพิจารณาอารมณ์ของเราเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าถ้าเรามีราคาจริตเป็นเบื้องหน้า ความรักสวยรักงามย่อมมีแก่กันทุกคน เราก็จะใช้แต่อสุภกรรมฐานกับ กายคตานุสสติ ไม่ใช้อะไรอื่นเสียเลยก็ใช้ไม่ได้ จิตเราเว้นจากความโกรธได้แล้วหรือยัง จิตใจเราเว้นจากความโง่ได้แล้วหรือยัง และจิตใจของเราเว้นจากการเชื่อง่ายไร้ปัญญาแล้วหรือยัง บางคราว จิตใจเราอาจจะฉลาดก็ได้ ฉะนั้นอารมณ์ใจของเราเกิดอะไรขึ้นมาในขณะนั้น มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ใช้กรรมฐานให้มันถูกต้องตามอารมณ์ อย่าถือเถรตรงอย่างเดียว ถ้าจิตมีความรักเป็นเบื้องหน้า ถูกแล้วเราใช้อสุภรรมฐาน กับกายคตานุสสติ แต่ทว่าถ้าบุญวาสนาบารมีของเราทรงตัวดี ก็เป็นอรหันต์ไปเลย ถ้าเรายังใง่อยู่ มันก็ต้องใช้กรรมฐานที่ประจำกับจริตทุกอย่าง ในเมื่ออารมณ์นั้น ๆ มันเกิดขึ้น
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43193693
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 1.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปขอท่านทั้งหลายได้โปรดสดับคำแนะนำเจริญ พระกรรมฐาน สำหรับในวันนี้จะขอแนะนำในเรื่อง อสุภกรรมฐาน คำว่า อสุภ แปลว่า ไม่งาม คือว่าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความเป็นจริง สำหรับอสุภกรรมฐานนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็น 10 อย่างด้วยกัน แต่ทว่าสำหรับวิธีปฏิบัติไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแยกออกเป็น 10 อย่าง ตามแนวทาง ปฏิบัติที่ปฏิบัติกันมาก็ปฏิบัติรวบกันทีเดียว คือว่าตามหลักวิชาที่ศึกษานั้นออย่างหนึ่ง เวลาปฏิบัติจริง ๆ นั้น เขาทำกันอย่างหนึ่ง สำหรับอสุภกรรมฐานนี้ เป็นกรรบฐานที่มีความสำคัญถ้าหากว่าท่านผู้ใดทรงอารมณ์ใจในด้านอสุภกรมฐานถึงฌาน 4 แล้วก็ใช้วิธีวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป ปัจจัยที่จะพึงได้หรือว่าผลที่จะพึงได้ อย่างเลวที่สุดอารมณ์จิตของท่านผู้นั้นจะเข้าถึงพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ทันที ฉะนั้น กรรมฐานกองนี้จึงจัดว่าเป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญที่สุดหมวดหนึ่ง
แต่ทว่าสำหรับอสุภกรรมฐานนี้ จะเหมาะเฉพาะสำหรับท่านที่มีจิตในราคจริตเท่านั้น นี่ว่ากันถึงเบื้องต้นนะ เพราะว่าการจะเริ่มใช้ในเบื้องต้น เหมาะสำหรับท่านที่มีจิตน้อมไปอยู่ในราคจริต แต่ทว่าจริตของคนเรานี่ ขอบรรตาท่านนักศึกษาทั้งหลายโปรดทราบว่า คนเรานี่มีจริตจริง ๆ ครบ 6 อย่าง แต่ว่าอะไรจะพึงมาหาเราก่อนเท่านั้น หรือว่าอะไรจะนำหน้า ขอให้พิจารณาอารมณ์ของเราว่า
หนึ่งราคจริต อารมณ์ที่มีการรักสวยรักงาม สำหรับราคจริตนี้ จะไปเหมาเขาหาว่าเป็นผู้มักมากในกามคุณไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการมักมากในกามคุณ แต่ว่ามีอารมณ์ชอบสวยชอบงาม ชอบสิ่งที่มีระเบียบเรียบร้อย จะทำอะไรทุกอย่างก็มีระเบียบต้องเรียบต้องร้อย ต้องสะอาดไปหมด แม้แต่สีสันวรรณะก็เลือก สีอย่างนั้นเหมาะ สีอย่างนี้ไม่เหมาะ ลักษณะอย่างนี้เหมาะ ลักษณะอย่างนี้ไม่เหมาะ แม้แต่ของที่จะกินเข้าไป ก็ต้องประดับประดา ทำให้มันสวยสดงดงาม แต่เนื้อแท้จริง ๆ แล้ว ไม่ทำให้งาม ไม่ทำให้สวยก็กินได้ ไอ้ทำให้สวย ไอ้ทำให้งามน่ะ ทำให้เนื้อของของมันเสียไป แต่ทว่าคนพวกนี้เว้นไม่ได้ ต้องให้มันสวยสดงดงามอยู่ตามปกติ
อย่างผลไม้ที่จะกิน ก็ต้องแกะสลักเป็นแบบโน้น แกะสลักเป็นแบบนี้ ถ้าเป็นนักเศรษฐกิจจริง ๆ ละก็ เขาจะหาว่าเสียของเปล่า มันเสียเนื้อของผลที่พึงกินเข้าไป แต่ทว่ากำลังใจของคนที่ตั้งอยู่ในลักษณะราคจริต จะต้องทำ ไม่ทำแล้วมันไม่สบายใจ แม้แต่ของในบ้าน ห้องนอน ห้องที่อยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง จะต้องมีความสวยงามมีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นปกติ ลักษณะอย่างนี้เป็นลักษณะของราคจริต จะดูคนก็ต้องดูผิว ดูทรวดทรง แม้แต่ของใช้ไม้สอยก็เช่นเดียวกัน ของดีมีค่าเสมอกัน แต่รูปสวยไม่เท่ากันไม่เอา ต้องเอาของสวย ในลักษะอย่างนี้เป็นลักษณะของราคจริต ผมคิดว่าอารมณ์อย่างนี้ย่อมมีกันในจิตของคนทุกคน
อีกประการหนึ่ง โทสจริต อารมณ์โกรธ อารมณ์ใกรธสำหรับโทสจริตจริง ๆ ที่เราจะต้องนำก็มีอาการอารมณ์ฉุนเฉียว แต่ทว่าคนใดที่ยังไม่ถึงพระอนาคามี ไม่มีอารมณ์โกรธ ไม่มี เป็นอันว่าโทสจริตก็มีกันในคนทุกคนเหมือนกัน
สำหรับ โมหจริต และ วิตกจริต เป็นอารมณ์ซึมที่ตัดสินใจใจได้ไม่แน่นอน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด และมีความโง่ผสม บางทีก็ตัดสินใจรวดเร็ว แต่ทว่าไม่เรียบร้อย ขาดการใคร่ครวญ ขาดการใช้ปัญญา ไอ้เรื่องนี้เรื่องใหญ่มาก การจะเข้าไปหาคน การจะทำงาน ทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใด กาลเวลาเป็นเรื่องสำคัญ การพิจารณาใคร่ครวญเสียก่อนเป็นของสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "นิสัมมะ กรณัง เสยโย" ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำดีกว่า ถ้าทำแล้วไม่ใช้สมองคิดพิจารณา ถูกด่า ถูกว่า ถูกลงโทษ แต่ความจริงบางทีเราจะทำดี แต่ไม่ถูกกับกาลเทศะ มันก็เลยดีไปเหมือนกัน ลักษณะอย่างนี้เป็นอาการของโมหจริตกับวิตกจริต แต่อาการอย่างนี้ผมก็ว่า มีแก่คนทุกคนเหมือนกัน แต่มันเลือกเวลา
สำหรับ ศรัทธาจริต มีอารมณ์เชื่อง่าย ใครเขาพูดอะไรก็เชื่อ เห็นดีไปกับเขาด้วยทุกอย่าง โดยไร้ปัญญาพิจารณา สำหรับคนที่ถูกหลอกถูกลวง ก็โดยมากหนักไปในศรัทธาจริต บางท่านก็หนักใน โลภจริต แต่ว่าอาศัยที่โลภะมันครอบใจมาก เขาพูดถึงเรื่องทรัพย์สินก็เลยเชื่อ จัดเป็นศรัทธาจริต เป็นอันว่าอาการอย่างนี้ก็มีกับเราทุกคนในอาการบางขณะ
แล้วจริตที่ 6 ก็ได้แก่ พุทธจริต เป็นอารมณ์ของคนฉลาด มีความปลอดโปร่ง มีความปราดเรื่อง รู้เท่าทันคนตามสภาวการณ์ รู้เท่าเหตุการณ์ในกรณีต่าง ๆ ที่พึงเกิดขึ้น มีปัญญาเฉลียวฉลาด จำง่ายเข้าใจเร็ว ผมก็ว่าอาการอย่างนี้ก็มีแก่คนทุกคนในบางขณะเหมือนกัน
ฉะนั้นรวมความกันแล้ว จริต 6 ประการ เราก็ต้องศึกษา ในการเจริญพระกรรมฐาน ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำพระกรรมฐานไว้ถึง 40 อย่าง ให้เป็นกรรมฐานเฉพาะกิจ 30 อย่าง เป็นกรรมฐานกลาง 10 อย่าง กรรมฐานเฉพาะกิจก็ได้แก่ ราคจริต ราคจริตนี้ ท่านให้ใช้ อสุภกรรมฐาน 10 อย่างกับ กายคตานุสสติ 1 อย่าง เป็น 11 อย่าง สำหรับ โทสจริต ให้ใช้ พรหมวิหาร 4 กับกสิณ 4 สำหรัยกสิณ 4 ก็ได้แก่ กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว พรหมวิหาร 4 กสิณ 4 รวมเป็น 8 อย่าง สำหรับ โมหจริต กับ วิตกจริต ให้ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน อย่างเดียว สำหรับ ศรัทธาจริต ให้ใช้อนุสสติ 6 คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติจาคานุสสติ แล้วก็เทวตานุสสติ สำหรับพุทธจริต ให้ใช้ อาหารปฏิกูลสัญญา จตุธาตุวัตฐาน 4 มรณานุสสติกรรมฐาน กับอุปสมานุสติกรรมฐาน รวมเป็น 30 อย่าง ให้เลือกใช้เอาตามอัธยาศัย
สำหรับกรรมฐานกลาง จะเป็นจริตอะไรก็ใช้ได้ก็ได้แก่ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกลิณ และ อรูป 4 คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเป็น 10
เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าทรงมีความฉลาดพอ จัดกรรมฐานเฉพาะกิจไว้ ฉะนั้นในการเจริญพระกรรมฐาน หรือศึกษาพระกรรมฐาน ท่านนักปฏิบัติทุกท่านจะต้องรู้อารมณ์ใจของตัวเอง ไม่ใช่ไปถามชาวบ้าน ถ้าขณะใดจิตใจของเรามีความรักสวยรักงาม น้อมไปในราคจริต เราก็ใช้อารมณ์ อสุภสัญญา คือใน อสุภกรรมฐาน หรือว่า กายคตานุสสติ เอามาหักล้างอารมณ์อย่างนั้น หาความจริงให้พบ
ถ้าอารมณ์ของเรามีความโกรธกริ้ว ฉิวฉุน กลายเป็นคนมีอารมณ์โหดร้าย ในขณะบางขณะ เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาก็ใช้พรหมวิหาร 4 หรือว่า กสิณ 4 อย่างใด อย่างหนึ่งเป็นเครื่องหักล้าง
ถ้าอารมณ์ใจมันโง่ ต้องถือว่าอารมณ์โง่ ตัดสินใจไม่ตกลง ขาดปัญญาพิจารณา ขาดการใคร่ครวญ อันนี้ท่านทั้งหลายต้องจำให้ดี การที่คนเราทั้งหลายต้องถูกด่า ถูกว่า ถูกตำหนิ ติเดือน ถูกไล่ออกจากสถานที่ ก็เพราะอาศัยโมหจริตกับ วิตกจริตเพราะความโง่เป็นสำคัญ ขาดการใคร่ครวญ ขาดการพิจารณา ไม่ได้ดูกาลเวลาว่าเวลานั้นมันสมควรจะพูด สมควรจะทำหรือไม่ หรือบางทีจะไปหาใคร ก็ไม่ได้พิจารณาว่าท่านผู้นั้นว่างหรือทำอะไรอยู่ พรวดพราดเข้าไปรายงานกิจการ หรือว่าต้องการผลที่เราจะพึงทำ งานที่เขากำลังทำอยู่มันก็จะเสีย อย่างนี้เป็นเหตุให้เราได้รับความกระทบกระเทือนใจ จากถ้อยคำหรือจริยาที่เราไม่คิดว่าจะพบ แต่ต้องโทษตัวเราเองเป็นสำคัญ ที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าสอนแล้วว่า "นิสัมมะ กรณัง เสยโย" ใคร่ครวญแล้วจึงทำ เวลาที่เราจะทำเราจะพูดน่ะ หยุดคิดใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อนว่า กาลนี้มันควรหรือไม่ควรนี่เป็นเรื่องใหญ่ อาศัยความโง่อย่างนี้ และอาศัยใจที่มีอารมณ์หยาบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงแนะนำให้จับอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นอารมณ์เพราะว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์ละเอียด การรู้ลมหายโจเข้าออกนี่ ถ้าขาดสติสัมปชัญญะ จริง ๆ มันรู้ไม่ได้ ถ้าหากว่าจิตใจของเรารู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ บุคคลนั้นไม่มีงานที่จะพลาด สำหรับคนที่มีความเชื่อง่าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมดาสดาทรงแนะนำให้ใช้อนุสสติ 6 ประการ คือ
พุทธานุสสติ นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ธัมมานุสสติ นึกถึงความดีของพระธรรมเป็นอารมณ์
สังฆานุสสติ นึกถึงความดีของพระสงฆ์เป็นอารมณ์
สีลานุสสติ นึกถึงความดี ความสุข ในการปฏิบัติศีลเป็นอารมณ์
จาคานุสสติ นึกถึงผลแห่งความสุขในการให้ทานการบริจาคเป็นอารมณ์
เทวตานุสสติ นึกถึงคุณธรรมของเทวดาเป็นอารมณ์
แทนที่เราจะไปเชื่ออย่างอื่น ก็กลับมาเชื่อ อนุสสติ 6 ประการผลใหญ่ก็จะพึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสสติ 6 ประการนี่ ถ้าใครมีครบถ้วน จิตใจเข้าถึงมั่นคงคนนั้นก็เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี รู้สึกว่าเป็นไม่ยาก สำหรับท่านที่มีความฉลาดในพุทธานุสสติ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ให้ใช้มรณานุสสติกรรมฐาน หรือว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตฐาน 4 หรือ อุปสมานุสสติกรรมฐาน สุดแล้วแต่อารมณ์
นี่เป็นอันว่าเราจะต้องพิจารณาอารมณ์ของเราเองเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าถ้าเรามีราคาจริตเป็นเบื้องหน้า ความรักสวยรักงามย่อมมีแก่กันทุกคน เราก็จะใช้แต่อสุภกรรมฐานกับ กายคตานุสสติ ไม่ใช้อะไรอื่นเสียเลยก็ใช้ไม่ได้ จิตเราเว้นจากความโกรธได้แล้วหรือยัง จิตใจเราเว้นจากความโง่ได้แล้วหรือยัง และจิตใจของเราเว้นจากการเชื่อง่ายไร้ปัญญาแล้วหรือยัง บางคราว จิตใจเราอาจจะฉลาดก็ได้ ฉะนั้นอารมณ์ใจของเราเกิดอะไรขึ้นมาในขณะนั้น มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ใช้กรรมฐานให้มันถูกต้องตามอารมณ์ อย่าถือเถรตรงอย่างเดียว ถ้าจิตมีความรักเป็นเบื้องหน้า ถูกแล้วเราใช้อสุภรรมฐาน กับกายคตานุสสติ แต่ทว่าถ้าบุญวาสนาบารมีของเราทรงตัวดี ก็เป็นอรหันต์ไปเลย ถ้าเรายังใง่อยู่ มันก็ต้องใช้กรรมฐานที่ประจำกับจริตทุกอย่าง ในเมื่ออารมณ์นั้น ๆ มันเกิดขึ้น
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อสุภกรรมฐาน ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43193693