กสิณ 10 ตอนที่ 3.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรคาอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปโปรดสดับการศึกษาพระกรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ก็จะขอพูดเรื่องหมวดของกสิณต่อ เพราะว่าหมวดของกสิณที่พูดมาแล้วนั้น ได้พูดไปถึงกสินทั้งหมดเป็น 10 อย่างด้วยกัน เข้าอยู่ในลักษณะของฌาน 4
การศึกษาพระกรรมฐานของบรรดาท่านทั้งหลาย จงอย่าลืมอารมณ์อย่างหนึ่งนั่นคือ
อุทธัจจะ กุกกุจจะ ได้แก่อารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต นักกรรมฐานจริง ๆ และที่ปฏิบัติกันมา มักจะมีความกลุ้มเรื่องการทรงอารมณ์ตัวไม่อยู่ ทั้งนี้ก็ขอท่านทั้งหลายจงอย่าลืมว่าคำว่า อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน จะระงับได้จริง ๆ แต่พระอรหันต์เท่านั้น นอกจากนั้นจะไม่มีใครสามารถจะระงับได้อย่างจริงจัง เว้นไว้แต่การฟุ้งซ่านนั้นจะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น
ถ้าหากว่าท่านผู้ใดสามารถจะทำจิตให้สงบจากอารมณ์ของความชั่ว คือในด้านของอกุศล จิตน้อมไปในด้านของความดี มีพระกรรมฐาน 40 หรือมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่ง ในขณะที่ปฏิบัติครั้งหนึ่ง ชั่วหนึ่งนาที สองนาที สามนาที 5 นาที 10 นาที ก็ตาม ก็จงภูมิใจว่า เวลานี้เราได้มีโอกาสชนะความชั่ว คือนิวรณ์ 5 หรือกิเลสได้แล้ว แต่ถ้าว่าเราไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าครั้งหนึ่งเราชนะได้ 1 นาที 2 นาที หรือ 3 นาที เดือนหนึ่งมี 30 วัน ปีหนึ่งมี 365 วัน คือถ้าเราปฏิบัติ ระงับจิตได้อย่างนั้นครั้งละ 2-3 นาที ถ้า 10 ครั้ง ก็ 30 นาที เป็นต้น คิดว่าโอกาสของจิตเรายังน้อมเข้าไปด้านของกุศลขณะใด ที่จิตสงัดจากกิเลสคือความชั่วของจิต จิตน้อมไปในด้านของความดี มีพระกรรมฐาน 40 หรือมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่งก็ควรจะภูมิใจว่า เรามีโอกาสชนะกิเลสได้บางตอน บางจุด ถ้าเราสามารถทำให้ชนะได้เรื่อย ๆ ไป ไม่ช้ากิเลสก็จะสลายตัวเหมือนกับเราขัดสนิม วัตถุที่มีสภาพใหญ่ เราขัดได้ครั้งละน้อย ๆ แต่ขัดบ่อย ๆ สนิมก็หมด
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด แม้จิตใจของเราที่ถูกกิเลสพอกก็เช่นเดียวกัน ถ้าขยันทำบ่อย ๆ ไม่มีความประมาท ไม่ช้าเราก็จะถึงความดี
สำหรับในวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องกสิณ การปฏิบัติจับกสิณเป็นอารมณ์แล้วก็ทำตนให้เข้าถึงอรหัตตผล สำหรับการปฏิบัติพระกรรมฐาน บรรดาท่านพุทธบริษัทจงศึกษาจริต 6 ให้เข้าใจ และก็จงพราบพระกรรมฐานที่เหมาะกับจริต ถ้าหากว่าปฏิบัติผิดมันก็เป็นผลร้าย แทนที่เราจะได้ดี เราก็กลับไม่ได้รับผลดีตามที่เราเสียเวลาไป ตัวอย่างของเรื่องกสิณนี้ก็เช่นเดียวกันอย่าลืมว่ากสิณ 6 อย่างคือ
ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ 6 อย่างนี้ เป็นกสิณกลาง ท่านที่เจริญพระกรรมฐานจะมีจริตอะไรก็ตาม สามารถปฏิบัติได้ผลถึงที่สุดเหมือนกัน
สำหรับกสิณอีก 4 อย่างคือ
โลหิตกสิณ กสิณสีแดง
ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง
นีลกสิณ กสิณสีเขียว
โอทาตกสิณ กสิณสีขาว
4 อย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าสำหรับท่านที่มีโทสจริตเท่านั้น คือ หมายความว่าเป็นคนโกรธง่าย คนมีอารมณ์โกรธง่าย มีความฉุนเฉียวง่าย ปฏิบัติกสิณ 4 ประการนี้เหมาะกับจริตของตน
สำหรับวันนี้ก็จะขอนำพระสูตร ที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาทรงใช้พระกรรมฐานเหมาะกับจริตโดยเฉพาะในด้านของกสิณ มาแนะนำท่านพุทธบริษัทตามสมควรแก่เวลา
ความมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ในสมัยนั้น พระอัครสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู ซึ่งมีนามว่า
พระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกฝ่ายขวาเป็นผู้ทรงปัญญาเลิศกว่าบรรดาสาวกทั้งหมด ในกาลครั้งหนึ่งอัครสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคตมีสัทธิวิหาริก คือมีลูกศิษย์ท่านหนึ่งเข้ามาบวช ท่านผู้นั้นตามพระบาลีท่านไม่ได้บอกชื่อ ท่านบอกแต่เพียงว่าเป็น
ลูกชายของนายช่างทอง เป็นคนมีรูปร่างหน้าตาสวย ฐานะดี พระสารีบุตรท่านก็คิดว่า คนหนุ่มอย่างนี้มีรูปร่างหน้าตาสวย ฐานะดี อาจะหนักไปในโลกีย์วิสัย คือกามคุณ จึงให้พระกรรมฐานที่ปฏิบัติเบื้องต้น ได้แก่ อสุภกรรมฐาน สำหรับอสุภกรรมฐาน ได้แก่ การพิจารณาร่างกายหรือทุกสิ่งทุกอย่างในใลก เป็นของสกปรกตามตวามเป็นจริง อารมณ์อย่างนี้เป็นเครื่องตัดกามคุณ 5 คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เป็นต้น
แต่ทว่า กรรมฐานกองนี้ไม่เหมาะกับจริตของพระผู้เป็นลูกศิษย์คือลูกชายนายช่างทอง พระสารีบุตรสอนให้เจริญพระกรรมฐานกองนี้ตลอดพรรษา คือ 3 เดือน ในระหว่างนั้น พระสารีบุตรกับพระพุทธเจ้าไม่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน เป็นอันว่า พระลูกชายนายช่างทอง ไม่มีโอกาสจะได้แม้แต่ฌานสมาบัติ
ท่านพระสารีบุตรก็คิดว่า พระองค์นี้คงจะไม่ใช่เป็นผู้ที่วิสัยของเราจะพึงทรมานได้ คำว่า
ทรมาน หมายความว่า
กลับใจจากอารมณ์ชั่ว หันเข้ามาหาความดี กลับใจจากอารมณ์ของจิตที่เป็นปุถุชนให้เป็นผู้ทรงฌาน หรือว่าเป็นพระอริยเจ้า พระสารีบุตรใคร ๆ ก็รู้จักว่ามีปัญญาดีมาก นอกจากองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะมีใครยิ่งไปกว่าพระสารีบุตรไม่มี ในเมื่อพระสารรเป็นอรหันต์อัครสาวกฝ่ายขวา เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหมด อรหันต์ทั้งหมด ในด้านปัญญา แล้วก็ยังจะให้กรรมฐานผิดแก่ กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาหรือเข้ามาศึกษา
ตอนนี้ท่านผู้ฟังโปรดรับทราบไว้สักนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวจะคิดว่าพระอรหันต์ขนาดนั้นยังมีความโง่ ความจริง คำว่าอรหันต์ ย่อมตัดกิเลลให้เป็นสมุจเฉทปหานเหมือนกัน
อรหันต์สุกขวิปัสสโก เตวิชโซ ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต แต่ทว่าพระอรหันต์ทุกท่านจะมีความรอบรู้เท่าพระพุทธเจ้านั้นไม่มี และอีกประการหนึ่งสำหรับคนที่เกิดมาในเขตนี้ ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ทุกองค์ จะสามารถทำคนทุกคนให้เป็นพระอริยเจ้าได้ ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะมีวาสนาบารมีเป็นพระอริยเจ้า
เพราะคนที่เกิดมานี้แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ พวกหนึ่งบรรดาพระอรหันต์สาวกทั้งหลายสามารถจะทรมานใจ กลับใจจากอารมณ์ที่มีกิเลสให้เป็นคนที่หมดจากกิเลสได้นี่พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งนั้นเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าโดยตรง คนอื่นไม่สามารถจะทำเธอให้เป็นพระอรหันต์ได้ ที่เห็นได้ว่าสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ความจริงองค์สมเด็จพระพิชิดมารจะปรินิพพานในเมืองใหญ่ ๆ ก็ทำได้ แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรต้องไปที่
กุสินารามหานคร ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระชินวรตั้งใจไปโปรดปริพพาชกท่านหนึ่ง ซึ่งปริพพาชกท่านนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงทราบว่า นอกจากพระองค์แล้ว ไม่มีพระอรหันต์องค์ใด สามารถจะทำท่านให้เป็นพระอริยสาวกได้ นี่ขอได้โปรดทราบโดยย่อไว้เพียงเท่านี้
การฝึกพระกรรมฐานนั่น ในสมัยนี้ก็เช่นเดียวกัน การฝึกพระกรรมฐานนี่จะต้องเป็นคนที่สืบบำเพ็ญความดี คือบุญบารมีมาร่วมกัน ถ้าหากว่าต่างคน ต่างพวก ต่างหมู่ ต่างคณะกันมาในกาลก่อน เราก็ไม่สามารถจะพูดให้เข้าใจได้เหมือนกัน บางท่านชอบใจพระองค์นี้ บางท่านชอบใจพระองค์นั้น บางท่านชอบใจคณะโน้น บางท่านชอบใจสำนักนี้ ที่ชอบใจคือเขามาที่นี่ ไม่ชอบใจที่นี่ แต่ไปชอบใจที่อื่น ก็จงอย่าคิดว่าท่านผู้นั้นเป็นคนโง่ จงทราบว่านั่นท่านไม่เคยอบรมความดีร่วมมากับคณะของเราในอดีตชาติ มันเป็นเรื่องการอบรมกันมากับคนอื่น จึงได้พูดกันรู้เรื่องกัน
นี่ขอพูดเรื่องของพระช่างทอง เมื่อพระสารีบุตรมาพิจารณาว่า กุลบุตรผู้นี้คงจะไม่ใช่วิสัยของเราที่จะพึงฝึกให้เธอทรงฌานหรือเป็นพระอริยเจ้าได้ ท่านก็มาพิจารณาว่า เห็นจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะสงเคราะห์เธอได้ เมื่อออกพรรษา ปวารณาพรรษาแล้ว จึงได้พาเธอไปเฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ไปกราบทูลเหตุที่ฝึกให้ทรงทราบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพิจารณาด้วยอำนาจพระพุทธญาณ ก็ทรงทราบว่าองค์สมเด็จพระพิชิตมาร สามารถจะฝึกเธอให้ทรงความเป็นพระอรหันต์ได้ ฉะนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตร จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสกับพระสารีบุตรว่า
สารีปุตตะ ดูก่อนสารีบุตร กุลบุตรผู้ใดที่มีความปรารถนาดีมีศรัทธา ที่ตถาคตไม่สามารถจะช่วยได้นั้น ไม่มี ถ้าเช่นนั้นขอสารีบุตรเธอจงกลับไปได้ ปล่อยให้เธออยู่กับตถาคต
เมื่อพระสารีบุตรกลับไปแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงทราบว่าลูกชายนายช่างทองคนนี้เป็นคนสวยก็จริงแหล่ แต่ทว่าไม่ใช่เป็นคนมีจิตหนักไปในราคจริต คือมีจิตหนักไปในโทสจริต
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 3.1 https://ppantip.com/topic/43181571
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 3.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรคาอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปโปรดสดับการศึกษาพระกรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ก็จะขอพูดเรื่องหมวดของกสิณต่อ เพราะว่าหมวดของกสิณที่พูดมาแล้วนั้น ได้พูดไปถึงกสินทั้งหมดเป็น 10 อย่างด้วยกัน เข้าอยู่ในลักษณะของฌาน 4
การศึกษาพระกรรมฐานของบรรดาท่านทั้งหลาย จงอย่าลืมอารมณ์อย่างหนึ่งนั่นคือ อุทธัจจะ กุกกุจจะ ได้แก่อารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต นักกรรมฐานจริง ๆ และที่ปฏิบัติกันมา มักจะมีความกลุ้มเรื่องการทรงอารมณ์ตัวไม่อยู่ ทั้งนี้ก็ขอท่านทั้งหลายจงอย่าลืมว่าคำว่า อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน จะระงับได้จริง ๆ แต่พระอรหันต์เท่านั้น นอกจากนั้นจะไม่มีใครสามารถจะระงับได้อย่างจริงจัง เว้นไว้แต่การฟุ้งซ่านนั้นจะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น
ถ้าหากว่าท่านผู้ใดสามารถจะทำจิตให้สงบจากอารมณ์ของความชั่ว คือในด้านของอกุศล จิตน้อมไปในด้านของความดี มีพระกรรมฐาน 40 หรือมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่ง ในขณะที่ปฏิบัติครั้งหนึ่ง ชั่วหนึ่งนาที สองนาที สามนาที 5 นาที 10 นาที ก็ตาม ก็จงภูมิใจว่า เวลานี้เราได้มีโอกาสชนะความชั่ว คือนิวรณ์ 5 หรือกิเลสได้แล้ว แต่ถ้าว่าเราไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าครั้งหนึ่งเราชนะได้ 1 นาที 2 นาที หรือ 3 นาที เดือนหนึ่งมี 30 วัน ปีหนึ่งมี 365 วัน คือถ้าเราปฏิบัติ ระงับจิตได้อย่างนั้นครั้งละ 2-3 นาที ถ้า 10 ครั้ง ก็ 30 นาที เป็นต้น คิดว่าโอกาสของจิตเรายังน้อมเข้าไปด้านของกุศลขณะใด ที่จิตสงัดจากกิเลสคือความชั่วของจิต จิตน้อมไปในด้านของความดี มีพระกรรมฐาน 40 หรือมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่งก็ควรจะภูมิใจว่า เรามีโอกาสชนะกิเลสได้บางตอน บางจุด ถ้าเราสามารถทำให้ชนะได้เรื่อย ๆ ไป ไม่ช้ากิเลสก็จะสลายตัวเหมือนกับเราขัดสนิม วัตถุที่มีสภาพใหญ่ เราขัดได้ครั้งละน้อย ๆ แต่ขัดบ่อย ๆ สนิมก็หมด
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด แม้จิตใจของเราที่ถูกกิเลสพอกก็เช่นเดียวกัน ถ้าขยันทำบ่อย ๆ ไม่มีความประมาท ไม่ช้าเราก็จะถึงความดี
สำหรับในวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องกสิณ การปฏิบัติจับกสิณเป็นอารมณ์แล้วก็ทำตนให้เข้าถึงอรหัตตผล สำหรับการปฏิบัติพระกรรมฐาน บรรดาท่านพุทธบริษัทจงศึกษาจริต 6 ให้เข้าใจ และก็จงพราบพระกรรมฐานที่เหมาะกับจริต ถ้าหากว่าปฏิบัติผิดมันก็เป็นผลร้าย แทนที่เราจะได้ดี เราก็กลับไม่ได้รับผลดีตามที่เราเสียเวลาไป ตัวอย่างของเรื่องกสิณนี้ก็เช่นเดียวกันอย่าลืมว่ากสิณ 6 อย่างคือ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ 6 อย่างนี้ เป็นกสิณกลาง ท่านที่เจริญพระกรรมฐานจะมีจริตอะไรก็ตาม สามารถปฏิบัติได้ผลถึงที่สุดเหมือนกัน
สำหรับกสิณอีก 4 อย่างคือ โลหิตกสิณ กสิณสีแดง ปีตกสิณ กสิณสีเหลือง นีลกสิณ กสิณสีเขียว โอทาตกสิณ กสิณสีขาว 4 อย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าสำหรับท่านที่มีโทสจริตเท่านั้น คือ หมายความว่าเป็นคนโกรธง่าย คนมีอารมณ์โกรธง่าย มีความฉุนเฉียวง่าย ปฏิบัติกสิณ 4 ประการนี้เหมาะกับจริตของตน
สำหรับวันนี้ก็จะขอนำพระสูตร ที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาทรงใช้พระกรรมฐานเหมาะกับจริตโดยเฉพาะในด้านของกสิณ มาแนะนำท่านพุทธบริษัทตามสมควรแก่เวลา
ความมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ในสมัยนั้น พระอัครสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู ซึ่งมีนามว่า พระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกฝ่ายขวาเป็นผู้ทรงปัญญาเลิศกว่าบรรดาสาวกทั้งหมด ในกาลครั้งหนึ่งอัครสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคตมีสัทธิวิหาริก คือมีลูกศิษย์ท่านหนึ่งเข้ามาบวช ท่านผู้นั้นตามพระบาลีท่านไม่ได้บอกชื่อ ท่านบอกแต่เพียงว่าเป็น ลูกชายของนายช่างทอง เป็นคนมีรูปร่างหน้าตาสวย ฐานะดี พระสารีบุตรท่านก็คิดว่า คนหนุ่มอย่างนี้มีรูปร่างหน้าตาสวย ฐานะดี อาจะหนักไปในโลกีย์วิสัย คือกามคุณ จึงให้พระกรรมฐานที่ปฏิบัติเบื้องต้น ได้แก่ อสุภกรรมฐาน สำหรับอสุภกรรมฐาน ได้แก่ การพิจารณาร่างกายหรือทุกสิ่งทุกอย่างในใลก เป็นของสกปรกตามตวามเป็นจริง อารมณ์อย่างนี้เป็นเครื่องตัดกามคุณ 5 คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เป็นต้น
แต่ทว่า กรรมฐานกองนี้ไม่เหมาะกับจริตของพระผู้เป็นลูกศิษย์คือลูกชายนายช่างทอง พระสารีบุตรสอนให้เจริญพระกรรมฐานกองนี้ตลอดพรรษา คือ 3 เดือน ในระหว่างนั้น พระสารีบุตรกับพระพุทธเจ้าไม่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน เป็นอันว่า พระลูกชายนายช่างทอง ไม่มีโอกาสจะได้แม้แต่ฌานสมาบัติ
ท่านพระสารีบุตรก็คิดว่า พระองค์นี้คงจะไม่ใช่เป็นผู้ที่วิสัยของเราจะพึงทรมานได้ คำว่า ทรมาน หมายความว่า กลับใจจากอารมณ์ชั่ว หันเข้ามาหาความดี กลับใจจากอารมณ์ของจิตที่เป็นปุถุชนให้เป็นผู้ทรงฌาน หรือว่าเป็นพระอริยเจ้า พระสารีบุตรใคร ๆ ก็รู้จักว่ามีปัญญาดีมาก นอกจากองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะมีใครยิ่งไปกว่าพระสารีบุตรไม่มี ในเมื่อพระสารรเป็นอรหันต์อัครสาวกฝ่ายขวา เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหมด อรหันต์ทั้งหมด ในด้านปัญญา แล้วก็ยังจะให้กรรมฐานผิดแก่ กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาหรือเข้ามาศึกษา
ตอนนี้ท่านผู้ฟังโปรดรับทราบไว้สักนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวจะคิดว่าพระอรหันต์ขนาดนั้นยังมีความโง่ ความจริง คำว่าอรหันต์ ย่อมตัดกิเลลให้เป็นสมุจเฉทปหานเหมือนกัน อรหันต์สุกขวิปัสสโก เตวิชโซ ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต แต่ทว่าพระอรหันต์ทุกท่านจะมีความรอบรู้เท่าพระพุทธเจ้านั้นไม่มี และอีกประการหนึ่งสำหรับคนที่เกิดมาในเขตนี้ ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ทุกองค์ จะสามารถทำคนทุกคนให้เป็นพระอริยเจ้าได้ ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะมีวาสนาบารมีเป็นพระอริยเจ้า
เพราะคนที่เกิดมานี้แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ พวกหนึ่งบรรดาพระอรหันต์สาวกทั้งหลายสามารถจะทรมานใจ กลับใจจากอารมณ์ที่มีกิเลสให้เป็นคนที่หมดจากกิเลสได้นี่พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งนั้นเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าโดยตรง คนอื่นไม่สามารถจะทำเธอให้เป็นพระอรหันต์ได้ ที่เห็นได้ว่าสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ความจริงองค์สมเด็จพระพิชิดมารจะปรินิพพานในเมืองใหญ่ ๆ ก็ทำได้ แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรต้องไปที่ กุสินารามหานคร ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระชินวรตั้งใจไปโปรดปริพพาชกท่านหนึ่ง ซึ่งปริพพาชกท่านนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงทราบว่า นอกจากพระองค์แล้ว ไม่มีพระอรหันต์องค์ใด สามารถจะทำท่านให้เป็นพระอริยสาวกได้ นี่ขอได้โปรดทราบโดยย่อไว้เพียงเท่านี้
การฝึกพระกรรมฐานนั่น ในสมัยนี้ก็เช่นเดียวกัน การฝึกพระกรรมฐานนี่จะต้องเป็นคนที่สืบบำเพ็ญความดี คือบุญบารมีมาร่วมกัน ถ้าหากว่าต่างคน ต่างพวก ต่างหมู่ ต่างคณะกันมาในกาลก่อน เราก็ไม่สามารถจะพูดให้เข้าใจได้เหมือนกัน บางท่านชอบใจพระองค์นี้ บางท่านชอบใจพระองค์นั้น บางท่านชอบใจคณะโน้น บางท่านชอบใจสำนักนี้ ที่ชอบใจคือเขามาที่นี่ ไม่ชอบใจที่นี่ แต่ไปชอบใจที่อื่น ก็จงอย่าคิดว่าท่านผู้นั้นเป็นคนโง่ จงทราบว่านั่นท่านไม่เคยอบรมความดีร่วมมากับคณะของเราในอดีตชาติ มันเป็นเรื่องการอบรมกันมากับคนอื่น จึงได้พูดกันรู้เรื่องกัน
นี่ขอพูดเรื่องของพระช่างทอง เมื่อพระสารีบุตรมาพิจารณาว่า กุลบุตรผู้นี้คงจะไม่ใช่วิสัยของเราที่จะพึงฝึกให้เธอทรงฌานหรือเป็นพระอริยเจ้าได้ ท่านก็มาพิจารณาว่า เห็นจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะสงเคราะห์เธอได้ เมื่อออกพรรษา ปวารณาพรรษาแล้ว จึงได้พาเธอไปเฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ไปกราบทูลเหตุที่ฝึกให้ทรงทราบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพิจารณาด้วยอำนาจพระพุทธญาณ ก็ทรงทราบว่าองค์สมเด็จพระพิชิตมาร สามารถจะฝึกเธอให้ทรงความเป็นพระอรหันต์ได้ ฉะนั้นองค์สมเด็จพระจอมไตร จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสกับพระสารีบุตรว่า สารีปุตตะ ดูก่อนสารีบุตร กุลบุตรผู้ใดที่มีความปรารถนาดีมีศรัทธา ที่ตถาคตไม่สามารถจะช่วยได้นั้น ไม่มี ถ้าเช่นนั้นขอสารีบุตรเธอจงกลับไปได้ ปล่อยให้เธออยู่กับตถาคต
เมื่อพระสารีบุตรกลับไปแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงทราบว่าลูกชายนายช่างทองคนนี้เป็นคนสวยก็จริงแหล่ แต่ทว่าไม่ใช่เป็นคนมีจิตหนักไปในราคจริต คือมีจิตหนักไปในโทสจริต
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 3.1 https://ppantip.com/topic/43181571