กสิณ 10 ตอนที่ 1.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรคาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความจริง คำว่า พระโยคาวจร ก็หมายถึงว่า ท่านที่ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค ทั้งนี้ก็หมายถึงว่าท่านที่ปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานทุกท่าน ด้วยความจริงใจ แต่ทว่าทุกท่านยังปฏิบัติตนยังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า
พระโยคาวจร แปลว่า ท่านผู้ประกอบความดีเพื่อความประเสริฐ เป็นอันว่าขอท่านทั้งหลายที่เข้ามาปฏิบัติพระกรรรมฐาน พระก็ดี เณรก็ดี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ดี ขอท่านจงรู้ตัวว่าเวลานี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงเรียกว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตนเพื่อความเป็นพระ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า
คำพระจริง ๆ นั่นก็คือ พระพุทธเจ้าพระยอมรับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาบันเพียงใด ท่านยังไม่เรียกว่าพระ แต่ว่าทุกท่านที่ปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยควานจริงใจ ตั้งใจจริง มีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจทรงสมาธิให้ตั้งมั่น ตั้งใจรักษาปัญญาให้แจ่มใส รู้เท่าทันความเป็นจริง แต่ว่ายังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค ก็ควรจะภูมิใจว่าเราอยู่ในเขตของความดี คือเราอยู่ในเขตของคนดี แต่ว่าเราจะดีมากจะดีน้อยนั่นประมาทไม่ได้ ถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็แสดงว่าเราเมื่อนั้น จงจำพระพุทธภาษิตที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"อัตตนา โจทยัตตานัง" จงกล่าวโทษโจทก์ความผิดของตนไว้เสมอ คือให้มีความรู้สึกว่าเรายังชั่วอยู่
แล้วมันชั่วตรงไหน ไปนั่งดูนิวรณ์ 5 ว่านิวรณ์ 5 ประการยังมีอาการสิงใจเราอยู่บ้างหรือเปล่า ถ้านิวรณ์ 5 ประการส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือในเวลาใดเวลาหนึ่ง มันเข้ามากวนใจเราได้ แสดงว่าเรายังมีช่องโหว่แห่งความชั่วในด้านฌานโลกีย์ ถ้านิวรณ์ 5 ไม่สามารถจะสิงใจเราใต้ แสดงว่าเราดีขึ้นถึงระดับของผู้ทรงฌาน ทั้งนี้ผมหมายความว่า
ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่เรามานั่งปฏิบัติพระกรรมฐาน
แล้วประการที่ 2 ถ้าเราชนะนิวรณ์ 5 แล้ว ก็จงไปมองดู
สังโยชน์ 10 ประการ ว่าสั่งโยชน์ 10 ประการนี้ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยังมาข้องอยู่กับอารมณ์ของเรา เรายังเข้าไปติดในส่วนนั้น ถ้าพังโยชน์ 10 ประการข้อใดข้อหนึ่ง ยังสิงอยู่ในสันตานของเราแสดงว่าเรายังไม่ดี ต้องตำหนีใจ ตำหนิตัวของเราเองว่าความดีมันยังไม่พอ
สำหรับวันนี้ผมก็จะขอพูดเรื่อง
หมวดของกสิณ เพราะว่าหมวดของอนุสสติจบไปแล้ว สำหรับกสิณนี่มี 10 อย่าง แต่ทว่าผมจะขอธิบาย กสิณในด้านของสุกขวิปัสสโก แต่ทว่าบังเอิญท่านผู้ใด จะมีวิริยะอุตสาหะ ทำคนเข้าถึงวิชชาสาม เขตของวิชชาสามและอภิญญา 6 อันนี้ผมก็โมทนา และการแนะนำนี่ขอแนะนำในขั้นสุกขวิปัสสโกเท่านั้น แต่ก็ไม่แน่นักนะ หากว่าบุญวาสนารมีท่านเคยฝึกมาในชาติก่อนก็ดี แต่ว่าชาตินี้ถ้ามีความมั่นคงในธารมณ์ที่ทรงอยู่ในด้านกสิณ การปฏิบัติกสิณหมายถึงว่าต้องการสุกขวิปัสสโก ดีไม่ดีท่านก็ไปเข้าเขตของวิชชาสามและอภิญญา 6 ก็ได้ แต่ว่า ปฏิสัมภิทาญาณยังไม่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณนี่จะต้องปฏิบัติตามที่สอนมาแล้ว นั่นก็คือให้ได้สมาบัติ 8
ตอนนี้จะขอพูดถึงเรื่องของกสิณก่อน คือ ชื่อของกสิณและอาการของกสิณ ขอให้ถือว่าเป็นการศึกษา เวลาปฏิบัติจริงอารมณ์ของท่านทรงอยู่ในอะไรมั่นคงแล้วปฏิบัติตามนั้น ไม่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผม เพราะว่าผมจะต้องสอนให้หมด กรรมฐาน 40
สำหรับกสิณนี้ จะขอสอนรวบ ถ้าแยกก็ไม่มีความจำเป็น เพราะมีผลเสมอกันชื่อของกสิณก็คือ
1. ปฐวีกสิณ กสิณนี้มี
ดิน เป็นพื้นฐาน
2. อาโปกสิณ กสิณข้อนี้มี
น้ำ เป็นพื้นฐาน
3. เตโชกสิณ กสิณข้อนี้มี
ไฟ เป็นพื้นฐาน
4. วาโยกสิณ กสิณข้อนี้มี
ลม เป็นพื้นฐาน
5. โลหิตกสิณ กสิณข้อนี้มี
สีแดง เป็นพื้นฐาน
6. ปีตกสิณ กสิณข้อนี้มี
สีเหลือง เป็นพื้นฐาน
7.นีลกสิณ กสิณข้อนี้มี
สีเขียว เป็นพื้นฐาน
8.โอทาตกสิณ กสิณข้อนี้มี
สีขาว เป็นพื้นฐาน
9.อากาสกสิณ กสิณข้อนี้มี
อากาศ คือ ความว่างเป็นพื้นฐาน และก็
10. อาโลกกสิณ กสิณข้อนี้มี
แสงสว่าง เป็นพื้นฐาน
เป็นอันว่ากสิณที่เราจะต้องปฏิบัติมี 10 อย่างด้วยกัน วันนี้ผมจะขออธิบายโดยย่อ เพื่อให้เข้าใจถึงพื้นฐานของกสิณเสียก่อน ความจริงถ้าหากว่าท่านปฏิบัติกสิณส่วนใดส่วนหนึ่งที่เป็นที่ถูกใจของท่าน แล้วก็ทำจริง ๆ ท่านก็เป็นพระอรหันต์ได้ แล้วก็เป็นได้ง่ายเสียด้วย แล้วผมจะอธิบายให้ฟัง ตอนนี้ไปรู้เรื่องของของกสิณเสียก่อน ประเดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน
ปฐวีกสิณ คือ
กสิณดิน ใช้ดินเป็นวงกสิณ คำว่าว่า กสิณ นี่แปลว่า เครื่องหมายนะครับ รู้ไว้เสียด้วย ประเดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก กสิณ นี่แปลว่า เครื่องหมาย เครื่องหมาย ที่เราจะใช้กสิณ ปฐวีกสิณ ก็คือเอาดินมานั่งมองดู บางท่านก็เอาดินมาปั้นเป็นกลม ๆ ก้อนใหญ่ ๆ มานั่งมอง บางท่านก็กวาดที่ให้เดียนแล้วก็นั่ง พอเหลือดินล้วนก็นั่งมองดู บางท่านก็เอาผ้าทำเป็นสะดึง คือทำกลม ๆ แล้วเอาดินเข้ามาทาแล้วก็มองดู เรื่องจะทำใหญ่โตเพียงใดผมไม่จำกัด เพราะว่าตามแบบใน
วิสุทธิมรรค ท่านบอกว่ากว้างประมาณ 1 คืบครึ่ง แต่ว่าเวลาผมปฏิบัติจริง ๆ ผมไม่ได้ทำอย่างนั้น ผมก็ดูมันส่ง ดินหาที่ไหนก็ได้ เมื่อตั้งใจจับดินก็เอาจิตเข้าไปจับดิน
สำหรับปฐวีกสิณนี่ อานิสงส์กับอานุภาพ ก็ได้แก่เมื่อทำได้ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะทำของอ่อนให้เป็นของแข็งได้ อย่างน้ำอ่อน เราอธิษฐานให้แข็งก็ได้ อากาศอ่อน เราอธิษฐานให้แข็งก็ได้ อย่างที่เขาเดินไปบนอากาศ หรือเดินในน้ำ พอพูดถึงเดินในน้ำนี่ คุณอ่านหนังสือ
ประวัติหลวงพ่อปาน อย่าเอาแบบผมนะ เอานิ้วจิ้มมันแข็ง เอาเท้าวางใหม่ ๆ มันแข็ง พอก้าวลงไปจิตเคลื่อนหน่อยเดียวหล่นตูมมิดหัวเลย
วิธีปฏิบัติในปฐวีกสิณ ท่านก็ให้เอาดินมานั่งดู ผมจะไม่บอกลักษณะ คือมันไม่มีความจำเป็น ดินก็แล้วกัน เมื่อพิจารณาดิน ลืมตามองดูดิน จำเฉพาะสีดินที่เราต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านต้องการดินสีอรุณ ดินสีอรุณก็คือดินมันมีสีแดงได้แก่ขุยปู เวลาที่ปูมันเจาะรูลงไป มันกวาดเอาดินขึ้นมานั่นเหละสีแดง ๆ นั่นดินสีอรุณ จับดูภาพกสิณ ลืมตาดู จำได้แล้วก็หลับตานึกถึงภาพกสิณ ถ้าจะภาวนาท่านก็ภาวนาว่า ปฐวีกสิณัง แต่ว่าจุดที่มีความสำคัญที่สุดก็คือลมหายใจเข้าออก อันนี้คุณทั้งกันไม่ได้ ถ้าคุณทิ้งผมหายใจเข้าออกคุณก็พัง ไม่มีทางจะได้อะไรเลย ต้องรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกไปด้วย แล้วก็ภาพ จำภาพกสิณให้ได้ จิตนึกถึงภาพไม่ใช่ภาพ กสิณลอยมาที่หน้า ถ้าบังเอิญมันจะเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่
นี่ผมจะแนะนำวิธีปฏิบัติ เวลาที่เขาปฏิบัติกันจริง ๆ เขาทำแบบนี้นะ คือว่าเขาจะตั้งนิมิตกสิณ ไว้ที่ไหนก็ได้ในที่ที่เหมาะสม เอาไปวางไว้จุดใดจุดหนึ่ง ไปนั่งอยู่ตรงนั้น นั่งท่าไหนก็ได้ผมไม่ห้าม ขี้เกียจนั่งก็นอน นอนไม่สบายก็ยืน ยืนไม่สบายก็เดิน มีผลเท่ากัน อย่าไปฝืนอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปฝีนอิริยาบถล่ะก็ เสร็จถ้าอาการมันเครียดขึ้นมา มันปวดโน่น เจ็บนี่ ก็ยังนั่งทนอยู่ ไม่มีผล อย่าลืมว่า เรามีความเคารพอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทำอะไรทุกอย่างนี่จะต้องเชื่อฟังพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าทำไม่มีผล ท่านเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ในเมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีผล ก็จะไม่มี พระอรหันต์
ฉะนั้นพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าก็ดี เวลานี้ที่ผมกำลังพูดอยู่ก็ดี พระอรหันต์ยังมีอยู่ พระอรหันต์ทุกองค์ปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมครู จำให้ดีนะ อย่าทำตัวดีกว่าพระพุทธเจ้า แล้วการศึกษาน่ะก็ควรจะศึกษาดูเสียก่อนว่า ถ้าเราจะหาครู ก็ดูครูว่าครูน่ะเขาได้แล้วหรือยัง เป็นพระอริยเจ้าแล้วหรือยัง สำหรับครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผมนะ เดี๋ยวคุณจะนึกว่า เออ...ผมมาอวดคุณว่าผมเป็นพระอรหันด์ ไม่ใช่ ครูจริง ๆ ก็คือ พระพุทธเจ้า ที่ผมเอามาพูดนี่ มาสอบคุณ แนะนำพวกคุณ ก็เพราะว่าผมเอาของพระพุทธเจ้าท่านมาแนะนำ ไม่ใช่ของผม
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43173800
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 1.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรคาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความจริง คำว่า พระโยคาวจร ก็หมายถึงว่า ท่านที่ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค ทั้งนี้ก็หมายถึงว่าท่านที่ปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานทุกท่าน ด้วยความจริงใจ แต่ทว่าทุกท่านยังปฏิบัติตนยังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า พระโยคาวจร แปลว่า ท่านผู้ประกอบความดีเพื่อความประเสริฐ เป็นอันว่าขอท่านทั้งหลายที่เข้ามาปฏิบัติพระกรรรมฐาน พระก็ดี เณรก็ดี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ดี ขอท่านจงรู้ตัวว่าเวลานี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงเรียกว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตนเพื่อความเป็นพระ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า คำพระจริง ๆ นั่นก็คือ พระพุทธเจ้าพระยอมรับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาบันเพียงใด ท่านยังไม่เรียกว่าพระ แต่ว่าทุกท่านที่ปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยควานจริงใจ ตั้งใจจริง มีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจทรงสมาธิให้ตั้งมั่น ตั้งใจรักษาปัญญาให้แจ่มใส รู้เท่าทันความเป็นจริง แต่ว่ายังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค ก็ควรจะภูมิใจว่าเราอยู่ในเขตของความดี คือเราอยู่ในเขตของคนดี แต่ว่าเราจะดีมากจะดีน้อยนั่นประมาทไม่ได้ ถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็แสดงว่าเราเมื่อนั้น จงจำพระพุทธภาษิตที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อัตตนา โจทยัตตานัง" จงกล่าวโทษโจทก์ความผิดของตนไว้เสมอ คือให้มีความรู้สึกว่าเรายังชั่วอยู่
แล้วมันชั่วตรงไหน ไปนั่งดูนิวรณ์ 5 ว่านิวรณ์ 5 ประการยังมีอาการสิงใจเราอยู่บ้างหรือเปล่า ถ้านิวรณ์ 5 ประการส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือในเวลาใดเวลาหนึ่ง มันเข้ามากวนใจเราได้ แสดงว่าเรายังมีช่องโหว่แห่งความชั่วในด้านฌานโลกีย์ ถ้านิวรณ์ 5 ไม่สามารถจะสิงใจเราใต้ แสดงว่าเราดีขึ้นถึงระดับของผู้ทรงฌาน ทั้งนี้ผมหมายความว่า ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่เรามานั่งปฏิบัติพระกรรมฐาน
แล้วประการที่ 2 ถ้าเราชนะนิวรณ์ 5 แล้ว ก็จงไปมองดู สังโยชน์ 10 ประการ ว่าสั่งโยชน์ 10 ประการนี้ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยังมาข้องอยู่กับอารมณ์ของเรา เรายังเข้าไปติดในส่วนนั้น ถ้าพังโยชน์ 10 ประการข้อใดข้อหนึ่ง ยังสิงอยู่ในสันตานของเราแสดงว่าเรายังไม่ดี ต้องตำหนีใจ ตำหนิตัวของเราเองว่าความดีมันยังไม่พอ
สำหรับวันนี้ผมก็จะขอพูดเรื่อง หมวดของกสิณ เพราะว่าหมวดของอนุสสติจบไปแล้ว สำหรับกสิณนี่มี 10 อย่าง แต่ทว่าผมจะขอธิบาย กสิณในด้านของสุกขวิปัสสโก แต่ทว่าบังเอิญท่านผู้ใด จะมีวิริยะอุตสาหะ ทำคนเข้าถึงวิชชาสาม เขตของวิชชาสามและอภิญญา 6 อันนี้ผมก็โมทนา และการแนะนำนี่ขอแนะนำในขั้นสุกขวิปัสสโกเท่านั้น แต่ก็ไม่แน่นักนะ หากว่าบุญวาสนารมีท่านเคยฝึกมาในชาติก่อนก็ดี แต่ว่าชาตินี้ถ้ามีความมั่นคงในธารมณ์ที่ทรงอยู่ในด้านกสิณ การปฏิบัติกสิณหมายถึงว่าต้องการสุกขวิปัสสโก ดีไม่ดีท่านก็ไปเข้าเขตของวิชชาสามและอภิญญา 6 ก็ได้ แต่ว่า ปฏิสัมภิทาญาณยังไม่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณนี่จะต้องปฏิบัติตามที่สอนมาแล้ว นั่นก็คือให้ได้สมาบัติ 8
ตอนนี้จะขอพูดถึงเรื่องของกสิณก่อน คือ ชื่อของกสิณและอาการของกสิณ ขอให้ถือว่าเป็นการศึกษา เวลาปฏิบัติจริงอารมณ์ของท่านทรงอยู่ในอะไรมั่นคงแล้วปฏิบัติตามนั้น ไม่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผม เพราะว่าผมจะต้องสอนให้หมด กรรมฐาน 40
สำหรับกสิณนี้ จะขอสอนรวบ ถ้าแยกก็ไม่มีความจำเป็น เพราะมีผลเสมอกันชื่อของกสิณก็คือ
1. ปฐวีกสิณ กสิณนี้มี ดิน เป็นพื้นฐาน
2. อาโปกสิณ กสิณข้อนี้มี น้ำ เป็นพื้นฐาน
3. เตโชกสิณ กสิณข้อนี้มี ไฟ เป็นพื้นฐาน
4. วาโยกสิณ กสิณข้อนี้มี ลม เป็นพื้นฐาน
5. โลหิตกสิณ กสิณข้อนี้มี สีแดง เป็นพื้นฐาน
6. ปีตกสิณ กสิณข้อนี้มี สีเหลือง เป็นพื้นฐาน
7.นีลกสิณ กสิณข้อนี้มี สีเขียว เป็นพื้นฐาน
8.โอทาตกสิณ กสิณข้อนี้มี สีขาว เป็นพื้นฐาน
9.อากาสกสิณ กสิณข้อนี้มี อากาศ คือ ความว่างเป็นพื้นฐาน และก็
10. อาโลกกสิณ กสิณข้อนี้มี แสงสว่าง เป็นพื้นฐาน
เป็นอันว่ากสิณที่เราจะต้องปฏิบัติมี 10 อย่างด้วยกัน วันนี้ผมจะขออธิบายโดยย่อ เพื่อให้เข้าใจถึงพื้นฐานของกสิณเสียก่อน ความจริงถ้าหากว่าท่านปฏิบัติกสิณส่วนใดส่วนหนึ่งที่เป็นที่ถูกใจของท่าน แล้วก็ทำจริง ๆ ท่านก็เป็นพระอรหันต์ได้ แล้วก็เป็นได้ง่ายเสียด้วย แล้วผมจะอธิบายให้ฟัง ตอนนี้ไปรู้เรื่องของของกสิณเสียก่อน ประเดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน
ปฐวีกสิณ คือ กสิณดิน ใช้ดินเป็นวงกสิณ คำว่าว่า กสิณ นี่แปลว่า เครื่องหมายนะครับ รู้ไว้เสียด้วย ประเดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก กสิณ นี่แปลว่า เครื่องหมาย เครื่องหมาย ที่เราจะใช้กสิณ ปฐวีกสิณ ก็คือเอาดินมานั่งมองดู บางท่านก็เอาดินมาปั้นเป็นกลม ๆ ก้อนใหญ่ ๆ มานั่งมอง บางท่านก็กวาดที่ให้เดียนแล้วก็นั่ง พอเหลือดินล้วนก็นั่งมองดู บางท่านก็เอาผ้าทำเป็นสะดึง คือทำกลม ๆ แล้วเอาดินเข้ามาทาแล้วก็มองดู เรื่องจะทำใหญ่โตเพียงใดผมไม่จำกัด เพราะว่าตามแบบใน วิสุทธิมรรค ท่านบอกว่ากว้างประมาณ 1 คืบครึ่ง แต่ว่าเวลาผมปฏิบัติจริง ๆ ผมไม่ได้ทำอย่างนั้น ผมก็ดูมันส่ง ดินหาที่ไหนก็ได้ เมื่อตั้งใจจับดินก็เอาจิตเข้าไปจับดิน
สำหรับปฐวีกสิณนี่ อานิสงส์กับอานุภาพ ก็ได้แก่เมื่อทำได้ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะทำของอ่อนให้เป็นของแข็งได้ อย่างน้ำอ่อน เราอธิษฐานให้แข็งก็ได้ อากาศอ่อน เราอธิษฐานให้แข็งก็ได้ อย่างที่เขาเดินไปบนอากาศ หรือเดินในน้ำ พอพูดถึงเดินในน้ำนี่ คุณอ่านหนังสือ ประวัติหลวงพ่อปาน อย่าเอาแบบผมนะ เอานิ้วจิ้มมันแข็ง เอาเท้าวางใหม่ ๆ มันแข็ง พอก้าวลงไปจิตเคลื่อนหน่อยเดียวหล่นตูมมิดหัวเลย
วิธีปฏิบัติในปฐวีกสิณ ท่านก็ให้เอาดินมานั่งดู ผมจะไม่บอกลักษณะ คือมันไม่มีความจำเป็น ดินก็แล้วกัน เมื่อพิจารณาดิน ลืมตามองดูดิน จำเฉพาะสีดินที่เราต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านต้องการดินสีอรุณ ดินสีอรุณก็คือดินมันมีสีแดงได้แก่ขุยปู เวลาที่ปูมันเจาะรูลงไป มันกวาดเอาดินขึ้นมานั่นเหละสีแดง ๆ นั่นดินสีอรุณ จับดูภาพกสิณ ลืมตาดู จำได้แล้วก็หลับตานึกถึงภาพกสิณ ถ้าจะภาวนาท่านก็ภาวนาว่า ปฐวีกสิณัง แต่ว่าจุดที่มีความสำคัญที่สุดก็คือลมหายใจเข้าออก อันนี้คุณทั้งกันไม่ได้ ถ้าคุณทิ้งผมหายใจเข้าออกคุณก็พัง ไม่มีทางจะได้อะไรเลย ต้องรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกไปด้วย แล้วก็ภาพ จำภาพกสิณให้ได้ จิตนึกถึงภาพไม่ใช่ภาพ กสิณลอยมาที่หน้า ถ้าบังเอิญมันจะเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่
นี่ผมจะแนะนำวิธีปฏิบัติ เวลาที่เขาปฏิบัติกันจริง ๆ เขาทำแบบนี้นะ คือว่าเขาจะตั้งนิมิตกสิณ ไว้ที่ไหนก็ได้ในที่ที่เหมาะสม เอาไปวางไว้จุดใดจุดหนึ่ง ไปนั่งอยู่ตรงนั้น นั่งท่าไหนก็ได้ผมไม่ห้าม ขี้เกียจนั่งก็นอน นอนไม่สบายก็ยืน ยืนไม่สบายก็เดิน มีผลเท่ากัน อย่าไปฝืนอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปฝีนอิริยาบถล่ะก็ เสร็จถ้าอาการมันเครียดขึ้นมา มันปวดโน่น เจ็บนี่ ก็ยังนั่งทนอยู่ ไม่มีผล อย่าลืมว่า เรามีความเคารพอยู่ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทำอะไรทุกอย่างนี่จะต้องเชื่อฟังพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าทำไม่มีผล ท่านเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ในเมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีผล ก็จะไม่มี พระอรหันต์
ฉะนั้นพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าก็ดี เวลานี้ที่ผมกำลังพูดอยู่ก็ดี พระอรหันต์ยังมีอยู่ พระอรหันต์ทุกองค์ปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมครู จำให้ดีนะ อย่าทำตัวดีกว่าพระพุทธเจ้า แล้วการศึกษาน่ะก็ควรจะศึกษาดูเสียก่อนว่า ถ้าเราจะหาครู ก็ดูครูว่าครูน่ะเขาได้แล้วหรือยัง เป็นพระอริยเจ้าแล้วหรือยัง สำหรับครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผมนะ เดี๋ยวคุณจะนึกว่า เออ...ผมมาอวดคุณว่าผมเป็นพระอรหันด์ ไม่ใช่ ครูจริง ๆ ก็คือ พระพุทธเจ้า ที่ผมเอามาพูดนี่ มาสอบคุณ แนะนำพวกคุณ ก็เพราะว่าผมเอาของพระพุทธเจ้าท่านมาแนะนำ ไม่ใช่ของผม
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43173800