ต่อจาก หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 1.1 https://ppantip.com/topic/43173784
กสิณ 10 ตอนที่ 1.2
เมื่อจำภาพดิน ลืมตาจำได้ หลับตานึกถึงภาพดิน จำได้ ประเดี๋ยวมันก็เลือน แต่ว่าถ้าคุณหัดทรงอานาปานุสสติกรรมฐาน จนเป็นฌานแล้วล่ะก็ไม่มีทางล่ะ กสินแต่ละข้อไม่เกิน ๒ วัน จะสำเร็จหมด เรื่องอานาปานุสสติกรรมฐานนี่ผมสอนจนกระทั่งเขี้ยวเหี้ยนไปแล้ว ถ้าฟันผม ถ้าถูกลมที่มันผ่านออกมามันสึกได้ล่ะก็ มันจะต้องเกิดใหม่หลายครั้ง ในการพูดถึงอานาปานุสสติ จับลมหายใจเข้าออกตามสบาย นึกถึงภาพกสิณ มันเลือนขึ้นมา ลืมตาดูใหม่ จำได้ พอรู้สึกว่าจำได้ดี ลุกจากที่นั้นเข้าสู่ที่พัก พอเข้าสู่ที่พักจะนั่งหรือจะนอนก็ตาม จิตนึกถึงภาพดินที่เราจับไว้ได้ วันแรก ๆ ก็ได้มั่งไม่ได้มั่ง แต่ความจริงกสิณนี้ทำง่ายเพราะเป็นกรรมฐานหยาบ การปฏิบัติกสิณนี่ง่ายกว่าทุกอย่าง เมื่อปฏิบัติไปแล้วเมื่อจิตจับภาพนี้ได้ จำได้เป็นปกติ ท่านเรียกว่าเริ่มต้นเป็น
อุคคหนิมิต
คำว่า
อุคคหนิมิต แปลว่า
นิมิตติดตา แต่ผมจะจะขอบอกว่าเป็น
นิมิตติตใจ เวลานั้นเราหลับตา แล้วก็จงฝึกทั้งหลับตาและลืมตา ให้นึกถึงภาพกสิณนั้นไว้เป็นปกติ จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ไปไหน มาไหน กินข้าวอยู่ ขี้อยู่ เยี่ยวอยู่ก็ตาม ไอ้ไปขี้ไปเยี่ยวนี่บางอาจารย์เขาสอนว่า เขาห้ามนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เขาบอกว่าบาป ผมว่าอาจารย์นั่นมันไม่ใช่อาจารย์น่ะ ไม่ใช่จานมันเป็นกะละมัง พระพุทธเจ้าไม่ให้บอก พระพุทธเจ้าบอกว่า
จงอย่าว่างจากสติสัมปชัญญะ ที่เราทรงความดี บังเอิญถ้าเราเป็นโรคอหิวาห์หรือไทฟอยด์ กำลังขี้เวลานั้นมันตายทำยังไง เราจะตายเพราะจิตว่าง หรือว่าจะตายเพราะจิตทรงความดี จิตว่างคือว่างจากความดี เราก็ควรจะตายที่จิตมันกำลังทรงความดี ฉะนั้นทุกระยะจุดที่ที่เราจะพึงทำ ในเมื่อยังมีความรู้สึกคือตื่นอยู่ ให้นึกถึงภาพกสินนั้นนั้นเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปฐวีกสิณ อย่าลืมมะว่าผมจะแนะนำท่านละเอียดเพียงแค่กสิณเดียว นอกนั้นก็จะแนะนำเพียงอาการเท่านั้น
ในเมื่อภาพกสิณนี่เราจำได้ในภาพเดิม เมื่อเอาจิตจับไว้เสมอ เดินไปเดินมา นั่งอยู่ นึกขึ้นมาเมื่อไร นึกถึงภาพกสิณอยู่เสมอ แล้วหนัก ๆ เข้าภาพกสิณจะมีอาการชัดขึ้นตามลำดับ ไอ้การชัดขึ้นนี่แสดงว่าจิตมีสมาธิสูงขึ้น มีความตั้งมั่นดีขึ้น ภาพก็ชัด เมื่อภาพชัดขึ้นตามลำดับ หนัก ๆ เข้าเราจะนึกให้ภาพนี้อยู่ที่สูงก็ได้ อยู่ที่ต่ำก็ได้ อยู่ข้างหน้าข้างหลังก็ได้ อยู่ข้าง ๆ ก็ได้ ขึ้นข้างบนก็ได้ ข้างล่างก็ได้ ต่ำได้ สูงได้ ซ้ายก็ได้ ขวาได้ ให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ อย่างนี้ยังชื่อว่าเป็น อุคคหนิมิต อันดับขั้นที่ 2 ดีขึ้นอีกหน่อย
แล้วต่อไป ๆ พิจารณาไป เพ่งภาพนี้ไป กสิณภาพดินที่เราเห็นมันจะกลายสีจากสีดินที่เราเห็น มันจะสีอะไรก็ช่าง ผมไม่ถือ ตามแบบท่านบอกว่าต้องเป็นสีอรุณ แต่เวลาที่ผมทำจริง ๆ ผมฉะมันดะ สีอะไรก็ได้ มันสีดินก็แล้วกัน ไอ้ทำแบบผมนี่มันก็น่าก็จะบวม ๆ ไปนิดนะ แต่ผมถือว่ากสิณทั้งหมดนี่ท่านต้องการให้เอาจิตจับภาพ คือจับภาพให้ทรงจิต จิตทรงตัว ผมเลยไม่ถือ ผมว่าดะ
แล้วต่อไปภาพกสิณ ปฐวีกสิณ คือกสิณดินที่เราเห็น มันจะกลาย ค่อย ๆ กลาย ค่อย ๆ ขาวนวลขึ้นมา แทนที่จะเป็นสีเดิม จากนวลจนขาวมาทีละน้อย ๆ ๆ จนกระทั่งขาวพรึ่บหมด ชาวหมดทั้งดวง แทนที่จะเป็นสีดินเดิมกลับเป็นสีขาว...ขาวใส ยิ่งใสเท่าใดก็ยิ่งดี ใสขาวใส เรานึกให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ สูงก็ได้ ต่ำก็ได้ ทรงอยู่นานเท่าไรก็ได้ อย่าลืมนะ อีตอนนี้เล่นกสินนี่มันต้องเล่นกันจริง ๆ เพราะว่าเขาเล่นกันเพื่อวิชชาสาม และอภิญญาหก แต่ว่าผลนั่นก็คือ เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ได้ง่าย คนที่เล่นกสิณจริง ๆ นี่ โดยมากถ้าอย่างเลวที่สุด จิตหยาบ จะอยู่แค่พระโสดาบันไม่เกิน 7 วัน แล้วในที่สุดจิตก็จะพุ่งเข้าไปหาความเป็นอรหันต์ทันที
ตามที่ผมเคยบอกกับท่านว่า เวลาภาวนาว่า
พุทโธ จับภาพพระพุทธให้ทรงตัว เดินไปไหนมาไหนนึกถึงภาพพระพุทธอยู่เรื่อย นั่นก็เป็นกสิณ เป็น
ปีตกสิณ
ถ้าสีเหลืองเบ็น
ปีตกสิณ ควบกับ พุทธานุสสติ
ถ้าพระพุทธสีขาว เป็น
โอทาตกสิณ ควบกับ
พุทธานุสสติ
ถ้าพระพุทธรูปเป็นสีเขียวอย่างพระแก้ว เป็น
นีลกสิณ ควบกับ
พุทธานุสสติ โอ๊ะ ได้กำไรเยอะแยะ ไอ้เรื่องนี้มันเรื่องไม่ยาก
ที่นี่พอถ้าจิตของเราจับกสิณขาวผ่องใสแจ๋ว ใสแจ๋ว มองแล้วขาวพรึ่บ หนาตื้บใสสะอาดดี นั่นแสคงว่าขณะนั้นจิตของท่านเข้าเป็นฌาน พอขาวเต็มที่เรียกว่ายังเป็น
อุปจารฌาน นะ หรือ
อุปจารนิมิต อุปจารนิมิตก็คืออุปจารฌาน ยังขาวทึบพอใสเป็นแก้วเริ่มใสเป็นแก้ว เริ่มเป็นถาน ถ้าเป็นแก้วใสสะอาดจริง ๆ เต็มที่ก็เป็นฌาน 4 ตอนนี้ต้องสังเกตอารมณ์ ว่าขณะใดที่เราเห็นภาพกสิณใสเป็นแก้ว ขณะนั้นหูเราไม่รำคาญเสียง ยังภาวนาด้วยนะ ภาวนาว่า ปฐวีกสิณัง ภาวนาไปอย่างนั้นแล้วก็หูไม่รำคาญในสียง เสียงตึงตัง โครมคราม เอะอะโวยวาย ใครเขาคุยอะไร เราดำเด่อกัน ก็ช่างเขา เราจับภาพกสิณได้เป็นปกติ อย่างนี้เป็นอาการของ ปฐมฌาน
ถ้าจับภาพใสเป็นแก้ว จิตมีความสบายเอิบอิ่มลืมภาวนา อาการอย่างนี้เป็น
ฌานที่ 2
เห็นใสเป็นแก้วสะอาดยิ่งขึ้น ความเอิบอิ่มหายไป ใจดิ่ง มีความรู้สึกเหมือนกับตัวใครเขามัดไว้จนแน่น หูได้ยินภายนอกแว่ว ๆ ลมหายใจเบาน้อย ๆ ใจทรงตัวไม่อยากจะเคลื่อนไหว นี่เป็นอาการของ
ฌานที่ 3 กสิณจะสวยขึ้น
นี้ถ้ากสิณเป็นประกายใสละอาดเหมือนกับแก้วบาง หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ไม่รู้สึกลมหายใจ แต่ภาพกสิณที่เราเห็นนั้นใสสะอาดผ่องใส ชื่นใจ อารมณ์ตั้งตรงดิ่งไม่ขยับซ้ายขยับขวา จิตจับอยู่เฉพาะภาพกสิณ จ้องอยู่เฉพาะภาพกสิณเป็นปกติ ลืมตาก็เหมือนกัน หลับตาก็เหมือนกัน มันเห็นทางใจนะ จะเอาลูกตาไปดูไม่ได้ เวลาปฏิบัติต้องปฏิบัติให้คล่องทั้งหลับตาและลืมตา เดินไปไปเดินมา อยู่ไกลภาพกสิณ ไปทางไหน นึกมาเมื่อไรเห็นภาพกสิณใสผ่องใส อย่างนี้เป็น
ฌานที่ 4 จบ
พอถึงฌานที่ 4 ก็จบกสิณกองนั้น นี่ว่ากันถึงเรื่องกสิณก่อนนะ อันนี้เวลาที่ปฏิบัติกสิณนี่ สมมุติว่าท่านปฏิบัติในปฐวีกสิณ กสิณดิน สีดินที่ท่านมองในขณะนั้นเป็นสีอะไร ท่านจงจำไว้ให้ดีว่าอย่าให้จิตของท่านคลาดจากสีนั้น บางทีเรามองดิน สีแดงแลบเข้ามาแทน สีเขียวเข้ามาแทน สีเหลืองเข้ามาแทน สีอะไรก็ตาม ถ้านอกจากสีนั้นเขาเรียกกันว่า
กสิณโทษ อันนี้ต้องจำให้ดีนะ เรื่องกสินโทษ ถ้าสีแดงโผล่เข้ามา เราจับแดง สีเขียวเข้ามา เราจับเขียว ท่านทำไปอีกกี่แสนชาติมันก็ไม่ได้ เพราะว่านั่นมันเป็นการทดลอง ถูกสอบด้วยอารมณ์ของนิวรณ์ ที่เรียกกันว่า
อุทธัจจะ อุทธัจจะ หมายความว่ากำลังใจของเราไม่มั่นคง อะไรเข้ามาเราก็จับ ใช้ไม่ได้ อะไรเข้ามาก็ตาม เราต้องตัดทิ้งไปทันที ฉันต้องการสีเดียวคือ ปฐวีกสิณ นี่ เป็นรูปเดิมนะ
ถ้าเราก้าวเข้าไปถึงอุปจารสมาธิขั้น 3 อุปจารสมาธิขั้นแรกจำได้ในสภาพเดิม สมาธิขั้น 2 รูปร่างในสภาพเดิม แต่บังคับให้สูงให้ ใหญ่ได้ เล็กได้ ต่ำได้ อยู่ข้างหน้าได้ ข้างหลังได้ ถ้าอุปจารสมาธิขั้น 3 กสิณจะขาว ขาวตอนนี้ขึ้นมาอย่าดันไปนึกว่าเป็นกสิณโทษเสียล่ะ กสิณสีมันจะต้องคลายเป็นสีนวลน้อย ๆ เคลื่อนเข้าไป ๆ ขาวหนักเข้าไป ๆ จนกระทั่งขาวหนาทึบใหญ่ นึกขึ้นเมื่อไรเห็นกสิณเป็นภาพขาว อย่านึกว่าเป็นโอทาตกสิณนะ อย่างนี้เป็น
อุปจารสมาธิขั้นสูง
ถ้าถึงอุปจารสมาธิตอนนี้ ฝึกทิพพจักขุญาณได้ง่าย ผมยังไม่อธิบาย ไปดูแบบแล้วต่อไปถ้าเริ่มใสเป็นแก้วน้อย ๆ ตอนนี้ต้องเริ่มจับอารมณ์ไปด้วย ที่เป็นอุปจารสมาธิ มันมีอาการชื่นใจ เอิบอิ่มผ่องใส พอถึงเป็นแก้วน้อย ๆ หูจะไม่รำคาญเสียงภายนอก จำให้ดีนะ ลมหายใจจะเบา ใจจะสบายยิ่งขึ้น อารมณ์จะทรงตัวดี
พอถึงฌาน 2 คำภาวนาหายไป ใจชุ่มชื่นมากขึ้น ภาพกสิณใสขึ้น
พอถึงฌาน 3 ลมหายใจเหลือนิดเดียว หูได้ยินเสียงแว่ว ๆ อาการทรงตัวแน่นหนามาก เหมือนกับหลักปักในดินแน่น ๆ
ถ้าถึงฌานที่ 4 ไม่รู้สึกว่าเราหายใจ กสิณแจ่มใสจะมีอาการทรงตัว ฌานที่ 4 มี 2 ลักษณะ คือ
เอกัคคตา กับ
อุเบกขา มีความโพรงสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นี่เป็นลักษณะของอาการฌานที่ 4 ของกสิณ
ที่ผมย้อนกลับเข้ามานี่ ผมอยากจะให้ท่านรู้ว่าอย่าไปหลงในกสิณโทษ จับดินแล้วสีแดงเข้ามาแทน สีเหลืองเข้ามาแทน มันแจ่มใสกว่า เราบอกว่า เอ๊ะ มันดีกว่านี่ เอานี่ดีกว่า เอาสีนั้นมา ประเดี๋ยวสีอื่นก็มา ถ้าไปจับเขาสีอื่นเข้ามาแทน ก็แสดงว่านั่นท่านถูกนิวรณ์ คือความชั่วของจิตเล่นงานเสียแล้ว ผลที่ท่านเจริญกสิณ พัง อย่าไปนึกว่าดีนะ พัง หมดสภาพ
เอาล่ะสำหรับวันนี้ ก็จะขอพูดในการปฏิบัติ ปฐวีกสิณ แล้วเราควรจะอธิบายอานุภาพกันบ้างไหม ว่าทำยังไงมันจึงจะมีฤทธิ์ เอาล่ะ ผมจะว่าให้ฟังในวันพรุ่งนี้ สำหรับเวลานี้หมดเวลาเสียแล้วนี่ขอรับ ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น จงใช้คำภาวนาก็ได้ พิจารณาก็ได้ ในกรรมฐานที่ท่านมีความชำนาญแล้ว จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าเวลานั้นสมควร
สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 1.2
กสิณ 10 ตอนที่ 1.2
เมื่อจำภาพดิน ลืมตาจำได้ หลับตานึกถึงภาพดิน จำได้ ประเดี๋ยวมันก็เลือน แต่ว่าถ้าคุณหัดทรงอานาปานุสสติกรรมฐาน จนเป็นฌานแล้วล่ะก็ไม่มีทางล่ะ กสินแต่ละข้อไม่เกิน ๒ วัน จะสำเร็จหมด เรื่องอานาปานุสสติกรรมฐานนี่ผมสอนจนกระทั่งเขี้ยวเหี้ยนไปแล้ว ถ้าฟันผม ถ้าถูกลมที่มันผ่านออกมามันสึกได้ล่ะก็ มันจะต้องเกิดใหม่หลายครั้ง ในการพูดถึงอานาปานุสสติ จับลมหายใจเข้าออกตามสบาย นึกถึงภาพกสิณ มันเลือนขึ้นมา ลืมตาดูใหม่ จำได้ พอรู้สึกว่าจำได้ดี ลุกจากที่นั้นเข้าสู่ที่พัก พอเข้าสู่ที่พักจะนั่งหรือจะนอนก็ตาม จิตนึกถึงภาพดินที่เราจับไว้ได้ วันแรก ๆ ก็ได้มั่งไม่ได้มั่ง แต่ความจริงกสิณนี้ทำง่ายเพราะเป็นกรรมฐานหยาบ การปฏิบัติกสิณนี่ง่ายกว่าทุกอย่าง เมื่อปฏิบัติไปแล้วเมื่อจิตจับภาพนี้ได้ จำได้เป็นปกติ ท่านเรียกว่าเริ่มต้นเป็น อุคคหนิมิต
คำว่า อุคคหนิมิต แปลว่า นิมิตติดตา แต่ผมจะจะขอบอกว่าเป็น นิมิตติตใจ เวลานั้นเราหลับตา แล้วก็จงฝึกทั้งหลับตาและลืมตา ให้นึกถึงภาพกสิณนั้นไว้เป็นปกติ จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ไปไหน มาไหน กินข้าวอยู่ ขี้อยู่ เยี่ยวอยู่ก็ตาม ไอ้ไปขี้ไปเยี่ยวนี่บางอาจารย์เขาสอนว่า เขาห้ามนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เขาบอกว่าบาป ผมว่าอาจารย์นั่นมันไม่ใช่อาจารย์น่ะ ไม่ใช่จานมันเป็นกะละมัง พระพุทธเจ้าไม่ให้บอก พระพุทธเจ้าบอกว่า จงอย่าว่างจากสติสัมปชัญญะ ที่เราทรงความดี บังเอิญถ้าเราเป็นโรคอหิวาห์หรือไทฟอยด์ กำลังขี้เวลานั้นมันตายทำยังไง เราจะตายเพราะจิตว่าง หรือว่าจะตายเพราะจิตทรงความดี จิตว่างคือว่างจากความดี เราก็ควรจะตายที่จิตมันกำลังทรงความดี ฉะนั้นทุกระยะจุดที่ที่เราจะพึงทำ ในเมื่อยังมีความรู้สึกคือตื่นอยู่ ให้นึกถึงภาพกสินนั้นนั้นเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปฐวีกสิณ อย่าลืมมะว่าผมจะแนะนำท่านละเอียดเพียงแค่กสิณเดียว นอกนั้นก็จะแนะนำเพียงอาการเท่านั้น
ในเมื่อภาพกสิณนี่เราจำได้ในภาพเดิม เมื่อเอาจิตจับไว้เสมอ เดินไปเดินมา นั่งอยู่ นึกขึ้นมาเมื่อไร นึกถึงภาพกสิณอยู่เสมอ แล้วหนัก ๆ เข้าภาพกสิณจะมีอาการชัดขึ้นตามลำดับ ไอ้การชัดขึ้นนี่แสดงว่าจิตมีสมาธิสูงขึ้น มีความตั้งมั่นดีขึ้น ภาพก็ชัด เมื่อภาพชัดขึ้นตามลำดับ หนัก ๆ เข้าเราจะนึกให้ภาพนี้อยู่ที่สูงก็ได้ อยู่ที่ต่ำก็ได้ อยู่ข้างหน้าข้างหลังก็ได้ อยู่ข้าง ๆ ก็ได้ ขึ้นข้างบนก็ได้ ข้างล่างก็ได้ ต่ำได้ สูงได้ ซ้ายก็ได้ ขวาได้ ให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ อย่างนี้ยังชื่อว่าเป็น อุคคหนิมิต อันดับขั้นที่ 2 ดีขึ้นอีกหน่อย
แล้วต่อไป ๆ พิจารณาไป เพ่งภาพนี้ไป กสิณภาพดินที่เราเห็นมันจะกลายสีจากสีดินที่เราเห็น มันจะสีอะไรก็ช่าง ผมไม่ถือ ตามแบบท่านบอกว่าต้องเป็นสีอรุณ แต่เวลาที่ผมทำจริง ๆ ผมฉะมันดะ สีอะไรก็ได้ มันสีดินก็แล้วกัน ไอ้ทำแบบผมนี่มันก็น่าก็จะบวม ๆ ไปนิดนะ แต่ผมถือว่ากสิณทั้งหมดนี่ท่านต้องการให้เอาจิตจับภาพ คือจับภาพให้ทรงจิต จิตทรงตัว ผมเลยไม่ถือ ผมว่าดะ
แล้วต่อไปภาพกสิณ ปฐวีกสิณ คือกสิณดินที่เราเห็น มันจะกลาย ค่อย ๆ กลาย ค่อย ๆ ขาวนวลขึ้นมา แทนที่จะเป็นสีเดิม จากนวลจนขาวมาทีละน้อย ๆ ๆ จนกระทั่งขาวพรึ่บหมด ชาวหมดทั้งดวง แทนที่จะเป็นสีดินเดิมกลับเป็นสีขาว...ขาวใส ยิ่งใสเท่าใดก็ยิ่งดี ใสขาวใส เรานึกให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ สูงก็ได้ ต่ำก็ได้ ทรงอยู่นานเท่าไรก็ได้ อย่าลืมนะ อีตอนนี้เล่นกสินนี่มันต้องเล่นกันจริง ๆ เพราะว่าเขาเล่นกันเพื่อวิชชาสาม และอภิญญาหก แต่ว่าผลนั่นก็คือ เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ได้ง่าย คนที่เล่นกสิณจริง ๆ นี่ โดยมากถ้าอย่างเลวที่สุด จิตหยาบ จะอยู่แค่พระโสดาบันไม่เกิน 7 วัน แล้วในที่สุดจิตก็จะพุ่งเข้าไปหาความเป็นอรหันต์ทันที
ตามที่ผมเคยบอกกับท่านว่า เวลาภาวนาว่า พุทโธ จับภาพพระพุทธให้ทรงตัว เดินไปไหนมาไหนนึกถึงภาพพระพุทธอยู่เรื่อย นั่นก็เป็นกสิณ เป็น ปีตกสิณ
ถ้าสีเหลืองเบ็น ปีตกสิณ ควบกับ พุทธานุสสติ
ถ้าพระพุทธสีขาว เป็น โอทาตกสิณ ควบกับ พุทธานุสสติ
ถ้าพระพุทธรูปเป็นสีเขียวอย่างพระแก้ว เป็น นีลกสิณ ควบกับ พุทธานุสสติ โอ๊ะ ได้กำไรเยอะแยะ ไอ้เรื่องนี้มันเรื่องไม่ยาก
ที่นี่พอถ้าจิตของเราจับกสิณขาวผ่องใสแจ๋ว ใสแจ๋ว มองแล้วขาวพรึ่บ หนาตื้บใสสะอาดดี นั่นแสคงว่าขณะนั้นจิตของท่านเข้าเป็นฌาน พอขาวเต็มที่เรียกว่ายังเป็น อุปจารฌาน นะ หรือ อุปจารนิมิต อุปจารนิมิตก็คืออุปจารฌาน ยังขาวทึบพอใสเป็นแก้วเริ่มใสเป็นแก้ว เริ่มเป็นถาน ถ้าเป็นแก้วใสสะอาดจริง ๆ เต็มที่ก็เป็นฌาน 4 ตอนนี้ต้องสังเกตอารมณ์ ว่าขณะใดที่เราเห็นภาพกสิณใสเป็นแก้ว ขณะนั้นหูเราไม่รำคาญเสียง ยังภาวนาด้วยนะ ภาวนาว่า ปฐวีกสิณัง ภาวนาไปอย่างนั้นแล้วก็หูไม่รำคาญในสียง เสียงตึงตัง โครมคราม เอะอะโวยวาย ใครเขาคุยอะไร เราดำเด่อกัน ก็ช่างเขา เราจับภาพกสิณได้เป็นปกติ อย่างนี้เป็นอาการของ ปฐมฌาน
ถ้าจับภาพใสเป็นแก้ว จิตมีความสบายเอิบอิ่มลืมภาวนา อาการอย่างนี้เป็น ฌานที่ 2
เห็นใสเป็นแก้วสะอาดยิ่งขึ้น ความเอิบอิ่มหายไป ใจดิ่ง มีความรู้สึกเหมือนกับตัวใครเขามัดไว้จนแน่น หูได้ยินภายนอกแว่ว ๆ ลมหายใจเบาน้อย ๆ ใจทรงตัวไม่อยากจะเคลื่อนไหว นี่เป็นอาการของ ฌานที่ 3 กสิณจะสวยขึ้น
นี้ถ้ากสิณเป็นประกายใสละอาดเหมือนกับแก้วบาง หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ไม่รู้สึกลมหายใจ แต่ภาพกสิณที่เราเห็นนั้นใสสะอาดผ่องใส ชื่นใจ อารมณ์ตั้งตรงดิ่งไม่ขยับซ้ายขยับขวา จิตจับอยู่เฉพาะภาพกสิณ จ้องอยู่เฉพาะภาพกสิณเป็นปกติ ลืมตาก็เหมือนกัน หลับตาก็เหมือนกัน มันเห็นทางใจนะ จะเอาลูกตาไปดูไม่ได้ เวลาปฏิบัติต้องปฏิบัติให้คล่องทั้งหลับตาและลืมตา เดินไปไปเดินมา อยู่ไกลภาพกสิณ ไปทางไหน นึกมาเมื่อไรเห็นภาพกสิณใสผ่องใส อย่างนี้เป็น ฌานที่ 4 จบ
พอถึงฌานที่ 4 ก็จบกสิณกองนั้น นี่ว่ากันถึงเรื่องกสิณก่อนนะ อันนี้เวลาที่ปฏิบัติกสิณนี่ สมมุติว่าท่านปฏิบัติในปฐวีกสิณ กสิณดิน สีดินที่ท่านมองในขณะนั้นเป็นสีอะไร ท่านจงจำไว้ให้ดีว่าอย่าให้จิตของท่านคลาดจากสีนั้น บางทีเรามองดิน สีแดงแลบเข้ามาแทน สีเขียวเข้ามาแทน สีเหลืองเข้ามาแทน สีอะไรก็ตาม ถ้านอกจากสีนั้นเขาเรียกกันว่า กสิณโทษ อันนี้ต้องจำให้ดีนะ เรื่องกสินโทษ ถ้าสีแดงโผล่เข้ามา เราจับแดง สีเขียวเข้ามา เราจับเขียว ท่านทำไปอีกกี่แสนชาติมันก็ไม่ได้ เพราะว่านั่นมันเป็นการทดลอง ถูกสอบด้วยอารมณ์ของนิวรณ์ ที่เรียกกันว่า อุทธัจจะ อุทธัจจะ หมายความว่ากำลังใจของเราไม่มั่นคง อะไรเข้ามาเราก็จับ ใช้ไม่ได้ อะไรเข้ามาก็ตาม เราต้องตัดทิ้งไปทันที ฉันต้องการสีเดียวคือ ปฐวีกสิณ นี่ เป็นรูปเดิมนะ
ถ้าเราก้าวเข้าไปถึงอุปจารสมาธิขั้น 3 อุปจารสมาธิขั้นแรกจำได้ในสภาพเดิม สมาธิขั้น 2 รูปร่างในสภาพเดิม แต่บังคับให้สูงให้ ใหญ่ได้ เล็กได้ ต่ำได้ อยู่ข้างหน้าได้ ข้างหลังได้ ถ้าอุปจารสมาธิขั้น 3 กสิณจะขาว ขาวตอนนี้ขึ้นมาอย่าดันไปนึกว่าเป็นกสิณโทษเสียล่ะ กสิณสีมันจะต้องคลายเป็นสีนวลน้อย ๆ เคลื่อนเข้าไป ๆ ขาวหนักเข้าไป ๆ จนกระทั่งขาวหนาทึบใหญ่ นึกขึ้นเมื่อไรเห็นกสิณเป็นภาพขาว อย่านึกว่าเป็นโอทาตกสิณนะ อย่างนี้เป็น อุปจารสมาธิขั้นสูง
ถ้าถึงอุปจารสมาธิตอนนี้ ฝึกทิพพจักขุญาณได้ง่าย ผมยังไม่อธิบาย ไปดูแบบแล้วต่อไปถ้าเริ่มใสเป็นแก้วน้อย ๆ ตอนนี้ต้องเริ่มจับอารมณ์ไปด้วย ที่เป็นอุปจารสมาธิ มันมีอาการชื่นใจ เอิบอิ่มผ่องใส พอถึงเป็นแก้วน้อย ๆ หูจะไม่รำคาญเสียงภายนอก จำให้ดีนะ ลมหายใจจะเบา ใจจะสบายยิ่งขึ้น อารมณ์จะทรงตัวดี
พอถึงฌาน 2 คำภาวนาหายไป ใจชุ่มชื่นมากขึ้น ภาพกสิณใสขึ้น
พอถึงฌาน 3 ลมหายใจเหลือนิดเดียว หูได้ยินเสียงแว่ว ๆ อาการทรงตัวแน่นหนามาก เหมือนกับหลักปักในดินแน่น ๆ
ถ้าถึงฌานที่ 4 ไม่รู้สึกว่าเราหายใจ กสิณแจ่มใสจะมีอาการทรงตัว ฌานที่ 4 มี 2 ลักษณะ คือ เอกัคคตา กับ อุเบกขา มีความโพรงสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ นี่เป็นลักษณะของอาการฌานที่ 4 ของกสิณ
ที่ผมย้อนกลับเข้ามานี่ ผมอยากจะให้ท่านรู้ว่าอย่าไปหลงในกสิณโทษ จับดินแล้วสีแดงเข้ามาแทน สีเหลืองเข้ามาแทน มันแจ่มใสกว่า เราบอกว่า เอ๊ะ มันดีกว่านี่ เอานี่ดีกว่า เอาสีนั้นมา ประเดี๋ยวสีอื่นก็มา ถ้าไปจับเขาสีอื่นเข้ามาแทน ก็แสดงว่านั่นท่านถูกนิวรณ์ คือความชั่วของจิตเล่นงานเสียแล้ว ผลที่ท่านเจริญกสิณ พัง อย่าไปนึกว่าดีนะ พัง หมดสภาพ
เอาล่ะสำหรับวันนี้ ก็จะขอพูดในการปฏิบัติ ปฐวีกสิณ แล้วเราควรจะอธิบายอานุภาพกันบ้างไหม ว่าทำยังไงมันจึงจะมีฤทธิ์ เอาล่ะ ผมจะว่าให้ฟังในวันพรุ่งนี้ สำหรับเวลานี้หมดเวลาเสียแล้วนี่ขอรับ ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น จงใช้คำภาวนาก็ได้ พิจารณาก็ได้ ในกรรมฐานที่ท่านมีความชำนาญแล้ว จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าเวลานั้นสมควร สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics