1. โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า เราไม่ควรวิจารณ์พระธรรมของพระพุทธเจ้า หากเรายังไม่ถึงในธรรมนั้น สมเด็จองค์ปฐม(พระพุทธเจ้าองค์แรก)ท่านทรงตรัสกับพระอริยะท่านหนึ่งว่า
"ผู้ที่ยังไม่ถึงบัญญัตินั้นๆ ก็ย่อมยังไม่เห็นประโยชน์ของบัญญัตินั้นๆ จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จักไปวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ว่ารูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี หรือแม้แต่ธรรมในหมวดต่างๆ หากยังไม่รู้คือยังเข้าไม่ถึง ก็ยังไม่พึงติเตียนธรรมนั้น"
"อรูปฌานใช้ให้เป็นจักมีประโยชน์มาก คือ มีไว้แต่ไม่ติดอยู่ตามนั้น"
"มีอรูปฌานไว้ เป็นอาวุธต่อสู้กับเวทนาของร่างกาย ถ้ารู้จักเพิ่มเติมวิปัสสนาญาณอีกเล็กน้อย ปัญญาก็จักแหลมคม ห้ำหั่นกิเลสได้อย่างมีกำลัง"
"อย่าทิ้งอารมณ์อรูปฌาน ทุกอย่างรู้จักใช้ก็เป็นของดีหมด มีประโยชน์ทั้งหมด ในทุกสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้บัญญัติเข้าไว้"
"อย่าลืม ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนมีประโยชน์ ที่ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะยังไม่เห็นประโยชน์ของเขาต่างหาก"
ดังนั้น ผมจึงคิดว่า การวิจารณ์พระธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น ไม่ควรปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌานหรืออรูปฌานเพราะไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือวิจารณ์ว่าควรตัดส่วนนั้นออก ส่วนนี้ออกจากพระไตรปิฎก ย่อมไม่ใช่เรื่องดี หากผู้นั้นยังเข้าไม่ถึงธรรมเหล่านั้น การกล่าวเช่นนี้ คล้ายเป็นการปรามาส อาจมีผลทำให้ตัวผู้พูดลงนรกโดยตรง(และลงมาเยอะแล้ว)
2. หลักกาลามสูตรนั้น ควรใช้ให้ถูกวิธี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เพื่อทรงสอนชาวกาลามะโดยเฉพาะ เพราะชาวกาลามะมีศรัทธาจริตและโมหะจริตควบคู่กัน คือ เชื่อง่ายเพราะโง่หรือขาดปัญญา ดังนั้น ท่านจึงเน้นให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญเสียก่อน ดังนั้น หากท่านทั้งหลายอยากจะลองใช้หลักกาลามสูตร เพื่อพิสูจน์ เช่น "นิพพานสูญจริงหรือ" สิ่งที่ควรทำคือปฏิบัติจนเกิดปัญญาพอที่จะใคร่ครวญในเรื่องนั้น ก็คือปฏิบัติจนเห็นซึ่งพระนิพพานแล้ว แล้วค่อยใช้ปัญญาใคร่ครวญว่านิพพานสูญจริงหรือ ไม่ใช่ใช้ "ความคิด" ที่มีอยู่ มาใคร่ครวญว่านิพพานสูญจริงหรือ
แต่ทั้งนี้ ท่านไม่ได้เน้นสอนหลักกาลามสูตรกับพุทธบริษัททุกคน เหมือนกรรมฐาน 40 กอง ที่ท่านเลือกสอนตามจริตของแต่ละคน ไม่ได้สอนคนเดียว 40 อย่าง(แต่บางท่านก็ได้ครบ 40 อย่าง) ทุกอย่างที่ท่านสอนล้วนมีประโยชน์ แต่ต้องสอนให้ตรงตามจริตจึงจะมีผลมาก ดังนั้น ผู้ที่เชื่อตามที่พระพุทธท่านกล่าวไว้เลย เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท่านทั้งสองก็ปฏิบัติตตามทันที และเมื่อผ่านไประยะเวลาท่านทั้งสองก็ได้เป็นพระอรหันต์และเป็นพระอัครสาวก ทั้งนี้ เพราะท่านทั้งสองนั้นเป็นพุทธจริต คือฉลาดอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่ได้สอนหลักกาลามสูตรนั่นเอง
3. หยุดเสียดสี ถากถาง พุทธทาสภิกขุเสียเถิด รวมทั้งคนที่คุณไม่ชอบหรือมีความเห็นไม่ตรงกัน การกล่าวโดยมีจิตที่มุ่งทำร้ายกัน ทำให้ผิดกรรมบถ 10 ข้อที่ 5(ปิสุณาย วาจาย เวรมณี) มีผลให้ลงนรกโดยตรง แม้คนที่เราพูดเสียดสีเขาจะผิดจริง พระพุทธเจ้าท่านยังไม่เคยด่าหรือพูดจาเสียดสีกับทั้งพระเทวทัต หรือคนที่มาใส่ร้ายท่าน ทุกคำที่ท่านพูดนั้น ออกมาจากจิตที่บริสุทธิ์ เมตตา เป็นความจริงหนึ่งเดียว ไม่เป็นสอง
ทั้งนี้ กรรมดีของท่านพุทธทาสท่านก็ได้รับไปแล้วเมื่อยังอยู่ในโลกมนุษย์ ส่วนกรรมชั่วท่านพุทธทาสท่านก็กำลังรับอยู่ เราทุกคนล้วยเคยประกอบทั้งกรรมดีและกรรมชั่วมาก่อน ควรเห็นใจซึ่งกันและกัน หากเรารู้สึกไม่พอใจใคร ให้คิดเสียว่า หากเราตายขณะที่เรามีความรู้สึกไม่พอใจ ดินแดนเบื้องหน้าที่เราจะไปก็คือนรกภูมิ หากคิดได้แบบนี้ นอกจากเป็นการปิดประตูนรก ยังเป็นการเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน ทำให้เราเป็นผู้ไม่ประมาท
หมายเหตุ - หากข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยเจ้า พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ด้วยกายหรือวาจาก็ดี ด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ
กาลามสูตร พุทธทาสภิกขุ และการวิจารณ์พระธรรม
"ผู้ที่ยังไม่ถึงบัญญัตินั้นๆ ก็ย่อมยังไม่เห็นประโยชน์ของบัญญัตินั้นๆ จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จักไปวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ว่ารูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี หรือแม้แต่ธรรมในหมวดต่างๆ หากยังไม่รู้คือยังเข้าไม่ถึง ก็ยังไม่พึงติเตียนธรรมนั้น"
"อรูปฌานใช้ให้เป็นจักมีประโยชน์มาก คือ มีไว้แต่ไม่ติดอยู่ตามนั้น"
"มีอรูปฌานไว้ เป็นอาวุธต่อสู้กับเวทนาของร่างกาย ถ้ารู้จักเพิ่มเติมวิปัสสนาญาณอีกเล็กน้อย ปัญญาก็จักแหลมคม ห้ำหั่นกิเลสได้อย่างมีกำลัง"
"อย่าทิ้งอารมณ์อรูปฌาน ทุกอย่างรู้จักใช้ก็เป็นของดีหมด มีประโยชน์ทั้งหมด ในทุกสิ่งที่ตถาคตเจ้าได้บัญญัติเข้าไว้"
"อย่าลืม ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนมีประโยชน์ ที่ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะยังไม่เห็นประโยชน์ของเขาต่างหาก"
ดังนั้น ผมจึงคิดว่า การวิจารณ์พระธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น ไม่ควรปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌานหรืออรูปฌานเพราะไม่ค่อยมีประโยชน์ หรือวิจารณ์ว่าควรตัดส่วนนั้นออก ส่วนนี้ออกจากพระไตรปิฎก ย่อมไม่ใช่เรื่องดี หากผู้นั้นยังเข้าไม่ถึงธรรมเหล่านั้น การกล่าวเช่นนี้ คล้ายเป็นการปรามาส อาจมีผลทำให้ตัวผู้พูดลงนรกโดยตรง(และลงมาเยอะแล้ว)
2. หลักกาลามสูตรนั้น ควรใช้ให้ถูกวิธี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เพื่อทรงสอนชาวกาลามะโดยเฉพาะ เพราะชาวกาลามะมีศรัทธาจริตและโมหะจริตควบคู่กัน คือ เชื่อง่ายเพราะโง่หรือขาดปัญญา ดังนั้น ท่านจึงเน้นให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญเสียก่อน ดังนั้น หากท่านทั้งหลายอยากจะลองใช้หลักกาลามสูตร เพื่อพิสูจน์ เช่น "นิพพานสูญจริงหรือ" สิ่งที่ควรทำคือปฏิบัติจนเกิดปัญญาพอที่จะใคร่ครวญในเรื่องนั้น ก็คือปฏิบัติจนเห็นซึ่งพระนิพพานแล้ว แล้วค่อยใช้ปัญญาใคร่ครวญว่านิพพานสูญจริงหรือ ไม่ใช่ใช้ "ความคิด" ที่มีอยู่ มาใคร่ครวญว่านิพพานสูญจริงหรือ
แต่ทั้งนี้ ท่านไม่ได้เน้นสอนหลักกาลามสูตรกับพุทธบริษัททุกคน เหมือนกรรมฐาน 40 กอง ที่ท่านเลือกสอนตามจริตของแต่ละคน ไม่ได้สอนคนเดียว 40 อย่าง(แต่บางท่านก็ได้ครบ 40 อย่าง) ทุกอย่างที่ท่านสอนล้วนมีประโยชน์ แต่ต้องสอนให้ตรงตามจริตจึงจะมีผลมาก ดังนั้น ผู้ที่เชื่อตามที่พระพุทธท่านกล่าวไว้เลย เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท่านทั้งสองก็ปฏิบัติตตามทันที และเมื่อผ่านไประยะเวลาท่านทั้งสองก็ได้เป็นพระอรหันต์และเป็นพระอัครสาวก ทั้งนี้ เพราะท่านทั้งสองนั้นเป็นพุทธจริต คือฉลาดอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่ได้สอนหลักกาลามสูตรนั่นเอง
3. หยุดเสียดสี ถากถาง พุทธทาสภิกขุเสียเถิด รวมทั้งคนที่คุณไม่ชอบหรือมีความเห็นไม่ตรงกัน การกล่าวโดยมีจิตที่มุ่งทำร้ายกัน ทำให้ผิดกรรมบถ 10 ข้อที่ 5(ปิสุณาย วาจาย เวรมณี) มีผลให้ลงนรกโดยตรง แม้คนที่เราพูดเสียดสีเขาจะผิดจริง พระพุทธเจ้าท่านยังไม่เคยด่าหรือพูดจาเสียดสีกับทั้งพระเทวทัต หรือคนที่มาใส่ร้ายท่าน ทุกคำที่ท่านพูดนั้น ออกมาจากจิตที่บริสุทธิ์ เมตตา เป็นความจริงหนึ่งเดียว ไม่เป็นสอง
ทั้งนี้ กรรมดีของท่านพุทธทาสท่านก็ได้รับไปแล้วเมื่อยังอยู่ในโลกมนุษย์ ส่วนกรรมชั่วท่านพุทธทาสท่านก็กำลังรับอยู่ เราทุกคนล้วยเคยประกอบทั้งกรรมดีและกรรมชั่วมาก่อน ควรเห็นใจซึ่งกันและกัน หากเรารู้สึกไม่พอใจใคร ให้คิดเสียว่า หากเราตายขณะที่เรามีความรู้สึกไม่พอใจ ดินแดนเบื้องหน้าที่เราจะไปก็คือนรกภูมิ หากคิดได้แบบนี้ นอกจากเป็นการปิดประตูนรก ยังเป็นการเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน ทำให้เราเป็นผู้ไม่ประมาท
หมายเหตุ - หากข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยเจ้า พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ด้วยกายหรือวาจาก็ดี ด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอท่านทั้งหลายได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ