อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 12.1
สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย ต่างพากันสมาทานพระกรรมฐาน สมาทานศีลแล้ว ต่อไปขอให้ท่านทั้งหลายปลงใจเช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันที่พระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารนั่งอยู่ที่โคนโพธิ์ หันหลังไปทางต้นโพธิ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า
“นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งไปก็ตามที หรือว่าชีวิตินทรีย์จะตักษัยไปก็ตาม ถ้าเราไม่สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้”
กำลังใจอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทผู้มีความหวังดีซึ่งพระนิพพาน จะต้องทำใจอย่างนี้ทุกขณะที่ปฏิบัติ หรือที่ทรงอารมณ์อยู่ หมายความว่าขณะใดยังมีความรู้สึกอยู่ ขณะนั้นเราจะต้องใช้อารมณ์อย่างนี้เสมอ จะไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงกับความตายที่จะมาบังเกิดขึ้นกับเรา ถือว่าชีวิตเป็นภาวะปกติที่มันเกิดแล้วก็ต้องตาย แต่ถ้าหากว่าเราจะตายกับความบริสุทธิ์ เราจะพอใจมาก ฉะนั้นเสียงก็ดี หรือว่าอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดีจะพึงเกิดขึ้นในขณะที่เราคุมอารมณ์อยู่ คำว่าคุมอารมณ์นี่ผมหมายความว่า “ทั้งวัน” นับตั้งแต่ตื่นยันหลับ จะต้องทรงอารมณ์อย่างนี้ไว้เป็นปกติ เราจะไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ใดๆ ทั้งหมดที่มันจะพึงเกิดขึ้น
ถ้าหากว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์เราก็ถือว่าเป็นกฎธรรมดาที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องประสบอย่างนี้ และการประสบกับความยากลำบากต่างๆ ในชีวิตไม่ใช่มีแต่เรา คนที่เกิดมาแล้วตายไปแล้วทั้งหมดนับไม่ถ้วน เขาประสบมาแล้วเหมือนกัน ในปัจจุบันคนทุกคนในโลกก็ประสบเช่นนั้น ในเมื่อโลกมันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ โลกเป็นทุกขัง ไม่มีอะไรจะทรงความสุขไว้ได้ โลกเป็นอนัตตา ในที่สุดมันก็สลายตัว ในเมื่อสภาวะปกติของมันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นยังไงก็ช่างมัน ถือว่าชีวิตนี้ของเราไม่กี่วันมันก็จะสิ้นซาก ร่างกายจะสลายไป เราจะไปจุดที่เราต้องการ นั่นคือพระนิพพาน แล้วก็ทรงอารมณ์ระงับโลภะ ความโลภ ราคะ ความรัก โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง ไม่ยอมนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว และจะไม่ยอมจะนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่มันยังไม่มาถึง เราจะควบคุมกำลังใจของเราให้ดีที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด เยือกเย็นที่สุดในปัจจุบัน
คำว่า
อารมณ์นี่มันมีปัจจุบันอย่างเดียว ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ความรู้สึกของเรามันมีคำว่า “เดี๋ยวนี้” เป็นปกติ ถ้าเดี๋ยวนี้ของเราดีเสียแล้ว เวลาไหนที่มันจะชั่วมันไม่มี
วันนี้ก็ขอพูดถึง
สกิทาคามีมรรคด้านระงับโทสะ หรือตัดโทสะ แต่เป็นการตัดแบบเบาๆ เพราะว่าพระสกิทาคามี ยังไม่สามารถทำลายราคะ หรือว่าโลภะ หรือว่าโทสะ หรือโมหะได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ดีกว่าพระโสดาบันหน่อย ที่ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความโลภ อยากได้ทรัพย์สินโดยไม่ชอบธรรมก็ดี หรือว่าโทสะ ความโกรธก็ดี โมหะ ความหลงก็ดี เป็นอาการบรรเทาลงไปมากดีกว่าพระโสดาบัน
พระโสดาบัน ความรักยังเต็มภาคภูมิ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ความอยากรวยยังเต็มภาคภูมิ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ความโกรธยังมีอยู่เต็มภาคภูมิ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ความหลงสวยสดงดงาม ยังเต็มภาคภูมิแต่ว่าไม่ลืมความตาย รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันว่าพระโสดาบันกับสกิทาคามี พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
ทรงอธิศีล มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลหนัก หนักอยู่ในเรื่องของศีล นี่มันเป็นของไม่ยาก
แต่ว่าก่อนอื่นใดทั้งหมดขอย้ำว่าท่านทั้งหลายอย่าลืมเวลานี้ เราพูดกันถึงหมวดอานาปานุสสติกรรมฐาน เรื่องลมหายใจเข้าออก ท่านอย่าเผลอ ถ้าเผลอลมหายใจหายใจออกเมื่อไรแสดงว่าเราเลวเมื่อนั้น หรือว่าจะทรงคำภาวนาและการพิจารณาอะไรๆ ก็ตาม ลืมลมหายใจเข้าหายใจออกไม่ได้ นี้อีกจุดหนึ่ง จิตเราถ้าจะตัดกิเลสได้ดี อันดับแรกให้ทรงอารมณ์ฌานในสมาธิ ให้มีอารมณ์สงบสงัดที่สุด มีความกล้า มีความแข็งพอสมควร เมื่อจิตใจมีความเยือกเย็นดีแล้ว คลายอารมณ์ลงมาพิจารณาขันธ์ 5 หรือว่าพิจารณาในด้านของอสุภกรรมฐาน กายคตานุสสติกรรมฐานเป็นการทำลาย หรือว่าระงับ หรือว่าลดกำลังของความรักในระหว่างเพศ พิจารณาจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นการลดกำลังความโลภ อย่างนี้ก็ได้
ต่อนี้ไปเรามาพูดกันถึงความโกรธ ความโกรธความพยาบาทนี่มันมีกับคนทุกคน ที่เป็นปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส หรือว่าพระโสดาบันและพระสกิทาคามี ยังมีความโกรธ แต่ว่าความโกรธของพระอริยเจ้า ไม่เป็นพิษไม่เป็นภัยกับใคร ท่านโกรธเดี๋ยวท่านก็เหวี่ยงโกรธทิ้งไป แต่คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลสโกรธไม่จบ วันนี้เรามาหาทางจบของความโกรธ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ตายเลย เราก็จะพยายามตัดแข้งตัดขามันเสีย ให้มันตะเกียกตะกายไปไหนไม่ไหว มันจะพยายามค่อยๆ หมดกำลังลงไป ในเมื่อมันเดินไม่ได้ มันคลานไม่ได้
วิธีตัดความโกรธที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ แนะนำไว้เป็น 2 แบบ
แบบที่ 1 ก็คือใช้เมตตาพรหมวิหาร
แบบที่ 2 ใช้กสิณ 4
สำหรับวันนี้ผมจะขอพูดแบบของกสิณก่อน เฉพาะกสิณที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ระงับความโกรธ หรือว่าทำลายความโกรธมีอยู่ 4 อย่างคือ
กสิณสีแดง กสิณสีเขียว กสิณสีเหลือง กสิณสีขาว พอพูดถึงกสิณ ท่านอย่าทำตาโตหรือตกใจ เพราะว่ามีนักปฏิบัติมากด้วยกัน พอพูดถึงกสิณรู้สึกทำท่าทางใหญ่โต เหมือนรู้สึกว่าเหมือนกับเป็นของใหญ่ของหนักเสียจริงๆ แต่ความจริงกรรมฐานทั้ง 40 กอง จะเป็นกสิณหรือไม่ใช่กสิณก็ตาม เป็นของมีค่าเสมอกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ผมเคยฝึกมาแล้วผมไม่เห็นมันแปลก อนุสสติ 10 ก็ดี อสุภ 10 ก็ดี กสิณ 10 ก็ดี อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุวัตฐาน 4 หรืออรูป 4 อรูปก็มาจากกสิณ มันก็แค่นั้นแหละ ไม่มีอะไรวิเศษวิโสไปจากกัน เป็นแต่เพียงว่ากสิณเป็นกรรมฐานหยาบ สามารถจะทรงฌาน 4 ได้ทุกอย่างเท่านั้นเอง สร้างความเข้าใจตามนี้ไว้ด้วยนะครับ อย่าทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต พอจับกสิณเข้ามา ก็แสดงว่าฉันน่ะเก่งเสียเต็มที นั่นมันเป็นความเลวที่ให้อภัยไม่ได้เลย เป็นคนมีแต่สัญญาแต่เป็นคนที่ไม่มีปัญญา
วันนี้มาพูดกันถึงกสิณ ตัวอย่างก็คือ พระลูกชายนายช่างทอง ตามที่พูดมาให้ฟังแล้วในด้านของพระสูตร ท่านบวชกับพระสารีบุตร ท่านเป็นคนมีโทสจริต พระสารีบุตรให้อสุภกรรมฐาน คิดว่าคนหนุ่มคนสวย คนรวย ย่อมหนักไปในกามารมณ์ เมื่อให้กรรมฐานผิด ผิดกับจริตไม่ตรงกัน เหมือนการตีข้าศึก ข้าศึกมาหน้าบ้านเราไปตีหลังบ้าน ข้าศึกมันก็ปล้นบ้านหมด 3 เดือนท่านก็ไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ เมื่อออกพรรษา พระสารีบุตรพาไปเฝ้าองค์สมเด็จพระจอมไตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า
“สารีบุตร กุลบุตรผู้มีความศรัทธาที่ตถาคตไม่สามารถจะสอนนั้นไม่มี ถ้าอย่างนั้นขอพระสารีบุตรกลับไปก่อน” เมื่อพระสารีบุตรกลับไปแล้ว องค์สมเด็จพระชินวร จึงได้ทรงมอบกสิณอันหนึ่ง ที่เรียกกันว่า
โลหิตกสิณ คือกสิณสีแดง โดยเนรมิตดอกบัวเป็นสีแดง ดอกบัวทองคำ ให้พระองค์นั้นไปนั่งที่กองทรายหน้าวิหาร เอาดอกบัวปักอยู่บนกองทราย แล้วก็นั่งเพ่งมอง จำว่านี่สีแดง สีแดง สีแดง นึกในใจ พร้อมกันนั้น ก็เห็นจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย พอลืมตาขึ้นมาดูใหม่ แล้วก็จับสีแดง เมื่อสีมันพร่าไป ใจจำไม่ถนัด ลืมตาดูใหม่ แล้วก็หลับตานึกถึงสีแดง ประเดี๋ยวเดียวสีแดงก็คลายตัวจางลงทีละน้อยๆ กลายเป็นสีเหลือง จากสีเหลืองกลายเป็นสีขาว จากสีขาวเป็นประกายเหมือนแก้ว เป็นแก้วใสก่อน จากแก้วใสเป็นประกายคล้ายๆ แก้วทอแสงจากพระอาทิตย์ ตอนนี้แสดงว่าจิตของท่านเป็นผู้ทรงฌาน เข้าถึงฌาน 4
ตอนนั้นองค์สมเด็จพระมหามุนี ทรงพิจารณาดู ว่าโอหนอ...พระองค์นี้ถ้าเราไม่ช่วย เวลานี้เธอได้ฌาน 4 แล้ว ถ้าเราไม่ช่วยเธอจะบรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์ได้หรือไม่ สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณ ว่าถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ เวลาที่เธอหลับตาอยู่อย่างนั้น สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงเนรมิตดอกบัวที่มีสีสดใสให้กลายเป็นสีเศร้าหมอง เมื่อท่านนั่งเพ่งภาพของกสิณคือสีแดงที่เป็นประกายพอกำลังใจก็ลืมตามาดูดอกบัว เห็นดอกบัวเศร้าหมองคิดในใจ ว่าโอหนอ...ดอกบัวนี่เมื่อกี้นี่ผ่องใส เวลานี้มันเศร้าหมองไปเสียแล้วหรือ ก็หลับตานึกว่า อ้อ ร่างกายของเราก็เป็นอย่างนั้น มันผ่องใสต่อเมื่อถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาวเท่านั้น กาลเวลาล่วงไปร่างกายเราก็เศร้าหมองแบบนี้ เธอก็พิจารณาแบบนี้
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 12.2 https://ppantip.com/topic/43144877
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 12.1
สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย ต่างพากันสมาทานพระกรรมฐาน สมาทานศีลแล้ว ต่อไปขอให้ท่านทั้งหลายปลงใจเช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันที่พระองค์จะทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารนั่งอยู่ที่โคนโพธิ์ หันหลังไปทางต้นโพธิ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า
“นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งไปก็ตามที หรือว่าชีวิตินทรีย์จะตักษัยไปก็ตาม ถ้าเราไม่สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้”
กำลังใจอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทผู้มีความหวังดีซึ่งพระนิพพาน จะต้องทำใจอย่างนี้ทุกขณะที่ปฏิบัติ หรือที่ทรงอารมณ์อยู่ หมายความว่าขณะใดยังมีความรู้สึกอยู่ ขณะนั้นเราจะต้องใช้อารมณ์อย่างนี้เสมอ จะไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงกับความตายที่จะมาบังเกิดขึ้นกับเรา ถือว่าชีวิตเป็นภาวะปกติที่มันเกิดแล้วก็ต้องตาย แต่ถ้าหากว่าเราจะตายกับความบริสุทธิ์ เราจะพอใจมาก ฉะนั้นเสียงก็ดี หรือว่าอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดีจะพึงเกิดขึ้นในขณะที่เราคุมอารมณ์อยู่ คำว่าคุมอารมณ์นี่ผมหมายความว่า “ทั้งวัน” นับตั้งแต่ตื่นยันหลับ จะต้องทรงอารมณ์อย่างนี้ไว้เป็นปกติ เราจะไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ใดๆ ทั้งหมดที่มันจะพึงเกิดขึ้น
ถ้าหากว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์เราก็ถือว่าเป็นกฎธรรมดาที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องประสบอย่างนี้ และการประสบกับความยากลำบากต่างๆ ในชีวิตไม่ใช่มีแต่เรา คนที่เกิดมาแล้วตายไปแล้วทั้งหมดนับไม่ถ้วน เขาประสบมาแล้วเหมือนกัน ในปัจจุบันคนทุกคนในโลกก็ประสบเช่นนั้น ในเมื่อโลกมันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ โลกเป็นทุกขัง ไม่มีอะไรจะทรงความสุขไว้ได้ โลกเป็นอนัตตา ในที่สุดมันก็สลายตัว ในเมื่อสภาวะปกติของมันเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นยังไงก็ช่างมัน ถือว่าชีวิตนี้ของเราไม่กี่วันมันก็จะสิ้นซาก ร่างกายจะสลายไป เราจะไปจุดที่เราต้องการ นั่นคือพระนิพพาน แล้วก็ทรงอารมณ์ระงับโลภะ ความโลภ ราคะ ความรัก โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง ไม่ยอมนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว และจะไม่ยอมจะนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่มันยังไม่มาถึง เราจะควบคุมกำลังใจของเราให้ดีที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด เยือกเย็นที่สุดในปัจจุบัน
คำว่า อารมณ์นี่มันมีปัจจุบันอย่างเดียว ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ความรู้สึกของเรามันมีคำว่า “เดี๋ยวนี้” เป็นปกติ ถ้าเดี๋ยวนี้ของเราดีเสียแล้ว เวลาไหนที่มันจะชั่วมันไม่มี
วันนี้ก็ขอพูดถึง สกิทาคามีมรรคด้านระงับโทสะ หรือตัดโทสะ แต่เป็นการตัดแบบเบาๆ เพราะว่าพระสกิทาคามี ยังไม่สามารถทำลายราคะ หรือว่าโลภะ หรือว่าโทสะ หรือโมหะได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ดีกว่าพระโสดาบันหน่อย ที่ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความโลภ อยากได้ทรัพย์สินโดยไม่ชอบธรรมก็ดี หรือว่าโทสะ ความโกรธก็ดี โมหะ ความหลงก็ดี เป็นอาการบรรเทาลงไปมากดีกว่าพระโสดาบัน พระโสดาบัน ความรักยังเต็มภาคภูมิ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ความอยากรวยยังเต็มภาคภูมิ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ความโกรธยังมีอยู่เต็มภาคภูมิ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล ความหลงสวยสดงดงาม ยังเต็มภาคภูมิแต่ว่าไม่ลืมความตาย รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันว่าพระโสดาบันกับสกิทาคามี พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ทรงอธิศีล มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มีศีลหนัก หนักอยู่ในเรื่องของศีล นี่มันเป็นของไม่ยาก
แต่ว่าก่อนอื่นใดทั้งหมดขอย้ำว่าท่านทั้งหลายอย่าลืมเวลานี้ เราพูดกันถึงหมวดอานาปานุสสติกรรมฐาน เรื่องลมหายใจเข้าออก ท่านอย่าเผลอ ถ้าเผลอลมหายใจหายใจออกเมื่อไรแสดงว่าเราเลวเมื่อนั้น หรือว่าจะทรงคำภาวนาและการพิจารณาอะไรๆ ก็ตาม ลืมลมหายใจเข้าหายใจออกไม่ได้ นี้อีกจุดหนึ่ง จิตเราถ้าจะตัดกิเลสได้ดี อันดับแรกให้ทรงอารมณ์ฌานในสมาธิ ให้มีอารมณ์สงบสงัดที่สุด มีความกล้า มีความแข็งพอสมควร เมื่อจิตใจมีความเยือกเย็นดีแล้ว คลายอารมณ์ลงมาพิจารณาขันธ์ 5 หรือว่าพิจารณาในด้านของอสุภกรรมฐาน กายคตานุสสติกรรมฐานเป็นการทำลาย หรือว่าระงับ หรือว่าลดกำลังของความรักในระหว่างเพศ พิจารณาจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นการลดกำลังความโลภ อย่างนี้ก็ได้
ต่อนี้ไปเรามาพูดกันถึงความโกรธ ความโกรธความพยาบาทนี่มันมีกับคนทุกคน ที่เป็นปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส หรือว่าพระโสดาบันและพระสกิทาคามี ยังมีความโกรธ แต่ว่าความโกรธของพระอริยเจ้า ไม่เป็นพิษไม่เป็นภัยกับใคร ท่านโกรธเดี๋ยวท่านก็เหวี่ยงโกรธทิ้งไป แต่คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลสโกรธไม่จบ วันนี้เรามาหาทางจบของความโกรธ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ตายเลย เราก็จะพยายามตัดแข้งตัดขามันเสีย ให้มันตะเกียกตะกายไปไหนไม่ไหว มันจะพยายามค่อยๆ หมดกำลังลงไป ในเมื่อมันเดินไม่ได้ มันคลานไม่ได้
วิธีตัดความโกรธที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ แนะนำไว้เป็น 2 แบบ
แบบที่ 1 ก็คือใช้เมตตาพรหมวิหาร
แบบที่ 2 ใช้กสิณ 4
สำหรับวันนี้ผมจะขอพูดแบบของกสิณก่อน เฉพาะกสิณที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ระงับความโกรธ หรือว่าทำลายความโกรธมีอยู่ 4 อย่างคือ กสิณสีแดง กสิณสีเขียว กสิณสีเหลือง กสิณสีขาว พอพูดถึงกสิณ ท่านอย่าทำตาโตหรือตกใจ เพราะว่ามีนักปฏิบัติมากด้วยกัน พอพูดถึงกสิณรู้สึกทำท่าทางใหญ่โต เหมือนรู้สึกว่าเหมือนกับเป็นของใหญ่ของหนักเสียจริงๆ แต่ความจริงกรรมฐานทั้ง 40 กอง จะเป็นกสิณหรือไม่ใช่กสิณก็ตาม เป็นของมีค่าเสมอกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ผมเคยฝึกมาแล้วผมไม่เห็นมันแปลก อนุสสติ 10 ก็ดี อสุภ 10 ก็ดี กสิณ 10 ก็ดี อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุวัตฐาน 4 หรืออรูป 4 อรูปก็มาจากกสิณ มันก็แค่นั้นแหละ ไม่มีอะไรวิเศษวิโสไปจากกัน เป็นแต่เพียงว่ากสิณเป็นกรรมฐานหยาบ สามารถจะทรงฌาน 4 ได้ทุกอย่างเท่านั้นเอง สร้างความเข้าใจตามนี้ไว้ด้วยนะครับ อย่าทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต พอจับกสิณเข้ามา ก็แสดงว่าฉันน่ะเก่งเสียเต็มที นั่นมันเป็นความเลวที่ให้อภัยไม่ได้เลย เป็นคนมีแต่สัญญาแต่เป็นคนที่ไม่มีปัญญา
วันนี้มาพูดกันถึงกสิณ ตัวอย่างก็คือ พระลูกชายนายช่างทอง ตามที่พูดมาให้ฟังแล้วในด้านของพระสูตร ท่านบวชกับพระสารีบุตร ท่านเป็นคนมีโทสจริต พระสารีบุตรให้อสุภกรรมฐาน คิดว่าคนหนุ่มคนสวย คนรวย ย่อมหนักไปในกามารมณ์ เมื่อให้กรรมฐานผิด ผิดกับจริตไม่ตรงกัน เหมือนการตีข้าศึก ข้าศึกมาหน้าบ้านเราไปตีหลังบ้าน ข้าศึกมันก็ปล้นบ้านหมด 3 เดือนท่านก็ไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ เมื่อออกพรรษา พระสารีบุตรพาไปเฝ้าองค์สมเด็จพระจอมไตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สารีบุตร กุลบุตรผู้มีความศรัทธาที่ตถาคตไม่สามารถจะสอนนั้นไม่มี ถ้าอย่างนั้นขอพระสารีบุตรกลับไปก่อน” เมื่อพระสารีบุตรกลับไปแล้ว องค์สมเด็จพระชินวร จึงได้ทรงมอบกสิณอันหนึ่ง ที่เรียกกันว่า โลหิตกสิณ คือกสิณสีแดง โดยเนรมิตดอกบัวเป็นสีแดง ดอกบัวทองคำ ให้พระองค์นั้นไปนั่งที่กองทรายหน้าวิหาร เอาดอกบัวปักอยู่บนกองทราย แล้วก็นั่งเพ่งมอง จำว่านี่สีแดง สีแดง สีแดง นึกในใจ พร้อมกันนั้น ก็เห็นจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย พอลืมตาขึ้นมาดูใหม่ แล้วก็จับสีแดง เมื่อสีมันพร่าไป ใจจำไม่ถนัด ลืมตาดูใหม่ แล้วก็หลับตานึกถึงสีแดง ประเดี๋ยวเดียวสีแดงก็คลายตัวจางลงทีละน้อยๆ กลายเป็นสีเหลือง จากสีเหลืองกลายเป็นสีขาว จากสีขาวเป็นประกายเหมือนแก้ว เป็นแก้วใสก่อน จากแก้วใสเป็นประกายคล้ายๆ แก้วทอแสงจากพระอาทิตย์ ตอนนี้แสดงว่าจิตของท่านเป็นผู้ทรงฌาน เข้าถึงฌาน 4
ตอนนั้นองค์สมเด็จพระมหามุนี ทรงพิจารณาดู ว่าโอหนอ...พระองค์นี้ถ้าเราไม่ช่วย เวลานี้เธอได้ฌาน 4 แล้ว ถ้าเราไม่ช่วยเธอจะบรรลุมรรคผลเป็นอรหันต์ได้หรือไม่ สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณ ว่าถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลได้ เวลาที่เธอหลับตาอยู่อย่างนั้น สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ทรงเนรมิตดอกบัวที่มีสีสดใสให้กลายเป็นสีเศร้าหมอง เมื่อท่านนั่งเพ่งภาพของกสิณคือสีแดงที่เป็นประกายพอกำลังใจก็ลืมตามาดูดอกบัว เห็นดอกบัวเศร้าหมองคิดในใจ ว่าโอหนอ...ดอกบัวนี่เมื่อกี้นี่ผ่องใส เวลานี้มันเศร้าหมองไปเสียแล้วหรือ ก็หลับตานึกว่า อ้อ ร่างกายของเราก็เป็นอย่างนั้น มันผ่องใสต่อเมื่อถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาวเท่านั้น กาลเวลาล่วงไปร่างกายเราก็เศร้าหมองแบบนี้ เธอก็พิจารณาแบบนี้
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 12.2 https://ppantip.com/topic/43144877
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics