พระพุทธเจ้าสอนไว้ชัดเจน ไม่ได้ปิดบังอำพรางแต่ประการใด ท่านสอนว่า ผู้ที่มุ่งพระนิพพานนั้น ในขั้นต้นต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ที่เรียกว่า "อธิศีลสิกขา"
เมื่อปรับปรุงศีลอันเป็นเครื่องระงับความชั่วทางกาย วาจาได้แล้ว ก็ให้เข้ามาปรับปรุงใจ ใจนั้นมีสภาพดิ้นรนกลับกลอก ไม่อยู่นิ่ง คล้ายลิง ให้ผูกใจมัดใจให้มีสภาพคงที่มั่นคงเสียก่อน โดยหาอุบายฝึกใจให้จับอยู่ในอารมณ์เดียว คือ คิดอะไรก็ให้อยู่ในวัตถุนั้น ไม่สอดส่ายไปในวัตถุอื่น ที่เรียกว่า "สมาธิ" หรือเรียกตามชื่อของกรรมฐานว่า "สมถะกรรมฐาน" เป็นอุบายสงบใจ การทำใจให้สงบนี้ จะโดยวิธีใดก็ตาม เรียกว่า สมถะทั้งนั้น อุบายที่ทำให้ให้สงบระงับไม่ดิ้นรนนี้ พระพุทธเจ้าทรงวางแบบไว้ถึง ๔๐ แบบ จัดเป็นกลุ่มได้ ๗ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ เอาไว้ปราบพวกรักสวยรักงาม เรียกว่า "ราคะจริต"
กลุ่มที่ ๒ เอาไว้ปราบพวกใจร้ายอำมหิต เรียกว่า "โทสะจริต"
กลุ่มที่ ๓ เอาไว้ปราบพวกหลงงมงาน เรียกว่า "โมหะจริต"
กลุ่มที่ ๔ เอาไว้ปราบพวกเชื่อง่ายไม่มีเหตุผล เรียกว่า "ศรัทธาจริต"
กลุ่มที่ ๕ เอาไว้ปราบพวกช่างคิดช่างนึก ตัดสินใจไม่เด็ดขาด เรียกว่า "วิตกจริต"
กลุ่มที่ ๖ เอาไว้ปราบพวกฉลาดเฉียบแหลม เรียกว่า พุทธจริต
กลุ่มที่ ๗ เป็นกรรมฐานกลาง ปฏิบัติได้ทุกพวก
เมื่อสามารถระงับใจให้อยู่ในอารมณ์อันเดียวได้นาน ๆ พอจะใช้งานด้านวิปัสสนาได้ ที่เรียกว่า ได้ฌานที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ ตามลำดับอย่างนี้เรียกว่า "อธิจิตสิกขา" เป็นการเตรียมการณ์ลำดับที่ ๒ แล้วจึงเอาจิตที่มีสมาธิตั้งมั่นจนถึงลำดับฌานแล้วนี่แหละไปวิจัยด้านวิปัสสนา
คำว่า "วิปัสสนา" นั้นแปลว่า รู้แจ้งเห็นจริง หรือ ถ้าจะพูดตามภาษานิยมก็เรียกว่า ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง ไม่ฝืนกฎธรรมดานั่นเอง แล้วก็พวกวิปัสสนาลัดทุ่งลัดป่า ที่ไม่ยอมปรับปรุงศีล ไม่ปรับปรุงสมาธิที่เรียกว่าสมถะ แล้วเอาอะไรมาเป็นวิปัสสนา เห็นสำเร็จมรรคผล ซื้อไร่ซื้อนา รับจำนำจำนองกันให้ยุ่งไปหมด อย่างนี้เรียกว่าถึงมรรคถึงผลแล้วหรือ น่าขายขี้หน้าชาวต่างชาติต่างศาสนา เขามาประเดี๋ยวเดียวเขาก็คว้าเอาของดีไปหมด เราอยู่ในเมืองพระพุทธศาสนา มัวทำตนเป็นปีศาจอย่างนี้ ในที่สุดก็ไปทำให้พระยายมมีงานมากขึ้น
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
อุบายที่ทำให้ให้สงบระงับไม่ดิ้นรนนี้ พระพุทธเจ้าทรงวางแบบไว้ถึง ๔๐ แบบ จัดเป็นกลุ่มได้ ๗ กลุ่ม
เมื่อปรับปรุงศีลอันเป็นเครื่องระงับความชั่วทางกาย วาจาได้แล้ว ก็ให้เข้ามาปรับปรุงใจ ใจนั้นมีสภาพดิ้นรนกลับกลอก ไม่อยู่นิ่ง คล้ายลิง ให้ผูกใจมัดใจให้มีสภาพคงที่มั่นคงเสียก่อน โดยหาอุบายฝึกใจให้จับอยู่ในอารมณ์เดียว คือ คิดอะไรก็ให้อยู่ในวัตถุนั้น ไม่สอดส่ายไปในวัตถุอื่น ที่เรียกว่า "สมาธิ" หรือเรียกตามชื่อของกรรมฐานว่า "สมถะกรรมฐาน" เป็นอุบายสงบใจ การทำใจให้สงบนี้ จะโดยวิธีใดก็ตาม เรียกว่า สมถะทั้งนั้น อุบายที่ทำให้ให้สงบระงับไม่ดิ้นรนนี้ พระพุทธเจ้าทรงวางแบบไว้ถึง ๔๐ แบบ จัดเป็นกลุ่มได้ ๗ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ เอาไว้ปราบพวกรักสวยรักงาม เรียกว่า "ราคะจริต"
กลุ่มที่ ๒ เอาไว้ปราบพวกใจร้ายอำมหิต เรียกว่า "โทสะจริต"
กลุ่มที่ ๓ เอาไว้ปราบพวกหลงงมงาน เรียกว่า "โมหะจริต"
กลุ่มที่ ๔ เอาไว้ปราบพวกเชื่อง่ายไม่มีเหตุผล เรียกว่า "ศรัทธาจริต"
กลุ่มที่ ๕ เอาไว้ปราบพวกช่างคิดช่างนึก ตัดสินใจไม่เด็ดขาด เรียกว่า "วิตกจริต"
กลุ่มที่ ๖ เอาไว้ปราบพวกฉลาดเฉียบแหลม เรียกว่า พุทธจริต
กลุ่มที่ ๗ เป็นกรรมฐานกลาง ปฏิบัติได้ทุกพวก
เมื่อสามารถระงับใจให้อยู่ในอารมณ์อันเดียวได้นาน ๆ พอจะใช้งานด้านวิปัสสนาได้ ที่เรียกว่า ได้ฌานที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ ตามลำดับอย่างนี้เรียกว่า "อธิจิตสิกขา" เป็นการเตรียมการณ์ลำดับที่ ๒ แล้วจึงเอาจิตที่มีสมาธิตั้งมั่นจนถึงลำดับฌานแล้วนี่แหละไปวิจัยด้านวิปัสสนา
คำว่า "วิปัสสนา" นั้นแปลว่า รู้แจ้งเห็นจริง หรือ ถ้าจะพูดตามภาษานิยมก็เรียกว่า ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง ไม่ฝืนกฎธรรมดานั่นเอง แล้วก็พวกวิปัสสนาลัดทุ่งลัดป่า ที่ไม่ยอมปรับปรุงศีล ไม่ปรับปรุงสมาธิที่เรียกว่าสมถะ แล้วเอาอะไรมาเป็นวิปัสสนา เห็นสำเร็จมรรคผล ซื้อไร่ซื้อนา รับจำนำจำนองกันให้ยุ่งไปหมด อย่างนี้เรียกว่าถึงมรรคถึงผลแล้วหรือ น่าขายขี้หน้าชาวต่างชาติต่างศาสนา เขามาประเดี๋ยวเดียวเขาก็คว้าเอาของดีไปหมด เราอยู่ในเมืองพระพุทธศาสนา มัวทำตนเป็นปีศาจอย่างนี้ ในที่สุดก็ไปทำให้พระยายมมีงานมากขึ้น
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง