หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 4.1

กสิณ 10 ตอนที่ 4.1

ท่านพระโยคาวจรทั้งหลายและบรรดาอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายทั้งหมดได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะขอพูดเรื่องกสิณอีกวันหนึ่ง เมื่อวันวานนี้ได้พูดลักษณะกสิณที่เราเจริญกสิญแล้ว ก็สามารถทำตนให้เป็นพระอรหันต์ได้ โดยเอาตัวอย่างพระลูกชายนายช่างทอง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระสารีบุตร ต่อมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เจริญกสิณแล้วก็ใช้อำนาจพระพุทธปาฏิหารย์ช่วยสงเคราะห์ให้ท่านได้เป็นพระอรหันต์ ความจริงแบบฉบับนี้ต้องถือเป็นต้นแบบสำหรับเรา เหล่าพุทธบริษัทซึ่งเกิดมารุ่นหลังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราหวังผลในความดี ก็จะต้องลอกแบบความดีของท่านไว้ ใครท่านทำความดีมายังไง แล้วจึงได้ดีแบบนั้น ต้องถือแบบนั้นเป็นสำคัญ การปฏิบัติพระกรรมฐานก็ดี หรือว่าจะทำงานทางโลกก็ดี หรือปฏิบัติตนให้ถึงขั้นกามาวจรสวรรค์หรือขั้นพรหมก็ดี ขึ้นอยู่กับกำลังใจ กำลังใจมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็ต้องอาศัยปัญญาเป็นเครื่องประกอบ เมื่อมีกำลังใจแล้วก็มีปัญญา แล้วต้องมีสติสัมปชัญญะควบไว้เสมอ วิธีปฏิบัติก็ควรจะลอกแบบพระลูกชายนายช่างทอง ไม่ใช่แต่เฉพาะกสิณอย่างเดียว วิธีปฏิบัติอย่างอื่น แม้กรรมฐานกองอื่นก็เช่นเดียวกัน ตามปกติเขาปฏิบัติกันอย่างนี้ ตามแบบฉบับของพระลูกชายนายช่างทอง นั่นองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงแนะนำให้ใช้ทำฌานถึงฌาน 4 แล้ว ก็เมื่อจิตทรงฌาน 4 แล้วก็ใช้อารมณ์นั้นพิจารณาในอริยสัจคือขันธ์ 5 เทียบกับดอกบัว อันนี้ก็น่าจะจำเอาไปคิดตาม สำหรับท่านถึงฌาน 4 นี่ความจริงถ้าใช้กำลังฌาน 4 โดยเฉพาะเข้าไปควบคุมอารมณ์จิต การทำลายกิเลสเป็นของไม่ยาก

นี่สำหรับพวกเราถ้าจะปฏิบัติ สมมุติว่าถ้าถ้าหากว่าเราจะใช้อารมณ์ไม่ถึงฌาน 4 อันนี้ผมพูดว่า เพราะว่ากำลังใจของคนไม่เสมอกัน บางท่านก็ทำจิตเข้าถึงฌาน 4 ได้โดยง่าย บางท่านมีอารมณ์ไม่สามารถจะเข้าถึงฌาน 4 ได้ ทั้งนี้เพราะว่าความจริงใจอ่อนไป เราก็เริ่มใช้กันตั้งเริ่มต้นก็ได้ แต่ทว่ากำลังใจที่จะพึงใช้มีอยู่จุดหนึ่งที่เราจะไม่ได้ นั่นก็คือ จงเห็นว่าชีวิตร่างกายไม่มีความหมาย ตัวนี้ต้องคิดไว้เสมอ จงคิดว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วันที่จะพรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณในวันนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงตัดสินพระทัยว่า เราจะนั่งอยู่ตรงนี้จนกว่าจะได้อภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ถ้าหากว่ายังไม่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ คือเป็นพระอรหันต์เพียงใด เลือดและเนื้อของเราจะแห้งไปก็ตามที หรือว่าชีวิตินทรีย์ของเราจะสลายไปก็ตาม เราจะไม่ยอมลุกไปจากที่นี่

กำลังใจจุดนี้ล่ะท่านทั้งหลาย ที่จะทำให้ท่านเข้าถึงมรรคเข้าถึงผล ถ้ากำลังใจของเราไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ คำว่ามรรคผลชาตินี้ไม่ปรากฏ มาคุยกันถึงวิธีปฏิบัติ สมมุติว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทจะไม่ทำจิตถึงฌาน ๔ ก่อน เพราะว่าแนวการสอนของเราคราวนี้ เป็นการสอนด้านขั้นสุกขวัปัสสโก นี่ถ้าปฏิบัติในขั้นสุกขวิปัสสโกนี่ ถ้าเราจะมัวปล้ำเอาฌาน 4 กัน สำหรับบางท่านก็รู้สึกว่าง่าย แต่บางท่านก็ยากอยู่ มันก็ไม่แน่นัก สมมุติว่ากำลังใจของเราไม่เข้มแข็งพอที่จะรวบรวมกำลังสมาธิให้เข้าถึงฌาน 4 ได้โดยรวดเร็ว แต่ความจริงเรื่องการทำจิตให้เข้าถึงฌาน 4 นี่เป็นของไม่ยาก ถ้ามีความเข้มแข็งของใจ ถ้าจิตของเรามีครบอารมณ์ใน อิทธิบาท 4 คือ 1. ฉันทะ มีความรักหรือความพอใจในอารมณ์นั้น สมมุติว่าเราใช้กสิณเป็นอารมณ์ ไอ้เรื่องความพอใจนี่ลองคิดถึงอารมณ์ ความเป็นหนุ่มเป็นสาว สาวรักหนุ่ม หนุ่มรักสาว มีความคิดถึงกันอยู่ตลอดวัน นี่หากขณะใดที่ยังมีความรู้สึกอยู่ ใจมันอดนึกถึงกันไม่ได้ ฉะนั้นฉันทะในการประพฤติ การปฏิบัติเพื่อมรรคผลก็เช่นเดียวกัน ถ้าจิตใจของเรานี่ เราจะนึกถึงกสิณกองใดกองหนึ่งโดยเฉพาะ ใจเราก็พยายามคิด คิดถึงกสิณกองนั้น รูปลักษณะของกสิณกองนั้นอยู่ แบบเดียวกับหนุ่มรักสาว สาวรักหนุ่ม อย่างนี้อารมณ์ก็จะทรงตัวภายในใม่ช้า เรารักใคร เมื่อคิดถึงคนรัก ทั้ง ๆ ที่เรามองไม่เห็นหน้า ไกลกันแสนไกล เราก็สามารถจะวาดภาพด้วยความรู้สึกของใจว่า คนรักของเรามีลักษณะรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง ผิวพรรณแบบไหน แม้แต่อาการเยื้องย่างกรายในบางขณะเราก็จำได้ เพราะความรักมันเกิด

สำหรับการเจริญพระกรรมฐานทุกกองก็เหมือนกัน ถ้าเราต้องการ ฌานสมาบัติ หรือว่าต้องการตัดสังโยชน์ก็ใช้อารมณ์เหมือนกับชายรักสาว สาวรักหนุ่ม หนุ่มรักสาว ทำจิตใจฝังจิตฝังใจจดจ่ออยู่ในสภาวะอย่างนั้น กรรมฐานกองนั้น ๆ จิตมันก็ทรงตัว มีอารมณ์เป็นฌาน คำว่าฌาน 4 นี้เขาต้องมี

1.ฉันทะ คือมีความพอใจแบบนี้

2.วิริยะ เราจะต้องเพียรต่อสู้กับอารมณ์ของนิวรณ์ คืออารมณ์จิตฟุ้งซ่านที่ไม่เอาถ่าน มันคิดนอกลู่นอกรอยนี่ต้องตัด พยายามต่อสู้กับมัน ไอ้เรื่องจิตที่นอกลู่นอกทางนี่ หรือนอกรีตนอกรอย เป็นของธรรมดา เพราะว่าเป็นการกลับใจจากอารมณ์ที่ติดอยู่ในกิเลส จะถอนจากกิเลสนี่มันถอนยาก เพราะมันติดอยู่นาน แต่ถึงกระไรก็ดี องค์สมเด็จพระพิชิตมารก็ทรงตรัสว่า "วิริเยนะ ทุกขมัจเจติ" บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ยากแสนยากเท่าไรเพียรพยายามทำ เราก็สามารถจะคลายได้โดยไม่ช้า

3.จิตตะ สนใจจดจ่ออยู่ในเหตุนั้นไม่คลาย รวมความว่าภาพกสิณหรือกรรมฐาน กองใดก็ตามที่เราพึงปฏิบัติ เอาจิตใจจดจ่ออยู่เสมอ

4.วิมังสา ใช้ปัญญาใคร่ครวญว่า ที่เราใจจดจ่อแล้ว ทำแบบนี้มันถูกต้องตามแบบตามแผนที่ท่านปฏิบัติได้มาแล้วหรือยัง

กำลังใจ 4 ประการนี่แหละท่าน ถ้าทรงอยู่กับบุคคลใด บุคคลนั้นจะบรรลุอรหัตผลได้ไดยไม่ช้า แม้จะทำงานทางโลกก็ตาม ปฏิบัติทางธรรรมก็ตาม ได้ผลดีทุกอย่าง ย่อมจะสำเร็จผลได้ทุกประการไม่มีอะไรขัดข้อง เรื่องการปฏิบัตินี้เท่าที่ผมเคยเล่าให้ฟัง มันก็เป็นของไม่ยาก ถ้าเรามีกำลังใจ 4 ประการ ครบถ้วน ต้องจำให้ดีนะว่า จิตของเราจะต้องจดจ่ออยู่เสมอ ฉันทะ ความพอใจ นั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำงานอยู่ กินอยู่ คุยอยู่ จิตนึกถึงภาพกสิณด้วยความพอใจ แล้วพยายามต่อต้านอารมณ์ฟุ้งซ่าน เอาใจจับภาพนั้นให้ทรงตัว ใช้ปัญญาพิจารณาว่า กสิณกองที่เราทำมันถูกต้องหรือไม่

ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะฝึกตั้งแต่ระยะต้น หมายความว่ายังไม่จับอารมณ์ฌาน 4 แต่ว่าใช้อิทธิบาท 4 นี้จะมีผล วิธีปฏิบัติของท่านสุกขวิปัสสโกเขาทำกันอย่างนี้ เวลาเริ่มต้นจับภาพกสิณ พอจิตสบาย จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วหลังจากนั้นก็เอาจิตมาใคร่ครวญขันธ์ 5 คือร่างกาย เห็นว่าร่างกายนี้มันมีสภาพเป็นทุกข์ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนแก่ใปในท่ามกลาง ในช่วงที่ทรงชีวิตอยู่ก็มีความลำบากด้วยการงาน กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจ มีความขัดข้องด้วยทรัพย์สิน ขัดข้องกับอารมณ์ที่เราไม่พึงปรารถนา มีความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาเบียดเบียน ในที่สุดมันก็ตาย ภาวะทั้งหลายที่เราสร้างขึ้นมา ตายแล้วหมดสภาพ มันไม่เป็นเรา ไม่เป็นของเรา ถ้าเราจะเกิดอย่างนี้กันต่อไปมันก็ไม่มีผล

สมเด็จพระทศพลทรงทราบจึงได้หาทางเป็นเครื่องพ้น ให้พ้นจากความทุกข์ที่มีความเกิดเป็นเบื้องหน้า ขึ้นชื่อว่าความเกิดมีขันธ์ 5 อย่างนี้ ถ้ามีอยู่เพียงใด มันก็ต้องเป็นความทุกข์อยู่เราหนีความทุกข์ไม่ได้ ถ้าเกิดได้มันก็แก่ได้มันก็ป่วยไข้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจได้ มันก็ตายได้ ก็พลัดพรากจากของรักของชอบใจได้ ถ้าหากเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว คำว่า ไม่เกิด หมายความว่า ไม่เกิดเป็นคน ไม่เกิดเป็นสัตว์นรก ไม่เกิดเป็นเปรต ไม่เกิดเป็นอสุรกาย ไม่เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เกิดเป็นเทวดา ไม่เกิดเป็นพรหม สิ่งที่เราต้องการก็คือพระนิพพาน

สำหรับพระนิพพานเขาทำยังไง พระนิพพาน ชื่อว่าเป็นแดนอมตะ ไม่มีการเคลื่อน ไม่มีคำว่าทุกข์ เพราะดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งเอกันตบรมสุข มีความสุขอย่างเดียวหาความทุกข์เจือปนไม่ได้ สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า ถ้าเราจะไปพระนิพพาน เราก็ควานหาเหตุของความทุกข์ เรารู้แล้วว่าเกิดมันเป็นทุกข์ แต่ว่าจะทำลายทุกข์ก็ทำลายเหตุเหมือนกับการดับไฟ ถ้าเราดับที่เปลวมันก็ไม่มีผล

จะนั้นจงหาว่าทุกข์มันมาจากไหน เราก็จะมองเห็นได้ว่า ทุกข์มาจากความอยาก คนที่เป็นโสด ปรารถนาความทุกข์ให้มันมากขึ้น เป็นโสดมันก็มีทุกข์เจนกัน ทุกข์เพราะความหิว ทุกข์เพราะความกระหาย ทุกข์เพราะความป่วยไร้ไม่สบาย ทุกข์เพราะความแก่ แต่ทว่าทุกข์มันยังน้อยไป อยากจะแต่งงานให้มันหมดทุกข์ ความจริงการมีคู่ครองน่ะชาวบ้านเขามีทุกข์ให้เห็น แต่เรากลับมีความเห็นตรงกันข้ามว่า การมีคู่ครองมันมีความสุข นั่งดูคนที่เขาแต่งงาน เขาต้องทะเลาะกัน เขาต้องเพิ่มเวลากิจการงานมาหากิน แล้วก็นอกจากนั้น ถ้ามีลูกมีเต้าออกมา มันก็แสนจะจำบากแทนที่ตนจะเป็นสุข มีลูกมาลูกมันก็ถ่วงสุข มีแต่ทุกข์มองดูกันไป ถ้าลูกดีก็ยังพอทำเนา ถ้าลูกก็ไปกันใหญ่

มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 กสิณ 10 ตอนที่ 3.2 https://ppantip.com/topic/43189867
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่