อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 8.1
สำหรับเวลานี้ ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐาน สมาทานศีลแล้ว ในโอกาสต่อนี้ไปก็จะขอแนะนำท่านทั้งหลาย ให้ปฏิบัติในพระกรรมฐานด้านพระสกิทาคามี สำหรับเรื่องราวของพระโสดาบัน ก็คิดว่าท่านทั้งหลายคงจะมีความเข้าใจและก็คงจะปฏิบัติได้ เพราะเป็นของไม่ยากนัก แต่ว่าขอย้ำอีกนิดหนึ่งว่า พระโสดาบันนี่ยังตัดกิเลสไม่หมด เป็นเพียงแต่ว่าผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย มีศีลบริสุทธิ์ และก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่เรื่องที่จะน่าสังเกตมีอยู่นิดหนึ่ง ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงพระโสดาบัน ตอนนี้จิตมักจะนิยมคำว่า
ธรรมดา อยู่เสมอ ในคำว่า ธรรมดาก็หมายความว่า เขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทา เขาจะสรรเสริญ ความสะเทือนใจสำหรับท่านที่เป็นพระโสดาบันนี่มีน้อยเต็มที ถ้าจะเทียบกับอารมณ์ของปุถุชน คนหนาแน่นไปด้วยกิเลส ความหวั่นไหวประเภทนั้นไม่มี และก็โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พระโสดาบันไม่เป็นบุคคลที่ถือมงคลตื่นข่าว เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เขาฮือกันว่า ที่นั่นดี เขาฮือกันว่าที่นี่ดี พระโสดาบันไม่มีอารมณ์อย่างนั้น มีความมั่นคงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติที่ตนปฏิบัติได้แล้ว และก็มีความมั่นคงในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านพระโสดาบันจะมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ความดีหรือความชั่ว ผลที่จะปฏิบัติได้หรือไม่ได้เพียงใด นั่นมันขึ้นอยู่กับตัวเอง ไม่ใช่ว่าผลใหญ่จะขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ ความจริงครูบาอาจารย์มีความสำคัญ ท่านเป็นคนไม่อกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ก็จริงแหล่ แต่ทว่ามีความรู้สึกอยู่เสมอว่า
“อัตตา หิ อัตตโน นาโถ” ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายความว่าเราจะดีหรือว่าเราจะชั่ว มันอยู่ที่ตัวของเรา ถ้าครูบาอาจารย์สอนมาแล้ว เราไม่ปฏิบัติตาม ผลมันก็ไม่มี
“โกหิ นาโถ ปโร สิยา” ข้อนี้หมายความว่า
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
“อัตตนา หิ สุทันเตนะ” เมื่อเราฝึกฝนตนของเราดีแล้วไซร้
“นาถัง ลภติ ทุลละภัง” เราจะได้ที่พึ่งอันบุคคลอื่นพึงหาได้โดยยาก
ตามพระบาลีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นี้ พระโสดาบันมีความยึดมั่น ด้วยมีความรู้สึกว่าเราจะดีหรือไม่ดี ครูท่านสอนมาแล้ว พระพุทธเจ้าท่านสอนมาแล้ว พระอริยสงฆ์ทั้งหลายสอนเรามาแล้ว ถ้าหากเราไม่ประพฤติปฏิบัติตาม เราก็ดีไม่ได้ ฉะนั้นความดีหรือความไม่ดี มันอยู่ที่เราเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าอยู่ที่สำนักนั้นสำนักนี้ สำนักโน้น สำนักไหนๆ ก็ไม่มีความสำคัญ ถ้าเราไม่ดี นี่จำพระบาลีอันนี้ไว้ สำหรับท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน คือเป็นพระอริยเจ้าขั้นต้น ท่านจะมีความมั่นคงในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ดิ้นไม่รน นี่ผมไม่ได้กันท่านนะ ไม่ได้กันพวกท่านว่าท่านจะไปทางไหนแล้วผมห้าม ไม่ใช่อย่างนั้น ผมไม่เคยห้ามใคร นี่พูดถึงอารมณ์ของพระโสดาบันกันจริงๆ
ต่อไปนี้อารมณ์ก็ต้องใช้หนักกว่าเดิมสักนิดหนึ่ง เพราะว่าการจะก้าวเข้าไปสู่ความเป็น
พระสกิทาคามี เราเริ่มเดินจุดเข้าหาพระสกิทาคามี อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระสกิทาคามีมรรค พระสกิทาคามีมรรคนี่ต้องใช้อารมณ์เพิ่ม อารมณ์เพิ่มที่เราจะพึงใช้ก็คือ
1.อสุภกรรมฐาน
2.พรหมวิหาร4
3.จาคานุสสติกรรมฐาน และก็
4.ร่วมด้วย
กายคตานุสสติกรรมฐาน
จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จะก้าวเข้าไปหาจุดใหม่ ก็จะต้องนั่งไล่เบี้ยกันทีละน้อยๆ เพื่อความเข้าใจของพวกท่าน ทั้งนี้ก็เพราะอะไร ก็ต้องขออภัย ที่บางท่านอาจจะคิดว่า แหม...พูดอย่างนี้นี่ดูถูกเราเกินไป แต่ความจริงการพูดอย่างนี้ มิได้หมายความว่าจะดูถูกดูหมิ่นพวกท่าน ว่าทำกันมานานแล้ว แค่พระสกิทาคามีเท่านี้น่ะหรือที่เราจะทำไม่ได้
และการแนะนำกันก็ไม่ได้หวังว่าจะแนะนำเฉพาะผู้ปฏิบัติในชุดนี้เท่านั้น หวังให้คำแนะนำนี้เป็นตำรายาวนานไปกว่านี้หลายสิบปี และเป็นร้อยปี ฉะนั้นก็จะต้องขอพูดละเอียดสักนิดหนึ่ง
มาตอนนี้เราก็ต้องเร่งรัดกันในด้านสมาธิให้หนักสักหน่อย และก็ตอนนี้แหละเป็นจุดที่มีความสำคัญ เพราะว่าพระสกิทาคามีนี่มีการบรรเทาใน
ราคะ ความรัก
โลภะ ความโลภ
โทสะ ความโกรธ
โมหะ ความหลง เป็นอันว่าอาการทั้ง 3 ประการนี้ ต้องมีกำลังน้อย
สำหรับพระสกิทาคามิผล หากว่าจะพึงเข้าถึง โปรดเข้าใจไว้ด้วยว่าความรู้สึกในเพศรู้สึกว่ามันเกือบจะไม่มี เห็นคนสวยก็เหมือนกับเห็นซากศพ เห็นวัตถุที่สวยก็เหมือนกับเห็นไม้ผุ มันไม่มีความหมาย การดิ้นรนในลาภสักการะไม่มีในพระสกิทาคามี เพราะกำลังคือความโลภมันตกไปคลานต้วมเตี้ยมๆ เหมือนกับกุ้งใกล้จะตาย อำนาจความโกรธ ความหวั่นไหวในถ้อยคำที่บุคคลปรามาสก็หายาก ความหลงในสรีระร่างกายทรัพย์สมบัติทั้งหลาย มันก็เพลียเต็มที อาการอย่างนี้เป็นอาการของพระสกิทาคามีผล นี่ผมพูดถึงตอนจบ ถ้าเข้าสกิทาคามิผลมันเป็นอย่างนี้ สำหรับความรักในระหว่างเพศ มันเกือบจะหมดความรู้สึก เพราะส่วนใหญ่ของอารมณ์เราหมดความรู้สึก แต่บางครั้งนานๆ มันก็โผล่หน้ามานิดหนึ่ง ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงพระสกิทาคามีนี่ บางทีเผลอ คิดว่านี่เราเป็นพระอนาคามีเสียแล้วหรือ ตอนนี้คุยสู่กันฟัง
ต่อไปก็จะขอนำวิธีปฏิบัติ วิธีปฏิบัติตอนนี้ต้องรักอารมณ์สมาธิให้มาก แต่ก็จงอย่าให้มากเกินไปถึงกับเป็นโรคเส้นประสาท เป็นง่อยเปลี้ยเสียขา อดอาหารการบริโภค เคร่งครัดเกินไป อย่างนี้ไม่มีผล แทนที่จะมีคุณก็กลายเป็นของมีโทษ วิธีปฏิบัติในตอนนี้ก็หมายความว่า เริ่มต้น เราอาจจะใช้อารมณ์พิจารณาอสุภสัญญา เอาอสุภะกันเสียก่อน พิจารณาด้านอสุภสัญญาก่อนก็ได้ หรือว่าเราจะเริ่มต้นด้วยการจับอานาปานุสสติกรรมฐาน จับลมหายใจเข้าออกโดยเฉพาะ หรือว่าจะควบคู่กับพุทธานุสสติกรรมฐานก็ได้ พยายามทำสมาธิให้อารมณ์ใจมันสบาย ให้มีความเข้มแข็งในอารมณ์ ความเข้มแข็งในอารมณ์นี่ไม่เหมือนอารมณ์ของคนโกรธ อารมณ์ของคนโกรธนั้น เข้มแข็งในด้านของความชั่ว ความเข้มแข็งในการที่จะก้าวเข้าไปสู่พระสกิทาคามี เป็นความเข้มแข็งด้านดี คือทรงอานาปานุสสติ กับ พุทธานุสสติกรรมฐาน ให้จิตมีอารมณ์โปร่ง มีความสบาย ใจเย็น อย่ารีบอย่าร้อน หรือว่าท่านจะพิจารณาในด้านอสุภกรรมฐานไปเลยก็ได้ ถ้าอารมณ์ใจจะเป็นเช่นนั้น
ต่อนี้ไปผมก็จะขอพูดถึงวิธีที่จะปฏิบัติ ในยามปกติ เราพยายามลืมเสียให้หมด ลืมว่าคนนั้นเขาว่าเรา คนนี้เขาด่าเรา คนนั้นเขาเกลียดเรา คนนี้เขารักเรา คนนั้นเขาสรรเสริญเรา อารมณ์ขุ่นมัวทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ในโลกธรรม ลืมมันเสีย มันจะมีลาภหรือไม่มีลาภก็ช่างมัน ลาภมีแล้วมันจะหมดไปก็ช่างมัน ยศฐาบรรดาศักดิ์เขาจะให้หรือไม่ให้ก็ช่างมัน ลืมมัน อารมณ์อย่างนี้ลืมมัน มันได้ยศมาแล้วเขาจะเรียกคืนไปก็ช่างมัน หรือว่าการสรรเสริญนินทาจะมาจากทางไหนก็ช่างมัน ความสุข ความทุกข์จากอารมณ์ทางกายทางใจ ไม่มีความสำคัญสำหรับเรา เราลืมโลกธรรม 8 ประการเสีย จงพยายามลืม ฝึกลืม อย่าสนใจ
แล้วก็ลืมคำปรามาสทั้งหลาย ลืมอารมณ์ของความชั่ว ที่คิดว่าผู้ใหญ่ไม่ดี ลำเอียง รักคนนั้นมาก รักคนนี้มาก คนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี คนนั้นพูดไม่ถูกใจเรา คนนี้เอาใจเรา ลืมมันเสีย เพราะว่านั่นเป็นอารมณ์แห่งความเลว และอารมณ์ของนิวรณ์ 5 ตอนนี้นิวรณ์ 5 ยังกวนใจอยู่
กามฉันทะ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ความโกรธ ความพยาบาท อารมณ์ฟุ้งซ่าน อยากจะได้อย่างนั้น อยากจะวิเศษอย่างนี้ คนนั้นดีคนนี้ชั่ว ลืมเสียให้หมด ถ้าอารมณ์เรายังมีอย่างนี้เรามันก็เลว
ถ้าเรายังรู้สึกว่าคนอื่นเขาชั่วก็แสดงว่าเราชั่วมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราดีแล้วไม่มีใครชั่ว เพราะว่าเรายอมรับนับถือกฎของกรรม อะไรจะมีชั่ว เรายังนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น นั่นเรายังชั่วอยู่ อาการอย่างนี้จงลืมเสียให้หมด
(มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 8.2 https://ppantip.com/topic/43126370 )
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 8.1
สำหรับเวลานี้ ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐาน สมาทานศีลแล้ว ในโอกาสต่อนี้ไปก็จะขอแนะนำท่านทั้งหลาย ให้ปฏิบัติในพระกรรมฐานด้านพระสกิทาคามี สำหรับเรื่องราวของพระโสดาบัน ก็คิดว่าท่านทั้งหลายคงจะมีความเข้าใจและก็คงจะปฏิบัติได้ เพราะเป็นของไม่ยากนัก แต่ว่าขอย้ำอีกนิดหนึ่งว่า พระโสดาบันนี่ยังตัดกิเลสไม่หมด เป็นเพียงแต่ว่าผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย มีศีลบริสุทธิ์ และก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่เรื่องที่จะน่าสังเกตมีอยู่นิดหนึ่ง ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงพระโสดาบัน ตอนนี้จิตมักจะนิยมคำว่า ธรรมดา อยู่เสมอ ในคำว่า ธรรมดาก็หมายความว่า เขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทา เขาจะสรรเสริญ ความสะเทือนใจสำหรับท่านที่เป็นพระโสดาบันนี่มีน้อยเต็มที ถ้าจะเทียบกับอารมณ์ของปุถุชน คนหนาแน่นไปด้วยกิเลส ความหวั่นไหวประเภทนั้นไม่มี และก็โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบันไม่เป็นบุคคลที่ถือมงคลตื่นข่าว เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เขาฮือกันว่า ที่นั่นดี เขาฮือกันว่าที่นี่ดี พระโสดาบันไม่มีอารมณ์อย่างนั้น มีความมั่นคงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติที่ตนปฏิบัติได้แล้ว และก็มีความมั่นคงในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านพระโสดาบันจะมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ความดีหรือความชั่ว ผลที่จะปฏิบัติได้หรือไม่ได้เพียงใด นั่นมันขึ้นอยู่กับตัวเอง ไม่ใช่ว่าผลใหญ่จะขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ ความจริงครูบาอาจารย์มีความสำคัญ ท่านเป็นคนไม่อกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ก็จริงแหล่ แต่ทว่ามีความรู้สึกอยู่เสมอว่า
“อัตตา หิ อัตตโน นาโถ” ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายความว่าเราจะดีหรือว่าเราจะชั่ว มันอยู่ที่ตัวของเรา ถ้าครูบาอาจารย์สอนมาแล้ว เราไม่ปฏิบัติตาม ผลมันก็ไม่มี
“โกหิ นาโถ ปโร สิยา” ข้อนี้หมายความว่า คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
“อัตตนา หิ สุทันเตนะ” เมื่อเราฝึกฝนตนของเราดีแล้วไซร้
“นาถัง ลภติ ทุลละภัง” เราจะได้ที่พึ่งอันบุคคลอื่นพึงหาได้โดยยาก
ตามพระบาลีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นี้ พระโสดาบันมีความยึดมั่น ด้วยมีความรู้สึกว่าเราจะดีหรือไม่ดี ครูท่านสอนมาแล้ว พระพุทธเจ้าท่านสอนมาแล้ว พระอริยสงฆ์ทั้งหลายสอนเรามาแล้ว ถ้าหากเราไม่ประพฤติปฏิบัติตาม เราก็ดีไม่ได้ ฉะนั้นความดีหรือความไม่ดี มันอยู่ที่เราเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าอยู่ที่สำนักนั้นสำนักนี้ สำนักโน้น สำนักไหนๆ ก็ไม่มีความสำคัญ ถ้าเราไม่ดี นี่จำพระบาลีอันนี้ไว้ สำหรับท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน คือเป็นพระอริยเจ้าขั้นต้น ท่านจะมีความมั่นคงในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ดิ้นไม่รน นี่ผมไม่ได้กันท่านนะ ไม่ได้กันพวกท่านว่าท่านจะไปทางไหนแล้วผมห้าม ไม่ใช่อย่างนั้น ผมไม่เคยห้ามใคร นี่พูดถึงอารมณ์ของพระโสดาบันกันจริงๆ
ต่อไปนี้อารมณ์ก็ต้องใช้หนักกว่าเดิมสักนิดหนึ่ง เพราะว่าการจะก้าวเข้าไปสู่ความเป็น พระสกิทาคามี เราเริ่มเดินจุดเข้าหาพระสกิทาคามี อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระสกิทาคามีมรรค พระสกิทาคามีมรรคนี่ต้องใช้อารมณ์เพิ่ม อารมณ์เพิ่มที่เราจะพึงใช้ก็คือ
1.อสุภกรรมฐาน
2.พรหมวิหาร4
3.จาคานุสสติกรรมฐาน และก็
4.ร่วมด้วย กายคตานุสสติกรรมฐาน
จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จะก้าวเข้าไปหาจุดใหม่ ก็จะต้องนั่งไล่เบี้ยกันทีละน้อยๆ เพื่อความเข้าใจของพวกท่าน ทั้งนี้ก็เพราะอะไร ก็ต้องขออภัย ที่บางท่านอาจจะคิดว่า แหม...พูดอย่างนี้นี่ดูถูกเราเกินไป แต่ความจริงการพูดอย่างนี้ มิได้หมายความว่าจะดูถูกดูหมิ่นพวกท่าน ว่าทำกันมานานแล้ว แค่พระสกิทาคามีเท่านี้น่ะหรือที่เราจะทำไม่ได้ และการแนะนำกันก็ไม่ได้หวังว่าจะแนะนำเฉพาะผู้ปฏิบัติในชุดนี้เท่านั้น หวังให้คำแนะนำนี้เป็นตำรายาวนานไปกว่านี้หลายสิบปี และเป็นร้อยปี ฉะนั้นก็จะต้องขอพูดละเอียดสักนิดหนึ่ง
มาตอนนี้เราก็ต้องเร่งรัดกันในด้านสมาธิให้หนักสักหน่อย และก็ตอนนี้แหละเป็นจุดที่มีความสำคัญ เพราะว่าพระสกิทาคามีนี่มีการบรรเทาใน ราคะ ความรัก โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง เป็นอันว่าอาการทั้ง 3 ประการนี้ ต้องมีกำลังน้อย
สำหรับพระสกิทาคามิผล หากว่าจะพึงเข้าถึง โปรดเข้าใจไว้ด้วยว่าความรู้สึกในเพศรู้สึกว่ามันเกือบจะไม่มี เห็นคนสวยก็เหมือนกับเห็นซากศพ เห็นวัตถุที่สวยก็เหมือนกับเห็นไม้ผุ มันไม่มีความหมาย การดิ้นรนในลาภสักการะไม่มีในพระสกิทาคามี เพราะกำลังคือความโลภมันตกไปคลานต้วมเตี้ยมๆ เหมือนกับกุ้งใกล้จะตาย อำนาจความโกรธ ความหวั่นไหวในถ้อยคำที่บุคคลปรามาสก็หายาก ความหลงในสรีระร่างกายทรัพย์สมบัติทั้งหลาย มันก็เพลียเต็มที อาการอย่างนี้เป็นอาการของพระสกิทาคามีผล นี่ผมพูดถึงตอนจบ ถ้าเข้าสกิทาคามิผลมันเป็นอย่างนี้ สำหรับความรักในระหว่างเพศ มันเกือบจะหมดความรู้สึก เพราะส่วนใหญ่ของอารมณ์เราหมดความรู้สึก แต่บางครั้งนานๆ มันก็โผล่หน้ามานิดหนึ่ง ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงพระสกิทาคามีนี่ บางทีเผลอ คิดว่านี่เราเป็นพระอนาคามีเสียแล้วหรือ ตอนนี้คุยสู่กันฟัง
ต่อไปก็จะขอนำวิธีปฏิบัติ วิธีปฏิบัติตอนนี้ต้องรักอารมณ์สมาธิให้มาก แต่ก็จงอย่าให้มากเกินไปถึงกับเป็นโรคเส้นประสาท เป็นง่อยเปลี้ยเสียขา อดอาหารการบริโภค เคร่งครัดเกินไป อย่างนี้ไม่มีผล แทนที่จะมีคุณก็กลายเป็นของมีโทษ วิธีปฏิบัติในตอนนี้ก็หมายความว่า เริ่มต้น เราอาจจะใช้อารมณ์พิจารณาอสุภสัญญา เอาอสุภะกันเสียก่อน พิจารณาด้านอสุภสัญญาก่อนก็ได้ หรือว่าเราจะเริ่มต้นด้วยการจับอานาปานุสสติกรรมฐาน จับลมหายใจเข้าออกโดยเฉพาะ หรือว่าจะควบคู่กับพุทธานุสสติกรรมฐานก็ได้ พยายามทำสมาธิให้อารมณ์ใจมันสบาย ให้มีความเข้มแข็งในอารมณ์ ความเข้มแข็งในอารมณ์นี่ไม่เหมือนอารมณ์ของคนโกรธ อารมณ์ของคนโกรธนั้น เข้มแข็งในด้านของความชั่ว ความเข้มแข็งในการที่จะก้าวเข้าไปสู่พระสกิทาคามี เป็นความเข้มแข็งด้านดี คือทรงอานาปานุสสติ กับ พุทธานุสสติกรรมฐาน ให้จิตมีอารมณ์โปร่ง มีความสบาย ใจเย็น อย่ารีบอย่าร้อน หรือว่าท่านจะพิจารณาในด้านอสุภกรรมฐานไปเลยก็ได้ ถ้าอารมณ์ใจจะเป็นเช่นนั้น
ต่อนี้ไปผมก็จะขอพูดถึงวิธีที่จะปฏิบัติ ในยามปกติ เราพยายามลืมเสียให้หมด ลืมว่าคนนั้นเขาว่าเรา คนนี้เขาด่าเรา คนนั้นเขาเกลียดเรา คนนี้เขารักเรา คนนั้นเขาสรรเสริญเรา อารมณ์ขุ่นมัวทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ในโลกธรรม ลืมมันเสีย มันจะมีลาภหรือไม่มีลาภก็ช่างมัน ลาภมีแล้วมันจะหมดไปก็ช่างมัน ยศฐาบรรดาศักดิ์เขาจะให้หรือไม่ให้ก็ช่างมัน ลืมมัน อารมณ์อย่างนี้ลืมมัน มันได้ยศมาแล้วเขาจะเรียกคืนไปก็ช่างมัน หรือว่าการสรรเสริญนินทาจะมาจากทางไหนก็ช่างมัน ความสุข ความทุกข์จากอารมณ์ทางกายทางใจ ไม่มีความสำคัญสำหรับเรา เราลืมโลกธรรม 8 ประการเสีย จงพยายามลืม ฝึกลืม อย่าสนใจ
แล้วก็ลืมคำปรามาสทั้งหลาย ลืมอารมณ์ของความชั่ว ที่คิดว่าผู้ใหญ่ไม่ดี ลำเอียง รักคนนั้นมาก รักคนนี้มาก คนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี คนนั้นพูดไม่ถูกใจเรา คนนี้เอาใจเรา ลืมมันเสีย เพราะว่านั่นเป็นอารมณ์แห่งความเลว และอารมณ์ของนิวรณ์ 5 ตอนนี้นิวรณ์ 5 ยังกวนใจอยู่ กามฉันทะ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ความโกรธ ความพยาบาท อารมณ์ฟุ้งซ่าน อยากจะได้อย่างนั้น อยากจะวิเศษอย่างนี้ คนนั้นดีคนนี้ชั่ว ลืมเสียให้หมด ถ้าอารมณ์เรายังมีอย่างนี้เรามันก็เลว ถ้าเรายังรู้สึกว่าคนอื่นเขาชั่วก็แสดงว่าเราชั่วมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราดีแล้วไม่มีใครชั่ว เพราะว่าเรายอมรับนับถือกฎของกรรม อะไรจะมีชั่ว เรายังนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น นั่นเรายังชั่วอยู่ อาการอย่างนี้จงลืมเสียให้หมด
(มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 8.2 https://ppantip.com/topic/43126370 )