หนังสือ "อมตวาทะ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร)" หลวงพ่อวัดปากน้ำ 9/10

หนังสือ "อมตวาทะ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ" นี้ เป็นหนังสือที่ คณะศิษย์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม แจกเป็นธรรมทานในงานทอดกฐินสามัคคีมหากุศล ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554
 
ตอนที่    1 - 10 https://ppantip.com/topic/42911183
1 ใจ
2 ที่ตั้งของใจ
3 ทางสายเอก
4 ทางเดียวกัน
5 หยุด
6 ตาย - เกิด
7 บุญใหญ่ - กุศลใหญ่
8 จริงแค่ไหน
9 นิพพาน
10 เหตุแห่งความชั่ว-เหตุแห่งความดี
 
ตอนที่  11 - 29 https://ppantip.com/topic/42911188
11 การเข้าถึงรัตนะ
12 ทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
13 หนทางเบื้องต้นมรรค ผล นิพพาน
14 ดวงธรรม
15 พระรัตนตรัยคือที่พึ่งอันสูงสุด
16 สำเร็จด้วยการให้
17 ศาสนาพุทธอยู่ได้ด้วยการให้
18 เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา
19 ให้ดวงบุญนั้นช่วย
20 ปิยวาจา
 
ตอนที่  21 - 30 https://ppantip.com/topic/42911195
21 ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
22 ความเป็นผู้มีตนเสมอ
23 ทำความดีให้หนักขึ้น
24 จิต 12 ดวง
25 ทางบริสุทธิ์
26 ให้ทิ้งขันธ์ 5
27 อยู่กับธรรม
28 หลอกตัวเอง
29 ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
30 สุขในฌาน
 
ตอนที่  31 - 40 https://ppantip.com/topic/42913225
31 หนทางหมดจดวิเศษ
32 ความไม่ประมาท
33 สุราเป็นที่ตั้งของความประมาท
34 สมาธิ
35 ตัวสำคัญ
36 ปล้ำใจให้หยุด
37 เราตถาคตคือธรรมกาย
38 ธรรมอยู่ที่ไหน
39 สุขในปัจจุบันทันตาเห็น
40 พญามาร
 
ตอนที่  41 - 50 https://ppantip.com/topic/42915182
ตอนที่  51 - 60 https://ppantip.com/topic/42915197
ตอนที่  61 - 70 https://ppantip.com/topic/42915214
ตอนที่  71 - 80 https://ppantip.com/topic/42915225
ตอนที่  81 - 90 https://ppantip.com/topic/42917084
ตอนที่ 91 - 100 https://ppantip.com/topic/42917108

81
ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้
ถ้ามีความกำหนัดยินดีเวลาใด แพร๊บเข้าธรรมกายไป ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้เลย ล้อมันเล่นเสียก็ได้ มันทำอะไรไม่ได้ ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้

ที่เราเป็นผู้ครองเรือนน่ะ ความกำหนัดยินดีมันบังคับเหมือนกับเด็กๆ ตามชอบใจมัน จะทำอะไรก็ทำตามชอบใจของมัน ความกำหนัดยินดีมันบังคับ มันบังคับเช่นนั้นแล้ว เราเข้าธรรมกายเสีย ไม่ออกจากธรรมกาย ความกำหนัดยินดีที่มันบังคับนั่น หายแวบไปแล้วเหมือนไฟจุ่มน้ำ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 46 เรื่อง พุทธโอวาท
24 ตุลาคม 2497
 
82
ลูกศิษย์พญามาร
พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์ พึงปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อยความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก็ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามาร เป็นบ่าวพญามาร

พึงปฏิบัติชีวิตของตน อะโมฆัง ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน
จาก พระธรรมเทนาทัณฑ์ที่ 47 เรื่อง ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
31 ตุลาคม 2497
 
83
ต้องเข้าถึงหลักนี้ให้ได้
นี่อาศัยดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หลักนี้เป็นสำคัญนัก ต้องเข้าถึงหลักนี้ให้ได้ หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิตไม่ว่า ถ้าเข้าถึงหลักนี้ไม่ได้ จะไม่ถึงพระพุทธศาสนา จะบวชเป็นพระเป็นเณร เป็นอุบาสก อุบาสิกาก็อย่างนั้นแหละ ไม่มีรสชาติอะไร จะไว้ใจยังไม่ได้ ๆ แน่นอน

ถ้าเพลี่ยงพล้ำแล้ว จะพาลไปถึงอื่นร่ำไป แต่เพียงว่าต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นแหละ ถึงไหว้แล้วเอาเข้าแล้วถึงเขาใหญ่ๆ ศักดิ์สิทธิ์ ถึงไหว้แล้ว เอาเข้าแล้ว ไหว้ภูเขาให้อีกแล้ว ไหว้ต้นไม้ ไหว้ภูเขา ไปถึงไอ้ป่าใหญ่ๆ เข้าดงใหญ่ๆ เข้ามีพวกผีดุ ผีร้ายนัก พอไปเข้าก็ไหว้ก็บูชากัน เอาเข้าแล้ว ไปไหว้ไปบูชากันอีกแล้ว นั่นเลอะแล้ว ถือพุทธศาสนา ถือธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ถือศีล สมาธิ ปัญญา ไม่แน่นแล้วหละ เลอะเลือนเหลวไหล
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 48 เรื่อง การแสดงศีล
3 พฤศจิกายน 2497
 
84
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมนะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ กุศลธรรมความดีนี่แหละ รักษาผู้ประพฤติดีให้ได้รับความสุขตลอดสาย ไม่ให้ได้รับความทุกข์ นี่แหละธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ประพฤติดีด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ไม่มีร่องเสียเลย ประพฤติดีฝ่ายเดียว เขาไม่ได้เสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดเลย แม้อยู่ในหมู่ใด หมู่พระภิกษุหรืออยู่ในหมู่สามเณร ในหมู่อุบาสก อุบาสิกา เมื่อประพฤติธรรมอยู่เช่นนั้นแล้ว ใครๆ ก็ย่อมนับถือ ใครก็ย่อมต้องเชิดชูบูชา เขาต้องนับถือ เขาต้องเชิดชูบูชา ประพฤติธรรมอยู่อย่างเดียว อย่าประพฤติอธรรม

อย่าประพฤติเหลวไหลอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ถูกต้องร่องรอย คือ ความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ เป็นภายนอกสมเจตนา จนกระทังทำใจให้ผ่องใส นี้เรียกว่า ผู้ประพฤติธรรม ผู้ประพฤติเช่นนี้ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นไว้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 49 เรื่อง ปกิณกะ
3 พฤศจิกายน 2497
 
85
การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
เมื่อบริสุทธิ์ ไม่พิรุธทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ สามประการนี้แล้ว เรียกว่า เป็นหลักประธานของการประพฤติธรรม ที่จะทำให้เป็นมนุษย์ เมื่อบริสุทธิ์ไม่มีมีพิรุธ แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ ได้กลับเป็นมนุษย์ทันที

เมื่อประพฤติขึ้นไปกว่านี้ ประพฤติดีขึ้นกว่าบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ประพฤติขึ้นไปกว่านี้ ก็ได้ เป็นมนุษย์สูงขึ้นไปกว่านี้ เป็นมนุษย์เกินมนุษย์ขึ้นไป นี้กล่าวเฉพาะธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ดังนี้นะ

เมื่อเราปรับกับตัวของเราแล้วละก็ ขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์มากนัก ขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์จะไปเป็นอะไร เมื่อขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ละก็ แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ ต้องไปเกิดเป็นเปรตบ้าง อสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เกิดในนรก 456 ขุมบ้าง ชุมใดขุมหนึ่ง อบายภูมิทั้งสี่ไม่เคลื่อนหละ ไม่พ้น

พอเคลื่อนจากการเป็นมนุษย์แล้ว ก็เป็นผู้ไปอบายภูมิทั้งสี่ทีเดียว เพราะเหตุนี้การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เกิดเป็นมนุษย์ต้องประพฤติถูกธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ จึงได้ง่าย ถ้าเคลื่อนจากธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ไม่ได้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 50 เรื่อง ของที่ได้โดยยาก
7 พฤศจิกายน 2497
 
86
อัตโนมัติของบุญ
เมื่อทำบุญเข้าแล้วนะ เขามีอัตโนมัติ เขาเรียกว่าหม้ออัตโนมัติ มนุษย์นี่แหละไม่ว่าหญิงว่าชาย ว่าเด็กว่าเล็กมีหม้ออัตโนมัติเหมือนกันหมด เป็นดวงใส เท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สะดือทะลุหลัง เจาะให้ตรงกลางเชียวนะ เป็นช่องปล่องไปทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ตรงแบบเดียวกัน ตรงกลางจรดกัน

เอาด้ายกลุ่มขึงเส้นหนึ่งตึง สะดือทะลุหลัง ซ้ายทะลุขวา ตรงเส้นหนึ่งขึงให้ตึง พอถึงก็ตรงกลางที่จรดกันนั้นแหละเรียกว่ากลางกั๊ก ตรงกลางกั๊กนั่นแหละ เป็นอัตโนมัติของบุญ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นกำเนิดอยู่ตรงนั้น อัตโนมัติอยู่ตรงนั้น สำหรับดึงดูดบุญ
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 51 เรื่อง ภัตตานุโมทนากถา
18 พฤศจิกายน 2497
 
87
ที่รวมลงของความดี
ลักษณะความประมาทกับความไม่ประมาทนะ ตรงนี้ต้องถือเอาข้อปฏิบัติให้ได้ความประมาทนั่นคือ เลินเล่อเผลตัว ความไม่ประมาทนั่นคือ ไม่เลินเล่อเผลอตัว ไม่เผลอไม่พลั้ง ไม่เผลอ มีสติอยู่เสมอ เรียกว่าความไม่ประมาท เราขาดสติ อ่อนสติ เรียกว่าความประมาท

เพราะฉะนั้นความประมาท และไม่ประมาททั้งสองประการนี้ พระองค์ทรงชี้ขาด บรรดาธรรมที่พระองค์ทรงตรัสเทศนาไว้ 84,000 พระธรรมขันธ์เชียว ย่นลงไปปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกมีความไม่ประมาทนี้แหละ เป็นยอดของพระไตรปิฎกเหล่านั้น ความไม่ประมาทนี้เป็นที่รวมลงของความดีทั้งหลาย ความประมาทเล่าเป็นที่รวบรวมลงของความไม่ดีทั้งนั้น ความประมาทเป็นที่รวมลงของความชั่ว มีมากน้อยเท่าใดรวมลงในความประมาททั้งสิ้น ความดีมากเท่าใดรวมลงในความไม่ประมาททั้งสิ้น นี่เป็นข้อรวมอย่างนี้
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 52 เรื่อง ความไม่ประมาท
21 พฤศจิกายน 2497
 
88
อริยทรัพย์
4 ข้อด้วยกัน เชื่อในพระตถาคตเจ้า อีกอย่างหนึ่งศีลอันดีงาม ข้อที่ 2 เลื่อมใสในพระสงฆ์ ข้อที่ 3 เห็นตรง เป็นข้อที่ 4 ใน 4 ข้อนี้แหละ มีอยู่ในสันดานของบุคคลใดแล้ว บุคคลผู้นั้นมีทรัพย์สินเงินทองมากมายสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สู้บุคลผู้มีธรรม 4 ข้อ ผู้มั่นใน 4 ข้อนี้ไม่ได้ วางตำราทีเดียว อริยธนกถา วาจาเป็นเครื่องกล่าวปรารถถึงอริยทรัพย์ ว่ามีอริยทรัพย์เดียว ไม่ขัดสนไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว นี้แหละทรัพย์ของพระ ของเณร พระเณรมีทรัพย์อย่างนี้ ก็สบายสดชื่นเอิบอิ่มตื้นเต็ม อุบาสกอุบาสิกามีทรัพย์อย่างนี้ ก็เอิบอิ่มปลาบปลื้มตื้นเต็ม
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 53 เรื่อง อริยทรัพย์
25 พฤศจิกายน 2497
 
89
ธรรมคืออะไร
ธรรมทั้งหลายนะคืออะไร รูปก็เป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นรูป เป็นนาม ก็เป็นธรรมเหมือนกัน ธรรมทั้งหลายนั่นคือ กุสลาธัมมา ธรรมฝ่ายดี มีเท่าใดหมดพระไตรปิฎก ไม่มีชัวเข้าไปเจือปนระคนเลย เรียกว่ากุสลาธัมมา

ธรรมที่ชั่วคือตรงกับบาลีว่า อกุสลาธัมมา ธรรมทั้งหลายนี้ชั่ว ไม่มีดีเข้าไปเจือปนเลย ชั่วทั้งสิ้นทีเดียว นี้เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธรรมทั้งหลายที่ชั่ว

ธรรมทั้งหลายที่ไม่ดีไม่ชั่ว ดีไม่เข้าไปเจือปน ชั่วก็ไม่เข้าไปเจือปน ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ อยู่ดังนี้ นั้นเรียกว่าอัพยากตาธัมมา นี่เป็นมาติกา แม่บททั้งสามนี้หมดทั้งสากลพุทธศาสนา ธรรมมีเท่านี้

กว้างนักจบพระไตรปิฎกมากมายนัก พระพุทธเจ้าจะมาตรัสเทศนาเท่าใด ในอดีตมีมากน้อยเท่าใดๆ เมื่อรวมธรรมแล้วก็ได้เท่านี้ พระพุทธเจ้ามาตรัสในปัจจุบันนี้ ถ้ารวมธรรมได้เท่านี้ พระพุทธเจ้าจะมาตรัสในอนาคต ภายเบื้องหน้า ก็รวมธรรมได้เท่านี้ ย่อลงไปว่า ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว สามอย่างนี้เท่านั้น ดีเป็นธรรมฝ่ายดี ชั่วเป็นธรรมฝ่ายชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว
จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 54 เรื่อง พุทธอุทานคาถา
10 ธันวาคม 2497
 
90
สามัคคี
ถ้าจะมองหาความเจริญ มุ่งความเจริญละก็ต้องมั่นสามัคคี สร้างสามัคคีไว้ ถ้าว่าทำลายสามัคคีแล้วละก็ เป็นอันแตกทะลายแน่ ต้องแยกจากกัน ลูกเต้าก็ต้องแยกไป พี่น้องวงศาคณาญาติอยู่รวมกันไม่ได้ อัตอัตขัดสนขึ้นอีกเพราะความไม่สามัคคีนั้นมันฆ่าเสียแล้ว ทำลายเสียแล้ว

นี่แหละตัวอุบาทว์จำไว้เถอะ ที่เขาเรียกว่าบาตรแตกเข้าบ้านละ นี่แหละบาตรแตกเข้าบ้านละ หรือเรียกว่า กาลกิณีอยู่บ้านนี้แหละ อ้ายแตกสามัคคีนั่นแหละเป็นตัวกาลกิณี ให้จำไว้เป็นตำรับตำรา ถ้าต้องการความเจริญต้องพร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน น้ำหนึ่งใจเดียวกัน นั่นแหละจึงจะเจริญได้
จาก พระธรรมทศนากัณฑ์ที่ 55 เรื่อง การย์นย่อสกลพุทธศาสศาสนาฯ
10 ธันวาคม 2497
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่