หัวข้อสมมติ คิดเรื่อง เอาตัวรอดในสังคม

กระทู้สนทนา
ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากได้ต้อง ดิ้นรนกันทั้งนั้น กว่าจะได้มา
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ต้องมี
โพชฌงค์ ๗” ประกอบด้วย สติ ความระลึกได้, ธรรมวิจยะ การศึกษาสอดส่องธรรมะ, วิริยะ ความพากเพียร, ปีติ ความเอิบอิ่มใจโดยปราศจากอามิส, ปัทสัทธิ ความสงบกายใจ, สมาธิ ความจิตตั้งมั่น และอุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง

ทุกขณะ ทุกๆสภาวะ เจอแต่ อุปสรรค ต้องหมั่นศึกษาทุกช่วงของชีวิตไม่ว่าจะเจออะไรก็แล้วแต่ มันจะเป็นการเรียนรู้เป็นไปโดยปริยายอัตโนมัติ ตามสัญชาตญาณของบุคคลนั้นๆ 
แต่นักปฏิบัติ จะหมั่นอบรบจิตใจไว้เสมอ
ประกอบความประพฤติ กาย วาจา ใจ 
ให้บริสุทธิ์เป็นอย่างๆ
มนุษย์ทุกชีวิตล้วนต้องการแค่อยู่เป็นสุขสงบร่มเย็นมนุษย์ทุกชีวิตล้วนต้องการแค่อยู่เป็นสุขสงบร่มเย็น

แต่ถ้าหาก พอมีความรู้ที่กำจัดความมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ถูกรู้ผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมน 
ไม่เห็นทางคือพระนิพพาน

ความพยายามใด ในเมื่อมองไม่เห็นเป้าหมายนั้น ทำให้ลำบากเปล่า
ขันธ์ ๕ ก็เหมือนกันถ้าตัดออกหรือ ปลงไม่เป็น ก็ทำให้ปฏิบัติยากลำบาก

แต่เมื่อไม่เห็นเป้าหมายเราเลือกได้ว่า
จะพยายามโดยที่ไม่เห็นเป้าหมายแต่ 
สมมติขึ้นว่ามี คือ พระนิพพาน
หรือจะหันหลังกลับ ย่อมรับความพ่ายแพ้ก่อนถึงเป้าหมายคือ มารทั้ง ๕
1.กิเลสมาร
2.ขันธมาร
3.อภิสังขารมาร
4.เทวปุตตมาร
5.มัจจุมาร

นักปฏิบัติธรรม ตามเส้นทางสายกลาง ใช้ชีวิตอยู่อย่าง สมถะปฏิบัติเพื่อชำระล้างกิเลสที่อยู่ภายในจิตใจ 
๑. โลภะ ความอยากได้ในสิ่งของ เงินทอง ทรัพย์สิน ที่ดินหรือลาภอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของของตน
๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย ทำลาย
๓. โมหะ ความหลง มัวเมา
๔. มานะ ความถือตัว
๕. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
๖. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๗. ถีนะ ความหดหู่
๘. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๙. อหิริกะ ความไม่ละอายบาป
๑๐. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่