ต่อจาก หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.1 https://ppantip.com/topic/43220700
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.2
ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า
"สัพเพ สัตตา อาหารา ฐิติกา" สัตว์ทั้งหลายจะทรงอยู่ได้เพราะอาหาร ในเมื่อสิ่งที่สร้างร่างกายเราให้ทรงอยู่และเติบโตขึ้นหรือเจริญขึ้น มันเป็นของสกปรก และก็ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มีจุดไหน บ้างที่สะอาด ในเมื่อมันสร้างขึ้นมาจากความสกปรก มันก็สกปรกตลอด กายเราก็สกปรก กายเขาก็สกปรก ในเมื่อกายมันสกปรก กายเราสกปรก กายเขาสกปรก ทำไมเราจึงยังพอใจในความสกปรกอยู่อีกหรือ ตรงนี้จงใช้ปัญญาของท่านพิจารณาดู ว่าไอ้ของสกปรกอย่างนี้เราควจะเอามันไว้ต่อไปไหม เราควรจะมีต่อไปไหม
ถ้าเราจะนึกรักคนต่างเพศสักคนหนึ่ง เราก็มานั่งใช้ปัญญาพิจารณาดูว่า ในเมื่อคนนั้นเขาเกิดมาจากพื้นฐานแห่งความสกปรก
การก่อชีวิตขึ้น ในหลุมของความสกปรก ต่อมาความเจริญวัยจากอาหาร อาหารที่สร้างให้ร่างกายเขาเจริญขึ้นมา มันก็มาจากของสกปรก และเรายังจะพอใจในความสกปรกของพื้นฐานร่างกายของบุคคลนั้นอีกหรือ หรือว่าร่างกายของเรามันดีกว่าเขาหรือเปล่า ร่างกายของเรามันก็จากพื้นฐาน มาจากหลุมของความสกปรกเหมือนกัน
และในเมื่อร่างกายเราก็สกปรก ร่างกายของบุคคลอื่นก็สกปรก ความรู้สึกที่เรามีความพอใจ นั่นคือเราต้องการของสะอาด ของสวย ของดี แต่ทว่าร่างกายของเรานี้มันก็ไม่ดี ร่างกายของอีกฝ่ายหนึ่งมันก็ไม่ดี เราจะเอาของสกปรก คือความไม่ดีเข้าไปบวกกัน มันก็เพิ่มความสกปรกมากขึ้น
แต่ความจริงวันนี้น่าจะพูดถึง
อริยสัจ แต่ยังไม่พูดถึง เราพูดถึงในด้านสมถภาวนาก่อน ต่อแต่นี้ไปในเมื่อความสกปรกมันเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นด้วยสัญญา มันจะยังไม่มีความรู้สึกอะไรมาก ถ้ามันเกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัญญา มันจะเกิดความรังเกียจ ทั้งร่างกายเรา และก็ร่างกายเขา
แต่เนื้อแท้จริง ๆ นี่พระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้พิจารณาร่างกายคนอื่นมาก ต้องการให้เห็นว่า ร่างกายของเราตามความเป็นจริงว่ามันสกปรกตรงไหนบ้าง ถ้าจิตใจของท่านยังเห็นว่า ร่างกายของท่านส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของดี ก็ต้องขอยกประโยชน์ให้กับท่านว่า
ท่านเป็นจอมแห่งความโง่ที่สุด
ร่างกายของเรานี่ต้องอาบน้ำทุกวัน ต้องระมัดระวังผิวพรรณทุกวัน แค่ผิวนิดเดียวมันยังสกปรก ถ้าลอกหนังออกไปมีแต่เนื้อ มันสะอาดหรือว่าสกปรก ลอกเนื้อออกไป ทีนี้เหลือแค่ข้างในสิ มีตับ ไต ไส้ ปอด มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น มันสะอาดหรือว่าสกปรก ใช้ปัญญา อย่าใช้แต่สัญญา
ความจริงการสอนอย่างนี้ ยังไม่ได้เคยรับมา ที่มาพูดให้ฟังก็เพื่อความหวังดีว่าควรจะคิดอย่างนี้ด้วยปัญญาตลอดวัน เมื่อพิจารณาไปแล้วว่าร่างกายเขาก็สกปรก ร่างกายของบุคคอื่นสกปรก ความจริงมันเห็นง่ายนิดเดียว ไม่มีอะไรจะยาก ตอนนี้นิพพิทาญาณมันจะเกิด คือนิพพิทาในด้านสมถภาวนา มันจะเกิดการรังเกียจร่างกายเราเองด้วย และก็ร่างกายบุคคลอื่นด้วย อันนี้ถูกต้อง ถ้าเรารังเกี่ยจนี่ถูกต้อง แต่ว่าความรังเกียจในด้านของนิพพิทาญาณ
คำว่า
นิพพิทาญาณ เรียกว่า ความเบื่อหน่ายมันเกิดขึ้นมามาก ๆ ถ้าเราไม่ใช้สังขารุเปกขาญาณ มันก็จะกลายเป็น
อัตวินิบาตกรรม อย่างในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นพระที่ศึกษาจากองค์สมเด็จพระบรมครู มีความเบื่อหน่ายจ้างปริพพาชกฆ่าตนด้วยบริขาร คือ ของที่มีอยู่ให้เขาฆ่าแล้วก็ให้บริขารคือ ของที่มีอยู่ให้เป็นรางวัล ปริพาชกฆ่าเสียหลายสิบคน
ต่อมาองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้ทรงแนะนำว่า
ร่างกายนี้ เมื่อกระจายออกแล้วจงรวมเข้า คำว่า รวมเข้า ก็หมายความว่า ในเมื่อมันยังทรงชีวิตอยู่ ก็ให้มันทรงชีวิตอยู่อย่างนั้นตลอดไป แต่ทว่าจิตใจของเราไม่มีความรักในมัน ในเมื่อมันจะหิวเราก็หาให้มันกิน มันจะรัอนเราก็หาของเย็นให้ เป็นการระงับทุกขเวทนา มันจะหนาว เราก็หาเครื่องนุ่งห่มให้ แต่ด้วยน้ำใจของเราจริง ๆ เราไม่มีความพอใจในร่างกายนี้เลย เพราะอะไร เพราะนอกจากที่มันจะสกปรกแล้ว มันก็ยังไม่มีความสุข
ที่มันไม่มีความสุขเพราะอะไร เพราะเราต้องการอย่างเดียว คือการอยู่เป็นสุขอย่างไม่มีกิจ คำว่า ไม่มีกิจ หมายความว่า ไม่มีธุระที่จะต้องทำให้ร่างกายลำบาก ไม่มีธุระที่จะต้องทำให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อย เราไม่ต้องการความกังวลใด ๆ ทั้งหมด เราต้องการอารมณ์เป็นสุข เราต้องการร่างกายที่เป็นสุข
ทีนี้สำหรับร่างกายของเรานี่มันมีสภาพอย่างนั้นไหม จำได้ไหมว่าตั้งแต่พอตื่นขึ้นเช้า ลืมตาขึ้นมาใหม่ ๆ มันมีอะไรบ้างที่จะสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจ ตื่นเช้าขึ้นมาใหม่ ๆ หน้ากรัง ปากเหม็น ต้องไปล้างหน้า ต้องแปรงฟัน นี่เป็นงานที่เราไม่ต้องการจะทำ ถ้าเราไม่มีงานให้ทำ กังวลนี้มันก็ไม่มี และนอกจากนั้นต่อมาตอนสายมันก็หิว หิวเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้าหิวมันเป็นสุขเราไม่ต้องกินก็ได้ แต่หิวมันไม่เป็นสุขมันเสียดแทงใจ เสียดแทงกาย ทำให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ นี่เป็นกังวล เราก็ต้องหากิน
นี่เราก็ต้องกินเพื่อยับยั้งความหิว แต่การกินเพื่อยับยั้งความหิวมันหมดธุระแล้วหรือยัง ก็ยัง ถ้ากินน้ำเข้าไป กินอาหารเข้าไป มันก็จะต้องกลายมาเป็นอุจจาระและปัสสาวะ ถ้าการต้องการในการมีอุจจาระ ปัสสาวะ ต้องถ่าย มันเกิดขึ้น ถ้าไม่ถ่ายมันทำไง มันก็ทุกข์ซิทุกข์หนัก มันก็เบียดเบียนสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจ ในที่สุด ความแก่มาถึง ความป่วยไข้ไม่สบายมาถึง ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจมาถึง ความตายจะมาถึง ตัวนี้มันสร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นกับเรา ความสบายกาย สบายใจไม่มี
อากกรอย่างนี้มันเกิดขึ้นมากับกาย ถ้านิพพิทามันมากเกินไป มันก็จะทำลายตัวเอง จะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ยึด สังขารุเปกขาญาณ คือว่าทำใจวางเฉย ยอมรับนับถือความเป็นจริง ในฐานะที่เราเกิดขึ้นมาแล้วนี่ เรามีหน้าที่ที่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติกันอย่างนั้น เพื่อเป็นการระงับทุกขเวทนา
เกิดตื่นมาต้องล้างหน้า ไม่ต้องการล้างก็ล้าง ถึงเวลาจะกินก็กิน ก่อนที่จะได้กินต้องหา ก็ต้องหา ทุกสิ่งทุกอย่างถือว่าทำตามหน้าที่ แต่ร่างกาย
ที่สร้างความเร่าร้อน สร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจ และมันเองก็เต็มไปด้วยความสกปรกอย่างนี้ จิตเราก็คิดไว้ว่า ก่อนจะเกิดเรามันโง่ ถ้าเราไม่โง่เราไม่ยึดถือกิเลส ตัณหาอุปาทานและอกุศลกรรมไว้ เป็นสมบัติของเรา ประจำจิตใจเรา เราก็ไม่ได้เกิด เราก็ไปนิพพาน ในเมื่อมันโง่มาแล้ว เราก็จะไม่โง่ต่อไป คิดไว้ในใจ คือสังขารุเปกขาญาณ เขาคิดอย่างนี้ คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นมากับร่างกายก็ตามที หรืออะไรจะเกิดขึ้นมากับอารมณ์ก็ตาม ถือว่าช่างมัน ช่างมันธรรมดาของมันเป็นอย่างนั้น เราก็ทำไปทุกอย่างทำตามหน้าที่เท่านั้น มันหิว หาให้กินตามหน้าที่ มันรัอน เอาความเย็นให้มันระงับทุกขเวทนาตามหน้าที่ มันหนาว หาความอบอุ่นให้ตามหน้าที่ มันป่วยไข้ไม่สบาย รักษากายนี้ตามหน้าที่ คือตามหน้าที่หมายถึงว่า ระงับทุกขเวทนาชั่วคราว แต่ว่า จิตใจของเราไม่มีความต้องการในมันอีก
เพราะอะไร เพราะมันสกปรก และก็มันมีการเคลื่อนไหวเข้าไปหาความทุกข์ตลอดเวลา อะไรจะเกิดขึ้นมาใจเราไม่หวั่นไหว ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของมัน แต่ใจคิดไว้เสมอด้วยอารมณ์มั่นว่า
ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นมนุษย์ ความเกิดเป็นเทวดาหรือเป็นพรหมไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการนั่นก็คือพระนิพพาน
ฉะนั้นความจริงอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้น่าจะกล่าวว่า จุดสตาร์ทขั้นแรกนั่นก็คือ ความเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่พระอนาคามี ที่พูดไว้เพียงแค่พระอนาคามี ก็พูดไว้เพื่อคนโง่เท่านั้น
เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เวลาที่จะแนะนำกันก็เห็นว่าพอแล้ว ต่อแต่นี้ไป ขอสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว จงพากันอยู่ในอิริยาบถที่ท่านพึงปรารถนา จะนั่งก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ จะนอนก็ได้ นั่งท่าไหนก็ได้ ถ้าร่างกายสบาย รักษากำลังใจของท่านด้วยอำนาจของอานาปานุสสติกรรมฐาน กับคำภาวนาและพิจารณาให้จิตทรงตัว เวลาจะนอน จงพยายามภาวนาและพิจารณาจนกว่าจะหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ ยังไม่สายเกินไปจับอารมณ์นั้นไว้ให้ทรงกำลังใจ ถ้าตอนเช้ามืด กำลังใจทรงมากเท่าใด วันทั้งวันอารมณ์ใจของท่านจะมีความสุข และผลที่จะพึงได้ก็คือ
อริยมรรค อริยผล ตามที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัทตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น อยู่ในอิริยาบถที่ท่านต้องการ ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะเห็นว่าเวลานั้นสมควรจะเลิก
สวัสดี
รวมลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.2
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.2
ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า "สัพเพ สัตตา อาหารา ฐิติกา" สัตว์ทั้งหลายจะทรงอยู่ได้เพราะอาหาร ในเมื่อสิ่งที่สร้างร่างกายเราให้ทรงอยู่และเติบโตขึ้นหรือเจริญขึ้น มันเป็นของสกปรก และก็ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มีจุดไหน บ้างที่สะอาด ในเมื่อมันสร้างขึ้นมาจากความสกปรก มันก็สกปรกตลอด กายเราก็สกปรก กายเขาก็สกปรก ในเมื่อกายมันสกปรก กายเราสกปรก กายเขาสกปรก ทำไมเราจึงยังพอใจในความสกปรกอยู่อีกหรือ ตรงนี้จงใช้ปัญญาของท่านพิจารณาดู ว่าไอ้ของสกปรกอย่างนี้เราควจะเอามันไว้ต่อไปไหม เราควรจะมีต่อไปไหม
ถ้าเราจะนึกรักคนต่างเพศสักคนหนึ่ง เราก็มานั่งใช้ปัญญาพิจารณาดูว่า ในเมื่อคนนั้นเขาเกิดมาจากพื้นฐานแห่งความสกปรก การก่อชีวิตขึ้น ในหลุมของความสกปรก ต่อมาความเจริญวัยจากอาหาร อาหารที่สร้างให้ร่างกายเขาเจริญขึ้นมา มันก็มาจากของสกปรก และเรายังจะพอใจในความสกปรกของพื้นฐานร่างกายของบุคคลนั้นอีกหรือ หรือว่าร่างกายของเรามันดีกว่าเขาหรือเปล่า ร่างกายของเรามันก็จากพื้นฐาน มาจากหลุมของความสกปรกเหมือนกัน
และในเมื่อร่างกายเราก็สกปรก ร่างกายของบุคคลอื่นก็สกปรก ความรู้สึกที่เรามีความพอใจ นั่นคือเราต้องการของสะอาด ของสวย ของดี แต่ทว่าร่างกายของเรานี้มันก็ไม่ดี ร่างกายของอีกฝ่ายหนึ่งมันก็ไม่ดี เราจะเอาของสกปรก คือความไม่ดีเข้าไปบวกกัน มันก็เพิ่มความสกปรกมากขึ้น
แต่ความจริงวันนี้น่าจะพูดถึง อริยสัจ แต่ยังไม่พูดถึง เราพูดถึงในด้านสมถภาวนาก่อน ต่อแต่นี้ไปในเมื่อความสกปรกมันเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นด้วยสัญญา มันจะยังไม่มีความรู้สึกอะไรมาก ถ้ามันเกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัญญา มันจะเกิดความรังเกียจ ทั้งร่างกายเรา และก็ร่างกายเขา
แต่เนื้อแท้จริง ๆ นี่พระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้พิจารณาร่างกายคนอื่นมาก ต้องการให้เห็นว่า ร่างกายของเราตามความเป็นจริงว่ามันสกปรกตรงไหนบ้าง ถ้าจิตใจของท่านยังเห็นว่า ร่างกายของท่านส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นของดี ก็ต้องขอยกประโยชน์ให้กับท่านว่า ท่านเป็นจอมแห่งความโง่ที่สุด
ร่างกายของเรานี่ต้องอาบน้ำทุกวัน ต้องระมัดระวังผิวพรรณทุกวัน แค่ผิวนิดเดียวมันยังสกปรก ถ้าลอกหนังออกไปมีแต่เนื้อ มันสะอาดหรือว่าสกปรก ลอกเนื้อออกไป ทีนี้เหลือแค่ข้างในสิ มีตับ ไต ไส้ ปอด มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น มันสะอาดหรือว่าสกปรก ใช้ปัญญา อย่าใช้แต่สัญญา
ความจริงการสอนอย่างนี้ ยังไม่ได้เคยรับมา ที่มาพูดให้ฟังก็เพื่อความหวังดีว่าควรจะคิดอย่างนี้ด้วยปัญญาตลอดวัน เมื่อพิจารณาไปแล้วว่าร่างกายเขาก็สกปรก ร่างกายของบุคคอื่นสกปรก ความจริงมันเห็นง่ายนิดเดียว ไม่มีอะไรจะยาก ตอนนี้นิพพิทาญาณมันจะเกิด คือนิพพิทาในด้านสมถภาวนา มันจะเกิดการรังเกียจร่างกายเราเองด้วย และก็ร่างกายบุคคลอื่นด้วย อันนี้ถูกต้อง ถ้าเรารังเกี่ยจนี่ถูกต้อง แต่ว่าความรังเกียจในด้านของนิพพิทาญาณ
คำว่า นิพพิทาญาณ เรียกว่า ความเบื่อหน่ายมันเกิดขึ้นมามาก ๆ ถ้าเราไม่ใช้สังขารุเปกขาญาณ มันก็จะกลายเป็น อัตวินิบาตกรรม อย่างในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นพระที่ศึกษาจากองค์สมเด็จพระบรมครู มีความเบื่อหน่ายจ้างปริพพาชกฆ่าตนด้วยบริขาร คือ ของที่มีอยู่ให้เขาฆ่าแล้วก็ให้บริขารคือ ของที่มีอยู่ให้เป็นรางวัล ปริพาชกฆ่าเสียหลายสิบคน
ต่อมาองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้ทรงแนะนำว่า ร่างกายนี้ เมื่อกระจายออกแล้วจงรวมเข้า คำว่า รวมเข้า ก็หมายความว่า ในเมื่อมันยังทรงชีวิตอยู่ ก็ให้มันทรงชีวิตอยู่อย่างนั้นตลอดไป แต่ทว่าจิตใจของเราไม่มีความรักในมัน ในเมื่อมันจะหิวเราก็หาให้มันกิน มันจะรัอนเราก็หาของเย็นให้ เป็นการระงับทุกขเวทนา มันจะหนาว เราก็หาเครื่องนุ่งห่มให้ แต่ด้วยน้ำใจของเราจริง ๆ เราไม่มีความพอใจในร่างกายนี้เลย เพราะอะไร เพราะนอกจากที่มันจะสกปรกแล้ว มันก็ยังไม่มีความสุข
ที่มันไม่มีความสุขเพราะอะไร เพราะเราต้องการอย่างเดียว คือการอยู่เป็นสุขอย่างไม่มีกิจ คำว่า ไม่มีกิจ หมายความว่า ไม่มีธุระที่จะต้องทำให้ร่างกายลำบาก ไม่มีธุระที่จะต้องทำให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อย เราไม่ต้องการความกังวลใด ๆ ทั้งหมด เราต้องการอารมณ์เป็นสุข เราต้องการร่างกายที่เป็นสุข
ทีนี้สำหรับร่างกายของเรานี่มันมีสภาพอย่างนั้นไหม จำได้ไหมว่าตั้งแต่พอตื่นขึ้นเช้า ลืมตาขึ้นมาใหม่ ๆ มันมีอะไรบ้างที่จะสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจ ตื่นเช้าขึ้นมาใหม่ ๆ หน้ากรัง ปากเหม็น ต้องไปล้างหน้า ต้องแปรงฟัน นี่เป็นงานที่เราไม่ต้องการจะทำ ถ้าเราไม่มีงานให้ทำ กังวลนี้มันก็ไม่มี และนอกจากนั้นต่อมาตอนสายมันก็หิว หิวเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้าหิวมันเป็นสุขเราไม่ต้องกินก็ได้ แต่หิวมันไม่เป็นสุขมันเสียดแทงใจ เสียดแทงกาย ทำให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ นี่เป็นกังวล เราก็ต้องหากิน
นี่เราก็ต้องกินเพื่อยับยั้งความหิว แต่การกินเพื่อยับยั้งความหิวมันหมดธุระแล้วหรือยัง ก็ยัง ถ้ากินน้ำเข้าไป กินอาหารเข้าไป มันก็จะต้องกลายมาเป็นอุจจาระและปัสสาวะ ถ้าการต้องการในการมีอุจจาระ ปัสสาวะ ต้องถ่าย มันเกิดขึ้น ถ้าไม่ถ่ายมันทำไง มันก็ทุกข์ซิทุกข์หนัก มันก็เบียดเบียนสร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจ ในที่สุด ความแก่มาถึง ความป่วยไข้ไม่สบายมาถึง ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจมาถึง ความตายจะมาถึง ตัวนี้มันสร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นกับเรา ความสบายกาย สบายใจไม่มี
อากกรอย่างนี้มันเกิดขึ้นมากับกาย ถ้านิพพิทามันมากเกินไป มันก็จะทำลายตัวเอง จะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ยึด สังขารุเปกขาญาณ คือว่าทำใจวางเฉย ยอมรับนับถือความเป็นจริง ในฐานะที่เราเกิดขึ้นมาแล้วนี่ เรามีหน้าที่ที่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติกันอย่างนั้น เพื่อเป็นการระงับทุกขเวทนา
เกิดตื่นมาต้องล้างหน้า ไม่ต้องการล้างก็ล้าง ถึงเวลาจะกินก็กิน ก่อนที่จะได้กินต้องหา ก็ต้องหา ทุกสิ่งทุกอย่างถือว่าทำตามหน้าที่ แต่ร่างกายที่สร้างความเร่าร้อน สร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจ และมันเองก็เต็มไปด้วยความสกปรกอย่างนี้ จิตเราก็คิดไว้ว่า ก่อนจะเกิดเรามันโง่ ถ้าเราไม่โง่เราไม่ยึดถือกิเลส ตัณหาอุปาทานและอกุศลกรรมไว้ เป็นสมบัติของเรา ประจำจิตใจเรา เราก็ไม่ได้เกิด เราก็ไปนิพพาน ในเมื่อมันโง่มาแล้ว เราก็จะไม่โง่ต่อไป คิดไว้ในใจ คือสังขารุเปกขาญาณ เขาคิดอย่างนี้ คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นมากับร่างกายก็ตามที หรืออะไรจะเกิดขึ้นมากับอารมณ์ก็ตาม ถือว่าช่างมัน ช่างมันธรรมดาของมันเป็นอย่างนั้น เราก็ทำไปทุกอย่างทำตามหน้าที่เท่านั้น มันหิว หาให้กินตามหน้าที่ มันรัอน เอาความเย็นให้มันระงับทุกขเวทนาตามหน้าที่ มันหนาว หาความอบอุ่นให้ตามหน้าที่ มันป่วยไข้ไม่สบาย รักษากายนี้ตามหน้าที่ คือตามหน้าที่หมายถึงว่า ระงับทุกขเวทนาชั่วคราว แต่ว่า จิตใจของเราไม่มีความต้องการในมันอีก
เพราะอะไร เพราะมันสกปรก และก็มันมีการเคลื่อนไหวเข้าไปหาความทุกข์ตลอดเวลา อะไรจะเกิดขึ้นมาใจเราไม่หวั่นไหว ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของมัน แต่ใจคิดไว้เสมอด้วยอารมณ์มั่นว่า ร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นมนุษย์ ความเกิดเป็นเทวดาหรือเป็นพรหมไม่มีสำหรับเรา สิ่งที่เราต้องการนั่นก็คือพระนิพพาน
ฉะนั้นความจริงอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้น่าจะกล่าวว่า จุดสตาร์ทขั้นแรกนั่นก็คือ ความเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่พระอนาคามี ที่พูดไว้เพียงแค่พระอนาคามี ก็พูดไว้เพื่อคนโง่เท่านั้น
เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เวลาที่จะแนะนำกันก็เห็นว่าพอแล้ว ต่อแต่นี้ไป ขอสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว จงพากันอยู่ในอิริยาบถที่ท่านพึงปรารถนา จะนั่งก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ จะนอนก็ได้ นั่งท่าไหนก็ได้ ถ้าร่างกายสบาย รักษากำลังใจของท่านด้วยอำนาจของอานาปานุสสติกรรมฐาน กับคำภาวนาและพิจารณาให้จิตทรงตัว เวลาจะนอน จงพยายามภาวนาและพิจารณาจนกว่าจะหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ ยังไม่สายเกินไปจับอารมณ์นั้นไว้ให้ทรงกำลังใจ ถ้าตอนเช้ามืด กำลังใจทรงมากเท่าใด วันทั้งวันอารมณ์ใจของท่านจะมีความสุข และผลที่จะพึงได้ก็คือ อริยมรรค อริยผล ตามที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส
ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัทตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น อยู่ในอิริยาบถที่ท่านต้องการ ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะเห็นว่าเวลานั้นสมควรจะเลิก สวัสดี
รวมลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics