อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.1
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้การสมาทานพระกรรมฐานของท่านได้ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับการศึกษาพระกรรมฐาน บทนี้ให้ชื่อว่า
หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา สำหรับหมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ เป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภิกษุ สามเณร ถึงแม้ว่าอุบาสก อุบาสิกา ก็ถือว่ามีความสำคัญเหมือนกัน แต่ทว่าที่มีความสำคัญน้อยหรือสำคัญมากกว่ากันก็เพราะว่า บรรดาภิกษุสามเณรที่อุปสมบท บรรพชาเข้ามาในพระพุทธศาสนาที่ต้องตกนรก เพราะขาดอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ไม่น้อยกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าครูบาอาจารย์ไม่มีความรู้ และก็ไม่สนใจใน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เพื่อบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่เข้ามาอุปสมบท บรรพชา ว่าก่อนที่จะฉันภัตตาหาร ให้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญาเสียก่อน โดยมีความรู้สึกว่าเราจะไม่ฉันเพื่อรสอร่อย เราจะไม่ฉันด้วยติดในรสของอาหาร เราจะไม่ฉันเพราะติดในกลิ่นของอาหาร เราจะไม่ฉันเพราะติดในสีของอาหาร เราจะไม่ฉันเพราะติดในอาการคือสภาพของอาหาร เราจะไม่กินเพื่อความอ้วนพี เราจะไม่กินเพื่อความผ่องใส เราจะกินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป
นี่ก่อนจะฉันอาหารทุก ๆ คราว บรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายจะต้องพิจารณาอย่างนี้
องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสต่อไปว่า ถ้าไม่ได้พิจารณาแบบนี้ ฉันอาหารเข้าไปแล้วมีโทษถึงตกนรก คือว่าท่านกล่าวว่า ถ้าเราไม่ได้พิจารณาด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล้ว กินก้อนเหล็กที่เผาจนแดงโชนดีกว่า เพราะเหล็กที่เผาจนแดงโซนมีความสุก มีความร้อนมาก เมื่อกินเข้าไปถึงปากก็ปากพัง กินเข้าถึงคอ คอก็พังเพราะความร้อน เมื่อถึงอกอกก็พัง เมื่อถึงท้องท้องก็พัง แล้วก็ตาย แต่ตายเมื่อไรความร้อนก็หมดไปเมื่อนั้น หายร้อน
แต่ว่าภิกษุสามเณรที่ฉันอาหารไม่ได้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกุลสัญญา กินเข้าไปแล้ว เวลาตายจะต้องตกนรก การตกนรกนั้นใช้เวลานานเป็นกัป จะต้องมีความเร่าร้อนเพราะถูกไฟเผาผลาญในนรก และไฟในนรกก็มีความร้อนแรงกว่าไฟธรรมดา เรียกว่าหลายล้านเท่า นอกจากถูกไฟเผาแล้ว จะต้องถูกลับฟันด้วยสรรพาวุธซึ่งมีความลำบากมากกว่า
ฉะนั้นในบททำวัตรเย็นหรือว่าทำวัตรเช้าเขาก็ใช้กัน ตามปกติเขาใช้ทั้งทำวัตรเย็นและทำวัตรเช้า ใช้บทปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑปาตังบ้าง แล้วก็อะไรอีก ก็ 3 บท ปฏิสังขา โยนิโส จีวรังบ้าง ปฏิสังขา โยนิโส เสนาสบ้าง ความจริงในการว่าบทนั้น ๆ น่ะ เป็นการพิจารณาไม่ใช่ว่าจนคล่องปาก ว่าแบบคล่องปาก ว่าแบบนกแก้ว นกขุนทอง ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไร เป็นอันว่าหมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นจุดบังคับสำหรับบรรดาภิกษุสงฆ์และสามเณร ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ถ้าหวังความสุข ถ้าบังเอิญไม่เคยใช้เลย ก็ตั้งยกตั้งโจลงนรกเข้าไว้ เพราะยังไง ๆ มันก็ลงนรกกันแน่ ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่าต้องลงนรก มันก็ต้องลงกัน
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะบวชเข้ามาเมามันในอำนาจของกิเลส การจะฉันข้าวก็ดี การจะนุ่งห่มผ้าก็ดี ท่านให้พิจารณา ปฏิสังขา โยนิโส จีวรัง ปฏิเสวามิ นั่นหมายความว่าเราจะไม่พิจารณาถึงสีที่สวย เราจะพิจารณาว่าผ้านี้มีเนื้อดีเนื้อสวย เป็นผ้าแพร ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย เป็นต้น
เราจะนุ่งห่มเพื่อกันความหนาว กันความร้อนกันเหลือบยุง กันความอายเท่านั้น นี่เขาพิจารณาแบบนี้ ไม่ใช่ว่าแหม ดูผ้าผืนนี้สวยดีนะ เนื้อดี ไปที่นี้เอาผ้าผืนนี้เถอะมันสวย เอาผ้าสีนี้เถอะมันสวย เอาลักษณะผ้าที่มันดีจะได้โชว์เขาได้ ถ้าคิดอย่างนี้ก็ตกนรก
เพราะว่าพระพุทธเจ้าเวลาจะทรงโปรด ทรงห่มผ้าย้อมน้ำฝาด เป็นการตัดความสวยงาม เวลาฉันภัตตาหารก็เหมือนกัน จะพิจารณาเสียก่อน ก่อนที่จะฉัน ความจริงน่ะก่อนที่เราจะมากินนะ เราพิจารณาเสียทั้งวันก็ยังได้ ถือว่าเราจะกินอาหารเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป จะไม่ติดในรส จะไม่ติดในกลิ่น จะไม่ติดในสี จะไม่กินเพื่อความอ้วนพี จะไม่กินเพื่อความผ่องใส จะกินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป ฉะนั้นพระในสมัยพระพุทธเจ้าที่ทรงพระชนม์อยู่ แม้แต่สมเด็จพระบรมครูเองก็เหมือนกัน บิณฑบาดได้อะไรมาอย่างไร ท่านก็ฉันไปอย่างนั้น อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าเป็นลูกกษัตริย์ และก็ทรงเป็นกษัตริย์ด้วย ก็ไม่เลือกในอาหาร ตัดรสอาหารเสียตามความนิยม มาฉันอาหารตามมีตามได้
นี่เรามากล่าวกันถึงการพิจารณา คือเจริญพระกรรมฐานในอาหาเรปฏิกูลสัญญา
และก็จงอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะเจริญกรรมฐานกองใด ท่านจะทิ้งอารมณ์สมาธิเสียไม่ได้ สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้เป็นสมาธิด้านคิด แต่ทว่าเราจะใช้แต่อารมณ์คิดอย่างเดียว อารมณ์จิตจะฟุ้งซ่าน
จะนั้นจงใช้อารมณ์ทรง อารมณ์ทรงก็คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก และคำภาวนาว่า
พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า
พุท เวลาหายใจออกนึกว่า
โธ ถ้าตั้งจิตในอารมณ์ 3 ฐานได้ทุกขณะได้ก็จะดีมาก เมื่อทรงคำภาวนาว่า
พุทโธ ร่วมกับลมหายใจเข้าออก จิตสบาย อารมณ์เป็นสุข การเจริญพระกรรมฐานเรามีความต้องการอยู่อย่างเดียว คืออารมณ์เป็นสุข
คำว่า อารมณ์เป็นสุข ก็หมายความว่า เป็นสุขอยู่ทั้งที่ทรงอยู่ในขณะที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน และก็เป็นสุขเมื่อได้รับคำปรามาสจากบุคคลที่มีสภาวะไม่เสมอกัน
อย่างองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา ถูกนางมาคันทิยาจ้างทาสกรรมกรด่าก็ดี นางจิญจมานวิกาแกล้งกล่าวหาว่า องค์สมเด็จพระชินสีห์ไปทำเธอให้ท้องต่อหน้าธารกำนัลก็ดี แล้วก็อย่างที่พราหมณ์มาด่าองค์สมเด็จพระชินสีห์ต่อหน้าบรรดาท่านพุทธบริษัทก็ดี สมเด็จพระชินสีห์ทรงมีพระอารมณ์ปกติ ไม่ได้โกรธพราหมณ์ ไม่ได้โกรธนางมาคันทิยา ไม่ได้โกรธคนด่า ไม่ได้โกรธนางจิญจมานวิกา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ มีจิตเยือกเย็นเป็นปกติ มีอารมณ์สงัดไม่โกรธ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาเห็นว่าคนทั้งหลายเหล่านี้ มีสภาพเป็นสัตว์นรกเสียแล้ว คำว่าเป็นสัตว์นรกนี่ไม่ได้แกล้งกล่าวพูด เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา ขณะใดจิตใจของบุคคลใดเศร้าหมอง ขณะนั้นตายไปแล้ว ย่อมไปสู่อบายภูมิ ฉะนั้นคนที่มีอารมณ์หยาบ อารมณ์เลว ประเภทนั้น อย่างนางจิญจมานวิกาแกล้งกล่าวหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าไปทำให้เธอท้อง มากล่าวต่อหน้าธาธารกำนัล ในที่สุดนางนั้นก็ต้องลงอเวจีในชาติปัจจุบัน
ฝ่ายพระนางมาคันทิยา เมื่อจ้างคนด่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องถูกลงโทษเชือดเนื้อและก็ทอด บังคับให้กินจนกว่านางจะตาย
นี่เป็นอันว่าคนโง่เท่านั้นที่จะสร้างอันตรายให้เกิดแก่ตน คือทำลายความเป็นมิตรของบุคคลอื่น ประกาศตนเป็นศัตรูกับคนอื่น นี่เป็นลักษณะของคนโง่ไม่ใช่คนฉลาด ฉะนั้นการเจริญกรรมฐานของบรรดาท่านพุทธบริษัท เราต้องการจิตเป็นสุข เมื่อได้รับคำชมเราก็ไม่ยินดีในคำชม รับคำติเราก็ไม่เดือดร้อนในเรื่องคำติ เพราะเรารู้อยู่ว่าเราจะดีหรือว่าเราจะเลว มันอยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะดีหรือว่าเราจะเลวเพราะอาศัยถ้อยคำของบุคคลอื่น
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43219007
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.1
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้การสมาทานพระกรรมฐานของท่านได้ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับการศึกษาพระกรรมฐาน บทนี้ให้ชื่อว่า หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา สำหรับหมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ เป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภิกษุ สามเณร ถึงแม้ว่าอุบาสก อุบาสิกา ก็ถือว่ามีความสำคัญเหมือนกัน แต่ทว่าที่มีความสำคัญน้อยหรือสำคัญมากกว่ากันก็เพราะว่า บรรดาภิกษุสามเณรที่อุปสมบท บรรพชาเข้ามาในพระพุทธศาสนาที่ต้องตกนรก เพราะขาดอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ไม่น้อยกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าครูบาอาจารย์ไม่มีความรู้ และก็ไม่สนใจใน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เพื่อบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายที่เข้ามาอุปสมบท บรรพชา ว่าก่อนที่จะฉันภัตตาหาร ให้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญาเสียก่อน โดยมีความรู้สึกว่าเราจะไม่ฉันเพื่อรสอร่อย เราจะไม่ฉันด้วยติดในรสของอาหาร เราจะไม่ฉันเพราะติดในกลิ่นของอาหาร เราจะไม่ฉันเพราะติดในสีของอาหาร เราจะไม่ฉันเพราะติดในอาการคือสภาพของอาหาร เราจะไม่กินเพื่อความอ้วนพี เราจะไม่กินเพื่อความผ่องใส เราจะกินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป
นี่ก่อนจะฉันอาหารทุก ๆ คราว บรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายจะต้องพิจารณาอย่างนี้
องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสต่อไปว่า ถ้าไม่ได้พิจารณาแบบนี้ ฉันอาหารเข้าไปแล้วมีโทษถึงตกนรก คือว่าท่านกล่าวว่า ถ้าเราไม่ได้พิจารณาด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล้ว กินก้อนเหล็กที่เผาจนแดงโชนดีกว่า เพราะเหล็กที่เผาจนแดงโซนมีความสุก มีความร้อนมาก เมื่อกินเข้าไปถึงปากก็ปากพัง กินเข้าถึงคอ คอก็พังเพราะความร้อน เมื่อถึงอกอกก็พัง เมื่อถึงท้องท้องก็พัง แล้วก็ตาย แต่ตายเมื่อไรความร้อนก็หมดไปเมื่อนั้น หายร้อน
แต่ว่าภิกษุสามเณรที่ฉันอาหารไม่ได้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกุลสัญญา กินเข้าไปแล้ว เวลาตายจะต้องตกนรก การตกนรกนั้นใช้เวลานานเป็นกัป จะต้องมีความเร่าร้อนเพราะถูกไฟเผาผลาญในนรก และไฟในนรกก็มีความร้อนแรงกว่าไฟธรรมดา เรียกว่าหลายล้านเท่า นอกจากถูกไฟเผาแล้ว จะต้องถูกลับฟันด้วยสรรพาวุธซึ่งมีความลำบากมากกว่า
ฉะนั้นในบททำวัตรเย็นหรือว่าทำวัตรเช้าเขาก็ใช้กัน ตามปกติเขาใช้ทั้งทำวัตรเย็นและทำวัตรเช้า ใช้บทปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑปาตังบ้าง แล้วก็อะไรอีก ก็ 3 บท ปฏิสังขา โยนิโส จีวรังบ้าง ปฏิสังขา โยนิโส เสนาสบ้าง ความจริงในการว่าบทนั้น ๆ น่ะ เป็นการพิจารณาไม่ใช่ว่าจนคล่องปาก ว่าแบบคล่องปาก ว่าแบบนกแก้ว นกขุนทอง ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไร เป็นอันว่าหมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นจุดบังคับสำหรับบรรดาภิกษุสงฆ์และสามเณร ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ถ้าหวังความสุข ถ้าบังเอิญไม่เคยใช้เลย ก็ตั้งยกตั้งโจลงนรกเข้าไว้ เพราะยังไง ๆ มันก็ลงนรกกันแน่ ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่าต้องลงนรก มันก็ต้องลงกัน
ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะบวชเข้ามาเมามันในอำนาจของกิเลส การจะฉันข้าวก็ดี การจะนุ่งห่มผ้าก็ดี ท่านให้พิจารณา ปฏิสังขา โยนิโส จีวรัง ปฏิเสวามิ นั่นหมายความว่าเราจะไม่พิจารณาถึงสีที่สวย เราจะพิจารณาว่าผ้านี้มีเนื้อดีเนื้อสวย เป็นผ้าแพร ผ้าป่าน ผ้าฝ้าย เป็นต้น
เราจะนุ่งห่มเพื่อกันความหนาว กันความร้อนกันเหลือบยุง กันความอายเท่านั้น นี่เขาพิจารณาแบบนี้ ไม่ใช่ว่าแหม ดูผ้าผืนนี้สวยดีนะ เนื้อดี ไปที่นี้เอาผ้าผืนนี้เถอะมันสวย เอาผ้าสีนี้เถอะมันสวย เอาลักษณะผ้าที่มันดีจะได้โชว์เขาได้ ถ้าคิดอย่างนี้ก็ตกนรก
เพราะว่าพระพุทธเจ้าเวลาจะทรงโปรด ทรงห่มผ้าย้อมน้ำฝาด เป็นการตัดความสวยงาม เวลาฉันภัตตาหารก็เหมือนกัน จะพิจารณาเสียก่อน ก่อนที่จะฉัน ความจริงน่ะก่อนที่เราจะมากินนะ เราพิจารณาเสียทั้งวันก็ยังได้ ถือว่าเราจะกินอาหารเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป จะไม่ติดในรส จะไม่ติดในกลิ่น จะไม่ติดในสี จะไม่กินเพื่อความอ้วนพี จะไม่กินเพื่อความผ่องใส จะกินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป ฉะนั้นพระในสมัยพระพุทธเจ้าที่ทรงพระชนม์อยู่ แม้แต่สมเด็จพระบรมครูเองก็เหมือนกัน บิณฑบาดได้อะไรมาอย่างไร ท่านก็ฉันไปอย่างนั้น อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าเป็นลูกกษัตริย์ และก็ทรงเป็นกษัตริย์ด้วย ก็ไม่เลือกในอาหาร ตัดรสอาหารเสียตามความนิยม มาฉันอาหารตามมีตามได้
นี่เรามากล่าวกันถึงการพิจารณา คือเจริญพระกรรมฐานในอาหาเรปฏิกูลสัญญา
และก็จงอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะเจริญกรรมฐานกองใด ท่านจะทิ้งอารมณ์สมาธิเสียไม่ได้ สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้เป็นสมาธิด้านคิด แต่ทว่าเราจะใช้แต่อารมณ์คิดอย่างเดียว อารมณ์จิตจะฟุ้งซ่าน
จะนั้นจงใช้อารมณ์ทรง อารมณ์ทรงก็คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก และคำภาวนาว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ ถ้าตั้งจิตในอารมณ์ 3 ฐานได้ทุกขณะได้ก็จะดีมาก เมื่อทรงคำภาวนาว่า พุทโธ ร่วมกับลมหายใจเข้าออก จิตสบาย อารมณ์เป็นสุข การเจริญพระกรรมฐานเรามีความต้องการอยู่อย่างเดียว คืออารมณ์เป็นสุข
คำว่า อารมณ์เป็นสุข ก็หมายความว่า เป็นสุขอยู่ทั้งที่ทรงอยู่ในขณะที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน และก็เป็นสุขเมื่อได้รับคำปรามาสจากบุคคลที่มีสภาวะไม่เสมอกัน
อย่างองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา ถูกนางมาคันทิยาจ้างทาสกรรมกรด่าก็ดี นางจิญจมานวิกาแกล้งกล่าวหาว่า องค์สมเด็จพระชินสีห์ไปทำเธอให้ท้องต่อหน้าธารกำนัลก็ดี แล้วก็อย่างที่พราหมณ์มาด่าองค์สมเด็จพระชินสีห์ต่อหน้าบรรดาท่านพุทธบริษัทก็ดี สมเด็จพระชินสีห์ทรงมีพระอารมณ์ปกติ ไม่ได้โกรธพราหมณ์ ไม่ได้โกรธนางมาคันทิยา ไม่ได้โกรธคนด่า ไม่ได้โกรธนางจิญจมานวิกา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ มีจิตเยือกเย็นเป็นปกติ มีอารมณ์สงัดไม่โกรธ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาเห็นว่าคนทั้งหลายเหล่านี้ มีสภาพเป็นสัตว์นรกเสียแล้ว คำว่าเป็นสัตว์นรกนี่ไม่ได้แกล้งกล่าวพูด เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา ขณะใดจิตใจของบุคคลใดเศร้าหมอง ขณะนั้นตายไปแล้ว ย่อมไปสู่อบายภูมิ ฉะนั้นคนที่มีอารมณ์หยาบ อารมณ์เลว ประเภทนั้น อย่างนางจิญจมานวิกาแกล้งกล่าวหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าไปทำให้เธอท้อง มากล่าวต่อหน้าธาธารกำนัล ในที่สุดนางนั้นก็ต้องลงอเวจีในชาติปัจจุบัน
ฝ่ายพระนางมาคันทิยา เมื่อจ้างคนด่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องถูกลงโทษเชือดเนื้อและก็ทอด บังคับให้กินจนกว่านางจะตาย
นี่เป็นอันว่าคนโง่เท่านั้นที่จะสร้างอันตรายให้เกิดแก่ตน คือทำลายความเป็นมิตรของบุคคลอื่น ประกาศตนเป็นศัตรูกับคนอื่น นี่เป็นลักษณะของคนโง่ไม่ใช่คนฉลาด ฉะนั้นการเจริญกรรมฐานของบรรดาท่านพุทธบริษัท เราต้องการจิตเป็นสุข เมื่อได้รับคำชมเราก็ไม่ยินดีในคำชม รับคำติเราก็ไม่เดือดร้อนในเรื่องคำติ เพราะเรารู้อยู่ว่าเราจะดีหรือว่าเราจะเลว มันอยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติของเรา ไม่ใช่ว่าเราจะดีหรือว่าเราจะเลวเพราะอาศัยถ้อยคำของบุคคลอื่น
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43219007