ต่อจาก หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.1 https://ppantip.com/topic/43218996
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.2
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท แม้จะเจริญกรรมฐานในข้อที่เรียกว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา จึงจะทิ้งอารมณ์สมาธิทรงตัวไม่ได้ เมื่อใช้อารมณ์สมาธิทรงตัวดีแล้ว เราก็มานั่งพิจารณา ว่าอาหารที่เราบริโภคไปนี่ คำว่า ปฏิกูล นี่แปลว่า สกปรก อาหารทุกประเภทที่เราบริโภคอะไรบ้าง ที่มันสะอาดจริง ๆ มีไหม ใช้สัญญาและก็ใช้ปัญญา
สัญญา ความจำมี จงจำไว้ จำไว้ว่า อะไรมันดีหรืออะไรมันเลว ทีนี้ปัญญามีก็จงใช้ปัญญาพิจารณาควบไปด้วย จะช่วยให้สัญญาสะอาดมากขึ้น เราก็มานั่งจำถึงสภาวะของเราที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา หรือว่าเกิดมาพบพระพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ยังไง หลักสูตรโดยตรงก็คือ
1. สัพพปาปัสสะ อกรณัง ให้งดกระทำชั่วเสียทุกอย่าง
2. กุสลัสสูปสัมปทา สร้างแต่ความดี
3. สจิตตปริโยทปนัง ทำจิตใจผ่องใสปราศจากกิเลส
เอตัง พุทธานสาสนัง พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์สอนเหมือนกันหมดอย่างนี้
เป็นอันว่าเราต้องมีสัญญาจำให้ได้ บวชเข้ามาแล้วขึ้นชื่อว่าการกระทำไม่ดี การพูดไม่ดี การคิดไม่ดี จะไม่มีสำหรับเรา แล้วเราจะทำดี พูดดี คิดดี จิตน้อมไปในกุศล หรือว่าทำจิตของตนให้ปราศจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน นี่เป็นการจำขั้นแรก ในการที่เราก้าวเข้ามาสู่เขตของพระพุทธศาสนา ถ้าเราทำความชั่วก็แสดงว่าเราเลวเกินไปสำหรับเขตพระพุทธศาสนา
นี่ตอนนี้เราจำว่า ตอนต้นเราเข้ามาเขตพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนแบบนี้ แล้วต่อมาองค์สมเด็จพระมหามนีก็มาสอนให้พิจารณาอาหารเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา ก่อนที่จะพิจารณา ใช้สัญญาพิจารณาเสียก่อนว่า คำแนะนำขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเราตอนนี้ มันแน่หรือไม่แน่ จริงหรือไม่จริง หรือว่าพระพุทธเจ้าทรงพูดขึ้นมาเฉย ๆ โดยไร้เหตุไร้ผล เราก็มานั่งคิดถึงคำแนะนำขององค์สมเด็จพระทศพล ว่าก่อนจะฉันอาหาร หรือก่อนจะบริโภคอาหารให้พิจารณาว่าอาหารนี้มาจากพื้นฐานของความสกปรก
เราก็ไปดูข้าวที่เราบริโภค ข้าวที่เราบริโภคนี่สะอาดหรือว่าสกปรก พื้นฐานเดิมมาจากอะไร พื้นฐานเดิมก็มาจากพืชที่เกิดขึ้นมาจากพื้นดิน ปุ๋ยที่จะบำรุงให้ข้าวงอกงามขึ้นมาได้จนกระทั่งมีเมล็ด ปุ๋ยทุกประเภทเป็นของสกปรก ฉะนั้นบรรดาพืชผักตั้งหลายที่เป็นอาหารที่เรานำมาบริโภค ก็มีสภาพเช่นเดียวกับข้าว เป็นพื้นฐานเกิดขึ้นมาจากความสกปรกทั้งสิ้น เมื่ออาหารของต้นข้าว ต้นหญ้า ต้นผักที่บริโภคทำตนให้เจริญขึ้นมันสกปรก ต้นข้าวต้นหญ้าที่เราบริโภคก็เป็นของสกปรก ถ้าไม่สกปรก เราไปดึงมาก็ไม่ต้องล้าง ไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด กินได้ทันที แต่นี่เราไม่ยอมกินทันที ข้าวถึงแม้ว่าจะสีเป็นข้าวสารแล้ว เวลาจะหุงก็ต้อง ซาวน้ำก่อน ไล่ของสกปรกแล้วจึงหุง เราจึงกิน สำหรับบรรดาผักทั้งหลายที่ทำอาหาร ประกอบกับข้าวก็เช่นเดียวกัน นำมาใหม่ ๆ เรากินไม่ได้ ต้องล้างเสียก่อน ชำระล้างดีแล้ว ผักบางประเภทเราบริโภคดิบ ๆ ได้ แต่ต้องล้างอย่างดี ไอ้การล้างนี่เรารู้ว่ามันสกปรกนี่เราต้องจำ
ทีนี้ถ้าเขามาผสมเป็นอาหารมีอะไรบ้าง ถ้าแกงมันก็มีพริก มีกะปิ มีปลา มีอะไรต่ออะไร กะปินี่สกปรกหรือสะอาด พริกเป็นพืชมาจากความสกปรก ยิ่งกะปิก็เป็นสัตว์ เป็นสัตว์น้ำประเภทหนึ่ง มันทำมาจากกุ้ง ก็เต็มไปด้วยความสกปรก เวลาที่เขาโขลกให้เรา จะให้เรามากินกัน เขาก็ใช้โขลกในครกใหญ่ ครกมันก็สกปรก สากมันก็สกปรก และสิ่งทั้งหลายเหล่าอื่นที่มันหล่นลงไปในกะปินั้นที่เขาโขลกมันก็สกปรก
ตัวสัตว์เอง กุ้ง ถ้าเรานำมากิน นำมาแล้วไม่ล้างเราก็กินไม่ได้ มันเหม็นคาว สัตว์ทั้งหลายที่เรากินก็มีสภาพเหมือนกัน มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มีอุจจาระ ปัสสาวะ มันเป็นธาตุมาจากความสกปรก ทีนี้เวลาที่ประกอบเป็นอาหารแล้ว อาหารที่เราชอบที่สุดอะไรก็ตาม เวลาจะกินมักจะเลือกเอาอาหารอย่างนั้น ทำอาหารอย่างนี้ทำ อาหารอย่างโน้น ทำให้มันดีที่สุดที่เราชอบกิน เวลาหิว ไอ้หิวก็โมหะ คือความหลงมันตัวเดียวกัน มันก็เหมือนกัน
เวลาหิวจริง ๆ นี่มันไม่เลือก ถ้าหิวจัด ๆ จริง ๆ ข้าวบูดเราก็กินได้ เอาน้ำมา ซาว ๆ ซะ เราก็กินได้ นี่หิวมาก ถ้าหิวน้อยข้าวบุดกินไม่ได้ แต่ร้าวเย็นก็กินก็กินใต้ ถ้ามันไม่หิวเลย อะไรเราก็กินไม่ได้
ทีนี้เวลาที่เราหิว โดยมากเราลืมพิจารณาหรือไม่หิวมากก็ตาม โดยมากจะติดในรสอาหาร ติดในกลิ่นของอาหาร ลืมความสกปรกของอาหาร อาหารทุกประเภทที่เราบริโภคเข้าไปมันสะอาดหรือมันสกปรก แกงอย่างดีที่เขาแกงมาร้อน ๆ ต้มหรือผัดอย่างนี่มันสะอาดหรือสกปรก เราก็ลองมาพิจารณาขณะที่เรากิน เวลาที่กิน ไอ้ตัวอยากคือตัณหามันเกิด
เมื่อความหิวเกิดจากร่างกาย ลืมพิจารณาความสะอาด ลืมพิจารณาความสกปรก กินด้วยอำนาจของความอยาก กินด้วยอำนาจของความหิว อย่างนี้ก็ดี อย่างโน้นก็ดี แต่ว่าพอกินเสร็จ ตอนนี้ทำยังไงล่ะ อิ่มแล้วนี่ความรู้สึกตัวปรากฏ ว่าตายจริง กินข้าวกินอาหารเสร็จแล้วปากมันเหม็นคาว จะปล่อยให้มันเหม็นคาวอยู่อย่างนี้ทนไม่ไหว แหม กลิ่นมันไม่เป็นรื่อง ทนไม่ไหว ต้องรีบไปล้างปาก รีบไปแปรงฟัน ชำระอาการสกปรกกลิ่นคาวจากปาก
มือที่หยิบอาหาร ตอนแรกไม่ได้เคยคิดจะรังเกียจ อิ่มแล้วซิไม่ล้างไม่ได้ มันเหม็นคาว มันสกปรก ต้องรีบล้าง นี่ถ้ามันสะอาดจริง ๆ เราจะล้างทำไม เป็นอันว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญานี่ หากว่าท่านผู้ใดเจริญเป็นปกติ จนเข้าถึงอารมณ์ฌาน ถ้าเข้าถึงฌานจริง ๆ มันจะเป็นนิพพิทาญาณในขันธ์ 5
ถ้าเป็นนิพพิทาญาณในขันธ์ 5 ต้นพื้นฐานของอาหาเรปฏิกูลสัญญา ถ้าเราทำได้พื้นฐานอันดับต้นที่เราจะได้ก็คือ
พระอนาคามี จัดว่าเป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญมาก
นี่เรียกว่าแบบต้น ๆ นะ เอาแบบโง่ ๆ กัน คือศึกษากันอย่างโง่ ๆ ถ้าศึกษากันอย่างโง่ ๆ นี่พื้นฐาน ถ้าอารมณ์นี้เป็นฌาน อารมณ์นี้จะเป็นนินพิทาญาณ จะเป็นพระอนาคามี เริ่มต้นด้วยพระอนาคามี ไม่ใช่เริ่มต้นด้วยพระโสดาบัน มีความสำคัญมากไหม
ทีนี้เขาพิจารณากันอย่างไรถึงได้เป็นพระอนาคามี แต่ก็ต้องพิจารณาเหมือนกันแหละ จะพิจารณาแบบอื่นไม่ได้
ตอนนี้เมื่อกี้นี้ว่ากันถึงสกปรกภายนอก ทีนี้ก็ใช้ปัญญาพิจารณาซิ เอาปัญญาเข้าพิจารณา นั่นมันเป็นสัญญา ใช้ปัญญาพิจารณาว่า อาหารที่มันสกปรกนี่เรากินเข้าไปในกาย แต่ว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี ร่างกายของสัตว์ก็ดี จะมี ร่างกายของคนใดบ้างไหมที่สะอาด มีไหม ในเมื่อร่างกายนี้มันเกิดมาจากพื้นฐานของ ความสกปรก และก็มันจะมีความสะอาดได้ยังไง อวัยวะทุกส่วนของเราที่เติบโตขึ้นมาเพราะอาศัยอาหารที่สกปรก ฉะนั้นร่างกายที่เติบโตขึ้นมาเพราะอาหารที่สกปรก ร่างกาย ทั้งหมดของเรามันก็ต้องสกปรก จะเป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นกระดูก เป็นตับไตไส้ปอด ทุกอย่างมันก็สกปรกหมด ในเมื่อร่างการมันสกปรกหมด มันมีอะไรบ้างที่เราจะน่ารักร่างกาย จิตใจที่เราจะผูกพันร่างกายว่าร่างกายมันดี ดี ร่างกายมันสะอาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่ปรารถนาอยากจะมีคู่ครอง การที่จะมีคู่ครองนี้ ต้องการเข้ามาประดับประคองให้มันเกิดความสุข ก็เลือกคนสวย เลือกคนลักษณะดี เรียกว่าเลือกคนสะอาด เราเข้ามาประคับประคองซึ่งกันและกันนี่ ความจริงเราคิดว่ามันสะอาด แต่ถ้ามาพิจารณาถึงธาตุ คืออาหารที่สร้างร่างกายให้เกิดขึ้น มันมาจากพื้นฐานของความสกปรก และก็มีร่างกายของคนใดไหมที่มันสะอาด ควรที่จะประคับประคอง ในเมื่อดูแต่ภายนอก มันก็มองยาก ถ้าใช้ปัญญามันมองไม่ยาก
เพราะว่าความสกปรกของร่างกายนี่ มันสกปรกข้างนอกถึงข้างใน ข้างนอกก็มีเหงื่อมีไคล มีสิ่งโสโครกต่าง ๆ ที่เราต้องอาบน้ำชำระร่างกายกันก็เพราะร่างกายมันสกปรก ถ้ามันสะอาดเราจะล้างมันทำไม ก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้น อย่างเทวดากับพรหมหรือท่านที่ถึงพระนิพพาน ท่านไม่เคยอาบน้ำกันเลย ร่างกายของท่านหอมตลอดเวลา ร่างกายของคนเรานี่ ถ้าไม่รักษาผิวหนังสักวันหนึ่งจะมีความรู้สึกเป็นยังไง ตัวของเราเองเราก็มีความรังเกียข ฉะนั้นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ที่มาจากพื้นฐานแห่งความสกปรก มันก็เป็นร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก
เราก็หวนเข้าไปดูว่าอาหารเข้าไปสร้างอะไรบ้าง อาหารเข้าไปสร้างเนื้อ อาหารเข้าไปสร้างหนัง อาหารเข้าไปสร้างตับไตไส้ปอด อาหารเข้าไปสร้างน้ำเลือด น้ำหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ เสลด น้ำลาย เป็นต้น น้ำมูก ไขข้อ มูตร ทุกสิ่งทุกอย่างนี้สะอาดหรือสกปรก ใช้ปัญญาค่อย ๆ คิด ถ้าจิตมันฟุ้งช่าน คิดไปไม่ไหวก็หวนมาจับอานาปานุสสติกรรมฐาน กับคำภาวนาว่า
พุทโธ ทิ้งอารมณ์คิดเสียชั่วคราว จับลมหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้านึกว่า
พุท หายใจออกนึกว่า
โธ ทำให้ใจสบาย หรือว่าเวลาจะนั่งอยู่ที่ไหน จะเดินอยู่ ทำงานอยู่ ก็มานั่งคิดถึงร่างกายของเราที่มันมาจากอาหาร นึกถึงอาหารที่เราบริโภค นึกถึงสัตว์ที่เขายังไม่ฆ่า นึกถึงสัตว์ที่เขาฆ่าแล้วแต่ยังไม่ได้ล้าง นึกถึงสัตว์ที่เขาฆ่าล้างแล้ว แต่ยังไม่ทำให้สุก เรากินได้ไหม เราก็ยังเห็นว่ามันสกปรก นึกถึงผักพืชทั้งหลายที่เราจะนำมาบริโภค มันอยู่กับดิน อยู่กับน้ำ มันก็มีความสกปรก เมื่อเขานำมาล้างแล้ว ดิบ ๆ บางที่เรายังกินไม่ค่อยจะได้ ติว่าสกปรก เมื่อทำให้สุกผสมกับส่วนสกปรกทั้งหลายถือว่าเป็นอาหารมีรสเลิศ มันก็เริ่มสกปรกมากขึ้น เวลาหิวไม่สกปรก อิ่มแล้วเหม็นคาว อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อใช้ปัญญาคือปัญญาของตนพิจารณาอย่างนี้จริง ๆ เมื่อจิตเข้าถึงอารมณ์ฌาน คืออารมณ์ทรง ต้องพยายามทรงไว้ให้ดี พิจารณาไปพิจารณาไป จนกระทั่งใจสงบลงมาทีละน้อย ๆ ในที่สุดจิตหยุดพิจารมา จิตอยู่เฉย ๆ นั่นแสดงว่าถึงอารมณ์ฌาน
หรือว่าเราจะทำอารมณ์ฌานให้ทรงเสียก่อน ด้วยอานาปานุสสติกรรมฐานด้วยคำภาวนาว่า
พุทโธ จิตสบายเป็นอารมณ์ฌานพิจารณาแล้วปัญญามันจะเกิดมาก อย่างนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า เป็นปัจจัยให้เกิดนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5
เอาละบรรคาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า เวลาสำหรับที่จะแนะนำกันในวันนี้ก็หมดแล้ว ความจริงแค่นี้ก็เห็นว่าจะพอ พอใช้ พอกิน พอใช้ทำใจให้สบายได้ วันหลังพูดกันใหม่ สำหรับวันนี้ ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก พิจารณาในอาหาเรปฏิกูลสัญญา จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร
สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.2
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 1.2
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท แม้จะเจริญกรรมฐานในข้อที่เรียกว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญา จึงจะทิ้งอารมณ์สมาธิทรงตัวไม่ได้ เมื่อใช้อารมณ์สมาธิทรงตัวดีแล้ว เราก็มานั่งพิจารณา ว่าอาหารที่เราบริโภคไปนี่ คำว่า ปฏิกูล นี่แปลว่า สกปรก อาหารทุกประเภทที่เราบริโภคอะไรบ้าง ที่มันสะอาดจริง ๆ มีไหม ใช้สัญญาและก็ใช้ปัญญา
สัญญา ความจำมี จงจำไว้ จำไว้ว่า อะไรมันดีหรืออะไรมันเลว ทีนี้ปัญญามีก็จงใช้ปัญญาพิจารณาควบไปด้วย จะช่วยให้สัญญาสะอาดมากขึ้น เราก็มานั่งจำถึงสภาวะของเราที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา หรือว่าเกิดมาพบพระพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ยังไง หลักสูตรโดยตรงก็คือ
1. สัพพปาปัสสะ อกรณัง ให้งดกระทำชั่วเสียทุกอย่าง
2. กุสลัสสูปสัมปทา สร้างแต่ความดี
3. สจิตตปริโยทปนัง ทำจิตใจผ่องใสปราศจากกิเลส
เอตัง พุทธานสาสนัง พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์สอนเหมือนกันหมดอย่างนี้
เป็นอันว่าเราต้องมีสัญญาจำให้ได้ บวชเข้ามาแล้วขึ้นชื่อว่าการกระทำไม่ดี การพูดไม่ดี การคิดไม่ดี จะไม่มีสำหรับเรา แล้วเราจะทำดี พูดดี คิดดี จิตน้อมไปในกุศล หรือว่าทำจิตของตนให้ปราศจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน นี่เป็นการจำขั้นแรก ในการที่เราก้าวเข้ามาสู่เขตของพระพุทธศาสนา ถ้าเราทำความชั่วก็แสดงว่าเราเลวเกินไปสำหรับเขตพระพุทธศาสนา
นี่ตอนนี้เราจำว่า ตอนต้นเราเข้ามาเขตพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนแบบนี้ แล้วต่อมาองค์สมเด็จพระมหามนีก็มาสอนให้พิจารณาอาหารเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา ก่อนที่จะพิจารณา ใช้สัญญาพิจารณาเสียก่อนว่า คำแนะนำขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเราตอนนี้ มันแน่หรือไม่แน่ จริงหรือไม่จริง หรือว่าพระพุทธเจ้าทรงพูดขึ้นมาเฉย ๆ โดยไร้เหตุไร้ผล เราก็มานั่งคิดถึงคำแนะนำขององค์สมเด็จพระทศพล ว่าก่อนจะฉันอาหาร หรือก่อนจะบริโภคอาหารให้พิจารณาว่าอาหารนี้มาจากพื้นฐานของความสกปรก
เราก็ไปดูข้าวที่เราบริโภค ข้าวที่เราบริโภคนี่สะอาดหรือว่าสกปรก พื้นฐานเดิมมาจากอะไร พื้นฐานเดิมก็มาจากพืชที่เกิดขึ้นมาจากพื้นดิน ปุ๋ยที่จะบำรุงให้ข้าวงอกงามขึ้นมาได้จนกระทั่งมีเมล็ด ปุ๋ยทุกประเภทเป็นของสกปรก ฉะนั้นบรรดาพืชผักตั้งหลายที่เป็นอาหารที่เรานำมาบริโภค ก็มีสภาพเช่นเดียวกับข้าว เป็นพื้นฐานเกิดขึ้นมาจากความสกปรกทั้งสิ้น เมื่ออาหารของต้นข้าว ต้นหญ้า ต้นผักที่บริโภคทำตนให้เจริญขึ้นมันสกปรก ต้นข้าวต้นหญ้าที่เราบริโภคก็เป็นของสกปรก ถ้าไม่สกปรก เราไปดึงมาก็ไม่ต้องล้าง ไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด กินได้ทันที แต่นี่เราไม่ยอมกินทันที ข้าวถึงแม้ว่าจะสีเป็นข้าวสารแล้ว เวลาจะหุงก็ต้อง ซาวน้ำก่อน ไล่ของสกปรกแล้วจึงหุง เราจึงกิน สำหรับบรรดาผักทั้งหลายที่ทำอาหาร ประกอบกับข้าวก็เช่นเดียวกัน นำมาใหม่ ๆ เรากินไม่ได้ ต้องล้างเสียก่อน ชำระล้างดีแล้ว ผักบางประเภทเราบริโภคดิบ ๆ ได้ แต่ต้องล้างอย่างดี ไอ้การล้างนี่เรารู้ว่ามันสกปรกนี่เราต้องจำ
ทีนี้ถ้าเขามาผสมเป็นอาหารมีอะไรบ้าง ถ้าแกงมันก็มีพริก มีกะปิ มีปลา มีอะไรต่ออะไร กะปินี่สกปรกหรือสะอาด พริกเป็นพืชมาจากความสกปรก ยิ่งกะปิก็เป็นสัตว์ เป็นสัตว์น้ำประเภทหนึ่ง มันทำมาจากกุ้ง ก็เต็มไปด้วยความสกปรก เวลาที่เขาโขลกให้เรา จะให้เรามากินกัน เขาก็ใช้โขลกในครกใหญ่ ครกมันก็สกปรก สากมันก็สกปรก และสิ่งทั้งหลายเหล่าอื่นที่มันหล่นลงไปในกะปินั้นที่เขาโขลกมันก็สกปรก
ตัวสัตว์เอง กุ้ง ถ้าเรานำมากิน นำมาแล้วไม่ล้างเราก็กินไม่ได้ มันเหม็นคาว สัตว์ทั้งหลายที่เรากินก็มีสภาพเหมือนกัน มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มีอุจจาระ ปัสสาวะ มันเป็นธาตุมาจากความสกปรก ทีนี้เวลาที่ประกอบเป็นอาหารแล้ว อาหารที่เราชอบที่สุดอะไรก็ตาม เวลาจะกินมักจะเลือกเอาอาหารอย่างนั้น ทำอาหารอย่างนี้ทำ อาหารอย่างโน้น ทำให้มันดีที่สุดที่เราชอบกิน เวลาหิว ไอ้หิวก็โมหะ คือความหลงมันตัวเดียวกัน มันก็เหมือนกัน
เวลาหิวจริง ๆ นี่มันไม่เลือก ถ้าหิวจัด ๆ จริง ๆ ข้าวบูดเราก็กินได้ เอาน้ำมา ซาว ๆ ซะ เราก็กินได้ นี่หิวมาก ถ้าหิวน้อยข้าวบุดกินไม่ได้ แต่ร้าวเย็นก็กินก็กินใต้ ถ้ามันไม่หิวเลย อะไรเราก็กินไม่ได้
ทีนี้เวลาที่เราหิว โดยมากเราลืมพิจารณาหรือไม่หิวมากก็ตาม โดยมากจะติดในรสอาหาร ติดในกลิ่นของอาหาร ลืมความสกปรกของอาหาร อาหารทุกประเภทที่เราบริโภคเข้าไปมันสะอาดหรือมันสกปรก แกงอย่างดีที่เขาแกงมาร้อน ๆ ต้มหรือผัดอย่างนี่มันสะอาดหรือสกปรก เราก็ลองมาพิจารณาขณะที่เรากิน เวลาที่กิน ไอ้ตัวอยากคือตัณหามันเกิด
เมื่อความหิวเกิดจากร่างกาย ลืมพิจารณาความสะอาด ลืมพิจารณาความสกปรก กินด้วยอำนาจของความอยาก กินด้วยอำนาจของความหิว อย่างนี้ก็ดี อย่างโน้นก็ดี แต่ว่าพอกินเสร็จ ตอนนี้ทำยังไงล่ะ อิ่มแล้วนี่ความรู้สึกตัวปรากฏ ว่าตายจริง กินข้าวกินอาหารเสร็จแล้วปากมันเหม็นคาว จะปล่อยให้มันเหม็นคาวอยู่อย่างนี้ทนไม่ไหว แหม กลิ่นมันไม่เป็นรื่อง ทนไม่ไหว ต้องรีบไปล้างปาก รีบไปแปรงฟัน ชำระอาการสกปรกกลิ่นคาวจากปาก
มือที่หยิบอาหาร ตอนแรกไม่ได้เคยคิดจะรังเกียจ อิ่มแล้วซิไม่ล้างไม่ได้ มันเหม็นคาว มันสกปรก ต้องรีบล้าง นี่ถ้ามันสะอาดจริง ๆ เราจะล้างทำไม เป็นอันว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญานี่ หากว่าท่านผู้ใดเจริญเป็นปกติ จนเข้าถึงอารมณ์ฌาน ถ้าเข้าถึงฌานจริง ๆ มันจะเป็นนิพพิทาญาณในขันธ์ 5
ถ้าเป็นนิพพิทาญาณในขันธ์ 5 ต้นพื้นฐานของอาหาเรปฏิกูลสัญญา ถ้าเราทำได้พื้นฐานอันดับต้นที่เราจะได้ก็คือ พระอนาคามี จัดว่าเป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญมาก
นี่เรียกว่าแบบต้น ๆ นะ เอาแบบโง่ ๆ กัน คือศึกษากันอย่างโง่ ๆ ถ้าศึกษากันอย่างโง่ ๆ นี่พื้นฐาน ถ้าอารมณ์นี้เป็นฌาน อารมณ์นี้จะเป็นนินพิทาญาณ จะเป็นพระอนาคามี เริ่มต้นด้วยพระอนาคามี ไม่ใช่เริ่มต้นด้วยพระโสดาบัน มีความสำคัญมากไหม
ทีนี้เขาพิจารณากันอย่างไรถึงได้เป็นพระอนาคามี แต่ก็ต้องพิจารณาเหมือนกันแหละ จะพิจารณาแบบอื่นไม่ได้
ตอนนี้เมื่อกี้นี้ว่ากันถึงสกปรกภายนอก ทีนี้ก็ใช้ปัญญาพิจารณาซิ เอาปัญญาเข้าพิจารณา นั่นมันเป็นสัญญา ใช้ปัญญาพิจารณาว่า อาหารที่มันสกปรกนี่เรากินเข้าไปในกาย แต่ว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของคนอื่นก็ดี ร่างกายของสัตว์ก็ดี จะมี ร่างกายของคนใดบ้างไหมที่สะอาด มีไหม ในเมื่อร่างกายนี้มันเกิดมาจากพื้นฐานของ ความสกปรก และก็มันจะมีความสะอาดได้ยังไง อวัยวะทุกส่วนของเราที่เติบโตขึ้นมาเพราะอาศัยอาหารที่สกปรก ฉะนั้นร่างกายที่เติบโตขึ้นมาเพราะอาหารที่สกปรก ร่างกาย ทั้งหมดของเรามันก็ต้องสกปรก จะเป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นกระดูก เป็นตับไตไส้ปอด ทุกอย่างมันก็สกปรกหมด ในเมื่อร่างการมันสกปรกหมด มันมีอะไรบ้างที่เราจะน่ารักร่างกาย จิตใจที่เราจะผูกพันร่างกายว่าร่างกายมันดี ดี ร่างกายมันสะอาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่ปรารถนาอยากจะมีคู่ครอง การที่จะมีคู่ครองนี้ ต้องการเข้ามาประดับประคองให้มันเกิดความสุข ก็เลือกคนสวย เลือกคนลักษณะดี เรียกว่าเลือกคนสะอาด เราเข้ามาประคับประคองซึ่งกันและกันนี่ ความจริงเราคิดว่ามันสะอาด แต่ถ้ามาพิจารณาถึงธาตุ คืออาหารที่สร้างร่างกายให้เกิดขึ้น มันมาจากพื้นฐานของความสกปรก และก็มีร่างกายของคนใดไหมที่มันสะอาด ควรที่จะประคับประคอง ในเมื่อดูแต่ภายนอก มันก็มองยาก ถ้าใช้ปัญญามันมองไม่ยาก
เพราะว่าความสกปรกของร่างกายนี่ มันสกปรกข้างนอกถึงข้างใน ข้างนอกก็มีเหงื่อมีไคล มีสิ่งโสโครกต่าง ๆ ที่เราต้องอาบน้ำชำระร่างกายกันก็เพราะร่างกายมันสกปรก ถ้ามันสะอาดเราจะล้างมันทำไม ก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้น อย่างเทวดากับพรหมหรือท่านที่ถึงพระนิพพาน ท่านไม่เคยอาบน้ำกันเลย ร่างกายของท่านหอมตลอดเวลา ร่างกายของคนเรานี่ ถ้าไม่รักษาผิวหนังสักวันหนึ่งจะมีความรู้สึกเป็นยังไง ตัวของเราเองเราก็มีความรังเกียข ฉะนั้นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ที่มาจากพื้นฐานแห่งความสกปรก มันก็เป็นร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก
เราก็หวนเข้าไปดูว่าอาหารเข้าไปสร้างอะไรบ้าง อาหารเข้าไปสร้างเนื้อ อาหารเข้าไปสร้างหนัง อาหารเข้าไปสร้างตับไตไส้ปอด อาหารเข้าไปสร้างน้ำเลือด น้ำหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ เสลด น้ำลาย เป็นต้น น้ำมูก ไขข้อ มูตร ทุกสิ่งทุกอย่างนี้สะอาดหรือสกปรก ใช้ปัญญาค่อย ๆ คิด ถ้าจิตมันฟุ้งช่าน คิดไปไม่ไหวก็หวนมาจับอานาปานุสสติกรรมฐาน กับคำภาวนาว่า พุทโธ ทิ้งอารมณ์คิดเสียชั่วคราว จับลมหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ทำให้ใจสบาย หรือว่าเวลาจะนั่งอยู่ที่ไหน จะเดินอยู่ ทำงานอยู่ ก็มานั่งคิดถึงร่างกายของเราที่มันมาจากอาหาร นึกถึงอาหารที่เราบริโภค นึกถึงสัตว์ที่เขายังไม่ฆ่า นึกถึงสัตว์ที่เขาฆ่าแล้วแต่ยังไม่ได้ล้าง นึกถึงสัตว์ที่เขาฆ่าล้างแล้ว แต่ยังไม่ทำให้สุก เรากินได้ไหม เราก็ยังเห็นว่ามันสกปรก นึกถึงผักพืชทั้งหลายที่เราจะนำมาบริโภค มันอยู่กับดิน อยู่กับน้ำ มันก็มีความสกปรก เมื่อเขานำมาล้างแล้ว ดิบ ๆ บางที่เรายังกินไม่ค่อยจะได้ ติว่าสกปรก เมื่อทำให้สุกผสมกับส่วนสกปรกทั้งหลายถือว่าเป็นอาหารมีรสเลิศ มันก็เริ่มสกปรกมากขึ้น เวลาหิวไม่สกปรก อิ่มแล้วเหม็นคาว อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อใช้ปัญญาคือปัญญาของตนพิจารณาอย่างนี้จริง ๆ เมื่อจิตเข้าถึงอารมณ์ฌาน คืออารมณ์ทรง ต้องพยายามทรงไว้ให้ดี พิจารณาไปพิจารณาไป จนกระทั่งใจสงบลงมาทีละน้อย ๆ ในที่สุดจิตหยุดพิจารมา จิตอยู่เฉย ๆ นั่นแสดงว่าถึงอารมณ์ฌาน
หรือว่าเราจะทำอารมณ์ฌานให้ทรงเสียก่อน ด้วยอานาปานุสสติกรรมฐานด้วยคำภาวนาว่า พุทโธ จิตสบายเป็นอารมณ์ฌานพิจารณาแล้วปัญญามันจะเกิดมาก อย่างนี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า เป็นปัจจัยให้เกิดนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายในขันธ์ 5
เอาละบรรคาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า เวลาสำหรับที่จะแนะนำกันในวันนี้ก็หมดแล้ว ความจริงแค่นี้ก็เห็นว่าจะพอ พอใช้ พอกิน พอใช้ทำใจให้สบายได้ วันหลังพูดกันใหม่ สำหรับวันนี้ ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก พิจารณาในอาหาเรปฏิกูลสัญญา จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics