ต่อจาก หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 9.1 https://ppantip.com/topic/43129655
อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 9.2
กองทัพที่เราจะต้องเข้าต่อสู้อันดับแรก สำหรับสกิทาคามีมรรค เวลานี้เราพูดกันถึงเรื่องพระสกิทาคามีมรรค แล้วก็ในหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐาน ท่านที่ศึกษาหมวดนี้แล้วต้องจำให้ดี เพราะหมวดต่อๆ ไปผมอาจจะพูดย่อ หรือยาวก็ได้ตามใจผม สุดแล้วแต่ผมจะเห็นสมควร ถ้าผมเห็นสมควรหรือไม่สมควร ก็ไม่ใช่เรื่องของผมโดยตรง เป็นเรื่องหลักสูตรในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้
เวลานี้เรากำลังจะโจมตีข้าศึก หรือคอยจะมุดหนีข้าศึก จุดหนึ่ง คือกามฉันทะ หรือราคะ ได้แก่ ความรัก รักในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสในระหว่างเพศ อารมณ์ที่มั่วสุมไปด้วยกามารมณ์ อันนี้เราก็จำจะต้องมุดล่ะ ทีแรกเรามุดกลางๆ พอเจ้าราคะมันมา ทำยังไง อารมณ์รักตามที่กล่าวแล้ว ย้ำก็ไม่ดีเสียเวลา ถ้ามันจะมาจะทำยังไง หรือว่ามันยังไม่มา วิธีมุดที่ถูกต้องก็คือรักษาอานาปานุสสติกรรมฐานไว้ ใช้กำลังใจทรงสมาธิตามสมควร แล้วก็มุดหลบราคะด้วยการพิจารณาคนก็ดี สัตว์ก็ดี วัตถุธาตุก็ดี ทั้งหมดนี้เราเห็นว่ามันสกปรกทั้งหมด หาความจริง อย่าไปนึกเฉยๆ คลำตัวเรา อย่าคลำเขา คลำเขาน่ะคลำไม่ได้ถนัด คลำเราดีกว่า ที่พระอุปัชฌาย์บอกว่า
เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ที่เป็นกรรมฐานสำคัญ ท่านทั้งหลายบวชมาแล้วเคยใช้บ้างหรือเปล่า
ผม สะอาดหรือสกปรก
ขน สะอาดหรือสกปรก
หนัง สะอาดหรือสกปรก
เล็บ สะอาดหรือสกปรก
ฟัน สะอาดหรือสกปรก 5 อย่างนี้หาจุดให้พบ
รวมความว่าร่างกายของเราทั้งร่างกายนี้น่ะ ส่วนไหนบ้างที่มันสะอาด กรุณาหาความสะอาดให้พบ ผมว่าคนที่พบความสะอาดในร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น หรือความสะอาดในวัตถุธาตุก็คือจอมโง่ วันนี้เรายังไม่พูดถึงความโลภ นี่เราจะเป็นอนาคามีเราต้องตัดตรงนี้ ทำอารมณ์จิตให้เป็นฌาน ฌานในอะไร ฌานในอานาปานุสสติกรรมฐาน ฌานในพุทธานุสสติกรรมฐาน ซึ่งทรงเป็นตัวกลาง ต่อมาก็ให้เป็นฌานในอสุภสัญญา หรือกายคตานุสสติ
คำว่า
ฌาน หมายถึงว่าอารมณ์ชิน มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นปกติตลอดวันตลอดคืน ไม่ใช่เฉพาะว่าเวลาที่มานั่งฟังกัน ถ้าเอาแต่เฉพาะเวลาที่มานั่งฟังกันแบบนี้ ผมว่าขาดทุนมาก ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเวลามันนิดเดียว ฟังอยู่ ทำอยู่ เวลา 30 นาที ดีไม่ดีมันดีไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ เราจะต้องพิจารณาหาความจริง ว่าร่างกายของเราส่วนไหนมันสะอาด อุจจาระสะอาดไหม ปัสสาวะสะอาดไหม น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สะอาดไหม รวมความว่ามันก็ทั้งหมดทั้งกาย ตรงไหนมันสะอาด เราจะหาความสะอาดไม่ได้เลย ในเมื่อความสะอาดมันไม่มี มันก็ต้องสกปรก เอาล่ะซิ ตอนนี้เราหาทางมุด ป้องกันข้าศึกต นนี้เรามุดเสีย มุดเอาจิตเข้าไปจับตามความเป็นจริง ว่าโอหนอ...ร่างกายของคนและสัตว์ วัตถุธาตุทั้งหมด มันมีแต่ความสกปรก ในเมื่อมันสกปรกอย่างนี้ เราควรจะรักมันหรือว่าเราควรจะเกลียดมัน เราก็ต้องเกลียดมัน รักมันไม่ได้ สิ่งที่เรารักคือเรารักของสวย เรารักของสะอาด เรารักของดี เราไม่ได้รักของเลว รวมความว่า มากูมุด ปกติเรารีบมุดไว้ก่อน อย่าเพึ่งให้มันมา ในเมื่อมันมาเราก็มุดอีกทีหนึ่ง ไอ้ตัวราคะมันมา มุดด้วยอสุภสัญญาและกายคตานุสสติ
ที่นี้
แย่กูตี เป็นอันว่าอารมณ์ของกามฉันทะมันเริ่มหยุด ใจเริ่มชักจะไม่สนใจ เห็นคนและสัตว์เห็นว่า แหม...มันสกปรกไปหมด อย่าลืมนะตอนนี้ยังเป็นอารมณ์ของฌาน อย่าเผลอ ถ้าเผลอคิดว่าเป็นพระอรหันต์ล่ะก็ซวยบอกไม่ถูก แย่กูตีก็หมายความว่า ในเมื่ออารมณ์มันหยุดแล้วก็เสริม ใช้กำลังเข้าโจมตี นั่นคือปัญญา มานั่งพิจารณาว่าอสุภสัญญา คือร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุก็ดี สกปรก มันสกปรกอย่างเดียวรึ หันเข้าไปจับสักกายทิฏฐิในวิปัสสนาญาณ ว่าร่างกายคนก็ดี สัตว์ก็ดี นี่มันไม่สกปรกอย่างเดียว มันประกอบไปด้วยธาตุ 4 ทรงตัวชั่วคราว แยกออกเป็นชิ้นเป็นส่วนได้ 32 ชิ้น ที่เรียกกันว่า อาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด เป็นต้น ผมไม่อยากจะแยก ให้มันยุ่ง ดูทีเดียวให้มันสกปรกไปให้หมดดีกว่า ไปไล่เบี้ยตามตำราก็รู้สึกว่าจะเลวเกินไป มันยืดมันยาด พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ธรรมของเราไม่ใช่ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ต่อไปเราก็มาพิจารณาว่ามันเป็นธาตุ 4 มีอาการ 32 สภาวะของมันยังไง
1.อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้
2.ทุกขัง มันมีสภาพแห่งความทุกข์
3.อนัตตา มันสลายตัว
อย่างนี้เขาเรียกว่า
วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน รู้ว่ามันไม่เที่ยง รู้ว่ามันเป็นทุกข์ รู้ว่ามันเป็นอนัตตา ถ้าวิปัสสนาญาณอย่างแข็งก็ถือว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นเรื่องของกิเลส ตัณหา อุปาทาน สร้างขึ้น มันเกิดขึ้นมาจากความเลว มันไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากความดี เกิดแล้วก็พัง เราคือจิตที่มาสถิตในกายนี้ ไม่เป็นเรื่อง เราอาศัยเรือนร่างหรือบ้านเรือนที่สกปรกโสโครกหนัก มีสภาพเหมือนกับป่าช้าที่เต็มไปด้วยความเน่า เราไม่เอาแล้ว ไป ไม่ขอจับ เจ้าสกปรกก็สกปรกแล้วยังโยเยแบบนี้ ไม่มีอาการทรงตัว ฉันขอลาแล้ว... สร้างจิตให้เป็นนิพพิทาญาณ มีความเบื่อหน่าย
ที่นี้
หนีกูตาม ถ้ามันหนีออกไปหมายความว่าไอ้เจ้ากามฉันทะมันไม่สามารถจะเข้ามายุ่งใจได้เต็มที่ เราก็ตามติดเข้าโจมตีมันอย่างหนัก มากูมุด หยุดกูแหย่ แย่กูตี เมื่อกี้นี้พูดมาถึงแย่กูตี หนีกูตาม เราก็พิจารณาไปเลย ตามพิจารณาไปว่าโลกนี้มีอะไรทรงตัวบ้างนี่ ดีไม่ดีนะผมสอนคุณอย่างนี้ คุณเป็นอรหันต์ ไม่แน่...ดีไม่ดีคุณปุ๊บปั๊บฟัดอรหันต์เข้าเลยนี่ ผมไม่รับรองนะ ผมพูดอย่างนี้ ผมไม่มั่นใจว่า คุณจะได้อยู่แค่พระสกิทาคามี เราก็จับหนีกูตามตัวสุดท้ายไปเลย ตามไปเลยตามตีให้ยับเยิน วิธีตีให้ยับก็หมายความว่าไอ้ขันธ์ 5 คือร่างกายของเราก็ดี ของเขาก็ดี ปกติมันเป็นสุขหรือมันเป็นทุกข์ นี่เราเบื่อมันเต็มทีแล้วมันสกปรก มันไม่มีการทรงตัว ตีให้พังว่ามันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราก็จะมองเห็นว่ามันทุกข์ทุกจุด เราจะทรงกายขึ้นมาได้นี่มันทุกข์ทุกวัน ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะการกินมันทุกข์ใหญ่ ถ้าไม่มีจะกินมันก็ทุกข์ กินเข้าไปแล้วมันก็ทุกข์
ทีนี้ของที่จะกินน่ะมันต้องหามา อาหารหากินมันก็ทุกข์ หนาวนักมันก็ทุกข์ ร้อนนักมันก็ทุกข์ ปวดอุจจาระปัสสาวะมันก็ทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังมันก็ทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายมาถึงมันก็ทุกข์ อาการพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบใจมันก็ทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงมันก็ทุกข์ ใครทุกข์ มันทุกข์หรือเราทุกข์ แต่ความจริงมันไม่ใช่มัน เราทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะเราโง่ โง่ไปยึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา เราก็ต้องควานหา ต้องตัดทุกข์ทิ้งให้ได้ นี่ตามตีมันเลย
ทุกข์มันมาจากอะไร ทุกข์มันมาจากตัณหา คือความอยาก อยากเกิด อยากมีผัว อยากมีเมีย อยากมีลูก อยากมีหลาน อยากมีเหลน อยากร่ำรวย อยากใหญ่อยากโต อยากมีชื่อเสียง มันตัวอยาก รวมความว่าอยากก่อให้มันมีร่างกายต่อไปอีก และอยากก่อให้มันทุกข์ต่อไป อันนี้เป็นอาการของความทุกข์ ทุกข์มันมาจากตัณหาหนอ เพราะตัวอยาก
พระพุทธเจ้าบอกว่าจะตัดตัณหาด้วยอะไร ตัดตัณหาด้วยศีลบริสุทธิ์ ศีลของท่านมันมีอยู่แล้ว สมาทานทุกวัน ถ้าหากว่าเรารักษาศีลของเราให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ศีลทรงตัวอย่างนี้ เมื่อศีลทรงตัวดี เป็นเกราะอันหนึ่งที่จะป้องกันอบายภูมิ ศีลบริสุทธิ์เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี เวลานี้ผมพูดกับท่านที่เป็นพระสกิทาคามีมรรค เรื่องศีลจึงไม่มีการหนักใจ
ทีนี้อีกตัวหนึ่งที่จะเข้ามาทำลายตัณหาคือ
สมาธิ สมาธิก็คือมีอารมณ์ทรงตัว ทรงตัวอยู่ในศีลเป็นปกติ เรียกว่า
สีลานุสสติกรรมฐาน ทรงตัวอานาปานุสสติปกติ เรียกว่า
อานาปานุสสติกรรมฐาน ทรงตัวอยู่ในพุทธานุสสติ ภาวนาอยู่เรื่อยๆ จัดว่าเป็น
พุทธานุสสติกรรมฐาน จิตเห็นสภาวะต่างๆ เป็นของเน่าเฟะเละ เป็นของไม่ดีเป็น นิพพิทาญาณ จัดว่าเป็น
อสุภกรรมฐาน กับ
กายคตานุสสติกรรมฐาน จนกระทั่งอารมณ์เกิดความเบื่อหน่ายจริงๆ เบื่อ เห็นคนก็เบื่อ เห็นสัตว์ก็เบื่อ เห็นวัตถุธาตุก็เบื่อ เพราะมันหาความสวยสดงดงามตามความปรารถนาที่ต้องการไม่ได้ มันเบื่อ นั่งก็เบื่อ นอนก็เบื่อ หลับก็เบื่อ ตื่นก็เบื่อ เบื่อหมด เห็นคนสวยอยากจะอาเจียน เห็นคนแต่งหน้าแต่งตาแต่งผิวแต่งพรรณ แต่งอะไรต่ออะไร มันนึกสงสาร ว่าโอหนอ...นี่เขาแต่งไปหาความทุกข์กันทั้งนั้น เขาไม่ได้ทำเพื่อความสุข เขาเกิดมาเพื่อการสร้างทุกข์แท้ๆ อารมณ์ใจเราก็หดหู่ มีความสะอิดสะเอียน มีความปรารถนาไม่ต้องการอยู่เสมอ อย่างนี้เรียกว่า
นิพพิทาญาณ นี่เรียกว่าเราตามตีให้มันพังไปเลย
มองดูเวลา ท่านทั้งหลาย หมดเสียแล้ว อยากจะพูดถึง
สังขารุเปกขาญาณ ยังไม่พูดถึง เป็นอันว่าจุดนี้เราระงับกันเพียงเท่านี้ นับต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลาย ตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าท่านจะเห็นว่าเวลาเป็นกาลเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 9.2
อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 9.2
กองทัพที่เราจะต้องเข้าต่อสู้อันดับแรก สำหรับสกิทาคามีมรรค เวลานี้เราพูดกันถึงเรื่องพระสกิทาคามีมรรค แล้วก็ในหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐาน ท่านที่ศึกษาหมวดนี้แล้วต้องจำให้ดี เพราะหมวดต่อๆ ไปผมอาจจะพูดย่อ หรือยาวก็ได้ตามใจผม สุดแล้วแต่ผมจะเห็นสมควร ถ้าผมเห็นสมควรหรือไม่สมควร ก็ไม่ใช่เรื่องของผมโดยตรง เป็นเรื่องหลักสูตรในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้
เวลานี้เรากำลังจะโจมตีข้าศึก หรือคอยจะมุดหนีข้าศึก จุดหนึ่ง คือกามฉันทะ หรือราคะ ได้แก่ ความรัก รักในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสในระหว่างเพศ อารมณ์ที่มั่วสุมไปด้วยกามารมณ์ อันนี้เราก็จำจะต้องมุดล่ะ ทีแรกเรามุดกลางๆ พอเจ้าราคะมันมา ทำยังไง อารมณ์รักตามที่กล่าวแล้ว ย้ำก็ไม่ดีเสียเวลา ถ้ามันจะมาจะทำยังไง หรือว่ามันยังไม่มา วิธีมุดที่ถูกต้องก็คือรักษาอานาปานุสสติกรรมฐานไว้ ใช้กำลังใจทรงสมาธิตามสมควร แล้วก็มุดหลบราคะด้วยการพิจารณาคนก็ดี สัตว์ก็ดี วัตถุธาตุก็ดี ทั้งหมดนี้เราเห็นว่ามันสกปรกทั้งหมด หาความจริง อย่าไปนึกเฉยๆ คลำตัวเรา อย่าคลำเขา คลำเขาน่ะคลำไม่ได้ถนัด คลำเราดีกว่า ที่พระอุปัชฌาย์บอกว่า เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ที่เป็นกรรมฐานสำคัญ ท่านทั้งหลายบวชมาแล้วเคยใช้บ้างหรือเปล่า ผม สะอาดหรือสกปรก ขน สะอาดหรือสกปรก หนัง สะอาดหรือสกปรก เล็บ สะอาดหรือสกปรก ฟัน สะอาดหรือสกปรก 5 อย่างนี้หาจุดให้พบ
รวมความว่าร่างกายของเราทั้งร่างกายนี้น่ะ ส่วนไหนบ้างที่มันสะอาด กรุณาหาความสะอาดให้พบ ผมว่าคนที่พบความสะอาดในร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น หรือความสะอาดในวัตถุธาตุก็คือจอมโง่ วันนี้เรายังไม่พูดถึงความโลภ นี่เราจะเป็นอนาคามีเราต้องตัดตรงนี้ ทำอารมณ์จิตให้เป็นฌาน ฌานในอะไร ฌานในอานาปานุสสติกรรมฐาน ฌานในพุทธานุสสติกรรมฐาน ซึ่งทรงเป็นตัวกลาง ต่อมาก็ให้เป็นฌานในอสุภสัญญา หรือกายคตานุสสติ
คำว่า ฌาน หมายถึงว่าอารมณ์ชิน มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นปกติตลอดวันตลอดคืน ไม่ใช่เฉพาะว่าเวลาที่มานั่งฟังกัน ถ้าเอาแต่เฉพาะเวลาที่มานั่งฟังกันแบบนี้ ผมว่าขาดทุนมาก ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเวลามันนิดเดียว ฟังอยู่ ทำอยู่ เวลา 30 นาที ดีไม่ดีมันดีไม่ถึง 5 นาทีก็เสร็จ เราจะต้องพิจารณาหาความจริง ว่าร่างกายของเราส่วนไหนมันสะอาด อุจจาระสะอาดไหม ปัสสาวะสะอาดไหม น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สะอาดไหม รวมความว่ามันก็ทั้งหมดทั้งกาย ตรงไหนมันสะอาด เราจะหาความสะอาดไม่ได้เลย ในเมื่อความสะอาดมันไม่มี มันก็ต้องสกปรก เอาล่ะซิ ตอนนี้เราหาทางมุด ป้องกันข้าศึกต นนี้เรามุดเสีย มุดเอาจิตเข้าไปจับตามความเป็นจริง ว่าโอหนอ...ร่างกายของคนและสัตว์ วัตถุธาตุทั้งหมด มันมีแต่ความสกปรก ในเมื่อมันสกปรกอย่างนี้ เราควรจะรักมันหรือว่าเราควรจะเกลียดมัน เราก็ต้องเกลียดมัน รักมันไม่ได้ สิ่งที่เรารักคือเรารักของสวย เรารักของสะอาด เรารักของดี เราไม่ได้รักของเลว รวมความว่า มากูมุด ปกติเรารีบมุดไว้ก่อน อย่าเพึ่งให้มันมา ในเมื่อมันมาเราก็มุดอีกทีหนึ่ง ไอ้ตัวราคะมันมา มุดด้วยอสุภสัญญาและกายคตานุสสติ
ที่นี้ แย่กูตี เป็นอันว่าอารมณ์ของกามฉันทะมันเริ่มหยุด ใจเริ่มชักจะไม่สนใจ เห็นคนและสัตว์เห็นว่า แหม...มันสกปรกไปหมด อย่าลืมนะตอนนี้ยังเป็นอารมณ์ของฌาน อย่าเผลอ ถ้าเผลอคิดว่าเป็นพระอรหันต์ล่ะก็ซวยบอกไม่ถูก แย่กูตีก็หมายความว่า ในเมื่ออารมณ์มันหยุดแล้วก็เสริม ใช้กำลังเข้าโจมตี นั่นคือปัญญา มานั่งพิจารณาว่าอสุภสัญญา คือร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุก็ดี สกปรก มันสกปรกอย่างเดียวรึ หันเข้าไปจับสักกายทิฏฐิในวิปัสสนาญาณ ว่าร่างกายคนก็ดี สัตว์ก็ดี นี่มันไม่สกปรกอย่างเดียว มันประกอบไปด้วยธาตุ 4 ทรงตัวชั่วคราว แยกออกเป็นชิ้นเป็นส่วนได้ 32 ชิ้น ที่เรียกกันว่า อาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด เป็นต้น ผมไม่อยากจะแยก ให้มันยุ่ง ดูทีเดียวให้มันสกปรกไปให้หมดดีกว่า ไปไล่เบี้ยตามตำราก็รู้สึกว่าจะเลวเกินไป มันยืดมันยาด พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ธรรมของเราไม่ใช่ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ต่อไปเราก็มาพิจารณาว่ามันเป็นธาตุ 4 มีอาการ 32 สภาวะของมันยังไง
1.อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้
2.ทุกขัง มันมีสภาพแห่งความทุกข์
3.อนัตตา มันสลายตัว
อย่างนี้เขาเรียกว่า วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน รู้ว่ามันไม่เที่ยง รู้ว่ามันเป็นทุกข์ รู้ว่ามันเป็นอนัตตา ถ้าวิปัสสนาญาณอย่างแข็งก็ถือว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นเรื่องของกิเลส ตัณหา อุปาทาน สร้างขึ้น มันเกิดขึ้นมาจากความเลว มันไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากความดี เกิดแล้วก็พัง เราคือจิตที่มาสถิตในกายนี้ ไม่เป็นเรื่อง เราอาศัยเรือนร่างหรือบ้านเรือนที่สกปรกโสโครกหนัก มีสภาพเหมือนกับป่าช้าที่เต็มไปด้วยความเน่า เราไม่เอาแล้ว ไป ไม่ขอจับ เจ้าสกปรกก็สกปรกแล้วยังโยเยแบบนี้ ไม่มีอาการทรงตัว ฉันขอลาแล้ว... สร้างจิตให้เป็นนิพพิทาญาณ มีความเบื่อหน่าย
ที่นี้ หนีกูตาม ถ้ามันหนีออกไปหมายความว่าไอ้เจ้ากามฉันทะมันไม่สามารถจะเข้ามายุ่งใจได้เต็มที่ เราก็ตามติดเข้าโจมตีมันอย่างหนัก มากูมุด หยุดกูแหย่ แย่กูตี เมื่อกี้นี้พูดมาถึงแย่กูตี หนีกูตาม เราก็พิจารณาไปเลย ตามพิจารณาไปว่าโลกนี้มีอะไรทรงตัวบ้างนี่ ดีไม่ดีนะผมสอนคุณอย่างนี้ คุณเป็นอรหันต์ ไม่แน่...ดีไม่ดีคุณปุ๊บปั๊บฟัดอรหันต์เข้าเลยนี่ ผมไม่รับรองนะ ผมพูดอย่างนี้ ผมไม่มั่นใจว่า คุณจะได้อยู่แค่พระสกิทาคามี เราก็จับหนีกูตามตัวสุดท้ายไปเลย ตามไปเลยตามตีให้ยับเยิน วิธีตีให้ยับก็หมายความว่าไอ้ขันธ์ 5 คือร่างกายของเราก็ดี ของเขาก็ดี ปกติมันเป็นสุขหรือมันเป็นทุกข์ นี่เราเบื่อมันเต็มทีแล้วมันสกปรก มันไม่มีการทรงตัว ตีให้พังว่ามันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราก็จะมองเห็นว่ามันทุกข์ทุกจุด เราจะทรงกายขึ้นมาได้นี่มันทุกข์ทุกวัน ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะการกินมันทุกข์ใหญ่ ถ้าไม่มีจะกินมันก็ทุกข์ กินเข้าไปแล้วมันก็ทุกข์
ทีนี้ของที่จะกินน่ะมันต้องหามา อาหารหากินมันก็ทุกข์ หนาวนักมันก็ทุกข์ ร้อนนักมันก็ทุกข์ ปวดอุจจาระปัสสาวะมันก็ทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังมันก็ทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายมาถึงมันก็ทุกข์ อาการพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบใจมันก็ทุกข์ ความตายจะเข้ามาถึงมันก็ทุกข์ ใครทุกข์ มันทุกข์หรือเราทุกข์ แต่ความจริงมันไม่ใช่มัน เราทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะเราโง่ โง่ไปยึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา เราก็ต้องควานหา ต้องตัดทุกข์ทิ้งให้ได้ นี่ตามตีมันเลย
ทุกข์มันมาจากอะไร ทุกข์มันมาจากตัณหา คือความอยาก อยากเกิด อยากมีผัว อยากมีเมีย อยากมีลูก อยากมีหลาน อยากมีเหลน อยากร่ำรวย อยากใหญ่อยากโต อยากมีชื่อเสียง มันตัวอยาก รวมความว่าอยากก่อให้มันมีร่างกายต่อไปอีก และอยากก่อให้มันทุกข์ต่อไป อันนี้เป็นอาการของความทุกข์ ทุกข์มันมาจากตัณหาหนอ เพราะตัวอยาก
พระพุทธเจ้าบอกว่าจะตัดตัณหาด้วยอะไร ตัดตัณหาด้วยศีลบริสุทธิ์ ศีลของท่านมันมีอยู่แล้ว สมาทานทุกวัน ถ้าหากว่าเรารักษาศีลของเราให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ศีลทรงตัวอย่างนี้ เมื่อศีลทรงตัวดี เป็นเกราะอันหนึ่งที่จะป้องกันอบายภูมิ ศีลบริสุทธิ์เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี เวลานี้ผมพูดกับท่านที่เป็นพระสกิทาคามีมรรค เรื่องศีลจึงไม่มีการหนักใจ
ทีนี้อีกตัวหนึ่งที่จะเข้ามาทำลายตัณหาคือ สมาธิ สมาธิก็คือมีอารมณ์ทรงตัว ทรงตัวอยู่ในศีลเป็นปกติ เรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน ทรงตัวอานาปานุสสติปกติ เรียกว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน ทรงตัวอยู่ในพุทธานุสสติ ภาวนาอยู่เรื่อยๆ จัดว่าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน จิตเห็นสภาวะต่างๆ เป็นของเน่าเฟะเละ เป็นของไม่ดีเป็น นิพพิทาญาณ จัดว่าเป็น อสุภกรรมฐาน กับ กายคตานุสสติกรรมฐาน จนกระทั่งอารมณ์เกิดความเบื่อหน่ายจริงๆ เบื่อ เห็นคนก็เบื่อ เห็นสัตว์ก็เบื่อ เห็นวัตถุธาตุก็เบื่อ เพราะมันหาความสวยสดงดงามตามความปรารถนาที่ต้องการไม่ได้ มันเบื่อ นั่งก็เบื่อ นอนก็เบื่อ หลับก็เบื่อ ตื่นก็เบื่อ เบื่อหมด เห็นคนสวยอยากจะอาเจียน เห็นคนแต่งหน้าแต่งตาแต่งผิวแต่งพรรณ แต่งอะไรต่ออะไร มันนึกสงสาร ว่าโอหนอ...นี่เขาแต่งไปหาความทุกข์กันทั้งนั้น เขาไม่ได้ทำเพื่อความสุข เขาเกิดมาเพื่อการสร้างทุกข์แท้ๆ อารมณ์ใจเราก็หดหู่ มีความสะอิดสะเอียน มีความปรารถนาไม่ต้องการอยู่เสมอ อย่างนี้เรียกว่า นิพพิทาญาณ นี่เรียกว่าเราตามตีให้มันพังไปเลย
มองดูเวลา ท่านทั้งหลาย หมดเสียแล้ว อยากจะพูดถึง สังขารุเปกขาญาณ ยังไม่พูดถึง เป็นอันว่าจุดนี้เราระงับกันเพียงเท่านี้ นับต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลาย ตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าท่านจะเห็นว่าเวลาเป็นกาลเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี