อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.1
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐาน และสมาทานศีลแล้ว หวังว่าท่านทั้งหลายคงไม่ลืมคำว่า
อิมาหัง ภควา อัตตภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความหมายความนี้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายว่าตามไปตามประเพณี ก็ไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไร และก็เสียเวลาว่าตาม นั่งเล่นนอนเล่นเสียดีกว่า เวลาที่จะว่าตามไปนี้ก็จงนึกถึงในสมัยที่องค์สมเด็จพระมหามุนีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่พระองค์แสวงมหาภิเนษกรมณ์ และก็วันบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ในตอนนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเป็นกษัตริย์ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์เห็นว่า
การเป็นกษัตริย์ไม่เป็นปัจจัยของความสุข การมีทรัพย์สิน การมีครอบครัว มีบริวาร เป็นปัจจัยของความทุกข์
ฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรงสละความสุขที่ชาวโลกเขาเรียกว่า สุข แต่ว่าพระองค์เห็นว่ามันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ละทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งยศถาบรรดาศักดิ์ วาสนา บารมี ทรัพย์สิน บุตร ภรรยา ออกแสวงมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเห็นว่า
การอยู่คนเดียวเป็นปัจจัยของความสุขเป็นอันดับแรก ไม่มีกังวลมาก แล้วก็หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงใช้ความพยายามในการที่จะปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลอาการทุกอย่างที่อาจารย์สมัยนั้นเขาสอน ทำทุกอย่างแม้แต่การทรมานตนจนกระทั่งร่างกายซูบผอม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยอมทำ แต่ทว่างานนั้นไม่สำเร็จมรรคผล
ต่อมาองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้ทรงตัดสินพระทัยในวันวิสาขบูชา กลางเดือน 6 ทรงนั่งอยู่ที่โคนโพธิ์ และก็ทรงดำริว่า
ถ้าเราไม่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งไปก็ตามที หรือว่าชีวิตินทรีย์ของเราจะตายไปก็ตาม เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้เด็ดขาด
นี่ความหมายอันนี้ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถถือว่า ชีวิตไม่มีความหมาย ร่างกายมีความเกิดขึ้นแล้วก็ตาย แต่ถ้าเราจะตายเพราะอาศัยไม่ได้ความดี คือจิตบริสุทธิ์ เราจะยอมตายเสียดีกว่า
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท และพระโยคาวจรทั้งหลายโดยถ้วนหน้า เวลาที่ท่านตั้งใจเจริญพระกรรมฐาน ก็จงตั้งใจเช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระพิชิตมาร คือว่าตั้งความเพียรจริง ๆ ว่าธรรมใดที่เป็นคำสอนรับไปแล้วเราจะปฏิบัติด้วยชีวิต จะใช้อารมณ์นั้นคิด ตัดความชั่วอยู่เสมอตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลามานั่งรับฟัง ขณะใดที่เราตื่นอยู่ เราจะไม่ยอมวางอารมณ์ที่ตัดกิเลส และจงคิดว่าชีวิต ของเรามีค่าน้อยกว่าชีวิตขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ เพราะว่าไม่ได้เป็นกษัตริย์มีทรัพย์สินไม่ถึงพระองค์ มีวาสนาบารมีไม่ถึงพระองค์ ทำไมจึงจะไปนั่งห่วงใยทรัพย์สินและชีวิตซึ่งมันมีค่านัอยกว่านั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารมีสมบัติมากกว่า ทำไมจึงไม่ห่วง เพราะว่าความห่วงมันเป็นกังวล มันเป็นปัจจัยของความทุกข์
นับตั้งแต่วันเกิดมาถึงวันนี้ เราเคยมีความสุขอะไรบ้าง เอาจิตเข้าไปคิดกันไว้และก็ตั้งใจว่า ถ้าความดีที่เราศึกษาไว้แล้วนี้มันไม่ดีถึงที่สุดเพียงใด เราก็ตายเสียดีกว่า ชีวิตนี้ไม่มีความหมาย เพียงแค่จะเอาชนะกำลังใจในด้านของความชั่ว เราทำไม่ได้ การเกิดมาของเราก็จัดว่าเป็น
โมฆบุรุษ โมฆสตรี คำว่า โมฆะ ก็หมายความว่า
เป็นคนที่ไร้ประโยชน์ ฉะนั้นขอท่านพุทธบริษัทที่สมาทาทานพระกรรมฐานแล้ว จงน้อมนำเอาจริยาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วมาปฏิบัติ
ถ้าหากว่าเราจะฝึกฝนในความดีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์สอน แต่ว่าเราจะนั่งรับฟังอย่างเดียว และทำจิตให้มันอยู่ในขอบเขตของคำสอนชั่วขณะหนึ่ง อย่าลืมว่าวันหนึ่งมันมีเวลา 24 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงนี้เวลาหลับนั่นก็เรื่องของมัน แต่ว่าเวลาตื่นอยู่จงอย่าให้จิตว่างจากอารม์ของความดีที่เราตั้งใจ
ต่อแต่นี้ไปก็จะขอพูดถึงเรื่อง
อาหาเรปฏิกูลสัญญา แต่ว่าก่อนจะพูดถึงเรื่อง อาหาเรปฏิกูลสัญญา อย่าลืมว่าอาหาหาเรปฏิกูลสัญญานี่ เมื่อเราเริ่มจับขึ้น อารมณ์ต่ำสุดก็คืออารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจะพูดกันไปตามความจริงแล้ว ถ้าจับจุดนี้ก็ควรจะจับเป็นจุดที่เรียกว่า
อารมณ์ของพระอรหันต์ เพราะว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นเรื่องของพุทธจริต คือคนที่มีจิตฉลาด ถ้าคนที่ไม่ฉลาด ปฏิบัติกรรมฐานบทนี้ไม่มีผล แต่ในฐานะที่เราเกิดมาทันศาสนาขององค์สมเด็จพระทศพล เราไม่ฉลาด แต่ว่าพระพุทธเจ้าฉลาด ในเมื่อเรามารับถ้อยคำคำสั่งสอนของคนฉลาดแล้ว เรายังจะกลับโง่อีก ก็เป็นที่น่าสมควรแล้วที่จะกลับไปสู่อบายภูมิ
ทีนี้ก่อนที่เราจะทำอะไรทั้งหมด ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าลืมเรื่องของ
อานาปานุสสติกรรมฐาน การทรงอารมณ์ให้อยู่ในอำนาจของลมหายใจเข้าออก ทำสติรู้อยู่ว่านี่ลมหายใจเข้า ขณะนี้ลมหายใจเข้ายาวหรือสั้น ขณะนี้ลมหายใจออกยาวหรือสั้น รู้อยู่เสมอนี่อย่างหนึ่ง สำหรับที่พูดมานี้เป็นด้านของมหาสติปัฏฐานสูตร สำหรับในพระกรรมฐาน 40 เราพยายามกำหนดรู้ลม 3 ฐาน เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบ ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบ จมูกหรือริมฝีปาก
การทรงอารมณ์เป็นสมาธิอย่างนี้ ต้องทำเป็นปกติและให้ทรงตัว ถ้าเราจะภาวนาด้วยก็ใช้คำภาวนาว่า
พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า
พุท เวลาหายใจออกนึกว่า
โธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำภาวนานี้ไม่จำกัด ถ้าบรรดาท่านทุทธบริษัทมีความพอใจในคำภาวนาว่ายังไง ซึ่งมันเป็นกุศล และก็ปฏิบัติมาจากที่อื่นในคำภาวนาอย่างนั้น จนมีความคล่องตัวดีแล้ว ก็ใช้คำภาวนาอย่างนั้นนั่นแหละ ไม่ต้องเปลี่ยนมาเป็นทุทโธก็ได้ ถ้าขืนเปลี่ยนกำลังใจก็จะวอกแวก กระสับกระส่ายไม่ทราบว่าจะเอาอะไรดี
การทรงจิตอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ให้จิตมีอารมณ์สบาย จิตใจมีความสุข ตั้งอยู่ใน เอกัคคตารมณ์ ไม่วอกแวกไปสู่อารมณ์อย่างอื่น มีความชุ่มชื่นมีความสุข เมื่อคลายจากอารมณ์นี้แล้วก็มาพิจารณาในด้านของอาหาเรปฏิกูลสัญญา ถ้าพิจารณาไปเห็นว่าจิตจะเฟื่อง อารมณ์จะไม่ทรงตัวอยู่ในขอบเขต ก็ละการพิจารณาเสีย แล้วก็มาจับลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนาต่อไปให้จิตทรงตัว
อีกประการหนึ่ง ขณะที่จะนอน ให้ใช้คำภาวนาหรือว่าพิจารณาจนกว่าจะหลับไป ถ้าพิจารณาหรือภาวนาจนหลับไป แสดงว่าขณะที่จะหลับ จิตเข้าถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ ในขณะที่หลับถือว่าเป็นผู้ทรงฌานอยู่ และพอตื่นขึ้นมาแล้วก็ภาวนา และพิจารณาต่อไป จะลุกขึ้นมานั่งหรือนอนอยู่อย่างนั้นก็ได้ ทำให้ใจสงบสงัดที่สุด หรือว่ามีปัญญาเฉียบแหลมที่สุด จนกระทั่งถึงเวลาที่เราจะลุกขึ้นมาประกอบกิจการงาน
และวันทั้งวัน ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ครุ่นคิดถึงคำพิจารณาในอาหาเรปฏิกูลสัญญาเทียบกับกาย หรือว่ากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก กับคำภาวนาไว้เป็นปกติ อย่างนี้ ความวุ่นวายของจิตมันก็ไม่มี จิตจะมีอารมณ์เป็นกุศล จะมีอารมณ์มีแต่ความสุข ขึ้นชื่อว่าความทุกข์ความหนักในด้านของใจมันจะไม่มี ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกท่าน ขึ้นชื่อว่ามรรคผลไม่เกินวิสัยของท่านในชาตินี้
ต่อแต่นี้ไปเหลือเวลาอีก 15 นาที ก็จะขอนำเอาอาหาเรปฏิกูลสัญญา ในด้านสังขารุเปกขาญาณมาแนะนำกับท่าน ขอให้ถือว่าการพูดนี่เป็นการแนะนำ และก็จงใช้สัญญา ความจำ และก็ปัญญา ความคิด พิจารณาให้มันละเอียดลออออกไป โดยใช้กำลังสมาธิที่ทรงไว้ได้เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาช่วย อย่างนี้อารมณ์แห่งนิพพิทาญาณ ก็ดี สังขารุเปกขาญาณก็ดี มันจะมีกับท่าน
สังขารุเปกขาญาณ และ
นิพพิทาญาณ เป็นญาณของนักวิปัสสนาญาณ 9 ที่นำเฉพาะ 2 อย่างมาแนะนำกับท่าน ก็เห็นว่าอีก 5 อย่าง หรือ 6 อย่างนั้นไม่มีความสำคัญ มีความสำคัญอยู่แค่นี้
ในวันก่อนได้แนะนำมาถึงด้านนิพพิทาญาณ ว่าเรื่องของอาหารทั้งหมดที่เรากินเข้าไป มันมาจากพื้นฐานของความสกปรก พูดอย่างนี้นึกออกหรือยัง สัตว์ทุกตัวที่เรากินเข้าไป มันสะอาดหรือว่าสกปรก พืชผักทั้งหลายที่เรากินเข้าไป มันสะอาดหรือสกปรก ปุ๋ยที่ทำให้พืชงามมันสกปลก สัตว์ทุกตนมีเลือดมีคาว มีอุจจาระ ปัสสาวะ มันสะอาดหรือสกปรก ในเมื่อเรากินของสกปรกเข้าไปแล้ว มันก็สร้างร่างกายของเราให้เกิดขึ้นงอกงามขึ้น และทรงตัวอยู่ เป็นอันว่าร่างกายของเรานี้จะทรงอยู่ได้เพราะอาหาร
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.2 https://ppantip.com/topic/43220725
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.1
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานพระกรรมฐาน และสมาทานศีลแล้ว หวังว่าท่านทั้งหลายคงไม่ลืมคำว่า อิมาหัง ภควา อัตตภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความหมายความนี้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายว่าตามไปตามประเพณี ก็ไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไร และก็เสียเวลาว่าตาม นั่งเล่นนอนเล่นเสียดีกว่า เวลาที่จะว่าตามไปนี้ก็จงนึกถึงในสมัยที่องค์สมเด็จพระมหามุนีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่พระองค์แสวงมหาภิเนษกรมณ์ และก็วันบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ในตอนนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเป็นกษัตริย์ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์เห็นว่า การเป็นกษัตริย์ไม่เป็นปัจจัยของความสุข การมีทรัพย์สิน การมีครอบครัว มีบริวาร เป็นปัจจัยของความทุกข์
ฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรงสละความสุขที่ชาวโลกเขาเรียกว่า สุข แต่ว่าพระองค์เห็นว่ามันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ละทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งยศถาบรรดาศักดิ์ วาสนา บารมี ทรัพย์สิน บุตร ภรรยา ออกแสวงมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเห็นว่า การอยู่คนเดียวเป็นปัจจัยของความสุขเป็นอันดับแรก ไม่มีกังวลมาก แล้วก็หลังจากนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงใช้ความพยายามในการที่จะปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลอาการทุกอย่างที่อาจารย์สมัยนั้นเขาสอน ทำทุกอย่างแม้แต่การทรมานตนจนกระทั่งร่างกายซูบผอม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยอมทำ แต่ทว่างานนั้นไม่สำเร็จมรรคผล
ต่อมาองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้ทรงตัดสินพระทัยในวันวิสาขบูชา กลางเดือน 6 ทรงนั่งอยู่ที่โคนโพธิ์ และก็ทรงดำริว่า ถ้าเราไม่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งไปก็ตามที หรือว่าชีวิตินทรีย์ของเราจะตายไปก็ตาม เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้เด็ดขาด
นี่ความหมายอันนี้ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถถือว่า ชีวิตไม่มีความหมาย ร่างกายมีความเกิดขึ้นแล้วก็ตาย แต่ถ้าเราจะตายเพราะอาศัยไม่ได้ความดี คือจิตบริสุทธิ์ เราจะยอมตายเสียดีกว่า
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท และพระโยคาวจรทั้งหลายโดยถ้วนหน้า เวลาที่ท่านตั้งใจเจริญพระกรรมฐาน ก็จงตั้งใจเช่นเดียวกับองค์สมเด็จพระพิชิตมาร คือว่าตั้งความเพียรจริง ๆ ว่าธรรมใดที่เป็นคำสอนรับไปแล้วเราจะปฏิบัติด้วยชีวิต จะใช้อารมณ์นั้นคิด ตัดความชั่วอยู่เสมอตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลามานั่งรับฟัง ขณะใดที่เราตื่นอยู่ เราจะไม่ยอมวางอารมณ์ที่ตัดกิเลส และจงคิดว่าชีวิต ของเรามีค่าน้อยกว่าชีวิตขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ เพราะว่าไม่ได้เป็นกษัตริย์มีทรัพย์สินไม่ถึงพระองค์ มีวาสนาบารมีไม่ถึงพระองค์ ทำไมจึงจะไปนั่งห่วงใยทรัพย์สินและชีวิตซึ่งมันมีค่านัอยกว่านั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารมีสมบัติมากกว่า ทำไมจึงไม่ห่วง เพราะว่าความห่วงมันเป็นกังวล มันเป็นปัจจัยของความทุกข์
นับตั้งแต่วันเกิดมาถึงวันนี้ เราเคยมีความสุขอะไรบ้าง เอาจิตเข้าไปคิดกันไว้และก็ตั้งใจว่า ถ้าความดีที่เราศึกษาไว้แล้วนี้มันไม่ดีถึงที่สุดเพียงใด เราก็ตายเสียดีกว่า ชีวิตนี้ไม่มีความหมาย เพียงแค่จะเอาชนะกำลังใจในด้านของความชั่ว เราทำไม่ได้ การเกิดมาของเราก็จัดว่าเป็น โมฆบุรุษ โมฆสตรี คำว่า โมฆะ ก็หมายความว่า เป็นคนที่ไร้ประโยชน์ ฉะนั้นขอท่านพุทธบริษัทที่สมาทาทานพระกรรมฐานแล้ว จงน้อมนำเอาจริยาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วมาปฏิบัติ
ถ้าหากว่าเราจะฝึกฝนในความดีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์สอน แต่ว่าเราจะนั่งรับฟังอย่างเดียว และทำจิตให้มันอยู่ในขอบเขตของคำสอนชั่วขณะหนึ่ง อย่าลืมว่าวันหนึ่งมันมีเวลา 24 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงนี้เวลาหลับนั่นก็เรื่องของมัน แต่ว่าเวลาตื่นอยู่จงอย่าให้จิตว่างจากอารม์ของความดีที่เราตั้งใจ
ต่อแต่นี้ไปก็จะขอพูดถึงเรื่อง อาหาเรปฏิกูลสัญญา แต่ว่าก่อนจะพูดถึงเรื่อง อาหาเรปฏิกูลสัญญา อย่าลืมว่าอาหาหาเรปฏิกูลสัญญานี่ เมื่อเราเริ่มจับขึ้น อารมณ์ต่ำสุดก็คืออารมณ์ของพระอนาคามี ถ้าจะพูดกันไปตามความจริงแล้ว ถ้าจับจุดนี้ก็ควรจะจับเป็นจุดที่เรียกว่า อารมณ์ของพระอรหันต์ เพราะว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นเรื่องของพุทธจริต คือคนที่มีจิตฉลาด ถ้าคนที่ไม่ฉลาด ปฏิบัติกรรมฐานบทนี้ไม่มีผล แต่ในฐานะที่เราเกิดมาทันศาสนาขององค์สมเด็จพระทศพล เราไม่ฉลาด แต่ว่าพระพุทธเจ้าฉลาด ในเมื่อเรามารับถ้อยคำคำสั่งสอนของคนฉลาดแล้ว เรายังจะกลับโง่อีก ก็เป็นที่น่าสมควรแล้วที่จะกลับไปสู่อบายภูมิ
ทีนี้ก่อนที่เราจะทำอะไรทั้งหมด ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าลืมเรื่องของ อานาปานุสสติกรรมฐาน การทรงอารมณ์ให้อยู่ในอำนาจของลมหายใจเข้าออก ทำสติรู้อยู่ว่านี่ลมหายใจเข้า ขณะนี้ลมหายใจเข้ายาวหรือสั้น ขณะนี้ลมหายใจออกยาวหรือสั้น รู้อยู่เสมอนี่อย่างหนึ่ง สำหรับที่พูดมานี้เป็นด้านของมหาสติปัฏฐานสูตร สำหรับในพระกรรมฐาน 40 เราพยายามกำหนดรู้ลม 3 ฐาน เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบ ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบ จมูกหรือริมฝีปาก
การทรงอารมณ์เป็นสมาธิอย่างนี้ ต้องทำเป็นปกติและให้ทรงตัว ถ้าเราจะภาวนาด้วยก็ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำภาวนานี้ไม่จำกัด ถ้าบรรดาท่านทุทธบริษัทมีความพอใจในคำภาวนาว่ายังไง ซึ่งมันเป็นกุศล และก็ปฏิบัติมาจากที่อื่นในคำภาวนาอย่างนั้น จนมีความคล่องตัวดีแล้ว ก็ใช้คำภาวนาอย่างนั้นนั่นแหละ ไม่ต้องเปลี่ยนมาเป็นทุทโธก็ได้ ถ้าขืนเปลี่ยนกำลังใจก็จะวอกแวก กระสับกระส่ายไม่ทราบว่าจะเอาอะไรดี
การทรงจิตอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ให้จิตมีอารมณ์สบาย จิตใจมีความสุข ตั้งอยู่ใน เอกัคคตารมณ์ ไม่วอกแวกไปสู่อารมณ์อย่างอื่น มีความชุ่มชื่นมีความสุข เมื่อคลายจากอารมณ์นี้แล้วก็มาพิจารณาในด้านของอาหาเรปฏิกูลสัญญา ถ้าพิจารณาไปเห็นว่าจิตจะเฟื่อง อารมณ์จะไม่ทรงตัวอยู่ในขอบเขต ก็ละการพิจารณาเสีย แล้วก็มาจับลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนาต่อไปให้จิตทรงตัว
อีกประการหนึ่ง ขณะที่จะนอน ให้ใช้คำภาวนาหรือว่าพิจารณาจนกว่าจะหลับไป ถ้าพิจารณาหรือภาวนาจนหลับไป แสดงว่าขณะที่จะหลับ จิตเข้าถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ ในขณะที่หลับถือว่าเป็นผู้ทรงฌานอยู่ และพอตื่นขึ้นมาแล้วก็ภาวนา และพิจารณาต่อไป จะลุกขึ้นมานั่งหรือนอนอยู่อย่างนั้นก็ได้ ทำให้ใจสงบสงัดที่สุด หรือว่ามีปัญญาเฉียบแหลมที่สุด จนกระทั่งถึงเวลาที่เราจะลุกขึ้นมาประกอบกิจการงาน
และวันทั้งวัน ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ครุ่นคิดถึงคำพิจารณาในอาหาเรปฏิกูลสัญญาเทียบกับกาย หรือว่ากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก กับคำภาวนาไว้เป็นปกติ อย่างนี้ ความวุ่นวายของจิตมันก็ไม่มี จิตจะมีอารมณ์เป็นกุศล จะมีอารมณ์มีแต่ความสุข ขึ้นชื่อว่าความทุกข์ความหนักในด้านของใจมันจะไม่มี ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกท่าน ขึ้นชื่อว่ามรรคผลไม่เกินวิสัยของท่านในชาตินี้
ต่อแต่นี้ไปเหลือเวลาอีก 15 นาที ก็จะขอนำเอาอาหาเรปฏิกูลสัญญา ในด้านสังขารุเปกขาญาณมาแนะนำกับท่าน ขอให้ถือว่าการพูดนี่เป็นการแนะนำ และก็จงใช้สัญญา ความจำ และก็ปัญญา ความคิด พิจารณาให้มันละเอียดลออออกไป โดยใช้กำลังสมาธิที่ทรงไว้ได้เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาช่วย อย่างนี้อารมณ์แห่งนิพพิทาญาณ ก็ดี สังขารุเปกขาญาณก็ดี มันจะมีกับท่าน
สังขารุเปกขาญาณ และ นิพพิทาญาณ เป็นญาณของนักวิปัสสนาญาณ 9 ที่นำเฉพาะ 2 อย่างมาแนะนำกับท่าน ก็เห็นว่าอีก 5 อย่าง หรือ 6 อย่างนั้นไม่มีความสำคัญ มีความสำคัญอยู่แค่นี้
ในวันก่อนได้แนะนำมาถึงด้านนิพพิทาญาณ ว่าเรื่องของอาหารทั้งหมดที่เรากินเข้าไป มันมาจากพื้นฐานของความสกปรก พูดอย่างนี้นึกออกหรือยัง สัตว์ทุกตัวที่เรากินเข้าไป มันสะอาดหรือว่าสกปรก พืชผักทั้งหลายที่เรากินเข้าไป มันสะอาดหรือสกปรก ปุ๋ยที่ทำให้พืชงามมันสกปลก สัตว์ทุกตนมีเลือดมีคาว มีอุจจาระ ปัสสาวะ มันสะอาดหรือสกปรก ในเมื่อเรากินของสกปรกเข้าไปแล้ว มันก็สร้างร่างกายของเราให้เกิดขึ้นงอกงามขึ้น และทรงตัวอยู่ เป็นอันว่าร่างกายของเรานี้จะทรงอยู่ได้เพราะอาหาร
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 2.2 https://ppantip.com/topic/43220725