ต่อจาก หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 4.1 https://ppantip.com/topic/43279508
อนุสสติ 5 ตอนที่ 4.2

แล้วจิตใจต่อไปก็มานั่งพิจารณาถึง
มรณานุสสติ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ว่าไอ้เรานี่มันต้องตายนะ เรานี่คือใคร ความจริงเราเข้าใจผิด คิดว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา มองมาดูกายคตานุสสติว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ร่างกายนี้ประกอบไปด้วยธาตุ 4 ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มีอาการ 32 เกลือกกลั้วกันไป มันไม่มีการทรงตัว มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด แล้วก็มันเป็นใคร เมื่อสลายตัวก็เรียกว่าตาย ถ้าเป็นเราเป็นของเราจริง มันจะตายไหม มันก็ไม่ตาย เพราะเราไม่ต้องการให้มันตาย ในเมื่อมันจะต้องตายอย่างนี้ แสดงว่าเรากับมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่มัน ในเมื่อมันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่มัน ผูกพันมันเพื่อประโยชน์อะไร ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายก็ดี เมื่อร่างกายที่เราทรงอยู่นี้มันพัง แล้วร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุทั้งหลายอย่างอื่นที่เราคิดว่ามันเป็นสมบัติของเรา เราจะมีสิทธิ์ปกครองมันไหม เป็นอันว่าเราก็ไม่มีสิทธิในการปกครอง
แล้วก็เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น เราก็ควรจะทำยังไง เราก็ควรวางเสีย วิธีวางวางยังไง จับอานาปานุสสติกรรมฐานให้มีอารมณ์ทรงตัว อานาปานุสสติกรรมฐานทำให้ใจสบาย ทำให้ร่างกายสบาย เพราะว่าเป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร แต่ระงับทุกขเวทนา ให้มีกำลังใจตั้งมั่น มีความเก่งกล้าในการทรงสมาธิ แล้วก็มานั่งพิจารณาดูว่า ร่างกายก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันมีความตายเป็นปกติ เราชำระจิต อายความชั่ว กลัวผลของความชั่ว แต่ความชั่วนี่เราจะค้นได้จากที่ไหน เพราะความชั่วเป็นปัจจัยให้เป็นทุกข์ ถ้าเราเป็นคนมันก็ต้องทุกข์ ถ้าเราเป็นเทวดาหรือพรหม มันก็ต้องทุกข์ สิ่งที่พ้นทุกข์เป็นสุขจริง ๆ ก็คือ
พระนิพพาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารต้องการให้คนทุกคนไปที่นั่น เราเรียกกันว่า
อุปสมานุสสติกรรมฐาน
เพียงเท่านี้ คือจิตเราน้อมรับนับถือซึ่งพระนิพพาน พระนิพพาน นี่แปลว่าความดับ
นิพพะ แปลว่า
ดับ คือดับตัณหาทั้งหมด คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับมานะ ความถือตัวถือคน เพียงเท่านี้ องค์สมเด็จพระทศพลก็ตรัสว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีจิตว่างจากกิเลส จิตว่างจากกิเลสก็คือจิตเป็นพระอรหันต์ เห็นไหมบรรดาพุทธบริษัททุกท่าน และพระโยคาวจรทั้งหลาย อนุสสติทั้ง 10 ประการนี้ ถ้าจะทรงไว้พร้อม ๆ กัน ก็ไม่เห็นจะมีอะไรหนัก ไม่ต้องไปนั่งไล่เบี้ย พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ กายคตานุสสติ อานาปานุสสติ อุปสมานุสสติ ไม่ใช่ไปไล่อย่างนั้น ให้อารมณ์มันทรงคราวเดียวถึงกัน
นี่เราก็มานั่งมอง ว่าองค์สมเด็จพระพิชิตมารสอนเราตอนนี้มุ่งอะไร ให้มุ่งความดีจุดสุดท้ายนั่นก็คือ
อริยสัจ อริยสัจนี่ถ้าพูดกันมาก มันก็รู้สึกว่ายาก ถ้าพูดกันแต่เพียงน้อย ๆ มันก็ของไม่ยาก อริยสัจในอนุสสติเรามองตรงไหนกันดี เราเรียนอนุสสติเราก็ต้องใช้อนุสสติเป็นอริยสัจ
อันดับแรก มองสรีระร่างกาย ขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ว่าพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเป็นมนุษย์สวยจริง ๆ แล้วก็ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหมด แต่เวลานี้สรีระร่างกายขององค์สมเด็จพระบรมสุคตไปไหน อยู่หรือเปล่า แล้วเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ ร่างกายขององค์สมเด็จพระบรมครูทรงสภาพเป็นปกติไหม พระพุทธเจ้าต้องฉันข้าวหรือเปล่า ต้องฉันน้ำหรือเปล่า พระพุทธเจ้าต้องพักผ่อนนอนหรือเปล่า พระพุทธเจ้าเมื่อทรงพระวรกายอยู่ มีโรคภัยไข้เจ็บหรือเปล่า พระพุทธเจ้าแก่หรือเปล่า ร่างกายพระพุทธเจ้าดับสลายตัวหรือเปล่า
ก็เป็นอันว่า พระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้นทุกอย่างเหมือนกับเรา ๆ เมื่อพระพุทธเจ้าดีกว่าเรา แล้วก็สรีระร่างกายก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย มีความทุกข์ของขันธ์ 5 แต่จิตท่านไม่ทุกข์ เพราะอะไร ก็เพราะว่ามันกฎธรรมดา แล้วมาดูร่างกายของเราที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าประกอบไปด้วยธาตุ 4 อาการ 32 มันมีการเคลื่อนไหวเข้าไปหาความตายเป็นปกติ ประสบกับอารมณ์ที่ฝืนใจอยู่เสมอ อาการทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นความสุขหรือความทุกข์ ความแก่เป็นสุขหรือทุกข์ การป่วยไข้ไม่สบาย เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความตายเข้ามาถึง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ถ้าให้ผมตอบ ผมพูดคนเดียวนี่ พูดคนเดียวไม่มีใครขัดคอ ผมก็ต้องตอบว่า อาการทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมด มันเป็นทุกข์ มันหาความสุขไม่ได้ เมื่อมันเป็นทุกข์ ทำไมจึงทุกข์ ทำไมเราจึงต้องเกิด ที่เราต้องเกิดมานี่ก็เพราะอาศัยตัณหาเป็นสำคัญ
ตัณหาอยากรัก ตัณหาอยากโลภ ตัณหาอยากโกรธ ตัณหาอยากหลง
ตัณหา อยากรัก ก็อยากมีคู่ครอง
ตัณหาอยากโลภ ก็อยากมีทรัพย์สินให้มันมาก เป็นคนมีวาสนาบารมีสูงส่ง
ตัณหาอยากโกรธ ก็เป็นคนที่มีอารมณ์ถือเนื้อถือตัวเกินไป ใครทำอะไรมาไม่ถูกใจ เพราะไม่ถูกความปรารถนา ลืมจริยาของเขาว่าคนที่เกิดมาในในโลกนี้มันมาหลายพวก มาจากนรกก็มี มาจากเปรตก็มี อสุรกายก็มี จากสัตว์เดรัจฉานก็มี จากพรหมก็มี จากเทวดาก็มี ว่าคนที่มาจากต่างแดนอย่างนี้ จะมีจริยาเหมือนกันไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปด้วยอำนาจของกฎแห่งกรรม เราไม่ได้คิด ไม่ได้คิดถึงข้อนี้ คิดแต่อย่างเดียวว่า อะไรถ้าไม่ถูกใจเรา เราก็โกรธ อย่างนี้มันตัณหา เรียกว่าตัณหาโกรธ
ตัณหาหลง หลงอย่างไร หลงว่ากายของเรามันดีวิเศษเสียหมด มันจะต้องไม่แก่ มันจะต้องไม่ป่วย มันจะต้องไม่ตาย คนที่เรารัก สัตว์ที่เรารัก วัตถุที่เรารัก มันจะต้องทรงตัว อยู่กับเราตลอดกาลดลอดสมัย อันนี้ก็เป็นตัณหา ตัณหาหลง ถ้าเราจะไม่หลง เราจะทำยังไง ก็คิดหาความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะตัณหา วิธีที่จะตัดตัณหาก็ต้องใช้มรรค 8 ย่อลงเหลือ 3 คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา
อันดับแรก
ทรงศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อทรงศีลให้บริสุทธิ์จริง ๆ ศีลเป็นเอกัคคตารมณ์ ถ้าศีลจะทรงบริสุทธิ์ได้ เพราะอาศัยความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ อันนี้เราก็เป็นพระโสดาบัน เข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว
ต่อไปสมเด็จพระประทีปแก้ว
ให้ทรงสมาธิ อารมณ์ตั้งมั่น คิดว่าตายแน่หนอชีวิตไม่อยู่ ความรักในเพศไม่มีความหมาย ความโกรธไม่มีความหมาย ตั้งไว้ในพรหมวิหาร 4 เอากายคตานุสสติกับมรณานุสสติทั้ง 2 ประการนี้บวกกัน เห็นว่ามันไม่ใช่ดินแดนที่เราจะทรงการตั้งมั่น ไม่ใช่สถานที่จะยึดมั่นไว้ได้ ไม่ช้าก็ตาย จนกระทั่งกำลังใจของเราหมดจากความรักในระหว่างเพศ หมดจากความโกรธ เพราะกายคตานุสสตินี่มันสร้างความรังเกียจในร่างกาย จนกระทั่งจิตใจเห็นคนทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเหมือนกับชากศพ เมื่อพบกับอารมณ์ที่เราไม่ถูกใจ ให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเขา ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนมีกิเลส
อันนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ถือว่า ท่านผู้นี้เป็นพระอนาคามี แล้วในที่สุดกำลังใจของเรานี้ก็
ตัดมานะ ความถือตัวถือตน เพราะว่าการถือตัวถือตนไม่ใช่ความดี เป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ใช่สายของความสุข อารมณ์จิตคิดอย่างเดียวคือเราต้องการดับ ดับเสียทั้งหมด
สักกายทิฏฐิ การถึงว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เราดับ ยอมรับนับถือว่ามันไม่ใช่ มันพัง
วิจิกิจฉา ความสงสัยในองค์สมเด็จพระจอมไตรไม่มี เพราะใช้ปัญญาพิจารณาแล้วว่าเป็นของจริง ดับความสงสัย
สีลัพพตปรามาส การจูบคลำศีลไม่มี มีความมั่นในศีล ไม่สงสัยในศีล ยึดมั่นดับอารมณ์ที่ไม่มั่นในศีลเสีย แล้วก็
กามราคะ ก็ดับเสียด้วย กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐาน แล้วก็
ความโกรธ ความพยาบาท นั้นก็ดับเสียด้วยความเมตตาปรานี คือพรหมวิหาร 4
การหลงในฌาน 2 ประการ คือ
รูปฌานและอรูปฌานไม่มี คิดว่าความดีไม่ได้อยู่แค่นั้น ต่อไปก็
ดับความถือตัวถือตน ดับอารมณ์ฟุ้งซ่าน ด้วยคิดว่ายังไม่ต้องไปนิพพานเถอะ เพราะแค่อนาคานีก็พอ เราไม่คิดอย่างนั้น คิดว่าชีวิตินทรีย์ยังทรงอยู่ จะไม่ยอมให้เวลาความดีที่มีนี้ โอกาสที่จะสร้างความดีให้หมดจด จะทำให้หมดไป ในเมื่อลมปราณยังอยู่
ต่อมาก็ยอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู คือ
ฉันทะตัดเสีย ดับฉันทะความพอใจใน มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก
ราคะเราก็ดับเสีย เมื่อเห็นว่ามนุษย์สวย เทวดาสวย พรหมสวยไม่มี เพราะดินแดนทั้งหลายเหล่านี้เป็นดินแดนแห่งความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ สิ่งที่เราต้องการก็คือ
พระนิพพาน อารมณ์ใจยึดมั่นถือมั่น หมายความตั้งใจเฉพาะพระนิพพาน มีอารมณ์เป็นสุข จนกระทั่งอารมณ์ทรงอุเบกขาคือความวางเฉย เฉยต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เฉยต่ออาการทั้งหลาย ที่เข้ามากระทบจิตใจ ใจสบายเป็นสุข ชื่อว่าเราเข้าเขตแดนของความหมดทุกข์ เรียกว่า
พระอรหันต์
เพียงเท่านี้ บรรดาพระโยคาวจรทุกท่าน อนุสสติทั้ง 10 ประการ ถ้าทรงได้จริง ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร ท่านทั้งหลายก็จะมีกำลังใจพ้นทุกข์ มีแต่ความสุข คืออารมณ์เข้าถึงพระนิพพาน
เวลานี้หมดเวลาเสียแล้วนี่ท่าน ขอลาก่อน ขอท่านทั้งหลายจงบรรลุธรรมที่องค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าถึงธรรมนั้นโดยฉับพลัน
สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 4.2
อนุสสติ 5 ตอนที่ 4.2
แล้วจิตใจต่อไปก็มานั่งพิจารณาถึง มรณานุสสติ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ว่าไอ้เรานี่มันต้องตายนะ เรานี่คือใคร ความจริงเราเข้าใจผิด คิดว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา มองมาดูกายคตานุสสติว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ร่างกายนี้ประกอบไปด้วยธาตุ 4 ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มีอาการ 32 เกลือกกลั้วกันไป มันไม่มีการทรงตัว มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด แล้วก็มันเป็นใคร เมื่อสลายตัวก็เรียกว่าตาย ถ้าเป็นเราเป็นของเราจริง มันจะตายไหม มันก็ไม่ตาย เพราะเราไม่ต้องการให้มันตาย ในเมื่อมันจะต้องตายอย่างนี้ แสดงว่าเรากับมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่มัน ในเมื่อมันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่มัน ผูกพันมันเพื่อประโยชน์อะไร ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายก็ดี เมื่อร่างกายที่เราทรงอยู่นี้มันพัง แล้วร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุทั้งหลายอย่างอื่นที่เราคิดว่ามันเป็นสมบัติของเรา เราจะมีสิทธิ์ปกครองมันไหม เป็นอันว่าเราก็ไม่มีสิทธิในการปกครอง
แล้วก็เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น เราก็ควรจะทำยังไง เราก็ควรวางเสีย วิธีวางวางยังไง จับอานาปานุสสติกรรมฐานให้มีอารมณ์ทรงตัว อานาปานุสสติกรรมฐานทำให้ใจสบาย ทำให้ร่างกายสบาย เพราะว่าเป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร แต่ระงับทุกขเวทนา ให้มีกำลังใจตั้งมั่น มีความเก่งกล้าในการทรงสมาธิ แล้วก็มานั่งพิจารณาดูว่า ร่างกายก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันมีความตายเป็นปกติ เราชำระจิต อายความชั่ว กลัวผลของความชั่ว แต่ความชั่วนี่เราจะค้นได้จากที่ไหน เพราะความชั่วเป็นปัจจัยให้เป็นทุกข์ ถ้าเราเป็นคนมันก็ต้องทุกข์ ถ้าเราเป็นเทวดาหรือพรหม มันก็ต้องทุกข์ สิ่งที่พ้นทุกข์เป็นสุขจริง ๆ ก็คือ พระนิพพาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารต้องการให้คนทุกคนไปที่นั่น เราเรียกกันว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน
เพียงเท่านี้ คือจิตเราน้อมรับนับถือซึ่งพระนิพพาน พระนิพพาน นี่แปลว่าความดับ นิพพะ แปลว่า ดับ คือดับตัณหาทั้งหมด คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับมานะ ความถือตัวถือคน เพียงเท่านี้ องค์สมเด็จพระทศพลก็ตรัสว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีจิตว่างจากกิเลส จิตว่างจากกิเลสก็คือจิตเป็นพระอรหันต์ เห็นไหมบรรดาพุทธบริษัททุกท่าน และพระโยคาวจรทั้งหลาย อนุสสติทั้ง 10 ประการนี้ ถ้าจะทรงไว้พร้อม ๆ กัน ก็ไม่เห็นจะมีอะไรหนัก ไม่ต้องไปนั่งไล่เบี้ย พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ กายคตานุสสติ อานาปานุสสติ อุปสมานุสสติ ไม่ใช่ไปไล่อย่างนั้น ให้อารมณ์มันทรงคราวเดียวถึงกัน
นี่เราก็มานั่งมอง ว่าองค์สมเด็จพระพิชิตมารสอนเราตอนนี้มุ่งอะไร ให้มุ่งความดีจุดสุดท้ายนั่นก็คือ อริยสัจ อริยสัจนี่ถ้าพูดกันมาก มันก็รู้สึกว่ายาก ถ้าพูดกันแต่เพียงน้อย ๆ มันก็ของไม่ยาก อริยสัจในอนุสสติเรามองตรงไหนกันดี เราเรียนอนุสสติเราก็ต้องใช้อนุสสติเป็นอริยสัจ
อันดับแรก มองสรีระร่างกาย ขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ว่าพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเป็นมนุษย์สวยจริง ๆ แล้วก็ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหมด แต่เวลานี้สรีระร่างกายขององค์สมเด็จพระบรมสุคตไปไหน อยู่หรือเปล่า แล้วเวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ ร่างกายขององค์สมเด็จพระบรมครูทรงสภาพเป็นปกติไหม พระพุทธเจ้าต้องฉันข้าวหรือเปล่า ต้องฉันน้ำหรือเปล่า พระพุทธเจ้าต้องพักผ่อนนอนหรือเปล่า พระพุทธเจ้าเมื่อทรงพระวรกายอยู่ มีโรคภัยไข้เจ็บหรือเปล่า พระพุทธเจ้าแก่หรือเปล่า ร่างกายพระพุทธเจ้าดับสลายตัวหรือเปล่า
ก็เป็นอันว่า พระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้นทุกอย่างเหมือนกับเรา ๆ เมื่อพระพุทธเจ้าดีกว่าเรา แล้วก็สรีระร่างกายก็ต้องแก่ เจ็บ ตาย มีความทุกข์ของขันธ์ 5 แต่จิตท่านไม่ทุกข์ เพราะอะไร ก็เพราะว่ามันกฎธรรมดา แล้วมาดูร่างกายของเราที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าประกอบไปด้วยธาตุ 4 อาการ 32 มันมีการเคลื่อนไหวเข้าไปหาความตายเป็นปกติ ประสบกับอารมณ์ที่ฝืนใจอยู่เสมอ อาการทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นความสุขหรือความทุกข์ ความแก่เป็นสุขหรือทุกข์ การป่วยไข้ไม่สบาย เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ความตายเข้ามาถึง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ถ้าให้ผมตอบ ผมพูดคนเดียวนี่ พูดคนเดียวไม่มีใครขัดคอ ผมก็ต้องตอบว่า อาการทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมด มันเป็นทุกข์ มันหาความสุขไม่ได้ เมื่อมันเป็นทุกข์ ทำไมจึงทุกข์ ทำไมเราจึงต้องเกิด ที่เราต้องเกิดมานี่ก็เพราะอาศัยตัณหาเป็นสำคัญ ตัณหาอยากรัก ตัณหาอยากโลภ ตัณหาอยากโกรธ ตัณหาอยากหลง
ตัณหา อยากรัก ก็อยากมีคู่ครอง
ตัณหาอยากโลภ ก็อยากมีทรัพย์สินให้มันมาก เป็นคนมีวาสนาบารมีสูงส่ง
ตัณหาอยากโกรธ ก็เป็นคนที่มีอารมณ์ถือเนื้อถือตัวเกินไป ใครทำอะไรมาไม่ถูกใจ เพราะไม่ถูกความปรารถนา ลืมจริยาของเขาว่าคนที่เกิดมาในในโลกนี้มันมาหลายพวก มาจากนรกก็มี มาจากเปรตก็มี อสุรกายก็มี จากสัตว์เดรัจฉานก็มี จากพรหมก็มี จากเทวดาก็มี ว่าคนที่มาจากต่างแดนอย่างนี้ จะมีจริยาเหมือนกันไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปด้วยอำนาจของกฎแห่งกรรม เราไม่ได้คิด ไม่ได้คิดถึงข้อนี้ คิดแต่อย่างเดียวว่า อะไรถ้าไม่ถูกใจเรา เราก็โกรธ อย่างนี้มันตัณหา เรียกว่าตัณหาโกรธ
ตัณหาหลง หลงอย่างไร หลงว่ากายของเรามันดีวิเศษเสียหมด มันจะต้องไม่แก่ มันจะต้องไม่ป่วย มันจะต้องไม่ตาย คนที่เรารัก สัตว์ที่เรารัก วัตถุที่เรารัก มันจะต้องทรงตัว อยู่กับเราตลอดกาลดลอดสมัย อันนี้ก็เป็นตัณหา ตัณหาหลง ถ้าเราจะไม่หลง เราจะทำยังไง ก็คิดหาความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะตัณหา วิธีที่จะตัดตัณหาก็ต้องใช้มรรค 8 ย่อลงเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
อันดับแรก ทรงศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อทรงศีลให้บริสุทธิ์จริง ๆ ศีลเป็นเอกัคคตารมณ์ ถ้าศีลจะทรงบริสุทธิ์ได้ เพราะอาศัยความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ อันนี้เราก็เป็นพระโสดาบัน เข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว
ต่อไปสมเด็จพระประทีปแก้ว ให้ทรงสมาธิ อารมณ์ตั้งมั่น คิดว่าตายแน่หนอชีวิตไม่อยู่ ความรักในเพศไม่มีความหมาย ความโกรธไม่มีความหมาย ตั้งไว้ในพรหมวิหาร 4 เอากายคตานุสสติกับมรณานุสสติทั้ง 2 ประการนี้บวกกัน เห็นว่ามันไม่ใช่ดินแดนที่เราจะทรงการตั้งมั่น ไม่ใช่สถานที่จะยึดมั่นไว้ได้ ไม่ช้าก็ตาย จนกระทั่งกำลังใจของเราหมดจากความรักในระหว่างเพศ หมดจากความโกรธ เพราะกายคตานุสสตินี่มันสร้างความรังเกียจในร่างกาย จนกระทั่งจิตใจเห็นคนทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเหมือนกับชากศพ เมื่อพบกับอารมณ์ที่เราไม่ถูกใจ ให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเขา ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนมีกิเลส
อันนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ถือว่า ท่านผู้นี้เป็นพระอนาคามี แล้วในที่สุดกำลังใจของเรานี้ก็ ตัดมานะ ความถือตัวถือตน เพราะว่าการถือตัวถือตนไม่ใช่ความดี เป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ใช่สายของความสุข อารมณ์จิตคิดอย่างเดียวคือเราต้องการดับ ดับเสียทั้งหมด สักกายทิฏฐิ การถึงว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เราดับ ยอมรับนับถือว่ามันไม่ใช่ มันพัง วิจิกิจฉา ความสงสัยในองค์สมเด็จพระจอมไตรไม่มี เพราะใช้ปัญญาพิจารณาแล้วว่าเป็นของจริง ดับความสงสัย สีลัพพตปรามาส การจูบคลำศีลไม่มี มีความมั่นในศีล ไม่สงสัยในศีล ยึดมั่นดับอารมณ์ที่ไม่มั่นในศีลเสีย แล้วก็ กามราคะ ก็ดับเสียด้วย กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐาน แล้วก็ ความโกรธ ความพยาบาท นั้นก็ดับเสียด้วยความเมตตาปรานี คือพรหมวิหาร 4 การหลงในฌาน 2 ประการ คือ รูปฌานและอรูปฌานไม่มี คิดว่าความดีไม่ได้อยู่แค่นั้น ต่อไปก็ ดับความถือตัวถือตน ดับอารมณ์ฟุ้งซ่าน ด้วยคิดว่ายังไม่ต้องไปนิพพานเถอะ เพราะแค่อนาคานีก็พอ เราไม่คิดอย่างนั้น คิดว่าชีวิตินทรีย์ยังทรงอยู่ จะไม่ยอมให้เวลาความดีที่มีนี้ โอกาสที่จะสร้างความดีให้หมดจด จะทำให้หมดไป ในเมื่อลมปราณยังอยู่
ต่อมาก็ยอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู คือ ฉันทะตัดเสีย ดับฉันทะความพอใจใน มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ราคะเราก็ดับเสีย เมื่อเห็นว่ามนุษย์สวย เทวดาสวย พรหมสวยไม่มี เพราะดินแดนทั้งหลายเหล่านี้เป็นดินแดนแห่งความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ สิ่งที่เราต้องการก็คือ พระนิพพาน อารมณ์ใจยึดมั่นถือมั่น หมายความตั้งใจเฉพาะพระนิพพาน มีอารมณ์เป็นสุข จนกระทั่งอารมณ์ทรงอุเบกขาคือความวางเฉย เฉยต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เฉยต่ออาการทั้งหลาย ที่เข้ามากระทบจิตใจ ใจสบายเป็นสุข ชื่อว่าเราเข้าเขตแดนของความหมดทุกข์ เรียกว่า พระอรหันต์
เพียงเท่านี้ บรรดาพระโยคาวจรทุกท่าน อนุสสติทั้ง 10 ประการ ถ้าทรงได้จริง ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณร ท่านทั้งหลายก็จะมีกำลังใจพ้นทุกข์ มีแต่ความสุข คืออารมณ์เข้าถึงพระนิพพาน
เวลานี้หมดเวลาเสียแล้วนี่ท่าน ขอลาก่อน ขอท่านทั้งหลายจงบรรลุธรรมที่องค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทเข้าถึงธรรมนั้นโดยฉับพลัน สวัสดี
ลิงค์ทั้งหมด https://ppantip.com/profile/8483559#topics