อนุสสติ 5 ตอนที่ 1.1
![](https://f.ptcdn.info/038/087/000/m709a5lniNo1peQdjQ3-o.jpg)
สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว วันนี้ก็จะขอขึ้นพระกรรมฐานอีกหมวดหนึ่ง ตอนที่จบไปเป็นเรื่องของ
อานาปานุสสติกรรมฐาน ความจริงอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นบาทต้น แต่ทว่ามาตอนท้ายก็เป็นลูกผสม เพื่อจะให้ท่านทั้งหลายได้รับพราบว่า การพอใจในการเจริญพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่งใน 40 กองเบื้องต้นแล้ว ก็สามารถจะทำตนให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คือเป็นอรหัตตผลได้ทุกจุด โดยไม่ต้องวิ่งไปหาอย่างโน้นหาอย่างนี้
สำหรับวันนี้ ความจริงก็ควรจะเป็นเรื่องของพุทธานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว แต่ทว่าผมเห็นว่า ถ้าทำอย่างนั้นมันก็เป็นนโยบายการซื้อการขายเสียงกันเท่านั้นเอง การแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน ไม่มีควานมุ่งหมายในความร่ำรวย มีความต้องการอย่างเดียวคือว่า จะให้คนผู้รับฟังสูญเสียทรัพย์สินให้น้อยที่สุดที่จะพึงน้อยได้ ถ้าหากว่าไม่มีความจำเป็น ถ้าผมมีทรัพย์พอ ผมจะทำแจกฟรีทั้งหมด เพราะว่าเห็นว่า พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ควรจะเสียเงินเสียทอง แต่ว่านี่จะต้องเสียก็เพราะว่า ต้องใช้สตางค์ซื้อเทปคาสเซทและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงให้เสียเงินคาดเซทละอัตราน้อยที่สุด เพลงเราขายคาสเซทละ 35 บาท แต่ทว่าธรรมะของเราเพียงคาสเซทละ 25 บาท คิดเฉลี่ยแล้วไม่ขาดทุนก็บุญตัว เป็นอันว่าการให้ธรรมเป็นทาน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ย่อมชนะทานทั้งหมด
วันนี้ก็จะขอเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุดต ในด้าน
พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ อุปสมานุสสติ รวม 5 อนุสสติด้วยกัน มาชี้แจงแก่พวกท่านทั้งหลาย เพื่อให้มีความเข้าใจในการเจริญพระกระกรรมฐาน ในตอนก่อนผมเคยพูดไว้แล้วว่า เจริญพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เราสามารถจะนำพระกรรมฐานกองนั้นเป็นบาทเข้าถึงอรหัตตผลได้ แต่ว่าอาศัยบุคคลผู้รับฟังที่ไม่ฉลาดมีมาก พูดแล้วพูดอีกเท่าไรก็ไม่เข้าใจ ที่นี้มาเปลี่ยนกันใหม่ จับจุดกันเลยว่าจุดไหนจะเป็นอรหันต์ได้อย่างไร
วันนี้ก็ขอใช้ลูกผสม นั่นก็คือพุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน สีลานุสสติกรรมฐาน อุปสมานุสสติกรรมฐาน ถ้าทุกอย่างทั้ง 5 ประการนี้ทรงตัวในจิตของท่าน ท่านก็จะได้เป็นพระอริยเจ้า ขั้นพระโสดาบันกับสกิทาคามีในเบื้องต้น นี่ว่ากันถึงบื้องตัน เป็นอรหันต์ง่าย ๆ แล้วต่อไปการจะก้าวเข้าไปสู่ความเป็นพระอนาคามี อรหันต์เป็นของไม่ยาก แต่ทว่าท่านทั้งหลายจงอย่าลืมอานาปานุสสติกรรมฐานเสีย ถ้าหากว่าท่านลืมขึ้นต้นด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน ก็เหมือนกับว่าท่านจะไปปลูกบ้านในอากาศ มันไม่มีจุดยืน ไม่มีจุดตั้ง อานาปานุสสติกรรมฐานเหมือนกับแผ่นดิน ถ้าเป็นอาคาร ถ้าเป็นเรือ อานาปานุสสติกรรมฐานก็เหมือนกับน้ำ ท่านจะต่อเรือเล็กต่อเรือใหญ่วิ่งไปตามกระแสน้ำ จะเล็กหรือจะใหญ่ก็ตาม มีเครื่องยนต์หรือไม่มีเครื่องยนต์ก็ตาม ต้องมีน้ำ เรือจึงจะวิ่งได้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด กรรมฐานทั้งหมดที่พูดมาแล้ว จงอย่าทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน
วันนี้ขอพูดพุทธานุสสติกรรมฐานก่อน บางทีก็จะบวกทั้ง 3 อย่าง ทั้งธัมมาและสังฆาเลย สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานก็ดี ธัมมานุสสติกรมฐานก็ดี สังฆานุสสติกรรมฐานก็ดี มีการปฏิบัติได้ 2 แบบ แต่แบบที่จะพึงสอนนี้มีความมุ่งหมายในชั้นสุกขวิปัสสโก เพราะว่าหลักสูตรอภิญญาหก วิชชาสาม ปฏิสัมภิทาญาณ มีอยู่แล้ว นั่นเป็นกีฬาสมาธิ เนื้อแท้จริง ๆ ก็คือสุกขปัสสโกนั่นเอง
สำหรับวันนี้ขอพุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐานก็ดี มีการปฏิบัติได้ 2 แบบ คือการพิจารณาใคร่ครวญถึงความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นี้อย่างหนึ่ง แต่ว่าอาการที่ใคร่ครวญนี้ จะทรงจิตอยู่ได้ในขั้นอุปจารสมาธิหรือว่าปฐมฌานเป็นอย่างสูง แต่หากว่าจะใช้อารมณ์เพ่ง ก็สามารถจะทรงอารมณ์ได้ถึงฌาน 4
ฉะนั้นขอนักปฏิบัติควรทำทั้ง 2 อย่าง เวลาใดที่จิตของท่านตั้งใจเพื่อความสงบ ไม่อยากจะคิด ก็เอาจิตไปจับรูปพระพุทธรูปก็ดี นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี หรือว่าพระอริยสงฆ์ พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ดีที่เรามีความเคารพ ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้า ภาวนาว่า
พุทโธ ถ้านึกถึงพระธรรม ภาวนาว่า
ธัมโม ถ้านึกถึงพระสงฆ์ ภาวนาว่า
สังโฆ ทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้จนกว่าจิตจะเข้าถึงฌานสมาบัติคือจิตมีการทรงตัว แต่ทว่าเวลาที่ท่านปฏิบัติ ก็จงอย่าบังคับจิตว่ามันจะถึงจุดนั้นจุดนี้ จะถึงสมาธิระดับนั้น สมาธิระดับนี้ คือ
ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นฌาน หรือว่าฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ถ้าคิดอย่างนี้ละก็พังตัวตัวยทั้งหมดนะไม่มีทาง
จงตั้งใจไว้ว่า สมถภาวมาเป็นอุบายเครื่องสงบใจ อารมณ์สมาธิของเราจะถึงไหนก็ช่าง เราพอใจอารมณ์สมาธิที่เราถึงในขณะนั้น ต้องการอย่างเดียวคืออารมณ์จิตเป็นสุข ถ้าหากว่าท่านไปกำหนดว่า วันนี้จะต้องเอาอย่างนั้น วันนี้จะต้องเอาอย่างนี้ นั่นมันเป็นนิวรณ์เข้ามาครอบงำจิต คืออุทธัจจกุกกุจจะ ถ้าอารมณ์ไม่สามารถจะถึงจุดนั้นได้จริง ๆ ความกลุ้มมันก็เกิด แทนที่จะมีสุข อารมณ์สงบตามความมุ่งหมายของสมถภาวนา มันก็เลยกลายเป็นจิตพล่านไป ขาดทุน
ตอนนี้ต้องจำให้ดี วิธีที่จะดีที่สุดนั่นก็คือ นั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เดินไปบิณฑบาด เดินไปทำงานหรือทำงานทำการยู่ก็ดี เอาจิตจับกับกับคำภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโม ไว้เป็นปกติ อย่าให้อารมณ์คลาดจากอนุสสติทั้ง 3 ประการ ถ้าอาการของท่านทรงได้อย่างนี้ละก็ ก็ถือว่าท่านเป็นผู้ทรงฌาน ผมได้เคยบอกมาแล้วว่า
ณานัง แปลว่า
การเพ่ง หรือนัยหนึ่งถึงพูดเป็นภาษาไทย ฌานก็คืออารมณ์ชิน ชินอยู่ในคุณธรรมที่เราต้องการ เรียกว่า ฌาน และการที่อารมณ์ของท่านจะเข้าถึงพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อารมณ์ที่จะพรงตัวจริง ๆ ก็แค่ปฐมฌานเท่านั้น เมื่ออารมณ์จิตถึงปฐมฌานแล้ว ท่านก็เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามีได้
ขณะที่เราภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ เราจะต้องมีอารมณ์ชนะความเลวไว้เสมอ จงอย่าคิดว่าจะยอมรับอารมณ์ซ่านไปสู่อารมณ์อื่น ตั้งใจไว้ว่าช่วงเวลาเล็กน้อย ถ้ามันทำไม่ได้ให้มันตายไป ขันธ์ 5 ทั้งหลายไม่มีความหมายสำหรับเรา มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ หรือว่าก่อนที่จะภาวนาก็พิจารณาเสียก่อนว่า รูป เวทนา สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราเรียกกันว่าร่างกาย อันประกอบไปด้วยธาตุ 4 แบ่งแยกไปด้วยอาการ 32 มีวิญญาณธาตุ คือจิต เข้ามาอาศัยอยู่ มันเป็นธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ตั้งเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของจิตชั่วคราว ไม่ช้ามันก็พัง เราจะมาสนใจอะไรกับการพังของร่างกาย หรือร่างกายที่จะพัง มันมีการทรุดโทรม มันเป็นของไม่ดี ถ้ามันดีจริง ๆ ละก็ เราต้องไม่แก่ เราต้องไม่เจ็บ เราต้องไม่ตาย แต่นี่ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราห้ามปรามมันไม่ได้ ก็แสดงว่ามันกับเราเป็นศัตรูกัน กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันหลอกให้เราเข้ามาอาศัยกายที่เต็มไปด้วยความโสโครก ไม่มีสภาวะทรงตัว การเกิดเป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี ไม่ใช่แดนของความสุข แดนของความสุขจริง ๆ ก็คือพระนิพพาน
การจะไปพระนิพพานเขาทำกันยังไง มองเห็นโทษของร่างกายของตนว่ามันสกปรก ไม่มีการทรงตัว มองเห็นร่างกายของบุคคลอื่นว่ามันมีสภาพสกปรก ไม่มีการทรงตัว ในที่สุดก็สลายเหมือนกัน เห็นวัตถุธาตุทั้งหลายทั้งหมด ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข มันเป็นปัจจัยที่เราจะพึงอาศัยในชาติปัจจุบัน แต่ทว่าอาศัยอย่างร้อน ๆ ไม่ใช่อาศัยแบบเย็น เรามีพรัพย์มีสินเราก็มีความร้อนใจอยู่เสมอ มีเสื้อตัวเดียว มีกางเกงตัวเดียว เราก็ยุ่งกับเสื้อเราก็ยุ่งกับกางเกง จะหามันมาได้ต้องทำเงินทำทองด้วยความเหนื่อยยาก ใช้มันแล้วมันเก่าทุกวัน มันสกปรกเราก็ต้องซัก ตากให้แห้งแล้วก็นำมารีด เสื้อกางเกงเพียงตัวเดียวมันก็สร้างความยุ่ง นี่ทรัพย์สินทั้งหลายที่มีอยู่ ไม่ใช่เป็นปัจจัยของความสุข เป็นปัจจัยของความทุกข์
แล้วก็หันมาดูร่างกายของเรา โอหนอ... ที่เราคิดว่ามันเป็นเรานี่เนื้อแท้จริง ๆ มันไม่ใช่เรา
เราคือจิต ที่เข้ามาสิงสถิตในร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มีความเสื่อมลงไปทุกวัน มีการสลายตัวไปในที่สุด การเกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นของดี ความเป็นมนุษย์นี่ไม่ใช่ดี เรามาเกิดด้วยความโง่ที่หลงใหลใฝ่ฝันคำแนะนำของกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรม จึงมีทุกข์ไม่สร่างไม่ซา ขึ้นชื่อว่าร่างกายอย่างนี้ เราจะไม่พึงปรารถนามันต่อไป ตายแล้วคราวนี้ตายไป เลิกกันสำหรับร่างกายที่เต็มไปด้วยความโสโครกสกปรก ไม่มีความจีรังยั่งยืน สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43254922
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 1.1
สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว วันนี้ก็จะขอขึ้นพระกรรมฐานอีกหมวดหนึ่ง ตอนที่จบไปเป็นเรื่องของอานาปานุสสติกรรมฐาน ความจริงอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นบาทต้น แต่ทว่ามาตอนท้ายก็เป็นลูกผสม เพื่อจะให้ท่านทั้งหลายได้รับพราบว่า การพอใจในการเจริญพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่งใน 40 กองเบื้องต้นแล้ว ก็สามารถจะทำตนให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คือเป็นอรหัตตผลได้ทุกจุด โดยไม่ต้องวิ่งไปหาอย่างโน้นหาอย่างนี้
สำหรับวันนี้ ความจริงก็ควรจะเป็นเรื่องของพุทธานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว แต่ทว่าผมเห็นว่า ถ้าทำอย่างนั้นมันก็เป็นนโยบายการซื้อการขายเสียงกันเท่านั้นเอง การแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน ไม่มีควานมุ่งหมายในความร่ำรวย มีความต้องการอย่างเดียวคือว่า จะให้คนผู้รับฟังสูญเสียทรัพย์สินให้น้อยที่สุดที่จะพึงน้อยได้ ถ้าหากว่าไม่มีความจำเป็น ถ้าผมมีทรัพย์พอ ผมจะทำแจกฟรีทั้งหมด เพราะว่าเห็นว่า พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ควรจะเสียเงินเสียทอง แต่ว่านี่จะต้องเสียก็เพราะว่า ต้องใช้สตางค์ซื้อเทปคาสเซทและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงให้เสียเงินคาดเซทละอัตราน้อยที่สุด เพลงเราขายคาสเซทละ 35 บาท แต่ทว่าธรรมะของเราเพียงคาสเซทละ 25 บาท คิดเฉลี่ยแล้วไม่ขาดทุนก็บุญตัว เป็นอันว่าการให้ธรรมเป็นทาน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ย่อมชนะทานทั้งหมด
วันนี้ก็จะขอเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุดต ในด้าน พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ อุปสมานุสสติ รวม 5 อนุสสติด้วยกัน มาชี้แจงแก่พวกท่านทั้งหลาย เพื่อให้มีความเข้าใจในการเจริญพระกระกรรมฐาน ในตอนก่อนผมเคยพูดไว้แล้วว่า เจริญพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เราสามารถจะนำพระกรรมฐานกองนั้นเป็นบาทเข้าถึงอรหัตตผลได้ แต่ว่าอาศัยบุคคลผู้รับฟังที่ไม่ฉลาดมีมาก พูดแล้วพูดอีกเท่าไรก็ไม่เข้าใจ ที่นี้มาเปลี่ยนกันใหม่ จับจุดกันเลยว่าจุดไหนจะเป็นอรหันต์ได้อย่างไร
วันนี้ก็ขอใช้ลูกผสม นั่นก็คือพุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน สีลานุสสติกรรมฐาน อุปสมานุสสติกรรมฐาน ถ้าทุกอย่างทั้ง 5 ประการนี้ทรงตัวในจิตของท่าน ท่านก็จะได้เป็นพระอริยเจ้า ขั้นพระโสดาบันกับสกิทาคามีในเบื้องต้น นี่ว่ากันถึงบื้องตัน เป็นอรหันต์ง่าย ๆ แล้วต่อไปการจะก้าวเข้าไปสู่ความเป็นพระอนาคามี อรหันต์เป็นของไม่ยาก แต่ทว่าท่านทั้งหลายจงอย่าลืมอานาปานุสสติกรรมฐานเสีย ถ้าหากว่าท่านลืมขึ้นต้นด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน ก็เหมือนกับว่าท่านจะไปปลูกบ้านในอากาศ มันไม่มีจุดยืน ไม่มีจุดตั้ง อานาปานุสสติกรรมฐานเหมือนกับแผ่นดิน ถ้าเป็นอาคาร ถ้าเป็นเรือ อานาปานุสสติกรรมฐานก็เหมือนกับน้ำ ท่านจะต่อเรือเล็กต่อเรือใหญ่วิ่งไปตามกระแสน้ำ จะเล็กหรือจะใหญ่ก็ตาม มีเครื่องยนต์หรือไม่มีเครื่องยนต์ก็ตาม ต้องมีน้ำ เรือจึงจะวิ่งได้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด กรรมฐานทั้งหมดที่พูดมาแล้ว จงอย่าทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน
วันนี้ขอพูดพุทธานุสสติกรรมฐานก่อน บางทีก็จะบวกทั้ง 3 อย่าง ทั้งธัมมาและสังฆาเลย สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานก็ดี ธัมมานุสสติกรมฐานก็ดี สังฆานุสสติกรรมฐานก็ดี มีการปฏิบัติได้ 2 แบบ แต่แบบที่จะพึงสอนนี้มีความมุ่งหมายในชั้นสุกขวิปัสสโก เพราะว่าหลักสูตรอภิญญาหก วิชชาสาม ปฏิสัมภิทาญาณ มีอยู่แล้ว นั่นเป็นกีฬาสมาธิ เนื้อแท้จริง ๆ ก็คือสุกขปัสสโกนั่นเอง
สำหรับวันนี้ขอพุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐานก็ดี มีการปฏิบัติได้ 2 แบบ คือการพิจารณาใคร่ครวญถึงความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นี้อย่างหนึ่ง แต่ว่าอาการที่ใคร่ครวญนี้ จะทรงจิตอยู่ได้ในขั้นอุปจารสมาธิหรือว่าปฐมฌานเป็นอย่างสูง แต่หากว่าจะใช้อารมณ์เพ่ง ก็สามารถจะทรงอารมณ์ได้ถึงฌาน 4
ฉะนั้นขอนักปฏิบัติควรทำทั้ง 2 อย่าง เวลาใดที่จิตของท่านตั้งใจเพื่อความสงบ ไม่อยากจะคิด ก็เอาจิตไปจับรูปพระพุทธรูปก็ดี นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี หรือว่าพระอริยสงฆ์ พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ดีที่เรามีความเคารพ ถ้านึกถึงพระพุทธเจ้า ภาวนาว่า พุทโธ ถ้านึกถึงพระธรรม ภาวนาว่า ธัมโม ถ้านึกถึงพระสงฆ์ ภาวนาว่า สังโฆ ทรงอารมณ์อยู่อย่างนี้จนกว่าจิตจะเข้าถึงฌานสมาบัติคือจิตมีการทรงตัว แต่ทว่าเวลาที่ท่านปฏิบัติ ก็จงอย่าบังคับจิตว่ามันจะถึงจุดนั้นจุดนี้ จะถึงสมาธิระดับนั้น สมาธิระดับนี้ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นฌาน หรือว่าฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ถ้าคิดอย่างนี้ละก็พังตัวตัวยทั้งหมดนะไม่มีทาง
จงตั้งใจไว้ว่า สมถภาวมาเป็นอุบายเครื่องสงบใจ อารมณ์สมาธิของเราจะถึงไหนก็ช่าง เราพอใจอารมณ์สมาธิที่เราถึงในขณะนั้น ต้องการอย่างเดียวคืออารมณ์จิตเป็นสุข ถ้าหากว่าท่านไปกำหนดว่า วันนี้จะต้องเอาอย่างนั้น วันนี้จะต้องเอาอย่างนี้ นั่นมันเป็นนิวรณ์เข้ามาครอบงำจิต คืออุทธัจจกุกกุจจะ ถ้าอารมณ์ไม่สามารถจะถึงจุดนั้นได้จริง ๆ ความกลุ้มมันก็เกิด แทนที่จะมีสุข อารมณ์สงบตามความมุ่งหมายของสมถภาวนา มันก็เลยกลายเป็นจิตพล่านไป ขาดทุน
ตอนนี้ต้องจำให้ดี วิธีที่จะดีที่สุดนั่นก็คือ นั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เดินไปบิณฑบาด เดินไปทำงานหรือทำงานทำการยู่ก็ดี เอาจิตจับกับกับคำภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโม ไว้เป็นปกติ อย่าให้อารมณ์คลาดจากอนุสสติทั้ง 3 ประการ ถ้าอาการของท่านทรงได้อย่างนี้ละก็ ก็ถือว่าท่านเป็นผู้ทรงฌาน ผมได้เคยบอกมาแล้วว่า ณานัง แปลว่า การเพ่ง หรือนัยหนึ่งถึงพูดเป็นภาษาไทย ฌานก็คืออารมณ์ชิน ชินอยู่ในคุณธรรมที่เราต้องการ เรียกว่า ฌาน และการที่อารมณ์ของท่านจะเข้าถึงพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อารมณ์ที่จะพรงตัวจริง ๆ ก็แค่ปฐมฌานเท่านั้น เมื่ออารมณ์จิตถึงปฐมฌานแล้ว ท่านก็เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามีได้
ขณะที่เราภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ เราจะต้องมีอารมณ์ชนะความเลวไว้เสมอ จงอย่าคิดว่าจะยอมรับอารมณ์ซ่านไปสู่อารมณ์อื่น ตั้งใจไว้ว่าช่วงเวลาเล็กน้อย ถ้ามันทำไม่ได้ให้มันตายไป ขันธ์ 5 ทั้งหลายไม่มีความหมายสำหรับเรา มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ หรือว่าก่อนที่จะภาวนาก็พิจารณาเสียก่อนว่า รูป เวทนา สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราเรียกกันว่าร่างกาย อันประกอบไปด้วยธาตุ 4 แบ่งแยกไปด้วยอาการ 32 มีวิญญาณธาตุ คือจิต เข้ามาอาศัยอยู่ มันเป็นธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ตั้งเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของจิตชั่วคราว ไม่ช้ามันก็พัง เราจะมาสนใจอะไรกับการพังของร่างกาย หรือร่างกายที่จะพัง มันมีการทรุดโทรม มันเป็นของไม่ดี ถ้ามันดีจริง ๆ ละก็ เราต้องไม่แก่ เราต้องไม่เจ็บ เราต้องไม่ตาย แต่นี่ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราห้ามปรามมันไม่ได้ ก็แสดงว่ามันกับเราเป็นศัตรูกัน กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันหลอกให้เราเข้ามาอาศัยกายที่เต็มไปด้วยความโสโครก ไม่มีสภาวะทรงตัว การเกิดเป็นเทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี ไม่ใช่แดนของความสุข แดนของความสุขจริง ๆ ก็คือพระนิพพาน
การจะไปพระนิพพานเขาทำกันยังไง มองเห็นโทษของร่างกายของตนว่ามันสกปรก ไม่มีการทรงตัว มองเห็นร่างกายของบุคคลอื่นว่ามันมีสภาพสกปรก ไม่มีการทรงตัว ในที่สุดก็สลายเหมือนกัน เห็นวัตถุธาตุทั้งหลายทั้งหมด ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข มันเป็นปัจจัยที่เราจะพึงอาศัยในชาติปัจจุบัน แต่ทว่าอาศัยอย่างร้อน ๆ ไม่ใช่อาศัยแบบเย็น เรามีพรัพย์มีสินเราก็มีความร้อนใจอยู่เสมอ มีเสื้อตัวเดียว มีกางเกงตัวเดียว เราก็ยุ่งกับเสื้อเราก็ยุ่งกับกางเกง จะหามันมาได้ต้องทำเงินทำทองด้วยความเหนื่อยยาก ใช้มันแล้วมันเก่าทุกวัน มันสกปรกเราก็ต้องซัก ตากให้แห้งแล้วก็นำมารีด เสื้อกางเกงเพียงตัวเดียวมันก็สร้างความยุ่ง นี่ทรัพย์สินทั้งหลายที่มีอยู่ ไม่ใช่เป็นปัจจัยของความสุข เป็นปัจจัยของความทุกข์
แล้วก็หันมาดูร่างกายของเรา โอหนอ... ที่เราคิดว่ามันเป็นเรานี่เนื้อแท้จริง ๆ มันไม่ใช่เรา เราคือจิต ที่เข้ามาสิงสถิตในร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มีความเสื่อมลงไปทุกวัน มีการสลายตัวไปในที่สุด การเกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นของดี ความเป็นมนุษย์นี่ไม่ใช่ดี เรามาเกิดด้วยความโง่ที่หลงใหลใฝ่ฝันคำแนะนำของกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรม จึงมีทุกข์ไม่สร่างไม่ซา ขึ้นชื่อว่าร่างกายอย่างนี้ เราจะไม่พึงปรารถนามันต่อไป ตายแล้วคราวนี้ตายไป เลิกกันสำหรับร่างกายที่เต็มไปด้วยความโสโครกสกปรก ไม่มีความจีรังยั่งยืน สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 1.2 https://ppantip.com/topic/43254922