อนุสสติ 5 ตอนที่ 2.1

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว โอกาสต่อนี้ไป เป็นวาระที่ท่านทั้งหลายจะได้รับการศึกษาในการเจริญพระกรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกรรมฐานหมวดนี้ แทนที่ผมจะแนะนำท่านในด้านพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีสานุสสติ อุปสมานุสสติแต่ละอย่าง ผมขอโอกาสแนะนำรวม เพราะว่าถ้าปฏิบัติแบบนั้น ไม่ทันกับอายุของเราที่จะสิ้นไป ด้วยว่าพระกรรมฐานทั้ง 5 อย่างนี้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายสามารถจะทรงได้ เพียงแค่กำลังเบา ๆ ท่านทั้งหลายจะทรงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันกับสกิทาคามี
เป็นอันว่าการศึกษาพระกรรมฐานหมวดนี้ เป็นการศึกษาที่มีกำไรอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแนะนำของกระผม ก็แนะนำในด้านสุกขวิปัสสโก คำว่าสุกขวิปัสสโกนี้ ใช้กำลังการพิจารณาแบบเบา ๆ หมายความว่ามีการรู้แจ้งเห็นจริงแบบสบาย ๆ ไม่ต้องเร่งรัดในฌานสมาบัติจนเกินไป และขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้ด้วยว่า สำหรับพระโสดาบันกับสกิทาคามี อันนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า เป็นผู้ทรงอธิศีล หมายความว่าเป็นผู้ทรงศีลยิ่ง ฉะนั้นผมจึงเอาคำแนะนำทั้งหมดในกลุ่มนี้แทนที่จะแยกเอามารวมกันเสียเลย
สำหรับวันนี้ก็จะขอแนะนำหัวข้อที่พึงปฏิบัติเป็นตอน ๆ ไป เพื่อความจำเป็นที่พึงเข้าถึง สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานก็ดี หรือว่ากรรมฐานทั้งหมดก็ดี มีวิธีปฏิบัติ 2 อย่าง การปฏิบัติให้ทรงฌานแบบสงัดด้านสมาธิปกติ กับการพิจารถนา วันนี้จะขอแนะนำทั้ง 2 แบบ ตามเวลาที่พึงจะให้ สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ตามความนิยมในด้านการทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ หรือว่าทรงอารมณ์ให้เป็นฌาน ท่านปฏิบัติกันแบบนี้ ผมได้เคยบอกท่านแล้วว่า พระกรรมฐานทุกอย่าง ท่านจะทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ เพราะว่าอานาปานุสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับอารมณ์จิตฟุ้งซ่าน ถ้าอารมณ์จิตฟุ้งซ่านขึ้นมาเมื่อไร ถ้าเราใช้คำภาวนาหรือว่าพิจารณา อารมณ์ไม่ยอมหยุดจากการฟุ้งซ่าน ก็ให้ทิ้งคำภาวนาหรือพิจารณาเสีย จับแต่อานาปานุสสติอย่างเดียว ประเดี๋ยวก็จะหยุด
สำหรับทางด้านพุทธานุสสติกรรมฐานที่ปฏิบัติเป็นการทรงฌาน ท่านให้จับคู่กับลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้านึกว่า
พุท เวลาหายใจออกนึกว่า
โธ ทรงอยู่แบบนี้
สำหรับธัมมานุสสติกรรมฐาน เวลาหายใจเข้านึกว่า
ธัม เวลาหายใจออกนึกว่า
โม คือว่า ธัมโม
สำหรับสังฆานุสสติกรรมฐาน เวลาหายใจเข้านึกว่า
สัง เวลาหายใจออกนึกว่า
โฆ แปลว่า สังโฆ
สำหรับสีลานุสสติกรรมฐานนั้น เป็นกรรมฐานใคร่ครวญคุมศีล
สำหรับอุปสมานุสสติกรรมฐานนั้น เป็นกรรมฐานตั้งอารมณ์ไว้เฉพาะพระนิพพาน เป็นอารมณ์คิด ก็ไม่ควรจะนั่งภาวนาว่าสีโล หรือ อุปสโม อันนี้ไม่ควร ใช้ให้ตรง
ตอนนี้ก็จะขอพูดถึงว่าผลที่จะพึงบังเกิดแก่นักเจริญพระกรรมฐาน ในด้านปฏิบัติในพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ซึ่งมีผลปรากฎเป็น 2 ประการ ความจริงเรามุ่งนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ และขอจงอย่าลืมว่าจิตของเรานี้ บางครั้งเราต้องการสงัด ต้องการทรงอารมณ์เฉย ๆ ให้มีอารมณ์ทรงตัว แต่บางคราวจิตก็ต้องการความคิด ต้องการคิด นักเจริญพระกรรมฐานที่ดี จะต้องไม่ฝืนอารมณ์จิต
เมื่อจิตต้องการสงัด ต้องการอารมณ์ทรงตัว เราก็ใช้จับลมหายใจเข้าออกคู่กับภาวนา
ถ้าจิตต้องการคิด เราก็คิดถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือความดีของพระธรรม หรือความดีของพระอริยสงฆ์
ถ้าหากว่าท่านเจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธานุสสติก็ดี สังฆานุสติก็ดีก็ดี ผลจะเกิดขึ้นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นอาการแทรกเข้ามา แต่ก็เป็นความดี อันนี้ต้องจำ นั่นก็คือเวลาพิจารณา
เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ จิตจะปรากฎเห็นเป็นภาพพระพุทธรูป หรือว่าเป็นภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงความเป็นมนุษย์ แต่ก็มีความสวยสดงดงามเกินกว่ามนุษย์ธรรมตา อาจจะเป็นภาพพระ หรือว่าจะเห็นภาพพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งปรากฏขึ้น โดยเอพาะอย่างยิ่ง การกำหนดพิจารณา พุทธานุสสติกรรมฐาน หรือว่าสังฆานุสสติกรรมฐาน อันนี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
แบบหนึ่งภาวนาโดยไม่คิดถึงรูปพระพุทธเจ้าหรือภาวนาโดยไม่คิดถึงรูปพระสงฆ์
อีกแบบหนึ่ง ถ้าจิตเรานิยม ก็ให้นึกถึงรูปพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง คือพระพุทธรูปที่เรามีความพอใจที่สุด สามารถจะติดใจง่าย ผมไม่เรียกว่าติดตาเพราะเราหลับตาแล้ว เวลาภาวนาไปนึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์นั้น สำหรับสังฆานุสสติ เราก็นึกถึงพระอริยสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือว่าพระสงฆ์องค์ใดที่เรามีความเคารพไปด้วย อย่างนี้ก็ทำได้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายนึกถึงภาพพระพุทธรูปก็ดี นึกถึงภาพพระสงฆ์ก็ดี ถ้าบังเอิญภาพนั้นกลายขึ้นมีสีแปลก หรือมีสีรูปพระอื่น แต่ว่าเป็นพระเหมือนกัน นอกจากพระที่เรากำหนดจิตไว้ในขณะที่ภาวนา ก็จงอย่าตกใจ เมื่อเป็นภาพพระเหมือนกันก็จับภาพพระนั้นไว้
ถ้าใช้จิตจับภาพรู้สึกว่าจะมีประโยชน์มาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการจับภาพเป็นกสิณ แต่ว่าจะเป็นกสิณอะไรก็ช่าง ถือว่าเป็นกรรมฐานหยาบจิตสามารถจะเป็นสมาธิได้ดี และก็ทรงได้ถึงฌาน 4 จำไว้ให้ดีนะครับ
คราวนี้สำหรับการเจริญพระกรรมฐานปรากฎภาพ จงศึกษาไว้อีกนิดหนึ่ง นั่นก็คือในเวลา 5 ปีผ่านมา ปรากฏว่ามีอุบาสิกาคนหนึ่ง ที่อยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้นเธอไปศึกษาพระกรรมฐาน ในสำนักสอนกรรมฐานแห่งใดแห่งหนึ่ง อย่าให้ผมออกนาม จะเสียชื่อเสียงเขา การสอนพระกรรมฐานของสำนักนั้น ไม่ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ คิดถึง รูป กับ นาม แต่ทว่าท่านอุบาสิกาท่านนั้น เมื่อหลับตาลงไปคิดถึงรูปกับนามคราวไร ก็ปรากฏว่ามีรูปพระพุทธรูปปรากฏขึ้นในใจเสมอ ครั้นไปบอกท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ก็บอกว่านั่นเป็นกิเลสให้ทิ้งไป จงอย่าเอาใจเข้าไปยุ่ง ให้สนใจกับคำว่ารูปกับนามเสมอ เท่านั้น
ท่านอุบาสิกาท่านนั้นก็ตั้งใจจะทิ้งภาพนั้น ไม่นึกถึง แต่ปรากฏว่ายิ่งไม่นึกถึง จิตจับรูปกับถาม แทนที่รูปจะหายไป รูปนั้นก็ชัดเจนแจ่มใสขึ้นทุกวัน เป็นอันว่าทั้งเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อหลับตาลงไปหรือจะลืมตาก็ตาม ภาพพระพุทธรูปนั้นติดใจอยู่เสมอ เห็นชัด เห็นทางใจ ไปหาอาจารย์คราวไร อาจารย์ก็บอกว่าเป็นกิเลส นี่ผมก็สงสัยเหมือนกันว่า ถ้าเราเห็นพระเป็นกิเลสละก็ เราจะหลบกิเลสไปทางไหน ตามแบบฉบับที่เราศึกษากันมา ถือว่าเห็นภาพพระเป็นภาพมงคล
เมื่อออกพรรษาแล้วปรากฏว่าท่านอุบาสิกากลับบ้าน มาพบกับอาจารย์ที่บ้าน ซึ่งศึกษากรรมฐานทางวิหยุ ท่านได้บอกว่าเห็นทางวิทยุแนะนำว่า ถ้าเห็นเป็นภาพพระพุทธรูป หรือว่าเห็นเป็นภาพพระสงฆ์ ถือว่าเป็นมงคลยิ่ง ถ้าจับภาพได้นานแสดงว่าจิตทรงฌาน หรือว่าเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้าภาพนั้น ๆ แจ่มใสจนเป็นประกายพรึก กลายจากสีเหลืองขาวน้อย ๆ จางลงไปทุกทีทุกที ในที่สุดก็กลายเป็นประกายพรึกขาวโพลน อันนี้ชื่อว่าเป็นฌาน ท่านอุบาสิกาได้ฟังอย่างนั้นก็ดีใจ ในเวลาที่ภาวนาหลับตาก็ดีลืมตาก็ดี นึกเห็นภาพพระองค์นั้น ปรากฏว่าเป็นประกายผ่องใส ทีหลังเมื่อเวลาใครเขาพูดถึงใครถึงเรื่องอะไร ถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว หรือยังไม่ตาย วัตถุอะไรก็ตาม ภาพนั้นมันก็ปรากฎขึ้นมาแทนที่รูปพระ กลายเป็นบุคคลได้ทิพพจักขุญาณไป
(มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 2.2 https://ppantip.com/topic/43262021)
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 2.1
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว โอกาสต่อนี้ไป เป็นวาระที่ท่านทั้งหลายจะได้รับการศึกษาในการเจริญพระกรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกรรมฐานหมวดนี้ แทนที่ผมจะแนะนำท่านในด้านพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีสานุสสติ อุปสมานุสสติแต่ละอย่าง ผมขอโอกาสแนะนำรวม เพราะว่าถ้าปฏิบัติแบบนั้น ไม่ทันกับอายุของเราที่จะสิ้นไป ด้วยว่าพระกรรมฐานทั้ง 5 อย่างนี้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายสามารถจะทรงได้ เพียงแค่กำลังเบา ๆ ท่านทั้งหลายจะทรงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันกับสกิทาคามี
เป็นอันว่าการศึกษาพระกรรมฐานหมวดนี้ เป็นการศึกษาที่มีกำไรอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแนะนำของกระผม ก็แนะนำในด้านสุกขวิปัสสโก คำว่าสุกขวิปัสสโกนี้ ใช้กำลังการพิจารณาแบบเบา ๆ หมายความว่ามีการรู้แจ้งเห็นจริงแบบสบาย ๆ ไม่ต้องเร่งรัดในฌานสมาบัติจนเกินไป และขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้ด้วยว่า สำหรับพระโสดาบันกับสกิทาคามี อันนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า เป็นผู้ทรงอธิศีล หมายความว่าเป็นผู้ทรงศีลยิ่ง ฉะนั้นผมจึงเอาคำแนะนำทั้งหมดในกลุ่มนี้แทนที่จะแยกเอามารวมกันเสียเลย
สำหรับวันนี้ก็จะขอแนะนำหัวข้อที่พึงปฏิบัติเป็นตอน ๆ ไป เพื่อความจำเป็นที่พึงเข้าถึง สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานก็ดี หรือว่ากรรมฐานทั้งหมดก็ดี มีวิธีปฏิบัติ 2 อย่าง การปฏิบัติให้ทรงฌานแบบสงัดด้านสมาธิปกติ กับการพิจารถนา วันนี้จะขอแนะนำทั้ง 2 แบบ ตามเวลาที่พึงจะให้ สำหรับพุทธานุสสติกรรมฐานนี้ ตามความนิยมในด้านการทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ หรือว่าทรงอารมณ์ให้เป็นฌาน ท่านปฏิบัติกันแบบนี้ ผมได้เคยบอกท่านแล้วว่า พระกรรมฐานทุกอย่าง ท่านจะทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ เพราะว่าอานาปานุสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับอารมณ์จิตฟุ้งซ่าน ถ้าอารมณ์จิตฟุ้งซ่านขึ้นมาเมื่อไร ถ้าเราใช้คำภาวนาหรือว่าพิจารณา อารมณ์ไม่ยอมหยุดจากการฟุ้งซ่าน ก็ให้ทิ้งคำภาวนาหรือพิจารณาเสีย จับแต่อานาปานุสสติอย่างเดียว ประเดี๋ยวก็จะหยุด
สำหรับทางด้านพุทธานุสสติกรรมฐานที่ปฏิบัติเป็นการทรงฌาน ท่านให้จับคู่กับลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ ทรงอยู่แบบนี้
สำหรับธัมมานุสสติกรรมฐาน เวลาหายใจเข้านึกว่า ธัม เวลาหายใจออกนึกว่า โม คือว่า ธัมโม
สำหรับสังฆานุสสติกรรมฐาน เวลาหายใจเข้านึกว่า สัง เวลาหายใจออกนึกว่า โฆ แปลว่า สังโฆ
สำหรับสีลานุสสติกรรมฐานนั้น เป็นกรรมฐานใคร่ครวญคุมศีล
สำหรับอุปสมานุสสติกรรมฐานนั้น เป็นกรรมฐานตั้งอารมณ์ไว้เฉพาะพระนิพพาน เป็นอารมณ์คิด ก็ไม่ควรจะนั่งภาวนาว่าสีโล หรือ อุปสโม อันนี้ไม่ควร ใช้ให้ตรง
ตอนนี้ก็จะขอพูดถึงว่าผลที่จะพึงบังเกิดแก่นักเจริญพระกรรมฐาน ในด้านปฏิบัติในพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ซึ่งมีผลปรากฎเป็น 2 ประการ ความจริงเรามุ่งนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ และขอจงอย่าลืมว่าจิตของเรานี้ บางครั้งเราต้องการสงัด ต้องการทรงอารมณ์เฉย ๆ ให้มีอารมณ์ทรงตัว แต่บางคราวจิตก็ต้องการความคิด ต้องการคิด นักเจริญพระกรรมฐานที่ดี จะต้องไม่ฝืนอารมณ์จิต
เมื่อจิตต้องการสงัด ต้องการอารมณ์ทรงตัว เราก็ใช้จับลมหายใจเข้าออกคู่กับภาวนา
ถ้าจิตต้องการคิด เราก็คิดถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือความดีของพระธรรม หรือความดีของพระอริยสงฆ์
ถ้าหากว่าท่านเจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธานุสสติก็ดี สังฆานุสติก็ดีก็ดี ผลจะเกิดขึ้นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นอาการแทรกเข้ามา แต่ก็เป็นความดี อันนี้ต้องจำ นั่นก็คือเวลาพิจารณา เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ จิตจะปรากฎเห็นเป็นภาพพระพุทธรูป หรือว่าเป็นภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงความเป็นมนุษย์ แต่ก็มีความสวยสดงดงามเกินกว่ามนุษย์ธรรมตา อาจจะเป็นภาพพระ หรือว่าจะเห็นภาพพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งปรากฏขึ้น โดยเอพาะอย่างยิ่ง การกำหนดพิจารณา พุทธานุสสติกรรมฐาน หรือว่าสังฆานุสสติกรรมฐาน อันนี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
แบบหนึ่งภาวนาโดยไม่คิดถึงรูปพระพุทธเจ้าหรือภาวนาโดยไม่คิดถึงรูปพระสงฆ์
อีกแบบหนึ่ง ถ้าจิตเรานิยม ก็ให้นึกถึงรูปพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง คือพระพุทธรูปที่เรามีความพอใจที่สุด สามารถจะติดใจง่าย ผมไม่เรียกว่าติดตาเพราะเราหลับตาแล้ว เวลาภาวนาไปนึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์นั้น สำหรับสังฆานุสสติ เราก็นึกถึงพระอริยสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือว่าพระสงฆ์องค์ใดที่เรามีความเคารพไปด้วย อย่างนี้ก็ทำได้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายนึกถึงภาพพระพุทธรูปก็ดี นึกถึงภาพพระสงฆ์ก็ดี ถ้าบังเอิญภาพนั้นกลายขึ้นมีสีแปลก หรือมีสีรูปพระอื่น แต่ว่าเป็นพระเหมือนกัน นอกจากพระที่เรากำหนดจิตไว้ในขณะที่ภาวนา ก็จงอย่าตกใจ เมื่อเป็นภาพพระเหมือนกันก็จับภาพพระนั้นไว้
ถ้าใช้จิตจับภาพรู้สึกว่าจะมีประโยชน์มาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการจับภาพเป็นกสิณ แต่ว่าจะเป็นกสิณอะไรก็ช่าง ถือว่าเป็นกรรมฐานหยาบจิตสามารถจะเป็นสมาธิได้ดี และก็ทรงได้ถึงฌาน 4 จำไว้ให้ดีนะครับ
คราวนี้สำหรับการเจริญพระกรรมฐานปรากฎภาพ จงศึกษาไว้อีกนิดหนึ่ง นั่นก็คือในเวลา 5 ปีผ่านมา ปรากฏว่ามีอุบาสิกาคนหนึ่ง ที่อยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ในขณะนั้นเธอไปศึกษาพระกรรมฐาน ในสำนักสอนกรรมฐานแห่งใดแห่งหนึ่ง อย่าให้ผมออกนาม จะเสียชื่อเสียงเขา การสอนพระกรรมฐานของสำนักนั้น ไม่ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ คิดถึง รูป กับ นาม แต่ทว่าท่านอุบาสิกาท่านนั้น เมื่อหลับตาลงไปคิดถึงรูปกับนามคราวไร ก็ปรากฏว่ามีรูปพระพุทธรูปปรากฏขึ้นในใจเสมอ ครั้นไปบอกท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ก็บอกว่านั่นเป็นกิเลสให้ทิ้งไป จงอย่าเอาใจเข้าไปยุ่ง ให้สนใจกับคำว่ารูปกับนามเสมอ เท่านั้น
ท่านอุบาสิกาท่านนั้นก็ตั้งใจจะทิ้งภาพนั้น ไม่นึกถึง แต่ปรากฏว่ายิ่งไม่นึกถึง จิตจับรูปกับถาม แทนที่รูปจะหายไป รูปนั้นก็ชัดเจนแจ่มใสขึ้นทุกวัน เป็นอันว่าทั้งเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อหลับตาลงไปหรือจะลืมตาก็ตาม ภาพพระพุทธรูปนั้นติดใจอยู่เสมอ เห็นชัด เห็นทางใจ ไปหาอาจารย์คราวไร อาจารย์ก็บอกว่าเป็นกิเลส นี่ผมก็สงสัยเหมือนกันว่า ถ้าเราเห็นพระเป็นกิเลสละก็ เราจะหลบกิเลสไปทางไหน ตามแบบฉบับที่เราศึกษากันมา ถือว่าเห็นภาพพระเป็นภาพมงคล
เมื่อออกพรรษาแล้วปรากฏว่าท่านอุบาสิกากลับบ้าน มาพบกับอาจารย์ที่บ้าน ซึ่งศึกษากรรมฐานทางวิหยุ ท่านได้บอกว่าเห็นทางวิทยุแนะนำว่า ถ้าเห็นเป็นภาพพระพุทธรูป หรือว่าเห็นเป็นภาพพระสงฆ์ ถือว่าเป็นมงคลยิ่ง ถ้าจับภาพได้นานแสดงว่าจิตทรงฌาน หรือว่าเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้าภาพนั้น ๆ แจ่มใสจนเป็นประกายพรึก กลายจากสีเหลืองขาวน้อย ๆ จางลงไปทุกทีทุกที ในที่สุดก็กลายเป็นประกายพรึกขาวโพลน อันนี้ชื่อว่าเป็นฌาน ท่านอุบาสิกาได้ฟังอย่างนั้นก็ดีใจ ในเวลาที่ภาวนาหลับตาก็ดีลืมตาก็ดี นึกเห็นภาพพระองค์นั้น ปรากฏว่าเป็นประกายผ่องใส ทีหลังเมื่อเวลาใครเขาพูดถึงใครถึงเรื่องอะไร ถึงบุคคลที่ตายไปแล้ว หรือยังไม่ตาย วัตถุอะไรก็ตาม ภาพนั้นมันก็ปรากฎขึ้นมาแทนที่รูปพระ กลายเป็นบุคคลได้ทิพพจักขุญาณไป
(มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 2.2 https://ppantip.com/topic/43262021)