พุทธานุสสติกรรมฐาน
แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้
ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณา
ได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่ท่านบอกว่า
ก่อนภาวนาควร พิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา
ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา
อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัย ชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้
โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี
ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้
กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมจะกระทบสามฐานนี้
ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา
พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนา เมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อหายใจออก
แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใด องค์ใดก็ได้ตามใจสมัคร
ท่านสอนดังนี้ ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณ
คิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔ อย่างร่วมกัน
คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็น อานาปานานุสสติกรรมฐาน
ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ
ท่านมี ความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง
กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณ มีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน
ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัย สุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ
ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน
จาก
http://www.luangporruesi.com/480.html
พุทธานุสสติกรรมฐาน แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
แบบหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้
ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป ท่านบอกว่าพิจารณา
ได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแต่ท่านบอกว่า
ก่อนภาวนาควร พิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนา
ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา
อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัย ชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้
โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี
ต่อเมื่อจิตจะส่าย พิจารณาไม่ได้ดี ท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้
กำหนดลมหายใจไว้สามฐาน คือ ที่จมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ ลมจะกระทบสามฐานนี้
ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา
พร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่า พุทธ ภาวนา เมื่อสูดลมหายใจเข้า โธ ภาวนาเมื่อหายใจออก
แล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก จะเป็นพระพุทธรูปวัดใด องค์ใดก็ได้ตามใจสมัคร
ท่านสอนดังนี้ ผู้เขียนเรียนกับท่าน ไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณ
คิดว่าเป็นสมถะ ตอนที่ภาวนา คิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔ อย่างร่วมกัน
คือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นวิปัสสนาญาณ ตอนกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็น อานาปานานุสสติกรรมฐาน
ตอนภาวนา เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณ
ท่านมี ความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔ อย่าง
กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌาน อานาปานและกสิณ มีกำลังถึงฌาน ๔ รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน
ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูล หากพบท่านที่มีอุปนิสัย สุกขวิปัสสโกเข้า ท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณ
ท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน
จาก http://www.luangporruesi.com/480.html