ลมหายใจ เป็นมงกุฏกรรมฐาน
"การทำจิตของเราให้มีรากฐาน
คือกรรมฐาน เอาลมหายใจเข้าออกเป็นรากฐาน เรียกว่า...อานาปานสติ
ทีนี้ จะยกเอาลมเป็นกรรมฐานเป็นอารมณ์
การทำกรรมฐาน มีหลายอย่างมากมาย
มันก็ยากลำบากเอาลมนี้เป็นกรรมฐานดีกว่า เพราะว่าลมหายใจนี้เป็นมงกุฏกรรมฐานมา
แต่ครั้งดึกดำบรรพ์มาแล้ว
พอเรามีโอกาสดีๆ เราเข้าไปนั่งสมาธิเอามือขวาทับมือซ้าย เอาขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็นึกในจิตของเราว่า บัดนี้...
เราจะวางภาระทุกสิ่งทุกอย่างให้หมดไป ไม่เอาอะไรมาเป็นเครื่องกังวล ปล่อย...ปล่อย...ให้หมด แม้จะมีธุระอะไรอยู่มากมายก็ปล่อย ปล่อยทิ้งในเวลานั้น
สอนจิตของเราว่า...
จะกำหนดตามลมอันนี้ ให้มีความรู้สึกอยู่แต่อารมณ์อันเดียว แล้วก็หายใจเข้า-หายใจออก
การกำหนดลมหายใจ นั้น...
อย่า ให้มันยาว
อย่า ให้มันสั้น
อย่า ให้มันค่อย
อย่า ให้มันแรง ให้มันพอดีๆ
สติ คือความระลึกได้
สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวอันเกิดจากจิตนั้น
ให้รู้ว่าลมออก ให้รู้ว่าลมเข้า สบาย
ไม่ต้องนึกอะไร ไม่ต้องคิดไปโน่น ไม่ต้องคิดไป
นี่ ในเวลาปัจจุบันนี้ เรามีหน้าที่ที่จะกำหนดลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกอย่างเดียว
ไม่มี...หน้าที่ที่จะไปคิดอย่างอื่น
ให้มีสติความระลึกได้
ตามเข้าไป และสัมปชัญญะความรู้ตัว ว่า...
บัดนี้ เราหายใจอยู่...
เมื่อลมเข้าไป...
ต้นลม อยู่ปลายจมูก
กลางลม อยู่หทัย
ปลายลม อยู่สะดือ
เมื่อหายใจออก...
ต้นลมอยู่สะดือ
กลางลมอยู่หทัย
ปลายลมอยู่จมูก
ให้รู้สึกอย่างนี้...
หายใจเข้า ๑.จมูก ๒.หทัย ๓.สะดือ
หายใจออก ๑.สะดือ ๒.หทัย ๓.จมูก
กำหนดอยู่สามอย่างนี้...
หายความกังวลหมด ไม่ต้องคิดเรื่องอื่น
กำหนดเข้าไปให้รู้ต้นลม กลางลม ปลายลม สม่ำเสมอ แล้วต่อนั้นไป...
จิต ของเราจะมีความรู้สึก ต้นลม กลางลม
ปลายลม ตลอดเวลา
เมื่อทำไปเช่นนี้...
จิต อันควรแก่การงาน ก็จะเกิดขึ้น
กาย ก็ควรแก่การงาน การขบเมื่อยทั้งหลาย
จะค่อยๆหายไปเรื่อยๆ
กาย ก็จะเบาขึ้น
จิต ก็จะรวมเข้า
ลมหายใจ ก็จะละเอียดเข้า น้อยลงๆ
เราทำแบบนี้เรื่อยๆ...
จนกว่า...จิต มันจะสงบระงับลงเป็นหนึ่ง."
หลวงพ่อชา สุภัทโท
ที่มา ธรรมปฏิสันถาร
http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/A_Gift_of_Dhamma.php
หลวงพ่อชาสอนมงกุกรรมฐาน
"การทำจิตของเราให้มีรากฐาน
คือกรรมฐาน เอาลมหายใจเข้าออกเป็นรากฐาน เรียกว่า...อานาปานสติ
ทีนี้ จะยกเอาลมเป็นกรรมฐานเป็นอารมณ์
การทำกรรมฐาน มีหลายอย่างมากมาย
มันก็ยากลำบากเอาลมนี้เป็นกรรมฐานดีกว่า เพราะว่าลมหายใจนี้เป็นมงกุฏกรรมฐานมา
แต่ครั้งดึกดำบรรพ์มาแล้ว
พอเรามีโอกาสดีๆ เราเข้าไปนั่งสมาธิเอามือขวาทับมือซ้าย เอาขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็นึกในจิตของเราว่า บัดนี้...
เราจะวางภาระทุกสิ่งทุกอย่างให้หมดไป ไม่เอาอะไรมาเป็นเครื่องกังวล ปล่อย...ปล่อย...ให้หมด แม้จะมีธุระอะไรอยู่มากมายก็ปล่อย ปล่อยทิ้งในเวลานั้น
สอนจิตของเราว่า...
จะกำหนดตามลมอันนี้ ให้มีความรู้สึกอยู่แต่อารมณ์อันเดียว แล้วก็หายใจเข้า-หายใจออก
การกำหนดลมหายใจ นั้น...
อย่า ให้มันยาว
อย่า ให้มันสั้น
อย่า ให้มันค่อย
อย่า ให้มันแรง ให้มันพอดีๆ
สติ คือความระลึกได้
สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวอันเกิดจากจิตนั้น
ให้รู้ว่าลมออก ให้รู้ว่าลมเข้า สบาย
ไม่ต้องนึกอะไร ไม่ต้องคิดไปโน่น ไม่ต้องคิดไป
นี่ ในเวลาปัจจุบันนี้ เรามีหน้าที่ที่จะกำหนดลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกอย่างเดียว
ไม่มี...หน้าที่ที่จะไปคิดอย่างอื่น
ให้มีสติความระลึกได้
ตามเข้าไป และสัมปชัญญะความรู้ตัว ว่า...
บัดนี้ เราหายใจอยู่...
เมื่อลมเข้าไป...
ต้นลม อยู่ปลายจมูก
กลางลม อยู่หทัย
ปลายลม อยู่สะดือ
เมื่อหายใจออก...
ต้นลมอยู่สะดือ
กลางลมอยู่หทัย
ปลายลมอยู่จมูก
ให้รู้สึกอย่างนี้...
หายใจเข้า ๑.จมูก ๒.หทัย ๓.สะดือ
หายใจออก ๑.สะดือ ๒.หทัย ๓.จมูก
กำหนดอยู่สามอย่างนี้...
หายความกังวลหมด ไม่ต้องคิดเรื่องอื่น
กำหนดเข้าไปให้รู้ต้นลม กลางลม ปลายลม สม่ำเสมอ แล้วต่อนั้นไป...
จิต ของเราจะมีความรู้สึก ต้นลม กลางลม
ปลายลม ตลอดเวลา
เมื่อทำไปเช่นนี้...
จิต อันควรแก่การงาน ก็จะเกิดขึ้น
กาย ก็ควรแก่การงาน การขบเมื่อยทั้งหลาย
จะค่อยๆหายไปเรื่อยๆ
กาย ก็จะเบาขึ้น
จิต ก็จะรวมเข้า
ลมหายใจ ก็จะละเอียดเข้า น้อยลงๆ
เราทำแบบนี้เรื่อยๆ...
จนกว่า...จิต มันจะสงบระงับลงเป็นหนึ่ง."
หลวงพ่อชา สุภัทโท
ที่มา ธรรมปฏิสันถาร
http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/chahthai/A_Gift_of_Dhamma.php