หัวใจของการฝึกอานาปานสติ หรือการรู้ลมหายใจ ควรรู้ลมกระทบกายจุดเดียว คือ ที่ปลายจมูก อย่ากำหนดรู้หลายที่พร้อมกันจะทำให้จิตไม่จดจ่อรวมเป็นสมาธิ
รู้ลมหายใจ เข้า-ออก สั้นยาว คือ รู้กาลเวลา ว่าลมหายใจผ่านปลายจมูกสั้นหรือยาว ไม่ใช่รู้ตลอดสาย คือ รู้ตั้งแต่ปลายจมูกลงไปถึงหน้าอกหรือท้อง เป็นต้น ให้กำหนดรู้ที่ปลายจมูกเท่านั้น มีสติอยู่กับปลายจมูกมากๆ รู้ว่าลมเข้า ลมออก เข้าสั้น เข้ายาว ทำไปเรื่อยๆ เผลอไปคิดเรื่องอื่น ก็กลับมารู้ลมหายใจที่ปลายจมูกใหม่
เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะเกิดอาการปิติ เช่น น้ำตาไหล ขนลุกขนผอง ตัวเบาตัวขยาย ซาบซ่านทั้งตัว เป็นต้น แสดงว่าจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว จากนั้นจะเกิดสุขขึ้นที่ใจ สุขแบบไม่มีสุขใดในโลกมาเทียบได้ ลมหายใจหยาบจะค่อยละเอียด แผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนดับหายไป ตอนนั้น จะไม่รู้สึกถึงลมหายใจ ไม่รู้สึกถึงกาย เหมือนจิตของเราผสมผสาน กลมกลืนไปกับสภาวะธรรม คือ ความว่าง โล่ง สงบ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์มีแต่ความว่าง ที่จิตตั้งมั่น เป็นอุเบกขา อยู่ที่ฐานของกาย ให้เอาสติวางไว้ที่ฐานกายนั้น วางอยู่นิ่งๆ เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ เมื่อจิตอิ่มจะถอนออกมาจากสมาธิเอง จึงจะเริ่มรู้สึกทางกาย โดยเริ่มที่ลมหายใจก่อน
จิตจะยังคงอารมณ์ของอุเบกขาไว้ ให้เอาอารมณ์นั้นมาพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จิตจะเกิดปัญญา สว่างไสว ปัญญาจากภายในที่ไม่ใช่เกิดจากการจำเป็นสัญญา
หัวใจของการฝึกอานาปานสติ หรือการรู้ลมหายใจ
รู้ลมหายใจ เข้า-ออก สั้นยาว คือ รู้กาลเวลา ว่าลมหายใจผ่านปลายจมูกสั้นหรือยาว ไม่ใช่รู้ตลอดสาย คือ รู้ตั้งแต่ปลายจมูกลงไปถึงหน้าอกหรือท้อง เป็นต้น ให้กำหนดรู้ที่ปลายจมูกเท่านั้น มีสติอยู่กับปลายจมูกมากๆ รู้ว่าลมเข้า ลมออก เข้าสั้น เข้ายาว ทำไปเรื่อยๆ เผลอไปคิดเรื่องอื่น ก็กลับมารู้ลมหายใจที่ปลายจมูกใหม่
เมื่อจิตเริ่มสงบเป็นสมาธิ จะเกิดอาการปิติ เช่น น้ำตาไหล ขนลุกขนผอง ตัวเบาตัวขยาย ซาบซ่านทั้งตัว เป็นต้น แสดงว่าจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว จากนั้นจะเกิดสุขขึ้นที่ใจ สุขแบบไม่มีสุขใดในโลกมาเทียบได้ ลมหายใจหยาบจะค่อยละเอียด แผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนดับหายไป ตอนนั้น จะไม่รู้สึกถึงลมหายใจ ไม่รู้สึกถึงกาย เหมือนจิตของเราผสมผสาน กลมกลืนไปกับสภาวะธรรม คือ ความว่าง โล่ง สงบ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์มีแต่ความว่าง ที่จิตตั้งมั่น เป็นอุเบกขา อยู่ที่ฐานของกาย ให้เอาสติวางไว้ที่ฐานกายนั้น วางอยู่นิ่งๆ เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ เมื่อจิตอิ่มจะถอนออกมาจากสมาธิเอง จึงจะเริ่มรู้สึกทางกาย โดยเริ่มที่ลมหายใจก่อน
จิตจะยังคงอารมณ์ของอุเบกขาไว้ ให้เอาอารมณ์นั้นมาพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จิตจะเกิดปัญญา สว่างไสว ปัญญาจากภายในที่ไม่ใช่เกิดจากการจำเป็นสัญญา