การสร้างมิเตอร์วัดคุณภาพของการภาวนา
วันนี้มาชวนคิดชวนคุยนะครับ
มิเตอร์คืออะไร มิเตอร์คือเครื่องวัดสิ่งต่างๆ เช่นวัดแรงดันไฟฟ้า วัดขนาดกระแสไฟว่า เมื่อเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ กินกระแสเท่าไหร่ มิเตอร์มีหลายประเภท เช่นมิเตอร์วัดความเร็วของรถ ที่เรียกว่า ไมล์รถ เป็นต้น มิเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์บ่งบอกถึง ขนาด หรือ ปริมาณที่เกิดขึ้นนั้น มีมากหรือน้อย
ในการภาวนาในแนวทางการทำวิปัสสนา ก็เหมือนกัน ทุกครั้งที่ภาวนา เรารู้ได้อย่างไรว่า การภาวนาของเรามีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำไห้เกิด วิปัสสนาญาณ หรือก็ใกล้เคียงความจริงหรือไม่
วันนี้ จะมาเสนอ มิเตอร์วัด คุณภาพของการภาวนา เพื่อ จะได้ใช้วัดทดสอบกันว่า จะภาวนาอย่างไรให้มีคุณภาพ
ก่อนอื่น ขอทำความตกลงเรื่องภาวนา เพื่อให้เกิดวิปัสสนาก่อน ซึ่งหมายถึงการภาวนา ตามแนว สติปัฏฐานสี่ และที่จะยกขึ้นมานี้ ก็เป็นการภาวนาด้วย การทำอานาปานสติ เพราะง่ายแก่การยกตัวอย่าง และเป็นที่นิยมอย่างมาก
ทบทวนสักนิด การภาวนา ประกอบไปด้วย ลำดับแรก เราจะสร้าง สติ จาก ลมกระทบปลายจมูก เข้าและออก ตามในพระสูตรที่ว่า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า พร้อมกับ สร้างสัมปชัญญะควบคู่กันไป ตามในพระสูตรที่ว่า หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
จากการที่เราทำ สติ อย่างต่อเนื่อง คือ มีสติ เมื่อลมหายใจเข้า และออก และสร้างสัมปชัญญะนั้น จากที่ผมได้ทดลองทำจะเห็นว่า ทำแต่สติอย่างเดียว จะง่ายกว่า แต่เมื่อ สร้างสัมปชัญญะ รู้ลมสั้น ลมยาว ก็จะเพิ่มความยาก แต่ต้องฝึกเมื่อหายใจเข้าแล้ว ออกสุดรอบ เราก็ สร้างความรู้สึกตัว ว่าเรากำลังนั่งหายใจอยู่ก็ได้ ทำทุกรอบที่ (หนึ่งรอบคือ หายใจเข้า และออก)
สติจะเป็นตัวดึง สัมปชัญญะ ดังนั้น ถ้าตราบไดที่ยังมีสติที่ลมหายใจ เข้าออก สัมปชัญญะก็จะมีตาม ซึ่งต้องฝึก ให้มีตามถ้าไม่ฝึก สร้างสัมปชัญญะ มีแต่สติก็ไม่มีประโยชน์
เมื่อมีสติ กับลมอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นจิตมีสมาธิ (เรียกว่าจิตตั้งมั่น) ส่วนสัมปชัญญะ ถ้ามีอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็น ญาณ
เมื่อ สติ และ สัมปชัญญะ มีมากพอ ก็จะเข้าสู่หมวด การน้อมจิต
การสร้างมิเตอร์วัด ว่า เรามี สติและสัมปชัญญะมากพอหรือยัง เราจะวัดอย่างไร ถ้าท่านภาวนาด้วย อานาปานสติ ท่านเคยสังเกตไหม ว่า เมื่อเราหายใจเข้าออกกี่รอบที่ต่อเนื่อง แล้ว ไม่เกิดการใจลอย ลืมลมหายใจ ใจเรามันแวบหนีไป เจ็ดครั้งทำได้หรือไม่ ถ้าเรามีสติไม่ต่อเนื่อง สัมปชัญญะ ก็ไม่ต่อเนื่อง ภาวนากี่ปีก็ไม่มีทางเกิดญาณ
ผมอยากให้ท่านลองทดสอบด้วย การทำกสิณสี ก่อนที่ท่านจะทำกสิณสี ต้องทำอานาปานสติตามแนว สติปัฏฐาน ให้เป็นก่อน คือ ต้อง สร้างสติ ควบคู่กับสัมปชัญญะให้เป็นก่อน
วิธีทำมิเตอร์วัด ว่า เรามีสติ และสัมปชัญญะ มีคุณภาพแค่ไหน ก่อนอื่น ท่านสามารถฝึกกสิณ ตามเวบนี้ได้ ท่านผู้จัดทำ อธิบายได้ดีมาก (
https://www.youtube.com/watch?v=TE0otK1u6MQ&t=855s)
วิธีทำ สมมุติ ว่าเราจะเพ่งกสิณสีแดง เราก็ตัดกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ดก็ได้ เป็นวงกลม เท่ากับหนึ่งคืบกับอีกหนึ่งฝ่ามือของเรา แล้วหากระดาษสีแดงมาแปะ ทำฉากหลัง ใช้กระดาษหรือผ้าขาวก็ได้ ถ้าผนังบ้าน เรียบ ก็เอาเป็นฉากก็ได้ ให้ท่านดูใน วิดีโอ ที่ผมลงลิงค์ มานั้นครับ
เราก็ทดสอบเพ่งกสิณ ท่านไม่ต้องกลัวว่า จะเกิดนิมิต เป็นบ้า มันไม่ง่ายหรอกครับ พอเราเพ่ง ในวิดีโอ เขาให้ลืมตา แล้วหลับตา จะเห็นภาพวงกลม สีเขียว เหมือนพายน้ำ วงกลมนั้นจะคงอยู่ตราบที่จิตเราเป็นสมาธิ การที่จิตมองเห็น ภาพวงกลมในใจก็เพราะ เกิดจาก การที่จิตจำภาพนั้นได้ เรียกว่า จิตมีสติกับภาพนั้น และเมื่อ วงกลมใจจิตหายใจ ก็ลืมตาเพ่งวงกลมใหม่ แล้วหลับตาอีก ก็จะเห็นภาพนั้นในใจเรา
เมื่อพอเพ่งกสิณเป็นในเบื้องต้น ต่อมา เราเอาผสมกัน กับการทำอานาปานสติ คราวนี้ขณะหลับตา เราก็เอาสัมปชัญญะจับที่ลมหายใจ ตราบไดที่วงกลมยังอยู่ จิตเรามีความรู้สึกมีสติกับลมหายใจ และมีสัมปชัญญะ รู้สึกตัวว่า เราหายใจอยู่ และเห็นกสิณไปพร้อมกัน
ท่านคงไม่เชื่อ ว่า ทำแบบนี้ได้หรือ ผมก็ฟังจากคนอื่นมา และได้ทดสอบกับตัวเอง เห็นว่า ทำให้เรารู้ว่า สติ คืออะไร อะไรที่เรียกว่าสมาธิ ถ้าจิตไม่มีสติ แล้วสัมปชัญญะก็จะเกิดได้อย่างไร
การทำกสิณจะให้เกิดสมาธิได้เร็วกว่า การทำอานาปานสติ แต่การทำอานาปานสติจะได้สัมปชัญญะด้วย ซึ่ง การน้อมจิต ต้องการ ทั้ง สติและสัมปชัญญะ
ไม่ลองไม่รู้ เมื่อเรารู้ระดับจิต ว่าเราจะทำอานาปานสติอย่างไรจึงจะเป็นสมาธิ การเพ่งกสิณจึงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้ง เราไม่ได้ทำฌาน แต่ถ้าได้ก็ดี
เมื่อ เรามีสมาธิมากพอ มีสัมปชัญญะมากพอ ก็เข้าสู่การน้อมจิต ผมเคยตั้งกระทู้เรื่องการน้อมจิต ท่านสนใจย้อนไปอ่านได้ การน้อมจิตก็คือการ การพิจารณาขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ พิจารณาว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ตน ไม่มีตนในขันธ์ห้า และไม่มีขันธ์ห้า ในตน ขณะพิจารณาด้วยจิต แต่ขณะนั้น ตัวสัมปชัญญะมีมากพอ ทำซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า การน้อมจิต
ผมเคยฟังไฟล์เสียงพระอาจารย์โชดก ท่านเล่าว่า มีพระท่านหนึ่ง มาขอแก้กรรมฐาน เพราะเวลาท่านภาวนา ยุบหนอพองหนอ ท่านเห็นพระพุทธเจ้า ประมาณนี้ พระอาจารย์โชดกท่านก็แนะนำว่า ให้กล่าวว่าเห็นหนอ ให้กลับมาที่สติ สัมปชัญญะ เพราะนั้น เป็นเพียงจิตสังขาร เพราะนั้นเป็นวิปัสสนูปกิเลส ให้ปัดทิ้งไป ท่านสอนได้ดีผมชื่นชอบ เพราะคำว่าหนอ ก็คือสัมปชัญญะ คือกระตุ้นรู้สึกตัวครับ
การภาวนามาถูกทางจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ต้องดีใจ และปัดทิ้งไป เพื่อจะได้ไปต่อ
สรูป ถ้าเราอยากรู้ว่า การทำอานาปาสติ ที่เราทำอยู่นั้นทำได้ มีสมาธิแค่ไหน ลองทำควบคู่กันการเพ่งกสิณ ไปสักพัก แล้วค่อยเหลือแต่การทำอานาปานสติ การเพ่งกสิณยังเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะพยุงให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น
สติ มาจาก จิตระลึกได้ ส่วนสัมปชัญญะ มาจากตัวผู้รู้ที่ไม่ใช่จิต สัมปชัญญะมาจาก อายตนะนิพพาน สัมปชัญญะ รู้แล้วทิ้ง ๆ ไม่มีการคิดไดๆ เพราะตัวผู้รู้ เป็น อสังขตะธาตุ ขณะที่เพ่งกสิณจะเห็นชัด ว่า เหมือนมีผู้รู้สองตัว ประกบกับ อย่าเชื่อจนกว่าจะได้ทดลองครับ
สุตมยะปัญญา และ จินตมยะปัญญา คือการรู้ระดับจิต
ภาวนามยะปัญญา คือการรู้ระดับญาณ
การภาวนา ถ้าไม่มีสัมปชัญญะ มีแต่สติ ไม่มีทาง บรรลุธรรม ต้องมี ทั้ง สติ และสัมปชัญญะ
การสร้างมิเตอร์วัดคุณภาพของการภาวนา
วันนี้มาชวนคิดชวนคุยนะครับ
มิเตอร์คืออะไร มิเตอร์คือเครื่องวัดสิ่งต่างๆ เช่นวัดแรงดันไฟฟ้า วัดขนาดกระแสไฟว่า เมื่อเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว อุปกรณ์ชนิดนี้ กินกระแสเท่าไหร่ มิเตอร์มีหลายประเภท เช่นมิเตอร์วัดความเร็วของรถ ที่เรียกว่า ไมล์รถ เป็นต้น มิเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์บ่งบอกถึง ขนาด หรือ ปริมาณที่เกิดขึ้นนั้น มีมากหรือน้อย
ในการภาวนาในแนวทางการทำวิปัสสนา ก็เหมือนกัน ทุกครั้งที่ภาวนา เรารู้ได้อย่างไรว่า การภาวนาของเรามีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำไห้เกิด วิปัสสนาญาณ หรือก็ใกล้เคียงความจริงหรือไม่
วันนี้ จะมาเสนอ มิเตอร์วัด คุณภาพของการภาวนา เพื่อ จะได้ใช้วัดทดสอบกันว่า จะภาวนาอย่างไรให้มีคุณภาพ
ก่อนอื่น ขอทำความตกลงเรื่องภาวนา เพื่อให้เกิดวิปัสสนาก่อน ซึ่งหมายถึงการภาวนา ตามแนว สติปัฏฐานสี่ และที่จะยกขึ้นมานี้ ก็เป็นการภาวนาด้วย การทำอานาปานสติ เพราะง่ายแก่การยกตัวอย่าง และเป็นที่นิยมอย่างมาก
ทบทวนสักนิด การภาวนา ประกอบไปด้วย ลำดับแรก เราจะสร้าง สติ จาก ลมกระทบปลายจมูก เข้าและออก ตามในพระสูตรที่ว่า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า พร้อมกับ สร้างสัมปชัญญะควบคู่กันไป ตามในพระสูตรที่ว่า หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
จากการที่เราทำ สติ อย่างต่อเนื่อง คือ มีสติ เมื่อลมหายใจเข้า และออก และสร้างสัมปชัญญะนั้น จากที่ผมได้ทดลองทำจะเห็นว่า ทำแต่สติอย่างเดียว จะง่ายกว่า แต่เมื่อ สร้างสัมปชัญญะ รู้ลมสั้น ลมยาว ก็จะเพิ่มความยาก แต่ต้องฝึกเมื่อหายใจเข้าแล้ว ออกสุดรอบ เราก็ สร้างความรู้สึกตัว ว่าเรากำลังนั่งหายใจอยู่ก็ได้ ทำทุกรอบที่ (หนึ่งรอบคือ หายใจเข้า และออก)
สติจะเป็นตัวดึง สัมปชัญญะ ดังนั้น ถ้าตราบไดที่ยังมีสติที่ลมหายใจ เข้าออก สัมปชัญญะก็จะมีตาม ซึ่งต้องฝึก ให้มีตามถ้าไม่ฝึก สร้างสัมปชัญญะ มีแต่สติก็ไม่มีประโยชน์
เมื่อมีสติ กับลมอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นจิตมีสมาธิ (เรียกว่าจิตตั้งมั่น) ส่วนสัมปชัญญะ ถ้ามีอย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็น ญาณ
เมื่อ สติ และ สัมปชัญญะ มีมากพอ ก็จะเข้าสู่หมวด การน้อมจิต
การสร้างมิเตอร์วัด ว่า เรามี สติและสัมปชัญญะมากพอหรือยัง เราจะวัดอย่างไร ถ้าท่านภาวนาด้วย อานาปานสติ ท่านเคยสังเกตไหม ว่า เมื่อเราหายใจเข้าออกกี่รอบที่ต่อเนื่อง แล้ว ไม่เกิดการใจลอย ลืมลมหายใจ ใจเรามันแวบหนีไป เจ็ดครั้งทำได้หรือไม่ ถ้าเรามีสติไม่ต่อเนื่อง สัมปชัญญะ ก็ไม่ต่อเนื่อง ภาวนากี่ปีก็ไม่มีทางเกิดญาณ
ผมอยากให้ท่านลองทดสอบด้วย การทำกสิณสี ก่อนที่ท่านจะทำกสิณสี ต้องทำอานาปานสติตามแนว สติปัฏฐาน ให้เป็นก่อน คือ ต้อง สร้างสติ ควบคู่กับสัมปชัญญะให้เป็นก่อน
วิธีทำมิเตอร์วัด ว่า เรามีสติ และสัมปชัญญะ มีคุณภาพแค่ไหน ก่อนอื่น ท่านสามารถฝึกกสิณ ตามเวบนี้ได้ ท่านผู้จัดทำ อธิบายได้ดีมาก (https://www.youtube.com/watch?v=TE0otK1u6MQ&t=855s)
วิธีทำ สมมุติ ว่าเราจะเพ่งกสิณสีแดง เราก็ตัดกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ดก็ได้ เป็นวงกลม เท่ากับหนึ่งคืบกับอีกหนึ่งฝ่ามือของเรา แล้วหากระดาษสีแดงมาแปะ ทำฉากหลัง ใช้กระดาษหรือผ้าขาวก็ได้ ถ้าผนังบ้าน เรียบ ก็เอาเป็นฉากก็ได้ ให้ท่านดูใน วิดีโอ ที่ผมลงลิงค์ มานั้นครับ
เราก็ทดสอบเพ่งกสิณ ท่านไม่ต้องกลัวว่า จะเกิดนิมิต เป็นบ้า มันไม่ง่ายหรอกครับ พอเราเพ่ง ในวิดีโอ เขาให้ลืมตา แล้วหลับตา จะเห็นภาพวงกลม สีเขียว เหมือนพายน้ำ วงกลมนั้นจะคงอยู่ตราบที่จิตเราเป็นสมาธิ การที่จิตมองเห็น ภาพวงกลมในใจก็เพราะ เกิดจาก การที่จิตจำภาพนั้นได้ เรียกว่า จิตมีสติกับภาพนั้น และเมื่อ วงกลมใจจิตหายใจ ก็ลืมตาเพ่งวงกลมใหม่ แล้วหลับตาอีก ก็จะเห็นภาพนั้นในใจเรา
เมื่อพอเพ่งกสิณเป็นในเบื้องต้น ต่อมา เราเอาผสมกัน กับการทำอานาปานสติ คราวนี้ขณะหลับตา เราก็เอาสัมปชัญญะจับที่ลมหายใจ ตราบไดที่วงกลมยังอยู่ จิตเรามีความรู้สึกมีสติกับลมหายใจ และมีสัมปชัญญะ รู้สึกตัวว่า เราหายใจอยู่ และเห็นกสิณไปพร้อมกัน
ท่านคงไม่เชื่อ ว่า ทำแบบนี้ได้หรือ ผมก็ฟังจากคนอื่นมา และได้ทดสอบกับตัวเอง เห็นว่า ทำให้เรารู้ว่า สติ คืออะไร อะไรที่เรียกว่าสมาธิ ถ้าจิตไม่มีสติ แล้วสัมปชัญญะก็จะเกิดได้อย่างไร
การทำกสิณจะให้เกิดสมาธิได้เร็วกว่า การทำอานาปานสติ แต่การทำอานาปานสติจะได้สัมปชัญญะด้วย ซึ่ง การน้อมจิต ต้องการ ทั้ง สติและสัมปชัญญะ
ไม่ลองไม่รู้ เมื่อเรารู้ระดับจิต ว่าเราจะทำอานาปานสติอย่างไรจึงจะเป็นสมาธิ การเพ่งกสิณจึงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้ง เราไม่ได้ทำฌาน แต่ถ้าได้ก็ดี
เมื่อ เรามีสมาธิมากพอ มีสัมปชัญญะมากพอ ก็เข้าสู่การน้อมจิต ผมเคยตั้งกระทู้เรื่องการน้อมจิต ท่านสนใจย้อนไปอ่านได้ การน้อมจิตก็คือการ การพิจารณาขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ พิจารณาว่า ขันธ์ห้าไม่ใช่ตน ไม่มีตนในขันธ์ห้า และไม่มีขันธ์ห้า ในตน ขณะพิจารณาด้วยจิต แต่ขณะนั้น ตัวสัมปชัญญะมีมากพอ ทำซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า การน้อมจิต
ผมเคยฟังไฟล์เสียงพระอาจารย์โชดก ท่านเล่าว่า มีพระท่านหนึ่ง มาขอแก้กรรมฐาน เพราะเวลาท่านภาวนา ยุบหนอพองหนอ ท่านเห็นพระพุทธเจ้า ประมาณนี้ พระอาจารย์โชดกท่านก็แนะนำว่า ให้กล่าวว่าเห็นหนอ ให้กลับมาที่สติ สัมปชัญญะ เพราะนั้น เป็นเพียงจิตสังขาร เพราะนั้นเป็นวิปัสสนูปกิเลส ให้ปัดทิ้งไป ท่านสอนได้ดีผมชื่นชอบ เพราะคำว่าหนอ ก็คือสัมปชัญญะ คือกระตุ้นรู้สึกตัวครับ
การภาวนามาถูกทางจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ต้องดีใจ และปัดทิ้งไป เพื่อจะได้ไปต่อ
สรูป ถ้าเราอยากรู้ว่า การทำอานาปาสติ ที่เราทำอยู่นั้นทำได้ มีสมาธิแค่ไหน ลองทำควบคู่กันการเพ่งกสิณ ไปสักพัก แล้วค่อยเหลือแต่การทำอานาปานสติ การเพ่งกสิณยังเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะพยุงให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น
สติ มาจาก จิตระลึกได้ ส่วนสัมปชัญญะ มาจากตัวผู้รู้ที่ไม่ใช่จิต สัมปชัญญะมาจาก อายตนะนิพพาน สัมปชัญญะ รู้แล้วทิ้ง ๆ ไม่มีการคิดไดๆ เพราะตัวผู้รู้ เป็น อสังขตะธาตุ ขณะที่เพ่งกสิณจะเห็นชัด ว่า เหมือนมีผู้รู้สองตัว ประกบกับ อย่าเชื่อจนกว่าจะได้ทดลองครับ
สุตมยะปัญญา และ จินตมยะปัญญา คือการรู้ระดับจิต
ภาวนามยะปัญญา คือการรู้ระดับญาณ
การภาวนา ถ้าไม่มีสัมปชัญญะ มีแต่สติ ไม่มีทาง บรรลุธรรม ต้องมี ทั้ง สติ และสัมปชัญญะ