การทำสมาธิ ก็หมายถึงการทำให้จิตมีสติ จับอยู่กับสิ่งไดสิ่งหนึ่งเท่านั้น หรือที่เรียกว่า เอกคตาจิต เช่น มีจิต มีสติกับลมหายใจ ตรงจุดลมกระทบจุดไดจุดหนึ่ง โดยที่สติ ก็หมายถึง การที่จิตระลึกได้ถึงผัสสะที่เคยเกิดมาก่อน เช่น เมื่อลมกระทบผิวกายบริเวณปลายจมูก ก็ระลึกได้ว่า นี้คือ ลมกระทบกายบริเวณปลายจมูก
ผมจะเปรียบเทียบ การทำสมาธิ สามวิธี คือ อานาปานสติ การเพ่งกสิณ และการดูจิต
อานาปานสติ เป้าหมายมีสองอย่าง คือ ต้องการให้จิตเป็นสมาธิ และ มีการรู้สึกตัว ก็คือ สติที่ต่อเนื่อง จะกลายเป็นจิตที่มีสมาธิ ส่วนการสัมปชัญญะ ก็คือ การสร้างความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา สติที่จับกับลมหายใจตรงจุดเดียวก็จะกลายเป็นสมาธิ คือจิตหนึ่งเดียว ส่วนสัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็จะเกิดพร้อมๆกันกลายไปเป็นญาณ การทำอานาปานสติ ถือว่ายาก ท่านลองนับดูว่าใจท่านไม่ลอยเลย ในลมหายใจกี่ครั้ง ถ้าเกินสิบครั้งก็ถือว่าเก่งละ
การเพ่งกสิน จะมีเป้าหมายอย่างเดียว คือ ต้องการให้จิตเป็นสมาธิ ก็คือ สติที่ต่อเนื่อง ทำให้จิตเป็นสมาธิ การเพ่งกสิณ เช่นกสิณสี เมื่อ เราจ้องดูดวงกสิณที่เป็นวงกลม เมื่อหลับตา ก็พยายามระลึกถึง ดวงกสิณ เมื่อเมื่อฝึกให้จิตระลึกได้ถึงดวงกสิณปรากฏในใจเรา ก็หมายถึงมีสติระลึกได้ถึงดวงกสิณนั้น ตราบไดที่ดวงกสิณยังปรากฏในใจ ตอนนั้นจิตก็มีสมาธิ การเพ่งกสิณ เป็นสิ่งที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย และยังรู้ได้เลยว่า จิตเป็นสมาธิไหม เพราะเรามีตัวดวงกสิณในใจเป็น มอนิเตอร์ ไม่เหมือนอานาปานสติ บางครั้งนั่งนานๆ จริงๆแล้วจิตเป็นสมาธิใหมละ
มีคนแนะนำว่า เมื่อทำอานาปานสติเป็นก็มีฝึกเพ่งกสิณ คราวนี่จะได้ทั้งสองอย่าง เลยมีทั้งสติและสัมปชัญญะ
การดูจิต จะมีเป้าหมายอย่างเดียว คือ มีความรู้สึกตัวอยู่เท่านั้น เมื่อเราฝึกการดูจิต จนทำเป็น เช่นการดูใจลอย การดูใจโกรธ ใจโลภ เป็นต้น ขณะที่จิตเปลื่ยน จากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง
เช่นใจลอย จิตก็จะมีสติเกิดขึ้น ตัวสติที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากการฝึกจำสภาวะใจลอย จนจิตจำได้ จิตก็จะระลึกได้เรียกว่า มีสติ แล้วตามด้วยรู้สึกตัวว่าตอนนี้มีใจลอย เป็นต้น การดูจิต จิตจะไม่เป็นสมาธิ
เพราะเหตุผลที่ว่า จิตจะระลึกได้หรือเรียกว่ามีสติ ในสิ่งที่เดียวตลอด จึงไม่เป็นจิตหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า เอกคตาจิต บางคนดูจิตที่ฟุ้งซ่านทั้งคืนก็มี จิตที่ไม่เป็นสมาธิเป็นจิตไม่มีพลังเลย
ผมจะอัญเชิญพระสูตร อานาปานสติสักบทมากล่าว
" [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ"
เช่นคำที่ว่า "ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น......
การที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เป็นต้น
ในความเชื่อของผม การที่จิตมีสติ "เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้า" อันนี้ ก็มาจากจิตระลึกได้ ก็หมายถึงสติ นั้นเอง
การที่ "หายใจออกยาก ก็รู้ชัด" อันนี้ไม่ใช่มาจากจิตแน่นอน ตัวผู้รู้ตัวที่สอง คือนามธาตุที่คงที่ ที่ผมเคยเสนอนั้นเอง
ถ้าใครก็ตามเชื่อผม ลองฝึกแยกความรู้สึกสองอันนี้ดู นอนแล้วอย่างพึ่งหลับ แยกดู แล้วท่านจะออกจากจิตตัวเองไปอยู่ที่ตัวนิพพานธาตุแทน
จะเป็นนิพพานน้อยๆ ความสุขเกิดขึ้นแวบๆ
เป็นไปไม่ได้เลยที่ การทำอานาปานสติ แล้วเกิดสมาธิถ้าเอาจิต มาจับลมหายใจ แล้วเอาจิตมารู้ลมสั้นลมยาว เพราะการเกิดเอกคตาจิตนั้น จิตต้องเป็นหนึ่งเดียว ถ้าแยกไม่ออกระหว่างการรับรู้ ในตัวผู้รู้ทั้งสอง การทำอานาปานสติก็ไม่ถูกต้องตามพระสูตรนี้
ตัวผู้รู้ตัวที่สอง ผมหมายถึงตัวนิพพานธาตุที่อยู่ในตัวเรานี้แหละ คงไม่มีใครเชื่อผม แต่ผมเคยเสนอเหตุผลไปหลายกระทู้แล้ว
ในพระสูตรไม่ได้บอกว่ามีสองตัวผู้รู้ และก็ไม่ห้ามด้วยเช่นกันว่าความเชื่อเช่นนั้น เป็นสิ่งผิด
และผมก็ไม่ได้บอกว่านิพพานเป็นอัตตา เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะอธิบายว่า ขันธ์ห้า เป็นตัวทุกข์ สัตว์โลกเป็นทุกข์เพราะยึดเอาขันธ์ห้าว่า เป็นตน เป็นของตน เมื่อตัดการยึดมั้นถือมั้นว่า ขันธ์ห้าเป็นตนเป็นของตน ก็จะเป็นนิโรจน์ ส่วนการทำให้ตัดสังโยชน์ได้ ก็ต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด
ยกตัวอย่าง คำที่ว่า" [๒๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลาย
รู้ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏสำหรับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มี
ตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่....."
คำถาม ถ้าสิ่งที่ผมอธิบายมาผิด
ท่านคิดว่า การทำอานาปานสติ ตามพระสูตร ทำไมต้องเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
ถ้าเอาจิตไปรู้ว่าหายใจเข้ายาก หรือออกยาว จะทำให้จิตเป็นเอกคตาจิตได้อย่างไร
การทำอานาปานสติ ทำไมต้องรู้ลมสั้น ลมยาวด้วย
ผมจะเปรียบเทียบ การทำสมาธิ สามวิธี คือ อานาปานสติ การเพ่งกสิณ และการดูจิต
อานาปานสติ เป้าหมายมีสองอย่าง คือ ต้องการให้จิตเป็นสมาธิ และ มีการรู้สึกตัว ก็คือ สติที่ต่อเนื่อง จะกลายเป็นจิตที่มีสมาธิ ส่วนการสัมปชัญญะ ก็คือ การสร้างความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา สติที่จับกับลมหายใจตรงจุดเดียวก็จะกลายเป็นสมาธิ คือจิตหนึ่งเดียว ส่วนสัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็จะเกิดพร้อมๆกันกลายไปเป็นญาณ การทำอานาปานสติ ถือว่ายาก ท่านลองนับดูว่าใจท่านไม่ลอยเลย ในลมหายใจกี่ครั้ง ถ้าเกินสิบครั้งก็ถือว่าเก่งละ
การเพ่งกสิน จะมีเป้าหมายอย่างเดียว คือ ต้องการให้จิตเป็นสมาธิ ก็คือ สติที่ต่อเนื่อง ทำให้จิตเป็นสมาธิ การเพ่งกสิณ เช่นกสิณสี เมื่อ เราจ้องดูดวงกสิณที่เป็นวงกลม เมื่อหลับตา ก็พยายามระลึกถึง ดวงกสิณ เมื่อเมื่อฝึกให้จิตระลึกได้ถึงดวงกสิณปรากฏในใจเรา ก็หมายถึงมีสติระลึกได้ถึงดวงกสิณนั้น ตราบไดที่ดวงกสิณยังปรากฏในใจ ตอนนั้นจิตก็มีสมาธิ การเพ่งกสิณ เป็นสิ่งที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย และยังรู้ได้เลยว่า จิตเป็นสมาธิไหม เพราะเรามีตัวดวงกสิณในใจเป็น มอนิเตอร์ ไม่เหมือนอานาปานสติ บางครั้งนั่งนานๆ จริงๆแล้วจิตเป็นสมาธิใหมละ
มีคนแนะนำว่า เมื่อทำอานาปานสติเป็นก็มีฝึกเพ่งกสิณ คราวนี่จะได้ทั้งสองอย่าง เลยมีทั้งสติและสัมปชัญญะ
การดูจิต จะมีเป้าหมายอย่างเดียว คือ มีความรู้สึกตัวอยู่เท่านั้น เมื่อเราฝึกการดูจิต จนทำเป็น เช่นการดูใจลอย การดูใจโกรธ ใจโลภ เป็นต้น ขณะที่จิตเปลื่ยน จากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง
เช่นใจลอย จิตก็จะมีสติเกิดขึ้น ตัวสติที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากการฝึกจำสภาวะใจลอย จนจิตจำได้ จิตก็จะระลึกได้เรียกว่า มีสติ แล้วตามด้วยรู้สึกตัวว่าตอนนี้มีใจลอย เป็นต้น การดูจิต จิตจะไม่เป็นสมาธิ
เพราะเหตุผลที่ว่า จิตจะระลึกได้หรือเรียกว่ามีสติ ในสิ่งที่เดียวตลอด จึงไม่เป็นจิตหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า เอกคตาจิต บางคนดูจิตที่ฟุ้งซ่านทั้งคืนก็มี จิตที่ไม่เป็นสมาธิเป็นจิตไม่มีพลังเลย
ผมจะอัญเชิญพระสูตร อานาปานสติสักบทมากล่าว
" [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ"
เช่นคำที่ว่า "ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น......
การที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เป็นต้น
ในความเชื่อของผม การที่จิตมีสติ "เธอมีสติหายใจออก เธอมีสติหายใจเข้า" อันนี้ ก็มาจากจิตระลึกได้ ก็หมายถึงสติ นั้นเอง
การที่ "หายใจออกยาก ก็รู้ชัด" อันนี้ไม่ใช่มาจากจิตแน่นอน ตัวผู้รู้ตัวที่สอง คือนามธาตุที่คงที่ ที่ผมเคยเสนอนั้นเอง
ถ้าใครก็ตามเชื่อผม ลองฝึกแยกความรู้สึกสองอันนี้ดู นอนแล้วอย่างพึ่งหลับ แยกดู แล้วท่านจะออกจากจิตตัวเองไปอยู่ที่ตัวนิพพานธาตุแทน
จะเป็นนิพพานน้อยๆ ความสุขเกิดขึ้นแวบๆ
เป็นไปไม่ได้เลยที่ การทำอานาปานสติ แล้วเกิดสมาธิถ้าเอาจิต มาจับลมหายใจ แล้วเอาจิตมารู้ลมสั้นลมยาว เพราะการเกิดเอกคตาจิตนั้น จิตต้องเป็นหนึ่งเดียว ถ้าแยกไม่ออกระหว่างการรับรู้ ในตัวผู้รู้ทั้งสอง การทำอานาปานสติก็ไม่ถูกต้องตามพระสูตรนี้
ตัวผู้รู้ตัวที่สอง ผมหมายถึงตัวนิพพานธาตุที่อยู่ในตัวเรานี้แหละ คงไม่มีใครเชื่อผม แต่ผมเคยเสนอเหตุผลไปหลายกระทู้แล้ว
ในพระสูตรไม่ได้บอกว่ามีสองตัวผู้รู้ และก็ไม่ห้ามด้วยเช่นกันว่าความเชื่อเช่นนั้น เป็นสิ่งผิด
และผมก็ไม่ได้บอกว่านิพพานเป็นอัตตา เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะอธิบายว่า ขันธ์ห้า เป็นตัวทุกข์ สัตว์โลกเป็นทุกข์เพราะยึดเอาขันธ์ห้าว่า เป็นตน เป็นของตน เมื่อตัดการยึดมั้นถือมั้นว่า ขันธ์ห้าเป็นตนเป็นของตน ก็จะเป็นนิโรจน์ ส่วนการทำให้ตัดสังโยชน์ได้ ก็ต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด
ยกตัวอย่าง คำที่ว่า" [๒๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลาย
รู้ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏสำหรับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มี
ตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่....."
คำถาม ถ้าสิ่งที่ผมอธิบายมาผิด
ท่านคิดว่า การทำอานาปานสติ ตามพระสูตร ทำไมต้องเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
ถ้าเอาจิตไปรู้ว่าหายใจเข้ายาก หรือออกยาว จะทำให้จิตเป็นเอกคตาจิตได้อย่างไร