ภาวนาอย่างไรจึงทำให้เกิด ทั้งฌาน และญาณ
ครั้งก่อน ผมตั้งกระทู้ว่า เกิดอะไรขึ้นขณะตรัสรู้ธรรม (ว่าตามพระสูตร)
เหตุผลของผมก็คือ ผมเชื่อว่า ศาสนาพุทธมีเป้าหมายสุงสุดของคำสอนก็คือการ เข้าสู่นิพพาน
ถ้าอย่างนั้น การบรรลุธรรมจึงเป็นประตูสู่นิพพาน
การตรัสรู้ธรรม , การบรรลุธรรม, มีดวงตาเห็นธรรม ก็คือคำที่เรียกสิ่งเดียวกัน ในเจตนารมณ์เดียวกัน
ผมอยากให้ผู้ที่อ่าน สนใจเจตนารมณ์ในการสื่อของผมจะได้ง่ายในการคุยกันครับ อันนี้คงไม่ว่านะครับ
และการบรรลุธรรมนั้นเท่าที่ผมอ่าน ผู้มาตอบกระทู้ มีไม่กีท่านมาตอบอย่างตรงประเด็น ส่วนใหญ่จะมาบอกอธิบายว่าผมข้อความของผมไม่ถูกเสียมากว่า จริงๆผมอยากอ่าน ความคิดเห็นของท่านตามหัวข้อกระทู้มากกว่า ถ้าติมาผมก็น้อมรับครับ
การบรรลุธรรมนั้น ในพระสูตร กล่าวว่า ต้องประกอบด้วย จิตที่เป็นปัจจุบัน และ ญาณในขณะแห่งโลกตรมรรค
ดังนั้น การภาวนาต้องภาวนาให้เกิด ทั้ง ญาณ และ จิตที่ตั้งมั้น
เดียวจะหาว่าผมมั่วจากพระสูตรนี้นะครับ
" [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างไร ฯ
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างนี้ ฯ"
นิยาม
ฌาน และญาณ คืออะไร
พูดถึงเรื่องญาณก่อนครับ
เท่าที่ผมอ่านในกระทู้ก่อน มีหลายท่านอธิบายว่า ญาณ นั้นคือปัญญาเจตสิก
แต่ในตำราผมค้นไม่เจอเลยถ้ามีคนค้นพบก็ช่วยเอามาลงด้วยครับ
และบางท่านก็อธิบายว่า ญาณก็คือการรู้ของจิตที่รู้อย่างพิเศษคือรู้แบบมากๆ ทะลุทลวง ผมก็ไม่เข้าใจที่เขาพูดกัน
ก็เกือบทุกคนเข้าใจว่า ญาณก็คือส่วนหนึ่งของจิต
แต่ในพระสูตร กล่าวว่า การบรรลุธรรม ต้องประกอบด้วย จิต และญาณ ถ้าคิดอย่างนั้นก็ค้านกันกับพระสูตร
ถ้าเราเข้าใจว่า ญาณคือส่วนหนึ่งของจิต
เช่นถ้าเราภาวนา ไปเรื่อยๆ จากจิตธรรมดา ไปสู่จิตที่มีญาณงอกออกมาจากจิต อย่างนั้นใช่หรือไม่
อุปมา เหมือนเราปลูกต้นไม้ จากเมล็ด ชื่อว่า จิต เมื่อเรารดน้ำดูแลไปเรื่อยๆ ต้นไม่ก็จะเจริญ จนกระทั้ง มีกิ่งโผล่ออกมาอีกกิ่งหนึ่ง
ก็มีสองกิ่ง คือกิ่งที่เป็นจิตตั้งมั้น กับญาณอย่างนั้นหรือ โดยที่ทั้งสองมาจากต้นตอเดียวกัน
ส่วนผมเข้าใจต่างไปจากนั้น ญาณ กับจิตมิใช่สิ่งเดียวกัน
ผมเคยพูดเรื่อง จิตเจตสิก รูป นิพพาน
ผมกล่าาว่า จิต ก็เป็นธาตุรู้ นิพพานก็เป็นธาตุรู้
จะเห็นว่ามีตัวผู้รู้สองตัว ผูกพันธ์กันอยู่ ด้วยกิเลสสังโยชน์
การภาวนา เพื่อให้สติที่ต่อเนื่องจนกลายเป็นจิตตั้งมั้น และ สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องจนกลายเป็นญาณ
สัมปชัญญะก็คือการรู้สึกตัว เกิดขึ้นได้ก็เพราะการปลูกของ จิต เมื่อจิตมีสติ สัมปชัญญะก็จะถูกปลูกให้ตื่น ให้มี สิ่งนี้ต้องมีการฝึก
ความรับรู้ของจิต กับความรับรู้ของตัวผู้รู้ตัวที่สอง หรือที่เรียกว่า สัมปชัญญะ นั้น แยกได้อย่างไร
ในสัตว์ภพอื่นยากที่จะแยกสิ่งนี้ออกจากกัน มันพัวพันธ์กันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
มีมนุษย์ เท่านั้นพอจะแยกได้ แต่ก็ไม่ทุกคน คนที่สามารถสติได้เท่านั้นถึงจะแยกได้
การเข้าใจเรื่องญาณคืออะไรถือว่า เป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเรากลัดไม่ตรงกัน กระดุมเม็ดต่อมาก็ไม่เหมือนกัน
การเห็นแย้งกันจึงมีไม่สิ้นสุด ผมไม่ได้ให้ใครเชื่ออย่างที่ผมกล่าว เพียงแต่ หลักการที่เสนอ น้อยคนนักที่จะสนใจ มีแต่คนสนใจภาษา อักขะที่ใช้เท่านั้นว่าผมเขียนไม่ถูกไม่เป็น
เข้าเรื่อง
เอาที่ละเรื่องก่อน เดียวค่อยเอามาเชื่อมกันครับ
การภาวนาเพื่อให้เกิด ฌาน
ถ้าเราค้นในเวบ ฌาน แปลว่าการเพ่ง
จิตที่เป็นสมาธิ เป็นคำคำเดียวกับจิตตั้งมั้น จิตเป็นสมาธิเกิดจากอะไร ก็เกิดจาก การที่จิต มีสติอย่างต่อเนื่อง จนจิต เป็นเอกคตาจิต
หรือจิตเป็นหนึ่งเดียว ระดับสมาธิ ถ้าตัดนิวรณ์ได้หมด ก็จะกลายเป็นปฐมฌาน
อันที่จริงผมก็ว่าไปตามที่อ่านมานั้นแหละ
จุดเริ่มต้นก็คือสร้างจิตมีสติ
สร้างอย่างไร ปัจจุบันนิยม อานาปานสติ คือสร้างสติจากการดูลมหายใจ
และที่นิยมอีกอัน ก็คื การเพ่งกระสิณสี
และก็ยังมี การดูจิต นี้ก็สร้างสติได้ดี
สติคือ การระลึกได้ จากสิ่งที่เคยผ่านมาก่อน เช่น การมีสติจากการดูจิต เมื่อจิตโกรธเราก็จำ จำหลายๆครั้ง พอจิตโกรธอีกครั้ง จิตจะระลึกได้สิ่งที่จิตระลึกได้ นี้เรียกว่า จิตมีสติ อันนี้ก็ฝึกได้จะดีให้ไปฝึกกับพระอาจารย์หลวงพ่อปราโมทย์ครับ ส่วนการทำสมาธิมีตั้ง 40 วิธี ตามหนังสือวิสุทธิมรรคอธิบายใว้นั้นแหละครับ
- การทำอานาปานสติ เพื่อให้จิตมีสมาธิ ตามพระสูตร บอกใว้นิดเดียว " นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. " แค่นี้ แหละคือวิธีสร้างสติด้วยลมหายใจ ก็ไม่ยาก หายใจเข้า เมื่อลมกระทบผิวจมูก จิตระลึกได้ว่านี้ลมหายใจเข้า นี้ลมหายใจออก จิตที่ระลึกได้นี้แหละเรียกว่า จิตมีสติกับลมหายใจ พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวว่า รายละเอียด แต่มี่บางท่านก็อธิบายต่อว่า
เวลาหายใจไม่ให้เอาสติตามลมเข้าไปมีสติตรงลมกระทบเข้าออกเท่านั้น
การทำอานาปานสติเป็นสิ่งที่ยากมากๆ ท่านลองดูได้สักกี่ครั้งแล้วใจลอย การฝึกต้องมีความพยายามสุง ในวิสุทธิมรรค ท่านแนะนำเรื่องนี้ดีมาก ท่านให้นับตัวเลขด้วยซ้ำในช่วงแรก และท่านยังอุปมา ลมหายใจเหมือนเชือกผู้วัว วัวก็คือ จิต ตอนแรกมันจะดึงไปมาอย่างทุรนทุรายจนกระทั่ง สยบราบคาบ
- การเพ่งกสิณ จากเวบกสิณ อธิบายใว้ดีมากๆ การเพ่งกสิณ มันเหมือนมีมอนิเตอร์ ทำให้รู้ตัวเองว่า ขณะนี้จิตเรามีสมาธิแค่ใหน
เมื่อเราเพ่งกสิณ จนจำได้พอหลับตาเราก็ดึงสิ่งที่จิตจำ นั่นก็คือเรียกว่าจิตมีสติ ภาพที่เกิดขึ้นจากความทรงจำ หรือที่เรียกว่าสัญญานั้น อยู่นานเท่าไหร่ ก็แสดงว่า จิตเรามีสมาธินานเท่านั้น
( ลิ้งค์กสิณhttps://www.youtube.com/watch?v=JUT57dB0_W8&t=8s")
อานาปานสติ นั้นทำสมาธิได้ยาก ดังนั้นจึงควรฝึกกสิณ และอานาปานาติ ควบคู่กัน เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็ มาทางอานาปานาติเลยเพราะ กสิณจะเน้น จิตเป็นสมาธิ ส่วนอานาปานสติจะได้ทั่ง จิตเป็นสมาธิ และเกิดสัมปชัญญะควบคู่กัน
- การดูจิต ถ้าท่านฝึกตามหลวงพ่อพระอาจารย์ปราโมทย์ จะเป็นสิ่งดี จะได้ซึ่งกับคำว่า สติปัฏฐานอย่างมากๆ จู่ๆ มฝึกอานาปานสติเลยก็จะไม่เข้าใจเรื่องสติ ถ้าเราฝึกดูจิตอย่างเดียวสติที่ได้จากการดูจิตไม่เป็นเอกคตาจิตนะครับเพราะว่า สติที่ได้จะมาจากหลายอย่าง เข่นมาจากจิตโกรธ มาจากใจลอย เป็นต้น ถ้าอานาปานสติ จิตก็มาจากลมกระทบจมูก เพ่งกสิณก็เกิดจาก ดวงกสิณ ซึ่งจะเดี่ยวๆกว่า
สรูป การทำฌาน นั้น เบื้องต้น ก็ฝึก อานาปานสติ ควบคู่กับเพ่งกสิณให้จิตตั้งมั้น
ต่อมา เรืองญาณ
อันนี้ หลายท่านต้องค้านผมแน่นอน สิ่งที่ผมกล่าวก็คือ ญาณเกิดจาก สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง
การสร้างสัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ทำได้อย่างไร
สติปัฏฐานสี่ เริ่มที่ฐาน กายานุปัสนาสติปัฏฐาน คือฐานกาย เท่าที่นิยมก็คือ ทำอานาปานสติ
การทำสติปัฏฐาน ต้องทำควบคู่ คือสติ กับสัมป่ชัญญะ
แน่นอน มันยากกว่าทำสติอย่างเดียว ถึงสองเท่า ผมจะยกพระสูตร สักท่อนเล็กๆ
"ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น."
ตรงใหนเรียกว่า สัมปชัญญะ ตรงนี้ไง "เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น."
สัมปชัญญะคือการรู้สึกตัว ตามหลังที่มีสติรู้ลมหายใจเสมอ รู้ว่า ลมหายใจสั้นหรือยาว อันนี้แหละเรียกว่ารู้สึกตัว ว่าเกิดอะไรขึ้นเรียกว่าสัมปชัญญะ
ผู้ที่อ่านคงค้านมากๆ กับคำว่า มีผู้รู้สองตัว
สติ คือจิตระลึกได่ว่าสิ่งนี้เคยเกิดมาก่อน
สัมปชัญญะคือ ตัวผู้รู้ตัวที่สอง รู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น สัมปชัญญะจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีสติก่อนเป็นตัวกระตุ้นเป็นตัวเหนี่ยวนำ
สัมปชัญญะต้องมีการฝึก ถ้าไม่ฝึกก็เกิดยาก
ใครก็ตามแยกความรู้สึกสองตัวนี้ออกจากกันได้ จึงถือว่า เข้าใจสติปัฏฐาน
การภาวนาเพื่อให้จิตมีสมาธิ เพื่อนำไปสู่พลังงานที่แรงพอเพื่อการน้อมจิตให้ญาณมองเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า
การภาวนาเพื่อให้สัมปชัญญะ มีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นญาณ ในการรับรู้สิ่งที่จิตน้อมมาให้ จนเกิดวิปัสสนาญาณ เรียกว่าการบรรลุธรรมนั้นเอง
มันจะยาวไปแค่นี้ก่อน
ผมอยากให้ท่านที่มาแสดงความคิดเห็นอธิบายว่า
ภาวนาอย่างไร จึงจะเกิด ฌาน และ ญาณ เพราะจะมีประโยชน์ถึงจะไม่เหมือนกันก็ไม่แปลก เพราะคนเราก็มีความคิดหลากหลายอยู่แล้ว
ภาวนาอย่างไรจึงทำให้เกิด ทั้งฌาน และญาณ
ครั้งก่อน ผมตั้งกระทู้ว่า เกิดอะไรขึ้นขณะตรัสรู้ธรรม (ว่าตามพระสูตร)
เหตุผลของผมก็คือ ผมเชื่อว่า ศาสนาพุทธมีเป้าหมายสุงสุดของคำสอนก็คือการ เข้าสู่นิพพาน
ถ้าอย่างนั้น การบรรลุธรรมจึงเป็นประตูสู่นิพพาน
การตรัสรู้ธรรม , การบรรลุธรรม, มีดวงตาเห็นธรรม ก็คือคำที่เรียกสิ่งเดียวกัน ในเจตนารมณ์เดียวกัน
ผมอยากให้ผู้ที่อ่าน สนใจเจตนารมณ์ในการสื่อของผมจะได้ง่ายในการคุยกันครับ อันนี้คงไม่ว่านะครับ
และการบรรลุธรรมนั้นเท่าที่ผมอ่าน ผู้มาตอบกระทู้ มีไม่กีท่านมาตอบอย่างตรงประเด็น ส่วนใหญ่จะมาบอกอธิบายว่าผมข้อความของผมไม่ถูกเสียมากว่า จริงๆผมอยากอ่าน ความคิดเห็นของท่านตามหัวข้อกระทู้มากกว่า ถ้าติมาผมก็น้อมรับครับ
การบรรลุธรรมนั้น ในพระสูตร กล่าวว่า ต้องประกอบด้วย จิตที่เป็นปัจจุบัน และ ญาณในขณะแห่งโลกตรมรรค
ดังนั้น การภาวนาต้องภาวนาให้เกิด ทั้ง ญาณ และ จิตที่ตั้งมั้น
เดียวจะหาว่าผมมั่วจากพระสูตรนี้นะครับ
" [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างไร ฯ
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
อย่างนี้ ฯ"
นิยาม
ฌาน และญาณ คืออะไร
พูดถึงเรื่องญาณก่อนครับ
เท่าที่ผมอ่านในกระทู้ก่อน มีหลายท่านอธิบายว่า ญาณ นั้นคือปัญญาเจตสิก
แต่ในตำราผมค้นไม่เจอเลยถ้ามีคนค้นพบก็ช่วยเอามาลงด้วยครับ
และบางท่านก็อธิบายว่า ญาณก็คือการรู้ของจิตที่รู้อย่างพิเศษคือรู้แบบมากๆ ทะลุทลวง ผมก็ไม่เข้าใจที่เขาพูดกัน
ก็เกือบทุกคนเข้าใจว่า ญาณก็คือส่วนหนึ่งของจิต
แต่ในพระสูตร กล่าวว่า การบรรลุธรรม ต้องประกอบด้วย จิต และญาณ ถ้าคิดอย่างนั้นก็ค้านกันกับพระสูตร
ถ้าเราเข้าใจว่า ญาณคือส่วนหนึ่งของจิต
เช่นถ้าเราภาวนา ไปเรื่อยๆ จากจิตธรรมดา ไปสู่จิตที่มีญาณงอกออกมาจากจิต อย่างนั้นใช่หรือไม่
อุปมา เหมือนเราปลูกต้นไม้ จากเมล็ด ชื่อว่า จิต เมื่อเรารดน้ำดูแลไปเรื่อยๆ ต้นไม่ก็จะเจริญ จนกระทั้ง มีกิ่งโผล่ออกมาอีกกิ่งหนึ่ง
ก็มีสองกิ่ง คือกิ่งที่เป็นจิตตั้งมั้น กับญาณอย่างนั้นหรือ โดยที่ทั้งสองมาจากต้นตอเดียวกัน
ส่วนผมเข้าใจต่างไปจากนั้น ญาณ กับจิตมิใช่สิ่งเดียวกัน
ผมเคยพูดเรื่อง จิตเจตสิก รูป นิพพาน
ผมกล่าาว่า จิต ก็เป็นธาตุรู้ นิพพานก็เป็นธาตุรู้
จะเห็นว่ามีตัวผู้รู้สองตัว ผูกพันธ์กันอยู่ ด้วยกิเลสสังโยชน์
การภาวนา เพื่อให้สติที่ต่อเนื่องจนกลายเป็นจิตตั้งมั้น และ สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องจนกลายเป็นญาณ
สัมปชัญญะก็คือการรู้สึกตัว เกิดขึ้นได้ก็เพราะการปลูกของ จิต เมื่อจิตมีสติ สัมปชัญญะก็จะถูกปลูกให้ตื่น ให้มี สิ่งนี้ต้องมีการฝึก
ความรับรู้ของจิต กับความรับรู้ของตัวผู้รู้ตัวที่สอง หรือที่เรียกว่า สัมปชัญญะ นั้น แยกได้อย่างไร
ในสัตว์ภพอื่นยากที่จะแยกสิ่งนี้ออกจากกัน มันพัวพันธ์กันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
มีมนุษย์ เท่านั้นพอจะแยกได้ แต่ก็ไม่ทุกคน คนที่สามารถสติได้เท่านั้นถึงจะแยกได้
การเข้าใจเรื่องญาณคืออะไรถือว่า เป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเรากลัดไม่ตรงกัน กระดุมเม็ดต่อมาก็ไม่เหมือนกัน
การเห็นแย้งกันจึงมีไม่สิ้นสุด ผมไม่ได้ให้ใครเชื่ออย่างที่ผมกล่าว เพียงแต่ หลักการที่เสนอ น้อยคนนักที่จะสนใจ มีแต่คนสนใจภาษา อักขะที่ใช้เท่านั้นว่าผมเขียนไม่ถูกไม่เป็น
เข้าเรื่อง
เอาที่ละเรื่องก่อน เดียวค่อยเอามาเชื่อมกันครับ
การภาวนาเพื่อให้เกิด ฌาน
ถ้าเราค้นในเวบ ฌาน แปลว่าการเพ่ง
จิตที่เป็นสมาธิ เป็นคำคำเดียวกับจิตตั้งมั้น จิตเป็นสมาธิเกิดจากอะไร ก็เกิดจาก การที่จิต มีสติอย่างต่อเนื่อง จนจิต เป็นเอกคตาจิต
หรือจิตเป็นหนึ่งเดียว ระดับสมาธิ ถ้าตัดนิวรณ์ได้หมด ก็จะกลายเป็นปฐมฌาน
อันที่จริงผมก็ว่าไปตามที่อ่านมานั้นแหละ
จุดเริ่มต้นก็คือสร้างจิตมีสติ
สร้างอย่างไร ปัจจุบันนิยม อานาปานสติ คือสร้างสติจากการดูลมหายใจ
และที่นิยมอีกอัน ก็คื การเพ่งกระสิณสี
และก็ยังมี การดูจิต นี้ก็สร้างสติได้ดี
สติคือ การระลึกได้ จากสิ่งที่เคยผ่านมาก่อน เช่น การมีสติจากการดูจิต เมื่อจิตโกรธเราก็จำ จำหลายๆครั้ง พอจิตโกรธอีกครั้ง จิตจะระลึกได้สิ่งที่จิตระลึกได้ นี้เรียกว่า จิตมีสติ อันนี้ก็ฝึกได้จะดีให้ไปฝึกกับพระอาจารย์หลวงพ่อปราโมทย์ครับ ส่วนการทำสมาธิมีตั้ง 40 วิธี ตามหนังสือวิสุทธิมรรคอธิบายใว้นั้นแหละครับ
- การทำอานาปานสติ เพื่อให้จิตมีสมาธิ ตามพระสูตร บอกใว้นิดเดียว " นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. " แค่นี้ แหละคือวิธีสร้างสติด้วยลมหายใจ ก็ไม่ยาก หายใจเข้า เมื่อลมกระทบผิวจมูก จิตระลึกได้ว่านี้ลมหายใจเข้า นี้ลมหายใจออก จิตที่ระลึกได้นี้แหละเรียกว่า จิตมีสติกับลมหายใจ พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวว่า รายละเอียด แต่มี่บางท่านก็อธิบายต่อว่า
เวลาหายใจไม่ให้เอาสติตามลมเข้าไปมีสติตรงลมกระทบเข้าออกเท่านั้น
การทำอานาปานสติเป็นสิ่งที่ยากมากๆ ท่านลองดูได้สักกี่ครั้งแล้วใจลอย การฝึกต้องมีความพยายามสุง ในวิสุทธิมรรค ท่านแนะนำเรื่องนี้ดีมาก ท่านให้นับตัวเลขด้วยซ้ำในช่วงแรก และท่านยังอุปมา ลมหายใจเหมือนเชือกผู้วัว วัวก็คือ จิต ตอนแรกมันจะดึงไปมาอย่างทุรนทุรายจนกระทั่ง สยบราบคาบ
- การเพ่งกสิณ จากเวบกสิณ อธิบายใว้ดีมากๆ การเพ่งกสิณ มันเหมือนมีมอนิเตอร์ ทำให้รู้ตัวเองว่า ขณะนี้จิตเรามีสมาธิแค่ใหน
เมื่อเราเพ่งกสิณ จนจำได้พอหลับตาเราก็ดึงสิ่งที่จิตจำ นั่นก็คือเรียกว่าจิตมีสติ ภาพที่เกิดขึ้นจากความทรงจำ หรือที่เรียกว่าสัญญานั้น อยู่นานเท่าไหร่ ก็แสดงว่า จิตเรามีสมาธินานเท่านั้น
( ลิ้งค์กสิณhttps://www.youtube.com/watch?v=JUT57dB0_W8&t=8s")
อานาปานสติ นั้นทำสมาธิได้ยาก ดังนั้นจึงควรฝึกกสิณ และอานาปานาติ ควบคู่กัน เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็ มาทางอานาปานาติเลยเพราะ กสิณจะเน้น จิตเป็นสมาธิ ส่วนอานาปานสติจะได้ทั่ง จิตเป็นสมาธิ และเกิดสัมปชัญญะควบคู่กัน
- การดูจิต ถ้าท่านฝึกตามหลวงพ่อพระอาจารย์ปราโมทย์ จะเป็นสิ่งดี จะได้ซึ่งกับคำว่า สติปัฏฐานอย่างมากๆ จู่ๆ มฝึกอานาปานสติเลยก็จะไม่เข้าใจเรื่องสติ ถ้าเราฝึกดูจิตอย่างเดียวสติที่ได้จากการดูจิตไม่เป็นเอกคตาจิตนะครับเพราะว่า สติที่ได้จะมาจากหลายอย่าง เข่นมาจากจิตโกรธ มาจากใจลอย เป็นต้น ถ้าอานาปานสติ จิตก็มาจากลมกระทบจมูก เพ่งกสิณก็เกิดจาก ดวงกสิณ ซึ่งจะเดี่ยวๆกว่า
สรูป การทำฌาน นั้น เบื้องต้น ก็ฝึก อานาปานสติ ควบคู่กับเพ่งกสิณให้จิตตั้งมั้น
ต่อมา เรืองญาณ
อันนี้ หลายท่านต้องค้านผมแน่นอน สิ่งที่ผมกล่าวก็คือ ญาณเกิดจาก สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง
การสร้างสัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ทำได้อย่างไร
สติปัฏฐานสี่ เริ่มที่ฐาน กายานุปัสนาสติปัฏฐาน คือฐานกาย เท่าที่นิยมก็คือ ทำอานาปานสติ
การทำสติปัฏฐาน ต้องทำควบคู่ คือสติ กับสัมป่ชัญญะ
แน่นอน มันยากกว่าทำสติอย่างเดียว ถึงสองเท่า ผมจะยกพระสูตร สักท่อนเล็กๆ
"ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น."
ตรงใหนเรียกว่า สัมปชัญญะ ตรงนี้ไง "เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น."
สัมปชัญญะคือการรู้สึกตัว ตามหลังที่มีสติรู้ลมหายใจเสมอ รู้ว่า ลมหายใจสั้นหรือยาว อันนี้แหละเรียกว่ารู้สึกตัว ว่าเกิดอะไรขึ้นเรียกว่าสัมปชัญญะ
ผู้ที่อ่านคงค้านมากๆ กับคำว่า มีผู้รู้สองตัว
สติ คือจิตระลึกได่ว่าสิ่งนี้เคยเกิดมาก่อน
สัมปชัญญะคือ ตัวผู้รู้ตัวที่สอง รู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น สัมปชัญญะจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีสติก่อนเป็นตัวกระตุ้นเป็นตัวเหนี่ยวนำ
สัมปชัญญะต้องมีการฝึก ถ้าไม่ฝึกก็เกิดยาก
ใครก็ตามแยกความรู้สึกสองตัวนี้ออกจากกันได้ จึงถือว่า เข้าใจสติปัฏฐาน
การภาวนาเพื่อให้จิตมีสมาธิ เพื่อนำไปสู่พลังงานที่แรงพอเพื่อการน้อมจิตให้ญาณมองเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า
การภาวนาเพื่อให้สัมปชัญญะ มีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นญาณ ในการรับรู้สิ่งที่จิตน้อมมาให้ จนเกิดวิปัสสนาญาณ เรียกว่าการบรรลุธรรมนั้นเอง
มันจะยาวไปแค่นี้ก่อน
ผมอยากให้ท่านที่มาแสดงความคิดเห็นอธิบายว่า
ภาวนาอย่างไร จึงจะเกิด ฌาน และ ญาณ เพราะจะมีประโยชน์ถึงจะไม่เหมือนกันก็ไม่แปลก เพราะคนเราก็มีความคิดหลากหลายอยู่แล้ว