การภาวนาเบื้องต้น ตามความเข้าใจของผม

การภาวนาเบื้องต้น
           ถ้าท่านอยากทราบ วิธีภาวนาเบื้องต้นนั้นเขาทำกันอย่างไร ถ้ามาถามคนในพันทิป ก็ย่อยจะได้ ลิ้งค์ ที่นำไปยังการภาวนายังสำนักต่างๆ อย่างมากมาย  แต่ทำไมผมถึง มาเขียนอีก ก็เพราะ แต่ละที่มีแนวทางไม่เหมือนกัน ผมจึงเขียนตามแนวที่ผมเชื่อว่า ถูกต้อง ให้มากที่สุด เพื่อมานำเสนอ แก่คนที่ต้องการเป็นนักภาวนา ที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี  ก็ลองอ่านดูครับ ถ้าผิดก็ท้วงติงได้ เพราะผมก็เป็นคนเล็กๆคนหนึ่งเท่านั้นครับ ขอสุภาพนะครับ

             ถ้าเราจะศึกษาแนวทางการภาวนา เราจะเลือกสำนักไหนดี แน่นอน แต่ละสำนัก สอนไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ถ้าเราไม่มั่นใจว่าอันไหนถูก เราจะศึกษาจากต้นกำเนิด คือพระไตรปิฎกเองจะดีไหม อันนี้ถ้าเป็นผมก็คิดว่า ยากเลยทีเดียว เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ทั้งๆ ที่เคยได้ยินว่า แต่ละสำนักล้วนก็ล้วนสอนวิธีปฏิบัติตาม สติปัฏฐานสี่ เข้าไปอ่านพระสูตร ก็ยังไม่รู้เริ่มตรงไหนดีเหมือนกัน

                ก็ต้องขอบคุณครูบาอาจารย์ในแต่ละสำนักนั้นแหละครับ แล้วเลือกเอาส่วนที่ดีๆของท่านมาเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก แล้วมาเป็นแนวทางปฏิบัติ  ผมได้ศึกษาจากหลายๆสำนักและทดลองปฏิบัติ ได้บ้างไม่ได้บาง และฟังเสียงอ่านพระไตรปิฎก แล้วนำมาสรูป วิธีภาวนา 
การภาวนาเบื้องต้น ก็ถือว่า เป็นระดับต้นๆ เข้าใจง่ายๆ ไม่ได้ลึกลับซับซ้อน ถ้าท่านเป็นผู้ชำนาญแล้วก็ผ่านไปเลยครับ

               ทำไมต้องภาวนา  เป้าหมายหลักของการภาวนาคืออะไร
              การเกิดปัญญา คำว่าปัญญา แปลว่า รู้  ต่างจากความหมายทางโลกนะครับ  การเกิดปัญญาจึงเกิดจากการฟัง เรียกสุตมยะปัญญา เมื่อฟังแล้ว นำมาคิดตรึกตรอง จนเข้าใจดี เรียกว่า จินตมยะปัญญา รู้ด้วยการขบคิด ไม่ใช่คิดเอาเองนะครับ คิดตามที่ฟังมา และสุดท้ายคือ ภาวนามยะปัญญา  รู้ด้วยการภาวนา
             รู้ ด้วยการฟัง และคิด เป็นความรู้ในระดับจิต ส่วนการรู้ในระดับ ภาวนา เรียกว่ารู้ในระดับญาณ  เมื่อรู้ด้วยการฟัง แล้วคิดเข้าใจ จากนั้นก็มานั่งภาวนาให้เกิดญาณ แล้วส่งความรู้ที่ได้ยินและฟังมา ให้ตัวญาณรับรู้ เมื่อญาณรับรู้เราเรียกว่า วิปัสสนาญาณ
              ผมจะยกตัวอย่าง สมมุติ มีนายคนหนึ่ง เป็นคนไอคิวดีมาก เชื่อฟังดีมาก มาเรียนพุทธศาสนา  เข้าใจ และเชื่อทันทีว่า ขันธ์ห้า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตนในจิต ไม่มีจิตในตน จิตเป็นอนัตตา พอแกรู้ในระดับจิตแล้ว แกก็นั่งภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่ แกเลือกหมวด อานาปานสติ ภาวนาจนเกิดญาณ แล้วแกก็ป้อนความรู้ที่มี ส่งเข้าไปที่ญาณ ที่เรียกว่า การน้อมจิต เกิดการรู้ในระดับญาณ เกิดวิปัสสนาญาณ รู้ว่า จิตไม่ใช่ตน ครั้งแรกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน  ละสักกายะทิฎฐิได้  เป็นต้น  สมมุตินายคนนี้หัวไม่ดี  ภาวนาอย่างไรก็ไม่บรรลูธรรม เขาก็ปฏิบัติ สติปัฏฐานสี่ อย่างต่องเนื่องเรือยมา น้อมจิตไปเรื่อย จนความรู้ในระดับสัมปชัญญะ รับรู้ไม่เกินเจ็ดปีก็ได้เป็นพระโสดาบันเหมือนกัน ว่ากันตามพระสูตรนะครับ

          ทำไมต้องภาวนา คำตอบก็คือเพื่อให้เกิดความรู้ในระดับญาณ
          เป้าหมายของการภาวนา ก็คือการเกิดวิปัสสนาญาณ ซึ่งถือว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ก็คือการออกจากวัฏสงสาร ออกจากากรเวียนว่ายตายเกิดนั้นเอง
           ถ้าเราไม่อยากออกจากวัฏสงสาร ก็ไม่ต้องภาวนา ถือศีล ให้ทานก็พอ  ผลขางการภาวนา ยังส่งให้เราสามารถบังคับทิศทาง การไปหลังความตายได้อีกด้วย ทำได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องภาวนาเป็นเสียก่อน
             ก่อนภาวนา เราต้องทำความเข้าใจเรื่อง อริยสัจสี่พอสมความ รู้เรื่อง ขันธ์ ความเป็นไตรลักษณ์ เพื่อที่จะนำมา ประกอบการภาวนา เพื่อนำมาป้อนข้อมูลให้กับตัวญาณที่เกิดขึ้น
เข้าเรื่องภาวนา

              การภาวนา ผมจะแนะนำอยู่ สามวิธี คือ การทำอานาปานสติ การดูจิต และการเพ่งกระสิณสี เพราะผมเห็นว่า สามสิ่งนี้เป็นที่นิยม และไม่ยากเกินไป แนะนำพอเป็นแนวความคิดที่จะไปต่อยอดได้อีกมาก
             การภาวนา ก็เหมือนการเล่นเกมส์ ต้องรู้กฎ กติกาและส่วนประกอบต่างๆของอุปกรณ์ที่จะเล่นก่อน ผมเคยกล่าวถึง ปรมัตถะธรรมสี่ ซึ่งประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น ก็หมายถึงส่วนประกอบของแต่ละบุคคล  โดยที่ จิต เจตสิก รูป ก็คือขันธ์ห้า  โดยที่ขันธ์ห้า เป็น สังขตะธรรม มีความเป็นไตรลักษณ์ สามารถปรุงแต่งได้ โดยที่จิต เป็นธรรมชาติรู้ บางท่านก็เรียกง่ายๆว่าเป็นตัวผู้รู้ตัวหนึ่ง  ส่วนนิพพาน ก็คือ ธาตุที่เป็นอสังขตะธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งไม่ได้  นิพพานธาตุ มีอายตนะดังนั้นจึงมีการรับรู้ด้วยเช่นกัน เราเรียกว่า ตัวผู้รู้อีกตัวหนึ่ง เรื่องนี้ผมเคยตั้งกระทู้ ว่ามีตัวผู้รู้ในตัวเราอยู่สองตัว มีผู้มาแย้งอย่างมากมายไม่เป็นไร ผมจะอธิบายว่ามันเกี่ยวกันอย่างไรกับการภาวนา ครับอาจจะยาวสักหน่อย 

               วิธีภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่ ในหมวด อานาปานสติ  ถ้าท่านเคยอ่านหนังสือวิสุทธิมรรค จะเห็นว่า มีกรรมฐานถึง สี่สิบกอง  อานาปานสติก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ที่ผมจะนำเสนอ ก็เป็นอานาปานสติที่เป็นสติปัฏฐานสี่นะครับ จะยกพระสูตรเล็กน้อย โดยที่ท่านสามารถเข้าไปอ่านแบบเต็มๆได้ครับ
“           [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ
หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น.......................”
 
              เพื่อให้สั้น ผมจะเน้นไปที่การปฏิบัติ เท่านั้น
               ในท่อนที่ว่า “เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจ” อันที่จริง น่าจะเป็น หายใจออก มีสติ  หายใจเข้ามีสติ  เพราะอาจจะมากจากการแปลภาษาบาลี เอาอะไรขึ้นก่อนก็ได้ (ตามที่ผมเข้าใจนะครับ)  
               หายใจออก มีสติ  หมายถึง  เมื่อหายใจออก ลมหายใจกระทบปลายจมูก เป็นผัสสะที่จิตจำได้ว่านี้คือลมหายใจออก หายใจเข้าก็เหมือนกัน จิตมีสติ ก็คือจิตจำได้ว่า สภาวธรรมนี้เรียกว่า ลมหายใจเข้า
สติ หมายถึงจิตจำได้ เป็นการรับรู้ของจิต ในทางปฏิบัติ การเอาจิตไปจับที่ลมหายใจออกก็รู้ เข้าก็รู้ อันนี้เรียกว่าจิตมีสติ  จะทำได้กี่รอบละ ก่อนที่จะเกิดการคิดหรือใจลอยฟุ้งออกไป การทำอานาปานสติ โดยที่จิตจับที่ลมหายใจได้อย่างต่อเนื่อง เกิน เจ็ดรอบโดยไม่แวบออกไปถือว่าเก่ง  

             ในหนังสือวิสุทธิมรรค ได้แนะนำว่า เวลาเราเริ่มทำอานาปานสติใหม่ๆ ถ้ายากที่จะทำให้จิตนิ่งอยู่กับลมหายใจ ท่านให้นับตัวเลขกำกับ หายใจออกนับหนึ่ง หายใจเข้านับหนึ่ง หายใจออกนับสอง หายใจเข้านับสอง ไปจนถึงนับสิบ แล้ววนย้อนคือมาถึง หนึ่งใหม่

             ต่อมาท่อนที่สอง “เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น  “

        นั้น มีความหมายอย่างไร  หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว  จะเป็นการฝึกมีสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะหมายถึงอะไรมีการแปลว่า รู้สึกตัว  อย่างที่ผมเคยบอกว่า ตัวผู้รู้ในตัวเรามีสองตัว คือจิต และตัว นิพพานธาตุ สัมปชัญญะก็คือ การรับรู้ของตัวนิพพานธาตุนั้นเอง ในพระสูตรมีการกล่าวว่า ถ้าเป็นในปุถุชนอย่างเรา ก็จะเป็น อวิชชาธาตุ  ต่างจากพระอรหันต์จะเป็นวิชชาธาตุ เพราะได้ตรัสรู้แล้วนั้นเอง
การรู้สึกตัว เช่นรู้ลมสั้น รู้ลมยาว รู้ตัวทั่วพร้อม ถ้าเราภาวนาไปเรื่อยๆ เราก็จะแยกออกว่า ความรู้สึกสองอันนี้ไม่เหมือนกัน

        การรู้ของจิต คิดได้ ปรุงแต่งได้ การรู้ของสัมปชัญญะ ไม่สามารถคิดได้มันจะสักแต่ว่ารู้เท่านั้น
ภารกิจแรกนี้ ก็คือการ ทำสติ และสัมปชัญญะ  มีสติจากการรู้ลมเข้า รู้ลมออก  มีสัมปชัญญะหลังมีสติ  การที่เรามีสติจับที่ลมหายใจอย่างเดียวโดยไม่ฝึกสร้างสัมปชัญญะ ก็จะไม่เรียกว่าสติปัฏฐาน   การมีสัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นญาณ  การมีสติที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นสมาธิ หรือที่เรียกว่าจิตตั้งมั้น

            ภารกิจแรกนี้ยากมากๆครับ แต่มันเป็นสิ่งที่ท้าทาย เป็นสิ่งที่สักวันหนึ่งเมื่อท่านไร้เพื่อน อยู่คนเดียววันนั้น การภาวนานี้อาจจะทำให้ท่านมีความสุข 
อีกอย่างหนึ่งสมมุติว่าเราเก่งสามารถทำสติจนเป็นสมาธิระดับหนึ่งอาจมีวิปัสสนูปกิเลส  ก็คืออาจเห็นสิ่งแปลกๆ  อันนี้สบายมาก ถ้าท่านฝึกสัมปชัญญะควบคู่กันมาอย่างต่อเนื่อง ท่านต้องเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งที่จิตปรุงแต่งล้วนเป็นมายา  หาได้เป็นของจริงไม่ ก็เหมือนเราฝัน ก็ล้วนเกิดจาก จิตสังขาร แม้แต่จิตกรวาดภาพเขาไม่เคยเห็นปีศาจ ก็ยังวาดได้ เมื่อมีสัมปชัญญะ ก็จะได้บอกตัวเองว่านั้น เป็นของไม่จริงสิ่งนั้นก็จะหายไป   ถ้าท่านไม่ฝึกสัมปชัญญะ ท่านหลงว่าสิ่งนั้นเป็นจริง แล้วก็จะกลายเป็นบ้า
 
                 ผมอยากให้มือใหม่ อันที่จริงผมก็ระดับเดียวกับมือใหม่นั้นแหละครับ  อยากให้มือใหม่ เข้าใจว่า สัมปชัญญะคืออะไร เอาให้มันแน่น เราก็ต้องมาฝึก การดูจิต ควบคู่กับอานาปานสติ

            การดูจิต อันนี้ต้องขอบคุณหลวงพ่อ พระอาจารย์ปราโมทย์ ครับ ผมเรียนจาก รุ่นโหลดลง ซีดี โน้นแหละ เดียวนี้ เป็นไฟล์หมดแล้ว
การดูจิต วิธีฝึก เขาบอกว่า ให้เกาะที่ลมหายใจเบาๆ  พอจิตเปลี่ยนไป เช่น ใจลอย ก็คือหลง ก็พยายามฝึกจำอาการทีเปลี่ยนไปนี้ ต้องพยายามจำให้ได้ อาจจะหลายๆครั้ง จนกระทั่ง เมื่อใจลอย จิตจะเอ๊ะ ขึ้นมาเอง เรียกว่า มีสติรู้ว่าใจลอย ขณะมีสติ สัมปชัญญะจะตามมาทันที่ เราจะรู้สึกตัวว่าขณะนี้เราใจลอย
              จิตที่เปลี่ยนไปนี้ มีหลายอย่าง เช่น จิตโกรธ ขณะที่เราไม่ชอบสิ่งได ทะเลาะกับใคร โดนด่า เป็นต้นจิตเราก็จะโกรธ อาการนี้จะแรงกว่าใจลอย เราก็สามารถพยายามจำอาการนี้ให้ได้ และจิตมีความโลภ เกิดความอยากได้โน้น อยากได้นี้ ก็เหมือนกัน อยากพูด อยากเถียง  จิตโลภค่อนข้างจะกระตุกให้เกิดสติไม่แรงแต่ก็ต้องฝึก จนกระทั่ง จิตเกิดจำได้ เมื่อเกิดอาการ จิตมีโลภะ โทสะ โมหะ  จิตก็จะมีสติ และตามด้วยรู้สึกตัว

                การดูจิตจะทำให้เราเขาใจคำว่า สติ และสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น ตามความคิดผม เชื่อว่า การที่เราตามดูจิตที่ฟุ้งซ่านอย่างเดียว โดยไม่ทำสมาธิจิต ก็ไม่ถูก จิตทีเป็นสมาธิ จะทรงพลังในการน้อมจิตมากกว่า  ดังนั้นการทำอานาปานสติ ควรเป็นหลัก และมีการดูจิตเป็นส่วนประกอบเป็นบางครั้ง ขอดีของการดูจิต ก็จะทำให้เราเข้าใจ คำว่า สติคืออะไร สัมปชัญญะคืออะไร

               ผมอยากแนะนำอีกอันหนึ่ง ก็คือการ เพ่งกสิณสี  อันนี้ต้องศึกษาจากเวบกสิณ ท่านลองไปฝึกตามยูทูปนี้ เพราะผมเห็นว่าดีมากๆเลยครับ (https://www.youtube.com/watch?v=TE0otK1u6MQ)
อย่างผมเคยลองฝึก จะเห็นชัดและเข้าใจอย่างแท้เลยว่า คำว่า จิตเป็นสมาธินั้น เป็นอย่างไร เช่นขณะที่เราเพ่งกสิณสีแดง หลับตา แล้วจะเห็นวงกลมสีเขียวอ่อนๆ  มันเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นแล้วจิตจำได้ นั้นหมายถึงจิตมีสติ ตราบไดที่วงกลมนั้นขณะหลับตายังเห็นอยู่นั้นหมายถึงว่า จิตเรามีสติต่อเนื่อง เป็นสมาธิ ลองเปรียบเที่ยบกับการทำสมาธิจากอานาปานสติ เท่าที่ผมทดลอง ได้นานพอๆกัน หายใจเจ็ดครั้ง ใจไม่แวบลอย ดูกสินก็ประมาณเวลาเท่ากัน
การเพ่งกสิณ เป็นเรื่องสติล้วนๆ ไม่มีสัมปชัญญะเลย ดังนั้น การทำวิปัสสนา จึงเอามาเป็นตัวหลักไม่ได้ เพราะการทำวิปัสสนาต้องภาวนาให้เกิดญาณ ตัวญาณเกิดจากสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

                    การเพ่งกสิณ มีคุณประโยชน์อย่างมากสำหรับศึกษาว่า จิตเป็นสมาธิ นั้น หมายถึงอะไร ไม่ใช่นั่งภาวนา หลายๆชั่วโมง ถามว่า จิตเป็นสมาธิหรือเปล่า มีอะไรเป็นตัวมอนิเตอร์ ถ้าเราเป็นนักภาวนา บางท่านให้ทำอานาปานสติ ควบกับการทำกสิณ  กสิณส่งให้จิตเป็นสมาธิเร็ว  ต่อไปก็ทำอานาปานสติ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ เพราะถ้าทำแต่กสิณ เมื่อฝึกจนเกิดสมาธิที่สูงขึ้น ก็อาจจะมี นิมิต สิ่งหลอน ถ้าเรามีอานาปานสติ เราก็รู้สึกตัว และปัดทิ้งสิ่งที่เป็นภาพหลอน เพราะเหล่านี้เป็นวิปัสนูปกิเลส เป็นเพียงจิตสังขารนั้นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่