อานาปานสติ อธิบายวิธีทำให้ถูกต้องได้อย่างไร
การทำอานาปานสติ นั้น มีการอธิบายกับแบบชาวบ้านๆ ให้คนอย่างคนทั่วไปนำไปปฏิบัติกันได้อย่างไร ผมจะลองโยนหินถามทางเผื่อมีท่านผู้รู้มาอธิบาย จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น โดยการฟังมุมมองต่างๆ เป็นสิ่งที่ดีกว่าคิดเองเออเอง ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
ก่อนอื่นก็ต้องนอบน้อมพระสูตรมาเป็นตัวตั้งก่อน ว่าอันนี้คือพระอาจารย์ต้นฉบับของเรา
“จาก อานาปานสติสูตร
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ”
ถ้าเราจะเอาบทนี้เป็นตำรา เมื่อกางตำราแล้วทำตาม ก็ไม่รู้ว่าจะเข้าใจถูกหรือเปล่า แต่ถ้าท่านไดเคยปฏิบัติอย่างไร ช่วยแนะนำด้วย ส่วนผมจะนำร่องไปก่อนผิดถูก ก็ค่อยว่ากัน ถ้าไม่ถูก ก็เชิญแนะนำวิธีตามเวอร์ชันของแต่ละคนก็แล้วกัน
ผมจะแบ่งเป็นท่อนๆ
1 “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า”
- คือ ในปัจจุบันก็คงเพียงแต่หาที่สงบเงียบ ไม่มีสิ่งรบกวน นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง
2. “เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น”
อันนี้ สร้างสติ จากลมหายใจเข้าออก
สติ ก็คือเจตสิกที่ สติ ซึ่งแปลว่า ความระลึกได้ การสร้างสติจากการที่ลมหายใจเข้า ออก แล้วระลึกได้ว่า นี้คือลมหายใจเข้า นี้คือลม หายใจออก
การรู้ชัดว่า หายใจออกยาว หายใจเข้ายาว หายใจออกสั้น หายใจเข้าสั้น ก็คือการสร้างสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะ ไม่ใช่เจตสิก
มีบางคนกล่าวว่า สัมปชัญญะคือเจตสิกที่ 52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ แปลว่า ความรู้เข้าใจ ไม่หลง ถ้านำมาประกอบจิต ก็คือจิตที่รู้ จิตที่ไม่หลง
สัมปชัญญะ ก็คือสัมปชัญญะ ถ้าปัญญินทรีย์คือสัมปชัญญะ ท่านคงไม่ บัญญัติ ขึ้นมาอีกชื่อหนึ่งแหละ
สัมปชัญญะคือ การรู้สึกตัว คือการรู้ชัด เน้นให้รู้ชัด รู้สึกตัวว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นในขณะปัจจุบันนี้
สัมปชัญญะ คือ การรู้สึกตัว ตัวก็คือกริยาของ นิพพานธาตุ บางท่านคงแย้งว่าไม่มีตัว ไม่มีก็ได้แต่ขอยืมคำกล่าวว่าตัวก่อน นิพพานธาตุก็คือนามธาตุที่อยู่ในตัวเรานี้แหละ
การภาวนาจะภาวนาคู่ มีทั้งสติ ตามด้วยสัมปชัญญะ ลมหายใจเข้ามีสติ ตามด้วยรู้ชัดว่า ขณะนี้ลมเป็นลักษณะอย่างไร เรียกว่ามีสัมปชัญญะ
สลับกัน มีสติ คือจิตระลึกได้ ตามด้วยสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้น รู้ชัดว่าลักษณะลมเป็นเช่นไร สติที่ตามด้วยสัมปชัญญะ จึงจะเป็นสัมมาสติ
สัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่อธิบายยากมากๆ ส่วนตัวผม ผมแยกออก ระหว่าง สติ กับสัมปชัญญะ ผู้ที่ทำอานาปานสติต้องแยกออกให้ได้
ขั้นตอนนี้ จะฝึกกันยาวนาน หลายวัน หลายเดือน หรือเป็นปี จนชำนาญ เมื่อมีเวลาว่างก็จะฝึกไปเรื่อยๆ ถ้าใจลอยก็ดึงกลับมา
ถ้าทำได้ชำนาญแล้ว เมื่อมาปฏิบัติจริง สติที่ต่อเนื่อง จับที่ลมหายใจไม่ฟุ้งซ่าน ก็จะเข้าสู่สมาธิ สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นญาณ
3. “สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้าว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า”
- อันนี้ เมื่อ สัมปชัญญะมีอย่างต่อเนื่องแล้ว เราก็จะยกขึ้นมาเป็นผู้ดู ดูกายนั่งหายใจอยู่ ดูจิตที่มีสติกับลมหายใจอยู่ จะเห็นกองลมทั้งปวงผ่านเข้าออก ด้วยสัมปชัญญะ
4. “สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น
หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า”
- เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 2 ที่ 3 แล้ว จนจิตเป็นสมาธิ ก็เข้าสู่ระดับฌาน
สติที่ต่อเนื่องก็เป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ นิวรณ์ห้าก็ดับลง เกิดจิตที่มี ปีติ สุข เอกกัคคตา
การภาวนาแบบคู่ มีทั้งสติ และสัมปชัญญะ ตัวสัมปชัญญะ ก็จะเป็นตัวกำหนดรู้ว่าขณะนั้น จิต มี ปีติก็รู้ จิตมี สุขก็รู้ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฐมฌาน สัมปชัญญะก็จะกลายเป็นญาณ
ตัวจิต จะเป็นตัวน้อมจิต น้อมจิตให้ตั้งจิตให้ร่าเริง ตั้งจิตมั่น
5. “สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า”
- เมื่อถอนออกจากฌาน ก็เอาญาณ ตามดูความไม่เที่ยงในองค์ฌาน จนเกิดวิปัสสนาญาณ รู้ชัดว่า สุขก็ไม่เที่ยง ปีติก็ไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยง สิ่งไดไม่ เที่ยงก็ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน
ตอนนี้ก็จะเรียกว่าเกิดการตรัสรู้ธรรม
6. “สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า”
- เมื่อตรัสรู้ธรรม จิตก็จะคลายกำหนัด เราก็คือตน ตนก็คือญาณ ตามดู ตามรู้
ว่า จิตมีความดับกิเลส การสละคืนกิเลส
- ไม่ใช่เอาจิตตามดูจิต เอาตน ตามดู
ตามที่ผมได้กล่าวเป็นเพียงว่าผมเข้าใจอย่างนี้ ต้องปฏิบัติอย่างนี้ เขียนมาเพื่อเป็นการโยนหินถามทาง ถ้าอย่างไรมีแนวที่จะเข้าใจที่ถูกต้องก็ขอคำแนะนำทุกท่านผู้รู้ครับ
ผมเข้าใจว่า ขั้นตอนที่ 2 คือการสร้างสติ และสัมปชัญญะ จนไปสู่ระดับการเข้าฌานเป็นสิ่งที่ยากมาก ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆ เมื่อว่างจากงาน หรือไม่ว่าจะนั่งรอรถ รถคน จะหลับตาลืมตา ไม่ว่าจะนั่ง หรือจะนอน ถ้าได้โอกาสก็ ฝึกไปเรื่อยๆ ให้จิตมีสติ ตามด้วยสัมปชัญญะรู้สึกตัวเสมอ
การหายใจ กล้ามเนื้อที่บังคับการหายใจมีสองระบบ คือในอำนาจจิตใจ และนอกเหนืออำนาจจิตใจ เช่นตอนเราหลับ ก็หายใจเป็นอัตโนมัติ(โดยไม่ได้บังคับด้วยจิตใจ) การทำอานาปานสติก็พยายามเอาลมหายใจที่กายหายใจได้เองเป็นอัตโนมัตินั้นแหละ ส่วนจุดสัมผัสของลมกระทบ ก็แล้วแต่บางอาจารย์ ส่วนในพระสูตรมิได้อธิบายไว้คงเปิดกว้างๆ แต่เท่าที่ฟังมาท่านไม่ให้ตามลมเข้าไป รู้ ณ จุดเดียว บางท่านบอกว่า เอายาดมทางจมูกก็ช่วยได้
ถึงในชีวิตนี้อาจจะทำองค์ฌานไม่ได้เลยเพราะยากมากๆ เราก็วกกลับมาตามคำสอนที่ว่า “พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้” ตามหลักสติปัฏฐานสี่ เจ็ดปี ก็ได้โสดาปัตติผล
อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่มีสติสัมปชัญญะ ที่นิ่งอยู่ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของจิต เห็นกาย มีลักษณะที่มีการทำงานได้เองเปลี่ยนแปลงเอง เช่นจิตคิดได้เอง เห็นลักษณะความเป็นอนัตตา นั้นเอง
อานาปานสติ อธิบายวิธีทำให้ถูกต้องได้อย่างไร
ก่อนอื่นก็ต้องนอบน้อมพระสูตรมาเป็นตัวตั้งก่อน ว่าอันนี้คือพระอาจารย์ต้นฉบับของเรา
“จาก อานาปานสติสูตร
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ”
ถ้าเราจะเอาบทนี้เป็นตำรา เมื่อกางตำราแล้วทำตาม ก็ไม่รู้ว่าจะเข้าใจถูกหรือเปล่า แต่ถ้าท่านไดเคยปฏิบัติอย่างไร ช่วยแนะนำด้วย ส่วนผมจะนำร่องไปก่อนผิดถูก ก็ค่อยว่ากัน ถ้าไม่ถูก ก็เชิญแนะนำวิธีตามเวอร์ชันของแต่ละคนก็แล้วกัน
ผมจะแบ่งเป็นท่อนๆ
1 “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า”
- คือ ในปัจจุบันก็คงเพียงแต่หาที่สงบเงียบ ไม่มีสิ่งรบกวน นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง
2. “เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น”
อันนี้ สร้างสติ จากลมหายใจเข้าออก
สติ ก็คือเจตสิกที่ สติ ซึ่งแปลว่า ความระลึกได้ การสร้างสติจากการที่ลมหายใจเข้า ออก แล้วระลึกได้ว่า นี้คือลมหายใจเข้า นี้คือลม หายใจออก
การรู้ชัดว่า หายใจออกยาว หายใจเข้ายาว หายใจออกสั้น หายใจเข้าสั้น ก็คือการสร้างสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะ ไม่ใช่เจตสิก
มีบางคนกล่าวว่า สัมปชัญญะคือเจตสิกที่ 52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ แปลว่า ความรู้เข้าใจ ไม่หลง ถ้านำมาประกอบจิต ก็คือจิตที่รู้ จิตที่ไม่หลง
สัมปชัญญะ ก็คือสัมปชัญญะ ถ้าปัญญินทรีย์คือสัมปชัญญะ ท่านคงไม่ บัญญัติ ขึ้นมาอีกชื่อหนึ่งแหละ
สัมปชัญญะคือ การรู้สึกตัว คือการรู้ชัด เน้นให้รู้ชัด รู้สึกตัวว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นในขณะปัจจุบันนี้
สัมปชัญญะ คือ การรู้สึกตัว ตัวก็คือกริยาของ นิพพานธาตุ บางท่านคงแย้งว่าไม่มีตัว ไม่มีก็ได้แต่ขอยืมคำกล่าวว่าตัวก่อน นิพพานธาตุก็คือนามธาตุที่อยู่ในตัวเรานี้แหละ
การภาวนาจะภาวนาคู่ มีทั้งสติ ตามด้วยสัมปชัญญะ ลมหายใจเข้ามีสติ ตามด้วยรู้ชัดว่า ขณะนี้ลมเป็นลักษณะอย่างไร เรียกว่ามีสัมปชัญญะ
สลับกัน มีสติ คือจิตระลึกได้ ตามด้วยสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้น รู้ชัดว่าลักษณะลมเป็นเช่นไร สติที่ตามด้วยสัมปชัญญะ จึงจะเป็นสัมมาสติ
สัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่อธิบายยากมากๆ ส่วนตัวผม ผมแยกออก ระหว่าง สติ กับสัมปชัญญะ ผู้ที่ทำอานาปานสติต้องแยกออกให้ได้
ขั้นตอนนี้ จะฝึกกันยาวนาน หลายวัน หลายเดือน หรือเป็นปี จนชำนาญ เมื่อมีเวลาว่างก็จะฝึกไปเรื่อยๆ ถ้าใจลอยก็ดึงกลับมา
ถ้าทำได้ชำนาญแล้ว เมื่อมาปฏิบัติจริง สติที่ต่อเนื่อง จับที่ลมหายใจไม่ฟุ้งซ่าน ก็จะเข้าสู่สมาธิ สัมปชัญญะที่ต่อเนื่องก็จะกลายเป็นญาณ
3. “สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้าว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า”
- อันนี้ เมื่อ สัมปชัญญะมีอย่างต่อเนื่องแล้ว เราก็จะยกขึ้นมาเป็นผู้ดู ดูกายนั่งหายใจอยู่ ดูจิตที่มีสติกับลมหายใจอยู่ จะเห็นกองลมทั้งปวงผ่านเข้าออก ด้วยสัมปชัญญะ
4. “สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น
หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า”
- เมื่อผ่านขั้นตอนที่ 2 ที่ 3 แล้ว จนจิตเป็นสมาธิ ก็เข้าสู่ระดับฌาน
สติที่ต่อเนื่องก็เป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ นิวรณ์ห้าก็ดับลง เกิดจิตที่มี ปีติ สุข เอกกัคคตา
การภาวนาแบบคู่ มีทั้งสติ และสัมปชัญญะ ตัวสัมปชัญญะ ก็จะเป็นตัวกำหนดรู้ว่าขณะนั้น จิต มี ปีติก็รู้ จิตมี สุขก็รู้ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฐมฌาน สัมปชัญญะก็จะกลายเป็นญาณ
ตัวจิต จะเป็นตัวน้อมจิต น้อมจิตให้ตั้งจิตให้ร่าเริง ตั้งจิตมั่น
5. “สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า”
- เมื่อถอนออกจากฌาน ก็เอาญาณ ตามดูความไม่เที่ยงในองค์ฌาน จนเกิดวิปัสสนาญาณ รู้ชัดว่า สุขก็ไม่เที่ยง ปีติก็ไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยง สิ่งไดไม่ เที่ยงก็ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน
ตอนนี้ก็จะเรียกว่าเกิดการตรัสรู้ธรรม
6. “สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า”
- เมื่อตรัสรู้ธรรม จิตก็จะคลายกำหนัด เราก็คือตน ตนก็คือญาณ ตามดู ตามรู้
ว่า จิตมีความดับกิเลส การสละคืนกิเลส
- ไม่ใช่เอาจิตตามดูจิต เอาตน ตามดู
ตามที่ผมได้กล่าวเป็นเพียงว่าผมเข้าใจอย่างนี้ ต้องปฏิบัติอย่างนี้ เขียนมาเพื่อเป็นการโยนหินถามทาง ถ้าอย่างไรมีแนวที่จะเข้าใจที่ถูกต้องก็ขอคำแนะนำทุกท่านผู้รู้ครับ
ผมเข้าใจว่า ขั้นตอนที่ 2 คือการสร้างสติ และสัมปชัญญะ จนไปสู่ระดับการเข้าฌานเป็นสิ่งที่ยากมาก ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆ เมื่อว่างจากงาน หรือไม่ว่าจะนั่งรอรถ รถคน จะหลับตาลืมตา ไม่ว่าจะนั่ง หรือจะนอน ถ้าได้โอกาสก็ ฝึกไปเรื่อยๆ ให้จิตมีสติ ตามด้วยสัมปชัญญะรู้สึกตัวเสมอ
การหายใจ กล้ามเนื้อที่บังคับการหายใจมีสองระบบ คือในอำนาจจิตใจ และนอกเหนืออำนาจจิตใจ เช่นตอนเราหลับ ก็หายใจเป็นอัตโนมัติ(โดยไม่ได้บังคับด้วยจิตใจ) การทำอานาปานสติก็พยายามเอาลมหายใจที่กายหายใจได้เองเป็นอัตโนมัตินั้นแหละ ส่วนจุดสัมผัสของลมกระทบ ก็แล้วแต่บางอาจารย์ ส่วนในพระสูตรมิได้อธิบายไว้คงเปิดกว้างๆ แต่เท่าที่ฟังมาท่านไม่ให้ตามลมเข้าไป รู้ ณ จุดเดียว บางท่านบอกว่า เอายาดมทางจมูกก็ช่วยได้
ถึงในชีวิตนี้อาจจะทำองค์ฌานไม่ได้เลยเพราะยากมากๆ เราก็วกกลับมาตามคำสอนที่ว่า “พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้” ตามหลักสติปัฏฐานสี่ เจ็ดปี ก็ได้โสดาปัตติผล
อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่มีสติสัมปชัญญะ ที่นิ่งอยู่ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของจิต เห็นกาย มีลักษณะที่มีการทำงานได้เองเปลี่ยนแปลงเอง เช่นจิตคิดได้เอง เห็นลักษณะความเป็นอนัตตา นั้นเอง