หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 3.1

อนุสสติ 5 ตอนที่ 3

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศิล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไป ขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบไว้ว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นยังไง ส่วนใหญ่ของคนทั้งหลายมักจะมีครามรู้สึกว่า คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน คือสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา พอเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมด นั่นเป็นความรู้สึกผิดของท่านที่มีความคิดอย่างนั้น

ความจริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ทรงจิดเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ สำหรับอัปปนาสมาธินี้ สำหรับอารมณ์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 8 อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ 5 ประการ แต่ก็เป็นเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาท จิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมายในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสมา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนมยิทธิก็ดี ให้อภิญญา 5 ในอภิญญาหกก็ดี ได้สองในวิชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะตัดอบายภูมิได้จริง ๆ ก็คือตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน ฉะนั้นพระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างหยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ

1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าอัตภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เจพาะอย่างยิ่งในสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย นี่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อยและก็มีปัญญาเล็กน้อย คำว่ามีสมาธิเล็กน้อย คืออารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแค่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้

สำหรับที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถจะตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ตายแน่ เหมือนกับที่ เปสการี มีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ตรัสว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ว่าความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี นี่ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิที่มีอยู่จุดนี้ เข้าใจไว้ด้วย

มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีความรู้สึก ร่างกายยังมีจิตเป็นเครื่องรักษา ร่างกายยังมีวิญญาณผู้การสัมผัส ถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน

นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้วมีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราจะต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไปกำหนดอายุการตาย ว่าต้องอายุเท่านั้นเท่านี้ จะตายตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรือความเป็นหนุ่มเป็นสาวความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำ ก็เอาแน่นอนไม่ได้

ฉะนั้นพระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่ทว่าเราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์นั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เป็นอันดับที่ 2 ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ 2 ได้คือความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อว่าความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญาที่พิจารณาหาความจริงว่า พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข

และอันดับ 3 สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่าฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้ทรงธารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ที่กล่าวมานี้หมายถึงว่า สังโยชน์ 3 ประการ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้

นี่ก็ขอพูดกันต่อไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จากโลกียะเป็นโลกุตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โคตรภูญาณ ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาน คำว่าโคตรภูญานนี่ก็หมายความว่าจิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในช่วงระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ แต่ทว่าอารมณ์จิตตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า มนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว  หรือพรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็ต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้าง บางรายก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขต ทั้ง 3 จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ

จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ ใจมีความต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพานเป็นปาติ แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันต็มที่ ที่เรียกกันว่า พระโสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันเป็นของธรรมดา การนินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตตัวนี้จะมีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ทว่าธรรมดาของพระโสดาบัน ยังอ่อนกว่าธรรมดาของพระอรหันต์มาก

ฉะนั้นท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่าท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบัน ก็คือชาวบ้านธรรมดา

แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบัน อยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณ มีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยา ในตอนนั้นพระโสดาบันจะมีความซื่อสัตย์สุจริตกับสามีและภรรยาชองตนเอง ยอมเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน จะไม่นอกใจลามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจารจะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข

และประการที่ 2 พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้เป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่านอยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย นี่แตกต่างกับคนธรรมดาตรงนี้

มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 2 อนุสสติ 5 ตอนที่ 3.2 https://ppantip.com/topic/43277149
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่