อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 10.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ก็เป็นวาระที่ท่านทั้งหลายจะเริ่มใช้อารมณ์จิตของท่านให้เป็นประโยชน์ เพื่อตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน สำหรับเมื่อวันวานนี้ กระผมได้พูดถึงเรื่องของ
นิพพิทาญาณ ในหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐาน ความจริงก็ยังไม่จบ แต่ทว่าจะขอย้อนรอยถอยหลังสักนิดหนึ่ง ว่าการเจริญพระกรรมฐานที่จะให้ได้ดี ไม่ใช่ว่าเราจะตั้งหน้าตั้งตาทำแต่สมาธิอย่างเดียว หรือว่าจะทำแต่วิปัสสนาญาณอย่างเดียว ถ้าทำแบบนี้ไม่มีผล
การที่จะปฏิบัติให้มีผลจริงๆ นั่นก็คือต้องมีอารมณ์สำรวมอยู่เสมอ คำว่า
สำรวม ก็ได้แก่
การระมัดระวัง คือ
1. ระวังศีลอย่าให้บกพร่อง
2. ระวังสมาธิอย่าให้เคลื่อน
3. ระวังปัญญาอย่าให้ใช้ไปในด้านของอกุศล
ถ้าท่านทั้งหลายระวังอยู่อย่างนี้เป็นปกติ ผลแห่งการปฏิบัติไม่เป็นของยาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิบาท 4 คือ
ฉันทะ มีความพอใจในอารมณ์กรรมฐานที่เราจะพึงปฏิบัติ
วิริยะ มีความขยันหมั่นเพียร รุกไล่กิเลสให้มันพินาศไป
จิตตะ สนใจในเรื่องการเจริญกรรมฐานโดยตรง
วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาควบคุมจิต ว่าเวลานี้จิตของเราตกอยู่ในสภาวะอะไร ตกอยู่ในสภาพของกุศลหรืออกุศล
เป็นอันว่า ถ้าท่านทั้งหลายมีอิทธิบาท 4 ครบถ้วน การเจริญกรรมฐานเป็นของไม่ยาก และประการต่อไปก็คือ การเข้าใจฟัง ฟังแล้วคิด คิดแล้วทดลองในการปฏิบัติ การทดลองในการปฏิบัติต้องเป็นการทดลองอย่างจริงจัง ไม่ใช่การทำเล่น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายทำได้อย่างนี้เป็นปกติ ก็เป็นอันว่าการเจริญกรรมฐานเป็นเรื่องเล็กไม่ใช่เรื่องใหญ่
ต่อนี้ไปก็จะขอเตือนบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย ว่าการเจริญกรรมฐานที่ดีจริงๆ เราต้องมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ อย่าใช้อารมณ์ที่เป็นอกุศลภายนอก กายวาจาให้อยู่ในธรรม อย่าทำกายวาจาเข้าไปถึงด้านอกุศล นั่นแสดงว่าจิตมันเลว ถ้าจิตดี กายวาจามันก็ดี ถ้าจิตเลว กายวาจามันก็เลว เราเกิดมาเวลานี้เราต้องการความดี หรือว่าต้องการความเลว ถ้าเราต้องการความดีก็พยายามทรงความดีไว้ เอาจิตใจคุมไว้ในด้านของความดี วิธีปฏิบัติพระกรรมฐานให้ใช้อารมณ์พิจารณากับอารมณ์ทรงตัว สลับกันไป
วันนี้จะพูดถึง
สังขารุเปกขาญาณ วิธีทรงตัวก็คือควบคุมอารมณ์ใจให้เป็นสมาธิตามที่ท่านปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมวดนี้เป็นหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐาน แล้วก็อานาปานุสสติกรรมฐานนี่ ท่านจะทำกรรมฐานหมวดใดก็ตาม จะต้องใช้อานาปานุสสติกรรมฐานขึ้นต้นไว้เสมอ ถ้าหากว่าท่านทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเมื่อไร นั่นหมายความว่ากรรมฐานของท่านจะสลายตัว คือศีลก็ไม่ทรงตัว ศีลที่ทรงตัวเขาเรียกว่า
สีลานุสสติกรรมฐาน สมาธิก็ไม่ทรงตัว สมาธิทรงตัวเขาเรียกว่า
จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณมันก็ไม่เกิด นี่เราจะต้องคุมอารมณ์สมาธิ วิธีการคุมอารมณ์สมาธิ ก็มีถึง 2 แบบ
แบบที่ 1 คือการทรงอารมณ์จิตให้หยุด คำว่า หยุด หมายความว่า ใช้คำภาวนา หรือว่ากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ โดยไม่คิดถึงอารมณ์อื่นใดอย่างนี้เรียกว่า ทรงให้หยุด และสมาธิในด้านของการหยุด คือจิตมันหยุดคิดเรื่องอื่น คิดเฉพาะกิจที่เราจะพึงกระทำ คือคิดถึงคำภาวนา คิดถึงลมหายใจเข้าออกโดยเฉพาะคำว่าหยุดนี้ไม่ใช่หยุดเลย หยุดอารมณ์อื่น คือทรงอารมณ์ไว้โดยเฉพาะ นี่เป็นแบบหนึ่ง
อีกแบบหนึ่งก็ใช้ในการพิจารณา ในด้านกรรมฐานที่จะพึงมีสำหรับการภาวนา หรือว่าด้านวิปัสสนาญาณ คือพิจารณานะครับ ไม่ใช่ภาวนา พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุหาผลเพื่อการละ เมื่อการพิจารณามันเฟื่องเกินไปจิตจะฟู จะออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งการพิจารณาเสีย หันเข้ามาจับอารมณ์หยุด คืออานาปานุสสติควบกับคำภาวนา ว่ายังไงก็ได้ตามใจท่าน จนกระทั่งจิตทรงอารมณ์ตัวดีแล้ว ก็มีความเยือกเย็นดี คลายอารมณ์มาใช้การพิจารณา ถ้าทำสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ความเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นของไม่ยาก อย่าลืมว่าทุกท่านต้องมีอิทธิบาท 4 ครบถ้วน
วันนี้ขอย้อนรอยถอยหลังไปหานิพพิทาญาณสักนิดนึง ความจริงวิปัสสนาญาณนี่มี 9 แต่ผมนำมาพูดกับพวกท่านเพียง 2 ก็เพราะว่าเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่หนัก แล้วก็มีความสำคัญน้อย ความสำคัญใหญ่ในด้านการปฏิบัติเราก็จับนิพพิทาญาณให้ได้
วันนี้พูดกันถึงว่า
สกิทาคามีมรรค ในด้านของกามฉันทะ เราหาทางตัดกามคุณโดยอารมณ์ที่เห็นว่า รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศเป็นของดี เรามานั่งพิจารณากันดูว่า มันดีจริงๆ หรือว่ามันเลว สิ่งที่เราปรารถนานั่นคืออะไร สิ่งที่เราปรารถนาจริงๆ คือ ความผ่องใสของรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส รูปสวยเราชอบ เสียงเพราะ เสียงที่ไพเราะเป็นประโยคจับใจเราชอบ กลิ่นหอมเราชอบ รสอร่อยเราชอบ สัมผัสเป็นที่ถูกใจ เราชอบ แต่ว่าสิ่งที่เราชอบนั้น มันทรงตัวหรือเปล่า มันจะทรงตัวสวยสดงดงามอยู่ตามนั้น มันจะหอมหวลยวนใจอยู่ตามนั้น มันจะมีรสอร่อยในการสัมผัสอยู่ตามนั้น มันมีไหม มีอะไรบ้างในการทรงตัวแบบนี้ ในที่สุดเราก็มองเห็นว่ามันไม่มี ไม่มีอะไรทรงตัวเป็นปกติ มันมีการเคลื่อนไปเพื่อสลายตัว รูปสวยเดี๋ยวก็เศร้าหมอง
เสียงเพราะผ่านไป เสียงของบุคคลคนเดียวกัน เดี๋ยวก็เพราะเดี๋ยวก็ไม่เพราะ เวลาเขารักเขาชอบใจเสียงมันก็เพราะ เวลาเขาโกรธ หรือเขาเกลียดเสียงมันก็ไม่เพราะ
กลิ่นก็เช่นเดียวกัน มันจะหอมตลอดกาลตลอดสมัยได้ไหม มันก็หอมไม่ได้ หอมผ่านจมูกไปแล้วก็หายไป ดีไม่ดีเก็บไว้นานๆ กลายเป็นกลิ่นเหม็น
รสที่สัมผัสปลายลิ้นกับกลางลิ้น พอถึงโคนลิ้นมันก็หายไป
การสัมผัสระหว่างเพศ เราปรารถนากันมาก ว่ามันเป็นสุข แต่ดูคนที่เขามีคู่ครองเขาสร้างสุขหรือเขาสร้างทุกข์ ความเป็นอิสระของเราไม่มี ถ้าเรามีคู่ครอง เพราะว่าจะต้องมีความห่วงใยในคู่ครองเป็นปกติ ถ้ามีลูกหลานเหลนขึ้นมาเป็นยังไง และสภาพของบุคคลที่เป็นคู่ครองของเรา เขาจะสาวเขาจะหนุ่มสวยสดงดงามตลอดเวลาหรือเปล่า อย่าลืมมองดูคนแก่บ้าง คนที่แก่น่ะเขาหนุ่มเขาสาวกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ในที่สุดเมื่อสภาพความแก่เกิดขึ้น มันมีสภาวะเป็นยังไง นั่งมองโลกนี้ว่ามันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การมีคู่ครองเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นึกเอาเอง เพราะว่าทุกคนมีปัญญา ว่ากันโดยนัยแล้วไม่มีอะไรทรงตัว มันมีสภาพนำมาซึ่งความทุกข์ แล้วมันน่ารักน่าปรารถนา หรือว่าน่าเบื่อ ใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี
เป็นอันว่าเบื่อ ท่านจะเบื่อหรือไม่เบื่อ แต่ผมเบื่อ ผมถือว่าผมเบื่อแล้ว และก็เบื่อถึงที่สุดของจิต ไม่เคยคิดไม่เคยปรารถนา เพราะว่าเห็นคนก็เหมือนเห็นซากศพ เห็นวัตถุที่มีอาการผ่องใสก็สลดใจ ว่ามันผ่องใสไม่นาน เพราะว่าเห็นมันมามาก ผ่านชีวิตมาหลายสิบปี มีความเข้าใจดีในเรื่องนี้
นี้สำหรับท่านจะเบื่อหรือไม่เบื่อ เมื่อนิพพิทาญาณเกิดขึ้น ก็มีหลายคนอยากจะตาย หากว่าท่านจะถามผมว่าอยากตายไหม เวลานั้นมันอยากตายจริงๆ เห็นคนเลว เบื่อ เห็นสัตว์เลว เบื่อ เห็นวัตถุธาตุทั้งหลาย เบื่อ เห็นบริวารเลวก็สะอิดสะเอียน เห็นเพื่อนเลวก็รังเกียจ รวมความว่าเราหาคนดีกันไม่ได้
คำว่า หาคนดีกันไม่ได้ บางทีเขามีนิสัยดี มีจริยาดี มีจิตซื่อตรง แต่ว่าร่างกายของเขามันไม่ดี ร่างกายของเขามันเดินเข้าไปหาความผุความพัง เดี๋ยวก็เป็นโรคอย่างนั้น เดี๋ยวก็มีอาการอย่างนี้ ความแปรปรวนมันเกิด เลยพบความไม่ดีก็เลยเบื่อ บริษัทบริวารก็เหมือนกัน ทุกคนเขาอาจจะเป็นคนดี แต่เขาเป็นที่พึ่งของเราไม่ได้จริงจัง ไม่ได้ตลอดกาลตลอดสมัย เพราะว่าเขาต้องตกอยู่ในสภาพของ อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง ความทุกข์มันยุ่งกับเขา อนัตตา ในที่สุดเขาก็ตาย เป็นอันว่าที่พึ่งของเราจะพึ่งใครก็ตาม เขาก็แก่ลงไปทุกวัน เขาก็ป่วยทุกวัน เขาก็ตายทุกวัน เป็นอันว่าเราก็จำจะต้องเบื่อ เพราะสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรารัก มันมีสภาพเป็นอย่างนั้น เขาเองก็ไม่อยากจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่ากฎธรรมดามันบังคับ
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 10.2 https://ppantip.com/topic/43133356
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 10.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ก็เป็นวาระที่ท่านทั้งหลายจะเริ่มใช้อารมณ์จิตของท่านให้เป็นประโยชน์ เพื่อตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน สำหรับเมื่อวันวานนี้ กระผมได้พูดถึงเรื่องของ นิพพิทาญาณ ในหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐาน ความจริงก็ยังไม่จบ แต่ทว่าจะขอย้อนรอยถอยหลังสักนิดหนึ่ง ว่าการเจริญพระกรรมฐานที่จะให้ได้ดี ไม่ใช่ว่าเราจะตั้งหน้าตั้งตาทำแต่สมาธิอย่างเดียว หรือว่าจะทำแต่วิปัสสนาญาณอย่างเดียว ถ้าทำแบบนี้ไม่มีผล การที่จะปฏิบัติให้มีผลจริงๆ นั่นก็คือต้องมีอารมณ์สำรวมอยู่เสมอ คำว่า สำรวม ก็ได้แก่ การระมัดระวัง คือ
1. ระวังศีลอย่าให้บกพร่อง
2. ระวังสมาธิอย่าให้เคลื่อน
3. ระวังปัญญาอย่าให้ใช้ไปในด้านของอกุศล
ถ้าท่านทั้งหลายระวังอยู่อย่างนี้เป็นปกติ ผลแห่งการปฏิบัติไม่เป็นของยาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิบาท 4 คือ
ฉันทะ มีความพอใจในอารมณ์กรรมฐานที่เราจะพึงปฏิบัติ
วิริยะ มีความขยันหมั่นเพียร รุกไล่กิเลสให้มันพินาศไป
จิตตะ สนใจในเรื่องการเจริญกรรมฐานโดยตรง
วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาควบคุมจิต ว่าเวลานี้จิตของเราตกอยู่ในสภาวะอะไร ตกอยู่ในสภาพของกุศลหรืออกุศล
เป็นอันว่า ถ้าท่านทั้งหลายมีอิทธิบาท 4 ครบถ้วน การเจริญกรรมฐานเป็นของไม่ยาก และประการต่อไปก็คือ การเข้าใจฟัง ฟังแล้วคิด คิดแล้วทดลองในการปฏิบัติ การทดลองในการปฏิบัติต้องเป็นการทดลองอย่างจริงจัง ไม่ใช่การทำเล่น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายทำได้อย่างนี้เป็นปกติ ก็เป็นอันว่าการเจริญกรรมฐานเป็นเรื่องเล็กไม่ใช่เรื่องใหญ่
ต่อนี้ไปก็จะขอเตือนบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย ว่าการเจริญกรรมฐานที่ดีจริงๆ เราต้องมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ อย่าใช้อารมณ์ที่เป็นอกุศลภายนอก กายวาจาให้อยู่ในธรรม อย่าทำกายวาจาเข้าไปถึงด้านอกุศล นั่นแสดงว่าจิตมันเลว ถ้าจิตดี กายวาจามันก็ดี ถ้าจิตเลว กายวาจามันก็เลว เราเกิดมาเวลานี้เราต้องการความดี หรือว่าต้องการความเลว ถ้าเราต้องการความดีก็พยายามทรงความดีไว้ เอาจิตใจคุมไว้ในด้านของความดี วิธีปฏิบัติพระกรรมฐานให้ใช้อารมณ์พิจารณากับอารมณ์ทรงตัว สลับกันไป
วันนี้จะพูดถึง สังขารุเปกขาญาณ วิธีทรงตัวก็คือควบคุมอารมณ์ใจให้เป็นสมาธิตามที่ท่านปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมวดนี้เป็นหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐาน แล้วก็อานาปานุสสติกรรมฐานนี่ ท่านจะทำกรรมฐานหมวดใดก็ตาม จะต้องใช้อานาปานุสสติกรรมฐานขึ้นต้นไว้เสมอ ถ้าหากว่าท่านทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐานเมื่อไร นั่นหมายความว่ากรรมฐานของท่านจะสลายตัว คือศีลก็ไม่ทรงตัว ศีลที่ทรงตัวเขาเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน สมาธิก็ไม่ทรงตัว สมาธิทรงตัวเขาเรียกว่า จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณมันก็ไม่เกิด นี่เราจะต้องคุมอารมณ์สมาธิ วิธีการคุมอารมณ์สมาธิ ก็มีถึง 2 แบบ
แบบที่ 1 คือการทรงอารมณ์จิตให้หยุด คำว่า หยุด หมายความว่า ใช้คำภาวนา หรือว่ากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ โดยไม่คิดถึงอารมณ์อื่นใดอย่างนี้เรียกว่า ทรงให้หยุด และสมาธิในด้านของการหยุด คือจิตมันหยุดคิดเรื่องอื่น คิดเฉพาะกิจที่เราจะพึงกระทำ คือคิดถึงคำภาวนา คิดถึงลมหายใจเข้าออกโดยเฉพาะคำว่าหยุดนี้ไม่ใช่หยุดเลย หยุดอารมณ์อื่น คือทรงอารมณ์ไว้โดยเฉพาะ นี่เป็นแบบหนึ่ง
อีกแบบหนึ่งก็ใช้ในการพิจารณา ในด้านกรรมฐานที่จะพึงมีสำหรับการภาวนา หรือว่าด้านวิปัสสนาญาณ คือพิจารณานะครับ ไม่ใช่ภาวนา พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุหาผลเพื่อการละ เมื่อการพิจารณามันเฟื่องเกินไปจิตจะฟู จะออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งการพิจารณาเสีย หันเข้ามาจับอารมณ์หยุด คืออานาปานุสสติควบกับคำภาวนา ว่ายังไงก็ได้ตามใจท่าน จนกระทั่งจิตทรงอารมณ์ตัวดีแล้ว ก็มีความเยือกเย็นดี คลายอารมณ์มาใช้การพิจารณา ถ้าทำสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ความเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นของไม่ยาก อย่าลืมว่าทุกท่านต้องมีอิทธิบาท 4 ครบถ้วน
วันนี้ขอย้อนรอยถอยหลังไปหานิพพิทาญาณสักนิดนึง ความจริงวิปัสสนาญาณนี่มี 9 แต่ผมนำมาพูดกับพวกท่านเพียง 2 ก็เพราะว่าเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่หนัก แล้วก็มีความสำคัญน้อย ความสำคัญใหญ่ในด้านการปฏิบัติเราก็จับนิพพิทาญาณให้ได้
วันนี้พูดกันถึงว่า สกิทาคามีมรรค ในด้านของกามฉันทะ เราหาทางตัดกามคุณโดยอารมณ์ที่เห็นว่า รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศเป็นของดี เรามานั่งพิจารณากันดูว่า มันดีจริงๆ หรือว่ามันเลว สิ่งที่เราปรารถนานั่นคืออะไร สิ่งที่เราปรารถนาจริงๆ คือ ความผ่องใสของรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส รูปสวยเราชอบ เสียงเพราะ เสียงที่ไพเราะเป็นประโยคจับใจเราชอบ กลิ่นหอมเราชอบ รสอร่อยเราชอบ สัมผัสเป็นที่ถูกใจ เราชอบ แต่ว่าสิ่งที่เราชอบนั้น มันทรงตัวหรือเปล่า มันจะทรงตัวสวยสดงดงามอยู่ตามนั้น มันจะหอมหวลยวนใจอยู่ตามนั้น มันจะมีรสอร่อยในการสัมผัสอยู่ตามนั้น มันมีไหม มีอะไรบ้างในการทรงตัวแบบนี้ ในที่สุดเราก็มองเห็นว่ามันไม่มี ไม่มีอะไรทรงตัวเป็นปกติ มันมีการเคลื่อนไปเพื่อสลายตัว รูปสวยเดี๋ยวก็เศร้าหมอง
เสียงเพราะผ่านไป เสียงของบุคคลคนเดียวกัน เดี๋ยวก็เพราะเดี๋ยวก็ไม่เพราะ เวลาเขารักเขาชอบใจเสียงมันก็เพราะ เวลาเขาโกรธ หรือเขาเกลียดเสียงมันก็ไม่เพราะ
กลิ่นก็เช่นเดียวกัน มันจะหอมตลอดกาลตลอดสมัยได้ไหม มันก็หอมไม่ได้ หอมผ่านจมูกไปแล้วก็หายไป ดีไม่ดีเก็บไว้นานๆ กลายเป็นกลิ่นเหม็น
รสที่สัมผัสปลายลิ้นกับกลางลิ้น พอถึงโคนลิ้นมันก็หายไป
การสัมผัสระหว่างเพศ เราปรารถนากันมาก ว่ามันเป็นสุข แต่ดูคนที่เขามีคู่ครองเขาสร้างสุขหรือเขาสร้างทุกข์ ความเป็นอิสระของเราไม่มี ถ้าเรามีคู่ครอง เพราะว่าจะต้องมีความห่วงใยในคู่ครองเป็นปกติ ถ้ามีลูกหลานเหลนขึ้นมาเป็นยังไง และสภาพของบุคคลที่เป็นคู่ครองของเรา เขาจะสาวเขาจะหนุ่มสวยสดงดงามตลอดเวลาหรือเปล่า อย่าลืมมองดูคนแก่บ้าง คนที่แก่น่ะเขาหนุ่มเขาสาวกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ในที่สุดเมื่อสภาพความแก่เกิดขึ้น มันมีสภาวะเป็นยังไง นั่งมองโลกนี้ว่ามันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ การมีคู่ครองเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นึกเอาเอง เพราะว่าทุกคนมีปัญญา ว่ากันโดยนัยแล้วไม่มีอะไรทรงตัว มันมีสภาพนำมาซึ่งความทุกข์ แล้วมันน่ารักน่าปรารถนา หรือว่าน่าเบื่อ ใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี
เป็นอันว่าเบื่อ ท่านจะเบื่อหรือไม่เบื่อ แต่ผมเบื่อ ผมถือว่าผมเบื่อแล้ว และก็เบื่อถึงที่สุดของจิต ไม่เคยคิดไม่เคยปรารถนา เพราะว่าเห็นคนก็เหมือนเห็นซากศพ เห็นวัตถุที่มีอาการผ่องใสก็สลดใจ ว่ามันผ่องใสไม่นาน เพราะว่าเห็นมันมามาก ผ่านชีวิตมาหลายสิบปี มีความเข้าใจดีในเรื่องนี้
นี้สำหรับท่านจะเบื่อหรือไม่เบื่อ เมื่อนิพพิทาญาณเกิดขึ้น ก็มีหลายคนอยากจะตาย หากว่าท่านจะถามผมว่าอยากตายไหม เวลานั้นมันอยากตายจริงๆ เห็นคนเลว เบื่อ เห็นสัตว์เลว เบื่อ เห็นวัตถุธาตุทั้งหลาย เบื่อ เห็นบริวารเลวก็สะอิดสะเอียน เห็นเพื่อนเลวก็รังเกียจ รวมความว่าเราหาคนดีกันไม่ได้
คำว่า หาคนดีกันไม่ได้ บางทีเขามีนิสัยดี มีจริยาดี มีจิตซื่อตรง แต่ว่าร่างกายของเขามันไม่ดี ร่างกายของเขามันเดินเข้าไปหาความผุความพัง เดี๋ยวก็เป็นโรคอย่างนั้น เดี๋ยวก็มีอาการอย่างนี้ ความแปรปรวนมันเกิด เลยพบความไม่ดีก็เลยเบื่อ บริษัทบริวารก็เหมือนกัน ทุกคนเขาอาจจะเป็นคนดี แต่เขาเป็นที่พึ่งของเราไม่ได้จริงจัง ไม่ได้ตลอดกาลตลอดสมัย เพราะว่าเขาต้องตกอยู่ในสภาพของ อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง ความทุกข์มันยุ่งกับเขา อนัตตา ในที่สุดเขาก็ตาย เป็นอันว่าที่พึ่งของเราจะพึ่งใครก็ตาม เขาก็แก่ลงไปทุกวัน เขาก็ป่วยทุกวัน เขาก็ตายทุกวัน เป็นอันว่าเราก็จำจะต้องเบื่อ เพราะสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรารัก มันมีสภาพเป็นอย่างนั้น เขาเองก็ไม่อยากจะเป็นอย่างนั้น แต่ว่ากฎธรรมดามันบังคับ
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 10.2 https://ppantip.com/topic/43133356