#Conforall จ่อเยือนทำเนียบ 15 ม.ค. ขอคุยเศรษฐา ลุยหาทางออกประชามติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4371678
Con for All จ่อเยือนทำเนียบ 15 ม.ค. ขอคุยเศรษฐา ลุยหาทางออกประชามติ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #Conforall เปิดเผยถึงการเตรียมยื่นหนังสือขอเข้าพบ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ณ ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 15 มกราคม 2567 นี้ เพื่อหารือทางออกแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
นาย
นันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร ตัวแทนจากคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคประชาชนได้ยื่นเสนอคำถามประชามติไปยังคณะรัฐมนตรีให้จัดออกเสียงประชามติภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งมีประชาชนร่วมลงชื่อไม่น้อยกว่า 211,904 คน แต่ ครม. ยังไม่ให้ความเห็นชอบกับคำถามดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการประชามติฯ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น ได้มีข้อสรุปว่าจะทำประชามติทั้งหมดสามครั้ง โดยการทำประชามติครั้งแรก จะถามเพียงคำถามเดียวแต่มีสองประเด็น คือ “
ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่า เป็นการถามคำถามที่มีประเด็นซ้อนกัน ประชาชนไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนได้
ด้านนาย
รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวว่า คำถามประชามติของคณะกรรมการประชามติฯ มีลักษณะของการนำเจตจำนงที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาปนกับประเด็นเชิงเนื้อหาภายในรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังไม่ใช่เรื่องที่ควรจะพูดคุยกันในขั้นต้นเพราะอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือผู้ที่อยากแก้ไขประเด็นใดในหมวด 1 หรือหมวด 2 ออกไปลงคะแนนไม่เห็นชอบจนนำไปสู่การทำประชามติไม่ผ่าน และทำให้รัฐบาลต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองตามมา
“
คำถาม #Conforall จึงไม่ใช่เป็นเพียงการเน้นย้ำหลักการเพียงอย่างเดียว แต่คือการสร้างหลักประกันว่าเสียงของประชาชนจะมีผลต่อกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแท้จริง” นายรัชพงษ์กล่าว
นางสาว
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ตัวแทนจากคณะรณรงค์รัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หลังจากนี้การตัดสินใจเกี่ยวกับการทำประชามติจะอยู่ในมือของคณะรัฐมนตรี ดังนั้น ทางกลุ่มจึงมีข้อเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. ขอให้ทบทวนการตั้งคำถามประชามติที่คณะกรรมการประชามติฯ แนะนำ เนื่องจากคำถามนี้มีปัญหาในหลายประเด็นที่อาจจะทำให้การทำประชามติไม่ผ่าน
2. ขอให้รับรองคำถามประชามติ #Conforall ที่มาจากการเข้าชื่อของประชาชน พิจารณาควบคู่ไปกับคำถามของคณะกรรมการประชามติฯ
“
หวังว่ารัฐบาลจะไม่ตีตกความทุ่มเทของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชัดเจน เป็นประชาธิปไตย ตามที่รัฐบาลเคยได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้ง โดยไม่ทำให้คำถามประชามติกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งที่อาจจะทำให้ประชามติครั้งนี้ไม่ผ่านและเลื่อนระยะเวลาการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกไป” นางสาว
ภัสราวลี กล่าว
นักเรียน ประท้วง ผอ. ปิดประตูไม่ให้เข้ารร. ปมแจ้งจับโพสต์อาหารกลางวัน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8048375
นักเรียน ฮือประท้วง ผอ. ปิดประตูไม่ให้เข้าโรงเรียน หลังไปแจ้งความจับเด็กปมโพสต์ภาพ อาหารกลางวัน มีแค่ข้าวเปล่ากับไข่ต้ม 1 ฟอง
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 12 ม.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กนักเรียนชาวเขา ในโรงเรียนดังกล่าว รวมตัวประท้วงไม่ให้ ผู้อำนวยการโรงเรียน เข้ามาในโรงเรียนด้วยการปิดประตูโรงเรียนทุกช่องทาง
สืบเนื่องมาจากเมื่อเวลา 18.00 น.ของวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ผอ.โรงเรียนได้เดินทางไปแจ้งความต่อ ร.ต.อ.
ภานุพันธ์ จันทร์โฉม พนักงานสอบสวน สภ.แม่ลาน้อย เพื่อเอาผิดเด็กนักเรียน กรณีโพสต์คลิปอาหารกลางวัน ในถาดหลุมมีข้าวเปล่า ไข่ต้ม 1 ใบ และน้ำพริกตาแดง 1 ห่อขนาดเล็ก ในความผิดฐาน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ต่อมาเมื่อเวลา 19.00 น.วันเดียวกัน เด็กนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว ได้พากันเดินทางไปที่ สภ.แม่ลาน้อย เพื่อคัดค้านการแจ้งความเอาผิดกับเด็กที่โพสต์คลิปกับข้าวในถาดหลุมที่ไม่พอกิน
แหล่งข่าวในโรงเรียน เปิดเผยว่า ผอ.โรงเรียนคนดังกล่าว เป็นคนที่กดดันเด็กนักเรียน จนมีนักเรียนเสียชีวิตไป 2 คน และกำลังเป็นคดี 1 ราย ส่วนอีกรายมีการชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ปกครองเด็ก นอกจากนี้ การจัดอาหารให้นักเรียนก็ไม่พอกิน บางมื้อมีแค่ข้าวเปล่า กับไข่ต้มเพียง 1 ใบ และน้ำพริกตาแดง 1 ห่อเล็ก
ซึ่งทำให้เด็กกินไม่อิ่ม แต่ถ้าจะมีผู้หลักผู้ใหญ่มาตรวจ วันนั้นก็จะมีการจัดอาหารให้อย่างดี ซึ่งนาน ๆ ครั้งถึงจะได้กินดี จากสภาพดังกล่าวที่เด็กถูกกดดัน จนทนไม่ไหว จึงได้รวมตัวประท้วงไม่ให้ผอ.เข้ามาบริหารในโรงเรียนและยื่นคำขาดให้ ผอ.คนดังกล่าวย้ายไปที่อื่น
ด้าน พ.ต.ท.ส
มเพชร พันกับ รองผกก.(สอบสวน) สภ.แม่ลาน้อย กล่าวว่า เมื่อค่ำของวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ผอ.โรงเรียน ได้เดินทางมาแจ้งความเพื่อเอาผิดเด็กนักเรียน กรณีโพสต์คลิปอาหารกลางวัน ในถาดหลุมมีข้าวเปล่า ไข่ต้ม 1 ใบ และน้ำพริกตาแดง 1 ห่อขนาดเล็ก
พ.ต.ท.
สมเพชร กล่าวต่อว่า ในความผิดฐาน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเด็กโพสต์คลิปและแชร์ไป 20 ราย จึงมาลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวน แต่ต่อมามีเด็กนักเรียน 20 กว่ารายพร้อมผู้ปกครองเดินทางมาที่โรงพัก พนักงานสอบสวนพยายามไกล่เกลี่ย จนผอ.ยกเลิกลงบันทึกประจำวันและจะปรับปรุงเรื่องอาหารให้แก่เด็ก จากนั้นได้พากันเดินทางกลับ
พ.ต.ท.
สมเพชร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นด้าน ผอ.คนดังกล่าว ได้กล่าวต่อพนักงานสอบสวนว่า ภาพที่โพสต์ไม่ใช่ในโรงเรียน อาจจะเป็นการนำมาจากที่อื่นเพื่อทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้กล่าวต่อเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างใด หลัง ผอ.ถอนแจ้งความ
กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เชิญ “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ถกทางออกเรื่องผังเมือง กทม. 18 ม.ค. นี้
https://www.thairath.co.th/news/politic/2754633
“พริษฐ์ วัชรสินธุ” เผย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เชิญ “ผู้ว่าฯ กทม.” ร่วมหาทางออกเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดร่างผังเมือง กทม. พร้อมตั้ง 5 โจทย์หารือสัปดาห์หน้า ที่รัฐสภา
วันที่ 12 มกราคม 2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ได้มีมติเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและหารือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกรณีร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ในการประชุมสัปดาห์หน้าวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ที่รัฐสภา
จากทั้งความเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสาธารณะ และจากข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่ได้ไปสังเกตการณ์การประชุมรับฟังความเห็นประชาชนที่จัดโดย กทม. เมื่อวันที่ 6 มกราคม ทางคณะกรรมาธิการเห็นถึงปัญหาของกระบวนการรับฟังความเห็นที่ผ่านมา เช่น ประชาสัมพันธ์ที่สร้างความรับรู้ได้อย่างจำกัด การเผยแพร่ข้อมูลหรือแบบฟอร์มที่ยากต่อการทำความเข้าใจ หรือรูปแบบการจัดเวทีที่ไม่เปิดพื้นที่และจัดสรรเวลาเพียงพอให้กับประชาชนในการแสดงความเห็น
แม้ทาง กทม. ได้ประกาศขยายเวลาในการรับฟังความเห็นไปจนถึงสิ้นเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นเพียงการขยายเวลาการรับเอกสาร ทางคณะกรรมาธิการจึงยังมีความกังวลว่าเท่านั้นอาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา จึงได้เชิญ ผู้ว่าฯ กทม. บริษัทที่ปรึกษา คณะกรรมการผังเมืองกรุงเทพมหานคร และกรมโยธาธิการและผังเมือง มาร่วมหาทางออกในการประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ สัปดาห์หน้า โดยจะมีการหารือประเด็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. กทม. มีแผนเชิงรุกหรือจะดำเนินการอย่างไรในห้วงเวลาที่ขยายเพิ่มขึ้นมา เพื่อออกแบบกระบวนการรับฟังความเห็น ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างความรับรู้และรวบรวมความเห็นให้ครอบคลุม
2. กทม. จะหาข้อยุติอย่างไรสำหรับประชาชนในหลายพื้นที่ที่จะถูกผลกระทบโดยตรงจากการขยายถนนและเวนคืนที่ถูกเสนอโดยร่างผังเมืองใหม่
3. กทม. มีแผนจะจัดทำ “
ผังเมืองเฉพาะ” นอกเหนือจาก “
ผังเมืองรวม” หรือไม่ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดผังเมือง รวมถึงรับประกันกลไกการชดเชยความเสียหายที่เป็นธรรมมากขึ้นสำหรับประชาชนที่ถูกลิดรอนสิทธิ
4. กทม. จะเปิดเผยรายงานผังเมืองให้สาธารณะหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจถึงหลักเกณฑ์ในการออกแบบ รวมถึงมั่นใจว่าร่างผังเมืองปัจจุบันที่ถูกริเริ่มตั้งแต่ก่อนปี 2562 ได้มีการคำนึงถึงข้อมูลและพฤติกรรมประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (เช่น จำนวนประชากร รถไฟฟ้าสายที่เปิดใหม่ ผลกระทบจากโควิด)
5. กทม. ได้มีการรับฟังความเห็นและร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองกับประชาชนตั้งแต่ตอน “
ต้นทาง” ของกระบวนการจัดทำร่างผังเมืองเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากขั้นตอนรับฟังความเห็น ณ ปัจจุบันเป็นเสมือนการรับฟังความเห็น “
กลางทาง” ที่ความเห็นประชาชนจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญได้ยาก
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ได้แสดงความเห็นว่าพร้อมฟังเหตุผลของประชาชน กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จึงอยากชวนผู้ว่าฯ ชัชชาติ มาร่วมกันหาทางออกกับผู้แทนราษฎรในสภาฯ เพื่อปรับปรุงกระบวนการที่ต้องไม่เพียงแต่รับฟังความเห็นประชาชนอย่างเดียว แต่นำความเห็นพวกเขามาประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องผังเมืองที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตชาว กทม. ทุกคน
JJNY : #Conforall จ่อเยือนทำเนียบ 15ม.ค.│นักเรียนประท้วงผอ.ปมแจ้งจับ│กมธ.เชิญ“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ”ถก│ทหารเมียนมาหนีไปอินเดีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4371678
Con for All จ่อเยือนทำเนียบ 15 ม.ค. ขอคุยเศรษฐา ลุยหาทางออกประชามติ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ หรือ #Conforall เปิดเผยถึงการเตรียมยื่นหนังสือขอเข้าพบ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ณ ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 15 มกราคม 2567 นี้ เพื่อหารือทางออกแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
นายนันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร ตัวแทนจากคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคประชาชนได้ยื่นเสนอคำถามประชามติไปยังคณะรัฐมนตรีให้จัดออกเสียงประชามติภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งมีประชาชนร่วมลงชื่อไม่น้อยกว่า 211,904 คน แต่ ครม. ยังไม่ให้ความเห็นชอบกับคำถามดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการประชามติฯ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น ได้มีข้อสรุปว่าจะทำประชามติทั้งหมดสามครั้ง โดยการทำประชามติครั้งแรก จะถามเพียงคำถามเดียวแต่มีสองประเด็น คือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลว่า เป็นการถามคำถามที่มีประเด็นซ้อนกัน ประชาชนไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนได้
ด้านนายรัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวว่า คำถามประชามติของคณะกรรมการประชามติฯ มีลักษณะของการนำเจตจำนงที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาปนกับประเด็นเชิงเนื้อหาภายในรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังไม่ใช่เรื่องที่ควรจะพูดคุยกันในขั้นต้นเพราะอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือผู้ที่อยากแก้ไขประเด็นใดในหมวด 1 หรือหมวด 2 ออกไปลงคะแนนไม่เห็นชอบจนนำไปสู่การทำประชามติไม่ผ่าน และทำให้รัฐบาลต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองตามมา
“คำถาม #Conforall จึงไม่ใช่เป็นเพียงการเน้นย้ำหลักการเพียงอย่างเดียว แต่คือการสร้างหลักประกันว่าเสียงของประชาชนจะมีผลต่อกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแท้จริง” นายรัชพงษ์กล่าว
นางสาวภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ตัวแทนจากคณะรณรงค์รัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หลังจากนี้การตัดสินใจเกี่ยวกับการทำประชามติจะอยู่ในมือของคณะรัฐมนตรี ดังนั้น ทางกลุ่มจึงมีข้อเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. ขอให้ทบทวนการตั้งคำถามประชามติที่คณะกรรมการประชามติฯ แนะนำ เนื่องจากคำถามนี้มีปัญหาในหลายประเด็นที่อาจจะทำให้การทำประชามติไม่ผ่าน
2. ขอให้รับรองคำถามประชามติ #Conforall ที่มาจากการเข้าชื่อของประชาชน พิจารณาควบคู่ไปกับคำถามของคณะกรรมการประชามติฯ
“หวังว่ารัฐบาลจะไม่ตีตกความทุ่มเทของประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชัดเจน เป็นประชาธิปไตย ตามที่รัฐบาลเคยได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้ง โดยไม่ทำให้คำถามประชามติกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งที่อาจจะทำให้ประชามติครั้งนี้ไม่ผ่านและเลื่อนระยะเวลาการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกไป” นางสาวภัสราวลี กล่าว
นักเรียน ประท้วง ผอ. ปิดประตูไม่ให้เข้ารร. ปมแจ้งจับโพสต์อาหารกลางวัน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8048375
นักเรียน ฮือประท้วง ผอ. ปิดประตูไม่ให้เข้าโรงเรียน หลังไปแจ้งความจับเด็กปมโพสต์ภาพ อาหารกลางวัน มีแค่ข้าวเปล่ากับไข่ต้ม 1 ฟอง
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 12 ม.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กนักเรียนชาวเขา ในโรงเรียนดังกล่าว รวมตัวประท้วงไม่ให้ ผู้อำนวยการโรงเรียน เข้ามาในโรงเรียนด้วยการปิดประตูโรงเรียนทุกช่องทาง
สืบเนื่องมาจากเมื่อเวลา 18.00 น.ของวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ผอ.โรงเรียนได้เดินทางไปแจ้งความต่อ ร.ต.อ.ภานุพันธ์ จันทร์โฉม พนักงานสอบสวน สภ.แม่ลาน้อย เพื่อเอาผิดเด็กนักเรียน กรณีโพสต์คลิปอาหารกลางวัน ในถาดหลุมมีข้าวเปล่า ไข่ต้ม 1 ใบ และน้ำพริกตาแดง 1 ห่อขนาดเล็ก ในความผิดฐาน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ต่อมาเมื่อเวลา 19.00 น.วันเดียวกัน เด็กนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว ได้พากันเดินทางไปที่ สภ.แม่ลาน้อย เพื่อคัดค้านการแจ้งความเอาผิดกับเด็กที่โพสต์คลิปกับข้าวในถาดหลุมที่ไม่พอกิน
แหล่งข่าวในโรงเรียน เปิดเผยว่า ผอ.โรงเรียนคนดังกล่าว เป็นคนที่กดดันเด็กนักเรียน จนมีนักเรียนเสียชีวิตไป 2 คน และกำลังเป็นคดี 1 ราย ส่วนอีกรายมีการชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ปกครองเด็ก นอกจากนี้ การจัดอาหารให้นักเรียนก็ไม่พอกิน บางมื้อมีแค่ข้าวเปล่า กับไข่ต้มเพียง 1 ใบ และน้ำพริกตาแดง 1 ห่อเล็ก
ซึ่งทำให้เด็กกินไม่อิ่ม แต่ถ้าจะมีผู้หลักผู้ใหญ่มาตรวจ วันนั้นก็จะมีการจัดอาหารให้อย่างดี ซึ่งนาน ๆ ครั้งถึงจะได้กินดี จากสภาพดังกล่าวที่เด็กถูกกดดัน จนทนไม่ไหว จึงได้รวมตัวประท้วงไม่ให้ผอ.เข้ามาบริหารในโรงเรียนและยื่นคำขาดให้ ผอ.คนดังกล่าวย้ายไปที่อื่น
ด้าน พ.ต.ท.สมเพชร พันกับ รองผกก.(สอบสวน) สภ.แม่ลาน้อย กล่าวว่า เมื่อค่ำของวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ผอ.โรงเรียน ได้เดินทางมาแจ้งความเพื่อเอาผิดเด็กนักเรียน กรณีโพสต์คลิปอาหารกลางวัน ในถาดหลุมมีข้าวเปล่า ไข่ต้ม 1 ใบ และน้ำพริกตาแดง 1 ห่อขนาดเล็ก
พ.ต.ท.สมเพชร กล่าวต่อว่า ในความผิดฐาน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยเด็กโพสต์คลิปและแชร์ไป 20 ราย จึงมาลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวน แต่ต่อมามีเด็กนักเรียน 20 กว่ารายพร้อมผู้ปกครองเดินทางมาที่โรงพัก พนักงานสอบสวนพยายามไกล่เกลี่ย จนผอ.ยกเลิกลงบันทึกประจำวันและจะปรับปรุงเรื่องอาหารให้แก่เด็ก จากนั้นได้พากันเดินทางกลับ
พ.ต.ท.สมเพชร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นด้าน ผอ.คนดังกล่าว ได้กล่าวต่อพนักงานสอบสวนว่า ภาพที่โพสต์ไม่ใช่ในโรงเรียน อาจจะเป็นการนำมาจากที่อื่นเพื่อทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ไม่ได้กล่าวต่อเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างใด หลัง ผอ.ถอนแจ้งความ
กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เชิญ “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ถกทางออกเรื่องผังเมือง กทม. 18 ม.ค. นี้
https://www.thairath.co.th/news/politic/2754633
“พริษฐ์ วัชรสินธุ” เผย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ เชิญ “ผู้ว่าฯ กทม.” ร่วมหาทางออกเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดร่างผังเมือง กทม. พร้อมตั้ง 5 โจทย์หารือสัปดาห์หน้า ที่รัฐสภา
วันที่ 12 มกราคม 2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า กมธ.พัฒนาการเมืองฯ ได้มีมติเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและหารือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกรณีร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ในการประชุมสัปดาห์หน้าวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ที่รัฐสภา
จากทั้งความเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสาธารณะ และจากข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการที่ได้ไปสังเกตการณ์การประชุมรับฟังความเห็นประชาชนที่จัดโดย กทม. เมื่อวันที่ 6 มกราคม ทางคณะกรรมาธิการเห็นถึงปัญหาของกระบวนการรับฟังความเห็นที่ผ่านมา เช่น ประชาสัมพันธ์ที่สร้างความรับรู้ได้อย่างจำกัด การเผยแพร่ข้อมูลหรือแบบฟอร์มที่ยากต่อการทำความเข้าใจ หรือรูปแบบการจัดเวทีที่ไม่เปิดพื้นที่และจัดสรรเวลาเพียงพอให้กับประชาชนในการแสดงความเห็น
แม้ทาง กทม. ได้ประกาศขยายเวลาในการรับฟังความเห็นไปจนถึงสิ้นเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นเพียงการขยายเวลาการรับเอกสาร ทางคณะกรรมาธิการจึงยังมีความกังวลว่าเท่านั้นอาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา จึงได้เชิญ ผู้ว่าฯ กทม. บริษัทที่ปรึกษา คณะกรรมการผังเมืองกรุงเทพมหานคร และกรมโยธาธิการและผังเมือง มาร่วมหาทางออกในการประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ สัปดาห์หน้า โดยจะมีการหารือประเด็นเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. กทม. มีแผนเชิงรุกหรือจะดำเนินการอย่างไรในห้วงเวลาที่ขยายเพิ่มขึ้นมา เพื่อออกแบบกระบวนการรับฟังความเห็น ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างความรับรู้และรวบรวมความเห็นให้ครอบคลุม
2. กทม. จะหาข้อยุติอย่างไรสำหรับประชาชนในหลายพื้นที่ที่จะถูกผลกระทบโดยตรงจากการขยายถนนและเวนคืนที่ถูกเสนอโดยร่างผังเมืองใหม่
3. กทม. มีแผนจะจัดทำ “ผังเมืองเฉพาะ” นอกเหนือจาก “ผังเมืองรวม” หรือไม่ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดผังเมือง รวมถึงรับประกันกลไกการชดเชยความเสียหายที่เป็นธรรมมากขึ้นสำหรับประชาชนที่ถูกลิดรอนสิทธิ
4. กทม. จะเปิดเผยรายงานผังเมืองให้สาธารณะหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจถึงหลักเกณฑ์ในการออกแบบ รวมถึงมั่นใจว่าร่างผังเมืองปัจจุบันที่ถูกริเริ่มตั้งแต่ก่อนปี 2562 ได้มีการคำนึงถึงข้อมูลและพฤติกรรมประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (เช่น จำนวนประชากร รถไฟฟ้าสายที่เปิดใหม่ ผลกระทบจากโควิด)
5. กทม. ได้มีการรับฟังความเห็นและร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองกับประชาชนตั้งแต่ตอน “ต้นทาง” ของกระบวนการจัดทำร่างผังเมืองเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากขั้นตอนรับฟังความเห็น ณ ปัจจุบันเป็นเสมือนการรับฟังความเห็น “กลางทาง” ที่ความเห็นประชาชนจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญได้ยาก
นายพริษฐ์กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ได้แสดงความเห็นว่าพร้อมฟังเหตุผลของประชาชน กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จึงอยากชวนผู้ว่าฯ ชัชชาติ มาร่วมกันหาทางออกกับผู้แทนราษฎรในสภาฯ เพื่อปรับปรุงกระบวนการที่ต้องไม่เพียงแต่รับฟังความเห็นประชาชนอย่างเดียว แต่นำความเห็นพวกเขามาประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในเรื่องผังเมืองที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตชาว กทม. ทุกคน