สภาฯโหวตฉลุย กม.อำนาจเรียกกมธ. ชลน่านแย้งวุ่น คำนิยาม หวั่นมีมือดี ร้องศาลรธน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4960689
“สภาฯ”ถก “กม.อำนาจเรียกของกมธ.” “หมอชลน่าน”ชี้รวมคำว่า”กรรมาธิการสามัญของรัฐสภา”อาจขัดรัฐธรรมนูญ แนะกลับไปใช้ร่างเดิมจะมีประโยชน์กว่า ด้าน”ประยุทธ์” แจงระบุไว้เพื่อให้กม.นี้มีผลบังคับใช้ ยันไม่ได้เขียนแบบสุขเอาเผากิน ขณะที่”โรม”ย้ำไม่ขัด-แย้งรัฐธรรมนูญ ขณะที่ ”พิเชษฐ์” สั่งโหวตมาตรา4 ทันทีไม่สน”ชลน่าน”ขู่มีคนร้องศาลรธน.แน่
เมื่อเวลา 11.45 น. วันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา พ.ศ….ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นการพิจารณา ในวาระสองและวาระสาม
โดย นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายในมาตรา 4 บทนิยาม คำว่ากรรมาธิการ ว่า ในร่างของกมธ.ฯ ที่ไปแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ ซึ่งตนเห็นว่าการแก้ไขของกมธ.ฯน่าจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และข้อเท็จจริงที่มีอยู่ เพราะจากร่างเดิมของสภาฯที่รับไป เขียนให้ครอบคลุมกรรมาธิการ นิยามของกรรมาธิการมีกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญ กรรมาธิการร่วมกัน ของสภาฯและวุฒิสภา และกรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญกรณีที่มีการประชุมร่วมกันในนามรัฐสภา มีอำนาจเรียกบุคคลหรือเรียกเอกสารได้ แต่กมธ.ฯ ไปเปลี่ยนถ้อยคำใหม่ว่า กรรมาธิการหมายความว่าคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาฯ วุฒิสภา หรือรัฐสภา ถ้าเขียนอย่างนี้หมายความว่ารัฐสภา วุฒิสภา หรือสภาผู้แทนฯ มีกรรมาธิการสามัญประจำของแต่ละสภา
นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า จึงอยากถามว่ารัฐสภาเรามีกรรมาธิการสามัญประจำรัฐสภาหรือ เพราะตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยมีบทบัญญัติที่เขียนให้รองรับกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา เพราะฉะนั้นถ้าเขียนอย่างนี้จะเหมารวมว่ารัฐสภาสามารถตั้งกรรมาธิการสามัญได้ ตามกฎหมายฉบับนี้ และอาจจะไปออกข้อบังคับมารองรับ แต่สิ่งที่ต้องให้สอดรับคือรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ซึ่งมาตรานี้เขียนชัดเจนไม่มีคำว่ารัฐสภาอยู่เลย ที่ว่าด้วยเรื่องการตั้งกรรมาธิการของสภาผู้แทนฯ วุฒิสภาหรือตั้งกรรมาธิการร่วมกัน แม้แต่กฎหมายที่เขียนรองรับเกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้เขียนในมาตรา 129
“
ฉะนั้นผมเห็นว่าถ้าเขียนอย่างนี้ จะเหมารวมว่ารัฐสภาสามารถมีกรรมาธิการสามัญประจำรัฐสภาได้ ซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข และเห็นว่าควรเอาคำว่า”หรือรัฐสภา”ออกแล้วรักษาถ้อยคำเดิมเอาไว้ หรือกลับไปร่างเดิมจะเกิดประโยนช์มากกว่า” นพ.
ชลน่าน กล่าว
ด้าน นาย
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.ฯ ชี้แจงว่า เห็นตรงกันว่าการมีคณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญนั้นเกิดเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญมาตรา 129 แต่ข้อเท็จจริงคือมีกรรมาธิการที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 137(3) เป็นกรรมาธิการร่วมกันในกรณีที่ตัดสินใจในเรื่องของความเห็นต่างๆ ซึ่งทางกมธ.ฯ ได้พยายามหาความพอดี ถ้าไม่เขียนแบบนี้กรณีที่จะคุ้มครองไปถึงให้อำนาจกรรมาธิการร่วมกันได้หรือไม่ เพราะเกิดขึ้นคนละมาตรา ถ้าเขียนตามาตรา 129 ก็จะมีข้อจำกัดเปิดช่องว่างตามมาตรา 137(3) ทางกมธ.ฯ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเขียนแบบนี้
“
จริงๆแล้วคำนิยามไม่สามารถที่จะลบล้างน้ำหนักของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือน้ำหนักในกฎหมายอื่นได้ เพียงแต่ให้กฎหมายฉบับนี้มีสภาพบังคับเท่านั้น ซึ่งก็เห็นด้วยในความเป็นห่วงของท่าน แต่โอกาสที่จะเขียนเป็นอย่างอื่น ผมยืนยันได้เลยว่าพวกเราไม่ได้สุกเอาเผากิน แต่ก็ใช้ความพยายามที่จะสรรหาถ้อยคำให้เกิดความสมบูรณ์พอสมควร” นายประยุทธ์กล่าว
ขณะที่ นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะกมธ.ฯ ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่เราต้องให้ความกระจ่าง เพราะเราถกเถียงในกมธ.ฯเช่นเดียวกัน การที่เราเติมคำว่า “
หรือรัฐสภา” เป็นเรื่องของการให้ความหมายแทนคำว่า “
กรรมาธิการร่วมกัน” ให้ครอบคลุมกัน ไม่เช่นนั้น จะกลายเป็นว่า กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรสามารถที่จะใช้อำนาจเรียกนี้ได้ ในขณะที่กรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาไม่สามารถใช้ได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงกรรมาธิการของรัฐสภามีอำนาจน่าจะสูงกว่าด้วยซ้ำ
นาย
รังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ว่าการเพิ่มเติมตรงนี้เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตนขอเรียนว่ากรณีนี้ไม่ได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเลย ส่วนการตีความจะไม่รวมไปถึงกรณีจะให้มีกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา การที่เราจะมีกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาหรือไม่มันเป็นกฎหมายอื่น กรณีนี้เป็นเรื่องของการใช้อำนาจเรียก ซึ่งปัจจุบันเราไม่มีกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา กฎหมายนี้ ไม่ได้มีอำนาจให้เราไปจัดตั้งกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา ตามหลักกฎหมายจึงจะรวมแค่กรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเท่านั้น
ส่วน นาย
สฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า กมธ.ฯได้พิจารณาอย่างรอบด้าน หยิบยกเรื่องเดียวคือเรื่องของการประชุมของกรรมาธิการร่วมของรัฐสภา จะเห็นได้ว่าการประชุมร่วมมีอยู่จริง เมื่อมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ คือ พ.ร.บ.อำนาจเรียกฯฉบับนี้ด้วย และบางเรื่องเราจะเอามาตรา 4 ไปเข้าใจว่าเราจะต้องคณะกรรมการสามัญ หรือวิสามัญ ไม่ได้ เพราะบางเรื่องก็ไม่ต้องเอาคำจำกัดความไปตีความในเรื่องของอำนาจในการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญของสภาฯและคณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา แต่ในส่วนของสภาฯ เรามีคณะกรรมาธิการสามัญ 35 คณะ ของวุฒิสภามี 21 คณะ ทั้งนี้ยังจากตนฟังจากหลายฝ่ายยอมรับว่าจะต้องเติมคำว่า”รัฐสภา”เข้าไปเพื่อให้ควบคุม ถ้าไม่เติมเข้าไปกฎหมายอำนาจเรียก ก็จะใช้ไม่ได้ ซึ่งเราได้พิจารณารอบด้านแล้ว
ทั้งนี้ นพ.
ชลน่าน อภิปรายเพิ่มเติมว่า ถ้าเราไปให้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตนเชื่อว่ามีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน และถ้าศาลวินิจฉัยว่า สิ่งที่เราทำไปขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นปัญหา ดังนั้นตนคิดว่ามีหลายประเด็นที่กมธ.ฯ น่าจะกลับไปทบทวนได้ มันไม่ได้สายที่เราจะพิจารณาร่วมกัน หรือถ้าจะกลับไปร่างเดิม ที่อาศรัยมาตรา 129 เป็นหลัก กฎหมายก็เดินหน้าได้ เพราะอยากให้โหวตไปแล้วเป็นประเด็น แล้วให้กมธ.ฯไปหารือกัน
แต่ นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ไม่ได้สนใจ โดยให้ที่ประชุมลงมติทันที ซึ่งที่ประชุมลงมติเห็นด้วยกับกมธ.ฯ เสียง 383 ไม่เห็นด้วย 3 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 8 เสียง
จากนั้น พิจารณามาตราอื่นตามลำดับ กระทั่งมาตรา 14 ที่มีประชุมมติเห็นชอบกมธ.เสียงข้างมาก 398 เสียง ไม่เห็นด้วย 7 เสียง ไม่ลงคะแนน 3เสียง ที่ระบุว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดไม่ส่งเอกสารหรือไม่มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียกตามมาตรา 7 หรือมาตรา 8 โดยไม่มีเหตุอันสำควรให้ประธานคณะกรรมาธิการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการ มีหนังสือแจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป และแจ้งให้ประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณีทราบด้วย ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมาธิการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการดำเนินการเสร็จสิ้น
ส่วนมาตรา 14/1 เป็นมาตราเพิ่มขึ้นใหม่ เกี่ยวกับโทษ ในกรณีที่บุคคลซึ่งไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก ไม่ส่งเอกสาร ไม่มาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นต่อกรรมาธิการ โดยไม่มีเหตผลอันสมควร ให้ถือเป็นความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกิน 1 หมื่นบาทและให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ให้ประธานรัฐสภาออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าปรับเป็นพินัยและการผ่อนชำระเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย
ต่อมา เวลา 17.20 น.หลังที่ประชุมพิจารณาเสร็จสิ้นลงมติเห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.อำนาจเรียกฯ 398 เสียง ไม่เห็นชอบ 3 เสียง ไม่ลงคะแนน 5 เสียง
‘ณัฐพงษ์’ เผย ดินเนอร์ฝ่ายค้าน หารือโควตาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล-แนวทางทำงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4960895
‘ณัฐพงษ์’ เผย ดินเนอร์พรรคร่วมฝ่ายค้าน หารือโควตาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล – แนวทางการทำงาน ไม่อึดอัดใจ ร่วมงาน ‘บิ๊กป้อม’ ส่วนแต่ละพรรคส่งใครมา เป็นเรื่องภายในพรรค ขอ ปชช. มั่นใจ อภิปรายครั้งนี้ ไม่ผิดหวัง เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ร้านเอิกเกริก กทม. นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการร่วมรับประทานอาหารกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ถึงหัวข้อการพูดคุยในวันนี้ ว่า หลักๆ จะมาหารือในเรื่องการจัดสรรเวลาในการอภิปรายต่างๆ ทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 151 และอีกประเด็นหนึ่ง คือการหารือการทำงานของพรรคฝ่ายค้าน เช่น ในเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้าน ได้มีการจัดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชนแล้ว จะพยายามสานต่อเวทีนี้ต่อไป
เมื่อถามว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านยังมีจำนวนเท่าเดิมหรือไม่ ภายหลังพรรคไทยสร้างไทย เหมือนมีจุดยืนทางการเมืองร่วมกับฝั่งรัฐบาล นายณัฐพงษ์ ยืนยันว่า ในส่วนของพรรคไทยสร้างไทยเป็นเรื่องภายในของแต่ละพรรค แต่ตัวเราเองยึดในหลักการ ซึ่งมีการส่งเทียบเชิญ และมีการส่งตัวแทนของพรรคมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน ส่วนกระบวนการภายในของแต่ละพรรคเป็นอย่างไรนั้น พรรคประชาชนเอง ไม่สามารถก้าวก่ายเรื่องภายในของแต่ละพรรคได้
ส่วนข้อมูลการอภิปรายต้องมีการเอามาแชร์กันหรือไม่ ภายหลังบทบาทพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาติดตามเรื่องนโยบายและการตรวจสอบรัฐบาล นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ปกติการทำงานของพรรคฝ่ายค้านใช้วิธีการจัดสรรโควตาในการอภิปราย ส่วนเนื้อหาในการอภิปรายอย่างไรนั้น ที่ผ่านมาในกระบวนการปกติ ไม่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพราะแต่ละพรรคมีการทำโจทย์ และการทำการบ้านของตัวเองในการอภิปรายแล้ว ดังนั้น การหารือในการรับประทานร่วมกันในวันนี้ จะพูดคุยเรื่องการทำงานกับพรรคร่วม
เมื่อถามว่าจะมีการอภิปรายเรื่องนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวว่า มีหลายเรื่องที่ตอนนี้เราได้รับข้อมูลมาจากหลายฝ่าย นอกจากที่มาสื่อสารเรื่องการพูดคุยของพรรคร่วมฝ่ายค้านแล้ว ตนเองอยากสื่อสารถึงประชาชน ข้าราชการที่ทำงานอยู่ในทุกส่วนราชการ ถ้ามีข้อมูลอะไรที่พบการทุจริตคอรัปชั่น หรือการดำเนินนโยบายของรัฐที่ไม่ถูกต้อง สามารถส่งข้อมูลมาที่พรรคประชาชน หรือพรรคร่วมฝ่ายค้านได้เลย
ส่วนจะมีข้อมูลใหม่หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาคนผิดหวังกับการอภิปราย นาย
ณัฐพงษ์ ระบุว่า ไม่ผิดหวังแน่นอน อยากให้ติดตามทั้งนาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แถลงข่าวไปก่อนหน้านี้ และในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างแน่นอน และเนื้อหาในการอภิปรายเข้มข้นอย่างแน่นอน
JJNY : สภาฯโหวตฉลุย กม.อำนาจเรียกกมธ.│‘ณัฐพงษ์’เผยดินเนอร์หารือโควตาอภิปราย│วิโรจน์ยกโมเดลสิงคโปร์│ราคาทองวันนี้ร่วง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4960689
“สภาฯ”ถก “กม.อำนาจเรียกของกมธ.” “หมอชลน่าน”ชี้รวมคำว่า”กรรมาธิการสามัญของรัฐสภา”อาจขัดรัฐธรรมนูญ แนะกลับไปใช้ร่างเดิมจะมีประโยชน์กว่า ด้าน”ประยุทธ์” แจงระบุไว้เพื่อให้กม.นี้มีผลบังคับใช้ ยันไม่ได้เขียนแบบสุขเอาเผากิน ขณะที่”โรม”ย้ำไม่ขัด-แย้งรัฐธรรมนูญ ขณะที่ ”พิเชษฐ์” สั่งโหวตมาตรา4 ทันทีไม่สน”ชลน่าน”ขู่มีคนร้องศาลรธน.แน่
เมื่อเวลา 11.45 น. วันที่ 18 ธันวาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อำนาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา พ.ศ….ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นการพิจารณา ในวาระสองและวาระสาม
โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายในมาตรา 4 บทนิยาม คำว่ากรรมาธิการ ว่า ในร่างของกมธ.ฯ ที่ไปแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำ ซึ่งตนเห็นว่าการแก้ไขของกมธ.ฯน่าจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และข้อเท็จจริงที่มีอยู่ เพราะจากร่างเดิมของสภาฯที่รับไป เขียนให้ครอบคลุมกรรมาธิการ นิยามของกรรมาธิการมีกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญ กรรมาธิการร่วมกัน ของสภาฯและวุฒิสภา และกรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญกรณีที่มีการประชุมร่วมกันในนามรัฐสภา มีอำนาจเรียกบุคคลหรือเรียกเอกสารได้ แต่กมธ.ฯ ไปเปลี่ยนถ้อยคำใหม่ว่า กรรมาธิการหมายความว่าคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาฯ วุฒิสภา หรือรัฐสภา ถ้าเขียนอย่างนี้หมายความว่ารัฐสภา วุฒิสภา หรือสภาผู้แทนฯ มีกรรมาธิการสามัญประจำของแต่ละสภา
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า จึงอยากถามว่ารัฐสภาเรามีกรรมาธิการสามัญประจำรัฐสภาหรือ เพราะตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยมีบทบัญญัติที่เขียนให้รองรับกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา เพราะฉะนั้นถ้าเขียนอย่างนี้จะเหมารวมว่ารัฐสภาสามารถตั้งกรรมาธิการสามัญได้ ตามกฎหมายฉบับนี้ และอาจจะไปออกข้อบังคับมารองรับ แต่สิ่งที่ต้องให้สอดรับคือรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 ซึ่งมาตรานี้เขียนชัดเจนไม่มีคำว่ารัฐสภาอยู่เลย ที่ว่าด้วยเรื่องการตั้งกรรมาธิการของสภาผู้แทนฯ วุฒิสภาหรือตั้งกรรมาธิการร่วมกัน แม้แต่กฎหมายที่เขียนรองรับเกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้เขียนในมาตรา 129
“ฉะนั้นผมเห็นว่าถ้าเขียนอย่างนี้ จะเหมารวมว่ารัฐสภาสามารถมีกรรมาธิการสามัญประจำรัฐสภาได้ ซึ่งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข และเห็นว่าควรเอาคำว่า”หรือรัฐสภา”ออกแล้วรักษาถ้อยคำเดิมเอาไว้ หรือกลับไปร่างเดิมจะเกิดประโยนช์มากกว่า” นพ.ชลน่าน กล่าว
ด้าน นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.ฯ ชี้แจงว่า เห็นตรงกันว่าการมีคณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญนั้นเกิดเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญมาตรา 129 แต่ข้อเท็จจริงคือมีกรรมาธิการที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 137(3) เป็นกรรมาธิการร่วมกันในกรณีที่ตัดสินใจในเรื่องของความเห็นต่างๆ ซึ่งทางกมธ.ฯ ได้พยายามหาความพอดี ถ้าไม่เขียนแบบนี้กรณีที่จะคุ้มครองไปถึงให้อำนาจกรรมาธิการร่วมกันได้หรือไม่ เพราะเกิดขึ้นคนละมาตรา ถ้าเขียนตามาตรา 129 ก็จะมีข้อจำกัดเปิดช่องว่างตามมาตรา 137(3) ทางกมธ.ฯ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเขียนแบบนี้
“จริงๆแล้วคำนิยามไม่สามารถที่จะลบล้างน้ำหนักของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือน้ำหนักในกฎหมายอื่นได้ เพียงแต่ให้กฎหมายฉบับนี้มีสภาพบังคับเท่านั้น ซึ่งก็เห็นด้วยในความเป็นห่วงของท่าน แต่โอกาสที่จะเขียนเป็นอย่างอื่น ผมยืนยันได้เลยว่าพวกเราไม่ได้สุกเอาเผากิน แต่ก็ใช้ความพยายามที่จะสรรหาถ้อยคำให้เกิดความสมบูรณ์พอสมควร” นายประยุทธ์กล่าว
ขณะที่ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะกมธ.ฯ ชี้แจงว่า กรณีดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่เราต้องให้ความกระจ่าง เพราะเราถกเถียงในกมธ.ฯเช่นเดียวกัน การที่เราเติมคำว่า “หรือรัฐสภา” เป็นเรื่องของการให้ความหมายแทนคำว่า “กรรมาธิการร่วมกัน” ให้ครอบคลุมกัน ไม่เช่นนั้น จะกลายเป็นว่า กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรสามารถที่จะใช้อำนาจเรียกนี้ได้ ในขณะที่กรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาไม่สามารถใช้ได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงกรรมาธิการของรัฐสภามีอำนาจน่าจะสูงกว่าด้วยซ้ำ
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ว่าการเพิ่มเติมตรงนี้เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตนขอเรียนว่ากรณีนี้ไม่ได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเลย ส่วนการตีความจะไม่รวมไปถึงกรณีจะให้มีกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา การที่เราจะมีกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาหรือไม่มันเป็นกฎหมายอื่น กรณีนี้เป็นเรื่องของการใช้อำนาจเรียก ซึ่งปัจจุบันเราไม่มีกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา กฎหมายนี้ ไม่ได้มีอำนาจให้เราไปจัดตั้งกรรมาธิการสามัญของรัฐสภา ตามหลักกฎหมายจึงจะรวมแค่กรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเท่านั้น
ส่วน นายสฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า กมธ.ฯได้พิจารณาอย่างรอบด้าน หยิบยกเรื่องเดียวคือเรื่องของการประชุมของกรรมาธิการร่วมของรัฐสภา จะเห็นได้ว่าการประชุมร่วมมีอยู่จริง เมื่อมีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาก็จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ คือ พ.ร.บ.อำนาจเรียกฯฉบับนี้ด้วย และบางเรื่องเราจะเอามาตรา 4 ไปเข้าใจว่าเราจะต้องคณะกรรมการสามัญ หรือวิสามัญ ไม่ได้ เพราะบางเรื่องก็ไม่ต้องเอาคำจำกัดความไปตีความในเรื่องของอำนาจในการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญของสภาฯและคณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา แต่ในส่วนของสภาฯ เรามีคณะกรรมาธิการสามัญ 35 คณะ ของวุฒิสภามี 21 คณะ ทั้งนี้ยังจากตนฟังจากหลายฝ่ายยอมรับว่าจะต้องเติมคำว่า”รัฐสภา”เข้าไปเพื่อให้ควบคุม ถ้าไม่เติมเข้าไปกฎหมายอำนาจเรียก ก็จะใช้ไม่ได้ ซึ่งเราได้พิจารณารอบด้านแล้ว
ทั้งนี้ นพ.ชลน่าน อภิปรายเพิ่มเติมว่า ถ้าเราไปให้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตนเชื่อว่ามีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน และถ้าศาลวินิจฉัยว่า สิ่งที่เราทำไปขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นปัญหา ดังนั้นตนคิดว่ามีหลายประเด็นที่กมธ.ฯ น่าจะกลับไปทบทวนได้ มันไม่ได้สายที่เราจะพิจารณาร่วมกัน หรือถ้าจะกลับไปร่างเดิม ที่อาศรัยมาตรา 129 เป็นหลัก กฎหมายก็เดินหน้าได้ เพราะอยากให้โหวตไปแล้วเป็นประเด็น แล้วให้กมธ.ฯไปหารือกัน
แต่ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ไม่ได้สนใจ โดยให้ที่ประชุมลงมติทันที ซึ่งที่ประชุมลงมติเห็นด้วยกับกมธ.ฯ เสียง 383 ไม่เห็นด้วย 3 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 8 เสียง
จากนั้น พิจารณามาตราอื่นตามลำดับ กระทั่งมาตรา 14 ที่มีประชุมมติเห็นชอบกมธ.เสียงข้างมาก 398 เสียง ไม่เห็นด้วย 7 เสียง ไม่ลงคะแนน 3เสียง ที่ระบุว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดไม่ส่งเอกสารหรือไม่มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียกตามมาตรา 7 หรือมาตรา 8 โดยไม่มีเหตุอันสำควรให้ประธานคณะกรรมาธิการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการ มีหนังสือแจ้งไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป และแจ้งให้ประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณีทราบด้วย ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมาธิการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการดำเนินการเสร็จสิ้น
ส่วนมาตรา 14/1 เป็นมาตราเพิ่มขึ้นใหม่ เกี่ยวกับโทษ ในกรณีที่บุคคลซึ่งไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียก ไม่ส่งเอกสาร ไม่มาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นต่อกรรมาธิการ โดยไม่มีเหตผลอันสมควร ให้ถือเป็นความผิดทางพินัยต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกิน 1 หมื่นบาทและให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ให้ประธานรัฐสภาออกระเบียบเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าปรับเป็นพินัยและการผ่อนชำระเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย
ต่อมา เวลา 17.20 น.หลังที่ประชุมพิจารณาเสร็จสิ้นลงมติเห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.อำนาจเรียกฯ 398 เสียง ไม่เห็นชอบ 3 เสียง ไม่ลงคะแนน 5 เสียง
‘ณัฐพงษ์’ เผย ดินเนอร์ฝ่ายค้าน หารือโควตาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล-แนวทางทำงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4960895
‘ณัฐพงษ์’ เผย ดินเนอร์พรรคร่วมฝ่ายค้าน หารือโควตาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล – แนวทางการทำงาน ไม่อึดอัดใจ ร่วมงาน ‘บิ๊กป้อม’ ส่วนแต่ละพรรคส่งใครมา เป็นเรื่องภายในพรรค ขอ ปชช. มั่นใจ อภิปรายครั้งนี้ ไม่ผิดหวัง เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่ร้านเอิกเกริก กทม. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการร่วมรับประทานอาหารกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน ถึงหัวข้อการพูดคุยในวันนี้ ว่า หลักๆ จะมาหารือในเรื่องการจัดสรรเวลาในการอภิปรายต่างๆ ทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 151 และอีกประเด็นหนึ่ง คือการหารือการทำงานของพรรคฝ่ายค้าน เช่น ในเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้าน ได้มีการจัดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชนแล้ว จะพยายามสานต่อเวทีนี้ต่อไป
เมื่อถามว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านยังมีจำนวนเท่าเดิมหรือไม่ ภายหลังพรรคไทยสร้างไทย เหมือนมีจุดยืนทางการเมืองร่วมกับฝั่งรัฐบาล นายณัฐพงษ์ ยืนยันว่า ในส่วนของพรรคไทยสร้างไทยเป็นเรื่องภายในของแต่ละพรรค แต่ตัวเราเองยึดในหลักการ ซึ่งมีการส่งเทียบเชิญ และมีการส่งตัวแทนของพรรคมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน ส่วนกระบวนการภายในของแต่ละพรรคเป็นอย่างไรนั้น พรรคประชาชนเอง ไม่สามารถก้าวก่ายเรื่องภายในของแต่ละพรรคได้
ส่วนข้อมูลการอภิปรายต้องมีการเอามาแชร์กันหรือไม่ ภายหลังบทบาทพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาติดตามเรื่องนโยบายและการตรวจสอบรัฐบาล นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ปกติการทำงานของพรรคฝ่ายค้านใช้วิธีการจัดสรรโควตาในการอภิปราย ส่วนเนื้อหาในการอภิปรายอย่างไรนั้น ที่ผ่านมาในกระบวนการปกติ ไม่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพราะแต่ละพรรคมีการทำโจทย์ และการทำการบ้านของตัวเองในการอภิปรายแล้ว ดังนั้น การหารือในการรับประทานร่วมกันในวันนี้ จะพูดคุยเรื่องการทำงานกับพรรคร่วม
เมื่อถามว่าจะมีการอภิปรายเรื่องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า มีหลายเรื่องที่ตอนนี้เราได้รับข้อมูลมาจากหลายฝ่าย นอกจากที่มาสื่อสารเรื่องการพูดคุยของพรรคร่วมฝ่ายค้านแล้ว ตนเองอยากสื่อสารถึงประชาชน ข้าราชการที่ทำงานอยู่ในทุกส่วนราชการ ถ้ามีข้อมูลอะไรที่พบการทุจริตคอรัปชั่น หรือการดำเนินนโยบายของรัฐที่ไม่ถูกต้อง สามารถส่งข้อมูลมาที่พรรคประชาชน หรือพรรคร่วมฝ่ายค้านได้เลย
ส่วนจะมีข้อมูลใหม่หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาคนผิดหวังกับการอภิปราย นายณัฐพงษ์ ระบุว่า ไม่ผิดหวังแน่นอน อยากให้ติดตามทั้งนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แถลงข่าวไปก่อนหน้านี้ และในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจอย่างแน่นอน และเนื้อหาในการอภิปรายเข้มข้นอย่างแน่นอน