ปชน. จ่อยื่นร่างตั้ง สสร. แก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง 12 ธ.ค. นี้ หวังสมาชิกรัฐสภาร่วมผลักดัน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2830263
พรรคประชาชน ร่ายยาววันรัฐธรรมนูญ เผย 12 ธ.ค. นี้ เตรียมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องให้มี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง หวังประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างให้ วอน สส. ฝ่ายค้าน-รัฐบาล-สว. ร่วมผลักดันให้ผ่าน
วันที่ 10 ธ.ค. 2567 พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ ว่า
ทำไมประเทศไทยจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด หากเทียบสถานะของรัฐธรรมนูญในวันรัฐธรรมนูญปีนี้ (10 ธันวาคม 2567) กับวันรัฐธรรมนูญปีที่แล้ว (10 ธันวาคม 2566)
สิ่งที่คืบหน้าตามกาลเวลาคือการสิ้นอายุของบทเฉพาะกาล ซึ่งทำให้เราไม่มี สว. (สมาชิกวุฒิสภา) ที่มาจากการแต่งตั้ง มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีและแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลอีกต่อไป
แต่อีกมุมหนึ่ง ยังไม่มีสักมาตราในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติม ในขณะที่ประเทศเรายังไม่ได้ขยับเข้าใกล้การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่าที่ควร ประชามติที่ต้องจัดก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ตราบใดที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ยังไม่ถูกแก้ไข ปัญหาหลายอย่างในการเมืองและสังคมไทยจะยังอยู่ในสภาพที่อำนาจและสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีความ “อ่อนแอ”
1. อำนาจประชาชนอ่อนแอ
(โครงสร้างรัฐเปิดช่องให้ “อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” บั่นทอน “อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน”)
- วุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะยังมีอำนาจชี้ขาดในการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ หากไม่ได้รับเสียงเห็นชอบจาก 1 ใน 3 ของ สว.)
- วุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะยังมีอำนาจชี้ขาดในการรับรอง-ไม่รับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
- ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จะยังมีอำนาจในการวินิจฉัยหรือไต่สวนกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม จนอาจนำไปสู่การตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต
- ศาลรัฐธรรมนูญ จะยังมีอำนาจยุบพรรคการเมืองด้วยเงื่อนไขที่กว้างขวางและคลุมเครือกว่าหลักสากล
- กกต. จะยังมีอำนาจแจก “ใบส้ม” ทำให้ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งต้องพ้นจากตำแหน่ง แม้ท้ายที่สุดจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา
- ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จะยังคงไม่สามารถถูกถอดถอนโดยกระบวนการที่ริเริ่มโดยประชาชนและตัวแทนประชาชนได้
- ยุทธศาสตร์ชาติ คสช. จะยังมีสถานะครอบงำนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
...
2. สิทธิเสรีภาพอ่อนแอ
(สิทธิเสรีภาพและสวัสดิการประชาชน แม้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างครอบคลุมและรัดกุมเพียงพอ)
- สิทธิเสรีภาพ จะยังถูกจำกัดได้ด้วยเหตุผลข้ออ้างเรื่อง “ความมั่นคงของรัฐ” และ “ความสงบเรียบร้อย”
- เสรีภาพในการแสดงออก-สิทธิในกระบวนการยุติธรรม จะยังคงไม่ถูกรับประกันเพียงพอในเชิงปฏิบัติ
- สิทธิชุมชนในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการในพื้นที่ จะยังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่ากับในอดีต
- สวัสดิการประชาชนในแต่ละช่วงวัย จะยังมีช่องโหว่ (เช่น สิทธิรักษาพยาบาลฟรี สิทธิเรียนฟรี)
- ความเสมอภาคทางเพศ จะยังไม่ได้รับการคุ้มครองสำหรับทุกคนภายใต้ความหลากหลายทางเพศ
- สิ่งแวดล้อมที่ดี จะยังไม่ได้ถูกระบุเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
- คำสั่ง-ประกาศ คสช. ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน จะยังถูกทำให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยอัตโนมัติ
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่เพียงเป็นวาระที่หลายพรรคการเมืองเห็นตรงกันตั้งแต่ช่วงรณรงค์เลือกตั้ง แต่ยังเป็นนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาและสัญญากับประชาชน
แม้พรรคแกนนำรัฐบาลเคยประกาศไว้ชัดเจนตั้งแต่ตอนตั้งรัฐบาล ว่ามีเป้าหมายในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป แต่มาถึงวันนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหากรัฐบาลเดินตามแผนเดิมที่จะจัดทำประชามติรวมกัน 3 ครั้ง (หลังจากที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ มีผลบังคับใช้) เราจะไม่สามารถมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป
หนทางเดียวที่เป็นไปได้ในการทำให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดย สสร. บังคับใช้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป คือการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการลดจำนวนประชามติจาก 3 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง
เมื่อต้นปี 2567 พรรคเพื่อไทยและอดีตพรรคก้าวไกลเคยพยายามเดินเส้นทางนี้โดยการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 เรื่องให้มี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ซึ่งจะนำไปสู่การทำประชามติ 2 ครั้ง) เข้าสู่รัฐสภา แต่ประธานรัฐสภาตัดสินใจไม่บรรจุร่างดังกล่าวโดยอ้างว่าจะบรรจุได้ต่อเมื่อมีการทำประชามติเพิ่มมาก่อนอีก 1 ครั้ง (รวมกันเป็น 3 ครั้ง) เนื่องจากประธานรัฐสภาตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 แตกต่างจากอดีตพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย
ดังนั้น ด่านแรกที่จะทำให้เส้นทางประชามติ 2 ครั้ง กลับมามีความเป็นไปได้ คือการขอให้ประธานรัฐสภาทบทวนการตัดสินใจจากเมื่อตอนต้นปีและหันมาบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา
โดยในการประชุมระหว่าง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ กับประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 พ.ย. เราพบว่ามีข้อมูล 2 ชุด ที่ประธานรัฐสภายังไม่ได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยเมื่อตอนต้นปี และเป็นข้อมูลสำคัญที่เราเห็นว่าจะช่วยสนับสนุนว่าการทำประชามติ 2 ครั้ง สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
(1) คำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ประกอบคำวินิจฉัยกลาง 4/2565
(2) ผลการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่าง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ กับ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 21 พ.ย.
ดังนั้น ในวันเปิดสมัยประชุมสภาฯ 12 ธ.ค. นี้ พรรคประชาชนจะยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 (เรื่องให้มี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) เข้าสู่รัฐสภาอีกรอบหนึ่ง เพื่อให้ประธานรัฐสภาและคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษาประธานรัฐสภา ได้วินิจฉัยเรื่องนี้อีกครั้งด้วยข้อมูล 2 ชุดดังกล่าวที่เพิ่มเติมเข้ามา
หากประธานรัฐสภาตัดสินใจบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา พรรคประชาชนหวังว่าสมาชิกรัฐสภาทุกคน (ทั้ง สส. ซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน และ สว.) จะร่วมมือกันผลักดันและเห็นชอบร่างดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อให้เรามี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีโอกาสทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป
https://www.facebook.com/PPLEThai/posts/pfbid02jjETZfeDzRjP6V5UA95sz627vvr1M8wa3qhRKiQgnBsQg23jBxZWr8gaC4fbvRoQl
พริษฐ์ ยํ้าจุดยืนพรรคประชาชน หนุนมี รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ร่างโดย ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง 100%
https://www.matichon.co.th/politics/news_4946608
‘พริษฐ์’ ยํ้าจุดยืน ปชน. หนุนแก้ รธน.ทั้งฉบับ จัดทำโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% ชี้ฉบับปัจจุบันขาดความชอบธรรมทาง ปชต.
เมื่อเวลา 13.15 น. วันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กล่าวถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เร็วต้องแก้รายมาตราว่า เป็นความเห็นของนาย
วิษณุ สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ แต่พรรคประชาชนยืนยันมาตลอดว่าเราสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะเรามองว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาทั้งที่มาและเนื้อหา เนื่องจากขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และขณะที่มีการยกร่าง มีหลายคนออกมารณรงค์คัดค้านถูกจับกุม ดังนั้น เราจึงอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดย ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง 100%
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบันที่มี 279 มาตรา มีเนื้อหาหลายส่วนขยายอำนาจของสถาบันการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และสามารถขัดขวางเจตนารมณ์ของประชาชนที่สะท้อนผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการจะแก้ไขเนื้อหาดังกล่าวต้องผูกพันกับหลายมาตรา ทั้งวุฒิสภาและอำนาจที่มาขององค์กรอิสระ ซึ่งต้องมีการแก้ไขหลายหมวด หลายมาตรา ดังนั้น การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงเป็นทางออกที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม เราทราบว่ากระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลา เราจึงเสนอการแก้ไขรายมาตราควบคู่ไปด้วย เพื่อแก้ไขมาตราที่จำเป็นเร่งด่วน
พริษฐ์ เมินกระแสต้าน พ.ร.บ.กลาโหม เชื่อ สภาผ่านร่างได้ หาก ประชาชน-เพื่อไทย จับมือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4946746
“พริษฐ์” เมินกระแสค้าน แก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ชี้ จำเป็นต้องมี กม.ต่อกรรัฐประหาร เชื่อสภาผ่านร่างได้ หาก “ปชน.-พท.” จับมือกันแน่น
เมื่อเวลา 13.15 น. วันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม โดยเฉพาะการสกัดการปฏิวัติ ว่า ในมุมมองของพรรคประชาชน หรืออดีตพรรคก้าวไกล การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เป็นกุญแจดอกสำคัญในการปฏิรูปกองทัพภายใต้รัฐบาลพลเรือน ตามหลักการประชาธิปไตยและมาตรฐานสากล โดยใจความสำคัญที่พรรคได้เสนอไป คือการพยายามปรับอำนาจที่มาของสภากลาโหม ซึ่งปัจจุบันมาตรา 43 เขียนไว้ว่าการดำเนินการบางเรื่อง รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นตัวแทนพลเรือน ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ แต่ต้องทำตามมติสภากลาโหม ซึ่งมีข้าราชการทหารเป็นหลัก ทั้งนโยบายการทหาร งบประมาณ และการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับทหาร ซึ่งครอบคลุมหลายภารกิจมาก
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ดังนั้นข้อเสนอของอดีตพรรคก้าวไกล และพรรคประชาชนในปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญในเรื่องของโครงสร้างสภากลาโหม โดยการปรับลดอำนาจสภากลาโหม จากที่สามารถมัดมือรัฐมนตรีกลาโหมได้ มาเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจให้เกิดความสมดุลกันมากขึ้น ระหว่างทหารกับตัวแทนรัฐบาลพลเรือน
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการแก้กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญต่อการปฏิรูปกองทัพ เพื่อให้เป็นกองทัพมืออาชีพ ไม่แทรกแซงการเมืองและเป็นไปตามหลักสากล ซึ่งวันนี้มีอย่างน้อย 2-3 ร่างที่จะเสนอเข้าสู่ โดยเฉพาะร่างของพรรคเพื่อไทยซึ่งใจความของตัวล่างสอดคล้องกับพรรคประชาชน อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างแต่ในภาพรวมคือพยายามปรับให้กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือนมากขึ้น และเข้าใจว่าอาจมีร่างของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นสิทธิของแต่ละพรรคการเมืองว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ถ้าดูตามคณิตศาสตร์ทางการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร หากพรรคประชาชนกับพรรคเพื่อไทยจับมือกันแน่น รวมกันแล้วก็มี ส.ส.ถึง 290 คน ก็สามารถผลักดันให้ทุกร่างผ่านความเห็นชอบของสภาได้ ในวาระที่ 1 คือชั้นรับหลักการ จากนั้นค่อยไปถกกันในชั้นกรรมาธิการ จึงเชื่อว่าการที่บางพรรคไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นอุปสรรค ที่พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนจะโหวตเห็นชอบในร่างของตัวเอง เพื่อให้ผ่านวาระที่ 1 ไป จึงขอเชิญชวน ส.ส.รัฐบาลร่วมกันโหวต
เมื่อถามว่า หากร่างผ่านความเห็นชอบจากสภา แต่อาจไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภา นาย
พริษฐ์กล่าวว่า อำนาจของวุฒิสภา ณ ปัจจุบัน ถ้าเป็นการแก้ไขระดับ พ.ร.บ. ไม่สามารถขัดขวางกฎหมายได้ ทำได้มากที่สุดเพียงแค่ชะลอไป 180 วัน เหมือนกฎหมายประชามติ ซึ่งอาจทำให้กรอบระยะเวลาต้องเพิ่มออกไป แต่ถ้าเสียงของสภาเกินกึ่งหนึ่ง ยืนยันว่าการแก้ไขร่างก็สามารถทำได้
JJNY : 5in1 ปชน.จ่อยื่นร่างตั้งสสร.│พริษฐ์ยํ้าจุดยืน│พริษฐ์เมินกระแสต้าน│เห็นด้วยพุ่ง 59% กม.สกัดรปห.│รายงานคอป16 เตือน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2830263
พรรคประชาชน ร่ายยาววันรัฐธรรมนูญ เผย 12 ธ.ค. นี้ เตรียมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องให้มี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง หวังประธานรัฐสภาจะบรรจุร่างให้ วอน สส. ฝ่ายค้าน-รัฐบาล-สว. ร่วมผลักดันให้ผ่าน
วันที่ 10 ธ.ค. 2567 พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ ว่า
ทำไมประเทศไทยจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด หากเทียบสถานะของรัฐธรรมนูญในวันรัฐธรรมนูญปีนี้ (10 ธันวาคม 2567) กับวันรัฐธรรมนูญปีที่แล้ว (10 ธันวาคม 2566)
สิ่งที่คืบหน้าตามกาลเวลาคือการสิ้นอายุของบทเฉพาะกาล ซึ่งทำให้เราไม่มี สว. (สมาชิกวุฒิสภา) ที่มาจากการแต่งตั้ง มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีและแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลอีกต่อไป
แต่อีกมุมหนึ่ง ยังไม่มีสักมาตราในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติม ในขณะที่ประเทศเรายังไม่ได้ขยับเข้าใกล้การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่าที่ควร ประชามติที่ต้องจัดก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ตราบใดที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ยังไม่ถูกแก้ไข ปัญหาหลายอย่างในการเมืองและสังคมไทยจะยังอยู่ในสภาพที่อำนาจและสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีความ “อ่อนแอ”
1. อำนาจประชาชนอ่อนแอ
(โครงสร้างรัฐเปิดช่องให้ “อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” บั่นทอน “อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน”)
- วุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะยังมีอำนาจชี้ขาดในการขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ หากไม่ได้รับเสียงเห็นชอบจาก 1 ใน 3 ของ สว.)
- วุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะยังมีอำนาจชี้ขาดในการรับรอง-ไม่รับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
- ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จะยังมีอำนาจในการวินิจฉัยหรือไต่สวนกรณีฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม จนอาจนำไปสู่การตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต
- ศาลรัฐธรรมนูญ จะยังมีอำนาจยุบพรรคการเมืองด้วยเงื่อนไขที่กว้างขวางและคลุมเครือกว่าหลักสากล
- กกต. จะยังมีอำนาจแจก “ใบส้ม” ทำให้ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งต้องพ้นจากตำแหน่ง แม้ท้ายที่สุดจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา
- ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จะยังคงไม่สามารถถูกถอดถอนโดยกระบวนการที่ริเริ่มโดยประชาชนและตัวแทนประชาชนได้
- ยุทธศาสตร์ชาติ คสช. จะยังมีสถานะครอบงำนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
...
2. สิทธิเสรีภาพอ่อนแอ
(สิทธิเสรีภาพและสวัสดิการประชาชน แม้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างครอบคลุมและรัดกุมเพียงพอ)
- สิทธิเสรีภาพ จะยังถูกจำกัดได้ด้วยเหตุผลข้ออ้างเรื่อง “ความมั่นคงของรัฐ” และ “ความสงบเรียบร้อย”
- เสรีภาพในการแสดงออก-สิทธิในกระบวนการยุติธรรม จะยังคงไม่ถูกรับประกันเพียงพอในเชิงปฏิบัติ
- สิทธิชุมชนในการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการในพื้นที่ จะยังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่ากับในอดีต
- สวัสดิการประชาชนในแต่ละช่วงวัย จะยังมีช่องโหว่ (เช่น สิทธิรักษาพยาบาลฟรี สิทธิเรียนฟรี)
- ความเสมอภาคทางเพศ จะยังไม่ได้รับการคุ้มครองสำหรับทุกคนภายใต้ความหลากหลายทางเพศ
- สิ่งแวดล้อมที่ดี จะยังไม่ได้ถูกระบุเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
- คำสั่ง-ประกาศ คสช. ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน จะยังถูกทำให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยอัตโนมัติ
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่เพียงเป็นวาระที่หลายพรรคการเมืองเห็นตรงกันตั้งแต่ช่วงรณรงค์เลือกตั้ง แต่ยังเป็นนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภาและสัญญากับประชาชน
แม้พรรคแกนนำรัฐบาลเคยประกาศไว้ชัดเจนตั้งแต่ตอนตั้งรัฐบาล ว่ามีเป้าหมายในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป แต่มาถึงวันนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหากรัฐบาลเดินตามแผนเดิมที่จะจัดทำประชามติรวมกัน 3 ครั้ง (หลังจากที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ มีผลบังคับใช้) เราจะไม่สามารถมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป
หนทางเดียวที่เป็นไปได้ในการทำให้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดย สสร. บังคับใช้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป คือการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการลดจำนวนประชามติจาก 3 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง
เมื่อต้นปี 2567 พรรคเพื่อไทยและอดีตพรรคก้าวไกลเคยพยายามเดินเส้นทางนี้โดยการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 เรื่องให้มี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ซึ่งจะนำไปสู่การทำประชามติ 2 ครั้ง) เข้าสู่รัฐสภา แต่ประธานรัฐสภาตัดสินใจไม่บรรจุร่างดังกล่าวโดยอ้างว่าจะบรรจุได้ต่อเมื่อมีการทำประชามติเพิ่มมาก่อนอีก 1 ครั้ง (รวมกันเป็น 3 ครั้ง) เนื่องจากประธานรัฐสภาตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 แตกต่างจากอดีตพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย
ดังนั้น ด่านแรกที่จะทำให้เส้นทางประชามติ 2 ครั้ง กลับมามีความเป็นไปได้ คือการขอให้ประธานรัฐสภาทบทวนการตัดสินใจจากเมื่อตอนต้นปีและหันมาบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา
โดยในการประชุมระหว่าง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ กับประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 พ.ย. เราพบว่ามีข้อมูล 2 ชุด ที่ประธานรัฐสภายังไม่ได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยเมื่อตอนต้นปี และเป็นข้อมูลสำคัญที่เราเห็นว่าจะช่วยสนับสนุนว่าการทำประชามติ 2 ครั้ง สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
(1) คำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ประกอบคำวินิจฉัยกลาง 4/2565
(2) ผลการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่าง กมธ.พัฒนาการเมืองฯ กับ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 21 พ.ย.
ดังนั้น ในวันเปิดสมัยประชุมสภาฯ 12 ธ.ค. นี้ พรรคประชาชนจะยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 (เรื่องให้มี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) เข้าสู่รัฐสภาอีกรอบหนึ่ง เพื่อให้ประธานรัฐสภาและคณะกรรมการที่ให้คำปรึกษาประธานรัฐสภา ได้วินิจฉัยเรื่องนี้อีกครั้งด้วยข้อมูล 2 ชุดดังกล่าวที่เพิ่มเติมเข้ามา
หากประธานรัฐสภาตัดสินใจบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สสร. เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา พรรคประชาชนหวังว่าสมาชิกรัฐสภาทุกคน (ทั้ง สส. ซีกรัฐบาลและฝ่ายค้าน และ สว.) จะร่วมมือกันผลักดันและเห็นชอบร่างดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อให้เรามี สสร. มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีโอกาสทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป
https://www.facebook.com/PPLEThai/posts/pfbid02jjETZfeDzRjP6V5UA95sz627vvr1M8wa3qhRKiQgnBsQg23jBxZWr8gaC4fbvRoQl
พริษฐ์ ยํ้าจุดยืนพรรคประชาชน หนุนมี รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ร่างโดย ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง 100%
https://www.matichon.co.th/politics/news_4946608
‘พริษฐ์’ ยํ้าจุดยืน ปชน. หนุนแก้ รธน.ทั้งฉบับ จัดทำโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% ชี้ฉบับปัจจุบันขาดความชอบธรรมทาง ปชต.
เมื่อเวลา 13.15 น. วันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กล่าวถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าหากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เร็วต้องแก้รายมาตราว่า เป็นความเห็นของนายวิษณุ สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ แต่พรรคประชาชนยืนยันมาตลอดว่าเราสนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะเรามองว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาทั้งที่มาและเนื้อหา เนื่องจากขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และขณะที่มีการยกร่าง มีหลายคนออกมารณรงค์คัดค้านถูกจับกุม ดังนั้น เราจึงอยากเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดย ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง 100%
นายพริษฐ์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบันที่มี 279 มาตรา มีเนื้อหาหลายส่วนขยายอำนาจของสถาบันการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และสามารถขัดขวางเจตนารมณ์ของประชาชนที่สะท้อนผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการจะแก้ไขเนื้อหาดังกล่าวต้องผูกพันกับหลายมาตรา ทั้งวุฒิสภาและอำนาจที่มาขององค์กรอิสระ ซึ่งต้องมีการแก้ไขหลายหมวด หลายมาตรา ดังนั้น การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงเป็นทางออกที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม เราทราบว่ากระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลา เราจึงเสนอการแก้ไขรายมาตราควบคู่ไปด้วย เพื่อแก้ไขมาตราที่จำเป็นเร่งด่วน
พริษฐ์ เมินกระแสต้าน พ.ร.บ.กลาโหม เชื่อ สภาผ่านร่างได้ หาก ประชาชน-เพื่อไทย จับมือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4946746
“พริษฐ์” เมินกระแสค้าน แก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ชี้ จำเป็นต้องมี กม.ต่อกรรัฐประหาร เชื่อสภาผ่านร่างได้ หาก “ปชน.-พท.” จับมือกันแน่น
เมื่อเวลา 13.15 น. วันที่ 10 ธันวาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม โดยเฉพาะการสกัดการปฏิวัติ ว่า ในมุมมองของพรรคประชาชน หรืออดีตพรรคก้าวไกล การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เป็นกุญแจดอกสำคัญในการปฏิรูปกองทัพภายใต้รัฐบาลพลเรือน ตามหลักการประชาธิปไตยและมาตรฐานสากล โดยใจความสำคัญที่พรรคได้เสนอไป คือการพยายามปรับอำนาจที่มาของสภากลาโหม ซึ่งปัจจุบันมาตรา 43 เขียนไว้ว่าการดำเนินการบางเรื่อง รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นตัวแทนพลเรือน ไม่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ แต่ต้องทำตามมติสภากลาโหม ซึ่งมีข้าราชการทหารเป็นหลัก ทั้งนโยบายการทหาร งบประมาณ และการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับทหาร ซึ่งครอบคลุมหลายภารกิจมาก
นายพริษฐ์กล่าวว่า ดังนั้นข้อเสนอของอดีตพรรคก้าวไกล และพรรคประชาชนในปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญในเรื่องของโครงสร้างสภากลาโหม โดยการปรับลดอำนาจสภากลาโหม จากที่สามารถมัดมือรัฐมนตรีกลาโหมได้ มาเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจให้เกิดความสมดุลกันมากขึ้น ระหว่างทหารกับตัวแทนรัฐบาลพลเรือน
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการแก้กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญต่อการปฏิรูปกองทัพ เพื่อให้เป็นกองทัพมืออาชีพ ไม่แทรกแซงการเมืองและเป็นไปตามหลักสากล ซึ่งวันนี้มีอย่างน้อย 2-3 ร่างที่จะเสนอเข้าสู่ โดยเฉพาะร่างของพรรคเพื่อไทยซึ่งใจความของตัวล่างสอดคล้องกับพรรคประชาชน อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างแต่ในภาพรวมคือพยายามปรับให้กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือนมากขึ้น และเข้าใจว่าอาจมีร่างของคณะรัฐมนตรี โดยเป็นสิทธิของแต่ละพรรคการเมืองว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ถ้าดูตามคณิตศาสตร์ทางการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร หากพรรคประชาชนกับพรรคเพื่อไทยจับมือกันแน่น รวมกันแล้วก็มี ส.ส.ถึง 290 คน ก็สามารถผลักดันให้ทุกร่างผ่านความเห็นชอบของสภาได้ ในวาระที่ 1 คือชั้นรับหลักการ จากนั้นค่อยไปถกกันในชั้นกรรมาธิการ จึงเชื่อว่าการที่บางพรรคไม่เห็นด้วย ก็ไม่เป็นอุปสรรค ที่พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนจะโหวตเห็นชอบในร่างของตัวเอง เพื่อให้ผ่านวาระที่ 1 ไป จึงขอเชิญชวน ส.ส.รัฐบาลร่วมกันโหวต
เมื่อถามว่า หากร่างผ่านความเห็นชอบจากสภา แต่อาจไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภา นายพริษฐ์กล่าวว่า อำนาจของวุฒิสภา ณ ปัจจุบัน ถ้าเป็นการแก้ไขระดับ พ.ร.บ. ไม่สามารถขัดขวางกฎหมายได้ ทำได้มากที่สุดเพียงแค่ชะลอไป 180 วัน เหมือนกฎหมายประชามติ ซึ่งอาจทำให้กรอบระยะเวลาต้องเพิ่มออกไป แต่ถ้าเสียงของสภาเกินกึ่งหนึ่ง ยืนยันว่าการแก้ไขร่างก็สามารถทำได้