JJNY : โอดมะเร็งรักษาทุกที่│ฝ่ายค้านยันยืนร่างพ.ร.บ.ประชามติ│เกณฑ์ประชามติ ทำกม.ส่อดองยาว 180 วัน│“อียู”คว่ำบาตร บ.จีน

รพ.ศรีนครินทร์ โอด มะเร็งรักษาทุกที่ ทำผู้ป่วยเพิ่ม 830% วอนสปสช.เร่งแก้ปัญหาด่วน
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4957913

รพ.ศรีนครินทร์ วอน สปสช.แก้ไขปัญหาด่วน หลังคนไข้มะเร็งเข้ารับการรักษาต่อวัน ทะลุ 830% กระทบการรักษาและการสอนนักศึกษาแพทย์ พร้อมระบุ 25 ธ.ค. เกิดปัญหาแน่เพราะต้องรับมือกับบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่อีกระลอก
 
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ที่ รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผู้อำนวยการ รพ.ศรีนครินทร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยอดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ถูกส่งต่อเข้ารับการรักษาหรือได้รับสิทธิการส่งตัว ในระบบ สปสช.ตามโครงการมะเร็งรักษาทุกที่ ส่งผลกระทบกับ รพ.อย่างมาก เนื่องจากมียอดผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยโรคมะเร็งมากขึ้นจากเดิมกว่า 830%
 
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวต่อว่า ต้องขอขอบคุณที่ผู้ป่วยทุกท่าน ให้ความมั่นใจและไว้วางใจและเชื่อมั่นในระบบการรักษาของโรงพยาบาล ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาแพทย์ แต่ก็ส่งผลกระทบอย่างมาก ทั้งในเรื่องของบุคลากร และการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์และการบริการในด้านต่างๆ เพราะต้องยอมรับว่า รพ.ศรีนครินทร์ ไม่สามารถที่จะเพิ่มเตียง เพิ่มแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ได้ ซึ่งส่งผลต่อวงรอบของการรักษาหรือมาตรฐานทางการแพทย์ที่อาจจะเกิดขึ้น จากเดิมแพทย์ 1 ท่านออกตรวจช่วงเช้า จากนั้นเข้าสู่การเรีนยนการสอนหรือการดูแลติดตามอากรผู้ปวยและงานวิจัย แต่มาวันนี้แพทย์ 1 ท่านออกตรวจเช้าถึงเที่ยงยังไม่เสร็จ ก็ต้องออกตรวจมาจนถึงบ่ายและล่วงเลยถึงค่ำ
 
เราต้องคุยกับ สปสช.ให้จริงจังเสียทีว่า โครงการมะเร็งรักษาทุกที่นั้น ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและแนวทางที่ สปสช.กำหนด เราไม่ได้มาบอกว่าปฏิเสธการให้การรักษาแต่ต้องการทำให้การบริการการรักษาโรคมะเร็งเป็นมาตรฐานเดียวกันและผู้ป่วยได้รับการบริการที่ทันเวลา เพราะทุก รพ.มีแพทย์และการให้บริการที่เชี่ยวชาญอยู่แล้ว ซึ่งจากการหารือร่วมกันของโรงพยาบาลที่ที่เป็นโรงเรียนสอนแพทย์ ล้วนต่างประสบปัญหาเดียวกัน ดังนั้น สปสช.จะต้องมาพูดคุยและรับฟังและร่วมกันแก้ไขปัญหา อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นสถานะเขื่อนแตกโดยที่ทั้งหมดมารวมอยู่ที่ รพ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์อย่างเดียว
 
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวต่ออีกว่า สปสช.ต้องใช้ระบบการส่งตัวและส่งต่อผู้ป่วยให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอยู่หนองบัวลำภู และตรวจพบว่าป่วยเป็นมะเร็ง ขั้นตอนแรกก็ต้องรักษาที่ รพ.หนองบัวลำภู ซึ่งหากเกินกำลังก็จะต้องส่งต่อการรักษามาที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี และส่งต่อการรักษามาที่ศูนย์มะเร็งอุดรธานี และหากเกินกำลังก็ถึงส่งต่อมาที่ รพ.ศรีนครินทร์
 
แต่ทุกวันนี้ ผู้ป่วยตรวจพบเป็นมะเร็ง หากใช้สิทธิ สปสช.ก็ขอใบส่งตัวมาที่ รพ.ศรีนครินทร์ทันที ทำให้ทุกวันเรามีผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆอยู่แล้วประมาณ 3,500-4,000 คนต่อวันก็จะมีผู้ป่วยมะเร็งมาสมทบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่กำลังพูดคุยกันคือวันที่ 25 ธ.ค.ที่จะถึงนี้รัฐบาลจะประกาศคิกออฟบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก แต่โรงพยาบาล โดยเฉพาะ รพ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ จะได้รับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่นเดิมคุณหมอออกตรวจได้วันละ 100 คนก็อาจจะเพิ่มขึ้นอีกว่า 50%
 
จึงอยากให้กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.นั้นได้กำหนดรูปแบบการให้บริการที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และทันรอบเวลาในการรักษาอย่างเข้มงวดด้วย” ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าว



ฝ่ายค้าน ยัน ยืนร่างพ.ร.บ.ประชามติ ตามมติสส. ปกรณ์วุฒิ หวัง นายกฯ อิ๊งค์ล็อกวันตอบกระทู้ในสภา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4957825

ฝ่ายค้าน ยัน ยืนร่างพ.ร.บ.ประชามติ ตามมติสส. ปกรณ์วุฒิ ไม่ท้อแก้รธน. ทันก่อนเลือกตั้ง หวัง นายกฯอิ๊งค์ ล็อกวันมาตอบกระทู้ถามได้
 
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 ธันวาคม ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสัปดาห์นี้ว่า จะมีกฎหมายหลายฉบับที่กรรมการพิจารณาเสร็จแล้ว เข้าสู่การพิจารณา เช่น ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร และร่างพ.ร.บ.อำนาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ที่เป็นการคืนอาวุธติดดาบให้กรรมาธิการเชิญหน่วยงาน ต่างๆ มาชี้แจงให้ข้อมูล หลังจากที่เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำสั่งเรียกขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีการแก้ไขกฎหมาย และยังมีร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่จะยืนยันตามร่างของสส. โดยได้มีการพูดคุย ปรึกษากันภายในพรรคประชาชน ว่าประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอ ส่วนที่จะต้องดึงไว้ 180 วันก็ไม่เป็นไรเพราะยังมีกฎหมายประชามติเดิมอยู่แล้ว และหากใช้การประชามติ 2 ครั้งเป็นหลัก ก็สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวถึงนัดดินเนอร์พรรรร่วมฝ่ายค้าน ในวันที่ 18ธ.ค.ว่า มีวาระหลักๆที่ผู้นำฝ่ายค้านฯ เชิญแต่ละพรรคเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของพรรคร่วมฝ่ายค้าน รอบที่แล้วเคยจัด มา1 รอบที่นายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ ตอนนี้นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน มาเป็นผู้นำฝ่ายค้านฯไม่นาน จึงอยากเชิญทุกพรรคฝ่ายค้านมาพูดคุยกัน เพราะสมัยประชุมนี้มีเรื่องสำคัญที่จะพิจารณาคือ เรื่องการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะปรึกษาหารือช่วงเวลาที่เหมาะสม และความเห็นของแต่ละพรรค รวมถึงการทำงานร่วมกันในแง่มุมอื่นๆ ด้วยการร่วมงานของพรรคร่วมฝ่ายค้านแตกต่างจากพรรคร่วมรัฐบาล เพราะไม่ได้ร่วมแบบสมัครใจ 100% และแต่ละพรรคคงมีความเห็นอุดมการณ์แนวคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการร่วมงานของพรรคร่วมฝ่ายค้านคือการสงวนจุดต่างกัน เห็นไม่เหมือนกันได้ เคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้ แต่อะไรที่สามารถทำให้การทำงานในสภาราบรื่นได้ก็จะต้องพูดคุยกัน
 
เมื่อถามว่าหวังความร่วมมือของพรรคพลังประชารัฐได้มากน้อยแค่ไหนในฐานะพรรคร่วมฝ่ายค้าน นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า การทำงานของฝ่ายค้านต่างจากรัฐบาล และตั้งแต่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคร่วมฝ่ายค้านครั้งก่อน ตนจะถามตลอดว่าในแต่ละร่างกฎหมาย มีความคิดอย่างไร ถ้าเห็นไม่เหมือนกันไม่มีปัญหาเพราะแต่ละพรรคมีแนวคิดไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ทั้งนี้คาดหวังว่าจะทำให้การทำงานในสภาราบรื่น อันไหนที่เห็นตรงกันก็อยากให้สมาชิกอยู่ร่วมกันลงมติให้มากที่สุด เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพรรคร่วมฝ่ายค้าน
 
เมื่อถามถึงเสียงของฝ่ายค้าน 170 กว่าเสียงจะทำให้การทำงานเป็นอย่างไร ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นเรื่องสำคัญและการ ทำงานตรวจสอบถ่วงดุลตามเจตจำนงของประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องจำนวนเสียงไม่ได้สำคัญกว่าการทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร
 
ส่วนหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจ นายปกรณ์วุฒิกล่าวว่า แต่ละครั้งหลากหลายขึ้นอยู่กับข้อมูลที่แต่ละพรรคมีและแต่ละปี ว่าช่วงเวลานั้นมีประเด็นอะไรที่แต่ละพรรคมีข้อมูลและติดตามอยู่ คงจะคุยในกรอบกว้างๆ ว่าแต่ละพรรคเตรียมตัวมากน้อยแค่ไหนสนใจตรวจสอบเรื่องใดเป็นพิเศษบ้าง และเรื่องนี้คงขอกันไม่ได้ ว่าจะอภิปรายหรือไม่อภิปรายเรื่องอะไร ยืนยันตรวจสอบเต็มที่
 
เมื่อถามถึงการถามกระทู้สด ฝ่ายค้านยังยืนยันว่านายณัฐพงษ์ จะเป็นคนถามอยู่ใช่หรือไม่ เพราะนายกฯก็ยืนยันว่าจะมาตอบ แต่ไม่ได้ระบุว่า นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า า ฝ่ายค้านต้องการเรียกร้องให้นายกฯ มาตอบกระทู้ถามในสภา โดยฝ่ายค้านเตรียมไว้หลายเรื่องที่สังคมสนใจต่อเนื่องตั้งแต่หลังแถลงผลงานของรัฐบาล และเห็นว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือหนักหนาอะไร แต่เป็นโอกาสอันดีที่หากนายกฯเห็นว่าการตรวจสอบถ่วงดุลในสภาเป็นเรื่องสำคัญ มาตอบกระทู้ด้วยตนเองคงจะไม่เกินความสามารถของนายกฯ เป็นโอกาสที่ดีที่นายกฯจะมาตอบชี้แจงแก้ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ถ้านายกฯ ติดภารกิจ สามารถล็อกภารกิจที่สภาล่วงหน้าไว้ 1 วันได้ เพราะภารกิจอื่นๆก็ล็อคเวลาล่วงหน้าเป็นเดือนได้
 

 
มติส.ว. 153 : 24 ยืนยัน เสียงข้างมาก 2 ชั้น เกณฑ์ประชามติ ทำกม. ส่อดองยาว 180 วัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4958023

ส.ว. ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่านกม.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเกณฑ์ประชามติเสียงข้างมากสองชั้น “อังคณา” เชื่อ ส.ส.โหวต 18 ธ.ค.นี้ยึดหลักเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา” ซัดแรง ยันที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นิกร” ชี้ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ “ส.ส.ร.”ไม่เกิด เหมือนจะให้พระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันตก
 
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 ธันวาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ
 
นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร ส.ว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว
 
เมื่อประชาชนอยากมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนบ้าง ก็มีการแก้ไขกฎหมายประชามติ กลับไปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เสมือนเวลาโจรอยากมาขึ้นบ้าน ก็เอาบันไดมาพาด พอโจรขึ้นไปแล้ว ไม่อยากให้เจ้าของปีนตามขึ้นไป ก็ถีบบันไดทิ้ง”นายนรเศรษฐ์ กล่าว
 
นางอังคณา นีละไพจิตร ส.ว. อภิปรายว่า ที่ผ่านมาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศไทยเรื่องประชามติ ล้วนเป็นการทำประชามติแบบเสียงข้างมากปกติทั้งสิ้น และวันนี้เราตอบคำถามกับประชาชนไม่ได้ว่าทำไมเราถึงใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำไมสว.ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประชามติ ที่จะให้กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและประชาชนจับตามองโดยการแก้ไขให้กลับมาเป็นเสียงข้างมากปกติจะลดความซับซ้อนของการทำประชามติและนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับบริบทของสังคม และวันนี้บทบาทของวุฒิสภากำลังถูกจับตามองทั้งจากคนไทยและองค์การระหว่างประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่