เรียกร้องไทยเร่งให้ความคุ้มครองแรงงานพม่าอย่างรอบด้าน
https://prachatai.com/journal/2024/12/111789
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) เผยสถานการณ์แรงงานพม่าในไทยหลังรัฐประหาร 2021 พบกรณีนายจ้างฉวยโอกาสกดค่าแรงเหลือวันละ 150 บาท ขณะที่แรงงานต้องแบกรับภาระภาษีซ้ำซ้อนจากกองทัพ เสี่ยงผลักดันให้ตกอยู่ในสถานะผิดกฎหมาย เรียกร้องไทยเร่งให้ความคุ้มครองอย่างรอบด้าน
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ออก แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN)
Neighbours in Need: เรียกร้องการคุ้มครองที่ครอบคลุมสำหรับผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมา โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้
แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN)
Neighbours in Need: เรียกร้องการคุ้มครองที่ครอบคลุมสำหรับผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมา
“หลังจากเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจของทหารในเมียนมา สองพี่น้อง เมย์และคิน เริ่มกังวลเรื่องความปลอดภัย เมื่อทราบว่าภาพถ่ายของพวกเธอปรากฏอยู่ในสื่อเกี่ยวกับการประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน ธุรกิจรถจักรยานยนต์รับ-ส่งของพ่อก็ต้องหยุดชะงักจากเหตุรัฐประหาร ด้วยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความลำบากในชีวิต ทั้งสองตัดสินใจละทิ้งครอบครัวและการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเพื่อหาที่ลี้ภัยและทำงานในประเทศไทย ปัจจุบัน เมย์และคินทำงานในโรงงานแปรรูปปลาในจังหวัดสมุทรสาคร โดยทำงานวันละ 8-10 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน ทั้งสองมีเพื่อนร่วมงานอีกประมาณ 10,000 คนในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจากเมียนมา”
เส้นทางการเดินทางจากเมียนมาสู่ประเทศไทยของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างกันตามประสบการณ์และแรงจูงใจที่หลากหลาย บางคนมาเพื่อแสวงหาที่หลบภัย หรือโอกาสการจ้างงาน เรื่องราวของพวกเขาสะท้อนถึงความท้าทายและความหวังที่หลากหลาย
เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาและนิทรรศการในหัวข้อ Neighbours in Need: การย้ายถิ่นจากเมียนมา
โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงธรรมชาติของการย้ายถิ่นผสมจากเมียนมาหลังรัฐประหารในปี 2021 รวมถึงความท้าทายที่ผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาต้องเผชิญในประเทศไทย พร้อมทั้งเรียกร้องการตอบสนองที่ครอบคลุมจากมุมมองด้านมนุษยธรรม MMN ได้ชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการบังคับเกณฑ์ทหารในเมียนมา นโยบายการบังคับส่งเงินกลับประเทศ และการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจากกองทัพ ซึ่งสร้างความลำบากให้กับแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
ในแง่ของวิกฤตการย้ายถิ่นจากเมียนมา ดร. ศิรดา เขมานิฏฐาไท จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายถึงสาเหตุของการย้ายถิ่นผสมและหลากหลาย เช่น การปราบปรามทางการเมือง ความขัดแย้งติดอาวุธ วิกฤตด้านเศรษฐกิจและมนุษยธรรม การบังคับเกณฑ์ทหาร และวิกฤตการณ์ด้านการศึกษา
นายบราห์ม เพรส ผู้อำนวยการมูลนิธิแมพ กล่าวถึงสถานะที่เปราะบางของแรงงานข้ามชาติในภาคเกษตรกรรม โดยแรงงานเหล่านี้กังวลว่าจะไม่สามารถจ่ายภาษีที่สถานกงสุลเมียนมาเรียกเก็บเมื่อทำการต่ออายุเอกสารได้ ซึ่งอาจบีบให้พวกเขาจำใจต้องตกอยู่ในสถานะผิดกฎหมาย
นางสาวอีฟ จากสมาคมแรงงานยองจีอู กล่าวถึงความท้าทายของแรงงานข้ามชาติในแม่สอดว่า นายจ้างหลายคนฉกฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ความสิ้นหวังของแรงงานจากเมียนมา โดยในบางโรงงาน นายจ้างปรับค่าแรงรายวันเหลือเพียง 150 บาท เพราะรู้ว่ามีแรงงานมาใหม่จำนวนมากที่กำลังมองหางานทำ นอกจากนี้นายจ้างมักข่มขู่แรงงานว่าหากไม่พอใจกับค่าจ้างที่ให้ ก็สามารถลาออกได้ “ในขณะที่เราทำงานหนักขึ้น แต่เรากลับยากจนลงไปทุกที” นางสาวอีฟกล่าว
นางวาคูชี จากเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อการสนับสนุนสันติภาพ เปิดเผยว่า การโจมตีทางอากาศของกองทัพและการมุ่งเป้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือนโดยเจตนา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และชาวบ้านชาวกะเหรี่ยงกว่า 1 ล้านคนต้องพลัดถิ่นฐาน องค์กรชุมชนจำนวนเจ็ดแห่งในอำเภอแม่สะเรียง ได้ร่วมมือกันจัดตั้งทีมช่วยเหลือฉุกเฉินชายแดน และอีกสิบเอ็ดองค์กรชุมชนในอำเภอแม่สอด ได้จัดตั้งทีมตอบสนองฉุกเฉินชาวกะเหรี่ยง เพื่อส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมข้ามพรมแดนแก่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ
จายกอแและไหม ซึ่งกำลังรอการอนุมัติขั้นสุดท้ายสำหรับสถานะผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรและการขอมีสัญชาติไทย ได้เล่าถึงประสบการณ์การใช้ชีวิตในประเทศไทยในฐานะบุคคลไร้สัญชาติว่า หลังจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ทั้งสองมีความหวังว่าการขออนุมัติของพวกเขาจะได้รับการพิจารณา แต่พบว่าความคืบหน้ายังคงล่าช้า จายกอแและไหมเล่าต่อว่าพวกเขาเติบโตและได้รับการศึกษาในประเทศไทย ใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว และมองว่าประเทศไทยคือบ้านที่แท้จริงของพวกเขา
การเสวนาเน้นย้ำถึงสถานการณ์เร่งด่วนของผู้ย้ายถิ่นทุกคนจากเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำงานในฐานะแรงงานข้ามชาติหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP camps) โดยผู้ร่วมอภิปรายต่างให้ความสำคัญกับการให้การคุ้มครองอย่างรอบด้านจากประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัย การเข้าถึงเอกสารประจำตัว บริการสุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึงการจ้างงานที่ยุติธรรม
สุดท้ายนี้ เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) หวังว่าจะเห็นการยกระดับความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคประชาสังคม นักวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาอย่างยั่งยืน
เกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN)
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ Mekong Migration Network (MMN) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 เป็นเครือข่ายระดับอนุภูมิภาคขององค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันวิจัยที่ทำงานเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้ย้ายถิ่นและครอบครัวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การดำเนินงานร่วมกันของ MMN ได้แก่ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม การรณรงค์ให้ความรู้ การเสริมสร้างศักยภาพ และการสร้างเครือข่าย MMN มีองค์กรสมาชิกที่ดำเนินงานทั้งในประเทศต้นทางและปลายทางของการย้ายถิ่น โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแรงงานข้ามชาติในระดับรากหญ้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MMN สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MMN ได้ที่: www.mekongmigration.org
“กัณวีร์” มอง กต. มาเกือบถูกทาง หลังถกร่วม 6 ปท.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_818995/
“กัณวีร์” มอง กระทรวงการต่างประทศ มาเกือบถูกทางแล้ว ประชุมร่วม 6 ประเทศ แต่ต้องระวังตกกับดักหลุมพรางให้ทหารเมียนมาฟอกตัว ย้ำ อย่าทำการทูตหลงทาง
นาย
กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศริเริ่มประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนระดับสูง 6 ประเทศ ทั้งไทย, เมียนมา, สปป.ลาว, จีน, อินเดีย และบังคลาเทศ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกันโดยเฉพาะเรื่องเมียนมา
ซึ่งการหารืออย่างไม่เป็นทางการที่เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ของไทยเมื่อวานนี้ ถือว่ามาเกือบจะถูกทาง แต่ก็คงยังหลงอยู่ดี ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำคล้ายๆ กับสิ่งที่ตนเสนอตั้งแต่แรกตอนเข้ามาในสภาผู้แทนเมื่อกลางปี 2566 ที่เคยเสนอเรื่อง Inter-Parliamentarian for Myanmar Peace Corridor (IPMPC) แตกต่างกันตรงที่เสนอเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ
กับฝ่ายบริหารที่ฝ่ายรัฐบาลได้ทำ แต่ยังหลงทางอย่างสูง ถามว่า ผิดทางหรือไม่ คงไม่ผิด แต่หลงทางแน่ๆ เพราะมีเรื่องหนึ่งที่ขอย้ำให้คนที่อยากทำเรื่องสันติภาพในเมียนมาว่า ต้องมีความเข้าใจบริบทประทศเพื่อนบ้านทั้ง 5 ของเมียนมากับการสร้างสันติภาพในเมียนมาด้วย การสร้างสันติภาพต้องมาจาก “ภายใน” หรือ “Within” ที่จะเป็นการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่าบริบทของประเทศเมียนมากับชายแดนของตัวเองนั้น เน้นได้เรื่องเดียวแต่หลายกิจกรรม นั่นก็คือ การดำเนินงานนโยบายปิดล้อม (Containment Policy) เพราะต้องเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่ในหัวของทหารเมียนมาที่ให้ความสำคัญมากกับชายแดนของตน ที่มีอาณาเขตติดมหาอำนาจถึง 2 ประเทศอย่างจีนและอินเดีย
และติดกับไทยที่มีชายแดนยาวที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ พร้อมมองว่า ต้องประเมินให้ออกว่าเมียนมาเพลี่ยงพล้ำให้กับกองกำลังกลุ่มต่อต้านต่างๆ รอบชายแดนของตนมากกว่า 70% และการเปิดประตูครั้งนี้ให้คุยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยง่าย เพราะคงต้องพึ่งประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 5 ในการมอนิเตอร์สถานการณ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของกองกำลังกลุ่มต่อต้านต่างๆ และใช้ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมดเพื่อบริหารจัดการกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านรอบประเทศนั่นเอง เรื่องนี้จึงต้องมองลึกๆ
ทั้งนี้ ทั่วโลกร่วมประณามและปฏิเสธความชอบธรรมที่ทหารเมียนมาพยายามยัดเยียดให้ประเทศโดยหาพวกต่างชาติมาร่วมรับรอง อย่าอ่อนหัดทางประชาธิปไตยไปยอมรับเขา มันคือการทูตหลงทาง เพราะคิดว่าตัวเองเป็นคนคิดริเริ่ม จำกันได้มั้ยว่ามีคนในฝั่งรัฐบาลพยายามให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รับรองให้เป็นตัวแทนเพื่อไปพูดคุยกับทหารเมียนมา แต่ทุกกลุ่มก็ปฏิเสธ ตอนนี้เลยไปตกกับดักหลุมพรางแทน
ดังนั้น วันนี้จะใช้กรอบอาเซียนพูดคุยกัน ลองกลับไปดูหลักการสำคัญ non-interference หลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักสำคัญของกฏบัตรอาเซียน ที่มันทำให้อาเซียนทำอะไรได้ไม่มาก ไปเปลี่ยนมันเสียก่อนครับ แล้วค่อยคิดเรื่องการใช้กลไกนี้ในเรื่องสถานการณ์ของภูมิภาค อ่านเกมส์ในภูมิภาคให้ขาด เข้าใจกลไกที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด และใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ทันต่อสถานการณ์/เหตุการณ์ในศตวรรษที่ 21 อย่างเข้าใจที่ถ่องแท้ มันจะทำให้ประเทศเราดูดีมีบทบาทการเป็นผู้นำอย่างสมาร์ทและมีเกียรติ สมควรเป็นที่ยอมรับต่อไป
รัสเซีย-ยูเครน ยิงขีปนาวุธโจมตีแลกกันเดือด มอสโกอ้างดับ 5 เผยฉุนเคียฟ ใช้ขีปนาวุธมะกัน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4965038
รัสเซีย-ยูเครน ยิงขีปนาวุธโจมตีแลกกันเดือด มอสโกอ้างดับ 5 เผยฉุนเคียฟใช้ขีปนาวุธมะกัน
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า รัสเซียและยูเครนต่างกล่าวหาอีกฝ่ายว่ายิงขีปนาวุธโจมตีดินแดนของอีกฝ่ายอย่างรุนแรงในวันศุกร์ (20 ธ.ค.) โดยนาย
อเล็กซานเดอร์ คินชไตน์ ผู้ว่าการแคว้นคูร์สก์ของรัสเซียติดกับชายแดนยูเครน กล่าวอ้างว่ายูเครนได้ยิงขีปนาวุธ HIMARS ที่สหรัฐอเมริกาจัดหาให้ โจมตีเป้าหมายพลเรือนในเมืองริลสก์ ในแคว้นคูร์สก์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 12 ราย
ผู้ว่าการแคว้นคูร์สก์กล่าวว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับอาคารหลายแห่ง รวมถึงโรงเรียนและหอพักของวิทยาลัยฝึกหัดนักบิน
คลิปวิดีโอที่มีการแชร์บนโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นสภาพพื้นที่ที่ถูกโจมตีที่ไฟกำลังลุกไหม้รถยนต์หลายคัน มีเศษซากปรักหักพังกระจายเกลื่อนบนท้องถนนและอาคารหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก
JJNY : เรียกร้องไทยเร่งให้ความคุ้มครองแรงงานพม่า│“กัณวีร์”มองกต.มาเกือบถูกทาง│รัสเซีย-ยูเครนโจมตีแลกกัน│‘ไบเดน’ ทิ้งทวน!
https://prachatai.com/journal/2024/12/111789
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) เผยสถานการณ์แรงงานพม่าในไทยหลังรัฐประหาร 2021 พบกรณีนายจ้างฉวยโอกาสกดค่าแรงเหลือวันละ 150 บาท ขณะที่แรงงานต้องแบกรับภาระภาษีซ้ำซ้อนจากกองทัพ เสี่ยงผลักดันให้ตกอยู่ในสถานะผิดกฎหมาย เรียกร้องไทยเร่งให้ความคุ้มครองอย่างรอบด้าน
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ออก แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN)
Neighbours in Need: เรียกร้องการคุ้มครองที่ครอบคลุมสำหรับผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมา โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้
แถลงการณ์เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN)
Neighbours in Need: เรียกร้องการคุ้มครองที่ครอบคลุมสำหรับผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมา
“หลังจากเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจของทหารในเมียนมา สองพี่น้อง เมย์และคิน เริ่มกังวลเรื่องความปลอดภัย เมื่อทราบว่าภาพถ่ายของพวกเธอปรากฏอยู่ในสื่อเกี่ยวกับการประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน ธุรกิจรถจักรยานยนต์รับ-ส่งของพ่อก็ต้องหยุดชะงักจากเหตุรัฐประหาร ด้วยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความลำบากในชีวิต ทั้งสองตัดสินใจละทิ้งครอบครัวและการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเพื่อหาที่ลี้ภัยและทำงานในประเทศไทย ปัจจุบัน เมย์และคินทำงานในโรงงานแปรรูปปลาในจังหวัดสมุทรสาคร โดยทำงานวันละ 8-10 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน ทั้งสองมีเพื่อนร่วมงานอีกประมาณ 10,000 คนในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจากเมียนมา”
เส้นทางการเดินทางจากเมียนมาสู่ประเทศไทยของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างกันตามประสบการณ์และแรงจูงใจที่หลากหลาย บางคนมาเพื่อแสวงหาที่หลบภัย หรือโอกาสการจ้างงาน เรื่องราวของพวกเขาสะท้อนถึงความท้าทายและความหวังที่หลากหลาย
เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดเสวนาและนิทรรศการในหัวข้อ Neighbours in Need: การย้ายถิ่นจากเมียนมา
โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงธรรมชาติของการย้ายถิ่นผสมจากเมียนมาหลังรัฐประหารในปี 2021 รวมถึงความท้าทายที่ผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาต้องเผชิญในประเทศไทย พร้อมทั้งเรียกร้องการตอบสนองที่ครอบคลุมจากมุมมองด้านมนุษยธรรม MMN ได้ชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการบังคับเกณฑ์ทหารในเมียนมา นโยบายการบังคับส่งเงินกลับประเทศ และการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจากกองทัพ ซึ่งสร้างความลำบากให้กับแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
ในแง่ของวิกฤตการย้ายถิ่นจากเมียนมา ดร. ศิรดา เขมานิฏฐาไท จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายถึงสาเหตุของการย้ายถิ่นผสมและหลากหลาย เช่น การปราบปรามทางการเมือง ความขัดแย้งติดอาวุธ วิกฤตด้านเศรษฐกิจและมนุษยธรรม การบังคับเกณฑ์ทหาร และวิกฤตการณ์ด้านการศึกษา
นายบราห์ม เพรส ผู้อำนวยการมูลนิธิแมพ กล่าวถึงสถานะที่เปราะบางของแรงงานข้ามชาติในภาคเกษตรกรรม โดยแรงงานเหล่านี้กังวลว่าจะไม่สามารถจ่ายภาษีที่สถานกงสุลเมียนมาเรียกเก็บเมื่อทำการต่ออายุเอกสารได้ ซึ่งอาจบีบให้พวกเขาจำใจต้องตกอยู่ในสถานะผิดกฎหมาย
นางสาวอีฟ จากสมาคมแรงงานยองจีอู กล่าวถึงความท้าทายของแรงงานข้ามชาติในแม่สอดว่า นายจ้างหลายคนฉกฉวยประโยชน์จากสถานการณ์ความสิ้นหวังของแรงงานจากเมียนมา โดยในบางโรงงาน นายจ้างปรับค่าแรงรายวันเหลือเพียง 150 บาท เพราะรู้ว่ามีแรงงานมาใหม่จำนวนมากที่กำลังมองหางานทำ นอกจากนี้นายจ้างมักข่มขู่แรงงานว่าหากไม่พอใจกับค่าจ้างที่ให้ ก็สามารถลาออกได้ “ในขณะที่เราทำงานหนักขึ้น แต่เรากลับยากจนลงไปทุกที” นางสาวอีฟกล่าว
นางวาคูชี จากเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อการสนับสนุนสันติภาพ เปิดเผยว่า การโจมตีทางอากาศของกองทัพและการมุ่งเป้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือนโดยเจตนา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และชาวบ้านชาวกะเหรี่ยงกว่า 1 ล้านคนต้องพลัดถิ่นฐาน องค์กรชุมชนจำนวนเจ็ดแห่งในอำเภอแม่สะเรียง ได้ร่วมมือกันจัดตั้งทีมช่วยเหลือฉุกเฉินชายแดน และอีกสิบเอ็ดองค์กรชุมชนในอำเภอแม่สอด ได้จัดตั้งทีมตอบสนองฉุกเฉินชาวกะเหรี่ยง เพื่อส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมข้ามพรมแดนแก่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ
จายกอแและไหม ซึ่งกำลังรอการอนุมัติขั้นสุดท้ายสำหรับสถานะผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรและการขอมีสัญชาติไทย ได้เล่าถึงประสบการณ์การใช้ชีวิตในประเทศไทยในฐานะบุคคลไร้สัญชาติว่า หลังจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ทั้งสองมีความหวังว่าการขออนุมัติของพวกเขาจะได้รับการพิจารณา แต่พบว่าความคืบหน้ายังคงล่าช้า จายกอแและไหมเล่าต่อว่าพวกเขาเติบโตและได้รับการศึกษาในประเทศไทย ใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว และมองว่าประเทศไทยคือบ้านที่แท้จริงของพวกเขา
การเสวนาเน้นย้ำถึงสถานการณ์เร่งด่วนของผู้ย้ายถิ่นทุกคนจากเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำงานในฐานะแรงงานข้ามชาติหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP camps) โดยผู้ร่วมอภิปรายต่างให้ความสำคัญกับการให้การคุ้มครองอย่างรอบด้านจากประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัย การเข้าถึงเอกสารประจำตัว บริการสุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึงการจ้างงานที่ยุติธรรม
สุดท้ายนี้ เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) หวังว่าจะเห็นการยกระดับความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคประชาสังคม นักวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้ย้ายถิ่นจากเมียนมาอย่างยั่งยืน
เกี่ยวกับเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN)
เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ Mekong Migration Network (MMN) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 เป็นเครือข่ายระดับอนุภูมิภาคขององค์กรภาคประชาสังคมและสถาบันวิจัยที่ทำงานเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้ย้ายถิ่นและครอบครัวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การดำเนินงานร่วมกันของ MMN ได้แก่ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม การรณรงค์ให้ความรู้ การเสริมสร้างศักยภาพ และการสร้างเครือข่าย MMN มีองค์กรสมาชิกที่ดำเนินงานทั้งในประเทศต้นทางและปลายทางของการย้ายถิ่น โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแรงงานข้ามชาติในระดับรากหญ้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MMN สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MMN ได้ที่: www.mekongmigration.org
“กัณวีร์” มอง กต. มาเกือบถูกทาง หลังถกร่วม 6 ปท.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_818995/
“กัณวีร์” มอง กระทรวงการต่างประทศ มาเกือบถูกทางแล้ว ประชุมร่วม 6 ประเทศ แต่ต้องระวังตกกับดักหลุมพรางให้ทหารเมียนมาฟอกตัว ย้ำ อย่าทำการทูตหลงทาง
นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศริเริ่มประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนระดับสูง 6 ประเทศ ทั้งไทย, เมียนมา, สปป.ลาว, จีน, อินเดีย และบังคลาเทศ เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกันโดยเฉพาะเรื่องเมียนมา
ซึ่งการหารืออย่างไม่เป็นทางการที่เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ของไทยเมื่อวานนี้ ถือว่ามาเกือบจะถูกทาง แต่ก็คงยังหลงอยู่ดี ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำคล้ายๆ กับสิ่งที่ตนเสนอตั้งแต่แรกตอนเข้ามาในสภาผู้แทนเมื่อกลางปี 2566 ที่เคยเสนอเรื่อง Inter-Parliamentarian for Myanmar Peace Corridor (IPMPC) แตกต่างกันตรงที่เสนอเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ
กับฝ่ายบริหารที่ฝ่ายรัฐบาลได้ทำ แต่ยังหลงทางอย่างสูง ถามว่า ผิดทางหรือไม่ คงไม่ผิด แต่หลงทางแน่ๆ เพราะมีเรื่องหนึ่งที่ขอย้ำให้คนที่อยากทำเรื่องสันติภาพในเมียนมาว่า ต้องมีความเข้าใจบริบทประทศเพื่อนบ้านทั้ง 5 ของเมียนมากับการสร้างสันติภาพในเมียนมาด้วย การสร้างสันติภาพต้องมาจาก “ภายใน” หรือ “Within” ที่จะเป็นการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน
นายกัณวีร์ กล่าวว่าบริบทของประเทศเมียนมากับชายแดนของตัวเองนั้น เน้นได้เรื่องเดียวแต่หลายกิจกรรม นั่นก็คือ การดำเนินงานนโยบายปิดล้อม (Containment Policy) เพราะต้องเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่ในหัวของทหารเมียนมาที่ให้ความสำคัญมากกับชายแดนของตน ที่มีอาณาเขตติดมหาอำนาจถึง 2 ประเทศอย่างจีนและอินเดีย
และติดกับไทยที่มีชายแดนยาวที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ พร้อมมองว่า ต้องประเมินให้ออกว่าเมียนมาเพลี่ยงพล้ำให้กับกองกำลังกลุ่มต่อต้านต่างๆ รอบชายแดนของตนมากกว่า 70% และการเปิดประตูครั้งนี้ให้คุยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยง่าย เพราะคงต้องพึ่งประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 5 ในการมอนิเตอร์สถานการณ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของกองกำลังกลุ่มต่อต้านต่างๆ และใช้ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมดเพื่อบริหารจัดการกับกองกำลังกลุ่มต่อต้านรอบประเทศนั่นเอง เรื่องนี้จึงต้องมองลึกๆ
ทั้งนี้ ทั่วโลกร่วมประณามและปฏิเสธความชอบธรรมที่ทหารเมียนมาพยายามยัดเยียดให้ประเทศโดยหาพวกต่างชาติมาร่วมรับรอง อย่าอ่อนหัดทางประชาธิปไตยไปยอมรับเขา มันคือการทูตหลงทาง เพราะคิดว่าตัวเองเป็นคนคิดริเริ่ม จำกันได้มั้ยว่ามีคนในฝั่งรัฐบาลพยายามให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รับรองให้เป็นตัวแทนเพื่อไปพูดคุยกับทหารเมียนมา แต่ทุกกลุ่มก็ปฏิเสธ ตอนนี้เลยไปตกกับดักหลุมพรางแทน
ดังนั้น วันนี้จะใช้กรอบอาเซียนพูดคุยกัน ลองกลับไปดูหลักการสำคัญ non-interference หลักการไม่แทรกแซงซึ่งเป็นหลักสำคัญของกฏบัตรอาเซียน ที่มันทำให้อาเซียนทำอะไรได้ไม่มาก ไปเปลี่ยนมันเสียก่อนครับ แล้วค่อยคิดเรื่องการใช้กลไกนี้ในเรื่องสถานการณ์ของภูมิภาค อ่านเกมส์ในภูมิภาคให้ขาด เข้าใจกลไกที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด และใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ทันต่อสถานการณ์/เหตุการณ์ในศตวรรษที่ 21 อย่างเข้าใจที่ถ่องแท้ มันจะทำให้ประเทศเราดูดีมีบทบาทการเป็นผู้นำอย่างสมาร์ทและมีเกียรติ สมควรเป็นที่ยอมรับต่อไป
รัสเซีย-ยูเครน ยิงขีปนาวุธโจมตีแลกกันเดือด มอสโกอ้างดับ 5 เผยฉุนเคียฟ ใช้ขีปนาวุธมะกัน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4965038
รัสเซีย-ยูเครน ยิงขีปนาวุธโจมตีแลกกันเดือด มอสโกอ้างดับ 5 เผยฉุนเคียฟใช้ขีปนาวุธมะกัน
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า รัสเซียและยูเครนต่างกล่าวหาอีกฝ่ายว่ายิงขีปนาวุธโจมตีดินแดนของอีกฝ่ายอย่างรุนแรงในวันศุกร์ (20 ธ.ค.) โดยนายอเล็กซานเดอร์ คินชไตน์ ผู้ว่าการแคว้นคูร์สก์ของรัสเซียติดกับชายแดนยูเครน กล่าวอ้างว่ายูเครนได้ยิงขีปนาวุธ HIMARS ที่สหรัฐอเมริกาจัดหาให้ โจมตีเป้าหมายพลเรือนในเมืองริลสก์ ในแคว้นคูร์สก์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 12 ราย
ผู้ว่าการแคว้นคูร์สก์กล่าวว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับอาคารหลายแห่ง รวมถึงโรงเรียนและหอพักของวิทยาลัยฝึกหัดนักบิน
คลิปวิดีโอที่มีการแชร์บนโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นสภาพพื้นที่ที่ถูกโจมตีที่ไฟกำลังลุกไหม้รถยนต์หลายคัน มีเศษซากปรักหักพังกระจายเกลื่อนบนท้องถนนและอาคารหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก