ทัศนีย์ ยันตระกูลบูรณุปกรณ์ไม่ส่งใครชิงนายก อบจ.เชียงใหม่ ยินดีให้คำปรึกษา ‘พันธ์อาจ’
https://www.matichon.co.th/region/news_4960609
ทัศนีย์ ยันตระกูลบูรณุปกรณ์ ไม่ส่งใครชิงนายก อบจ.เชียงใหม่ ยินดีให้คำปรึกษาการเมืองท้องถิ่น ‘พันธ์อาจ’
วันที่ 18 ธันวาคม น.ส.
ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ ในฐานะสมาชิกพรรคประชาชน เปิดเผยการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ หลัง นาย
พิชัย เลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง นายก อบจ. ลาออก มีผลวันที่ 17 ธันวาคม ก่อนครบวาระวันที่ 19 ธันวาคม เพียง 2 วัน ว่า พรรคประชาชน ได้ส่งนาย
พันธ์อาจ ชัยรัตน์ เป็นว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ และลงพื้นที่แนะนำตัวหลายเดือนแล้ว ส่วนวันรับสมัครวันแรก คือ วันที่ 23 ธันวาคมนี้ ส่วนตัวไม่ได้ไปสนับสนุนหรือให้กำลังใจอย่างใด เพราะติดภารกิจและนัดหมายล่วงหน้าไว้แล้ว
ส่วนการช่วยหาเสียงให้กับ นาย
พันธ์อาจ ทางพรรคไม่ได้ร้องขอและประสานงานอย่างใด คงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารพรรค และส.ส.พรรคทั้ง 7 เขต จาก 10 เขต ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่า โดยเฉพาะเขต 1 ที่เคยเป็นพื้นที่เดิมของตนเอง ดังนั้นไม่สามารถเข้าไปชี้นำ หรือก้าวก่ายได้ ต้องให้เกียรติ น.ส.
เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู หรือพลอย ส.ส.เชียงใหม่ เขต 1 พรรคประชาชน เจ้าของพื้นที่ในปัจจุบัน ช่วยหา เสียงให้นาย
พันธ์อาจ เป็นนายกอบจ.เชียงใหม่แทน แต่ตนขอยินดีให้คำปรึกษาแนะนำการเมืองท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ ในฐานะที่เคยเป็นนายกเทศมนตรีตำบลช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ มาก่อนเท่านั้น
น.ส.
ทัศนีย์ กล่าวว่า การเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงใหม่ ขอยืนยันว่าตระกูล
บูรณุปกรณ์ ไม่ส่งใครลงสมัคร เพราะนาย
บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ อดีตนายก อบจ. 2 สมัย ในฐานะประธานกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม ขอพักการเมืองชั่วคราว เพื่อไปทำธรุกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว ส่วนกระแสข่าวว่า นาย
ทัศนัย บูรณุปกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 2 สมัย ซึ่งเป็นหลานนาย
บุญเลิศ จะลงสมัครชิงตำ แหน่งนายก อบจ.นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะทำงานการเมืองมากว่า 10 ปี จึงอยากมาทำธุรกิจมากกว่า
สำหรับนาย
อัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ที่สนับสนุนนาย
พิชัย หรือ ส.ว.ก๊อง ที่ลงสมัครนายก อบจ.ในนามกลุ่มเพื่อไทยนั้น เป็นเรื่องสิทธิส่วนบคคล ที่ดำเนินการทางการเมืองแบบอิสระ ไม่ก้าวก่าย หรือแทรกแซงกัน ส่วนตัวเคารพการตัดสินใจ แม้ว่าอยู่ในตระกูลเดียวกันก็ตาม
“
การเลือกตั้งนายก อบจ. ถือเป็นการเลือกตั้งของ 2 พรรคใหญ่ คือ พรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาชน อยากฝาก กกต.เร่งรณรงค์ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด ที่ผ่านมาประชาชนใช้สิทธิ 60-70 % เท่านั้นจากผู้มีสืทธิกว่า 1.2 ล้านคน ที่สำคัญอยากให้มีการแข่งขันเชิงนโยบายนำเสนอพัฒนาเชียงใหม่ด้านไหน อย่างไร สามารถตอบสนองความต้องการ หรือตอบโจทย์ประชาชนได้หรือไม่เพื่อเป็นแนวทาง และทางเลือกการตัดสินใจประชาชนด้วย” น.ส.
ทัศนีย์ กล่าว
ปชน.จัดทัพสจ. ท้าเจ้าถิ่นสีน้ำเงิน ชิงเลือกตั้งอบจ.บุรีรัมย์ ยกคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ มั่นใจมีลุ้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4960622
ปชน.จัดทัพสจ. ท้าเจ้าถิ่นสีน้ำเงิน ชิงเลือกตั้งอบจ.บุรีรัมย์ ยกคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ มั่นใจมีลุ้น
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่โรงแรมลาวีว่า ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ คณะทำงานพรรคประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.บุรีรัมย์ หลังนายภูษิต เล็กอุดากร นายก อบจ.บุรีรัมย์ ยื่นใบลาออกไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ก่อนหมดวาระในวันที่ 19 ธันวาคม 2567 เพียง 3 วัน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีว่าที่ผู้สมัครและผู้สนับสนุนประมาณ 80 คนมาให้กำลังใจ ทั้งนี้เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.อบจ. 10 เขตเลือกตั้งจากทั้งหมด 42 เขต
นายสุรศักดิ์ ชัยรัมย์ ประธานคณะทำงานพรรคประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้ใช้วิธีการกระบวนการสรรหา ผู้มีความรู้ความสามารถที่แท้จริง ซึ่งผ่านกระบวนการคัดกรองมาได้ 10 คน จึงส่งผู้สมัคร ส.อบจ.บุรีรัมย์เพียง 10 คนเท่านั้น
โดยพรรคไม่ส่งผู้สมัครนายกอบจ. เพราะยังหาผู้เหมาะสมไม่ได้ แต่เชื่อว่าทั้ง 10 เขตนี้ผู้สมัครพรรคประชาชนจะชนะเลือกตั้งอย่างแน่นอน ชาวจังหวัดบุรีรัมย์จำนวนมาก ยังมั่นใจและไว้ใจพรรคประชาชน สังเกตจากการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลสามารถเอาชนะพรรคเจ้าถิ่นอย่างพรรคภูมิใจไทยได้ ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ โดยได้รับคำตอบจากแกนนำพรรคมาแล้วว่าจะมีผู้ช่วยหาเสียงคนสำคัญหลายคนเดินทางมาหาเสียงช่วยอีกด้วย
พริษฐ์ ยัน เข้มข้นแน่ ซักฟอกรัฐบาล ปัดเช็กเสียงฝ่ายค้าน โว สส.ปชน.140คน เพียงพอ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9553348
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 18 ธ.ค. 2567 ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคร่วมฝ่ายค้านนัดรับประทานอาหารเย็น ที่ร้านเอิกเกริก ในวันนี้ (18 ธ.ค.) จะมีเรื่องพูดคุยใดบ้าง ว่า ความจริงการทำงานในซีกฝ่ายค้านอาจจะแตกต่างกับการทำงานของซีกรัฐบาล เพราะพรรครัฐบาล คือ พรรคที่ตัดสินใจร่วมกัน ดังนั้น ความคาดหวังเรื่องเอกภาพ ความสอดคล้องของนโยบายจะมีค่อนข้างสูง
แต่ทางฝั่งซีกฝ่ายค้าน ไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่จะมาร่วมฝ่ายค้าน แต่คือบรรดาพรรคการเมืองที่เหลืออยู่ในสภาที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล ดังนั้น ไม่ได้มีความคาดหวังว่า แต่ละพรรคจะมีจุดยืนต่อร่างกฎหมาย แนวทางนโยบาย และการทำงานที่เหมือนกัน
ที่ผ่านมาการทำงานร่วมกันจำกัดอยู่แค่งานธุรการ โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งสัดส่วนของเวลาในการอภิปราย ดังนั้น วันนี้จะเป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการในงานธุรการดังกล่าว และเราในฐานะแกนนำฝ่ายค้าน จะอาศัยโอกาสนี้ให้พรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ทราบถึงความประสงค์ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151
ตนยืนยันว่าพรรคประชาชนเดินหน้าเต็มที่ในฐานะฝ่ายค้าน และฝ่ายค้านก็ต้องทำ 2 บทบาทอย่างเข้มข้นคู่ขนานกัน คือ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาตนเห็นว่ากรรมาธิการมีความพยายามจะตรวจสอบนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมถึงการใช้กลไกกระทู้ถามสด นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ในทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เราตั้งใจจะเปิดอภิปรายรัฐบาลในสมัยประชุมนี้ ยืนยันว่าจะมีความเข้มข้นเหมือนเดิม
ส่วนอีกบทบาท คือ การเสนอร่างกฎหมาย เราเสนอไปแล้วกว่า 80 ฉบับ ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายไม่ใช่เสนอแก้ไขในแต่ละประเด็นเพียงอย่างเดียว แต่เรามองว่าเป็นกลไกที่ทำให้ฝ่ายค้านสามารถกำหนดวาระของสังคมได้ นั่นคือหากมีประเด็นอะไรที่รัฐบาลยังไม่ได้พูดถึง เราก็เสนอกฎหมายเข้าไปและยื่นข้อเสนอของเราอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการดึงให้รัฐบาลต้องมาคุยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
แม้กระทั่งเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นประเด็นเมื่อสัปดาห์ก่อน ตนเชื่อว่าส่วนหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยยื่นร่างประกบและถึงแม้จะถอนออกไป ก็มาจากที่พรรคก้าวไกลเคยยื่นเข้าไปเมื่อเดือนก.ค. 2566 เมื่อเข้าสู่วาระ 1 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดึงไปศึกษา 60 วัน จึงอาจจะทำให้พรรคการเมืองอื่นเห็นถึงความจำเป็นในการยื่นร่างประกบด้วยเช่นกัน
ซึ่งเป็นตัวอย่างว่า เมื่อเรายื่นร่างกฎหมายเรื่องอะไร เหมือนเป็นการกระตุกให้รัฐบาลมาคิดเรื่องนั้น แม้คำตอบของรัฐบาลอาจจะไม่ตรงกับแกนนำของพรรคฝ่ายค้าน ตนจึงคิดว่าเป็นบทบาทสำคัญที่ฝ่ายค้านสามารถทำได้เพื่อประโยชน์ของประชาชน
เมื่อถามว่าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) ยืนยันจำนวน สส. กับพรรคฝ่ายค้านกี่คน นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าต้องถามกับพรรคไทยสร้างไทยน่าจะดีกว่า แต่เข้าใจว่าที่ผ่านมามีการลงมติในบางครั้งที่ไม่เป็นเอกภาพ ย้ำว่าขอให้ถามกับพรรคไทยสร้างไทยจะดีกว่า
เมื่อถามว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ได้มีการประเมินเสียงของ สส.ฝ่ายค้านแล้วหรือไม่ว่า นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า พรรคประชาชนมี สส. 140 คน ตนคิดว่าแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ในการเปิดอภิปรายทั่วไป และใช้กลไกต่างๆ ของสภา เพื่อตรวจสอบรัฐบาลได้ และคิดว่าเรื่องของจำนวนไม่เป็นปัญหา ในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสภาฯ มี สส.เกิน 140 คน ย้ำว่าเพียงพอแน่นอน
ผู้เชี่ยวชาญมาเลย์ติง'อันวาร์' ชี้'นาจิบ' มีคุณสมบัติที่ปรึกษา ปธ.อาเซียนเหนือ'ทักษิณ'
https://www.isranews.org/article/isranews-news/134302-AnwarrrThaksin.html
ผู้เชี่ยวชาญมาเลย์ติง ‘อันวาร์’ แต่งตั้ง ‘ทักษิณ’ เป็นที่ปรึกษา ปธ.อาเซียน ไม่เหมาะสม
หวั่นเป็นสัญญาณนายกฯมาเลเซียไม่พร้อมทำหน้าที่เป็นประธาน ถามทำไมต้องใช้คนนอก
ชี้ ‘นาจิบ ราซัค’ มีคุณสมบัติเป็นที่ปรึกษา เหมาะกว่าอดีตนายกฯไทย
แนะ ‘อันวาร์’ ส่งเสริมนักการทูต บุคลากรในประเทศแทนที่จะแต่งตั้งคนต่างชาติ
---------------------------------------------------------------------------
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญประเทศมาเลเซียที่วิจารณ์กรณีที่นาย
อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวอย่างไม่เป็นทางการในกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ในช่วงเวลานับแต่ปี 2568 เมื่อมาเลเซียขึ้นเป็นประธานอาเซียน
โดยนักการทูตมาเลเซียมากประสบการณ์รายหนึ่งที่ไม่ระบุนามกล่าวว่า กรณีนี้ต้องถามว่านาย
อันวาร์กำลังทำอะไรอยู่ หมายความว่าเขาไม่พร้อมที่จะทำงานใช่หรือไม่ และหมายความว่ากระทรวงต่างประเทศและสถาบันนโยบายต่างประเทศของมาเลเซีย ไม่สามารถให้คำแนะนำนายอันวาร์ได้ใช่หรือไม่ เขาถึงขอความช่วยเหลือจากคนในประเทศอื่น
ส่วนปฏิกิริยาจากโซเชียลมีเดีย หลายคนแสดงท่าทีที่ตกใจต่อการเลือกนาย
ทักษิณ ที่เคยถูกตัดสินให้มีความผิดในข้อหาทุจริตและในข้อหาเกี่ยวกับการปราบปรามชาวมุสลิมภาคใต้อย่างรุนแรง และหลายคนมองว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนาย
ทักษิณนั้นแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียกำลังเริ่มต้นการเป็นประธานอาเซียนในทางที่ผิด
ขณะเดียวกันทางด้านของนาย
เดนนิส อิกเนเชีย อดีตเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำหลายประเทศได้กล่าวถึงการแต่งตั้งครั้งนี้ว่าแปลกและไม่จำเป็นโดยสิ้นเชิง
“
โดยปกติแล้ว ประเทศในอาเซียนจะใช้การดํารงตําแหน่งประธานเพื่อแสดงความเป็นผู้นําและมีส่วนร่วมที่ไม่เหมือนใครในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอาเซียน” นาย
อิกเนเชียกล่าว และตั้งคำถามว่านายอันวาร์ไม่สามารถหาใครที่เหมาะสมได้ใช่หรือไม่ และขอแนะนำตัวนาย
เตงกู ซาฟรุล เตงกู อับดุล อาซิซ (Tengku Zafrul Tengku Abdul Aziz) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรม ว่าน่าจะเป็นแคนดิเดตที่ปรึกษาที่เหมาะสมได้
“นอกจากนี้นายทักษิณ ยังเป็นบุคคลที่มีข้อถกเถียงค่อนข้างมาก ดังนั้นนี่จึงเป็นทางเลือกที่แปลกประหลาด ถ้าเป็นแบบนี้ นายนาจิบ ราซัค น่าจะมีคุณสมบัติดีกว่า” นาย
อิกเนเชียกล่าวทิ้งท้าย โดยอ้างถึงอดีตนายกมาเลเซียที่ตอนนี้กำลังถูกจำคุกอยู่
ทางด้านของนาย
ซามิรุล อริฟฟ์ ออธมัน (Samirul Ariff Othman) นักวิเคราะห์ภูมิรัฐศาสตร์ กล่าวว่าการแต่งตั้งนาย
ทักษิณนั้นบ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของประเทศมาเลเซียในการเป็นผู้นําอาเซียน ในช่วงเวลาที่พรสวรรค์ของชาวมาเลเซียไม่เป็นที่ต้องการจากสถาบันระดับโลกอีกต่อไป
JJNY : 5in1 ทัศนีย์ยินดีให้คำปรึกษา│ปชน.ท้าเจ้าถิ่น│พริษฐ์ยันเข้มข้นแน่│ผู้เชี่ยวชาญมาเลย์ติง│รัสเซียรวบชาวอุซเบกิสถาน
https://www.matichon.co.th/region/news_4960609
ทัศนีย์ ยันตระกูลบูรณุปกรณ์ ไม่ส่งใครชิงนายก อบจ.เชียงใหม่ ยินดีให้คำปรึกษาการเมืองท้องถิ่น ‘พันธ์อาจ’
วันที่ 18 ธันวาคม น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ ในฐานะสมาชิกพรรคประชาชน เปิดเผยการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ หลัง นายพิชัย เลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง นายก อบจ. ลาออก มีผลวันที่ 17 ธันวาคม ก่อนครบวาระวันที่ 19 ธันวาคม เพียง 2 วัน ว่า พรรคประชาชน ได้ส่งนายพันธ์อาจ ชัยรัตน์ เป็นว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ และลงพื้นที่แนะนำตัวหลายเดือนแล้ว ส่วนวันรับสมัครวันแรก คือ วันที่ 23 ธันวาคมนี้ ส่วนตัวไม่ได้ไปสนับสนุนหรือให้กำลังใจอย่างใด เพราะติดภารกิจและนัดหมายล่วงหน้าไว้แล้ว
ส่วนการช่วยหาเสียงให้กับ นายพันธ์อาจ ทางพรรคไม่ได้ร้องขอและประสานงานอย่างใด คงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารพรรค และส.ส.พรรคทั้ง 7 เขต จาก 10 เขต ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงมากกว่า โดยเฉพาะเขต 1 ที่เคยเป็นพื้นที่เดิมของตนเอง ดังนั้นไม่สามารถเข้าไปชี้นำ หรือก้าวก่ายได้ ต้องให้เกียรติ น.ส.เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู หรือพลอย ส.ส.เชียงใหม่ เขต 1 พรรคประชาชน เจ้าของพื้นที่ในปัจจุบัน ช่วยหา เสียงให้นายพันธ์อาจ เป็นนายกอบจ.เชียงใหม่แทน แต่ตนขอยินดีให้คำปรึกษาแนะนำการเมืองท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ ในฐานะที่เคยเป็นนายกเทศมนตรีตำบลช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ มาก่อนเท่านั้น
น.ส.ทัศนีย์ กล่าวว่า การเลือกตั้งนายก อบจ.เชียงใหม่ ขอยืนยันว่าตระกูลบูรณุปกรณ์ ไม่ส่งใครลงสมัคร เพราะนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ อดีตนายก อบจ. 2 สมัย ในฐานะประธานกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม ขอพักการเมืองชั่วคราว เพื่อไปทำธรุกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว ส่วนกระแสข่าวว่า นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 2 สมัย ซึ่งเป็นหลานนายบุญเลิศ จะลงสมัครชิงตำ แหน่งนายก อบจ.นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะทำงานการเมืองมากว่า 10 ปี จึงอยากมาทำธุรกิจมากกว่า
สำหรับนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ที่สนับสนุนนายพิชัย หรือ ส.ว.ก๊อง ที่ลงสมัครนายก อบจ.ในนามกลุ่มเพื่อไทยนั้น เป็นเรื่องสิทธิส่วนบคคล ที่ดำเนินการทางการเมืองแบบอิสระ ไม่ก้าวก่าย หรือแทรกแซงกัน ส่วนตัวเคารพการตัดสินใจ แม้ว่าอยู่ในตระกูลเดียวกันก็ตาม
“การเลือกตั้งนายก อบจ. ถือเป็นการเลือกตั้งของ 2 พรรคใหญ่ คือ พรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาชน อยากฝาก กกต.เร่งรณรงค์ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด ที่ผ่านมาประชาชนใช้สิทธิ 60-70 % เท่านั้นจากผู้มีสืทธิกว่า 1.2 ล้านคน ที่สำคัญอยากให้มีการแข่งขันเชิงนโยบายนำเสนอพัฒนาเชียงใหม่ด้านไหน อย่างไร สามารถตอบสนองความต้องการ หรือตอบโจทย์ประชาชนได้หรือไม่เพื่อเป็นแนวทาง และทางเลือกการตัดสินใจประชาชนด้วย” น.ส.ทัศนีย์ กล่าว
ปชน.จัดทัพสจ. ท้าเจ้าถิ่นสีน้ำเงิน ชิงเลือกตั้งอบจ.บุรีรัมย์ ยกคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ มั่นใจมีลุ้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4960622
ปชน.จัดทัพสจ. ท้าเจ้าถิ่นสีน้ำเงิน ชิงเลือกตั้งอบจ.บุรีรัมย์ ยกคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ มั่นใจมีลุ้น
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่โรงแรมลาวีว่า ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ คณะทำงานพรรคประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.บุรีรัมย์ หลังนายภูษิต เล็กอุดากร นายก อบจ.บุรีรัมย์ ยื่นใบลาออกไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ก่อนหมดวาระในวันที่ 19 ธันวาคม 2567 เพียง 3 วัน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีว่าที่ผู้สมัครและผู้สนับสนุนประมาณ 80 คนมาให้กำลังใจ ทั้งนี้เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.อบจ. 10 เขตเลือกตั้งจากทั้งหมด 42 เขต
นายสุรศักดิ์ ชัยรัมย์ ประธานคณะทำงานพรรคประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้ใช้วิธีการกระบวนการสรรหา ผู้มีความรู้ความสามารถที่แท้จริง ซึ่งผ่านกระบวนการคัดกรองมาได้ 10 คน จึงส่งผู้สมัคร ส.อบจ.บุรีรัมย์เพียง 10 คนเท่านั้น
โดยพรรคไม่ส่งผู้สมัครนายกอบจ. เพราะยังหาผู้เหมาะสมไม่ได้ แต่เชื่อว่าทั้ง 10 เขตนี้ผู้สมัครพรรคประชาชนจะชนะเลือกตั้งอย่างแน่นอน ชาวจังหวัดบุรีรัมย์จำนวนมาก ยังมั่นใจและไว้ใจพรรคประชาชน สังเกตจากการเลือกตั้งส.ส.ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลสามารถเอาชนะพรรคเจ้าถิ่นอย่างพรรคภูมิใจไทยได้ ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ โดยได้รับคำตอบจากแกนนำพรรคมาแล้วว่าจะมีผู้ช่วยหาเสียงคนสำคัญหลายคนเดินทางมาหาเสียงช่วยอีกด้วย
พริษฐ์ ยัน เข้มข้นแน่ ซักฟอกรัฐบาล ปัดเช็กเสียงฝ่ายค้าน โว สส.ปชน.140คน เพียงพอ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9553348
เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 18 ธ.ค. 2567 ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคร่วมฝ่ายค้านนัดรับประทานอาหารเย็น ที่ร้านเอิกเกริก ในวันนี้ (18 ธ.ค.) จะมีเรื่องพูดคุยใดบ้าง ว่า ความจริงการทำงานในซีกฝ่ายค้านอาจจะแตกต่างกับการทำงานของซีกรัฐบาล เพราะพรรครัฐบาล คือ พรรคที่ตัดสินใจร่วมกัน ดังนั้น ความคาดหวังเรื่องเอกภาพ ความสอดคล้องของนโยบายจะมีค่อนข้างสูง
แต่ทางฝั่งซีกฝ่ายค้าน ไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่จะมาร่วมฝ่ายค้าน แต่คือบรรดาพรรคการเมืองที่เหลืออยู่ในสภาที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล ดังนั้น ไม่ได้มีความคาดหวังว่า แต่ละพรรคจะมีจุดยืนต่อร่างกฎหมาย แนวทางนโยบาย และการทำงานที่เหมือนกัน
ที่ผ่านมาการทำงานร่วมกันจำกัดอยู่แค่งานธุรการ โดยเฉพาะเรื่องการแบ่งสัดส่วนของเวลาในการอภิปราย ดังนั้น วันนี้จะเป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการในงานธุรการดังกล่าว และเราในฐานะแกนนำฝ่ายค้าน จะอาศัยโอกาสนี้ให้พรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ทราบถึงความประสงค์ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151
ตนยืนยันว่าพรรคประชาชนเดินหน้าเต็มที่ในฐานะฝ่ายค้าน และฝ่ายค้านก็ต้องทำ 2 บทบาทอย่างเข้มข้นคู่ขนานกัน คือ การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาตนเห็นว่ากรรมาธิการมีความพยายามจะตรวจสอบนโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมถึงการใช้กลไกกระทู้ถามสด นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ในทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เราตั้งใจจะเปิดอภิปรายรัฐบาลในสมัยประชุมนี้ ยืนยันว่าจะมีความเข้มข้นเหมือนเดิม
ส่วนอีกบทบาท คือ การเสนอร่างกฎหมาย เราเสนอไปแล้วกว่า 80 ฉบับ ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายไม่ใช่เสนอแก้ไขในแต่ละประเด็นเพียงอย่างเดียว แต่เรามองว่าเป็นกลไกที่ทำให้ฝ่ายค้านสามารถกำหนดวาระของสังคมได้ นั่นคือหากมีประเด็นอะไรที่รัฐบาลยังไม่ได้พูดถึง เราก็เสนอกฎหมายเข้าไปและยื่นข้อเสนอของเราอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการดึงให้รัฐบาลต้องมาคุยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
แม้กระทั่งเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นประเด็นเมื่อสัปดาห์ก่อน ตนเชื่อว่าส่วนหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยยื่นร่างประกบและถึงแม้จะถอนออกไป ก็มาจากที่พรรคก้าวไกลเคยยื่นเข้าไปเมื่อเดือนก.ค. 2566 เมื่อเข้าสู่วาระ 1 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดึงไปศึกษา 60 วัน จึงอาจจะทำให้พรรคการเมืองอื่นเห็นถึงความจำเป็นในการยื่นร่างประกบด้วยเช่นกัน
ซึ่งเป็นตัวอย่างว่า เมื่อเรายื่นร่างกฎหมายเรื่องอะไร เหมือนเป็นการกระตุกให้รัฐบาลมาคิดเรื่องนั้น แม้คำตอบของรัฐบาลอาจจะไม่ตรงกับแกนนำของพรรคฝ่ายค้าน ตนจึงคิดว่าเป็นบทบาทสำคัญที่ฝ่ายค้านสามารถทำได้เพื่อประโยชน์ของประชาชน
เมื่อถามว่าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) ยืนยันจำนวน สส. กับพรรคฝ่ายค้านกี่คน นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าต้องถามกับพรรคไทยสร้างไทยน่าจะดีกว่า แต่เข้าใจว่าที่ผ่านมามีการลงมติในบางครั้งที่ไม่เป็นเอกภาพ ย้ำว่าขอให้ถามกับพรรคไทยสร้างไทยจะดีกว่า
เมื่อถามว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ได้มีการประเมินเสียงของ สส.ฝ่ายค้านแล้วหรือไม่ว่า นายพริษฐ์ กล่าวว่า พรรคประชาชนมี สส. 140 คน ตนคิดว่าแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ในการเปิดอภิปรายทั่วไป และใช้กลไกต่างๆ ของสภา เพื่อตรวจสอบรัฐบาลได้ และคิดว่าเรื่องของจำนวนไม่เป็นปัญหา ในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสภาฯ มี สส.เกิน 140 คน ย้ำว่าเพียงพอแน่นอน
ผู้เชี่ยวชาญมาเลย์ติง'อันวาร์' ชี้'นาจิบ' มีคุณสมบัติที่ปรึกษา ปธ.อาเซียนเหนือ'ทักษิณ'
https://www.isranews.org/article/isranews-news/134302-AnwarrrThaksin.html
หวั่นเป็นสัญญาณนายกฯมาเลเซียไม่พร้อมทำหน้าที่เป็นประธาน ถามทำไมต้องใช้คนนอก
แนะ ‘อันวาร์’ ส่งเสริมนักการทูต บุคลากรในประเทศแทนที่จะแต่งตั้งคนต่างชาติ
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญประเทศมาเลเซียที่วิจารณ์กรณีที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ให้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวอย่างไม่เป็นทางการในกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ในช่วงเวลานับแต่ปี 2568 เมื่อมาเลเซียขึ้นเป็นประธานอาเซียน
โดยนักการทูตมาเลเซียมากประสบการณ์รายหนึ่งที่ไม่ระบุนามกล่าวว่า กรณีนี้ต้องถามว่านายอันวาร์กำลังทำอะไรอยู่ หมายความว่าเขาไม่พร้อมที่จะทำงานใช่หรือไม่ และหมายความว่ากระทรวงต่างประเทศและสถาบันนโยบายต่างประเทศของมาเลเซีย ไม่สามารถให้คำแนะนำนายอันวาร์ได้ใช่หรือไม่ เขาถึงขอความช่วยเหลือจากคนในประเทศอื่น
ส่วนปฏิกิริยาจากโซเชียลมีเดีย หลายคนแสดงท่าทีที่ตกใจต่อการเลือกนายทักษิณ ที่เคยถูกตัดสินให้มีความผิดในข้อหาทุจริตและในข้อหาเกี่ยวกับการปราบปรามชาวมุสลิมภาคใต้อย่างรุนแรง และหลายคนมองว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณนั้นแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียกำลังเริ่มต้นการเป็นประธานอาเซียนในทางที่ผิด
ขณะเดียวกันทางด้านของนายเดนนิส อิกเนเชีย อดีตเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำหลายประเทศได้กล่าวถึงการแต่งตั้งครั้งนี้ว่าแปลกและไม่จำเป็นโดยสิ้นเชิง
“โดยปกติแล้ว ประเทศในอาเซียนจะใช้การดํารงตําแหน่งประธานเพื่อแสดงความเป็นผู้นําและมีส่วนร่วมที่ไม่เหมือนใครในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอาเซียน” นายอิกเนเชียกล่าว และตั้งคำถามว่านายอันวาร์ไม่สามารถหาใครที่เหมาะสมได้ใช่หรือไม่ และขอแนะนำตัวนาย เตงกู ซาฟรุล เตงกู อับดุล อาซิซ (Tengku Zafrul Tengku Abdul Aziz) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรม ว่าน่าจะเป็นแคนดิเดตที่ปรึกษาที่เหมาะสมได้
“นอกจากนี้นายทักษิณ ยังเป็นบุคคลที่มีข้อถกเถียงค่อนข้างมาก ดังนั้นนี่จึงเป็นทางเลือกที่แปลกประหลาด ถ้าเป็นแบบนี้ นายนาจิบ ราซัค น่าจะมีคุณสมบัติดีกว่า” นายอิกเนเชียกล่าวทิ้งท้าย โดยอ้างถึงอดีตนายกมาเลเซียที่ตอนนี้กำลังถูกจำคุกอยู่
ทางด้านของนายซามิรุล อริฟฟ์ ออธมัน (Samirul Ariff Othman) นักวิเคราะห์ภูมิรัฐศาสตร์ กล่าวว่าการแต่งตั้งนายทักษิณนั้นบ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของประเทศมาเลเซียในการเป็นผู้นําอาเซียน ในช่วงเวลาที่พรสวรรค์ของชาวมาเลเซียไม่เป็นที่ต้องการจากสถาบันระดับโลกอีกต่อไป