โรม จี้รัฐเป็นตัวกลาง จัดการ OPPO-realme ฝังแอพฯเงินกู้ ลั่น ต้องมีคนรับผิดชอบ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9588812
ต้องมีคนรับผิดชอบ! โรม จี้ รัฐบาลเป็นตัวกลาง จัดการ OPPO-realme ฝังแอพฯ เงินกู้ แนะ ไล่ดูมือถือค่ายอื่น มีพฤติกรรมเดียวกันหรือไม่ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำ
เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 14 ม.ค. 2568 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีสมาร์ทโฟน OPPO และ realme มีแอปพลิเคชั่นเงินกู้นอกระบบติดมาพร้อมมือถือ ชื่อแอปฯ “สินเชื่อความสุข” และ “Fineasy” ว่า เรื่องนี้มีสองส่วน ส่วนที่หนึ่งตนคิดว่าเป็นความไม่รับผิดชอบของบริษัทเอกชน
ซึ่ง OPPO และ realme เป็นบริษัทใหญ่ทำไมจึงปล่อยให้มีแอปพลิเคชั่นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และนำไปสู่การดูดเงินได้ ตนคิดว่าเป็นสแกมอย่างหนึ่ง
“
มันเกิดแบบนี้ได้อย่างไร ผมคิดว่าสิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำคือถามหาความรับผิดชอบ เรื่องนี้ไม่ควรจบแค่ความเงียบ ไม่ควรจบแค่ตอบว่า ต่อไปนี้ไม่มีอีกแล้ว แล้วแอปอื่นๆ ยังมีอีกหรือไม่ ก็ยังมีอีก แต่เรายังค้นไม่เจอหรือไม่ ช่องโหว่ช่องว่างที่ปล่อยให้เกิดขึ้นจะเป็นบทเรียนอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก” นายรังสิมันต์ กล่าว
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ภาครัฐจะต้องไปจัดการกับบริษัทเอกชน และบริษัทเอกชนต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ถ้าเกิดว่าไม่ปลอดภัยจริง ตนคิดว่าต้องมีมาตรการออกมาที่จะทำให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะไม่ถูกหลอกลวงเช่นนี้
เรื่องที่สองคือต้องไปดูว่า มีประชาชนตกเป็นเหยื่อของแอปพลิเคชั่นนี้แล้วหรือไม่ ถ้ามีคนตกเป็นเหยื่อแล้ว บริษัทเอกชนต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องชี้แจงและอธิบายกับสังคมว่า มีใครที่ตกเป็นเหยื่อแล้วหรือไม่ ซึ่งต้องเป็นตัวกลางในการจัดการปัญหาเรื่องนี้
เมื่อถามว่าตอนนี้ยังไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบ ทั้งกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) นายรังสิมันต์ กล่าวว่า นั่งคุยกันได้หรือไม่ ตนเข้าใจว่าท่านอยู่คนละพรรค แต่ก็ต้องทำงานร่วมกัน และทราบจากนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้านว่า นายปกรณ์วุฒิก็สนใจในเรื่องนี้ และจะนำเรื่องนี้เข้ากรรมาธิการ (กมธ.) ที่ท่านนั่งอยู่ ซึ่งคงจะได้มีการพูดคุยกัน
แต่ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่ต้องรอให้เอาเข้าที่ประชุมกมธ. เพราะสามารถดำเนินการพูดคุยกันได้เลยว่า ใครจะเป็นเจ้าภาพ และจะต้องมีฝั่งของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงฝั่งที่จะต้องเคลียร์กับบริษัทเอกชน
ตนเข้าใจว่านอกจากบริษัทเอกชนดังกล่าว ยังมีแบรนด์อื่นอีกด้วย ซึ่งต้องไปดูว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ในทำนองนี้ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย จะเห็นว่าบางทีมือถือเราเปิดมาแล้วมีโฆษณายิงเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องประหลาดมากที่เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น ข้อมูลส่วนบุคคลของเราควรได้รับการปกป้อง ดังนั้น ควรใช้โอกาสนี้ไปไล่ดูว่ามียี่ห้ออื่นอีกหรือไม่ที่มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน
เมื่อถามว่าแอปนี้ถูกติดตั้งจากโรงงานที่ประเทศจีน จะทำให้บริษัทในไทยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนคิดว่าไม่น่าใช่ ติดตั้งจากโรงงาน โรงงานใคร ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นรอม (ROM) ของ OPPO หรือ realme โดยหลักต้องมีการปกป้องความปลอดภัย หากเป็นของคุณ
“คุณสร้างขึ้นมา คุณเอามาขายประชาชน แล้วมีแอปพลิเคชั่นขึ้นมาแบบนี้ คุณต้องรับผิดชอบ คุณจะมาโยนว่าเป็นคนอื่นไม่ได้ เรื่องนี้ถึงที่สุดต้องมีใครสักคนรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ตัวเจ้าของค่ายมือถือ แล้วจะเป็นใคร” นายรังสิมันต์ กล่าว
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า เขามีตัวแทนจากบริษัทแม่ เมื่อมาขายของในประเทศไทยก็ต้องสร้างความปลอดภัยให้กับประเทศไทย ตนยังไม่อยากรีบเสนอมาตรการในเร็วๆ นี้ แต่คิดว่าถ้าเป็นประเทศอื่นที่เจริญแล้ว เราจะไม่เจอเหตุการณ์นี้
ดังนั้น ตนคิดว่าสิ่งที่ต้องทำคือให้กำลังใจเจ้าหน้าที่รัฐ รีบหาเจ้าภาพ รีบคุยกันให้รู้เรื่อง และจัดการกับเรื่องนี้ หาความรับผิดชอบ ที่สำคัญคือจะได้เป็นมาตรการ มาตรฐานเอาไว้ ถ้าเราทำเรื่องนี้ดี มันก็จะเป็นเยี่ยงอย่างให้ค่ายอื่นให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล
รัฐสภาฯรับหลักการแก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา “หมออ๋อง” คัมแบคนั่ง กมธ.ด้วย สว.ตีกัน “พันธุ์ใหม่” โวย สว.พวกลากมากไปตั้ง กมธ.
https://siamrath.co.th/n/593838
วันที่ 14 ม.ค. 2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในการพิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โดย นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ทั้งนี้นายพริษฐ์ ได้เสนอสาระสำคัญของสาระร่างข้อบังคับที่เสนอต่อรัฐสภา คือ การแก้ไขข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 กล่าว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ
1. เปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมต่อกระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาในชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) โดยเสนอปลดล็อคและเปิดโอกาสให้พรรคการเมือง หรือ สว.สามารถเสนอชื่อบุคคลทั่วไปเข้าร่วมเป็นกมธ. เหตุผลสำคัญเพื่อให้กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญมีความรอบคอบรอบด้านมากขึ้น รวมถึงให้บุคคล ภาคประชาสังคมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์กับการแก้รัฐธรรมนูญที่มากกว่าสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วม
2.ลดการใช้กระดาษเพิ่มใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์สำหรับงานธุรการของรัฐสภา และ3. ยกเลิกบทบัญญัติข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ไม่มีความจำเป็นเกี่ยวกับหมวดการปฏิรูปประเทศ และหมวดที่เกี่ยวการเห็นชอบบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภานั้น พบว่าในการอภิปรายของ สว. รวมถึงสส.พรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขในประเด็นการกำหนดให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมเป็นกมธ.แก้รัฐธรรมนูญ โดยนาย
พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. อภิปรายไม่เห็นด้วยในการแก้ไขข้อบังคับข้อ 123 ที่กำหนดให้ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญมาจากรายชื่อที่สมาชิกรัฐสภาเสนอ เท่ากับเปิดทางให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเข้ามาทำหน้าที่ และการกำหนดสัดส่วนให้ประชาชนผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าเป็นกมธ. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกมธ.ที่กำหนดให้มี 45 คน ถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 114 ที่กำหนดว่า สส. สว. หรือสมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย
“
การเสนอแก้ไขแบบนี้เท่ากับว่าจะตั้งใครก็ได้ใน 45 คน ไม่ต้องมีมีสมาชิกรัฐสภาแม้แต่คนเดียวก็ได้ ผมมองว่าไม่เป็นเหตุที่สมควร เพราะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้อำนาจหน้าที่และสิทธิแก่สมาชิกรัฐสภา อีกทั้งการเสนอให้มีตัวแทนประชาชนที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญนั้น ผมติดใจในกระบวนการคัดเลือกที่ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่ใช่ถูกเลือกเข้ามาเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง แม้ว่าการเสนอกมธ.จากประชาชนเป็นเจตนาดี เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม แต่การปฏิบัติและโครงสร้างตั้งกมธ. อาจไม่สมดุล อาจลดทอนอำนาจการถ่วงดุลของสส. และสว. กลับเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายที่สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ไม่มีร่างแก้ไขของประชาชนเข้ามาก็ตาม จะทำให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญถูกชี้นำโดยเสียงข้างมาก” นาย
พิสิษฐ์ กล่าว
ขณะที่ด้านน.ส.
รัชนีกร ทองทิพย์ สว. กล่าวด้วยความอัดอั้นตันใจ ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคนนอกเป็น กมธ. ว่า สส.ที่กำลังคุยอยู่อย่างมากมายตอนนี้ ไม่ได้ฟังเลย ท่านอาจจะมาจากการเลือกตั้งประชาชนเลือกท่านมา 1 คนมีสิทธิ์ เลือก 1 ท่าน แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนกลุ่มอาชีพอย่างพวกเรา สว.เข้ามาเหมือนท่าน เราใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ท่านอาจจะลืม ถ้าท่านลืมกลับไปอ่านใหม่อีกรอบได้ สถานภาพของ สส. และสว. เป็นเครื่องรับรอง และยืนยันว่าจะรับผิดชอบต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอยู่ในมือท่านอยู่แล้ว
ตนไม่เห็นด้วยเลย กับการที่ท่านจะให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็น 1 เสียงในคณะ กมธ. ตนเห็นด้วยที่ท่านจะเชิญนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญเข้ามาให้ความเห็นในฐานะของที่ปรึกษา และในส่วนที่เขาเชี่ยวชาญ เนื่องจากนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านั้น อาจจะไม่ต้องรับผิดโดยตรงต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเหมือนกับสถานภาพของ สส. และ สว.
ขณะที่น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส สว.พันธุ์ใหม่ อภิปรายว่า ขอสนับสนุนข้อบังคับการประชุมรัฐสภาฉบับนี้ เพราะคือข้อบังคับของตัวแทนของประชาชนดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชน ต้องขอขอบคุณพรรคประชาชนที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาข้อบังคับการประชุมที่ต้องเปลี่ยน และข้อบังคับการประชุมข้อที่ 123 ซึ่งถือเป็นหัวใจ เพราะก่อนหน้านี้ข้อบังคับการประชุมไม่มีการเปิดให้ประชาชนเข้ามาเป็นกรรมาธิการ แต่สมาชิกก็พูดว่านี่เป็นเขตพื้นที่ เขตอำนาจของเรา เราเปิดให้ประชาชนโดยใช้คำว่าคนนอก ตนคิดว่าประชาชนที่ฟังการอภิปรายอยู่เสียใจอย่างยิ่ง เมื่อเขาเลือกพวกคุณเข้ามาแล้ว พวกคุณเรียกเขาว่าเป็นคนนอกหรือ ตอนที่คุณจะให้เขาเลือกก็ไปกราบขอคะแนนเขา แต่พอเขาเลือกเสร็จแล้วคุณบอกว่าเขาเป็นคนนอก เขาไม่มีสิทธิ์เข้ามาในวงอำนาจนี้ กำลังหลงผิด และหวงอำนาจกันอยู่หรือเปล่า กำลังกลัวว่าโควตา 1 ใน 3 ที่จะเปิดให้ประชาชนเข้ามาเป็นกรรมาธิการร่วมพิจารณารัฐธรรมนูญนั้นจะเบียดบังโควต้าพรรคของท่าน น่าเสียใจ ดิฉันอยากจะให้ทุกท่านเปลี่ยนจากคำว่าบุคคลภายนอก เป็นบุคคลสำคัญ เพราะประชาชนนั้นคือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง และถ้าเราจะพิจารณาในเรื่องรัฐธรรมนูญ ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกรัฐสภาเข้ามา แล้วเหตุใดจึงกรีดกันไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวมในการที่จะพิจารณษกฎหมายสูงสุด ตรงนี้จึงมองว่าสมาชิกรัฐสาหลายท่านกังวลจนเกินเหตุในการที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นกรรมาธิการพิจารณากฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่ควรเปิดใจให้กว้างยอมรับพัฒนาการนี้
ขณะที่นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยควรรับหลักการ แม้มีข้อถกเถียงในการตั้งบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเป็นกรรมาธิการ (กมธ.) ได้หรือไม่สามารถพิจารณาในชั้นกมธ.ได้ เพื่อหาข้อสรุปทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีตนมีข้อสังเกตด้วยว่าสามารถตั้งบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาได้หรือไม่ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สามารถตั้งบุคคลภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาของกมธ.ได้ ชั้นนี้รับหลักการได้ และตั้งกมธ.พิจารณาในสาระบัญญัติของข้อบังคับที่เขียนไว้มาตรา 123 และ 123/1 เพราะวิสามัญเป็นตัวกำหนดไว้ว่าสามารถตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ได้” นพ.
ชลน่าน อภิปราย
จากนั้นนาย
พริษฐ์ อภิปรายสรุปด้วยว่าการประเด็นที่สมาชิกรัฐสภาติดในการตัดเงื่อนไขให้กมธ.พ้นจากตำแหน่งกรณีที่ขาดจากสมาชิกภาพของสภาที่เป็นสมาชิกนั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับกรณีที่บางพรรคหรือสว. เสนอบุคคลภายนอกเป็นกมธ. แต่หากเขียนไว้ไว้ จะมีปัญหาทางกฎหมายทันที ที่บอกว่าอาจไม่มีสส.สว.เป็นกมธ.เลย นั้นอาจเป็นไปได้ กรณีที่พรรคการเมืองและสว. ไม่เสนอสมาชิกของสภาของตนเองได้ แต่หากเห็นว่าควรมีสมาชิกรัฐสภาอยู่ในกมธ. ในโควต้าของสว. ไม่ต้องเสนอคนนอก เพื่อปิดปัญหา อย่างไรก็ดีหากสว. หรือ สส. จะเสนอชื่อใครต้องขออนุมัติจากสมาชิกรัฐสภา หากพบว่ามี กมธ.ที่น้อยไป สามารถแก้ไขได้ หากต้องการหลักประกันสามารถรับหลักการแล้วไปแก้ไขในชั้นกมธ.ได้ กรณีที่เสนอให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นกมธ. นั้นเป็นกรณีพิเศษที่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชน ส่วนจำนวน และถ้อยคำนั้นตนดึงมาจากรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้
JJNY : โรมลั่นต้องมีคนรับผิดชอบ│รัฐสภาฯรับหลักการแก้ข้อบังคับ│'สภาพัฒน์' เผย 4 ความเห็น│ศาลรธน.เกาหลีใต้เลื่อนถอดถอนปธน.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9588812
ต้องมีคนรับผิดชอบ! โรม จี้ รัฐบาลเป็นตัวกลาง จัดการ OPPO-realme ฝังแอพฯ เงินกู้ แนะ ไล่ดูมือถือค่ายอื่น มีพฤติกรรมเดียวกันหรือไม่ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำ
เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 14 ม.ค. 2568 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีสมาร์ทโฟน OPPO และ realme มีแอปพลิเคชั่นเงินกู้นอกระบบติดมาพร้อมมือถือ ชื่อแอปฯ “สินเชื่อความสุข” และ “Fineasy” ว่า เรื่องนี้มีสองส่วน ส่วนที่หนึ่งตนคิดว่าเป็นความไม่รับผิดชอบของบริษัทเอกชน
ซึ่ง OPPO และ realme เป็นบริษัทใหญ่ทำไมจึงปล่อยให้มีแอปพลิเคชั่นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และนำไปสู่การดูดเงินได้ ตนคิดว่าเป็นสแกมอย่างหนึ่ง
“มันเกิดแบบนี้ได้อย่างไร ผมคิดว่าสิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำคือถามหาความรับผิดชอบ เรื่องนี้ไม่ควรจบแค่ความเงียบ ไม่ควรจบแค่ตอบว่า ต่อไปนี้ไม่มีอีกแล้ว แล้วแอปอื่นๆ ยังมีอีกหรือไม่ ก็ยังมีอีก แต่เรายังค้นไม่เจอหรือไม่ ช่องโหว่ช่องว่างที่ปล่อยให้เกิดขึ้นจะเป็นบทเรียนอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก” นายรังสิมันต์ กล่าว
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ภาครัฐจะต้องไปจัดการกับบริษัทเอกชน และบริษัทเอกชนต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ถ้าเกิดว่าไม่ปลอดภัยจริง ตนคิดว่าต้องมีมาตรการออกมาที่จะทำให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะไม่ถูกหลอกลวงเช่นนี้
เรื่องที่สองคือต้องไปดูว่า มีประชาชนตกเป็นเหยื่อของแอปพลิเคชั่นนี้แล้วหรือไม่ ถ้ามีคนตกเป็นเหยื่อแล้ว บริษัทเอกชนต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องชี้แจงและอธิบายกับสังคมว่า มีใครที่ตกเป็นเหยื่อแล้วหรือไม่ ซึ่งต้องเป็นตัวกลางในการจัดการปัญหาเรื่องนี้
เมื่อถามว่าตอนนี้ยังไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบ ทั้งกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) นายรังสิมันต์ กล่าวว่า นั่งคุยกันได้หรือไม่ ตนเข้าใจว่าท่านอยู่คนละพรรค แต่ก็ต้องทำงานร่วมกัน และทราบจากนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้านว่า นายปกรณ์วุฒิก็สนใจในเรื่องนี้ และจะนำเรื่องนี้เข้ากรรมาธิการ (กมธ.) ที่ท่านนั่งอยู่ ซึ่งคงจะได้มีการพูดคุยกัน
แต่ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่ต้องรอให้เอาเข้าที่ประชุมกมธ. เพราะสามารถดำเนินการพูดคุยกันได้เลยว่า ใครจะเป็นเจ้าภาพ และจะต้องมีฝั่งของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงฝั่งที่จะต้องเคลียร์กับบริษัทเอกชน
ตนเข้าใจว่านอกจากบริษัทเอกชนดังกล่าว ยังมีแบรนด์อื่นอีกด้วย ซึ่งต้องไปดูว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ในทำนองนี้ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย จะเห็นว่าบางทีมือถือเราเปิดมาแล้วมีโฆษณายิงเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องประหลาดมากที่เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น ข้อมูลส่วนบุคคลของเราควรได้รับการปกป้อง ดังนั้น ควรใช้โอกาสนี้ไปไล่ดูว่ามียี่ห้ออื่นอีกหรือไม่ที่มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน
เมื่อถามว่าแอปนี้ถูกติดตั้งจากโรงงานที่ประเทศจีน จะทำให้บริษัทในไทยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนคิดว่าไม่น่าใช่ ติดตั้งจากโรงงาน โรงงานใคร ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นรอม (ROM) ของ OPPO หรือ realme โดยหลักต้องมีการปกป้องความปลอดภัย หากเป็นของคุณ
“คุณสร้างขึ้นมา คุณเอามาขายประชาชน แล้วมีแอปพลิเคชั่นขึ้นมาแบบนี้ คุณต้องรับผิดชอบ คุณจะมาโยนว่าเป็นคนอื่นไม่ได้ เรื่องนี้ถึงที่สุดต้องมีใครสักคนรับผิดชอบ ถ้าไม่ใช่ตัวเจ้าของค่ายมือถือ แล้วจะเป็นใคร” นายรังสิมันต์ กล่าว
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า เขามีตัวแทนจากบริษัทแม่ เมื่อมาขายของในประเทศไทยก็ต้องสร้างความปลอดภัยให้กับประเทศไทย ตนยังไม่อยากรีบเสนอมาตรการในเร็วๆ นี้ แต่คิดว่าถ้าเป็นประเทศอื่นที่เจริญแล้ว เราจะไม่เจอเหตุการณ์นี้
ดังนั้น ตนคิดว่าสิ่งที่ต้องทำคือให้กำลังใจเจ้าหน้าที่รัฐ รีบหาเจ้าภาพ รีบคุยกันให้รู้เรื่อง และจัดการกับเรื่องนี้ หาความรับผิดชอบ ที่สำคัญคือจะได้เป็นมาตรการ มาตรฐานเอาไว้ ถ้าเราทำเรื่องนี้ดี มันก็จะเป็นเยี่ยงอย่างให้ค่ายอื่นให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล
รัฐสภาฯรับหลักการแก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา “หมออ๋อง” คัมแบคนั่ง กมธ.ด้วย สว.ตีกัน “พันธุ์ใหม่” โวย สว.พวกลากมากไปตั้ง กมธ.
https://siamrath.co.th/n/593838
วันที่ 14 ม.ค. 2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในการพิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โดย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ทั้งนี้นายพริษฐ์ ได้เสนอสาระสำคัญของสาระร่างข้อบังคับที่เสนอต่อรัฐสภา คือ การแก้ไขข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 กล่าว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ
1. เปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมต่อกระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาในชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) โดยเสนอปลดล็อคและเปิดโอกาสให้พรรคการเมือง หรือ สว.สามารถเสนอชื่อบุคคลทั่วไปเข้าร่วมเป็นกมธ. เหตุผลสำคัญเพื่อให้กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญมีความรอบคอบรอบด้านมากขึ้น รวมถึงให้บุคคล ภาคประชาสังคมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์กับการแก้รัฐธรรมนูญที่มากกว่าสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วม
2.ลดการใช้กระดาษเพิ่มใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์สำหรับงานธุรการของรัฐสภา และ3. ยกเลิกบทบัญญัติข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ไม่มีความจำเป็นเกี่ยวกับหมวดการปฏิรูปประเทศ และหมวดที่เกี่ยวการเห็นชอบบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภานั้น พบว่าในการอภิปรายของ สว. รวมถึงสส.พรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขในประเด็นการกำหนดให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมเป็นกมธ.แก้รัฐธรรมนูญ โดยนายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. อภิปรายไม่เห็นด้วยในการแก้ไขข้อบังคับข้อ 123 ที่กำหนดให้ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญมาจากรายชื่อที่สมาชิกรัฐสภาเสนอ เท่ากับเปิดทางให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเข้ามาทำหน้าที่ และการกำหนดสัดส่วนให้ประชาชนผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าเป็นกมธ. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกมธ.ที่กำหนดให้มี 45 คน ถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 114 ที่กำหนดว่า สส. สว. หรือสมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย
“การเสนอแก้ไขแบบนี้เท่ากับว่าจะตั้งใครก็ได้ใน 45 คน ไม่ต้องมีมีสมาชิกรัฐสภาแม้แต่คนเดียวก็ได้ ผมมองว่าไม่เป็นเหตุที่สมควร เพราะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้อำนาจหน้าที่และสิทธิแก่สมาชิกรัฐสภา อีกทั้งการเสนอให้มีตัวแทนประชาชนที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญนั้น ผมติดใจในกระบวนการคัดเลือกที่ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่ใช่ถูกเลือกเข้ามาเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง แม้ว่าการเสนอกมธ.จากประชาชนเป็นเจตนาดี เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม แต่การปฏิบัติและโครงสร้างตั้งกมธ. อาจไม่สมดุล อาจลดทอนอำนาจการถ่วงดุลของสส. และสว. กลับเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายที่สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ไม่มีร่างแก้ไขของประชาชนเข้ามาก็ตาม จะทำให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญถูกชี้นำโดยเสียงข้างมาก” นายพิสิษฐ์ กล่าว
ขณะที่ด้านน.ส.รัชนีกร ทองทิพย์ สว. กล่าวด้วยความอัดอั้นตันใจ ไม่เห็นด้วยกับการตั้งคนนอกเป็น กมธ. ว่า สส.ที่กำลังคุยอยู่อย่างมากมายตอนนี้ ไม่ได้ฟังเลย ท่านอาจจะมาจากการเลือกตั้งประชาชนเลือกท่านมา 1 คนมีสิทธิ์ เลือก 1 ท่าน แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนกลุ่มอาชีพอย่างพวกเรา สว.เข้ามาเหมือนท่าน เราใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ท่านอาจจะลืม ถ้าท่านลืมกลับไปอ่านใหม่อีกรอบได้ สถานภาพของ สส. และสว. เป็นเครื่องรับรอง และยืนยันว่าจะรับผิดชอบต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอยู่ในมือท่านอยู่แล้ว
ตนไม่เห็นด้วยเลย กับการที่ท่านจะให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็น 1 เสียงในคณะ กมธ. ตนเห็นด้วยที่ท่านจะเชิญนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญเข้ามาให้ความเห็นในฐานะของที่ปรึกษา และในส่วนที่เขาเชี่ยวชาญ เนื่องจากนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านั้น อาจจะไม่ต้องรับผิดโดยตรงต่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเหมือนกับสถานภาพของ สส. และ สว.
ขณะที่น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.พันธุ์ใหม่ อภิปรายว่า ขอสนับสนุนข้อบังคับการประชุมรัฐสภาฉบับนี้ เพราะคือข้อบังคับของตัวแทนของประชาชนดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามเจตจำนงของประชาชน ต้องขอขอบคุณพรรคประชาชนที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาข้อบังคับการประชุมที่ต้องเปลี่ยน และข้อบังคับการประชุมข้อที่ 123 ซึ่งถือเป็นหัวใจ เพราะก่อนหน้านี้ข้อบังคับการประชุมไม่มีการเปิดให้ประชาชนเข้ามาเป็นกรรมาธิการ แต่สมาชิกก็พูดว่านี่เป็นเขตพื้นที่ เขตอำนาจของเรา เราเปิดให้ประชาชนโดยใช้คำว่าคนนอก ตนคิดว่าประชาชนที่ฟังการอภิปรายอยู่เสียใจอย่างยิ่ง เมื่อเขาเลือกพวกคุณเข้ามาแล้ว พวกคุณเรียกเขาว่าเป็นคนนอกหรือ ตอนที่คุณจะให้เขาเลือกก็ไปกราบขอคะแนนเขา แต่พอเขาเลือกเสร็จแล้วคุณบอกว่าเขาเป็นคนนอก เขาไม่มีสิทธิ์เข้ามาในวงอำนาจนี้ กำลังหลงผิด และหวงอำนาจกันอยู่หรือเปล่า กำลังกลัวว่าโควตา 1 ใน 3 ที่จะเปิดให้ประชาชนเข้ามาเป็นกรรมาธิการร่วมพิจารณารัฐธรรมนูญนั้นจะเบียดบังโควต้าพรรคของท่าน น่าเสียใจ ดิฉันอยากจะให้ทุกท่านเปลี่ยนจากคำว่าบุคคลภายนอก เป็นบุคคลสำคัญ เพราะประชาชนนั้นคือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง และถ้าเราจะพิจารณาในเรื่องรัฐธรรมนูญ ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกรัฐสภาเข้ามา แล้วเหตุใดจึงกรีดกันไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวมในการที่จะพิจารณษกฎหมายสูงสุด ตรงนี้จึงมองว่าสมาชิกรัฐสาหลายท่านกังวลจนเกินเหตุในการที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นกรรมาธิการพิจารณากฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่ควรเปิดใจให้กว้างยอมรับพัฒนาการนี้
ขณะที่นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยควรรับหลักการ แม้มีข้อถกเถียงในการตั้งบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเป็นกรรมาธิการ (กมธ.) ได้หรือไม่สามารถพิจารณาในชั้นกมธ.ได้ เพื่อหาข้อสรุปทางกฎหมาย อย่างไรก็ดีตนมีข้อสังเกตด้วยว่าสามารถตั้งบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาได้หรือไม่ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สามารถตั้งบุคคลภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาของกมธ.ได้ ชั้นนี้รับหลักการได้ และตั้งกมธ.พิจารณาในสาระบัญญัติของข้อบังคับที่เขียนไว้มาตรา 123 และ 123/1 เพราะวิสามัญเป็นตัวกำหนดไว้ว่าสามารถตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ได้” นพ.ชลน่าน อภิปราย
จากนั้นนายพริษฐ์ อภิปรายสรุปด้วยว่าการประเด็นที่สมาชิกรัฐสภาติดในการตัดเงื่อนไขให้กมธ.พ้นจากตำแหน่งกรณีที่ขาดจากสมาชิกภาพของสภาที่เป็นสมาชิกนั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับกรณีที่บางพรรคหรือสว. เสนอบุคคลภายนอกเป็นกมธ. แต่หากเขียนไว้ไว้ จะมีปัญหาทางกฎหมายทันที ที่บอกว่าอาจไม่มีสส.สว.เป็นกมธ.เลย นั้นอาจเป็นไปได้ กรณีที่พรรคการเมืองและสว. ไม่เสนอสมาชิกของสภาของตนเองได้ แต่หากเห็นว่าควรมีสมาชิกรัฐสภาอยู่ในกมธ. ในโควต้าของสว. ไม่ต้องเสนอคนนอก เพื่อปิดปัญหา อย่างไรก็ดีหากสว. หรือ สส. จะเสนอชื่อใครต้องขออนุมัติจากสมาชิกรัฐสภา หากพบว่ามี กมธ.ที่น้อยไป สามารถแก้ไขได้ หากต้องการหลักประกันสามารถรับหลักการแล้วไปแก้ไขในชั้นกมธ.ได้ กรณีที่เสนอให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นกมธ. นั้นเป็นกรณีพิเศษที่เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชน ส่วนจำนวน และถ้อยคำนั้นตนดึงมาจากรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้