"ณัฐพงษ์" หยันไม่เห็นแววทุบค่าไฟเหลือ 3.70 บาทในปีนี้ ซัด "ทักษิณ" ขายนโยบายหาเสียง
https://ch3plus.com/news/political/morning/430218
7 มกราคม 2567 ที่ทำการประชาชน นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึง การติดตามเวทีการปราศรัยของพรรคเพื่อไทย อย่าง นาย
ทักษิณ ชินวัตร พ่อนายกรัฐมนตรีอย่างไร เพราะเหมือนว่าจะขายนโยบายมากกว่าปราศรัยหาเสียง
นาย
ณัฐพงษ์ พบว่าหลายสิ่งที่คุณ
ทักษิณ พูดไว้ อย่างเช่นค่าไฟประกาศลดให้เหลือ 3.70 บาท ภายในปีนี้ ถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์กับประชาชน แต่ที่ไม่อยากเห็นคือการดำเนินนโยบายเอาเงินภาษีประชาชนมาอุดหนุนในการลดค่าไฟหรือไม่ ถ้าเป็นแบบเท่ากับประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะอย่างไรก็ต้องจ่ายเข้าระบบฐานภาษีอยู่ดี สิ่งที่อยากได้คือการปรับปรุงโครงสร้างค่าไฟฟ้า ที่จะทำอย่างไรไม่ให้กลุ่มทุนพลังงาน ที่ปัจจุบันมีการตั้งข้อสังเกตมาโดยตลอดว่าผูกขาดพลังงานไฟฟ้า อย่างเช่น การจ่ายค่าพร้อมจ่าย ให้มีการปรับค่าไฟตรงนี้ลงมา รวมถึงค่าผ่านท่อ ที่อยากจะถามว่า 30 สตางค์ ที่จะลดลงมาเหลือ 3.70 บาท เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำในปีนี้ พรรคประชาชนมองไม่เห็นเหมือนกัน
นาย
ณัฐพงษ์ ระบุว่า พรรคประชาชนต้องการเห็นการปรับปรุงค่าไฟ จากการปรับปรุงนโยบาย ที่ปัจจุบันเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนอยู่
ส่วนท่าทีของนาย
พีรพันธุ์ ที่หลีกเลี่ยงการตอบคำถามสื่อมวลชนในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ระบุว่า เป็นท่าทีของนาย
พีรพันธุ์ ที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องค่าไฟที่มีปัญหา และนาย
พีรพันธุ์ ก็ได้เป็นประธาน กพช. ที่มีมติชะลอสัมปทานไฟฟ้า 3,600 เมกะวัตต์ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่พรรคประชาชนจะจับตา คือความเป็นเอกภาพในรัฐบาล เนื่องจากพรรคประชาชนต้องการให้ยกเลิกสัมปทานไฟฟ้าหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ และเปลี่ยนเป็นการให้โควตา Solar Rooftop บ้านเรือนประชาชน
พร้อมกันนี้ มองเรื่องเอกภาพรัฐบาล เชื่อว่าประชาชนไม่ต้องการเห็นคนที่มีอำนาจตัวจริงในการบริหารรัฐบาลไม่ได้อยู่ในทำเนียบ หรือมาตอบกระทู้ในสภาได้ แต่สิ่งที่ต้องการเห็น คือคนที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมจะตอบทุกคนถามของสภา โดยอ้างอิงข้อมูลว่า พฤหัสบดีนี้ นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หมายความว่านายกรัฐมนตรี จะไม่ได้ตอบกระทู้ในสภา ปกติทุกวันพฤหัสบดี เป็นวาระที่ชัดเจนอยู่แล้วในการตอบกระทู้ถาม หากนายกฯ ให้ความสำคัญก็ควรที่จะจัดเวลามาตอบกระทู้
ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมประเด็น แต่ยืนยันในเส้นเวลาเดิม ช่วงมีนาคมหรืออาจจะเร็วกว่านั้นในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ยืนยันว่ามีประเด็นที่เป็นหมัดเด็ดน็อครัฐบาลได้แน่นอน รวมถึงยืนยันว่าพรรคประชาชนสามารถตั้งคำถามได้ กรณีที่มีคนใดคนหนึ่ง มีอิทธิพลต่อรัฐบาล
ไอติม ลั่น พร้อมทำความเข้าใจร่างแก้รธน.ฉบับพรรคประชาชน กับทุกฝ่าย หวังได้รับเสียงหนุนจากสว.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4987905
ไอติม ลั่น พร้อมทำความเข้าใจร่างแก้รธน.ฉบับพรรคประชาชน กับทุกฝ่าย หวังได้รับเสียงหนุนจากสว.
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 7 มกราคม ที่รัฐสภา นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตรา 256 ที่มีการพูดถึงกันว่า เป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรค ปชน. เสนอเข้าไปที่มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ 2 เรื่องคือ 1.การเพิ่มหมวด 15/1 ที่ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2.การแก้ไขเกี่ยวกับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาถึงวันนี้เราก็รอดูว่าจะมีร่างอื่นยื่นเข้ามาประกบหรือไม่ เพราะมีสมาชิกรัฐสภาบางส่วนเห็นต่างในเชิงรายละเอียดอยู่บ้าง ซึ่งร่างที่คิดว่าจะมีการยื่นประกบเข้ามาคือ ร่างของพรรคเพื่อไทย (พท.) และคาดหวังว่าร่างดังกล่าวจะไม่ต่างไปจากร่างที่พรรค พท.เคยยื่นเมื่อปี 2567
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนอีกร่างที่ตนยังไม่เห็นว่าจะมีการสื่อสารออกมา แต่คิดว่าควรจะมีการยื่นเข้ามาประกบคือร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเรื่องการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้เคยประกาศต่อรัฐสภาและสัญญากับประชาชนแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเท่านั้น ในเมื่อเป็นนโยบายเรือธงที่เคยประกาศต่อรัฐสภาและประชาชน เหตุใด ครม.จึงไม่ยื่นร่างประกบเข้ามา แต่ย้ำว่าจะต้องรอดูว่าจะมีการยื่นร่างประกบเข้ามากี่ร่าง
นาย
พริษฐ์กล่าวอีกว่า จากการฟังสมาชิกรัฐสภาบางส่วนให้สัมภาษณ์ไปเมื่อช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา และแสดงอาการคัดค้านต่อร่างของพรรค ปชน. ก็เป็นการหยิบยกเอามาเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างชวนให้น่าสงสัยเช่นกัน คือหากเห็นต่างกันในรายละเอียดแต่เห็นตรงกันในหลักการ ก็เป็นสิทธิของ ส.ส. ส.ว.หรือรัฐบาลที่จะเสนอร่างเข้ามาประกบ แต่ไม่ควรเป็นเหตุที่จะทำให้เราไม่สามารถเดินหน้าในการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
นาย
พริษฐ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกขึ้นมาเพื่อที่จะบอกว่าไม่เห็นด้วยกับร่างของพรรค ปชน. คือการที่เราจะไปแก้มาตรา 256 ที่ไปตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของเสียง ส.ว.ออก และหากย้อนไปในสภาชุดที่แล้ว พรรค พท.ก็เคยยื่นร่างแก้ไขมาตรา 256 ตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของ ส.ว.ออก รัฐสภาขณะนั้นก็โหวตเห็นชอบในหลักการ และมี ส.ว.ชุดที่แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประมาณ 100 กว่าคนโหวตเห็นชอบ เช่นเดียวกับ ส.ส.รัฐบาลในขณะนั้น
“
ผมจึงตั้งข้อสังเกตว่าร่างที่เคยได้รับการเห็นชอบในปี’63 แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็น ส.ว.ชุดใหม่ ทำไมจึงมองว่าการตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของ ส.ว.ออก ไม่เป็นเหตุเป็นผล ตกลงแล้ว ส.ว.ชุดนี้จะเป็นปฏิปักษ์ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าชุดที่แล้วหรือไม่” นาย
พริษฐ์กล่าว
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนจะมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในวันไหนนั้น จากที่มีการพูดคุยกับวิป 4 ฝ่ายที่ผ่านมา เราได้มีการพูดคุยกันเบื้องต้นว่า หากร่างเกี่ยวกับ ส.ส.ร.หรือมาตรา 256 บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเราจะหยิบร่างดังกล่าวมาเป็นร่างหลักในการพูดคุยกัน ในวันที่มีการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 14-15 มกราคมนี้ และคิดว่าในการประชุมวิป 3 ฝ่ายวันที่ 8 มกราคมก็น่าจะเห็นตรงกับที่เคยตกลงกันไว้
เมื่อถามว่า พรรค พท.อาจกังวลเรื่องการไม่ได้เสียงในการแก้ไขจาก ส.ว. จึงทำให้มีการประนีประนอม นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ในเมื่อไม่เป็นอุปสรรครอบที่แล้ว ก็หวังว่าจะไม่เป็นอุปสรรคในรอบนี้ หรือหากเห็นต่างจริงๆ ก็สามารถยื่นร่างเข้ามาประกบได้ หากพรรค พท.ยึดตามร่างที่เคยเสนอเมื่อปี 2567 ก็จะเสนอให้ตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของ ส.ว.ออกเช่นกัน แต่หากมีฝ่ายไหนที่กังวล ตนจึงทวงถามว่า ครม.จะยื่นร่างเข้ามาประกบหรือไม่ในส่วนนี้ต้องถามทางรัฐบาล และไม่ควรมีเหตุผลอะไรที่ ครม.จะไม่ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ว่าร่างของพรรค ปชน.อาจจะไม่ผ่าน นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ตนหวังว่าทุกฝ่ายจะพิจารณาร่างกฎหมายจากประโยชน์ส่วนรวม และระบบการเมืองที่เราคิดว่าจะตอบโจทย์ประเทศไทย ไม่ใช่มากังวลว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะไปลดอำนาจหรือไม่ ซึ่งตนยินดีที่จะไปพูดคุยกับทุกฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดของร่างพรรค ปชน.
ส.ว.พันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนยอมลดอำนาจ สนับสนุน ร่าง รธน.ฉบับพรรคประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4987822
ส.ว.พันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนสนับสนุน ร่าง รธน.ฉบับพรรคประชาชน ลดอำนาจแก้ ส.ว. ด้าน เทวฤทธิ์มั่นใจแก้ รธน.ทั้งฉบับ เปลี่ยนรูปแบบการปกครองไม่ได้ เหตุมี ม.255 ล็อก ยกที่ผ่านมา แก้หลายครั้ง ก็แตะหมวด 1-2 บอก มีชัย แก้มากที่สุด แปลกใจทำไมไม่จี้ถาม
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 7มกราคม ที่รัฐสภา กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พันธุ์ใหม่ นำโดย น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. นาย
นรเศรษฐ์ ปรัชญากร แถลงจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดย น.ส.
นันทนากล่าวว่า ตามที่มีกระแสข่าวทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาชน ในส่วนของกลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ ได้มีมติร่วมกัน พร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนร่างฉบับของพรรคประชาชน ยินดีจะลดอำนาจของ ส.ว.ในการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากฉบับปัจจุบัน ที่ให้ใช้ ส.ว. 1 ใน 3 ซึ่งมองว่า ส.ว.ไม่ได้มาจากประชาชนโดยตรง กระบวนการที่ได้มาไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศได้
“
เรายินดีจะสละอำนาจที่จะลงมติแก้ไข รธน. เพื่อให้ผู้ที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริงคือ ส.ส.ได้เป็นผู้ลงมติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด“ น.ส.นันทนากล่าว
น.ส.
นันทนากล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) สนับสนุนให้มีผู้แทนที่มาร่างรัฐธรรมนูญจากประชาชนโดยตรงคือการเลือกตั้ง 100% เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นเจตจำนงของประชาชน บรรจุอยู่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ
เมื่อถามว่า ส.ว.พันธุ์ใหม่มีความคิดเห็นต่อเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวด 1 และ 2 อย่างไร น.ส.
นันทนากล่าวว่า เราชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีที่มาจากการรัฐประหารเมื่อจุดตั้งต้นไม่ใช่มาจากประชาชน ตัวร่างรัฐธรรมนูญทั้งร่างจึงมีข้อกำหนด บทมาตราต่างๆ ที่บิดเบี้ยว และมีช่องโหว่มากมาย ดังนั้นถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปแก้ไขรูปของรัฐ ระบอบการปกครอง
“
แต่ที่แก้ทั้งฉบับเพื่อให้ที่มาของรัฐธรรมนูญมาจากประชาชนอย่างแท้จริง และบทบัญญัติทั้งหมดสอดคล้องกันทั้งฉบับไม่ใช่เป็นการแก้หมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วละเว้นหมวดใดหมวดหนึ่ง เพราะสุดท้ายแล้วเท่ากับมรดกของเผด็จการยังอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าเราไม่ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ” น.ส.
นันทนากล่าว
ด้านนาย
เทวฤทธิ์กล่าวว่า เข้าใจว่า ประเด็นนี้อาจจะมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อกังวล หรือบางครั้งอาจจะถูกลากไปเป็นเกมการเมือง ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ได้หมายความว่าจะมีการแก้ไขหมวด 1 และ 2 แต่เป็นการย้ำว่าเป็นการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และที่สำคัญหมวดดังกล่าวก็เคยมีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ โดยเป็นการแก้ถ้อยคำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และคนที่แก้มากที่สุดคือนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แปลกใจว่าทำไมไม่ไปถามนายมีชัยกันบ้าง
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการกำกับไว้ในมาตรา 255 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไปแก้ในรูปแบบการปกครอง หรือรูปแบบของรัฐไม่ได้ ดังนั้น หากใครกังวลเรื่องว่าจะมีการแก้รูปแบบการปกครอง หรือระบอบการปกครองของรัฐ ก็มีมาตรานี้กำกับ อีกทั้งกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญก็ต้องผ่านการทำประชามติอย่างน้อย 2 ครั้ง หมายความว่าหากมีการแก้แล้วกระทบต่อรูปแบบของรัฐ เชื่อว่าหากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยคงโหวตไม่รับ
“
ผมเข้าใจเรื่องความแคลงใจหรือกังวลว่าจะมีการไปแตะหมวด 1 และ 2 แต่เรามีกฎหมายล็อกไว้อยู่แล้ว ในร่างของพรรคประชาชนก็ล็อกว่า มาตรา 255 ว่าจะไม่แก้รูปแบบการปกครอง ผมจึงไม่เข้าใจว่าที่กังวลนั้นเขากังวลจริงๆ หรือกังวลเป็นเงื่อนไขทางการเมือง” นาย
เทวฤทธิ์กล่าว
JJNY : 5in1 "ณัฐพงษ์"ซัด"ทักษิณ"│ไอติมพร้อมทำความเข้าใจ│ส.ว.พันธุ์ใหม่แถลงจุดยืน│จับตา 5ปัจจัยเสี่ยง│เวียดนามเสนออุดหนุน
https://ch3plus.com/news/political/morning/430218
7 มกราคม 2567 ที่ทำการประชาชน นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึง การติดตามเวทีการปราศรัยของพรรคเพื่อไทย อย่าง นายทักษิณ ชินวัตร พ่อนายกรัฐมนตรีอย่างไร เพราะเหมือนว่าจะขายนโยบายมากกว่าปราศรัยหาเสียง
นายณัฐพงษ์ พบว่าหลายสิ่งที่คุณทักษิณ พูดไว้ อย่างเช่นค่าไฟประกาศลดให้เหลือ 3.70 บาท ภายในปีนี้ ถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์กับประชาชน แต่ที่ไม่อยากเห็นคือการดำเนินนโยบายเอาเงินภาษีประชาชนมาอุดหนุนในการลดค่าไฟหรือไม่ ถ้าเป็นแบบเท่ากับประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะอย่างไรก็ต้องจ่ายเข้าระบบฐานภาษีอยู่ดี สิ่งที่อยากได้คือการปรับปรุงโครงสร้างค่าไฟฟ้า ที่จะทำอย่างไรไม่ให้กลุ่มทุนพลังงาน ที่ปัจจุบันมีการตั้งข้อสังเกตมาโดยตลอดว่าผูกขาดพลังงานไฟฟ้า อย่างเช่น การจ่ายค่าพร้อมจ่าย ให้มีการปรับค่าไฟตรงนี้ลงมา รวมถึงค่าผ่านท่อ ที่อยากจะถามว่า 30 สตางค์ ที่จะลดลงมาเหลือ 3.70 บาท เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำในปีนี้ พรรคประชาชนมองไม่เห็นเหมือนกัน
นายณัฐพงษ์ ระบุว่า พรรคประชาชนต้องการเห็นการปรับปรุงค่าไฟ จากการปรับปรุงนโยบาย ที่ปัจจุบันเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนอยู่
ส่วนท่าทีของนายพีรพันธุ์ ที่หลีกเลี่ยงการตอบคำถามสื่อมวลชนในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ระบุว่า เป็นท่าทีของนายพีรพันธุ์ ที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องค่าไฟที่มีปัญหา และนายพีรพันธุ์ ก็ได้เป็นประธาน กพช. ที่มีมติชะลอสัมปทานไฟฟ้า 3,600 เมกะวัตต์ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่พรรคประชาชนจะจับตา คือความเป็นเอกภาพในรัฐบาล เนื่องจากพรรคประชาชนต้องการให้ยกเลิกสัมปทานไฟฟ้าหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ และเปลี่ยนเป็นการให้โควตา Solar Rooftop บ้านเรือนประชาชน
พร้อมกันนี้ มองเรื่องเอกภาพรัฐบาล เชื่อว่าประชาชนไม่ต้องการเห็นคนที่มีอำนาจตัวจริงในการบริหารรัฐบาลไม่ได้อยู่ในทำเนียบ หรือมาตอบกระทู้ในสภาได้ แต่สิ่งที่ต้องการเห็น คือคนที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมจะตอบทุกคนถามของสภา โดยอ้างอิงข้อมูลว่า พฤหัสบดีนี้ นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หมายความว่านายกรัฐมนตรี จะไม่ได้ตอบกระทู้ในสภา ปกติทุกวันพฤหัสบดี เป็นวาระที่ชัดเจนอยู่แล้วในการตอบกระทู้ถาม หากนายกฯ ให้ความสำคัญก็ควรที่จะจัดเวลามาตอบกระทู้
ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมประเด็น แต่ยืนยันในเส้นเวลาเดิม ช่วงมีนาคมหรืออาจจะเร็วกว่านั้นในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ยืนยันว่ามีประเด็นที่เป็นหมัดเด็ดน็อครัฐบาลได้แน่นอน รวมถึงยืนยันว่าพรรคประชาชนสามารถตั้งคำถามได้ กรณีที่มีคนใดคนหนึ่ง มีอิทธิพลต่อรัฐบาล
ไอติม ลั่น พร้อมทำความเข้าใจร่างแก้รธน.ฉบับพรรคประชาชน กับทุกฝ่าย หวังได้รับเสียงหนุนจากสว.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4987905
ไอติม ลั่น พร้อมทำความเข้าใจร่างแก้รธน.ฉบับพรรคประชาชน กับทุกฝ่าย หวังได้รับเสียงหนุนจากสว.
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 7 มกราคม ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน (ปชน.) ให้สัมภาษณ์ถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมมาตรา 256 ที่มีการพูดถึงกันว่า เป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรค ปชน. เสนอเข้าไปที่มีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ 2 เรื่องคือ 1.การเพิ่มหมวด 15/1 ที่ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2.การแก้ไขเกี่ยวกับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาถึงวันนี้เราก็รอดูว่าจะมีร่างอื่นยื่นเข้ามาประกบหรือไม่ เพราะมีสมาชิกรัฐสภาบางส่วนเห็นต่างในเชิงรายละเอียดอยู่บ้าง ซึ่งร่างที่คิดว่าจะมีการยื่นประกบเข้ามาคือ ร่างของพรรคเพื่อไทย (พท.) และคาดหวังว่าร่างดังกล่าวจะไม่ต่างไปจากร่างที่พรรค พท.เคยยื่นเมื่อปี 2567
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนอีกร่างที่ตนยังไม่เห็นว่าจะมีการสื่อสารออกมา แต่คิดว่าควรจะมีการยื่นเข้ามาประกบคือร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเรื่องการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้เคยประกาศต่อรัฐสภาและสัญญากับประชาชนแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงนโยบายของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเท่านั้น ในเมื่อเป็นนโยบายเรือธงที่เคยประกาศต่อรัฐสภาและประชาชน เหตุใด ครม.จึงไม่ยื่นร่างประกบเข้ามา แต่ย้ำว่าจะต้องรอดูว่าจะมีการยื่นร่างประกบเข้ามากี่ร่าง
นายพริษฐ์กล่าวอีกว่า จากการฟังสมาชิกรัฐสภาบางส่วนให้สัมภาษณ์ไปเมื่อช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา และแสดงอาการคัดค้านต่อร่างของพรรค ปชน. ก็เป็นการหยิบยกเอามาเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างชวนให้น่าสงสัยเช่นกัน คือหากเห็นต่างกันในรายละเอียดแต่เห็นตรงกันในหลักการ ก็เป็นสิทธิของ ส.ส. ส.ว.หรือรัฐบาลที่จะเสนอร่างเข้ามาประกบ แต่ไม่ควรเป็นเหตุที่จะทำให้เราไม่สามารถเดินหน้าในการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้
นายพริษฐ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ประเด็นหนึ่งที่มีการหยิบยกขึ้นมาเพื่อที่จะบอกว่าไม่เห็นด้วยกับร่างของพรรค ปชน. คือการที่เราจะไปแก้มาตรา 256 ที่ไปตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของเสียง ส.ว.ออก และหากย้อนไปในสภาชุดที่แล้ว พรรค พท.ก็เคยยื่นร่างแก้ไขมาตรา 256 ตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของ ส.ว.ออก รัฐสภาขณะนั้นก็โหวตเห็นชอบในหลักการ และมี ส.ว.ชุดที่แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประมาณ 100 กว่าคนโหวตเห็นชอบ เช่นเดียวกับ ส.ส.รัฐบาลในขณะนั้น
“ผมจึงตั้งข้อสังเกตว่าร่างที่เคยได้รับการเห็นชอบในปี’63 แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็น ส.ว.ชุดใหม่ ทำไมจึงมองว่าการตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของ ส.ว.ออก ไม่เป็นเหตุเป็นผล ตกลงแล้ว ส.ว.ชุดนี้จะเป็นปฏิปักษ์ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าชุดที่แล้วหรือไม่” นายพริษฐ์กล่าว
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า ส่วนจะมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในวันไหนนั้น จากที่มีการพูดคุยกับวิป 4 ฝ่ายที่ผ่านมา เราได้มีการพูดคุยกันเบื้องต้นว่า หากร่างเกี่ยวกับ ส.ส.ร.หรือมาตรา 256 บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเราจะหยิบร่างดังกล่าวมาเป็นร่างหลักในการพูดคุยกัน ในวันที่มีการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 14-15 มกราคมนี้ และคิดว่าในการประชุมวิป 3 ฝ่ายวันที่ 8 มกราคมก็น่าจะเห็นตรงกับที่เคยตกลงกันไว้
เมื่อถามว่า พรรค พท.อาจกังวลเรื่องการไม่ได้เสียงในการแก้ไขจาก ส.ว. จึงทำให้มีการประนีประนอม นายพริษฐ์กล่าวว่า ในเมื่อไม่เป็นอุปสรรครอบที่แล้ว ก็หวังว่าจะไม่เป็นอุปสรรคในรอบนี้ หรือหากเห็นต่างจริงๆ ก็สามารถยื่นร่างเข้ามาประกบได้ หากพรรค พท.ยึดตามร่างที่เคยเสนอเมื่อปี 2567 ก็จะเสนอให้ตัดเงื่อนไข 1 ใน 3 ของ ส.ว.ออกเช่นกัน แต่หากมีฝ่ายไหนที่กังวล ตนจึงทวงถามว่า ครม.จะยื่นร่างเข้ามาประกบหรือไม่ในส่วนนี้ต้องถามทางรัฐบาล และไม่ควรมีเหตุผลอะไรที่ ครม.จะไม่ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ว่าร่างของพรรค ปชน.อาจจะไม่ผ่าน นายพริษฐ์กล่าวว่า ตนหวังว่าทุกฝ่ายจะพิจารณาร่างกฎหมายจากประโยชน์ส่วนรวม และระบบการเมืองที่เราคิดว่าจะตอบโจทย์ประเทศไทย ไม่ใช่มากังวลว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะไปลดอำนาจหรือไม่ ซึ่งตนยินดีที่จะไปพูดคุยกับทุกฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดของร่างพรรค ปชน.
ส.ว.พันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนยอมลดอำนาจ สนับสนุน ร่าง รธน.ฉบับพรรคประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4987822
ส.ว.พันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนสนับสนุน ร่าง รธน.ฉบับพรรคประชาชน ลดอำนาจแก้ ส.ว. ด้าน เทวฤทธิ์มั่นใจแก้ รธน.ทั้งฉบับ เปลี่ยนรูปแบบการปกครองไม่ได้ เหตุมี ม.255 ล็อก ยกที่ผ่านมา แก้หลายครั้ง ก็แตะหมวด 1-2 บอก มีชัย แก้มากที่สุด แปลกใจทำไมไม่จี้ถาม
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 7มกราคม ที่รัฐสภา กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พันธุ์ใหม่ นำโดย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร แถลงจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดย น.ส.นันทนากล่าวว่า ตามที่มีกระแสข่าวทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาชน ในส่วนของกลุ่ม ส.ว.พันธุ์ใหม่ ได้มีมติร่วมกัน พร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนร่างฉบับของพรรคประชาชน ยินดีจะลดอำนาจของ ส.ว.ในการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากฉบับปัจจุบัน ที่ให้ใช้ ส.ว. 1 ใน 3 ซึ่งมองว่า ส.ว.ไม่ได้มาจากประชาชนโดยตรง กระบวนการที่ได้มาไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศได้
“เรายินดีจะสละอำนาจที่จะลงมติแก้ไข รธน. เพื่อให้ผู้ที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริงคือ ส.ส.ได้เป็นผู้ลงมติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด“ น.ส.นันทนากล่าว
น.ส.นันทนากล่าวต่อว่า ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) สนับสนุนให้มีผู้แทนที่มาร่างรัฐธรรมนูญจากประชาชนโดยตรงคือการเลือกตั้ง 100% เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นเจตจำนงของประชาชน บรรจุอยู่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ
เมื่อถามว่า ส.ว.พันธุ์ใหม่มีความคิดเห็นต่อเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวด 1 และ 2 อย่างไร น.ส.นันทนากล่าวว่า เราชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีที่มาจากการรัฐประหารเมื่อจุดตั้งต้นไม่ใช่มาจากประชาชน ตัวร่างรัฐธรรมนูญทั้งร่างจึงมีข้อกำหนด บทมาตราต่างๆ ที่บิดเบี้ยว และมีช่องโหว่มากมาย ดังนั้นถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะมีการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปแก้ไขรูปของรัฐ ระบอบการปกครอง
“แต่ที่แก้ทั้งฉบับเพื่อให้ที่มาของรัฐธรรมนูญมาจากประชาชนอย่างแท้จริง และบทบัญญัติทั้งหมดสอดคล้องกันทั้งฉบับไม่ใช่เป็นการแก้หมวดใดหมวดหนึ่ง แล้วละเว้นหมวดใดหมวดหนึ่ง เพราะสุดท้ายแล้วเท่ากับมรดกของเผด็จการยังอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าเราไม่ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ” น.ส.นันทนากล่าว
ด้านนายเทวฤทธิ์กล่าวว่า เข้าใจว่า ประเด็นนี้อาจจะมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อกังวล หรือบางครั้งอาจจะถูกลากไปเป็นเกมการเมือง ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ได้หมายความว่าจะมีการแก้ไขหมวด 1 และ 2 แต่เป็นการย้ำว่าเป็นการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และที่สำคัญหมวดดังกล่าวก็เคยมีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ โดยเป็นการแก้ถ้อยคำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และคนที่แก้มากที่สุดคือนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แปลกใจว่าทำไมไม่ไปถามนายมีชัยกันบ้าง
นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการกำกับไว้ในมาตรา 255 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไปแก้ในรูปแบบการปกครอง หรือรูปแบบของรัฐไม่ได้ ดังนั้น หากใครกังวลเรื่องว่าจะมีการแก้รูปแบบการปกครอง หรือระบอบการปกครองของรัฐ ก็มีมาตรานี้กำกับ อีกทั้งกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญก็ต้องผ่านการทำประชามติอย่างน้อย 2 ครั้ง หมายความว่าหากมีการแก้แล้วกระทบต่อรูปแบบของรัฐ เชื่อว่าหากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยคงโหวตไม่รับ
“ผมเข้าใจเรื่องความแคลงใจหรือกังวลว่าจะมีการไปแตะหมวด 1 และ 2 แต่เรามีกฎหมายล็อกไว้อยู่แล้ว ในร่างของพรรคประชาชนก็ล็อกว่า มาตรา 255 ว่าจะไม่แก้รูปแบบการปกครอง ผมจึงไม่เข้าใจว่าที่กังวลนั้นเขากังวลจริงๆ หรือกังวลเป็นเงื่อนไขทางการเมือง” นายเทวฤทธิ์กล่าว